๑๑.ซ้ำซาก จำเจ แต่ไม่เบื่อ


การยกย่องชมเชยอย่างมีความหมาย จะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจ เอื้ออาทรต่อกัน และการเอาใจใส่ของครูและการชื่ชนพฤติกรรมทางบวกไม่เพียงแต่จะเกิดผลต่อนักเรียนคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อเด็กทั้งชั้นอีกด้วย

         นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ปีการศึกษา 2551  มีจำนวน  31  คน เป็นนักเรียนที่เลื่อนชั้นขึ้นมา  30  คนและเป็นนักเรียนเก่าที่ย้ายไปเรียนที่อื่นและกลับมาเข้าใหม่อีก คน  นักเรียนทั้งหมดเคยสอนกันมาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนถึงบัดนี้เป็นเวลาย่างเข้าปีที่   ตลอดเวลาที่ทำการสอนได้พบปัญหาด้านพฤติกรรมที่แตกต่างกัน  ทั้งที่แก้ไขได้และแก้ไขไม่ได้  นับว่าเป็นอุปสรรคปัญหา  เนื่องจากนักเรียนไม่ให้ความร่วมมืออันได้แก่

1. ด้านพฤติกรรม  ก้าวร้าวต่อครู ต่อเพื่อน สูบบุหรี่ เล่นการพนัน ดื่มสุราตั้งแต่อยู่ชั้นเล็ก ๆ เพราะสภาพแวดล้อมของครอบครัวและชุมชนที่อาศัยอยู่  มีจำนวน  3 คนเป็นนักเรียนชาย  ไม่สนใจในการเรียน ขาดความรับผิดชอบต่อการเรียน  ไม่ทำงานที่ได้รับมอบหมาย  ไม่ร่วมกิจกรรมกลุ่ม  ไม่เอาสมุดหนังสือมาเรียน เข้าห้องเรียนช้าและขออนุญาตออกนอกห้องบ่อยมาก  อบรมว่ากล่าวก็จะดีขึ้นเพียงครั้งเดียวแล้วก็เป็นเหมือนเดิม  ในกลุ่มสาระอื่น ๆ ครูผ้สอนได้พบปัญหาเช่นเดียวกัน  ขอสมมุติชื่อให้เด็กนักเรียน  3 คนนี้ว่าA   B  และ C ผลการเรียนภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับ 0

2. ด้านพฤติกรรมเฉยชา  เล่นในห้องเรียนเหมือนเด็กเล็ก ๆ มาโรงเรียนทุกวัน เข้าห้องเรียนทันเวลา ไม่สนใจการเรียนทุกกลุ่มสาระ  ไม่ทำการบ้าน  งานในชั่วโมงทำไม่เสร็จ  อ่านหนังสือไม่คล่อง  ไม่เคยส่งงานทุกกลุ่มสาระ เด็กชายคนนี้สมมุติชื่อว่า D ย้ายมาเข้าเรียนที่โรงเรียนนี้เมื่อชั้นประถมศึกษาปีที่ มีผลการเรียนภาษาอังกฤษระดับ 0

 3. นักเรียนจำนวน  4  คนมีพฤติกรรมแตกต่างกันแยกได้คล้ายคลึงกันออกเป็น 2 กลุ่มคือ

      3.1  นักเรียนหญิง 2 คนแรกมาโรงเรียนทุกวัน  ทำการบ้านบ้างเป็นบางครั้ง  ได้รับการแก้ไขให้พัฒนาขึ้นได้เล็กน้อย  เพราะระดับสติปัญญา  ตอบคำถามได้เมื่อครูถาม มีปฏิสัมพันธ์กับครุและเพื่อน ๆ   มีน้ำใจโอบอ้อมอารีช่วยเหลืองานครูและรับผิดชอบกิจกรรมนอกห้องเรียนได้ดีมาก  สมมุติชื่อ หนึ่งและสอง

      3.2  นักเรียนหญิง  2 คนหลังเป็นเด็กบ้านแตก สมมุติชื่อสามและสี่   / สามเป็นเด็กกำพร้าพ่อ แม่ ตั้งแต่เล็กอยู่กับยายที่สูงอายุแล้วและยากจน มีพี่ชายต่างบิดา  1 คนเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ทุนเรียงความเป็นค่าเล่าเรียน  สามเป็นเด็กชอบเที่ยวเตร่  ขี้เกียจ ไม่ช่วยยายทำงาน ใครชวนไปที่ไหนก็ไปตามง่าย ๆ  โดยเฉพาะเพื่อนต่างเพศ  ชอบร้องเพลงเสียงดัง  ไม่เลือกกาละเทศะ  ชอบคุยในเวลาเรียน  อีกคนชื่อสี่เป็นเด็กที่พ่อแม่หย่ากัน อาศัยอยู่กับยายที่ยากจน  แม่ไปมีสามีใหม่ พี่สาว 1 คนแต่ได้มีครอบครัวตั้งแต่เรียนอยู่ ปวช.ปีที่ 3   เด็กทั้งสองจะเติบโตเกินวัย  ตลอดจนพฤติกรรมที่แสดงออกเช่นวัยของหนุ่มสาว  มักจะปลีกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน  ครูสาระอื่น ๆ มีความเห็นเช่นเดียวกัน

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  เป็นดังนี้

  1.  สัปดาห์แรกระหว่างวันที่ 20-23 พฤษภาคม 2551  ได้ดำเนินการสอนหลังจากการเตรียมความพร้อม  การทดสอบความรู้พื้นฐาน  การอบรมคุณธรรมจริยธรรม ครั้งแรกพบว่ามีนักเรียนส่งงานเพียง  7  คน ทั้งนี้นักเรียนและครูได้ตกลงกันว่าให้มีการเก็บคะแนนเป็นรายชั่วโมง   ซึ่งพฤติกรรมที่กล่าวมาแล้วข้างต้นได้ลดลงมาก

  2. สัปดาห์ที่ ระว่างวันที่  26 - 29  พฤษภาคม 2551 ได้พบปัญหาการไม่ส่งงานลดลงคือส่ง  22  คน ไม่ส่งงานเพียง 9 คน สุดท้ายของชั่วโมง  ได้รายงานให้นักเรียนทราบคะแนนของสัปดาห์แรก  ยกย่องชมเชยนักเรียนแต่ละคน  และไม่กล่าวถึงคนที่ไม่ได้ส่งงาน  แต่ได้อ่านพฤติกรรมโดยรวมให้นักเรียนทราบ  เช่นไม่ให้เกียรติครูและเพื่อน ๆ ไม่สนใจการเรียน คุยในขณะที่ครูสอน  โดยไม่ระบุชื่อเพื่อให้นักเรียนทบทวนตัวเองว่าใครมีพฤติกรรมเช่นนี้บ้างควรหาทางปรับปรุงแก้ไข  ใครไม่มีดังที่ครูบอกแสดงว่าเป็นเด็กดี ให้รักษาคุณภาพเป็นเด็กดียิ่ง ๆ ขึ้นไป  บางคนมีความพยายามดีมาก  แม้จะเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง  ได้ให้ข้อคิดคุณธรรมความขยันหมั่นเพียร   การประหยัดเวลาใช้เวลาให้เกิดประโยชน์  ทำให้เวลามีคุณค่า  มีความซื่อสัตย์ต่อครู ต่อเพื่อน ต่อตนเอง ไม่ลอกการบ้านของเพื่อน  มีวินัยในตนเองโดยการรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเด็ก  การเชื่อฟังครูและพ่อแม่ถือว่ามีคุณธรรมด้านความกตัญญู

      ในชั่วโมงนี้ได้แบ่งนักเรียนออกเป็น  5 กลุ่มคัดเลือกนักเรียนที่มีผลการเรียนดีและมีความขยันเป็นหัวหน้ากลุ่ม  นอกจากนั้นให้เฉลี่ยกันเลือกเข้ากลุ่มตามความสมัครใจ  ทบทวนการอยู่ร่วมกันตามหลักธรรมาภิบาล  นักเรียนทุกกลุ่มช่วยกันตอบว่ามีการเสนอปัญหาร่วมกัน  หาแนวทางแก้ปัญหา รักใคร่สามัคคี ให้โอกาสเพื่อน ยอมรับความคิดเห็น มีความเอื้ออาทรช่วยเหลือกันและการตัดสินใจร่วมกัน 

       ก่อนหมดชั่วโมง  5 นาที  ให้นักเรียนเรียงตามลำดับเลขที่  นำสมุดมาให้ครูตรวจสอบว่า  การทำงานเป็นอย่างไร  (จะอนุญาตให้คนที่ไม่เสร็จนำไปทำนอกเวลา)  ผลปรากฏอย่างไม่คาดฝัน  นักเรียนทำงานเสร็จทันตามเวลาทุกคน  จึงได้ตรวจพบว่ามีนักเรียนที่ต้องได้รับความช่วยเหลือในการปรับปรุงพัฒนาเพียง 3 คน

           1.  คนแรกคือเด็กชาย D  น่าจะเป็นครั้งแรกที่ทำงานเสร็จพร้อมส่ง  การที่ไม่ทำงาน ไม่ส่งงาน จึงทำให้ยากต่อการแก้ไข ได้ให้ดี ครั้งนี้มีปัญการการใช้เครื่องหมายในประโยค ได้อธิบายและให้ตัวอย่างไปแก้ไขใหม่ที่บ้าน  ไม่มั่นใจว่าเขาจะทำ  เพราะที่ผ่านมานั้นเขาไม่เคยทำแม้แต่ครั้งเดียว

           2. เด็กชาย F (ไม่เป็นนักเรียนที่กล่าวถึงข้างต้น)  ทำงานแทบทุกครั้ง และมีน้อยครั้งที่จะทำไม่เสร็จ แต่มีปัญหาระดับสติปัญญา  ทำงานไม่เรียบร้อย  สกปรก ไม่รู้จักวรรคตอน และการใส่เครื่องหมายต่าง ๆ 

           3. เด็กหญิงสอง (เด็กในกลุ่มที่กล่าวถึง) มีความพยายามทำงาน  ได้แก้ไขเช่นเดียวกับเด็กชาย A  สารภาพว่าที่แล้วมานั้นลอกของเพื่อนบ่อย ๆ และสัญญาว่าต่อไปจะไม่ลอกอีก

           สิ่งที่ค้นพบในครั้งนี้คือ...การที่ได้เล่าให้เพื่อนครูในโรงเรียนฟังว่า  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส่งการบ้านทุกคน รวมทั้งเด็กชาย A  B  C  D

           ชั่วโมงต่อมา   นักเรียนมานั่งตามกลุ่มที่จัดไว้ให้  มาเข้าห้องเรียนตรงเวลากว่าที่เคย  มาพร้อมกันทั้งชั้น  ไม่มีคนใดคนหนึ่งเข้าห้องช้ากว่าปกติ  วันนี้มีนักเรียนขาดเรียน  3  คนคือ เด็กชาย B (ที่มีปัญหาข้างต้น)  เด็กชาย G  และเด็กหญิงห้า รายแรกไม่ทราบสาเหตุ  สองรายหลังป่วยเป็นไข้หวัด  ทบทวนเรื่องการใช้ Verb To Be  ในประโยคบอกเล่าและประโยคปฏิเสธ  ความคาดหวังไม่มีความมั่นใจว่าจะเหมือนชั่วโมงที่ผ่านมาว่านักเรียนจะทำงานเสร็จในเวลาที่กำหนดได้ทุกคน  ผลเป็นดังนี้

 1.  นักเรียนทำงานเสร็จทันเวลาครบจำนวน  28  คน  ตรวจงานนักเรียนทั้งหมดแล้วพบว่าส่วนมากมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอยู่ในระดับดี  มีคะแนนระหว่าง 12 - 22 (คะแนนเต็ม 22)

2.  กลุ่มที่ 6 ที่มีเด็กชาย D เป็นสมาชิกทำงานเสร็จช้าที่สุด  เพราะทุกคนร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือเด็กชาย C  เป็นอย่างดี และนอกจากนี้เด็กชาย C ได้ทำการบ้านที่ให้เมื่อวานเสร็จเรียบร้อย

3. เด็กหญิงสองทำงานเสร็จเกือบสุดท้ายของกลุ่ม  แต่ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เขียนตกหล่น อ่านไม่ได้  แต่เด็กหญิงสองมีปฏิสัมพันธ์กับครูดีมาก  เล่ารายละเอียดกับเหตุผลในการเรียนรู้ให้ฟังโดยไม่ต้องถามว่า "พอเข้าใจบ้างแล้ว  แต่จะพยายามแก้ไข จะเขียนอย่างรอบคอบ จะนำแบบฝึกหัดไปแก้ไขที่บ้าน"

           นักเรียนที่ทำตัวเป็นปัญหานับตั้งแต่ A B C  และ D เห็นความสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น  พฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้นได้ลดลงมาก  กลับมาสนใจการเรียน สนใจครู  และมีความสุขหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส จึงยกย่องชมเชย  ให้กำลังใจเพื่อน ๆ ปรบมือและยอมรับมากขึ้น "การยกย่องชมเชยจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจและเรียนอย่างประสบผลสำเร็จ  คุณภาพการเอาใจใส่ของครูเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด  เพราะการยกย่องชมเชยอย่างมีความหมาย  จะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจ  เอื้ออาทรต่อกัน  และการเอาใจใส่ของครูและการชื่ชนพฤติกรรมทางบวก  ไม่เพียงแต่จะเกิดผลต่อนักเรียนคนใดคนหนึ่งเท่านั้น  แต่ยังส่งผลดีต่อเด็กทั้งชั้นอีกด้วย  เพราะการที่นักเรียนสังเกตสิ่งที่ทำให้ครูสนใจ นักเรียนได้เรียนรู้พฤติกรรมใดบ้างที่สมควรจะได้รับการยกย่องจากครู" (Carolyn  Webster - Station. 2003  หน้า  132)

          ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบที่ค้นพบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ในครั้งนี้ได้แก่ คะแนนรายชั่วโมง การอ่านพฤติกรรมนักเรียนโดยรวมให้เพื่อน ๆ ฟังทั้งชั้น  และกลุ่มนักเรียน  จากรายละเอียดของข้อมูลในครั้งนี้จะเป็นพื้นฐานในการศึกษาลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มนี้ตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 211298เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2008 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ชื่นชมคุณครูค่ะ ฝากอนาคตประเทศไทยกับครูนี่ล่ะค่ะ ในการหลอมนักเรียนให้เป็นคนดีของชาตินะคะ

  • ตามมาอ่านพฤติกรรมเด็ก ๆ
  • และวิธีแก้ปัญหาครับ
  • ชื่นชมครับและพัฒนาเด็ก ๆ ต่อ ๆ ไปครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะครูคิม การยกย่อง ชมเชย เป็นการสร้างแรงเสริมให้กับเด็กได้เป็นอย่างดีค่ะ

+ สวัสดีค่ะ..ครูคิม..

+ ยอดเยี่ยมมากค่ะ...

+ ขออนุญาตนำไปใช้บ้างค่ะ...

+ ส่วนใหญ่แล้วเด็ก ๆ ที่มีปัญหาถ้าเราได้ใจเขา...รับรองได้เลยค่ะว่าพฤติกรรมตอบสนองดีขึ้น...

+ แต่ต้องใช้ระยะเวลาค่ะ...ที่สำคัญดีไม่ได้ดั่งใจค่ะ...แต่ดีขึ้นค่ะ...และเราค่อย ๆ พัฒนาไปเรื่อย ๆ ค่ะ....

+ คุณครูเก่งมากค่ะ....ชื่นชมและภูมิใจจังเลยค่ะ....

+ ประทับใจกับสิ่งนี้ค่ะ " ลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน"

+ ได้ใจครูอ๋อยเลยค่ะ....

+ สิ่งสำคัญต้องเอาใจเขามาให้ได้ค่ะ...ได้ใจเมื่อไหร่...อะไรที่ว่ายากก็จะยากน้อยลงค่ะ...

+

เรียนท่าน ผอ. ที่เคารพค่ะ

ขอขอบคุณค่ะท่าน ผอ. ดอกลิลลี่สีแดงสด  ดูแล้วทำให้เกิดพลังนะคะ

ลีลาการเรียนรู้ (Learning Style) ที่นักจิตวิทยาการศึกษาเชื่อว่ามนุษย์สามารถรับรู้ข้อมูลได้นั้น  โดยผ่านเส้นทาง 3 ทางคือ

1. การรับรู้โดยผ่านสายตา

2. การรับรู้โดยผ่านการได้ยิน

3. การรับรู้โดยผ่านร่างกาย  การเคลื่อนไหว การรู้สึก

เพื่อหาข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหาผู้เรียน  ให้มีแนวทางแก้ปัญหาผู้เรียนได้สอดคล้องตรงเป้าหมายค่ะ

สวัสดีคุณครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

ขอขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

จะพยายามค่ะ  คุณครูโย่งมีข้อเสนอแนะดี ๆ

ก็ยินดีรับฟังนะคะ

สวัสดีค่ะคุณครู สุนันทา

วิธีการแต่ละอย่าง ถ้าซ้ำซากจำเจ  เด็กก็เบื่อเหมือนกันค่ะ

วันนี้เด็กชาย ม.2 กับ ม.3 ชกกันกลางสนามขณะที่ทำกิจกรรม

ก็ลงโทษโดยให้เขาไปตามเพื่อมาข้างละ 10 คน

เข้าแถวเรียง 1 เอามือปิดตาเพื่อนคนหัวแถวไปถึงคนที่ 9 ส่วนคนสุดท้ายลืมตา

ให้แข่งกัน 2 ทีมเดินไปรอบ ๆ สนาม

ไม่ได้ลงโทษหรือดุว่าแต่อย่างใด  เมื่อเขาทำตามคำสั่งครบแล้ว ก็บอกว่า "นี่เป็นการลงโทษนะ"

ขอบคุณค่ะท่มาให้กำลังใจ

สวัสดีค่ะครูคิม

***การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเริ่มจากกิจกรรมง่าย่ๆก่อน...นานเข้านักเรียนจะคุ้นชิน...การเสริมกำลังใจให้กับผู้นำกลุ่มโดยการสร้างความคาดหวังให้ จะเห็นการพัฒนาวุฒิภาวะแห่งการเป็นเป้นผู้นำแบบค่อยเป็นค่อยไปได้ค่ะ...แวะมาให้กำลังใจนะคะ..ชื่นชมในการใส่ใจรายละเอียดของคุณครูคิม ..นักเรียนสังเกตสิ่งที่ทำให้ครูสนใจ นักเรียนได้เรียนรู้ว่า พฤติกรรมใดบ้างที่สมควรจะได้รับการยกย่องจากครู" แค่บันทึกสิ่งดีๆเหล่านี้ไว้เราก็สามารถดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้มากแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครู แอมแปร์~natadee

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ  ครูคิมได้ทำแบบสำรวจลีลาการเรียนรู้และ

โปรแกรมวิเคราะห์ไว้  ถ้าต้องการนำไปปรับใช้เพื่อประโยชน์

ยินดีที่จะมอบให้ค่ะ  เพื่อความเป็นกัลยาณมิตร

ขอขอบคุณค่ะ

  • ธรรมสวัสดีนะโยมคุณครู
  • ซ้ำซาก จำเจ แต่ไม่เบื่อ
  • มีอะไรในโลกนี้บ้างที่คนเราไม่ทำซ้ำๆซากๆ
  • เพียงแต่ความซ้ำซากนั้นมีคุณหรือโทษอันใด
  • การจำเจในเรื่องดีๆเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องอดทนพยายาม
  • เพื่อเป้าประสงค์ที่ยังดำรงความมุ่งหมายไปสู่การพัฒนา
  • ให้มีความสุข มีสุขภาพแข็งแรง
  • บุญรักษา..

สวัสดีค่ะคุณครูกิติยา เตชะวรรณวุฒิ

ครูคิมอยู่โรงเรียนบ้านนอก  เด็ก ๆ ล้วนแต่ขลาดแคลนแทบทุกอย่า

ด้านวิชาการก็เทียบกับโรงเรียนในเมืองไม่ได้ พวกเราต้องมาจับมือกันทั้งโรงเรียนว่าช่วย ๆ กันดูแลพฤติกรรมให้ดีเอาไว้ก่อน  วิชาการค่อยเป็นค่อยไป

ขอขอบคุณในความกรุณาให้คำแนะนำค่ะ  เป็นกำลังใจอย่างยิ่งค่ะ

นมัสการพระคุณเจ้า tukkatummo เจ้าค่ะ

การที่อยู่กับนักเรียน  จะพบกับปัญหาที่คล้าย ๆ กับเป็นความซ้ำซาก จำเจ  มีปัญหาให้แก้ตลอด  การเรียนก็ยิ่งใหญ่ แล้วยังติดตามก็คือพฤติกรรมของเด็ก ๆ

แต่ก็สนุก  ไม่เบื่อค่ะ  มีความสุขกับการที่ได้ดูแลพวกเขา

ขอขอบพระคุณอย่างสูงเจ้าค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครู...บางอย่างก็ต้องใช้การซ้ำๆๆๆ บ้าง ค่ะ แต่ถ้าได้ประโยชน์ก็ไม่จำเจใช่ไหมคะ คุณครู

สวัสดีค่ะคุณ paula ที่ปรึกษา~natadee

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

ครูคิมทำทุกวิธีการ  พยายามไม่ให้ซำกัน กลัวเด็กจะเบื่อ

บางคนต้องให้แสดงความรักอย่างใกล้ชิดเช่นการกอด การหอมแก้ม

เด็กโตมัธยมก็ต้องการค่ะ การกอดจากครู

ขอบคุณนะคะที่มาให้กำลังใจ

http://www.krukimpbmind.com/

http://www.krukimpbmind.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538635132&Ntype=1

เปิดเผยสำหรับคุณพอลล่า...ค่ะ  เป็นภาพเมื่อปีกลาย  ปีนี้ก็มีนะคะ

http://www.krukimpbmind.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538701222

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท