วิดีโอม้วนเดียวกัน แต่วิธีการใช้ต่างกัน ได้ผลต่างกัน


                       วิดีโอม้วนเดียวกัน แต่วิธีการใช้ต่างกัน ได้ผลต่างกัน

                    ผมได้วิดีโอหนังเกาหลี เรื่อง "เสียงกู่จากครูใหญ่" จากอาจารย์สมลักษณ์ มาตั้งใจว่าจะนำมาฉายให้กับนิสิตในคลาสที่ผมสอนได้ชมบ้าง โดยผมได้ ฉายให้กับนิสิตสองห้องชม

วิธีการขั้นตอน

 นิสิตกลุ่มที่ 1

  นิสิตกลุ่มที่ 2

  คุณลักษณะของนิสิต

  •  นิสิตปริญญาโท ชั้นปีที่ 3 ครูประจำการ
  •  นิสิตปริญญาโท ชั้นปีที่ 4 ครูประจำการ

 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

  •  ผมได้พูดเกริ่นนำให้ กับนิสิตฟังนิดหน่อย ว่าวิดีโอนี้ เกี่ยวกับเรื่องอะไร
  • ผมขอให้นิสิตช่วย เขียนบันทึกความคิดเห็น ที่ได้จากการชมวิดีโอลงบล็อก
  •  ไม่ได้พูดอะไร ไม่ได้เกริ่นให้ฟัง

 ขั้นการสอน

  •  นิสิตรับชมวิดีโอ
  • ห้อง ED 1209
  • เปิดแอร์ทุกตัว
  • เวลา 13.00 น.
  • นิสิตรับชมวิดีโอ
  • ห้อง ED 1209
  • เปิดแอร์ทุกตัว
  • เวลา 13.00 น.

 ขั้นสรุป

  •  ถามนิสิต 1-2 คนว่ามี ความคิดเห็นอย่างไรกับวิดีโอ ที่ได้รับชมไป
  •  ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม

 ขั้นขยายผล

  • ให้เวลาประมาณ 30 นาทีให้นิสิตบันทึกความคิดเห็น เกี่ยวกับวิดีโอหลังชม ลงบล็อก
  •  ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม

                    จากผลของการฉายวิดีโอม้วนเดียวกัน ฉายในช่วงเวลาเดียวกันคือตอนบ่าย แต่นิสิตคนละกลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1. มีการนำเข้าสู่บทเรียน เกริ่นนำให้เห็นความสำคัญของวิดีโอที่ฉาย  มีการตั้งความคาดหวังหลังชม ว่าหลังจากดูแล้วได้อะไร ขอให้นำไปเขียนลงบล็อก ส่วนอีกกลุ่มไม่ได้ทำอะไร 2. ทำการฉายวิดีโอ 3.กลุ่มที่ ๑ มีการสรุปสอบถามความคิดเห็นหลังชม ส่วนกลุ่มที่ ๒ ฉายเสร็จไม่มีการสรุป 4. หลังจากชมปล่อยเวลาให้ผู้เรียนได้มีเวลาในการบันทึกผลการรับชม พบว่า ผู้เรียนกลุ่ม ๑ เมื่อมีการตั้งความคาดหวังหลังชม ผู้ชมจะให้ความสนใจในการชม และมีการบันทึกข้อความ คำคมที่ได้จากวิดีโอเอาไว้ เพื่อนำไปเขียนบันทึก ส่วนกลุ่ม ๒ ผู้ชมจะรับชมเฉยๆ ไม่ได้มีความสนใจในวิดีโอมากนัก นำงานอื่นประกอบไปด้วยกับการดูวิดีโอ

                   ทำให้ผมรู้สึกว่าเหมือนกับสื่อการสอนที่ครูจะนำไปใช้กับนักเรียน ถ้าครู้มีสื่อที่ดีน่าสนใจ ครูดูแล้วสื่อนี้จะสามารถให้ความรู้ให้กับนักเรียนแน่นอน แต่วิธีการใช้สื่อของครูผู้สอนนั้น ถ้านำสื่อไปใช้อย่าง ไม่มีการเตรียมความพร้อมผู้เรียน คือปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสื่อหรือธรรมชาติของสื่อเป็นผู้เล่น หรือเป็นพระเอกอยู่อย่างเดียว โดยไม่มีการใช้สื่ออื่นประกอบเลย ผลที่ได้ ก็จะคล้ายกับที่ผมฉายวิดีโอให้กับนิสิตกลุ่ม 2 คือ ดูแล้ว รับรู้ รู้แล้วก็ผ่านเลย ไม่ได้มีการตอกย้ำ หรือซ้ำว่าผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร

                แต่ถ้าครูมีพระรอง มีสื่ออื่นประกอบ มีใบงาน มีการเกริ่นนำ มีสรุป การเรียนรู้หรือดูวิดีโอครั้งนั้นจะมีความหมายมากขึ้นอีก จากวิธีการใช้สื่อของครู

              ดังนั้นพอสรุปได้ว่า การใช้สื่อการสอนใดๆ ถ้าต้องการให้การใช้สื่อ ออกดอก ออกผลผู้สอนควร

  1. ทำการศึกษาสื่อนั้นก่อนล่วงหน้า
  2. เตรียมหรือวางแผนการสอนก่อนใช้งาน
  3. ควรมีขั้นนำ ขั้นการสอน ขั้นสรุป และขั้นนำไปใช้
  4. สื่อหนึ่งสื่อใดมีคุณลักษณะเฉพาะตัว ควรใช้สื่อตามความเหมาะสมของการสอน
  5. ควรใช้สื่อที่หลากหลายประกอบการสอน
หมายเลขบันทึก: 25827เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2006 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เห็นด้วยพันเปอร์เซ็นต์ เพราะเป็นหนึ่งคนในกลุ่มทดลอง 

สิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้สอนทราบว่าผู้เรียนได้รับอะไรจากการสอนหรือการใช้สื่อการสอน คือการประเมินหลังเรียน

  • อย่างน้อย "เสียงกู่จากครูใหญ่" ที่ผมนำมาก็เกิดประโยชน์ในการทดลองเพื่อเป็นสื่อการสอนครับ

เป็นหนึ่งในกลุ่มทดลองที่ได้ชม VDO  "เสียงกู่จากครูใหญ่"      ที่ อ.หนึ่งฉายให้ดู.... และได้ write เก็บเอาไว้เพื่อจะให้ผู้บริหารได้ชมด้วย... และเห็นด้วยกับ อ.หนึ่ง ในการใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆต้องให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสื่อนั้นๆด้วย... 

ไม่ได้เป็นหนึ่งในกลุ่มทดลอง แต่ก็ไม่เป็นไรเน๊าะ แค่ได้เข้ามาอ่านสาระที่เป็นประโยชน์ก็ดีใจแล้วคะ ...แล้วจะติดตามต่อไปเรื่อย ๆ นะคะ อิอิ..

http://gotoknow.org/panarat

  • ขอขอบคุณอาจารย์หนึ่ง...                                
  • เรื่องของอาจารย์ทำให้นึกถึงคำของท่านอาจารย์ ศ.นพ.ประเวศ วะสีที่ว่า "เรียนรู้ผ่านการกระทำ (interactive learning through action)"
  • กลุ่มที่ให้ดูเฉยๆ น่าจะเป็นพวก passive learning หรือ "รับลูกเดียว" คล้ายๆ กับเป็น spoon feeding หรือไม่ต้องขวนขวายอะไร รับข้อมูลเฉยๆ วิธีนี้ดูจะไม่ค่อยได้ผล
  • กลุ่มที่ให้งานมาทำ คงจะเป็นพวก interactive learning หรือ "ขวนขวายเรียน" มีการบ้านล่วงหน้า ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพสูง
  • เร็วๆ นี้... ท่านอาจารย์ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชเขียนไว้เหมือนกันว่า "เน้นกระบวนการเรียนรู้ (learning) มากกว่าการฝึกอบรม (training)"
  • จำไม่ได้ครับว่า เป็นบันทึกฉบับใดของท่าน เพราะท่านออกบันทึกวันละอย่างน้อย 3-7 บันทึก เวลาพิมพ์คงจะมีเอนดอร์ฟีน(สารความสุขในสมอง)หลั่งมากอย่างที่ท่านว่า
  • ขอแสดงความชื่นชม (appreciate) กับการศึกษาของอาจารย์ น่าจะทำเป็นงานวิจัยทางการศึกษาเลยนะครับ วงการ multimedia จะได้สั่นสะเทือน(ว่า MM บางทีก็ไม่ได้ผล ถ้าไม่มี active learning)
การชมวิดีโอ  เสียงกู่จากครูใหญ่   นิสิตชมด้วยความรู้สึกที่แตกต่างกันในแต่ละคน  ภูมิหลังก็แตกต่างกัน   วิญญาณความเป็นครูที่ไม่เท่ากัน  ทำให้เกิดความรู้สึกได้ไม่เหมือนกัน เหมือนการสอน ถ้าสอนเรื่องไกลตัวมาก ๆ ความสนใจก็จะน้อย  เรื่องเสียงกู่จากครูใหญ่  ดิฉันก็มี 1 แผ่น  ได้รับความอนุเคราะห์จาก นฤเบศร์ write ให้  ขอบคุณอาจารย์ที่นำมาให้ชม  และดีใจที่หลาย ๆ ความคิดจากเพื่อนก็มีอุดมการณ์เช่นเดียวกับครูใหญ่   
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท