การเมืองนำการทหาร การพัฒนาที่ยั่งยืนในสามจังหวัดภาคใต้


นพ.ประเวศ กล่าวอีกว่า สาเหตุของปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ความเป็นรัฐเอกนิยมในสังคมพหุวัฒนธรรม ยึดถือความเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ผู้คนมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติ ต้นตอที่สำคัญของปัญหา คือ ความไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนในพื้นที่ จำเป็นต้องจัดรูปแบบการศึกษาใหม่ เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เข้าใจในเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มคนชั้นล่างที่ไม่เคยได้รับการเอาใจใส่

สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ได้จัดสัมมนาเรื่อง “การเมืองต้องนำการทหาร ทิศทางการแก้ไขปัญหาภาคใต้สู่ความยั่งยืน” โดย ศ.นพ.ประเวศ  วะสี" เป็นประธานเปิด ในฐานะท่านเป็นประธานหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข

 

ท่านได้เสนอแนวทาง 5 แนวทางและมี 7 หลักการดับไฟใต้

 

ท่านหนุนแนวทางการเมืองนำการทหาร แต่แนะต้องให้มีเอกภาพ  ถือเป็นแนวทางที่ดี แต่ยังมีปัญหาเพราะการเมืองในปัจจุบันยังไม่นิ่ง ไม่สามารถทำงานร่วมกับฝ่ายทหารได้อย่างสัมพันธ์กัน ดังนั้นฝ่ายการเมืองต้องทำงานร่วมกับทหารอย่างมีเอกภาพ ให้ทหารเข้าไปจำกัดขอบเขตความรุนแรง ระงับความรุนแรงโดยไม่ต้องรบ นอกจากนี้ยังเห็นว่าภาคใต้ยังขาดการดูแลโดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ยุติธรรมต่อคนจน เพราะเมื่อเกิดความเป็นธรรมในสังคม คนในจังหวัดชายแดนจะรู้สึกถึงความปลอดภัยและความเป็นธรรม

 

สำหรับสาเหตุของปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ความเป็นรัฐเอกนิยมในสังคมพหุวัฒนธรรม ยึดถือความเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ผู้คนมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติ ต้นตอที่สำคัญของปัญหา คือ ความไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนในพื้นที่ จำเป็นต้องจัดรูปแบบการศึกษาใหม่ เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เข้าใจในเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มคนชั้นล่างที่ไม่เคยได้รับการเอาใจใส่

 

กลุ่มผู้นำในสังคมมี 5 ประเภท ได้แก่ นักการเมือง ข้าราชการ นักวิชาการ นักธุรกิจ และสื่อสารมวลชน หากคนทั้ง 5 กลุ่มไม่เข้าใจความเป็นไปของคนชั้นล่าง จะนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งที่จะลุกลามเป็นวิกฤตการณ์คลื่นลูกที่ 4 นำไปสู่การนองเลือด เนื่องจากสภาพปัญหามีความหลากหลายและซับซ้อน ทำให้เราไม่รู้ว่าศัตรูคือใคร จึงไม่สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ได้

 

แนวทางแก้ปัญหาภาคใต้ที่ท่านเสนอ 5 ประการซึ่งนำมาจากรายงานการศึกษาของนักศึกษา สสสส.1 ประกอบด้วย

 

1.ต้องสร้างจินตนาการใหม่ว่า ประเทศไทยประกอบด้วยความหลากหลาย สร้างสันติระหว่างคนทุกเชื้อชาติ ศาสนา

2.ต้องกระจายอำนาจสู่ชุมชน

3.ต้องใช้ความจริง ความเชื่อถือ และความยุติธรรมในการแก้ไขปัญหา

4.ตั้งศูนย์ฮาลาลปัตตานี ให้เป็นศูนย์อาหารแห่งชาติ ส่งอาหารฮาลาลไปขายทั่วโลก เพื่อสร้างความภูมิใจให้กับคนในพื้นที่ และสร้างอาชีพ แก้ปัญหาความยากจน

5.ยกปัตตานีเป็นศูนย์กลางการศึกษา จะยิ่งทำให้คนในพื้นที่ภูมิใจในอัตลักษณ์ของคนไทยมุสลิม

 

น.พ.ประเวศ ยังเสนอหลักการแก้ปัญหาภาคใต้ 7 ด้าน ประกอบด้วย

 

1.สร้างคัมภีร์ยุทธศาสตร์เสริมสร้างสังคม สันติสุข ให้กองทัพและการเมือง ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลรวมกันเป็นภาคีเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาแบบไม่แยกฝ่าย 

2.ตั้งกลุ่มสันติวิธีโดยให้กองทัพเป็นผู้ขับเคลื่อน

3.สื่อสารมวลชนต้องกำหนดยุทศาสตร์เข้าให้ถึงพื้นที่

4.สานเสวนาสันติภาพ พูดคุยกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ ซึ่งต้องไม่ใช่รูปแบบของการเจรจาตกลง 5.สร้างเครือข่ายสันติภาพ 

6.เป็นมิตรกับประชาคมมุสลิมทั่วโลก

7.ออกคำสั่งนำมติคณะรัฐมนตรี 66/2523 ที่ใช้หลักการเมืองนำการทหารในการต่อสู้เอาชนะกลุ่มก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มาใช้

 

นักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า นำเสนอทิศทางการแก้ปัญหาภาคใต้สู่ความยั่งยืน โดยนายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน ผู้สื่อข่าวศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ กล่าวว่า ทุกวันนี้การเมืองยังไม่ได้นำการทหารอย่างแท้จริง เห็นได้ชัดว่ามีหลายหน่วยงานที่คิดการเมืองนำการทหาร แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้หากการข่าวไม่แม่นยำจะเกิดความผิดพลาดตามมาแน่นอน ดังนั้นการข่าวต้องแน่น ไม่เช่นนั้นงานการเมืองจะพัง อย่างไรก็ตาม เห็นว่ายังขาดความหวังด้านการเมืองนำทหาร และเห็นว่าควรเน้นทำงานการเมืองในชุมชนในพื้นที่มากกว่าทำงานในโรงแรม หรือพื้นที่ภาคใต้ตอนบน  คดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่มาจากเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ไม่ได้เกิดจากความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเมืองยังไม่นำการทหารไม่ลงในพื้นที่ ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาต้องเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 

 

ด้านนางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ กล่าวว่า การเมืองนำการทหารที่จะเกิดผลได้จริง คือ การเมืองภาคพลเมืองที่ทุกภาคส่วนต้องมีสิทธิ มีเสียง และมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง.-สำนักข่าวไทย

 

หมายเลขบันทึก: 272408เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 07:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เสียดายมากครับ...มีงานวิจัยชิ้นนึงที่กำลังทำเกี่ยวกับพื้นที่ ความจริงอยากไปร่วมรับฟังแนวทางมากๆๆครับ ปัญหาที่เกิดขึ้นมันซับซ้อนนะครับ ผมมองว่าบางครั้งเรามองข้ามบางสิ่งบางอย่างไปครับ "กลุ่มเยาวชนในสถาบันอุดมศึกษา" การแก้ปัญหาคงจะไม่ถูกทางซะทีเดียวหากเรามองข้ามปัญหาที่เกิด จากสิ่งที่กล่าวมา (มองให้ลึกจะรู้ว่าทิศทางควรเดินไปทางใดครับ) มีโอกาสคงได้พูดคุยมากกว่านี้ครับ

ดูแลสุขภาพด้วยครับลุง

สวัสดีครับ ลุงเอก

เดี่ยวนี้ค่านิยมวัฒนธรรมเปลี่ยนไป..คนไม่กลัวบาป ไม่กลัวความผิด

เกือบทุกกลุ่มที่กล่าว..ผลประโยชน์มาก่อนครับ

ปัญหาต่างๆ.จึงแกไม่ได้ ...ไม่รู้จบ

ขอบคุณมากครับ

  • สวัสดีครับลุงเอก อิอิ
  • ผมเคยได้ยินคำขวัญที่ว่า "ยามศึกเรารบ  ยามสงบเราพัฒนา"
  • วิกฤตเช่นนี้ผมว่า เรามาร่วมกันพัฒนาระหว่างรบ คงจะสนุกและท้าทายพิลึก
  • เป็นกำลังใจให้ครับ
  • กอด ๆ ๆ ๆ ๆ

P ตอบช้าแต่ได้ตอบแล้วเสียงเล็กๆ กลุ่มเยาวชนสำคัญจริงๆครับ

Pคิดถึงเสมอเกษตรยะลา..ผลประโยชน์มันมากจริงๆครับ

P น้องรักสายลม เห็นด้วยเลยร่วมกันพัฒนาระหว่างรบ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท