ประสบการณ์การเรียบเรียงงานวิจัย


ระยะนี้  มีเวลามากกับการพินิจพิเคราะห์งานวิจัยในชั้นเรียนที่ได้เรียบเรียงไว้แบบคร่าวๆแล้ว  ค่อยๆบรรจงพิมพ์  และใช้คำที่สละสลวยเหมาะสม  ยากมากคือบทที่ 3 ที่ต้องพิมพ์สูตรการวิเคราะห์ข้อมูล  แต่ไม่ยากมากนัก  เพราะพิมพ์ไว้มากแล้ว  ใช้การคัดลอกมา  แต่ต้องตรวจดูดีๆก่อนทุกครั้ง

Photofunia_1cb0_s 

วันนี้  จะนำประสบการณ์ของการลำดับความคิดในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน  ที่ครูอ้อยต้องเปิดตำราหลายๆเล่ม  หมายถึง  การทำผลงานทางวิชาการนั้น  ต้องมีรูปแบบที่เฉพาะ  มีความสำคัญมากที่จะต้องดำเนินการเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดให้  จะมีมากกว่า...ไม่ว่า  แต่....ขาด  ไม่ได้เชียว

Photofunia_1cb0_s 

รูปแบบที่ได้มานั้น  ทุกท่านจะได้รับมาในวันที่เข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาการมี หรือเลื่อนสู่วิทยฐานะนั้นๆแล้ว  นำมาเป็นเอกสารเตือนใจเสมอ  อย่าเผลอจัดทำไปแบบไม่มีข้อกำหนด  เพราะจะกลับลำมาทำอีก จะเสียเวลา.....เพราะขณะนี้  เราแน่ใจ  และกำลังพิมพ์แล้ว 

Photofunia_1cb0_s 

ในส่วนของการพิมพ์ครูอ้อยจะยังไม่กล่าวถึงในฉบับนี้นะคะ  จะขอกล่าวถึงประสบการณ์  เทคนิคเล็กๆน้อยๆ  ที่ดึงออกมาใช้ในระหว่างการจัดทำ  ได้แก่.....

1.  เอกสารต้องเตรียมไว้เป็นสัดส่วน  อย่าปะปนกัน  โดยเฉพาะ  การปฏิบัติงานหลายด้าน  การจัดเก็บเอกสารเป็นเรื่องสำคัญมาก  หลายๆคน  มักจะพบกับปัญหานี้  เสียเวลามากทีเดียว  ในการค้นหาข้อมูล  ดังนั้น  ในแต่ละวัน  ต้องแบ่งเวลามานั่งอ่าน  พิจารณาตำรา.....ที่มีคุณค่าของงานที่กำลังทำ  จัดกองไว้เป็นสัดส่วน  อย่างเช่น  คืนนี้  ครูอ้อยเตรียมไว้แล้ว  พรุ่งนี้เช้า  ครูอ้อยก็จะลุย  ไปพร้อมๆกัน  ทั้งโครงร่างวิจัย ที่มีพร้อมแล้ว  รูปแบบผลงานที่เป็นข้อกำหนด  ตัวอย่างงานวิจัย........

Photofunia_1cb0_s

2.  การเตรียมการ  ครูอ้อยชอบการเตรียมการที่เป็นของตัวเอง  คิดอะไรได้  ก็จะเขียนเป็น mind map  ครูอ้อยคิดว่า.....มันมีประโยชน์มากทีเดียว  เพราะจะมองเห็นโครงร่างอย่างชัดเจนว่า  ครูอ้อยกำลังทำอะไร  และจะทำอะไรต่อไป  ทำครบแล้วหรือยัง  ในแต่บท แต่ละขั้นตอน  ก็จัดทำ map ไว้อีกทีหนึ่งด้วย  เช่น  เมื่อวานนี้  ครูอ้อยทบทวน  ส่วนหน้าของปก  ในส่วนสารบัญ  ที่จะต้องมี  คำนิยม  คำนำ...ใช้ map เดินเรื่อง  จะทำให้ไม่พลาด  และไม่ต้องนำตำราออกมากางทุกทีไป  แต่ตำรานั้นๆ ก็วางเตรียมไว้ด้วย  เผื่อความไม่แน่ใจ

Photofunia_1cb0_s

3.  ส่วนต่างๆที่จะต้องนำมาใส่ในงานวิจัยของครูอ้อยนั้น  อาจจะติดนิสัยมาตั้งแต่เรียนปริญญาโท  ที่จัดทำโครงร่างวิทยานิพนธ์ส่งอาจารย์ที่ปรึกษา  ที่ต้องนำกลับมาทำใหม่  หลายครั้งหลายหนที่เรียกว่า....ไม่ผ่าน   ครูอ้อยต้องคอยปิดรูรั่วของเอกสาร  ทุกครั้งไป  แต่ท่านที่ไม่ได้เรียนปริญญาโท  ก็ไม่ต้องเสียใจ หรือวิตก  หรือเกรงกลัวอะไร  ในเมื่อ  เรามีตำรา  ที่ได้รับแจกจากการอบรมมาแล้วนี่  จะกลัวอะไร.....อย่าบอกนะว่า  ไม่เคยได้รับน่ะ  ได้สิคะ  เราได้ชำระเงินไปแล้ว  ตอนที่เข้ารับการพัฒนา  ทางเจ้าหน้าที่ได้แจกเอกสารการอบรม  และเอกสารแนะนำการจัดทำ  ในส่วนต่างๆมากมาย  ครูอ้อยยังแบ่งเก็บใส่กระเป๋าไว้พวกหนึ่ง .....ไม่ปะปนกัน  ไม่แยกจากกันด้วย  นำมาดู  นำมาอ่านนะคะ  อ่านไปมา ให้เข้าใจ  ไม่เข้าใจตรงไหน  ขีดเส้นไว้  แล้วถาม.... 

Photofunia_1cb0_s

4.  เมื่อวานนี้  เปิดไฟล์  ไล่เรียงไปทีละส่วน  คลิกดูแว่นขยายในเครื่องคอมพิวเตอร์  เห็นการจัดหน้า  ส่วนบน  ส่วนซ้าย  ขวา และล่างของแต่ละหน้า  ไม่เหมือนกัน  ต้องเปิดดูในแบบตัวอย่างให้ชัดเจน   ไม่ใช่พิมพ์ไปตามใจชอบ  ส่วนใหญ่  พวกเรามักจะตก  และไม่ผ่านเพราะความละเอียดในการจัดพิมพ์ ไม่มี นี่ล่ะ  สำคัญมากด้วย  กว่าจะสำเร็จออกมาได้แต่ละหน้า  ต้องใช้เวลามากพอสมควรทีเดียว  หลายๆคน  พิมพ์ทีละบท  เรียงกันไป  เปิดไฟล์ใหม่อีกบทหนึ่งไปเรื่อยๆ   ตอนนี้  ครูอ้อยกำลังเรียงไปทุกบท  จึงยังไม่ได้  คัดลอกออกไปทีละบท  สักระยะหนึ่ง  จะคัดลอกออกไป  เวลาเปิดอ่านระยะนี้ขอสะดวก และรวดเร็วไปก่อน

Photofunia_1cb0_s

5.  เครื่องพรินท์เตอร์  ก็ต้องพร้อมที่จะทำงาน  อาจจะต้องใช้งานมากด้วย  และต้องทำซ้ำ  เสียกระดาษ  เสียหมึกมากหน่อย  ไม่ว่ากัน  ไม่ต้องเสียดายกัน....เพราะครูอ้อยต้องลงทุน  ตีตั๋วเดินทางไปแล้ว  อุปกรณ์ในการเดินทาง  ก็ต้องครบครันนะคะ  ตัวหนีบกระดาษ ก็สำคัญนะคะ  พอดี  ครูอ้อยมีสันกระดาษเสียบไว้ก่อน  เมื่อมีความหนามาก  ใส่สันกระดาษไม่ได้  ก็เปลี่ยนเป็นคลิบหนีบกระดาษตัวใหญ่  ซื้อเอาไว้ได้เลย  เพราะตอนที่นำส่ง ผู้เชี่ยวชาญนั้น  ต้องใช้คลิบหนีบไปก่อนค่ะ

Photofunia_1cb0_s

6.  วิทยฐานะ  ครูเชี่ยวชาญนี้  ต้องทำงานวิจัย 2 เล่ม 2 เรื่อง  ดังนั้นต้องชัดเจนเสียก่อนว่า...ต้องทำเรื่องอะไร  เอกสารข้อมูล รายละเอียดของการทดลอง  รายละเอียดของวิจัยของท่าน ต้องชัดเจน  มีแล้ว  หากยังไม่ครบถ้วน  หยุดการทำด้านอื่นๆเสียก่อน  แล้วหันมานั่งทำตรงนี้ให้เสร็จ  เช่น  ครูอ้อยได้ทำมาถึงบทที่ 3 ระยะเวลาของการทดลอง  ต้องคลิกกลับไปดูในส่วนที่ บทที่ 1 ว่า  กำหนดระยะเวลาไว้อย่างไรในการทดลอง  ต้องให้สอดคล้องกันด้วย  โดยเฉพาะ  R&D  วิจัยเพื่อการพัฒนา  ต้องมีระยะเวลา  นานยาวกว่า วิจัยในชั้นเรียนปกติด้วย

Photofunia_1cb0_s

7.  การส่งให้เพื่อนอ่านก่อน  ก็เป็นเรื่องสำคัญ  เป็นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้วยกัน  ดังนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเครือข่าย  ที่ส่งไฟล์อีเมล์ไปให้กันและกันอ่าน  สำหรับครูอ้อยมีผู้อ่านหลายท่าน  แต่ละท่านยินดี จะอ่านงานของครูอ้อย  แต่ครูอ้อยอาภัพ หรือ โชคไม่ดี  ก็ไม่ทราบ....เพื่อนไม่ส่งงานมาให้ครูอ้อยอ่านเลย   อาจจะเพราะยังไม่เสร็จ หรือยังไม่เรียบร้อย  แต่ครูอ้อยก็เตรียมพร้อมที่จะอ่านงานของเพื่อนๆแล้วล่ะ

Photofunia_1cb0_s

8.  การศึกษา  ค้นคว้าข้อมูล  ที่จะต้องเกิดขึ้นตลอดเวลา  และจะต้อง code มาแบบการวิจัยด้วย  จากไหน เมื่อไร  ใครเขียน  เว็บไซต์ หรือ สำนักพิมพ์อะไร  ต้องชัดเจนทุกข้อความ.....ยิ่งหามาได้ แบบปัจจุบันทันสมัยที่สุด  ก็ยิ่งดี  ระยะนี้  อินเทอร์เน็ต และ ห้องสมุด  ครูอ้อยต้องไปบ่อยๆ  แล้ว  ต้องรู้จักจดไว้ว่า....ข้อมูลอะไร  เมื่อเวลาได้ไป  จะได้หามาให้ครบ เช่น  เมื่อวานนี้  ครูอ้อยติดกับคำว่า risk society  เมื่ออ่านไปพบ  risk management  คล้ายๆกัน  ก็รีบถาม รีบจดไว้ search พบจาก วิดิพีเดีย  รู้ความหมายคร่าวๆ  แต่ะต้องค้นหา งานวิจัยที่กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจน  ไปพยอีกทีหนึ่ง  ในรายงานการวิจัย  ที่น้องโก๊ะ...คนไม่มีราก จัดหามาให้  ..ดีใจมาก  เพราะไม่ต้องไปห้องสมุด

Photofunia_1cb0_s

9.  ข้อมูลที่เป็นคะแนน  ถึงแม้ว่าจะไม่ได้นำลงทั้งหมดในตัวบทวิจัย  นำมาลงแต่เพียง  ผลลัพธ์เท่านั้นก็ตาม  แต่ทั้งหมด จะต้องนำลงในภาคผนวก.....สำคัญมาก  ผู้วิจัย  ต้องมีตรงนี้  ดังนั้นต้องละเอียดรอบคอบ  มีที่มาที่ไปอย่างโปร่งใส  หลายๆคนสะดุดตรงนี้  ..แทบจะเรียกว่า หัวใจ ก็ยังได้เชียว  ครูอ้อยต้องมานั่งเปิดหาจากสมุดเก็บคะแนน  ไร่เรียงให้ตรงกันด้วย  โดยเฉพาะคะแนนจากปีการศึกษาที่แล้วที่เก็บไว้ก็สำคัญ.....

Photofunia_1cb0_s

10.  ปฏิทินการกำหนดงาน  ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ครูอ้อยได้ จดบันทึกตลอดเวลาว่า.....ได้ทำอะไร  จะทำอะไร  ยังขาดอะไร  สงสัยอะไร  จะถามใคร  บางทีเราก็ลืมนะ  ทำอะไรหลายๆอย่าง   ระยะนี้ปิดภาคเรียน  เรามีเวลา  จ้ำจี้จ้ำไช  ก็ต้องจดไว้บ้าง  กันลื่นไหล.....

*****

หวังว่าที่เขียนมานี้  จะเป็นประโยชน์บ้างนะคะ

ด้วยความปรารถนาดีและรักเสมอ

จาก

ครูอ้อย แซ่เฮ

Photofunia_1cb0_s

บันทึกอ้างอิง.....กิจกรรมการเสริมคุณธรรมคู่การวัดและประเมินผล..เกือบเสร็จแล้ว

หมายเลขบันทึก: 216401เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2008 03:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

อรุณสวัสดิ์ครับ

           เข้ามาชื่นชมการวางงานได้เป็น "ระบบ"    ดีมากครับ

          

                     

แวะมาทักทายพี่ครูอ้อย

ช่วงนี้งานยุ่งมากมาย

ยุ่งยังไม่เลิก

มีความสุขมากมายนะคะ

พบแต่สิ่งดีๆเสมอๆ

สุขภาพแข็งแรง

ด้วยความเคารพค่ะ

สวัสดีค่ะ ท่าน ผอ...small man~natadee

  • ขอบพระคุณค่ะ ที่ชมเชย  การวางงานที่เป็นระบบ
  • ครูอ้อยกำลังสับสนอยู่ขณะนี้  และต้องรื้อใหม่  หลายขั้นตอน  เลยเข้ามาคลายความเครียดก่อนค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะน้องสาว ..... @..สายธาร..@

  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทาย
  • ทำงานหนัก รักษาสุขภาพด้วยนะคะ
  • ครูอ้อย  กำลัง วุ่นวายกับงานวิจัยในชั้นเรียนอยู่ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการจัดทำผลงานทางวิชาการ
1.  รับรู้และยอมรับกฏ กติกา และมารยาท
2.  ศึกษาข้อผิดพลาดของรุ่นพี่
3.  ดูกรณีตัวอย่างจากผลงานเดิม
4.  เริ่มต้นด้วยการวางแผนให้รอบคอบ
5.  จัดสรรเวลาให้เพียงพอและต่อเนื่อง
6.  ต้องตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่วัด
7.  สืบค้น เรื่องเกณฑ์ประเมินจาก reader
8.  นำเสนอผลงานให้ถูกต้องครบถ้วน
9.  ควรประสานขอที่ปรึกษา
10.เร่งทำงานผลงานให้เสร็จตามกำหนดเวลาที่แน่นอน

การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
1.  ไม่สนใจเรียน
2.  อ่าน เขียน ผิดมาก
3.  ไม่อยากทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.  ไม่รักการอ่าน
5.  ไม่ชอบเรียน วิชางานบ้าน
6.  ทำโครงงานไม่ได้
7.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
การวิเคราห์พฤติกรรมที่ครูพึงเป็น
1.  ครูแสวง
2.  ครูเมตตา
3.  ครูพัฒนา

การวิเคราะห์พฤติกรรมในการเรียนรู้ของนักเรียน
1.  ไร้วินัย
2.  ใจไม่สู้
3.  เรียนรู้ไม่เป็น
4.  เขม่น เล่นกันรุนแรง
5.  ไม่แบ่งปันกัน
6.  สัมพันธภาพไม่ดี
7.  ไม่มีความสุข
8.  ติดยุคแฟชั่น
9.  จัดสรรเวลาไม่เป็น
10. เล่นแต่เกมออนไลน์
11. ขายบริการทางเพศ.....(แล้วประเทศชาติจะเจริญได้อย่างไร)

การวิเคราะห์พฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียน
1.  คิดไม่เป็น
2.  เล่นมากกว่าเรียน
3.  เตือนแล้วย้อน
4.  สอนไม่ฟัง
5.  สั่งไม่ทำ
6.  ทำแต่เรื่องไร้สาระ
7.  มักจะเป็นชาวเกาะ
8.  ไม่เสาะแสวงหาความรู้เพิ่ม
9.  ความรู้เดิมมีน้อย
10.อ่านเขียนไม่ได้
ข้อมูลมาจากการอบรม การพัฒนาให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ 1-7 มิถุนายน 51

ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน
1.  เมื่อมีปัญหาทางการเรียนรู้  ครูหาวิธีการ นวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนา
2.  ครูใช้วิธีการ หรืนวัตกรรมนั้น  แก้ปัญหาหรือพัฒนา
3.  ครูสังเกต ตรวจสอบผลของการแก้ปัญหา หรือพัฒนา
4.  ครูบันทึกและสะท้อนผลของการแก้ปัญหาหรือพัฒนา

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.  ศึกษาผลการผลิตนวัตกรรม
2.  ประเมินทักษะการใช้นวัตกรรม
3.  เปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมนั้น
4.  ศึกษาความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรม

หลักเกณฑ์การเลือกใช้นวัตกรรม
1.  มีประโยชน์
2.  เหมาะสม
3.  ต้องการ จำเป็น
4.  เป็นไปได้
5  คุ้มค่า

กระบวนการพัฒนา
1.  วิเคราะห์ปัญหา
2.  ศึกษาแนวคิด
3.  ออกแบบ
4.  พัฒนานักเรียน
5.  เขียนรายงาน

หลักการผลิตนวัตกรรม
1.  สอดคล้อง
2.  ครอบคลุม
3.  ถูกต้อง
4.  เหมาะสม
5.  หลากหลาย
6.  น่าสนใจ
7.  เป็นประโยชน์

สวัสดีครับ

แวะมาหาความรู้ครับ

โอ้โห เรียนป เอกด้วย ทำเชี่ยวชาญอีก สู้ๆ นะครับ อาจารย์พี่อ้อย

เรื่องจัดการเก็บเอกสารนี่สำคัญเหมือนกัน ส่วนมากระหว่างทำงาน เอกสารจะหายเป็นระยะ พองานเสร็จ ถึงได้หาเจอก็มี ;)

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ... ธ.วั ช ชั ย

  • ครูอ้อย  มีวิกฤติเสมอ  และพยายามนำวิกฤตินี้มาเป็นโอกาสเสมอ
  • ชีวิต  ไม่ได้เบิกบาน  เป็นไปได้ดังใจนึก มาหลายปีแล้ว
  • ต้องแอบมาหาความสุข และกำลังใจ เท่าที่พอหาได้บนพื้นพิภพนี้

ขอบคุณค่ะ ที่เป็นกำลังใจ และเข้าใจครูอ้อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท