นายกับลูกน้อง : มุมมองต่างต้องการ


มุมมองต่างต้องการ สมานกันได้

 

                         

                              นายกับลูกน้อง   มุมมองต่างต้องการ

นาย             ต้องการให้ลูกน้อง            เชื่อฟัง  (คำสั่ง)

ลูกน้อง        ต้องการให้นาย                 ฟังแล้วเชื่อ  (ความคิด)

 

      ต้องการต่างกัน    สัมพันธ์กันได้   ด้วยใจเปิดกว้าง

ถ้านายต้องการให้ลูกน้องเชื่อฟัง 

                   นายต้องฟังแล้วเชื่อลูกน้องบ้าง (บ่อยครั้งยิ่งดี)

ถ้าลูกน้องต้องการให้นายฟังแล้วเชื่อ  

                   ลูกน้องต้องเชื่อฟังนายบ้าง (บ่อยครั้งยิ่งดี)

 

ถ้าต่างฝ่าย ต่างยอมกัน

                 ลูกน้อง  ก็จะเชื่อฟัง   นาย     

            นาย    ก็จะฟังแล้วเชื่อ   ลูกน้อง

 

งานก็เสร็จ  คนก็เป็นสุข

 

ปรับคนละหน่อย  ถอยคนละก้าว   ก็ได้ดาวดวงงามๆ

 

                

                                  

หมายเลขบันทึก: 216402เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2008 03:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

อรุณสวัสดิ์ครับ ท่านอาจารย์

ผมว่าทุกวันนี้ ต่างฝ่ายก็ต่างยอมกันอยู่แล้ว แต่ขอเป็นคน "ยอมที่หลัง"

ข้างนาย นายเองก็เปิดใจฟังลูกน้อง แต่ยังไม่เชือเพราะอยากให้ลูกน้องเชื่อฟังนายก่อน (เพราะฉันเป็นนาย)

ข้างลูกน้อง ลูกน้องก็พร้อมจะทำตามทุกเมื่อ แต่ขอให้นายฟัง(แล้วเชือ) เราเสียก่อน (เป็นนายต้องเข้าใจลูกน้อง)

เห็นไหมครับ ต่างคนต่างแสดงเจตนารมณ์ชัดแจ้งว่าจะเชื่อกันและกัน แต่ "ขอเป็นคนยอมที่หลัง"

เฮ่อ

รู้หมดแต่อดไม่ได้ เพราะมี "อัตตาและศักดิ์ศรี"

ที่เขาพูดมาก็ดีอยู่ แต่ขอไว้ท่า เพราะมี "อัตตาและศักดิ์ศรี"

ขอบคุณสำหรับความคิดดีๆ และขอบคุณสำหรับเวทีให้ผมคิดต่าง ครับผม

 

ต่างจิตต่างใจ
๑ หมายถึงสำคัญมากที่สุด      ๑๐ หมายถึงสำคัญน้อยที่สุด

ผู้บริหารคิดว่าลูกน้องต้องการ         สิ่งที่ลูกน้องต้องการอย่างแท้จริง
(๑) เงินเดือนงาม                         (๑) งานที่น่าสนใจ
(๒) ความมั่นคงในงาน                  (๒)ความประทับใจที่งานสำเร็จ (๓) ความเจริญก้าวหน้าในงาน         (๓)ความรู้สึกว่าคนมีชีวิตจิตใจ (๔) ภาวะการทำงานที่ดี                 (๔)ความมั่นคงในงาน
(๕)งานที่น่าสนใจ                         (๕)เงินเดือนงาม
(๖)ระเบียบวินัย                             (๖)ความเจริญก้าวหน้าในงาน (๗)ความซื่อสัตย์ต่อลูกน้อง             (๗) ภาวะการทำงานที่ดี
(๘)ความประทับใจที่งานสำเร็จ         (๘)ความซื่อสัตย์ต่อลูกน้อง (๙)การช่วยเหลือในเรื่องปัญหาส่วนตัว (๙)การช่วยเหลือในเรื่องปัญหาส่วนตัว
(๑๐)ความรู้สึกว่าคนเป็นสิ่งมีชีวิตจิตใจ (๑๐) ระเบียบวินัย

แล้วคุณผู้เป็นมนุษย์งาน คิดว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด

P อรุณสวัสดิ์เช่นกันครับ ท่านอาจารย์

          "ตรงเผง" เลยครับ  ประเด็นที่อาจารย์เสนอเข้ามา

         ผมนึกถึงเพลง "คู่กัด" ของคุณธงไชย  แม็คอินไตยครับ ที่ว่า

         "ถ้าจะให้ดี เธอยอมก่อนจะได้ใหม"

         ก็เพราะเจ้า "อัตตาและศักดิ์ศรี" นี่แหละครับ

         จึงยอมก็ได้  แต่ขอเป็นคนยอมทีหลัง

             ความคิดของอาจารย์   "ดี"  และ "โดนใจ" มากครับ

                            ขอบคุณครับ

P สวัสดีครับ คุณกานท์กวี

        ขอบคุณมากครับสำหรับสาระที่เป็นประโยชน์  และ ขยายมุมมมองระหว่างนายกับลูกน้อง

       

ในมุมมองของหนู...

ถ้าเจ้านายส่งเสริม สนับสนุน  ลูกน้องก็จะได้รับสิ่งดีๆมากขึ้น

สิ่งดีๆของลูกน้องก็จะเป็นฐานให้เจ้านายได้รับสิ่งดีๆมากขึ้น  เช่นกัน

ต่างคน  ต่างเสริมกัน

ช่วงนี้งานยุ่ง  เป็นงานข้อมูลที่ต้องใช้ความคิด พิมพ์ อ่าน หาข้อมูล

เป็นงานต่อเนื่อง งานนึงเสร็จ งานนึงก็เข้ามาพอดี

ไม่แน่ใจว่าจะเสร็จเมื่อไหร่  กำลังพยายามค่ะ

ขอท่านรองฯ สุขภาพแข็งแรง

มีความสุขในทุกๆวัน

ด้วยความเคารพค่ะ :)

P อรุณสวัสดิ์ครับ คุณสายธาร

           ต่างคนต่างเสริมกันดีที่สุดครับ

          เป็นกำลังใจให้ทำงานให้เสร็จโดยไวครับ

           ขอให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์นะครับ

เห็นด้วยมาก ๆ

  • หลายครั้งที่คำนี้ ทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน คำว่า"อัตตาและศักดิ์ศรี"
  • นายจะไม่ค่อยยอมฟังลูกน้อง "ลูกน้องต้องฟังนาย ไม่อยากฟังก็ต้องฟัง เพราะท่านคือนาย"
  • "ข้างลูกน้อง ลูกน้องก็พร้อมจะทำตามทุกเมื่อ แต่ขอให้นายฟัง(แล้วเชือ) เราเสียก่อน" (เป็นนายต้องเข้าใจลูกน้อง)
  • ลูกน้อง"ขอโอกาสให้ลูกน้องได้ชี้แจงบ้าง "
  • นายสนใจลูกน้องซักนิด ฟังลูกน้อง ให้เกียรติลูกน้อง
  • จะได้ใจลูกน้องมาก ๆ

ลูกน้องคนนี้ต้องการ...ให้นายและลูกน้องเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

ทำงานเพื่อผลแห่งอุดมการณ์คือเป้าหมาย...

เป้าหมายของโรงเรียนคือ...มาตรฐานและคุณลักษณะของเด็ก เพื่อประโยชน์ของเด็กโดยตรง

ต้องให้โอกาสลูกน้อง(เพื่อนร่วมงาน)ทำงาน   นำเสนอผลการทำงาน ช่วยกันคิดและแก้ปัญหาร่วมกัน

เปิดเวทีให้ลูกน้องและผลักดันให้โอกาสในการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน

"ลูกน้องเป็นนักปฏิบัติ...นายเป็นนักบริหาร" เมื่อนักปฏิบัติและนักบริหารทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข...ทุกคนก็เป็นสุข  ไม่มีใครอยากลาออกก่อนเกษียณ หรือมีอุดมการณ์เกษียณแล้วยังอยากจะทำงานให้โรงเรียนอีก (เกิดขึ้นแล้วนะคะ)

P สวัสดีครับ

       ตรงนี้ดีมากครับ

  • นายสนใจลูกน้องซักนิด ฟังลูกน้อง ให้เกียรติลูกน้อง
  • จะได้ใจลูกน้องมาก ๆ
  •           ขอบคุณครับ

     

    P สวัสดีครับ

    ต้องให้โอกาสลูกน้อง(เพื่อนร่วมงาน)ทำงาน   นำเสนอผลการทำงาน ช่วยกันคิดและแก้ปัญหาร่วมกัน

        เป็นบรรยากาศของการบริหารแบบมีส่วนร่วมครับ  ซึ่งเป็นการบริหารที่ทันสมัยที่สุดในยุคปัจจุบัน(ตามความคิดของผมเอง) ที่บางคนยังไม่ยอมนำไปใช้  ยังกลัวการมีส่วนร่วมอยู่

                               ขอบคุณครับ

           

    P สวัสดีครับ

               ขอบคุณมากครับ

    P 

          เข้าไปชมมาแล้ว    

         จะรอติดตามตอนต่อไปในบทบาทของการมีส่วนร่วมนะครับ

                         ขอบคุณครับ

    ถ้าเราขาดศรัทธาและหมดความเชื่อมั่นกับนาย แล้วเราจะดำเนินชีวิตอย่างไรดี เพราะเรารู้ว่า ท่านแย่ เราจะหาทางออกให้ตัวเองอย่างไรดี

    P สวัสดีครับ

           ผมก็เคยเป็นครับ

          ผมหาทางออกด้วยการไม่สนใจนายครับ  แต่มาสนใจที่งานแทน

          ตอนผมเป็นครูผู้สอน   ไม่ถูกใจผู้บริหาร  ผมก็หันมามีความสุขกับการสอนเด็กครับ  เห็นแววตาเด็กที่ใสๆและมีความสุข   ก็ถือว่าเป็นน้ำทิพย์ชโลมใจเราอย่างดีครับ

          ส่วนนายจะเป็นอย่างไรก็เรื่องของเขาครับ  เราทำงานในหน้าที่ของเราให้มีความสุข  

          ที่สำคัญ อย่าไปห่วงเรื่องขั้นครับ  จะได้หรือไม่ได้ก็ช่างมัน   หันมาทำงานอย่างมีความสุขดีกว่าครับ  เราทำงานแล้วดูผลงานสำเร็จที่ออกมา แล้วก็ชื่นชมผลงานของเราเอง

           มีความสุขมากนะครับ

                                  ขอบคุณครับ

    มาทักทายค่ะ

    ที่ให้คำแนะนำไปขยายความอีกนิดได้มั้ยค่ะ

    สวัสดีครับ ครูกบ

              ขยายความอย่างไรครับ  ช่วยถามมาให้ชัดดีกว่าครับ

    อ่านที่คุณ recovery เขียนแล้วต้องนั่งหัวเราะคนเดียว อยากให้ทั้งนายทั้งลูกน้องอ่านทุกคนเลย เป็นเรื่องที่แสนจะจริงเลยค่ะ เขียนอีกนะคะชอบอ่าน ท่านรองฯ เข้าใจหาเรื่องที่ใกล้ๆตัวมาให้อ่านเป็นสิ่งเตือนใจดีค่ะ อิอิๆๆๆๆๆๆๆ....เห็นด้วยๆๆ..ที่ทุกท่านเขียนเลย แต่ที่ท่านนายประจักษ์ เขียนใส่รูปสวยๆนะค่ะ ทำไมถึงไม่ค่อยมีเลยละคะท่าน

    P สวัสดีครับ ครูลี่

           ขอบคุณแทนท่านอาจารย์ Recoveryด้วยครับ

                     ขอบคุณสำหรับคำชมครับ

    P สวัสดีครับ

                พรุงนี้ออกพรรษา  ตักบาตรเทโว    ไปเที่ยว

                                คึกคักดีเหมือนกันนะครับ

                                            ขอบคุณครับ

                        

    http://gotoknow.org/blog/tanes/216195

    ขออนุญาตนำมาฝาก ถ้าได้อ่านแล้วก็ขอประทานอภัยค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    ดิฉันชอบคำว่า "ปรับคนละหน่อย ถอยคนละก้าว ก็ได้ดาวดวงงามๆ" วันนี้ที่รอคอย

    สวัสดีค่ะ

    พอลล่ามาเยี่ยมค่ะ ในชีวิตจริงเป็นทั้งลูกน้องและหัวหน้าค่ะ

    P ตามไปอ่านมาตามคำแนะนำครับ

             แล้วจะหาโอกาสแสดงความคิดเห็นวันหลังครับ

    P  คุณ chenyinglin

                 ขอบคุณมากครับ สำหรับคำชม

    P สวัสดีครับ คุณพรหล้า หน้าตาดีมาก

        ผมก็เล่นหลายบทครับ  เดี๋ยวเป็นลูกพี่ เดี๋ยวเป็นลูกน้อง

                  ยังงงตัวเองอยู่เหมือนกัน

                                ขอบคุณครับ

    สวัสดีค่ะ

    ชอบที่ว่า...ปรับคนละหน่อย  ถอยคนละก้าว   ก็ได้ดาวดวงงามๆ

    ขออนุญาตนำไปใช้บ้างค่ะ

    • ผมพลาดบันทึกนี้ของท่านรอง ไปได้ยังไงครับเนีย
    • ลูกน้องและเจ้านายก็เหมือนการวิ่งหนีแมลงสาบล่ะครับ ผมว่า
    • จะให้มาก็จะไป จะให้ไปก็จะมา เอ๊ะ แปลกๆไหมครับ
    • แต่ยังไงก็ตามที่ท่านรองแนะนำเป็นความคิดที่แจ่มมากๆครับ
    • ปรับคนละนิด ถอยคนละหน่อย จะได้เห็นหน่อย ว่าผิดยังไง เอ่อเออเอ้อเอ๊อ(อีแซว พันธุ์แปร่งๆครับ)

    P สวัสดีครับ คุณคนไม่มีราก

                    ยินดีครับ

     

    P ขอบคุณคุณคนพลัดถิ่นครับ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท