นักวิชาการ จำเลยของสังคม (1-10)


เส้นแบ่งในการที่จะบอกว่า...อะไร อย่างไร แค่ไหนที่ถือว่าเป็นผลงานของใคร อยู่ตรงไหน? และจะทำอย่างไรให้การทำงานร่วมกันของนักวิชาการและท้องถิ่นเป็นไปอย่างเกื้อกูลกันและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและโลกของเรา

    

      ในฐานะที่เป็น “นักวิชาการ” ซึ่งทำงานเป็นผู้ประสานงานใน  “โครงการสรรหาและยกย่องครูภูมิปัญญาไทย” มาระยะหนึ่ง จึงมีโอกาสทำงานคลุกคลีกับ “ครูภูมิปัญญาไทยและเครือข่าย” ได้ร่วมเรียนรู้และประทับใจกับครูภูมิปัญญาไทย ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงภูมิปัญญา พ่อใหญ่ แม่อุ้ย และเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ

 

       หลายครั้งได้ยินเสียงบ่นจากพื้นที่ว่า...นักวิชาการนำผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่นไปเป็นผลงานของตนเอง .... ในขณะที่เสียงจากนักวิชาการก็ว่า... เสียดายมีเนื้อหาดี ๆ ไม่เผยแพร่ ชาวบ้านเขียนไม่เป็น ต้องไปช่วยเขียนให้

 

มองเรื่องเดียวกัน แต่จากคนละมุมมอง จนเกิดปัญหาคาใจกันมากนักต่อนักแล้ว ผู้รู้ ครูภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่นก็มองนักวิชาการด้วยสายตาที่ไม่ไว้วางใจ นักวิชาการก็มองว่าผู้รู้ ครูภูมิปัญญาไทยหวงวิชา ไม่ถ่ายทอด ไม่เผยแพร่ต่อสาธารณะ

ล้วนเป็นความรู้สึกที่ชวนให้เกิดความอึดอัด ไม่สบายใจ  เป็นไปได้หรือไม่ที่จะลองตั้งคำถามขึ้นมาแล้วหาเหตุผลว่า...

 

       เส้นแบ่งในการที่จะบอกว่า...อะไร อย่างไร แค่ไหนที่ถือว่าเป็นผลงานของใคร อยู่ตรงไหน? และจะทำอย่างไรให้การทำงานร่วมกันของนักวิชาการและท้องถิ่นเป็นไปอย่างเกื้อกูลกันและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและโลกของเรา

 

“นักวิชาการ” ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นข้าราชการของหน่วยงานรัฐ บางส่วนเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ประสานงานและทำงานร่วมกับชุมชนตามโครงการซึ่งโครงการส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม อนุรักษ์ เผยแพร่ และเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดสืบต่อภูมิปัญญาไทย

 แน่นอนว่าการทำงานตามโครงการต้องใช้งบประมาณของรัฐ และข้าราชการย่อมทราบดีว่า การใช้งบประมาณของรัฐนั้น มีขั้นตอน รายละเอียด และต้องมีการตั้งงบประมาณเพื่อขออนุมัติเงินงบประมาณ เพื่อดำเนินงานโครงการตามแผนที่เสนอของบไปนั้น...

เล่าเสียยืดยาว ก็เพื่อที่จะทำให้เข้าใจว่า การทำงานของข้าราชการ ต้องทำตามโครงการที่วางแผนและเสนอของบประมาณไว้ และที่สำคัญต้องรายงานผลงานเป็นรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งปี รายปี โดยมีตัวชี้วัดของผลงานตามโครงการที่ได้เสนอ (คล้ายการทำสัญญาไว้ว่า โครงการนี้จะได้ผลลัพธ์อะไรบ้าง) ทั้งในส่วนที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม

 

การรายงานผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ด้วยลายลักษณ์อักษร ต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์ด้วยการมี “ตัวชิ้นงาน” ซึ่งโดยมากก็จะต้องมีการรายงานเป็นเอกสารสรุปโครงการ เอกสารเนื้อหาเกี่ยวกับที่ได้ทำโครงการไป ....

 

ปัญหาจึงเริ่มเกิดขึ้น (ความจริงก็มีมานานแล้วแต่รุนแรงขึ้น) เพราะต้องมีการรวบรวมเนื้อหา สาระของงานที่ทำ ถ้าให้ดีต้องมีการพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่เนื้อหาสาระของงานที่ทำนั้น ... ซึ่งแน่นอนว่า ผู้เรียบเรียง ผู้เขียนก็คือ นักวิชาการที่ไปทำงานร่วมคลุกคลีกับครูภูมิปัญญาไทยและเครือข่ายทั้งหลาย

 

ตรงนี้เองที่เป็นจุดสำคัญ ที่นักวิชาการจะต้องสำเหนียกและระวังให้มาก การนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ การสังเกต รวมทั้งเอกสารที่ครูภูมิปัญญาไทยรวบรวมเขียนส่งมาให้ มาเขียน เรียบเรียง ร้อยเรียงใหม่ หลังผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาข้อมูลแล้วนั้น ต้องคำนึงให้มากถึงหลักการสากลในการเขียนงานด้านวิชาการทั่วไปที่ว่า

 

1. จะต้องระบุแหล่งที่มาของข้อมูล มีระบบอ้างอิงในสิ่งที่นำมาเขียนและเรียบเรียงเพื่อเป็นการแสดงการยอมรับและให้เกียรติแก่เจ้าของข้อมูล

2.แยกแยะไว้ให้ชัดเจนว่าส่วนใดเป็นความคิดเห็นและข้อมูลเพิ่มเติม ส่วนใดที่ข้อมูลที่ได้จากพื้นที่

3.ที่สำคัญ ควรมีการส่งเอกสารที่สรุปเรียบเรียงแล้ว ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและได้อ้างถึงในผลงานนั้นได้อ่านและให้ข้อคิดเห็นเสียก่อนที่จะมีการตีพิมพ์

4. พยายามสนับสนุน ส่งเสริมและช่วยให้ครูภูมิปัญญาไทยและเครือข่ายได้เรียบเรียงเขียนผลงานของตนเองได้อย่างเป็นระบบ จึงจะเกิดประโยชน์เต็มที่

5. พึงระลึกและตระหนักอยู่เสมอว่า นักวิชาการ คือ “ข้าราชการ” เป็นข้าของแผ่นดินที่จะต้องทำหน้าที่รับใช้ “เจ้านาย” ซึ่งก็คือประชาชน ชาวบ้านทั่วประเทศ ต้องทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ให้สมกับที่ได้รับโอกาสและความไว้วางใจ

 

ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว นักวิชาการอาจกลายเป็น จำเลยของสังคม” ที่มีภาพพจน์ว่า ทำงานฉาบฉวย เช้าชามเย็นชาม เอาใจนาย ตามใจนักการเมือง (ที่เวียนกันเข้ามามีอำนาจ) และเป็นนักฉกฉวยงานของชาวบ้านมาเป็นผลงานของตน .... สร้างตราบาปให้แก่ “นักวิชาการ” ทั้งหมด   

เราคงไม่อยากเป็น นักวิชาการที่เป็นจำเลยของสังคม ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นผู้ฉกฉวยผลงานของท้องถิ่นมาเป็นของตัวเองกัน...ใช่ไหมคะ ?

 ขออนุญาตนำกลอนที่กัลยาณมิตรให้ข้อคิดมาเพิ่มเติมไว้ค่ะ

74. นายวิโรจน์ พูลสุข
เมื่อ พ. 25 ก.พ. 2552 @ 09:25
1152257 [ลบ] [แจ้งลบ]

นักวิชาการหรือผลงานปราชญ์ชาวบ้าน...   อยู่ที่ท่านมีส่วนใดในเรื่องนั้น

วิชาการต่อยอดปราชญ์บอกยืนยัน...         ช่วยสร้างสรรค์ภูมิปัญญาวิชาการ

แต่ส่วนใหญ่สวมใส่ไม่กล่าวถึง...               ทำทะลึ่งชิงไปใจเหิมหาญ

ประสบการณ์ผ่านมากล้ายืนยัน...              นโยบายที่สร้างสรรค์ฉันถูกลืม

กองทุนหมู่บ้านรัฐสวัสดิการฉันผู้ก่อ...         น่าหัวร่อพอทำไปฉันไม่ปลื้ม

ไม่ย้อนถามไม่เคยชวนหวนขอยืม...            เขาด่ำดื่มเข้าสวมรอยแสนน้อยใจ

 *********************************

 เพิ่มเตมข้อคิดเห็นจาก ท่านอ.บัญชา ... ขอบพระคุณค่ะ...

P
86. บัญชา ธนบุญสมบัติ
เมื่อ ศ. 05 มิ.ย. 2552 @ 14:00
1331901 [ลบ] [แจ้งลบ]

สวัสดีครับ

       1) กรณีในบันทึกนี้ทำให้นึกถึงคำว่า Plagiarism ครับ คือ เป็นการขโมยผลงานของคนอื่นมาเป็นของตน (ไมว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตามที)

         เรื่องให้ credit อย่างถูกต้องนี่สำคัญทีเดียว เป็นการให้เกียรติผู้สร้างความรู้และผลงานนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้เขามีกำลังใจสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่องด้วย

        ในขณะเดียวกัน ผู้ที่นำมาเผยแพร่ หากนำเสนอได้อย่างมีศิลปะ คือ มีสาระ น่าสนใจ และให้ credit อย่างเหมาะสม ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์ผลงานด้วยเช่นกัน

        2) ตอนนี้ในวงการวิทยาศาสตร์ มีประเด็นเรื่อง Self-Plagiarism คือ ใช้ข้อมูลของตนเองนั่นแหละ แต่ดัดแปลง เพิ่มเติม ตัดต่อ นิดๆ หน่อยๆ แล้วนำไปตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการหลายที่ ทำให้ดูเหมือนกับว่า มีผลงานตีพิมพ์จำนวนมาก....

            เชื่อไหมครับ บางคนถึงขนาดได้เป็น 'นักวิทย์/นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ดีเด่น' ไปเลย!!!

        3) มีอีกแง่มุมหนึ่งที่อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง แต่คาบเกี่ยวกัน คือ สื่อสารมวลชนบ้านเราก็นำเอาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น นักวิชาการ หรือผู้ที่ทำงานด้านนั้น ไปนำเสนอเอง

            แบบนี้ก็มีปัญหา คือ ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน บิดเบือน หรือไม่ครบ ทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดได้

        ในกรณีเช่นนี้ อาจมีสาเหตุมาจาก

            - พื้นที่/เวลา ของสื่อหนึ่งๆ มีจำกัด : ทำให้ไม่สามารถระบุรายละเอียดได้ เช่น หนังสือพิมพ์มีพื้นที่จำนวนหนึ่ง โทรทัศน์ก็มีเวลาจำกัดช่วงหนึ่ง ฯลฯ

            - ความเป็นมืออาชีพของผู้นำเสนอ : จุดนี้สำคัญ เพราะหากแยกแยะได้อย่าง ข้อ 2 และระบุที่มาอย่างชัดเจนอย่างข้อ 1 ก็ถือได้ว่าทำงานอย่างมืออาชีพ แต่ถ้านำเอาข้อมูลจากแหล่งอื่น หรือความคิดเห็นของตนปนๆ ลงไป (ซึ้งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง)

            - พื้นฐานความรู้/ความเข้าใจของผู้นำเสนอ : คือถ้าไม่มีพื้นฐานดีเพียงพอ ก็อาจจะตีความข้อมูลที่ได้รับไปคนละทิศละทางไปเลย....

 

หมายเลขบันทึก: 239048เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2009 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (89)
  • สวัสดีค่ะ
  • มาแบบคิดถึงจริง ๆ ๆๆๆ
  • งานเยอะมากๆๆๆๆๆ เหนื่อยมาก ๆๆๆ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

สวัสดีค่ะคุณนักวิชาการคนหนึ่ง

ยินดีต้อนรับค่ะ ไม่อยากถามว่าอยู่หน่วยงานไหน...5555....

หัวอกเดียวกัน ใช่ไหมคะ

อย่าน้อยใจเลยค่ะ แปรเปลี่ยนพลังความน้อยใจ ไม่เข้าใจ ไปเป็น พลังสร้างสรรค์ ดี ๆ ที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อกันทุกฝ่ายดีกว่าค่ะ

สู้ ๆ ค่ะ คนไม่มีรากเชื่อว่า ความซื่อสัตย์ จริงใจ จะส่งผล และเป็น เครื่องพิสูจน์ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

สวัสดีครับอาจารย์ ได้มาเรียนรู้ครับ บังเอิญไม่ได้เป็นนักวิชาการ (เป็นผู้ปฏิบัติงานประเภท รับคำสั่ง ทำทันที ทำดีที่สุด(อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจตัวเองเท่าไหร่))  แต่ชอบวลีนี้ของอาจารย์  ครับ

"พึงระลึกและตระหนักอยู่เสมอว่า นักวิชาการ คือ ข้าราชการ เป็นข้าของแผ่นดินที่จะต้องทำหน้าที่รับใช้ เจ้านาย ซึ่งก็คือประชาชน ชาวบ้านทั่วประเทศ ต้องทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ให้สมกับที่ได้รับโอกาสและความไว้วางใจ"

สวัสดีค่ะคุณ. ♥< lovefull >♥

ดีใจและยินดีต้อนรับกลับสู่อ้อมกอดของ G2K ค่ะ

งานยุ่ง อย่ายุ่งใจ นะคะ เพราะถ้า "ใจยุ่ง" งานจะยุ่งมากขึ้นเป็นหลายเท่าค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ

  • ถ้าลดช่องว่าง..ให้เป็นการทำงานร่วมกันเหมือนน้องว่า..ในตอนแรกน่าจะดีนะคะ
  • พี่คิมเคยทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น..นักวิชาการพูดภาษาวิชาการที่ชาวบ้านไม่เข้าใจ  ก็เป็นปัญหาในการแสวงหาข้อมูลอย่างหนึ่งค่ะ
  • ขอกลับไปอ่านอีกรอบนะคะ
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ หนุ่ม กร~natadee

ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามาให้กำลังใจ

วลีที่ว่า...."พึงระลึกและตระหนักอยู่เสมอว่า นักวิชาการ คือ ข้าราชการ เป็นข้าของแผ่นดินที่จะต้องทำหน้าที่รับใช้ เจ้านาย ซึ่งก็คือประชาชน ชาวบ้านทั่วประเทศ ต้องทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ให้สมกับที่ได้รับโอกาสและความไว้วางใจ"

เป็นวลีที่คนไม่มีรากได้รับการปลูกฝังตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ารับราชการ และคิดว่าข้าราชการทุกคนก็ตระหนักอยู่ในใจ...

เพียงแต่บางครั้ง เวลาและสถานการณ์ต่าง ๆ อาจทำให้เกิดการหลงลืมไปบ้างค่ะ

ขอบคุณนะคะ

(^___^)

  • หากเรามีความต้องการ "การยอมรับของสังคมน้อยกว่าความตระหนักรู้ในตัวเอง (Self Actualization)" ก็คงไม่มีการ "ฉกฉวยผลงานของท้องถิ่นมาเป็นของตัวเอง"
  • นับว่าเป็นเรื่องแปลกค่ะ ที่เรากลัวคนอื่นไม่นับถือตัวเองเลยต้องทำอะไรตั้งมากมาย... แต่กลับไม่เริ่มจากการนับถือตัวเองก่อน
  • ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีครับ

กำลังคิดอะไรเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่พอดี...

ถ้านักวิชาการ นักวิจัย ที่คลุกคลีกับชาวบ้าน ได้พูดคุยกัน

ติดต่อกันเป็นระยะ ก็คงจะเข้าใจกันได้มากกว่านี้

เคยได้ยินเสียงแอบบ่นๆ จากชาวบ้าน ว่าพอต้องการผลงานก็มาหา

พอทำงานเสร็จก็หายไป แบบนี้ก็มีอยู่บ่อยๆ

นักวิชาการก็คิดเอาว่า อุตส่าห์เผยแพร่ผลงานให้แล้ว

แต่ชาวบ้านก็ไม่ทราบ เพราะไม่มีใครไปบอก

ชาวบ้านก็เข้าใจว่า นักวิชาการได้ผลประโยนชน์ตรงนั้น

ฯลฯ

กลอน วนแขว-แววขน
http://gotoknow.org/blog/pbk/173015

ฝรั่งไขไทยสติวิปลาต                            บุราณชาติขลาดเขลาเบาสมอง
มีตำราดารดาษปราชญ์เนืองนอง            เก็บงำผองภูมิรู้อดสูใจ
เพราะเจียมตัวหัวเก่าไม่เข้าท่า              หวงวิชาสารพัน แบ่งปันไฉน
ซ่อนสามารถศาสตร์และศิลป์จวบสิ้นใจ    จึงเด็กไทยไร้ความคิดพิจารณา
เพราะติว่าอย่าโม้คุยโวหาร                    ให้กราบกรานคลานเข่าเข้าไปหา
ห้ามแหกคอกนอกรั้วดั่งวัวลา                  ชมนาคาเจียมอิทธิฤทธิ์ตน
มีมีดคมจมฝักไม่ชักออก                       สนิมพอกพูนหนาพาขัดสน
อันศาสตราเวลาใช้ไม่ได้กล                    มีเพื่อผลใดเล่าเศร้าฤทัย
โอ้นกยูงจูงหางอำพรางขน                      จะมีคนยลเห็นเด่นไฉน
อันแมงป่องต้องด้นชูก้นไป                      จึงจักไม่วายดิ้นสิ้นชีวัน
ดรุณเยาว์เหล่าสหายคล้ายพยัคฆ์            ใช่เรือจักยักยื้อถือหางหัน*
คนมีดีทวีคูณมิสูญพันธุ์                           ต้องช่วยกันหมั่นอ้างอวดทางดี


สังคมไทยมีความเชื่อในเรื่อง ความอ่อนน้อมถ่อมตน สุภาษิตและสำนวนโบราณจึงสอนเอาไว้ว่าให้เป็นคน คมในฝัก (ไม่ให้อวดตนในที่สาธารณะ) เช่น

อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ
ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก
จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย
(จากเพลงยาวถวายโอวาท ของสุนทรภู่) 


หรือสอนเป็นโคลง (โคลงโลกนิติ) โดยเปรียบเทียบว่าให้ทำตัวเยี่ยงพญานาคผู้มีฤทธิ์เดชมาก แต่ก็เลื้อยไปอย่างแช่มช้าไม่อวดอ้างอิทธิฤทธิ์ ผิดกับแมลงป่องผู้มีพิษน้อยแต่ชอบชูหางอวดพิษอันนิดน้อยนั้น ดังเช่นในโคลงโลกนิติบทที่ว่า

นาคีมีพิษเพี้ยง       สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช       แช่มช้า
พิษน้อยหย่งโยโส   แมลงป่อง
ชูแต่หางเอง อ้า     อวดอ้างฤทธี



นอกจากนี้ยังมีสำนวนที่ว่า (ลูก)นอกคอก (ใช้ด่าว่า เด็กที่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ โดยเปรียบเทียบเด็กกับ วัว กับ ควาย ที่จะต้องอยู่ในคอก หรือโอวาทของบิดามารดา)  

ทว่าในข้อดี ย่อมมีข้อเสีย เมื่อเด็กไทยถูก กล่อมเกลาทางสังคม (socialization) เช่นนี้ เมื่อโตขึ้นก็จะกลายเป็นคนที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ ไม่กล้าแสดงออก ส่งผลให้ภูมิปัญญาต่างๆ ต้องสูญหาย อันเกิดจากการ อมภูมิ หรือคมในฝัก รวมทั้งการหวง(แหน) ในภูมิปัญญา(ประจำตระกูล) นั้นๆ ท้ายที่สุด ภูมิปัญญาไทย ก็ตายอยู่ในปาก (เพราะโดนอมเอาไว้)   

ผู้ใหญ่สมัยโบราณ มองว่าเด็กๆ เหมือน เรือ ที่จะต้องคอย ถือหางเสือ เพื่อควบคุมทิศทาง

แต่กวินอยากจะสอนเสียใหม่ว่าให้เด็กๆ มีความคิดเป็นของตัวเองด้วย นั่นคือให้เด็ก ทำตัวเปรียบเสมือน เสือ (ที่มีหาง) ใครก็ไม่กล้ามาถือหาง เพราะจะโดนเสือขบ หรือ กัดเอา นั่นคือเสือนั้น ยกหาง ตัวเองได้ โดยไม่ต้องการ ผู้ที่จะมาคอย ถือหาง เจ๋งมั้ยความคิดนี้

เป็นเรื่องที่สำคัญมาก มันสะท้อนถึงคุณธรรมจริยธรรม ที่ได้รับการศึกษาอบรมมา ไม่ว่าจากบ้าน จากโรงเรียน จากสถาบันการศึกษา จากหน่วยงาน เราเผิกเฉยมานานแล้ว จนกลายเป็นความเคยชินของนักวิชาการ(เสมือน) ที่เอาดีเข้าตัว หูตามัวมองไม่เห็นหายนะของตัวเอง หรอกคนอื่นนั้นหรอกได้แค่บางคน แต่หรอกตัวเองไม่ได้ ไม่มีอะไรสายไป หากกลับมาแก้ไข ผู้ที่มีภูมิปัญญามีประสบการณ์คือผู้ลงมือทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนมีความรู้ความเข้าใจในทุกอนูของสิ่งที่เชี่ยวชาญ และสามารถทอดให้ผู้ไม่รู้ รับรู้และเข้าใจได้ง่ายระดับหนึ่ง แก้ไขปัญหาได้อย่างทันกาล ชาวบ้านเป็นผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ๆ ตัวเองอยู่มาตั้งแต่เกิด โดยเฉพาะนักคิดนักปฏิบัตินักดัดแปลงแก้ไข กล้าคิดกล้าทำ เพื่อความอยู่รอดของตัวเองและครอบครัว ลองผิดลองถูกมาเป็นเวลายาวนาน จนตกผลึกเป็นเป็นองค์ความรู้ใหม่สำหรับตัวเอง ย่อมเป็นผู้เชี่ยวชาญโดยการลงมือทำเองจนภูมิแน่น ประจำอยู่ในท้องถิ่นในท้องทุ่ง ประดุจดรวงข้าวที่โน้มรวงลงอย่างถ่อมตัว เพราะที่รวงข้าวเต็มไปด้วยเมล็ดข้าวที่มีเนื้อเต็มเมล็ด ซึ่งต่างกับนักวิชาการ(เสมือน)ที่ชูคอโอ้อวด ว่าตูข้านักวิชาการ(ข้ารชการ กินเงินเดือดจากภาษีราษฎร์) ต้องสร้างภาพลวงตาขึ้นมากลบความขาดของปัญญาและประสบการณ์ ซึ่งต้องทำความจริงให้ปรากฏ ไม่เห็นจะแปลกที่เรียนรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน น่าจะภูมิใจที่มีโอกาสได้เรียนรู้โดยตรง ที่ไม่มีการสอนในสถาปันใดๆ หากมีสติย่อมคิดได้ว่าควรทำอย่างไร แต่ถ้าอัตคัดสติ ควรสกิดให้รู้ตัว รู้มารยาทที่ดี การยกย่องครู คือการยกย่องตัวเอง ไม่สายเกินแก้ จงยกย่องผู้รู้ ผู้ให้ คุณจะเป็นคนที่มีศักศรีจากการปรับตัว ยอมรับความจริงและยกย่องให้เกียรติเจ้าของภูมิความรู้ภูมิปัญญาอื่นค่ะ ไม่ยากหากตั้งใจจะปฏิบัติ

สวัสดีค่ะ พี่สุนันทาก็เคยถูก "คนอื่น" นำผลงานของพี่ไปรวบรวมเป็นของคนอื่นค่ะ   และก็เห็นด้วยค่ะ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมากมายก็มักถูกคนอื่นที่นำมาเป็นของตนเอง 

  • โชคดีแล้ว
  • ที่ไม่ใช่นักวิชาการ
  • เป็นนักวิชาเกิน อิอิๆๆ
  • ว่าแต่ว่า
  • พี่ๆน้องๆที่ สกศ
  • น่ารักจัง
  • มาอ่านเต็มเลย
  • เข้าใจว่านักวิชาการคงต้องไม่ไปเด็ดยอดความรู้ในแบบที่บางหน่วยงานทำครับ
  • สบายดีไหมครับ

สวัสดีครับนกแห่งอรุณรุ่ง

ประเด็นเรื่องการอ้างอิงผลงานนี้ ... อ่อนไหวมากครับ

พี่เองแม้จะทำหน้าที่สอน แต่ก็ต้องทำงานวิจัยด้วย และมักจะได้ร่วมงานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่านับถือ

การให้เกียรติการอ้างอิงเป็นการให้เครดิตแก่ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดี  ๆ ครับ

และยืนยันว่าไม่อยากเป็น "จำเลยของสังคม " และจะไม่ยอมเสียเวลากับอคติของกลุ่มคนไม่กี่คน 

มีบางส่วนเช่นกันที่ไม่ได้ทำงานจริง แต่ใช้ช่องว่างของรัฐ บวกความไม่ประสีประสาของนักวิชาการ หาประโยชน์ให้ตัวเองและพวกพ้องครับ

อย่าเสียเวลากับอคติที่ไม่มีคุณค่าเหล่านี้เลยครับ

สู้ ๆ นะครับ

นักวิชาการ คือ “ข้าราชการ” เป็นข้าของแผ่นดินที่จะต้องทำหน้าที่รับใช้ “เจ้านาย” ซึ่งก็คือประชาชน ชาวบ้านทั่วประเทศ ต้องทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ให้สมกับที่ได้รับโอกาสและความไว้วางใจ

...

พี่หญิงจ๋า กำลังใจ ให้เปี่ยมล้น

ยอมเป็น คนเบื้องหลัง มิปุจฉา

ไม่อยาก เป็นจำเลย โลกมายา

ขอเป็นว่า จำเลยรัก ประจักษ์ใจ

....

เป็นกำลังใจให้พี่หญิงค่ะ ...

 

สวัสดีค่ะพี่คนไม่มีราก

วันนี้พี่เขียนบันทึกยาวมากน่ะเลย

ก้านกอจะเม้นแต่ไม่เข้าใจ

งั้นกอไปดีกว่า

โชคดีมีความสุขน่ะค่ะ

+ สวัสดีค่ะพี่คนไม่มีราก.....

+ อ่านแล้วดีจังเลยค่ะ....เพราะมานึกขำ ๆ ...เวลาครูทำผลงาน คศ.3 อิ อิ...มักชอบลอกมาตัดแปะ ๆ แต่ไม่ยอมอ้างอิง...พอส่งผลลงาน...ก็ไม่ผ่านเพราะผู้ตรวจจับได้....

+ อิ อิ...ครูก็โวยวาย...ต่าง ๆ นา ๆ ....เฮ้อ....หาหัวใจให้เจอก็เป็นสุข....ความจริงก็คือความจริง...

+ มาส่งข่าวค่ะ....พรุ่งนี้อ๋อยต้องไปช่วยราชการที่ อ.สะเดา จ.สงขลาแล้ว...รวดเร็วมาก...ตัวอ๋อยเองก็ตั้งหลัก...ตั้งสติ...ไม่ทัน...โทรศัพท์ก็หายซ้ำอีก....

+ ใจมันหวิว ๆ บอกไม่ถูก...เมื่อเราต้องไปจากที่ ๆ เราเคยอยู่มาถึง 5 ปี....มีเรื่องราวมากมาย....พูดแล้วจะร้อง....จะยังไงกับชีวิตหละนี่....

+ ไม่มีแรงจะเก็บของเลยค่ะ....รู้ทั้งรู้นะค่ะ...ว่ายังไงก้ต้องมีเรื่องราวแบบนี้..เพราะสิ่งที่อ๋อยเจอมันไม่ธรรมดา...แต่ไม่คาดคิดว่าจะรวดเร็วเช่นนี้....แล้วเด็ก ๆ ที่นี่จะทำอย่างไร....คิดสารพัดเลยค่ะ....ใจสั่น...มือสั่น....ใจหวิว ๆ ....จริง ๆ มันเป็นเรื่องดีที่ได้ไปช่วยราชการ  เพราะนั่นหมายถึงชีวิต...แต่ภาระทางใจนี่สิ...ทำให้ใจหาย...

+ ขออภัยนะค่ะที่บ่นยาว...ก็เวลามีอะไรในใจก็มักจะต้องบอกให้ท่านพี่ฟังทุกที่นี่นา....ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกัน....

+ ขำ ๆ นั่งมองหน้ากันไปมากับพ่อสัม....ยังไม่ได้เริ่มเก็บของเลยค่ะ....ขอตั้งสติก่อน.....

สวัสดีค่ะ

* เราทำอะไรอย่างไย่อมรู้อยู่แก่ใจ

* ใครไม่รู้ก็ช่างปะไร...สนใจมากก็เป็นทุกข์

* เห็นด้วยกับคำกล่าวของอาจารย์ P  Lin Hui

* ส่งภาพมาเป็นกำลังใจ

     

* สุขกายสุขใจนะคะ

  • แสดงความเห็นในบันทึกนี้ครั้งแรกมาเองโดยไม่ได้มาเพราะคำเชิญของคุณคนไม่มีรากค่ะ ดังความเห็นข้างต้นก่อนหน้านี้
  • ครั้งนี้ครั้งที่สองกลับมาเพราะคำเชิญของคุณคนไม่มีรากให้มาอ่านบันทึกนี้ (อยากบอกว่าบังเอิญใจตรงกันที่มาก่อนแล้วค่ะ)
  • ศิลาอยากจะขอขยายความที่กล่าวไว้ตอนแรกเรื่อง "การยอมรับของสังคมกับความตระหนักรู้ในตัวเอง (Self Actualization)"
  • ปัญหา plagiarism (นำความคิดคนอื่นเป็นของตนเอง) เป็นปัญหาร่วมสมัย ยี่สิบกว่าปีที่แล้วที่เรียนอยู่ (เลยทราบว่าศิลาแก่เลย) ก็มีปัญหานี้ ซึ่งอาจารย์ฝรั่งเข้มงวดมากให้เกรดคนที่ทำแบบนี้ F
  • รากแห่งปัญหานี้คือคนต้องการการยอมรับของสังคมมากเกินไป จนคิดว่าหาก "แสดงความเห็นของตัวเองแบบที่ตัวเองเป็น" จะดูไม่เก่ง ไม่ดูดี ไม่ฉลาด ก็เลยยืมความคิดคนอื่นมาปรุงแต่งกับความคิดตนเอง โดยแม้ตัวเองก็อาจจะหลอกตัวเองว่าไม่ได้ทำเช่นนั้นก็เป็นได้
  • หากคนเราตระหนักรู้ในศักยภาพที่ตัวเองมีอยู่ Self-Actualization ย่อมผ่านกระบวนการเคารพตัวเอง (self Esteem) มาแล้ว ก็ย่อมเคารพความคิดผู้อื่นด้วยค่ะ
  • เรื่องนี้นอกจากจะผ่านการฝึกฝนให้รู้ตัวแล้ว ยังต้องตัดกิเลสความอยากที่จะให้คนมาเคารพนับถือด้วย (เพราะนับถือตัวเองสำคัญกว่า) กรณีที่นำผลงานคนอื่นมาปรุงแต่งเป็นของตนเองแล้วเสนอผู้ใหญ่ก็เช่นกัน ก็เพื่อจะได้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เพราะนำตัวเองไปผูกกับสังคมและความสำเร็จ แต่ไม่ได้มองตัวตนแท้จริงที่สำคัญกว่า
  • ทีนี้ถามว่าถ้าเจ้าตัวไม่รู้ตัว ไม่พัฒนาตนเอง แล้วคนอื่นจะทำอะไรได้บ้าง  เรื่องนี้ เป็นเรื่องของกรรมจริง ๆ ค่ะ ช้า เร็ว ก็จะต้องถูกตรวจสอบพบจนได้ ของไม่แท้ ยังไงก็ไม่แท้ค่ะ เพราะถ้าลงรายละเอียดของประเด็นที่ศึกษา คนไม่ได้เป็นต้นคิดจริง ๆ จะตอบโจทย์ไม่ได้ตลอดสายค่ะ ที่เรียกว่า "ตรรกะวิพากษ์"
  • ถ้าเราช่วยกันเป็นตำรวจสังคม เผยแพร่เรื่องนี้ไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะทำให้บุคคลที่ประพฤติเช่นนั้นเกิดความละอายใจต่อบาปค่ะ ขโมยความคิดผู้อื่นก็เปรียบเสมือนลักทรัพย์ แต่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ผิดศีลเช่นกันค่ะ
  • เป็นความเห็นที่ยาวที่สุดตั้งแต่บันทึกมาค่ะ  ด้วยความจริงจังและจริงใจเพื่อคุณคนไม่มีรากโดยเฉพาะ (ปกติจริงใจแต่ไม่จริงจังกระมังคะ คิก คิก..)
  • ขอบพระคุณค่ะที่ให้โอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คราวหน้าอยากให้แสดงความเห็นอะไรเป็นพิเศษเชิญใหม่ได้นะคะ แต่เตรียมยาหยอดตาไว้ด้วยนะคะ (อิอิอิ) ปกติไม่ comment ยาวเพราะเกรงใจ Blogger ค่ะ

"ทำอย่างไรให้การทำงานร่วมกันของนักวิชาการและท้องถิ่นเป็นไปอย่างเกื้อกูลกันและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและโลกของเรา" การทำผลงานวิชาการไม่ควรทำเพียงในรูปแบบเอกสาร แต่ควรนำหลักตรรกะวิพากษ์มาประยุกต์ใช้ด้วยค่ะ...

สวัสดีค่ะพี่ ครูคิม

เรื่องการที่นักวิชาการขาดทักษะในการสื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจได้กับผู้รู้ในท้องถิ่นนั่น คนไม่มีรากเป็นตัวอย่างค่ะ

เพราะไม่เข้าใจวัฒนธรรมเลย ถามมากมาย จนถูกว่า...คนไม่มีราก (เหง้า) นี่ล่ะค่ะ....^_^...

ส่วนที่สำคัญที่สุดที่คนไม่มีรากว่า....ต้องมี ใจ มาก่อนค่ะ เพราะถ้าใจไม่เปิดรับ ไม่จริงจัง จริงใจแล้ว ... สื่อสารกันอย่างไรก็ไม่ "ถึงใจ" ค่ะ

ขอบคุณพี่คิมมากค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะคุณ Sila Phu-Chaya

ต้องบอกว่า ไม่ผิดหวังเลยค่ะ ที่กลั้นใจ แบกหน้าไปตามมาอ่านบันทึกของตัวเอง ออกตัวก่อนว่าปกติจะไม่ค่อยกล้าไปชักชวนใครมาอ่านค่ะ เกรงใจ ไม่แน่ใจว่าเขาจะชอบไหม ถ้าสนใจคงมาอ่านเอง ... แต่บันทึกนี้ นึกถึงคนแรก ๆ ก็คือ คุณอ๋อย คุณศิลา และคุณ Add ค่ะ

น้อมรับประเด็นที่คุณศิลานำมาเป็นข้อคิดให้ค่ะ ....

สำคัญที่สุดในความเป็นมนุษย์น่าจะคือการตระหนักรู้ในตัวเอง (Self Actualization) นี่เองค่ะ แต่เมื่อตระหนักรู้ในคุณค่าของตนแล้ว จะต้องยอมรับและตระหนักในคุณค่าของคนอื่นด้วย...จึงจะไม่กลายเป็นคนหลงตัวเอง นึกว่าตัวเองเก่งและวิเศษอยู่คนเดียว...จริงไหมคะ

ครอบครัวของคนไม่มีรากจะสอนกฏทองคำ 3 ข้อค่ะ คือ ซื่อสัตย์ กตัญญู และอ่อนน้อมถ่อมตน  ซึ่งในข้อสุดท้ายนี้เองค่ะที่จะทำให้เราน้อมใจลงยอมรับ "ผู้อื่น" ด้วยความไม่อหังการ

คนไม่มีรากเขียนบันทึกนี้ด้วยการใคร่ครวญ ไตร่ตรองแล้ว 2 วันค่ะ แรก ๆ ที่เขียนนั้น จิตตก ใจเสีย และไม่เข้าใจ ค่ะ แม้จะไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตรงกับตัวเอง แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เกิดขึ้นในอนาคต ...เพราะตราบใดที่ความเชื่อของคนที่เราต้องทำงานด้วย ทั้งที่เป็น นักวิชาการ และ ครูภูมิปัญญาไทย ยังคงเป็นทำนองนี้ล่ะก็ ... อาจสักวันที่จะต้องพบเจอด้วยตัวเอง ซึ่งคนไม่มีรากไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นเลยค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งนะคะ เรื่องคอมเม้นท์ยาว ๆ ไม่มีปัญหาค่ะ ชอบมากค่ะ นั่งอ่านไปยิ้มไป หาวไป (ไม่ต้องเตรียมยาหยอดตาค่ะ)

(^___^)

สวัสดีค่ะคุณหนุ่มตึก1/ พี่อุ้ย / น้องณุตตา

นั่งพิมพ์ตอบไปก็ยิ้มไปค่ะ...^_^... ยอมรับว่าเครียดนิดหน่อยค่ะ ไม่มากนัก .. พอกำลังดีค่ะ ไม่ได้เครียดมานานแล้วนี่นา  ยิ้มอีกที :)

ขอบคุณข้อความที่ให้กำลังใจค่ะ ไม่ได้คิดว่าตัวเองมีจริยธรรม ดีเด่นกว่าใคร แต่โหลยืนยันว่าไม่เคยแม้จะคิดที่จะฉกฉวยผลประโยชน์จากครูภูมิปัญญาไทยค่ะ ...

และสิ่งที่ทำให้รู้สึก "ใจเสีย จิตตก" เล็ก ๆ ก็คือ ได้ทราบทัศนคติและมุมมองจากคนที่ไม่คิดว่า...จะคิดเช่นนั้นค่ะ

ก็นี่มันปัญหาของเราเองนี่นา...พาเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ให้เครียดตามเสียเปล่า ๆ ....ไม่ต้องห่วงค่ะ หายแล้วจ้ะ...^_^....

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

(^___^)

 

  • สวัสดีค่ะน้องโก๊ะคนไม่มีราก
  • การฉกฉวยเนื้องานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตัวเองเป็นเรื่องน่าอายจริงๆๆนะคะ และมีความผิดทางกฏหมายด้วย
  • เราต้องช่วยกันป้องกัน และแก้ไข สร้างความตระหนักในเรื่องของหน้าที่ และความซื่อสัตย์ค่ะ
  • ขอบคุณที่ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างสรรค์สังคมค่ะ

น้องคนไม่มีราก ค่ะ

 แม้แต่องค์พระปฏิมายังราคิน คนเดินดินอย่างเราหรือจะสู้คนนินทา

ไม่ๆ อย่าคิดน้อยใจอย่างนั้น หากไม่มีนักวิชาการทำงาน พี่คณูต้อยจะอ่านอะไรเข้าใข ภาษาท้องถิ่น ภาษาถิ่น บางครั้งก็ยากจะเข้าใจ

พี่ละคนหนึ่งเปิ่นเรื่องภาษษมามาก ก็นับว่าเป็นประสบการณ์ แต่ก็ลืม...5+

ความไม่เข้าใจภาษาท้องถิ่นก็เลยอดเป็นสะใภ้คนเหนือไง อิอิ

จะขอไม่รีบขอ.อุ๊ย เอาอะไรมาล้อเล่นนี่ ภาษาสื่อใจ ค่ะ

ท้อได้ แต่อย่าล้มเลิก ใครไม่รูเขาพูดแบบนี้ เข้าท่าใชได้ดี ก็เลยจำมา ลองเอาไปใช้บ้างก็ได้พี่ไม่หวงหรอกค่ะ  ...เอ๊ะของใครนี่  อนุญาตเฉยเลย อิอิ

สวัสดีค่ะอ. ธ.วั ช ชั ย

ขอบคุณข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์ของอาจารย์ที่ว่า....ถ้านักวิชาการ นักวิจัย ที่คลุกคลีกับชาวบ้าน ได้พูดคุยกัน ติดต่อกันเป็นระยะ ก็คงจะเข้าใจกันได้มากกว่านี้

การแอบบ่น...คงเป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้ เพียงแต่คนไม่มีรากคิดว่าเราน่าจะพัฒนาให้ การบ่น นั้น สร้างสรรค์ด้วยเหตุด้วยผลและมีความเข้าใจ ยอมรับกันเป็นพื้นฐาน  เพื่อที่จะได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการทำงานร่วมกัน ให้เกื้อกูล มีประโยชน์เกิดขึ้นทั้งสองฝ่ายและเป็นประโยชน์โดยรวมกับสังคมค่ะ

กำลังคิดว่าเราน่าจะมีวิธีการทำงานและทำความเข้าใจกันได้มากกว่านี้ คนไม่มีรากอยู่ในฐานะที่เป็นทั้งนักวิชาการและเคยประสานงานกับครูภูมิปัญญาไทย

และสิ่งที่รู้สึกไม่ชอบเลยก็คือ การกล่าวหากันด้วย...คำพูดและทัศนคติเดิม ๆ พาไป .... นักวิชาการจึงดูเหมือนจะเป็นจำเลยของสังคมอยู่ร่ำไป ...

ขอบคุณและดีใจที่อาจารย์เข้าใจค่ะ...^_^...

คุณคนไม่มีรากที่รัก

เรื่องราวแบบนี้ได้ยินได้ฟังมามากจริง ๆ ค่ะ ใน ฐานะที่ตัวเองคลุกกับงานชุมชนอยู่พอสมควร บางทีสวมหมวกสื่อมวลชน บางทีสวมหมวกนักวิชาการ เป็นนักวิจัย เป็นผู้ประเมิน  เคยทำงานให้กับทั้งองค์กรเอกชน หน่วยงานราชการ รวมถึงองค์กร  CSR

เคยได้ฟังชาวบ้านบ่น เคยถูกต่อว่าจากชุมชนยาวเหยียดเป็นชั่วโมงทั้ง ๆ ที่เจอหน้ากันครั้งแรก ต้องยอมรับค่ะว่า ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่มีมุมมองต่อนักวิชาการไม่ค่อยดีนั้น เขามีบาดแผล มีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับนักวิชาการ ที่ไม่ให้เกียรติเขา ไม่ให้ข้อมูลเขา ไม่บอกเขาว่าเอาข้อมูลของพวกเขาไปทำอะไร มาเอาข้อมูลที่ต้องการ หมดโครงการแล้วก็ไป ชาวบ้านบางคนบอกว่า พวกนักวิชาการได้ผลงาน ได้ทุนทำงาน ได้ปริญญา แล้วชาวบ้านได้อะไร!

บางพื้นที่นั้น ใบไม้เห็นตั้งแต่สภาพตอนเริ่มต้นที่นักวิจัยถูกตั้งป้อมจากชุมชน ว่าจะมาเอาอะไรจากเขาอีก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทีมนักวิจัยได้แสดงความจริงใจให้เห็น ให้เกียรติ บอกเล่าชุมชนเสมอว่านำข้อมูลไปทำอะไร และนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์กลับคืนสู่ชุมชน ในที่สุดก็ได้รับความไว้วางใจจากชุมชน ได้แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นและทางวิชาการ เพื่อพัฒนาต่อในทางที่ดีขึ้น  ปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นคนตั้งคำถามมากมายกับนักวิชาการนั่นแหละค่ะที่กลายมาเป็นกำลังสำคัญในการทำงานร่วมกัน เพียงแต่นักวิชาการคงต้องอดทน เข้าใจ และให้ความจริงใจกับเขา

เห็นด้วยที่สุดกับหลักการ 5 ข้อที่คุณคนไม่มีรากเขียนในบันทึกนี้

ส่งกำลังใจให้นะคะ บางเรื่องราวคงต้องใช้เวลาเพื่อสร้างความเข้าใจค่ะ 

ขอให้ต้นไม้แห่งปัญญาเติบโตงอกงามในทุกวันของชีวิตนะคะ..^__^..

  • ขออนุญาตกลับมารอบสามค่ะ ก่อนจะราตรีสวัสดิ๋ไปพักผ่อนสายตาฝ้าฟางค่ะ...ก็มาพบจดหมายตอบน่ารัก ๆ ขอบพระคุณค่ะ
  • กลับมาเพื่อมาเล่าประสบการณ์ก่อนนอนค่ะ ศิลาเคยคุยวิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายกับน้องคนหนึ่ง อยู่ดี ๆ พอแสดงความเห็นเราออกไป มันเหมือนเป็นสสารลอยอยู่ในอากาศ น้องเขาก็เลยสูดหายใจเข้าไปในปอด กระจายสู่สมอง กลายเป็นของเขาไปเลย
  • เวลาที่ต้องไปนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่อผู้ใหญ่ เธอก็ไวมากชิง present ก่อน และเสนอเสมือนเป็นความเห็นเธอ...งง
  • ศิลาก็เลยใช้วิธีคราวหน้าพกพาเครื่องบันทึกเทปขนาดจิ๋วอัดเทปซึ่งหน้าเลยค่ะ...บางครั้งก็อัดโดยไม่บอก แต่ก็มาบอกก่อนจะไปเสนอความเห็นผู้ใหญ่ว่าพี่อัดเทปไว้แล้ว หลัง ๆ พี่งงบ่อย เธอก็งงค่ะ "ไม่รู้ตัว"
  • คุณคนไม่มีรากไม่งงนะคะ นอนหลับฝันดีค่ะ ปิ๊งแล้วใช่ไหม?

สวัสดีค่ะคุณ กวิน

คนไม่มีรากถูกพี่ ๆ ล้อว่าเป็นคน "นอกคอก" ประจำค่ะ เพราะคิดอะไรมักจะไม่ค่อยเหมือนคนอื่น ยังดีได้คาถาจากแม่ให้คิดก่อนพูดด้วย 3 คำถาม คือ พูดแล้วมีประโยชน์ไหม พูดแล้วมีใครเดือดร้อนไหม พูดแล้วตัวเองจะเดือดร้อนไหม .... แต่จะว่าไปบางครั้งคาถาที่ว่าก็...ไม่ท้นกาลค่ะ

ขอบคุณข้อคิดสอนใจที่ยกมาให้ยาวมากค่ะ ต้องค่อยอ่าน ค่อยคิด ค่อยเรียนรู้ ....ไป

ขอบคุณค่ะ

(^__^)

+ สวัสดีค่ะ.....พี่คนไม่มีราก

+ แบบว่าจะเมล์หา...เล่าเรื่องพร้อมภาพนะค่ะว่าทำไมถึงต้องไปช่วยราชการแบบกระทันหัน....

+ แต่ว่า...อยากได้เมล์ที่สามารถส่งไฟล์ภาพไปด้วยได้ไหมค่ะ....

+ อิ อิ...ก็เมล์ของ G2K ส่งไฟล์ภาพไม่ได้นี่นา....

+ ขอบคุณมากมายค่ะสำหรับกำลังใจ....อ๋อยกำลังนั่งพิมพ์หนังสือมอบงานอยู่ค่ะ.....

+ เฮ้อ....อยู่ที่ไหนก็สอนเด็กเหมือนกัน...เราจำเป็นต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป...เพื่อได้ทำความดี...เพื่อแอมแปร์และเด็ก ๆ ....ไม่ว่าเด็กที่ไหน ๆ ก็อนาคตของชาติคือกัน....ถึงไปช่วยราชการก็พยายามเลือก ร.ร.ที่ห่างไกลและกันดาร...ขาดแคลนครู....ร.ร.ที่จะไป...อยู่ท่ามกลางขุนเขา...อยู่บนเนินและมีภูเขาล้อมรอบ...สวยงามมากค่ะ....ถ้าไปอยู่แล้วจะถ่ายภามาให้ชมค่ะ.....

+ ราตรีสวัสดิ์ค่ะ...

+ พี่คนไม่มีรากค่ะ....

+ อ๋อยส่งเมล์ไปให้แล้วนะค่ะ....

สวัสดีค่ะอ. Lin Hui

น้อมรับความคิดเห็นของอาจารย์ค่ะ

(^___^)

ขอบคุณพี่. สุนันทา ค่ะ

ผู้คนที่ฉกฉวยของคนอื่น ทั้งสิ่งของ ความคิด ... เป็นบุคคลที่น่าเห็นใจค่ะ เพราะเขาขาดความเคารพนับถือตัวเอง ....

จริงไหมคะ

(^__^)

สวัสดีค่ะคุณครูขจิต

นักวิชาการเกิน น่ะ ดีแล้วค่ะ มีเกินไว้ดีกว่า ขาด....

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะพี่คนตัดไม้

ดีใจที่พี่บอกว่า....และยืนยันว่าไม่อยากเป็น "จำเลยของสังคม " และจะไม่ยอมเสียเวลากับอคติของกลุ่มคนไม่กี่คน 

ส่วนที่พี่บอกว่า....มีบางส่วนเช่นกันที่ไม่ได้ทำงานจริง แต่ใช้ช่องว่างของรัฐ บวกความไม่ประสีประสาของนักวิชาการ หาประโยชน์ให้ตัวเองและพวกพ้องครับ

ก็อาจมีและก็เคยพบมาแล้ว...ซึ่งในหมู่คนดี ก็คงมีคนไม่ค่อยดีอยู่ด้วย

ขอบคุณค่ะ

(^__^)

ขอบคุณคุณpoo ค่ะ

ได้แรงใจจากน้องสาวคนดี....ขอบใจจ้ะ...

ยามที่เราท้อ หมดแรง ... เราจะเห็นและตระหนักได้ว่า....ใครคือ"เพื่อนแท้" ของเรา.....^__^.....

พี่หญิงจ๋า กำลังใจ ให้เปี่ยมล้น

ยอมเป็น คนเบื้องหลัง มิปุจฉา

ไม่อยาก เป็นจำเลย โลกมายา

ขอเป็นว่า จำเลยรัก ประจักษ์ใจ

..............

ชอบมากเป็นพิเศษตรงที่.....

ไม่อยาก เป็นจำเลย โลกมายา

(^___^)

สวัสดีค่ะ

  • ขอมาเก็บเกี่ยวความรู้ด้วยคนนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้องกอ

เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนภาพ อย่าเพิ่งเปลี่ยนใจนะคะ

วันนี้เขียนยาว .... บางวันก็เขียนสั้นค่ะ

.....พี่ก็ไม่ค่อยรู้เรื่องที่ตัวเองเขียนหรอกค่ะ....ว่าไปตามความรู้สึกค่ะ

(^___^)

คุณอ๋อยคะ

ดีใจที่มาส่งข่าวทักทายกันค่ะ

ขอให้มั่นใจและประสบกับสิ่งดี ๆ ในงานใหม่ค่ะ

คนที่มีความตั้งใจจริง อยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เสมอ....พี่มั่นใจค่ะ

ส่วนที่ส่งเมลมานั้นยังไม่ได้รับ ลองเช็คเมลอีกทีนะคะ

(^___^)

สวัสดีค่ะอ.นาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง)

ขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจ.....

 เราทำอะไรอย่างไรย่อมรู้อยู่แก่ใจ   ใครไม่รู้ก็ช่างปะไร...สนใจมากก็เป็นทุกข์

แม้เรื่องที่เกิดจะไม่ใช่สิ่งที่เกิดกับคนไม่มีราก (ในตอนนี้) แต่ด้วยใจจริงแล้ว ไม่ชอบที่จะให้มีการเข้าใจผิดและการกล่าวหากันโดยอคติหรือกระแสที่พากันไป....

ไม่อยากเห็นใครเป็น "จำเลยสังคม" ค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะคุณแฟนเก่า

คงจะหาใครที่เข้าใจความรู้ของ คนไม่มีรากเท่ากับคุณแฟนเก่าแล้วค่ะ

อ้อ...ใน G2K นี้ ก็มีอีก 2 คน คือ คุณใบไม้ย้อนแสงและอ.พรรณาค่ะ

มีเวลาจะมาเสวนาความคิดของคุณแฟนเก่าอีกครั้งค่ะ

ตอนนี้ ... ขอบคุณค่ะ

(^___^)

ขอบคุณพี่ เอื้องแซะ ค่ะ

ร่วมสร้างสรรค์สังคม เพื่อที่จะไม่ตกเป็นจำเลยสังคม...นะคะ

(^___^)

มาอ่านที่เพื่อน ๆ คอมเม้นท์

ได้ความคิดดีๆ มากเลยครับ

การมีเพื่อนดี ๆ ก็ทำให้ความคิดแตกฉานนะครับ

 

อ้าว แหม ปูคิดว่า พี่จะชอบตรง

....

ขอเป็นว่า จำเลยรัก ประจักษ์ใจ

..............

ลืมไปว่า  พี่หญิงเรา นักวิชาการ

ชอบแบบนั้น เหมาะสมแล้ว :)

"""

เอาใบผักเมี้ยง มาฝากพี่หญิง ไว้ผัดกิน เย็นนี้ค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

หากทุกฝ่ายจับมือกัน..ทุกอย่างจะเป็นไปด้วยดี

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น..นักวิชาการต้องให้เกียรติและอย่าฉกฉวย

ภูมิปัญญาไทยก็จะได้ไม่หวง..เมื่อเกิดความรู้สึกว่าไม่ได้โดนฉกฉวย

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายนะคะ..

อย่าท้อแท้นะคะ..คนดีดี่..มีคนเข้าใจแน่นอนค่ะ..อย่างน้อย add คนนี้ก้อเข้าใจนักวิชาการอย่างคนไม่มีรากนะคะ..อิอิ..ยิ้มนะคะสู้สู้

สวัสดีครับ คุณคนไม่มีราก

ผมคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้น
น่าจะเกิดจากพวก "นักวิชากุด"
มากกว่า

พวกนี้เป็นพวก "ขาดวิชา" ครับ
แต่ใจโหยหา "วิชา" เพื่อมาเติมเต็ม
เลยทำให้จิตใจ หูตา มืดมัว
คิดจะ "ตู่" เอาภูมิปัญญาบรรพชน
มาเป็นของตัว โดยใช้ "วิชามาร"

ผมคิดว่า หากเป็น "นักวิชาการ" จริงๆ
โดยเฉพาะ "นักวิชาเกิน"

P
เช่น ท่าน อ.ขจิต แล้วล่ะก็
(ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม)

มีแต่ "ให้ฟรี" แถมบางครั้งก็
"ลด แลก แจก แถม" วิชาที่ "เกิน" ให้อีกต่างหาก

ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลมากกว่า ไม่น่ามีอะไรต้องเครียด

หากเราทำงานด้วยเจตนาดีเป็นที่ตั้ง
ตั้งใจจะรักษา "ภูมิปัญญาบรรพชน"
ให้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของแผ่นดิน
เป็นมรดกจากบรรพชนแด่คนรุ่นหลัง

ควบคู่ไปกับการยกย่องเชิดชู
"ปราชญ์ของแผ่นดิน"
ประกาศเกียรติคุณให้รับรู้โดยทั่วกัน


ผมเชื่อว่า พวกท่านย่อมรู้สึกได้
และไม่มีใครที่กล้าตำหนิ

หากจะมีคนใจมืดบอดเช่นนั้นบ้างก็ "ช่างหัวมันปะไร"
คิดว่าทำงานให้ "แผ่นดิน"
ถึงไม่มีใครรู้แต่ "แม่พระธรณี"
ท่านก็น่าจะรับรู้ และเป็นกำลังใจให้

เวลามีอะไรกวนใจบ้าง ก็นึกถึงชื่อ "บล็อก" นี้นะครับ

ผมเองก็คงทำได้แค่เป็นอีกหนึ่งแรงใจ
ที่มอบให้แด่ทุกท่านที่ปวารณาตัว
ขอตามรอยเบื้องพระยุคลบาท
เพื่อเป็น "พลังของแผ่นดิน"
ครับผมมมมม.....

:)

 

 

สวัสดีค่ะพี่ krutoi

มาแบบอารมณ์ดีจังค่ะ...อ่านแล้วยิ้ม ๆ เลย  ^_^

น้องเห็นด้วยและได้เคยเห็นจริงกับตัวเองมาแล้วค่ะ....

"ภาษาสื่อใจ"

ไม่ล้มเลิก แม้จะท้อบ้าง ... ในบางครั้งค่ะ

ขอบคุณพี่ค่ะ

(^__^)

สวัสดีค่ะคุณ ใบไม้ย้อนแสง ที่รัก

ขอบคุณและซึมซับ...ทุกประโยคและวลีที่เพื่อนบอกค่ะ

ในการให้ข้อคิดเห็นจาก มิตร นั้น แม้จะไม่ใช่ "น้ำผึ้ง" แต่เรารู้ว่า แม้ขมก็เป็นยา ไม่ใช่สิ่งที่จะทำร้ายเรา แต่ด้วยความรักและปรารถนาดีกันอย่างจริงใจ

(^___^)

คุณ Sila Phu-Chaya คะ

เรื่อง งง ๆ แบบที่คุณศิลาเล่าน่ะ คนไม่มีรากก็เคยเจอค่ะ แต่หลัง ๆ ไม่ค่อยงงแล้ว....ชินค่ะ

ในสังคมที่คนมีหลากหลายความคิดและมาจากต่างพื้นฐานกัน...เราคงต้องรู้จักการป้องกันตัวเอง ค่ะ ไม่เช่นนั้น จะกลายเป็นเหยื่อของคนที่ชอบเอาเปรียบคนอื่น ... แต่คนดี ๆ มีมากกว่านะคะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

คุณอ๋อยคะ

ยังไม่ได้รับเมลเลยค่ะ แต่ไม่ต้องกังวลนะคะ รอได้ค่ะ เข้าใจว่าช่วงแรกที่ย้ายไปคงยุ่งมาก ๆ

รักษากาย-ใจให้ดีนะคะ

คิดถึงค่ะ...^_^...

 

 

สวัสดีค่ะอ.Thana

จิตวิญญาณของคนลักษณ์เจ็ดยังคงเปี่ยมด้วยความกระตือรือร้นค่ะ แม้จะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ไขว้เขวไปบ้างค่ะ

ศรัทธา...เป็นสิ่งสำคัญด้วยไหมคะ ในการโบยบินไปในโลกประสบการณ์ของคนลักษณ์เจ็ด....ตอนนี้กำลังขาดแคลนอย่างแรงค่ะ ... แต่อ.ไม่ต้องห่วงค่ะ นักรบก็ต้องรบ...เราเป็นนักรบในโลกชีวิต จะนั่งเฉย สบายใจก็คงไม่ได้เรียนรู้ใช่ไหมคะ

แปลกใจนิดหน่อยค่ะที่อ.บอกว่า...ผมเองเคยเป็นจำเลยของสังคม ... เช่นกันครับ....แต่เวลาผ่านไป บวกกับความจริงใจ การพูดคุยจะทำให้....เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องครับ

และใช่แล้วค่ะ...โลกยังกว้างไกลมาก...และคนไม่มีรากจะไม่ยอมให้สิ่งใดมาหยุดจิตวิญญาณอิสระค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

คารวะด้วยใจของคนลักษณ์เจ็ดค่ะ

(^___^)

ขอบคุณกำลังใจจากน้องอ้อมค่ะ

พี่ไม่ท้อค่ะ แต่...ชะงักไปนิดหน่อย เพราะ "ศรัทธา" มันหดหายไปน่ะค่ะ....^_^....

ตอนนี้ดีแล้วค่ะ

(^___^)

พี่คนตัดไม้คะ

มาอ่านคอมเม้นท์ของเพื่อน ๆ ในนี้ได้ตามสบายค่ะ

(^___^)

คุณ poo คะ

ขอบคุณสำหรับใบผักเมี่ยงค่ะ

ที่บ้านพี่จะมีญาติของหลานเขยอยู่สงขลา จะได้ทานผักเมี่ยงบ่อยค่ะ

โดยลวกกะทิ ทานกับน้ำพริกค่ะ ...^_^...

ง่า..อ่านอึ้ง ทึ่ง ซึ้งนะคะ
ท่านพี่..
ยิ้มหน่อยจ้า
 

สวัสดีค่ะคุณ add

ขอบคุณข้อคิดที่แสนจะให้กำลังใจค่ะ.....

หากทุกฝ่ายจับมือกัน..ทุกอย่างจะเป็นไปด้วยดี

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น..นักวิชาการต้องให้เกียรติและอย่าฉกฉวย

ภูมิปัญญาไทยก็จะได้ไม่หวง..เมื่อเกิดความรู้สึกว่าไม่ได้โดนฉกฉวย

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายนะคะ..

อย่าท้อแท้นะคะ..คนดีดี่..มีคนเข้าใจแน่นอนค่ะ..อย่างน้อย add คนนี้ก้อเข้าใจนักวิชาการอย่างคนไม่มีรากนะคะ..อิอิ..ยิ้มนะคะสู้สู้

ยิ้มอยู่แล้วค่ะ แม้จะยิ้มเฝือ ๆ ไปบ้าง ชอบยิ้มค่ะ แต่ตอนนี้ใจเริ่มยิ้มด้วยแล้วค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะคุณ ณภัทร๙

ขอบคุณความคิดเห็น...ที่จริงจัง จริงใจ และสร้างกำลังใจให้อย่างมหาศาลค่ะ

และที่ชอบมากจนต้องอ่านซ้ำหลาย ๆ รอบคือ....

หากเราทำงานด้วยเจตนาดีเป็นที่ตั้ง
ตั้งใจจะรักษา "ภูมิปัญญาบรรพชน"
ให้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของแผ่นดิน
เป็นมรดกจากบรรพชนแด่คนรุ่นหลัง

ควบคู่ไปกับการยกย่องเชิดชู
"ปราชญ์ของแผ่นดิน"
ประกาศเกียรติคุณให้รับรู้โดยทั่วกัน


ผมเชื่อว่า พวกท่านย่อมรู้สึกได้
และไม่มีใครที่กล้าตำหนิ

หากจะมีคนใจมืดบอดเช่นนั้นบ้างก็ "ช่างหัวมันปะไร"
คิดว่าทำงานให้ "แผ่นดิน"
ถึงไม่มีใครรู้แต่ "แม่พระธรณี"
ท่านก็น่าจะรับรู้ และเป็นกำลังใจให้

(^___^)

คุณหนุ่มตึก1คะ

ขอโทษนะคะที่ตอบช้ามาก ๆ ...^_^...

แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดกับโหล แต่ก็เกิดขึ้นกับนักวิชาการซึ่งมีอาชีพเดียวกัน และดูจะมีความใกล้เคียงกับสถานการณ์ที่เราน่าจะได้เจอ จึงเขียนไว้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้ นักวิชาการเช่นพวกเราระวังและตระหนักให้มากค่ะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

ขอบคุณคุณ พิมญดา ศรีสวัสดิ์ ค่ะ

ดีใจที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

บันทึกนี้เครียดหน่อยนะคะ ไม่เหมาะกับสาวอารมณ์หวาน ๆ เท่าไรค่ะ เลยออกจะทำให้ไม่สนุกนะคะ

(^__^)

สวัสดีครับ..

หลายครั้งได้ยินเสียงบ่นจากพื้นที่ว่า...นักวิชาการนำผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่นไปเป็นผลงานของตนเอง .... ในขณะที่เสียงจากนักวิชาการก็ว่า... เสียดายมีเนื้อหาดี ๆ ไม่เผยแพร่ ชาวบ้านเขียนไม่เป็น ต้องไปช่วยเขียนให้

.....

ไม่ว่ามองในมุมใด 
ผมก็เห็นประโยชน์อยู่วันยังค่ำ  เพราะที่สุดแล้ว เรื่องดีๆ ก็ถูกเผยแพร่และขยายผลในเวทีสาธารณะ  นำไปสู่การต่อยอดอื่นๆ  อย่างกว้างขวางและหลากหลาย

เพราะยังดีกว่าเก็บงำในวงแคบ  วันดีคืนดีเลือนลบไปกับชีวิตของผู้รู้ไปอย่างน่าเสียดาย  เพราะบางเรื่องคนสืบทอดก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคนในครัวเรือน, ในชุมชน  เสมอไป 

ปราชญ์หลายท่านไม่มีลูกหลานสืบทอดภูมิปัญญา  เพราะโลกเปลี่ยนไป  สังคมมีทางเลือกหลากหลายกว่าอดีคมากนัก  แต่ในวิธีของนักวิชาการนั้น  คือกระบวนการเผยแพร่ที่ต้องน้อมรับ

เพียงแต่การเผยแพร่นั้น  จักต้องคงไว้ซึ่งมรกดทางปัญญา อันหมายถึงการให้เกียรติต่อลิขสิทธิ์ทางปัญญานั้นๆ อย่างไม่บิดเบือน

ขอบคุณครับ

มาเยี่ยมค่ะ และมาให้กำลังใจ...
“นักวิชาการ“ นั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้แต่เพียงว่า “นักวิชาการ น. ผู้เชี่ยวชาญในวิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา”

ส่วนของพี่คือ  นักวิชาการ ควรมีการสรรค์สร้างผลงานที่ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและเป็นธรรมของสังคมค่ะ
มีรูปต้นข้าวสาลี สีเขียวๆมาฝาก สำหรับคนชอบใบไม้ค่ะ


การวิจัย การเก็บข้อมูลของนักวิชาการนอกจากมีเจตนาดีเป็นที่ตั้งแล้วควรออกแบบให้เจ้าของข้อมูลได้แสดงตัวเป็นพระเอก-นางเอกของเนื้อหาวิชาการนั้นในฐานะผู้ให้ข้อมูล

เชื่อว่านักวิชาการที่ตั้งใจดีมีมากค่ะ แต่ทุกวงการก็มีคนเห็นแก่ตัวมากปะปนอยู่ด้วยเช่นกัน ขอให้คนดีๆมีกำลังใจทำงานต่อไปนะคะ

ภาพใบไม้สวยทุกภาพเลยค่ะ

ขอนำภาพใบบัวบกจากที่บ้านมาฝากอีกภาพค่ะ

นักวิชาการหรือผลงานปราชญ์ชาวบ้าน...   อยู่ที่ท่านมีส่วนใดในเรื่องนั้น

วิชาการต่อยอดปราชญ์บอกยืนยัน...         ช่วยสร้างสรรค์ภูมิปัญญาวิชาการ

แต่ส่วนใหญ่สวมใส่ไม่กล่าวถึง...               ทำทะลึ่งชิงไปใจเหิมหาญ

ประสบการณ์ผ่านมากล้ายืนยัน...              นโยบายที่สร้างสรรค์ฉันถูกลืม

กองทุนหมู่บ้านรัฐสวัสดิการฉันผู้ก่อ...         น่าหัวร่อพอทำไปฉันไม่ปลื้ม

ไม่ย้อนถามไม่เคยชวนหวนขอยืม...            เขาด่ำดื่มเข้าสวมรอยแสนน้อยใจ

สวัสดีค่ะพี่กฤษณ์

อาปิงไม่ได้เป็น "จำเลย" ค่ะ เพราะไม่เคยแม้จะคิดที่จะฉกฉวยงานของชาวบ้าน....

ดังที่พี่ว่าค่ะ...บางคนก็ว่าไปตามเพลง เหมือนกระแสเป็นแบบนี้ จะพูดอะไรก็ไม่มีคำว่าผิด...

กระแสว่าตามกันไป...บางคนก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ แต่ปิงไม่ชอบที่มีการกล่าวหากัน โดยที่คนถูกกล่าวหาไม่มีโอกาสได้บอกกล่าวความจริง ....

หรือเพราะว่า...เสียงชาวบ้านคือเสียงสวรรค์....ใครอื่นจึงไม่มีโอกาสจะอธิบายบ้างเลยหรือ?

ขอบคุณพี่ค่ะ ที่เข้าใจความรู้สึกค่ะ...

อ. แผ่นดิน คะ

ขอบคุณข้อคิดที่ควรนำมาใคร่ครวญค่ะ

(^___^)

หวัดดีจ้ะต้อง

ขอโทษที่ทำให้ต้องตามหาจ้ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะพี่Sasinand

ขอบคุณข้อคิดที่พี่กรุณานำมาฝากค่ะ

(^___^)

ขอแสดงความเห็นที่ค่อนข้างจะแปลกแยกจากคนอื่นสักหน่อยครับ

.

สังคมไทย...

คุ้นเคยและแนบแน่นกับการละเมิดสิทธิทางปัญญามาต่อเนื่องยาวนาน

จนฝรั่งทั้งบีบทั้งกดดัน...ยังแก้ไม่ได้

ทุกเครื่อง pc ส่วนตัว ไม่มีใครใช้ของลิขสิทธิ์แน่นอน

เพราะมันแพง

.

.

แม้แต่เรื่องที่เป็นของไทยด้วยกันยังขโมย..คัดลอก..เลียนแบบ

คนในวงการวรรณกรรมจะรู้ดี..เพราะเกิดขึ้นบ่อยมาก

.

.

การเอาหน้าเอาตาของคนในสังคมแบบที่ไม่สนใจว่ามันเป็นเรื่อง

ของศักดิ์ศรีที่ควรจะต้องทำขึ้นมาเอง ผ่านการวิจัยด้วยตนเอง

มิใช่การรวบรวมข้อมูลมาปะติดปะต่อแล้ว..ใช้บริบททาง

ระเบียบราชการแสดงว่า..เป็นผู้สร้างขึ้นมา..

.

.

การระบุไว้ที่เชิงอรรถอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาอย่างไม่ต้อง

ใช้สำนวนให้ผู้อ่านเห็นเป็นอย่างอื่น..นั้นควรแก่การส่งเสริมและสรรเสริญ

...การหวงแหนภูมิปัญญาแบบเด็กหวงของเล่นและปล่อยให้ตายไปกับเจ้าของ

...การไม่มีวัฒนธรรมการจดบันทึกในหมู่ชน

ล้วนเป็นสาเหตุให้การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่แทบไม่มีใครหมู่ชนผิวเหลือง

โดยเฉพาะคนไทย..เพราะขาดการศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

ในประเด็นนั้นๆ

.

.

เห็นด้วยกับแนวคิดระบุที่มาขององค์ความรู้อย่างตรงไปตรงมาครับ

เป็นนักวิชาการ  เป็นวิชาที่สูงที่สุด  แล้วค่ะ

สวัสดีค่ะพี่นุชคุณนายดอกเตอร์

ขอบคุณข้อคิดที่มีคุณค่าจากพี่ค่ะ.....

การวิจัย การเก็บข้อมูลของนักวิชาการนอกจากมีเจตนาดีเป็นที่ตั้งแล้วควรออกแบบให้เจ้าของข้อมูลได้แสดงตัวเป็นพระเอก-นางเอกของเนื้อหาวิชาการนั้นในฐานะผู้ให้ข้อมูล

เชื่อว่านักวิชาการที่ตั้งใจดีมีมากค่ะ แต่ทุกวงการก็มีคนเห็นแก่ตัวมากปะปนอยู่ด้วยเช่นกัน ขอให้คนดีๆมีกำลังใจทำงานต่อไปนะคะ

ภาพทุกภาพของพี่นุช งดงามมากค่ะ


(^___^)

  • ทานข้าวหรือยังคะ
  • แวะมาส่งกำลังใจค่ะ
  • บางครั้งการทำงาน  ... ต้องฟันฝ่าอุปสรรคหลายด้าน
  • ทั้งตัวเรา  คนอื่น  อีกมากมาย
  • แต่เราต้องสู้  ... ด้วยแรงกายแรงใจของเราให้ผ่านพ้นไปนะคะ
  • เป็นกำลังใจให้คนทำงาน...ค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ ...กลับมาทบทวนอีกครั้ง...ไม่เบื่อเลย..ขอบคุณครับ

" ช่อชัยพฤกษ์ "  ช่วงนี้กำลังออกดอกบานสพรั่ง...

 

สวัสดีค่ะอ.นายวิโรจน์ พูลสุข

อ่านแล้วโดนใจมากค่ะ....ขออนุญาตนำไปเพิ่มเติมไว้ในบันทึกของตัวเองนะคะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะคุณสดายุ

เป็นมุมมองที่น่าคิดค่ะ

....

...การหวงแหนภูมิปัญญาแบบเด็กหวงของเล่นและปล่อยให้ตายไปกับเจ้าของ

...การไม่มีวัฒนธรรมการจดบันทึกในหมู่ชน

ล้วนเป็นสาเหตุให้การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่แทบไม่มีใครหมู่ชนผิวเหลือง

โดยเฉพาะคนไทย..เพราะขาดการศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

ในประเด็นนั้นๆ

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะไม่มีข้อมูลที่จะสามารถต่อยอดได้ เพราะเป็นความคิดที่สมบูรณ์แล้วค่ะ

ขอบคุณคุณภัทรานิษฐ์ เจริญธรรม ค่ะ

สูงสุด ของแต่ละวิชาชีพ .... ล้วนแต่ประกอบด้วย คุณธรรม จริยธรรม ความไม่มักมาก ไม่โลภโมโทสัน

ต้องทำเพื่อ คนอื่นและส่วนรวม จึงจะนับว่า "สูงสุด" ... จริงไหมคะ

การอ้างว่าทำเพื่อสังคม เพื่อชุมชน เพื่อ.... แต่แท้จริงแล้ว ... หลาย ๆ คนต้องยอมรับว่า....ก็ทำเพื่อ ตัวเอง ตัวกู ของกู นี่เองค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะคุณ°o.O ปลายฟ้า O.o°

ขอบคุณกำลังใจค่ะ

สู้  ๆ ค่ะ ใครทำสิ่งใด ได้สิ่งนั้น เป็นกฎที่ยุติธรรมและเที่ยงตรงที่สุดค่ะ

(^___^)

ขอบคุณคุณ หนุ่ม กร~natadee ค่ะ

ช่อชัยพฤกษ์งดงามสดใสมากค่ะ

(^___^)

มาเยี่ยมอีกทีค่ะ มีดอกบัวสาย ริมคลองมาฝาก ดอกสีม่วงแดง เรียก สัตตบรรณ รัตตอุบลที่บ้านมีพันธุ์นี้ค่ะ

  • สวัสดีค่ะน้องโก๊ะ
  • แวะมาทักทาย  และให้กำลังใจนักวิชาการที่มีความตั้งใจ ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

ขอบคุณพี่ Sasinand ค่ะ


ดอกบัวสีม่วงแดง ที่เรียก สัตตบรรณ รัตตอุบล  สวยงามมากค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่เอื้องแซะ

ขอบคุณกำลังใจจากพี่ค่ะ การมองและตัดสินใครว่าเป็นคนอย่างไร ...คงต้องใช้เวลาค่ะ

ใครมองว่าเราเป็นอย่างไร คงไม่สำคัญเท่ากับ เราทำอะไร ทำอย่างไร...เพราะคนที่มองเรา ตัดสินเรา เขามองเขาตัดสินจาก...สิ่งที่เขาเป็นมิใช่หรือ? .... เข้าใจได้เช่นนี้แล้ว...สบายใจไปเลยค่ะ

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ  แวะมาทักทายนะค่ะ

งานที่ทำอยู่ก้มีความจำเป็นต้องใช้ภูมิปัญญาชางบ้านมาถ่ายทอดความรู้ให้ค่ะ เพราะว่าปัจจุบันนี้  สิ่งดีๆในอดีตกำลังจะถูกเลือนหาย คนรุ่นใหม่ทำไม่เป็น ก็จำเป็นต้องอนุรักษ์ไว้โดยภูมิปัญญา

สวัสดีค่ะอ. ตุ๊กตา

ยินดีด้วยค่ะที่ได้ร่วมงานกับ ผู้ทรงภูมิปัญญา ...หลายท่านน่ารักและน่านับถือ แต่บางท่านได้ถูกกลุ่มที่เข้าไปเกี่ยวข้องบางคนทำให้นิสัย...เปลี่ยนไปแล้วค่ะ...

ขอให้โชคดีค่ะ

(^___^)

ผมก็เป็นนักวิชาการคนหนึ่ง แต่จำเป็น จำใจต้องเป็น

เห็นด้วยในบางมุมที่คนเขียนคิดและสื่อ

อย่าให้ความคิดลบ อคติของบางคนมาทำลายความตั้งใจดีเลย

คุณค่า พิสูจน์ได้ด้วยความจริงใจและเวลา

ให้กำลังใจครับ

สวัสดีครับ

       1) กรณีในบันทึกนี้ทำให้นึกถึงคำว่า Plagiarism ครับ คือ เป็นการขโมยผลงานของคนอื่นมาเป็นของตน (ไมว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตามที)

         เรื่องให้ credit อย่างถูกต้องนี่สำคัญทีเดียว เป็นการให้เกียรติผู้สร้างความรู้และผลงานนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้เขามีกำลังใจสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่องด้วย

        ในขณะเดียวกัน ผู้ที่นำมาเผยแพร่ หากนำเสนอได้อย่างมีศิลปะ คือ มีสาระ น่าสนใจ และให้ credit อย่างเหมาะสม ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์ผลงานด้วยเช่นกัน

        2) ตอนนี้ในวงการวิทยาศาสตร์ มีประเด็นเรื่อง Self-Plagiarism คือ ใช้ข้อมูลของตนเองนั่นแหละ แต่ดัดแปลง เพิ่มเติม ตัดต่อ นิดๆ หน่อยๆ แล้วนำไปตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการหลายที่ ทำให้ดูเหมือนกับว่า มีผลงานตีพิมพ์จำนวนมาก....

            เชื่อไหมครับ บางคนถึงขนาดได้เป็น 'นักวิทย์/นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ดีเด่น' ไปเลย!!!

        3) มีอีกแง่มุมหนึ่งที่อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง แต่คาบเกี่ยวกัน คือ สื่อสารมวลชนบ้านเราก็นำเอาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น นักวิชาการ หรือผู้ที่ทำงานด้านนั้น ไปนำเสนอเอง

            แบบนี้ก็มีปัญหา คือ ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน บิดเบือน หรือไม่ครบ ทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดได้

        ในกรณีเช่นนี้ อาจมีสาเหตุมาจาก

            - พื้นที่/เวลา ของสื่อหนึ่งๆ มีจำกัด : ทำให้ไม่สามารถระบุรายละเอียดได้ เช่น หนังสือพิมพ์มีพื้นที่จำนวนหนึ่ง โทรทัศน์ก็มีเวลาจำกัดช่วงหนึ่ง ฯลฯ

            - ความเป็นมืออาชีพของผู้นำเสนอ : จุดนี้สำคัญ เพราะหากแยกแยะได้อย่าง ข้อ 2 และระบุที่มาอย่างชัดเจนอย่างข้อ 1 ก็ถือได้ว่าทำงานอย่างมืออาชีพ แต่ถ้านำเอาข้อมูลจากแหล่งอื่น หรือความคิดเห็นของตนปนๆ ลงไป (ซึ้งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง)

            - พื้นฐานความรู้/ความเข้าใจของผู้นำเสนอ : คือถ้าไม่มีพื้นฐานดีเพียงพอ ก็อาจจะตีความข้อมูลที่ได้รับไปคนละทิศละทางไปเลย....

นำภาพต้น ยางกล่อง จากเขาชะเมา จ.ระยอง มาฝากด้วยครับ สูงใหญ่ชะมัดเลยต้นนี้

 

 

ส่วนนี่ก็แมลงกิ่งไม้ที่พบในการเดินป่าครั้งนั้นครับ

 ตอนขากลับก็ยังอยู่)

 

 

ดูภาพอื่นๆ ในบันทึก : เที่ยวเขาชะเมากับครอบครัว (1) ได้ครับ

 

สวัสดีค่ะคุณนักวิชาการจำเป็น

อ่านชื่อแล้ว...ต้องยิ้มเลยค่ะ เข้ากันดีกับ นักวิชาการจำเลยของสังคมเลยนะคะ....

อย่าให้ความคิดลบ อคติของบางคนมาทำลายความตั้งใจดีเลย  คุณค่า พิสูจน์ได้ด้วยความจริงใจและเวลา

ขอบคุณมากค่ะ คำวิพากษ์วิจารณ์ จนถึงตำหนิ ติติง สำหรับคนไม่มีรากแล้ว ... ถือเป็น ยาชูกำลังใจ...ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะอ. บัญชา ธนบุญสมบัติ

อ่านความคิดเห็นของอาจารย์แล้ว...เปิดโลกทัศน์ของตัวเองขึ้นอีกมากค่ะ...

เป็นข้อคิดเห็นที่เป็นกลางและอยู่บนฐานของผู้ที่อยู่ในวงการวิชาการอย่างแท้จริงค่ะ...

ขออนุญาตนำรวมไว้ในบันทึกด้วยนะคะ เพื่อประโยชน์ในวงกว้างของผู้ที่อาจได้มาอ่านค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

(^___^)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท