Learning to QE: "สามชุก" ครูหรือคนทำงานด้านยาเสพติด ใครกันที่ควรดู


ภาพยนต์เรื่องนี้คงไม่เพียงเหมาะสำหรับครูหรือคนทำงานด้านยาเสพติด แต่น่าจะเหมาะสำหรับทุกคน เพราะไม่มีใครไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ในปัจจุบัน

 

     ตั้งแต่ตอนบรรจุเข้าทำงานใหม่ ๆ ได้เคยรับรู้เรื่องโรงเรียนสามชุก ที่สุพรรณบุรี เพราะครูโรงเรียนหนองธง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ไปออกงานอนามัยโรงเรียนพูดคุยให้ฟัง แตก็เพียงฟัง ๆ ยังนึกทึ่งที่ครูคนหนึ่งต่อมาทราบว่าชื่อพินิจ พุทธิวาส ทำงานแบบพลิกด้านของกระแสความเชื่อส่วนใหญ่ของชุมชนต่อปัญหายาเสพติด และเมื่อเทียบกับความรู้ในตอนนี้ต้องบอกว่าครูพินิจ พุทธิวาส ได้เป็นต้นแบบของการดำเนินการ Drugs Demand Reduction: DDR ตามแนวทาง Harm Reduction ที่กล่าวกันอยู่ตอนนี้โดยแท้  

     มาตอนนี้ทราบว่าเป็นภาพยนต์ "สามชุก" ที่กำลังจะเข้าฉาย อยากดูมาก (แต่คงต้องระวังหวัดฯ 2009 ให้ดี) จึงได้ค้นดู และพบว่ามันไปเกี่ยวข้องกับงานด้านยาเสพติดมากมาย ยังจำได้ประเด็นหนึ่งที่คำประกาศเจตนารมย์ "การต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติดของภาคประชาชน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง" ที่เคยบันทึกไว้ตาม link คือ

     ข้อที่ 2 ที่บอกว่า "พวกเราที่เป็นประชาชนในสังคมนี้จะร่วมใจกันให้โอกาสแก่ผู้เสพหรือใช้สารเสพติดในการกลับเข้ามาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพราะเขาเหล่านี้แท้ที่จริงแล้วคือผู้ที่ถูกกระทำจากทุกด้าน พวกเราถือว่าเขาเป็นผู้ป่วยที่ต้องให้การบำบัดรักษา ให้ได้รับการฟื้นฟูสภาพในทุกมิติ เขาจะได้รับความเมตตาจากพวกเราอย่างที่เราความรู้สึกต่อ ลูก หลาน ญาติ หรือมิตรที่เจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งเราจะร่วมกันดูแลเอง"

     แล้วตามด้วยข้อที่ 1 ที่บอกว่า "พวกเราถือว่าหน้าที่ในการจัดการกับปัญหายาเสพติดต้องเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน รัฐต้องมีกฎหมายเป็นการเฉพาะเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนต่อสู้กับปัญหานี้ได้เต็มที่ และเพื่อคุ้มครองความชอบธรรม ความปลอดภัย และความสำนึกดีของประชาชนในฐานะเจ้าของปัญหาที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด"

     ซึ่งคำประกาศเจตนารมย์ฯ น่าจะตรงกับแนวคิดของภาพยนต์เรื่อง "สามชุก" (คลิ้กอ่านที่มาที่ไปของเนื้อหาเรื่องนี้) โดยเฉพาะในประเด็นข้อที่ 11 ที่ว่า "พวกเราเข้าใจว่าสิ่งที่จะประกาศเป็นเจตนารมย์นข้อนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ยากที่สุด แต่เราจะมุ่งมั่นที่จะทำ และจะทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง คือการเปลี่ยนวิธีคิดของคนเราในสังคมต่อปัญหายาเสพติด"

     ภาพยนต์เรื่องนี้คงไม่เพียงเหมาะสำหรับครูหรือคนทำงานด้านยาเสพติด แต่น่าจะเหมาะสำหรับทุกคน เพราะไม่มีใครไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ในปัจจุบัน

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 282185เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2009 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เข้ามาอ่าน หลังจากที่มึนๆกับงานที่เร่งๆค่ะ

ภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่สะท้อนปัญหายาเสพติดของเด็กที่อยู่ในสถานศึกษา ให้สังคมคิดทบทวน นอกเหนือจากเด็กกลุ่มนี้ ก็พบว่ามีกลุ่มนอกระบบโรงเรียนอีกเยอะค่ะ และน่าสนใจในประเด็นเหตุและผลของปัญหานี้ ส่วนหนึ่งเชื่อมโยงมาสู่เด็กในสถานศึกษา โดยที่ไม่ผ่านหน่วยครอบครัว...

ขอบคุณที่เขียนขึ้นเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้...กระจายสู่สังคมค่ะ

 

 

สวัสดีครับคุณอรทัย

  • เชื่อไหมหากจะบอกว่าสำหรับปัญหายาเสพติด เหรอ! "ไกลตัว", "เอาที่ปากท้องก่อนสิ", "ลูกเราไม่ได้ติดยานี่", "พวกติดยา มันสิ้นคิด", "จะค้ายาหรือไม่ไม่รู้ แต่เขาเป็นคนสนิทของนายกฯ (อบต./เทศมนตรี/อบจ.) คบไว้ก่อน", .... 
  • อีกเยอะครับ หากได้นั่งฟังชาวบ้านเขาคุยกันเงียบ ๆ เบา ๆ เราจะได้ยินครับ

สวัสดีวันพ่อค่ะ วันหยุดนี้ไปเที่ยวไหนรึปล่าวค่ะ ครูบันเทิงไปจุดเทียนชัยถวายพระพรมาค่ะ พาเด็กๆไปรำด้วย สบายดีน่ค่ะ ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้น่ะค่ะ..

สวัสดีปีใหม่ก่อนที่จะสิ้นเดือนในวันนี้ค่ะ

ไม่ค่อยได้ดูภาพยนต์ เอามาเล่านะคะ

แวะมาสวัสดี อยู่ใกล้กัน แต่เสมือนห่างกัน นะ ท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท