การบันทึกนี้เกิดจากความเข้าใจส่วนตัวของผู้เขียน
ที่ได้ศึกษาหาความรู้จากโลกออนไลน์ใบนี้
รวมทั้งจากหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ
ดังนั้นผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณให้ถี่ถ้วนมิเช่นนั้น
อาจเป็นภัยแก่ตัวท่านเองได้ อิอิ
เป็นธรรมดาของความไม่รู้ของฉันเองเอง
ที่ต้องดิ้นรนหาโอกาสเติมเต็มให้กับตัวเองถูกผิดก็เชิญท่านผู้รู้ทั้งหลายได้
กรุณาทำให้มัน Full และ delete มันออกไปได้หากมันไม่ถูกต้องนะคะ
การถอดบทเรียนนี้
เกิดจากการเอาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
มาเปรียบเทียบกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
พบข้อแตกต่างดังนี้ (อิอิ เลียนแบบวิธีการนำเสนอของผู้รู้เขาใช้กันค่ะ)
1.อันดับแรกดูที่โครงสร้างก่อน
1.1 ในโครงสร้างเดิม
มี 4 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1-4 แต่ละช่วงชั้นมี 3 ชั้นเรียนไล่กันไปตั้งแต่ป1-ม6
1.2 ส่วนโครงสร้างใหม่มี 3 ระดับ
(เห็นว่าใช้คำพูดต่างกันแล้ว จากช่วงชั้นมาเป็นระดับ)
คือ ระดับชั้นประถมศึกษา ป1 ถึง ป6 ,ม.1-ม.3,ม.4-ม6
...............................................................
ต่อมาลองศึกษาดูที่กำหนดเวลา
2.2 โครงสร้างเดิม
กำหนดเวลาเรียนทั้ง 8 สาระการเรียนรู้แบบกว้างๆ
เช่น ช่วงชั้นที่1(ป1-ป3) ทั้ง8กลุ่มสาระ ปีละ 800-1000 ชั่วโมง
โดยสถานศึกษาสามารถกำหนดเองตามใจเธอ
ว่าจะให้แต่ละสาระมีเวลาเท่าไหร่
ตามที่เห็นว่าดีที่สุด
สำหรับความต้องการของสถานศึกษาชั้นอื่นๆ
ใครสนใจไปหาดูเอาเอง นะคะ
2.2 โครงสร้างใหม่
กำหนดเวลาเรียนขั้นต่ำ ของ 8 กลุ่มสาระ
แต่ละชั้นปีกำหนดกรอบแต่ละกลุ่มสาระ
แต่ละชั้นปีมาให้แล้ว
แต่รวมทั้งหมดพบว่าระดับชั้นป1-ป6
มีเวลาเรียนพื้นฐานแต่ละชั้นปี 800 ชั่วโมง
และได้จัดสัดส่วนชั่วโมงเรียนแต่ละสาระมาให้แล้ว เช่น
-ภาษาไทย ป1 -ป3 200ชั่วโมง/ปี แต่ป3-ป6 เหลือ 160 ชั่วโมง
-คณิตศาสตร์ เหมือนกับภาษาไทยทุกชั้นปี
-วิทยาศาสตร์ , สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ,สุขศึกษา พลศึกษา, ศิลปะ
ตั้งแต่ป1-ป6 เรียน 80 ชั่วโมงเท่ากัน ในแต่ละชั้นปี
-การงานอาชีพและเทคโนโลยี่ , ภาษาต่างประเทศ,
ตั้งแต่ ป 1 - ป 3 เรียน 40 ชั่วโมง
และป4-ป6 เรียน 80 ชั่วโมง
รวมเวลาเรียนพื้นฐาน ของชั้นป1 -ป6 ชั้นละ 800 ชั่วโมง / ปี
(อิอิ ของม.ต้นเยอะกว่าประถมคือ 840 ชั่วโมง /ปี คิดเป็นหน่วยกิตรวม ได้ 21 หน่วยกิต )
ทั้งนี้ไม่รวมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อีก 120 ชั่วโมง
และรายวิชา/กิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้น
ปีละไม่เกิน 80 ชั่วโมง
รวมทั้งหมดไม่เกิน 1000 ชั่วโมง/ ปี
และกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานและเพิ่มเติม
สถานศึกษาสามารถดำเนินการ โดย
ระดับประถมศึกษา สามารถปรับเวลาเรียนตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน
ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ตามเหมาะสม
แต่ต้องมีเวลาเรียนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน
และผู้เรียนต้องมีคุณภาพตามมาตราฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด
สำหรับเวลาเรียนเพิ่มเติม
หลักสูตรให้จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม
จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร
เฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
สถานศึกษาอาจจัดให้เป็นเวลาสำหรับสาระการเรียนรู้พื้นฐาน
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ส่วนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้เหมือนกันตั้งแต่ ชั้น ป.1 - ม.3 ปีละ 120 ชั่วโมง
เป็นเวลาสำหรับจัดกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน
และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคม และสาธารณะประโยชน์
ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผูเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมดังนี้
ระดับ ป.1 - ป .6 รวมทั้ง 6 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง
(ตรงนี้ไงที่ฉันคิดว่าเราไม่ควรลอกหลักสูตร หรือแผนการสอนใคร
เพราะสุดท้ายครูผู้สอนเองนั่นแหละจะปวดเฮด เมื่อมีการประเมินเกิดขึ้น
และพบว่ามันไม่สอดคล้องทั้งกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ วิสัยทัศน์
จุดมุ่งหมายหลักสูตรสถานศึกษา ของเราเอง )
สำหรับชั้น ม1-ม3
มีเรื่องหน่วยกิตกำหนดชัดเจนที่ใครสอนต้องศึกษาเองจากหลักสูตรแกนนำดังกล่าว
และไม่ขอกล่าวถึงเพราะไม่ได้สอนระดับมัธยมศึกษา อิอิ
.........................................................................................................
เอกสารอ้างอิง
1.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้นฐาน พุทธศักราช 2551 ,กระทรวงศึกษาธิการ(23-24).
2.http://lms.thaicyberu.go.th/OfficialTCU/courses/coursetree3.asp?cid=1021205&uid2=wanchai วิชา1021205 ชื่อวิชาหลักสูตรและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่องหลักสูตรวถานศึกษา (เข้าถึงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 8 พฤษภาคม 2552)
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย krutoiting ใน เรียนรู้ทางออนไลน์กับgotoknow
คำสำคัญ (Tags)#digital divide#เรียนรู้ทางออนไลน์กับgotoknow#มหาวิทยาลัยไซเบอร์#krutoi สพท.สมุทรสาครครูต้อย#โครงสร้างหลักสูตร 2551
หมายเลขบันทึก: 259982, เขียน: 08 May 2009 @ 16:30 (), แก้ไข: 06 Sep 2013 @ 20:42 (), สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน, ความเห็น: 16, อ่าน: คลิก
เยี่ยมมากครับ วิเคราะห์ได้ถูกต้องทุกแง่มุมเลยครับ