093 : หัดดูเมฆเบื้องต้น (2) เมฆคิวมูลัส 3 ระดับ


มาดู เมฆก้อน (คิวมูลัส) แบบต่างๆ กันเถอะ! ^__^

 

 

 

 

 

คราวนี้จะลองเชื่อมโยง

ภาพเมฆจริง กับ แผนภาพชนิดของเมฆ

โดยใช้ เมฆก้อน ที่เรียกว่า คิวมูลัส (cumulus)

เป็นนายแบบ

คำว่า cumulus มาจากภาษาละติน แปลว่า กอง (heap) ครับ

 

 

ถ้าเปรียบแผนภาพชนิดเมฆของเราเป็นคอนโดสูง 3 ชั้น

คุณคิวมูลัส หรือเมฆก้อน อาจจะอยู่คอนโดชั้นใดก็ได้

 

ถ้าอยู่ชั้นล่างสุด (เป็นเมฆชั้นต่ำ) ก็เรียกว่า คิวมูลัส (cumulus) เฉยๆ

ถ้าอยู่ชั้นสอง (เป็นเมฆชั้นกลาง) ก็เรียกว่า อัลโตคิวมูลัส (altocumulus)

[คำว่า อัลโต- (alto-) มาจากภาษาละติน แปลว่า อยู่สูง แต่ในวิชาเมฆ หมายถึง สูงกลางๆ]

ถ้าอยู่ชั้นบนสุด (เป็นเมฆชั้นสูง) ก็เรียกว่า ซีร์โรคิวมูลัส (cirrocumulus)

ดูในภาพก่อนครับ...เดี๋ยวจะชี้ชวนไปเล่นหุ้น...เอ้ย! ไปดูเมฆของจริง

 

 


 

เอ้า! ภาพแรกนี่อะไรเอ่ย?

ถ้าตอบว่า คิวมูลัส (cumulus) ก็...ถูกต้องนะคร้าบ!


ภาพโดย อาจารย์มัทนา แห่ง G2K จากบันทึกนี้ [รอ link]

 

หมายเหตุ : คุณคิวมูลัสที่อยู่ใกล้ๆ พื้นนี่ ยังมีอีกหลายแบบ! แบบที่เห็นเรียกว่า cumulus of fair weather หรือ fair-weathered cumulus คือ คิวมูลัสที่บ่งบอกว่าอากาศดี

เอาไว้จะนำคิวมูลัสแบบอื่นๆ มาให้ชมกันอีกทีครับ


 

 ส่วนภาพนี้ก็เป็นเมฆก้อนแบบหนึ่งเช่นกัน

แต่อยู่สูงระหว่าง 2-6 กิโลเมตร

รู้ได้ไง?

ก็เพราะขนาดของก้อนเมฆดูกลางๆ ไม่ใหญ่เหมือนคุณคิวมูลัสที่อยู่ใกล้พื้น แต่ก็ไม่เล็กจิ๋ว

แถมยังมาเป็นกลุ่ม เป็นขบวนการ

เมฆชนิดนี้คือ

อัลโตคิวมูลัส (altocumulus)

นะคร้าบ

 


ภาพนี้ถ่ายโดย คุณจินตมาศ จากบันทึกนี้ [รอ link]

 

หมายเหตุ : เมฆอัลโตคิวมูลัส ก็ยังมีแบบย่อยๆ อีกหลายแบบเช่นกัน!


 

 ส่วนเมฆก้อนที่อยู่สูงมากๆ (เกิน 6 กิโลเมตรขึ้นไป จนถึงกว่า 10 กิโลเมตร)

จนเห็นเป็นก้อนเล็กๆ เต็มท้องฟ้าอย่างนี้

ก็คือ

ซีร์โรคิวมูลัส (cirrocumulus)

นั่นเอง

ความแตกต่างระหว่าง อัลโตคิวมูลัส (เมฆชั้นกลาง) กับ ซีร์โรคิวมูลัส (เมฆชั้นสูง) ก็คือ

เราพอมองเห็นอัลโตคิวมูลัสเป็นก้อนๆ ได้ชัดพอสมควร

แต่ซีร์โรคิวมูลัสมองได้ยาก เห็นแค่ว่าตะปุ่มตะป่ำ (ยกเว้นคนตาดีสุดๆ ;-))


ภาพจาก NOAA

 


 

เอาล่ะครับ ใครมีภาพเมฆก้อนแบบต่างๆ ก็ส่งมาตรงนี้เลย ^__^

หมายเลขบันทึก: 239041เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2009 05:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์ชิว

มาทักทายตอนเช้านะครับขอแจมภาพนึงนะครับเป็นมุมสูง

ขอตอบว่าเป็นคิวมูรัสใช่มั้ยครับ มองจากมุมล่างมันเรียบๆ แต่พอมองมาจากด้านบนก็สวยดีนะครับอาจารย์ว่ามั้ย :)

ภาพนี้ถ่ายไว้ระหว่าทางกลับอุดรฯ หรือจากอุดรฯนี่แหละครับจำไม่ได้ เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2549 เวลา 10.24 น. ครับ

ขอแก้ไขเวลาครับอาจารย์

ขอไม่ระบุเวลานะครับ เพราะ นาฬิกา ในกล้องวันนั้นอาจไม่ได้ตั้งเพราะดูดีๆแล้วมันบอก 4.24 am. ตี 4! เป็นไปได้ไงเนี่ยสว่างขนาดนี้ >_<

เรียนอาจารย์ ก้อนเมฆ

ตราบใดที่เกษตรกร มือบอน มักง่าย

การจุดไฟหน้าแล้งยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ

นี่ยังไม่นับการจุดอ้อยก่อนตัด

ไฟไหม้ป่าไม้ ยอดดอย ลุกโพลงทุกปี ทำให้เขาหัวโล้นเหมือนคน

แล้วก็มาบ่นโลกร้อนๆๆๆ

บางที่ความรู้ ความเข้าใจ ความต้องการ ก็ยากที่จะตรงกัน

เคยคิดว่าน่าจะจับมือเพลิงไปอยู่ตะวันออกกลางสักปี

แต่ก็นั่นแหละ พวกไปทำงานซาอุ

กลับมาก็จุดไฟเผาตอซังข้าวเมี๊ยนเดิม

ภาพที่เอามาลงไม่เกี่ยวกับเมฆสักกะหน่อย

แต่ก็ใกล้เคียงกัน พอกล้อมแกล้ม

พวกเราได้ความรู้เรื่องเมฆจากอาจารย์มาก

ขอยกย่องให้เป็นอาจารย์เมฆสวย ละกัน อิอิ

 

อรุณสวัสดิ์ค่ะอ.หมอเมฆ

ตามพ่อครูบามาติดๆ ค่ะ :) ...  ตัวนี้ ซีร์โรคิวมูลัส หรือเปล่าคะ  ..  ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ   อาจารย์บัญชา ธนบุญสมบัติ    Photobucket

ขอบคุณความรู้เรื่องเมฆ  และ ยินดีด้วยค่ะ  อาจารย์เมฆสวย...

3. ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

พวกเราได้ความรู้เรื่องเมฆจากอาจารย์มาก

ขอยกย่องให้เป็นอาจารย์เมฆสวย ละกัน  

Venus&Jupiter เพิ่งสร้างบล็อกเสร็จ   แวะฟังเพลงที่บล็อกด้วยนะคะ      อิอิ    

 

Venus&Jupiter

 

สวัสดีค่ะ

ชอบแวะมาดูเมฆายามฟ้าใส

ขอส่งภาพมาฝากผู้รักเมฆบ้างค่ะ

 

สวัสดีครับ

      เดย์ adayday : ปกติเครื่องบินจะบินที่ระดับประมาณ 10 กิโลเมตรครับ ดังนั้น ถ้ามองลงมาแล้วเห็นเมฆก้อน ก็น่าจะเป็น อัลโตคิวมูลัส (altocumulus) หรือถ้าต่ำมากๆ ก็จะเป็น คิวมูลัส (cumulus)

            ในภาพที่นำมาฝากนี้ ดูเหมือนจะอยู่สูงทีเดียว อีกทั้งยังมีมากด้วย จึงน่าจะเป็น อัลโตคิวมูลัส ครับ

          สวยทั้งเมฆ และสีของท้องฟ้าเลย!

      พ่อครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ : แหม! เป็น อาจารย์เมฆหล่อ ไม่ได้หรือครับ 555 เป็น อาจารย์เมฆ-สวย เดี๋ยวคนเข้าใจผมผิด ;-)

           จริงด้วยครับที่ว่า "บางที่ความรู้ ความเข้าใจ ความต้องการ ก็ยากที่จะตรงกัน" เพราะบ่อยครั้งทีเดียวที่ความรู้ ก็ไม่ได้ทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมครับ

      คุณ poo : เมฆที่นำมาฝากอันนี้ เนื่องจากยังเห็นเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำค่อนข้างใหญ่ น่าจะเป็น อัลโตคิวมูลัส (altocumulus) ครับ

           

           ส่วน ซีร์โรคิวมูลัส นี่จะละเอียดยิบๆ กว่านี้ครับ

     คุณ Moon smiles on Venus&Jupiter :

         ภาพโลโกประจำตัวของคุณ  P สวยงามมากครับ เห็นแสงรังสีด้วย เรียกว่า แสงรังสีรูปพัด หรือ crepuscular ray

         ลองไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่ กับ ที่นี่ ครับ

      ท่านอาจารย์ ตันติราพันธ์ : ขอบคุณสำหรับภาพเมฆสวยๆ ครับ (ถ่ายจากหลังบ้านหรือเปล่า เพราะเห็นเสาอากาศด้วย ;-))

อบคุณคะ  อาจารย์บัญชา ธนบุญสมบัติ         Photobucket

Venus&Jupiter  ก็คิดอยู่ว่า  เป็นรูปนี้ จะดูร้องแรงไปไหม...

หรือจะเปลี่ยนเป็นรูปพระจันทร์ยิ้ม   แต่รูปพระจันทร์ยิ้ม พอย่อแล้ว ดูไม่เห็นแสง ไม่สวยเลยค่ะ  

และ อาจารย์คะ    แล้วรูปนี้เอามาทำโลโก เขาจะมีลิขสิทธิ์มั๊ยคะ  กลัวๆ อยู่เหมือนกันค่ะ   

Venus&Jupiter

สวัสดีครับ คุณ Moon smiles on Venus&Jupiter

       เรื่องลิขลิทธิ์นี่ ถ้าโดนฟ้องเดี๋ยวก็รู้เองครับ 5555

       ล้อเล่นน่ะครับ...ผมว่าถ้าไม่ได้ใช้ในทางการค้า และเจ้าของภาพไม่หวงจนเกินงาม ก็ไม่เป็นไรหรอก ^__^

       แต่ถ้าไม่สบายใจ ก็เปลี่ยนได้นี่ครับ ใช้ภาพที่ถ่ายเองก็ได้ หรือจะเป็นภาพที่สร้างขึ้นมาเองก็ได้เหมือนกัน (อาจสร้างจากโปรแกรมต่างๆ ที่คุ้นเคย) ครับ

แวะมาชมหมูมวลเมฆค่ะอาจารย์ เคยถูกเมฆบังตมบ้างไหมคะอิอิอิ

แหม...  อาจารย์บัญชา          คะ   

มี อาจารย์ มืออาชีพ  ตาทิพย์  การันตี ภาพ ถึงขนาดนี้แล้ว

ถ้าเปลี่ยน ก็ เสียดาย แย่เลย   อิอิ ๆๆ     ขอบคุณคะ   อิอิ 

สวัสดีครับ

        อ.ทราย : งงๆ ครับ 'เมฆบังตม' ? (เมฆบังตา หรือเปล่า) ^__^

        คุณ Moon smiles on Venus&Jupiter : งั้นคงไว้เหมือนเดิมดีแล้วครับ

.... ยามเช้าเงยมองฟ้า

.... ยามสายก็ละเมอหาเมฆ

... ยามบ่ายสังเกตต้นไม้

... ยามเย็นชมอาทิตย์ตก

... ยามค่ำดูดาวเฝ้าพระจันทร์

... ....

เอามาฝากอีกภาพค่ะ อ. หมอเมฆ หล่อ :)

สวัสดีครับ

          เมฆ cumulus รูปร่างแปลกตาดีครับ

          ผมว่าเป็น อาจารย์-เมฆสวย ตามที่ พ่อครูบาฯ ตั้งให้ดีกว่าครับ ^__^ (แต่ไม่เอา อาจารย์เมฆ-สวย 555)

:) แหม เว้นวรรคผิดไปนี่ ความหมายเปลี่ยนเลยนะคะ เสน่ห์ภาษาไทย

....

งั้นอ.หมอ เมฆสวย มาชมอีกภาพ น่าจะเป็น cumulus นะคะ

จับภาพคนละสถานที่กันนะคะ นี่ที่ทะเล ช่วงประมาณ ๑๑ โมงกว่าๆ ค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • สงสัยอีกแล้ว..แล้วสเตรโตคิวมูลัสล่ะคะ
  • ใช่อยู่ในกลุ่มของคิวมูลัสไหมคะ
  • เคยอ่านในหนังสือ เขาบอกว่า เป็นเมฆก้อนที่ลอยติดกันอยู่ในกลุ่มเมฆชั้นต่ำ..
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีครับ
  • มารับความรู้ ได้เห็นอาจารย์ชิวมีชื่อใหม่ๆ เพิ่มด้วย ตกลงเป็นอาจารย์-เมฆสวย หรือ-เมฆหล่อดีครับ
  • แต่พี่ดาวกระซิบว่า เป็นอาจารย์หล่อเมฆดีกว่าครับ

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์เมฆหล่อ

อิอิ หัวหน้าเราได้ชื่อใหม่ซะแล้ว :)

เอาท้องฟ้าอุดรมาฝากนะครับอาจารย์ ที่อุดรฯ เมฆไม่มีให้ชมตั้ง 1-2 เดือนแน่ะ เมื่อวานเป็นวันแรกที่ท่านเมฆปรากฏ ดีใจใหญ่เลยครับผม

2 ภาพนี้ถ่ายเมื่อเวลา 7.00 และ 8.00 น. ตามลำดับครับ วันที่ 2 ก.พ. 2552

ต่อไปนี้ฟ้าเป็นของพวกเราชาวเมฆสวยหล่อแล้ว จะขยันเก็บภาพมาฝากนะครับ

งานเข้าครับงานเข้า อิอิ :)

สวัสดีครับ

        คุณ poo : ทำไมผมมองเมฆที่นำมาฝากเป็นช้างน้อยกระโจนน้ำไม่รู้ 5555

              ใช่แล้วครับ นอนตาก-ลม vs นอนตา-กลม

        คุณ ♥< lovefull >♥ : เมฆ สเตรโตคิวมูลัส (stratocumulus) เป็นเมฆก้อนที่มีลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ครับ

             ยังหาภาพที่มีไม่เจอ ไว้จะนำมาฝากอีกทีในบันทึกใหม่ก็แล้วกันนะครับ

        พี่วสุ ผมคนโสตฯครับ (มีกองเชียร์ เอ๊ะ! หรือผู้กำกับ? 555 อยู่ข้างๆ) : โดยอาชีพผมเป็นนักโลหะวิทยาครับ เคยแต่หล่ออะลูมิเนียม หล่อเมฆนี่ยังไม่เคย อิอิ

        เดย adayday : เมฆที่อุดรนี่แจ่มแจ๋วจริงๆ ตอนนี้กำลังเป็นช่วงเปลี่ยนฤดู พี่เมฆกำลังจะกลับมาอีกแล้ว!

สวัสดีค่ะ  อาจารย์ บัญชา      

 

วันนี้  Venus&Jupiter เห็นมีสมาชิก ชื่อ คุณ อ เอก ใช้โลโก้ P

 

ก็เลยเปลี่ยนโลโกของตัวเอง  แต่ก็อีเมลไปบอกเค้าว่า  ถ้าเค้าเลิกใช้ให้บอกมาน๊า...   Venus&Jupiter จะได้กลับไปใช้ใหม่  แบบผลัดกันใช้น่ะค่ะ    ก็เลยมาบันทึกบอกอาจารย์ค่ะ

 

        Moon smiles on Venus&Jupiter

อาจารย์ บัญชา     คะ

เจอเพิ่มอีก 1 คน  ชื่อ  คุณจิ๊บจ๊อย ค่ะ  

http://gotoknow.org/blog/jifffy/239587

โลโก้ P   ถุกใจตรงกันหลายคนค่ะ    อิอิ

 

 Moon smiles on Venus&Jupiter

สวัสดีครับ คุณ Moon smiles on Venus&Jupiter

       โอ้โห! ใจตรงกันตั้ง 3 คนเชียว แสดงว่าภาพนี้มีเสน่ห์เอามากๆ เลยนะครับเนี่ย

       ไม่รู้ว่าเพื่อนอีก 2 ท่านที่ยังไม่เปลี่ยนรู้ตัวหรือยังว่ามีคนใช้ซ้ำ ;-)

ชอบดูเมฆเหมือนกัน

อยากรู้ว่าเราจะรู้จักชื่อเมฆต่างๆไปทำไมกันอะคะ

สวัสดีครับ

        ถ้าชอบดูเมฆ โดยไม่รู้จักชื่อเมฆ ก็ดูเมฆสวยๆ แล้วสบายใจได้เหมือนกันครับ

        แต่ถ้ารู้จักชื่อเมฆไว้บ้าง จะดุได้สนุกขึ้นครับ อย่างแบบนี้นะครับ

               เห็นแถบบางๆ เหนือเมฆก้อนใหญ่ไหมครับ นักดูเมฆเขามองว่าเป็น 'หมวก' ของเมฆ ถ้าลอยอยู่เหนือภูเขาจะเรียกว่า cap cloud คือ เมฆหมวกแก๊ป

               แต่ถ้าลอยอยู่เหนือเมฆก้อนใหญ่ๆ อย่างนี้ จะตั้งชื่อให้เป็นพิเศษ เรียกว่า

ไพลีอุส (pileus) เป็นภาษาละตินครับ ถ้าใช้กับเห็ดก็หมายถึงส่วนที่เป็นดอก หรือ 'ร่ม' ของเห็ดนั่นเอง

               ดูรายละเอียดได้ที่นี่ : 012 : ชวนดู 'หมวกเมฆ'

 

ต่ออีกนิด....

          หรืออย่างคำว่า nimbo หรือ nimbus นี่ เห็นที่ไหนก็รู้ว่าเป็นเมฆฝน เช่น

            nimbostratus -> เมฆฝนที่อยู่ใกล้ๆ พื้น เป็นปื้นแผ่กว้าง ฝนตกปรอยๆ นานๆ

          cumulonimbus -> เมฆฝนฟ้าคะนอง

 

         ส่วนคำว่า cumulus หรือ cumulo นี่ เห็นที่ไหน ก็รู้ว่าเป็นเมฆก้อน อาจมีผิวตะปุ่มตะป่ำ

         ไม่ว่าจะเป็น cumulus, altocumulus, cirrocumulus หรือ cumulonimbus

 

         เห็นชื่อนึกเป็นภาพ หรือเห็นภาพก็เดาชื่อได้ สนุกดีออก ;-)

ขอบคุณครับ อาจารย์ เมฆสวย สำหรับความรู้เบื้องต้นในเรื่องของเมฆ มาหาความรู้ตามคำแนะนำของอาจารย์ครับ และจะพยายามเข้ามาอ่านและดูบ่อย ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท