ปากคาดปากยิ้ม
สำนักงานเกษตรอำเภอปากคาด สำนักงานเกษตรอำเภอปากคาด

ถ่ายทอดความรู้สู่ชาวนา (ปรัง)


ทำน้ำหมักชีวภาพจากสมุนไพร แบบง่ายๆ

      พอถึงฤดูกาล การทำนาปรัง สำนักงานเกษตรอำเภอปากคาดจะได้รับแจ้งจากเกษตกรอยู่เสมอถึงการระบาดของหนอนกอและแมลงศัตรูพืชอื่นๆ ในนาข้าวโดยเฉพาะหนอนกอจะมีการระบาดมากในช่วงการทำนาปรัง ท่านเกษตรอำเภอปากคาดเห็นความสำคัญในเรื่องนี้จึงคุยกันในสำนักงานและเห็นตรงกันว่าน่าจะจัดฝึกอบรมรมถ่ายทอดความรู้สู่ชาวนา  การฝึกอบรมเรื่อง การทำน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง จึงมีขึ้นในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา

กระบวนการ มีดังนี้

๑. เล่าเรื่องข้าวนาปรัง โดย คุณสัมรวย มีจินดา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ระดับชำนาญการ ท่านเล่าว่า ข้าวนาปรังเป็นการแบ่งประเภทของข้าวตามความไวแสงหรือฤดูกาล จะมีอายุประมาณ ๙๕-๑๒๐ วันปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน เพื่อให้การเก็บเกี่ยวไม่ตรงกับฤดูฝน พันธุ์ที่ปลูกได้แก่ กข๑๐ ปทุมธานี สันป่าตอง ฯลฯ เคยมีชาวนานำพันธุ์ กข๖ มาปลูกในช่วงนี้ ปรากฏว่า ไม่ได้ข้าวกิน  การบำรุงรักษาข้าว แนะนำให้ทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เองทั้งสูตรบำรุงต้นข้าว และสูตรขับไล่แมลง เป็นการลดรายจ่าย(สารเคมี)และปลอดภัยจากสารเคมีอีกด้วย ในที่นี้จะขอแนะนำสูตรขับไล่แมลงนะคะ

๒. ทำน้ำหมักชีวภาพจากสมุนไพร แบบง่ายๆ  ด้วยการนำพืชสมุนไพรอะไรก็ได้ที่มีฤทธิ์ขับไล่แมลง เช่น ข่า ตะไคร้ สะเดา บอระเพ็ด ไหลแดงในอัตราส่วน ดังนี้

                          พืชสมุนไพร : กากน้ำตาล : น้ำสะอาด = 3 : 2 : 1

       ถ้าพืชมี ๕ ชนิด ก็จะใช้ทั้งหมด ๑๕ ก.ก. น้ำสะอาด ๑๐ ก.ก. และ กากน้ำตาล ๕ ก.ก.

วิธีการ

- ขั้นตอนนี้ให้เกษตรกรที่เข้าร่วมอบรม ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ดังต่อไปนี้

๑.  นำพืชสมุนไพรทั้งหมดมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ อย่างละ ๓ ก.ก. จะได้ ๑๕ ก.ก.

๒. คลุกเคล้าชิ้นส่วนพืชทั้งหมดให้เข้ากัน

๓. เตรียมถังพลาสติกมีฝาปิด เทน้ำลงไปผสมกับกากน้ำตาลตามอัตราส่วนข้างต้น คนให้เข้ากัน

๔. น้ำพืชใส่ลงถังแล้วเทน้ำที่ผสมได้ในข้อ ๓.ใส่ลงไปผสมให้เข้ากันดี ปิดฝา เก็บไว้ในที่ร่ม ให้ได้อย่างน้อย ๒๑ วัน

๕. การนำไปใช้ประโยชน์ ใช้น้ำหมักชีวภาพ ๓-๔ ช้อนแกง ต่อ น้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่นในนาข้าวหรือพืชอื่นตามต้องการ

เป็นอันเสร็จสิ้นการฝึกอบรม ทั้งนี้ไ้ด้มีการมอบถังน้ำหมักไว้ให้เกษตรกรดูแลและเมื่อถึงกำหนดใช้ได้ก็ให้แบ่งปันกันนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ น้ำหมักชีวภาพถังนี้ยังสามารถนำเป็นหัวเชื้อในการหมักครั้งต่อไปได้อีกด้วย ...

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 239044เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2009 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

รู้สึกว่าการบันทึกจะขาดหายไปนาน เรื่องยางพารา จบตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 51 แต่มาเริ่มเรื่องนี้เอา กุมภาพันธ์ 52 แต่ยังมีมาเพิ่ม ก็ขอเป็นกำลังใจครับ

ได้สาระความรู้ดีครับ อยากเห็นหน้าทีมงานน่ะครับ โชว์บ้างซิครับ ผมไปสำนักงานท่านมา 2 ครั้งแล้วนะครับ (แอบไปแอบมา)

ชอบมากคับสิ่งที่ผมไม่เคยรู้ก็เป็นประสพ การที่ดีคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท