๖๒.การฝึกเด็กให้คิดเป็น


กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นหาความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดและใช้กระบวนการทางวิทยาศาตร์เป็นเครื่องมือ

            

  

 

 

 

                                 



            วิชาชีววิทยามีบทบาทสำคัญยิ่ง   สำหรับสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต  เพราะชีววิทยาเกี่ยวข้องกับคน  สิ่งมีชีวิต  และสิ่งแวดล้อม  อีกทั้งยังเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีชีวภาพ  ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่  การจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา  เน้นการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการคิด  กระบวนการปฏิบัติ  เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง  สามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ควรมีหลากหลายรูปแบบ  เชื่อมโยงชีวิตจริงกับสิ่งแวดล้อม  ครูต้องปรับบทบาทจากผู้ป้อนข้อมูล (instructor)  เป็นผู้ให้คำแนะนำ (coaching)  และเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (facilitator)  ครูจึงมีหน้าที่ในการชี้แนะในการแสวงหาหรือนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาใช้ประโยชน์  ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการและแหล่งที่จะได้มาซึ่งข้อมูล  ในการชี้นำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองนั้น  ครูควรใช้การจัดกิจกรรมหรือใช้สื่อประกอบให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้  ฝึกให้คิดตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบอย่างมีเหตุผล  โดยเฉพาะกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (inquiry  process)  ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนค้นหาความรู้ใหม่ด้วยตนเอง  โดยผ่านกระบวนการคิด  และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ

               การใช้จิตวิทยาพื้นฐานการเรียนรู้แบบสืบเสาะ  หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ  การเปิดโอกาสให้นักเรียน  ได้เกี่ยวข้องในการค้นหาความรู้นั้นๆโดยตรง  มากกว่าการบอกให้นักเรียนรู้  เมื่อสถานการณ์แวดล้อมในการเรียนรู้นั้น  ยั่วยุให้นักเรียนอยากเรียน ไม่เป็นการบีบบังคับ  การเรียนรู้จึงจะเกิดได้ดีที่สุด  ครูจะต้องส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิด มีความคิดสร้างสรรค์  ให้โอกาสให้นักเรียนได้ใช้ความคิดของตนเองให้มากที่สุดการส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ใหม่ที่ได้  ไปเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่หรือนำไปประยุกต์ใช้  ให้นักเรียนมีโอกาสตรวจสอบซึ่งกันและกันโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ได้  จากการวิเคราะห์ผลการสำรวจตรวจสอบ  ควรเปิดโอกาสให้นักเรียน  ประเมินจุดเด่นและจุดด้อย  ในกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้  เพื่อการปรับปรุงในโอกาสต่อไป 

                ในการวัดและประเมินผลเป็นสิ่งควบคู่กัน  การแสดงออกขณะทำกิจกรรมจะสะท้อนความรู้  ความคิด  เจตคติทางวิทยาศาสตร์และความสามารถที่แท้จริงของนักเรียนว่ามีความสำเร็จในระดับใด  มีจุดเด่นใดที่ควรจะส่งเสริม  และมีจุดอ่อนใดที่ควรจะได้รับการแก้ไข  รวมทั้งครูผู้สอนจะได้ข้อมูล  ที่เป็นแนวทางปรับปรุงการจัดการเรียนรู้  และปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง  และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ใช้ข้อมูลที่ได้  เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด  และความสนใจของแต่ละบุคคลไงละคะ.



                เป็นอย่างไรบ้างคะ.....บันทึกหน้านี้ออกแนววิชาการนิดหนึ่ง  หวังใจว่า  สาระที่ครูแป๋มบรรจงร้อยเรียงขึ้นมา  คงจะมีประโยชน์ต่อคุณครูและผู้สนใจทุกท่าน  โดยเฉพาะคุณครูผู้สอนรายวิชาชีววิทยา....เพื่อนร่วมเส้นทางของครูแป๋มค่ะ...


                                                                                               ครูแป๋ม



                                                

หมายเลขบันทึก: 244020เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2009 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เรียนหนังสือกับคุณครูแป๋ม น่าจะสนุกและมีความสุขนะครับ

ครูแป๋มจะเปลี่ยนเป็น โค้ชและฟา

เด็กๆโชคดีจัง

แหม....คุณพันคำก็  ชมแป๋มเกินไป  และถ้าเด็กคิดแบบคุณบอกจริงๆ  แป๋มคงสุขใจมากเลยค่ะ

สวัสดีครับครูแป๋ม

เดย์ไม่มีโอกาสเรียนมาสายนี้เลย ผมเรียนสายช่างมาครับ

ย้อยนึกดูคิดว่าถ้าได้เรียนคงน่าสนุกแน่ๆเลย :) แต่ทุกวันนี้หลายแขนงที่สนใจ ชีวะน่าจะแทรกตัวอยู่โดยผมไม่รู้ตัวก็ได้มั้งนะครับ อิอิ

ฝันดีจ๊า นอนดึกได้แต่อย่าหักโหมนะครับ

สวัสดีค่ะคุณเดย์

จริงค่ะ  ชีววิทยาจะแทรกตัวอยู่กับศาสตร์หลากหลายวิชา  แม้แต่วิชาชีวิตก็ไม่เว้นค่ะ

จะขอฝันดีตามที่คุณเดย์บอก  เพราะแป๋มจะนอนให้เร็วขึ้น  เพราะไม่อยากหักโหมค่ะ (เดี๋ยวแก่เร็วจ้า....อิอิ)

ส่งดอกไม้ที่บ้านพี่สาวมาเป็นกำลังใจค่ะ

Az111

บทความประเภทนี้ มีมากๆ ดีครับ

หลายคนที่ติดตามข้อเขียนของคุณครูแป๋มอย่างต่อเนื่องจะพบว่า
ข้อเขียนทุกข้อเขียนมิใช่บทความธรรมดาที่เพียงเขียนขึ้นมาเพื่อเพียงนำมาลง
หรือเพื่อเพียงนำมาเสนอเหมือนท่านอื่นทั่วๆไป
แต่ทุกข้อเขีนที่นำมาลงเผยแพร่กันนั้น
ได้บ่งถึงวิธิคิดในการนำเสนอให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ทั้งแนวกว้างและแนวลึกด้วยหลักการเด่นชัดทุกๆครั้ง
สิ่งที่คุณครูแป๋มพยายามสื่อมาตลอดเวลาทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้น
คุณครูแป๋มมาสื่ออย่างเด่นชัดด้วยข้อความใบความท่อนแรกดังปรากฎข้อความดังนี้

" การจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา  เน้นการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการคิด  กระบวนการปฏิบัติ  เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง  สามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ควรมีหลากหลายรูปแบบ  เชื่อมโยงชีวิตจริงกับสิ่งแวดล้อม  ครูต้องปรับบทบาทจากผู้ป้อนข้อมูล (instructor)  เป็นผู้ให้คำแนะนำ (coaching)  และเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (facilitator)  ครูจึงมีหน้าที่ในการชี้แนะในการแสวงหาหรือนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาใช้ประโยชน์  ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการและแหล่งที่จะได้มาซึ่งข้อมูล  ในการชี้นำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองนั้น  ครูควรใช้การจัดกิจกรรมหรือใช้สื่อประกอบให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้  ฝึกให้คิดตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบอย่างมีเหตุผล  โดยเฉพาะกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (inquiry  process)  ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนค้นหาความรู้ใหม่ด้วยตนเอง  โดยผ่านกระบวนการคิด  และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ"

นี่คือกลยุทธ์ ที่ครูแป๋มนำมาใช้ในการเรียนการสอนให้กับเด็กนักเรียน
คุณครูแป๋มตั้งใจนำเสนอให้เด็กทุกระดับชั้นที่รับผิดชอบอยู่อย่างเท่าเทียม
ไม่ว่าจะเป็นเด็กห้องต้นหรือเด็กห้องท้าย
ที่หลายคนเคยตั้งแง่สงสัยว่าไปให้ความสำคัญเด็กห้องท้ายทำไม

การใช้จิตวิทยาพื้นฐานการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์  คือ  การเปิดโอกาสได้สืบค้นเรียนรู้ด้วยตนเอง การกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้ ไม่เป็นการบีบบังคับ  การเรียนรู้จึงจะเกิดได้ดีที่สุด คุณครูแป๋มเชื่อเช่นนั้น ด้วยการเปิดโอกาสเข้าสู่กระบวนการทางความคิด การปฏิบัติด้วยตนเองตามแนวทางชี้แนะหลักกว้างๆ แล้วนำวิธีคิดไปพัฒนาด้วยตัวเด็กเองจากเด็กที่เคยถูกมองข้าม ทอดทิ้งมากลายเป็นเด็กคนใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากสังคมในที่สุด

ในแผนการพัฒนาทั้งปวงนี้คุณครูแป๋ม ได้ดำเนินการวัดและประเมินผลควบคู่กัน  การแสดงออกเด็กขณะทำกิจกรรมจะสะท้อนความรู้  ความคิด  เจตคติทางวิทยาศาสตร์และความสามารถที่แท้จริงของนักเรียนว่ามีความสำเร็จในระดับใด  มีจุดเด่นใดที่ควรจะส่งเสริม  และมีจุดอ่อนใดที่ควรจะได้รับ รวมทั้งครูผู้สอนจะได้ข้อมูลที่เป็นแนวทางปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ และปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

ทั้งหมดนี้คือผลงานการออกแบบ เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด  และความสนใจของแต่ละบุคคล
ผลงานนี้เป็นฝีมือ ทักษะมุมมองและความคิดของผุ้หญิงเล็กๆคนนี้ที่ควรแก่การกล่าวนามยกย่อง
"ว่าเป็นครูดีเด่นแห่งปี" ของตัวแทนครูไทยทั่วประเทศ
หรือสมควรได้รับขนานนามว่า "สมหญิง" ของบรรดาสตรีไทยทั่วประเทศเช่นกัน

ได้เข้ามาอ่านเรื่องราวของครูแป๋มทั้งจากคุณครูบอกเล่าเองและผู้เข้ามาเม้นท์อย่างละเอียดเช่นเม้นท์ของคุณสุวัฒน์แล้ว ขอชื่นชมคุณครูมากครับ

ขอบคุณพี่ครูอ้อยมากๆเลยค่ะ กับดอกกล้วยไม้แสนสวยนี้ค่ะ ชื่นใจจัง

ขอบคุณท่านรองฯนะคะ แล้วครูแป๋มจะสรรสร้าง สรรหามาอีกมากๆนะคะ

เรียน ท่านสุวัฒน์ที่เคารพ

ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ ครูแป๋มนั้นนำจะนำเอาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของตนเอง ผ่านการวางแผน ทดลองใช้ ปรับแก้ นำมาทดลองใช้อย่างต่อเนื่อง จนเห็นว่าเกิดผลดีต่อผู้เรียนโดยมาก แต่ก็จะพัฒนาไปเรื่อยๆอย่างไม่หยุดยั้งค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณ Van Heusen ที่แวะมาอ่าน

ขอบพระคุณ Ico48 ท่านรองฯที่มอบดอกไม้กำลังใจให้กับแป๋มค่ะ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท