ศิลปินหัวอ่อน


ผมเคยสงสัยมาตลอดว่าคนที่อยู่ในวิชาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์สูงในประเทศไทยทำไมถึงเป็นคนหัวอ่อนและเชื่อคนง่าย

ปกติ “artist” ที่ผมเคยเจอมาจะช่างคิดและคิดนอกกรอบได้ไกลจนเกินกว่าจะทึ่งว่าเขาคิดได้อย่างไร

ยิ่งจะบอกให้ “artist” เชื่ออะไรง่ายๆ นี่ยิ่งเป็นไปได้ยาก เพราะคนเหล่านี้มีทักษะในการคิดสูง

แต่ “creative workforce” ในบ้านเราไม่ได้เป็นเช่นนั้น กลับเป็นคนหัวอ่อนและเชื่อคนง่ายอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้

ไม่ได้หมายความว่าทุกคนเป็นเช่นนั้นนะครับ นานๆ ผมจะได้เจอ “artist” ที่ไม่เหมือน “ศิลปิน” คนไทยคนอื่นๆ แต่ก็น้อยครั้งมากทีเดียว

ตอนนี้ผมพอสรุปเอาเองได้ว่าเป็นเพราะระบบการศึกษาไม่ได้เปิดโอกาสให้คนเหล่านี้มีความรู้รอบตัวเพียงพอ

และอีกอย่างหนึ่งเป็นเพราะคนเหล่านี้อ่านหนังสือน้อย หลายคนที่ผมได้พบเจอเขาคิดว่าเขาอ่านเยอะ เพราะเมื่อเทียบกับคนไทยโดยเฉลี่ยก็อ่านเยอะกว่าอยู่ แต่ที่จริงแล้วเขาอ่านวนอยู่ในเนื้อหาซ้ำๆ เพราะไม่มีความสนใจที่กว้าง ซึ่งก็ย้อนกลับมาที่ระบบการศึกษาที่ไม่เปิดโอกาสให้มีความรู้ที่หลากหลายนั่นเอง

ที่ซ้ำร้ายในคนกลุ่มนี้กลับสร้างค่านิยมว่าถ้าใครมีความรู้กว้างและรู้ในหลายเรื่องกลับเป็นพวก "นอกกลุ่ม" ไปอีกเสียนี่ เด็กที่จบปริญญาตรีใหม่ๆ ในสายนี้แทบจะพูดเป็นเสียงเดียวกันในประเด็นนี้ทีเดียว

เป็นวัฒนธรรมที่ผลิต ego แต่ไม่ได้ผลิต knowledge

อีกเรื่องหลักที่เจอคือกลุ่มนี้ภาษาอังกฤษจะแย่มาก อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ แถมกลับภาคภูมิใจที่ภาษาอังกฤษไม่ดี เลยยิ่งเป็นกำแพงปิดกั้นความรู้และความคิดไปใหญ่

เรื่องนี้น่าแปลกใจเพราะเขามาในสาย “ศิลป์” แท้ๆ ทักษะด้าน “ภาษา” ควรจะพอใช้งานได้

ระบบการศึกษาของไทยที่สร้างคนมาทำงานในสาขาวิชาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์น่าจะคิดกันใหม่ ... ใช่ไหม?

บอกผมสิว่าผมคิดผิด

หมายเลขบันทึก: 300563เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ

- เห็นน้องชาวสุดรักเป็นเด็กศิลป์

- คิดอะไรได้แตกต่างอีกมุมมอง

- เชื่อมั่นในตัวเองสูง

- แต่ยังอ่อนน้อมถ่อมตน พูดครับทุกคำ แต่ไม่เคยทำตามเราสักอย่าง

เห็นหลานสาวจบอักษร จุฬาฯ เธอคิดหลายอย่าง น่าทึ่งมาก ซึ่งเราไม่เคยคิดแบบนั้นได้ แล้วเธอก็เก่งภาษา อาจเป็นเพราะสถาบันการศึกษาที่เป็นแหล่งหล่อหลอม หรือไม่ก็เป็นเพราะครอบครัวด้วยที่ทำให้เด็กเป็นเช่นนั้นค่ะ

ใช่ครับ ผมเชื่อว่า อาจารย์ธวัชชัย คิดผิด

ถ้าอาจารย์เอาคำถามที่ว่า ระบบการศึกษาบ้านเรา แย่จนกระทั่งไม่สอนให้คนมีความรู้รอบตัวที่เพียงพอ ไปถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้วล่ะก้อ อาจารย์จะพบว่า เขามีเหตุผลสารพัดที่จะตอบว่า ระบบการศึกษาบ้านเราไม่ได้แย่มากมายถึงขนาดนั้น แต่เอาเถอะครับ ผมไม่ใช่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯที่จะได้ตอบแทนเขา เอาเป็นว่าในความคิดของผม ผมคิดว่า การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา เปิดโอกาสให้คนได้มีการเรียนรู้มากขึ้น หรือแม้กระทั่งเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น เพียงแต่เราเคยชินกับการป้อน แล้ว ครูก็ถนัดซะด้วยที่จะป้อน ก็เลยกลายเป็นสองแรง แข็งขัน ขยันกินกันจนอ้วนและติดเป็นนิสัย

พูดถึงเรื่องนี้ ต้องบอกว่า คุณครูต้องเลิกที่จะป้อนซะ การสอนเพื่อให้เด็กรู้ โดยไม่ต้องคิด คงไม่ใช่เส้นทางสำเร็จรูปที่ดีสำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต

แล้วก็ต้องบอกว่า การอ่านหนังสือแบบนกแก้วนกขุนทอง แม้จะทำให้ได้คะแนนสูงสุดในการสอบ แต่ไม่ใช่หลักประกันว่าจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานต่อไปในอนาคต

สุดท้ายก็ลงที่ตัวคนครับ ใครคิดเป็น คิดได้ คนนั้นก็รอดตัวไปครับ ส่วนใครที่ย่ำเท้าอยู่กับที่ ก็เป็นเป้านิ่งให้คนได้ว่ากล่าวกันต่อไป

มีคนเคยเปรยๆ ให้ผมได้ยินว่า เราจะเรียน physic ไปทำไม ในเมื่อชีวิตจริง เราแทบจะไม่มีโอกาสได้คำนวณเลย ว่าแรงอะไร มีอยู่เท่าไหร่ หรือเราจะเรียนชีวะไปทำไม ในเมื่อชีวิตจริง แทบจะไม่ได้เห็นไส้เดือนแล้ว ซึ่งมันก็ไม่ต่างไปจากที่อาจารย์ถามครับ ว่า creative บ้านเรา ไม่เห็นจะรู้ภาษาอังกฤษเลย

ผมเชื่อว่า creative ไม่ว่าบ้านเรา หรือบ้านไหน ก็หัวอ่อนครับ เชื่อคนง่าย เพราะเมื่อมีโจทย์ มาให้คิดงาน ก็คิดงานใหม่สารพัด พอโดนติ ก็พร้อมที่จะเปลี่ยน เพื่อให้สมใจ และถูกใจผู้คน แล้วมันต่างกันตรงไหนครับ

บ้านเรา เราพูดภาษาไทยเป็นหลัก การพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ เพราะในชีวิตจริง เราแทบจะไม่ได้มีโอกาสที่จะพูดเลย ต่างจากเมืองนอก ที่ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันจนเป็นปกตินิสัย

การอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องปิดกั้นตัวเองหรอกครับ แต่ผมเชื่อว่า การอ่าน แบบสักแต่ว่าอ่าน แล้วคิดเองไม่เป็นนี่รวมไปถึง การอ่านแบบ เชื่อทุกอย่างที่ขวางหน้า เขียนอะไรมา หรืออ่านพบอะไรที่ไหน ก็เชื่อเขาไปหมดต่างหากครับที่เป็นการปิดกั้นตัวเอง เพราะไม่เช่นนั้น คนที่ไม่เรียนหนังสือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ก็ไม่มีทางประสบความสำเร็จสิครับ ใช่ไหมครับ

อาจารย์บอกผมสิครับ ว่า ผมคิดถูกหรือปล่าว

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • คงเห็นด้วยกับอาจารย์หลายอย่าง
  • และมองว่า..การเลี้ยงดูและวัฒนธรรมก็น่ามีส่วนด้วยนะคะ
  • อย่างเด็กเล็กๆ คุณพ่อคุณแม่มักสนใจแต่ลูกท่อง ก ข หรือ A-Z ได้หรือยัง
  • 1+1 เป็น 2,  2+2 เป็น 4
  • แต่จะลืมเรื่องส่งเสริมด้านจินตนาการและความคิดอย่างสร้างสรรค์

ประเด็นของพี่ไมโตที่ว่างานของ creative ที่ต้องตามเจ้าของงานจนกลายเป็นนิสัยที่จะหัวอ่อนน่าสนใจครับ แต่ creative ที่ผมเคยทำงานด้วยในต่างประเทศจะมีความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตส่วนตัวของเขาอย่างมากแม้เขาต้องทำงานตามเจ้าของงานเช่นเดียวกันก็ตามครับ

หรือที่ผมคิดว่า "มี" กับ "ไม่มี" อยู่บนพื้นฐานของการ "มี" หรือ "ไม่มี" ความรู้รอบตัว? เพราะการมีความคิดสร้างสรรค์แต่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความรู้ก็เท่ากับไม่มีนั่นเอง

อาทิเช่น creative ในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่มีความรู้ทางการเงินเป็นศูนย์ รู้จักแค่รับเงินกับจ่ายเงินเท่านั้น ดังนั้น creativity ของเขาก็จะจำกัดอยู่แค่นั้นเองครับ

เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ วัฒนาธรรมบ้านเราไม่ค่อยเหมาะกับเศรษฐกิจแบบทุนนิยมสักเท่าไหร่ หากเราปรับปรุงรับบการศึกษาให้มีมาตรฐานมากขึ้นก็จะมองเห็นภาพอนาคตของประเทศได้ ยิ่งตอนนี้แนวโน้มเสณษฐกิจจะเปลี่ยนฐานไหม่ เป็นเศรษฐกิจที่อยู่บนฐาน creative "economy creative" หากเราไม่ส่งสเริมให้เด็นคิดเป็น ทำเป็น ประเทศเราลำบากแน่ ๆ ค่ะ

ผมมีคำถามตัวโตๆขอตั้งไว้ตรงนี้ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับ ความคิดสร้างสรรค์ (Creative)

๑.สุภาษิตไทยที่ว่า เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด vs. ความคิดสร้างสรรค์

๒.การมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ vs. ความคิดสร้างสรรค์

โดยส่วนตัวแล้ว ผมว่าสุภาษิตไทยตามข้อ ๑ เป็นอุปสรรคสำคัญต่อ ความคิดสร้างสรรค์ ครับ

ส่วนคำถามข้อที่ ๒ ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่แต่ละคน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคน ถ้าเราเจอผู้ใหญ่ที่เปิดกว้าง เราก็สามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ของเราได้โดยอิสระ แต่ในทางกลับกันความคิดของเราก็จะฝ่อไปเลย

แล้วสังคมเราตอนนี้หล่ะเป็นอย่างไรครับ

สวัสดี ครับ อาจารย์ธวัชชัย

มาเยี่ยมบันทึก ศิลปิน หัวอ่อนของอาจารย์

...โดยส่วนตัวแล้ว ผมว่าสุภาษิตไทยเป็นอุปสรรคสำคัญต่อ ความคิดสร้างสรรค์ ครับ...แล้วสังคมเราตอนนี้หล่ะเป็นอย่างไร...

ชื่นชมความคิดของอาจารย์ นะครับ

.....

.....

อึม!! อาจารย์ ครับ หากวันไหน อาจารย์ พอมีเวลา ที่อาจารย์อยากร่วม ลปรร.

ผมอยากเชิญอาจารย์ มาที่บันทึกนี้ หน่อย ครับ

http://gotoknow.org/blog/sangsri11/303795

เพราะไม่มีความรู้...แต่สนใจ...ใคร่รู้....

ขอบพระคุณ ในความกรุณาของอาจารย์ ครับ

นำกาแฟมาฝากอาจารย์ เพื่อตอบแทนน้ำใจ ด้วยความเสมือนจริง

ขอบพระคุณ ครับ

 

 

 

ขออภัยด้วยผ่านไปผ่านมาได้แต่แวะมาอ่านไม่ได้มาลงเวลาเลยครับ

ในระบบการศึกษาไทย

ผมเป็นแกะดำตัวพ่อ

เพราะไม่ลอกใคร มักไม่เชื่อ อาจารย์

สอบได้คะแนนสูงมาก แต่เกรดห่วยเสมอ

ไม่ชอบถูกบังคับ เพื่อนๆ มักบอกผมว่า

เป็นคนเรียนแย่ แต่สอบเก่งมาก

แต่พอเรียนไม่เอาไหน

ข้อสอบตัวเลือก คะแนนอาจไม่เด่น

ถ้าข้อสอบเขียนอัตนัย(งงงง)

มักได้คะแนนดีมาก

อยู่ประเทศไทย ไม่เคยมีคนสนใจ ใหุ้ทุน เรียนต่อ

แต่ได้อีเมลมากมาย

จาก professor ต่างประเทศ ชวนไปเรียนด้วย

ติดอยู่บางอย่าง ที่ไม่ไปเรียนต่อ

1 ภาษาอังกฤษห่วย

2 ห่วงลูกชาย

3 เคยคิดว่า ถ้าจะไปเป็นอาจารย์ ต้องรวยก่อน(เพราะอาจาย์ดีๆ มักไม่รวย)

อาจารย์เหน่ ที่รัก ;-)

        นำผลงานของ สองศิลปินพ่อลูก (หัวอ่อน) มาฝากครับ

หมู่บ้านกระต่ายน้อย

 

------------------------------------------------------------

เสร็จแล้ว ขอเชิญอาจารย์เป็น Guest Editor ไปตรวจสอบความถูกต้องของ

นุ ศัพท์ GotoKnow

http://gotoknow.org/blog/funny-stuffs/306085

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า UsableLabs นะครับ (แหะ..แหะ)

แวะมาเยี่ยมค่ะ  สบายดีนะคะอาจารย์

สวัสดีครับอาจารย์ ธวัชชัย

คนนี้ครับศิลปินหัวแข็ง พอลโกแกง"ก่อนโลกจะขานรับ"ครับ

ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นครับ เรื่องวิถีความคิดของ "ศิลปิน" ในประเทศไทยก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษาอีกเรื่องหนึ่งครับ

อ่านหลายบันทึกของอาจารย์ แต่ไม่ค่อยได้แสดงความคิดเห็นสะกิดใจว่าเราก็คงเป็นประเภทหัวอ่อน ดูลักษณะการทำงานแล้วอาจารย์ทำงานหนักจัง แล้วยังชอบทำงานกลางคืนกะดึกเหมือนวิชาชีพพยาบาลเลย แต่มันรบกวนHomeostesisของร่างกาย ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท