ทิศทางการศึกษาไทย จะไปกันทางไหน


ช่วงนี้กระแสร์การศึกษาไทยที่กำหนดทิศทางผิดมาโดยตลอด ยังคงใช้วิสัยทัศน์แบบท่อ ช่องใครช่องมันแท่งใครแท่งมัน ไม่เคยประสานสอดคล้องกันเลย

ช่วงนี้กระแสร์การศึกษาไทยออกจะไร้ทิศทาง  เด็กเรียนจบปริญญามากมายแต่ไร้คุณภาพ

กำหนดทิศทางการศึกษาผิดทางมาโดยตลอด  ยังคงใช้วิสัยทัศน์แบบท่อ  ช่องใครช่องมัน  แท่งใครแท่งมัน  ไม่เคยประสานสอดคล้องกันเลย  อย่างที่พูดกันว่าบูรณากูมากกว่าบูรณาการ 

วันนี้อยากจะกระตุ้นให้ตระหนักเรื่องการศึกษาไทย  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประวัติศาสตร์  ชาติพันธ์  ความเป็นมา  ปูมชีวิตที่มีการพัฒนาการมาอย่างไร

"ถ้าไม่รู้จักอดีต  ก็ไม่สามารถกำหนดอนาคตได้"

แวดวงการศึกษาไทยไปเรียนตำราไหนมาไม่รู้  เลิกเรียนไปหลายๆวิชา  ล้วนแต่รากเหง้าพื้นฐานแห่งชีวิตทั้งสิ้น  เช่น "คุณธรรมจริยธรรม"  "หน้าที่พลเมือง"   "สมบัติผู้ดี"

วันนี้คนไทยจึงไม่รู้ว่าหน้าที่ตัวเองคืออะไร  ความดีก็ไม่แจ้ง  ซ้ำคุณธรรมเป็นอย่างไรก็ไม่รู้

วันนี้เรามีแต่คนเก่ง  แต่ไม่ดี  พอมีคนดี  ก็ไม่เก่ง  จนบางครั้งได้ทั้งไม่เก่งและไม่ดี  แถมเก่งแต่โกงมาผสมโรงซะอีก  เศร้าใจประเทศไทยแลนเด้จริงๆ  

ใครคิดออกช่วยบอกทีเมืองไทยเราจะไปทางไหนแน่  อย่าเอาแต่ข้างๆคูๆ  เอาสีข้างเข้าไถไปเรื่อยๆ  ระวังเปื่อยหมดนะครับ

วันนี้ตั้งใจจะเขียนประวัติความเป็นมาของอาณาจักรต่างของต้นกำเนิดชาติไทยในอดีต  ไปๆมาๆก็เลยมาลงเรื่องการศึกษาไทยครับ  ขอผ่านไป บันทึกหน้าก็แล้วกัน 

หมายเลขบันทึก: 209586เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2008 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับ อาจารย์เอก :)

ผม LOGIN ผ่านเข้ามาเช่นกันครับ ...

การศึกษาไทย ... ไร้ทิศทางมานานแสนนาน ตราบที่ "ผลผลิต" ทางการศึกษาออกมา จึ่งรู้ว่า "ผิดทาง"

การวิ่งเต้นสำหรับตำแหน่งของผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงการศึกษา ยังวิ่งกันหัวหกก้นขวิด

ไม่ต่างจากการเมืองระดับประเทศที่วิ่ง ต่อรอง ขอตำแหน่ง เพื่อหวังผลทั้งเกียรติยศ วงศ์ตระกูล อีกทั้งยังเป็นพวก "นายทุน" หวังให้ธุรกิจของตัวเองร่ำรวยเพิ่มมากขึ้น

"ผลผลิต" ที่อ่านออกเขียนไม่ได้ ไร้คุณธรรม ทำเพื่อตัวเอง ยังคงมีมากมาย สื่อมวลชนหลายแขนงเริ่มกระหน่ำข่าวสารเรื่องนี้มากขึ้น

ในแวดวงการศึกษาเอง ระบบ "วิทยฐานะ" ที่ผิดเพี้ยน เอา "ครู" เป็นศูนย์กลางของจักรวาลย ... ยังคงดำดิ่งสู่ห้วงเหวลึก

จึงไม่ต้องแปลกใจในหลายครั้งของงานวิจัยจะพบว่า โรงเรียนที่มีครู ค.ศ.3 เกือบทั้งโรงเรียน "เด็กไทย" ของโรงเรียนนั้นจะอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ตลกร้ายของสังคมการศึกษาไทย

หนทางแก้ไข ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน

โรงเรียนฝึกหัดครูต้องรู้ว่า ผลิตครูอย่างไรจึงมีคุณภาพ

ครูที่จบออกไปรู้ว่า หน้าที่ของครูที่ดีคืออะไร ที่ไม่ใช่หวังเงินทองมากกว่าลูกศิษย์จะเป็นคนเก่ง คนดีของครู

ผู้มีอิทธิพลต่อนโยบายของกระทรวงฯ ก็ต้องหาวิธีทางที่แนบเนียนสำหรับการทำให้ระบบทั้งหมดเดินไปอย่างดี และ ถูกทิศทาง

ไม่ใช่เลียนแบบระบบต่างประเทศทั้งหมด ไม่สนใจ "ธรรมชาติ" ของคนในประเทศตัวเอง

ไม่อยากท้อใจ แต่ก็เบื่อเซ็งกับระบบการศึกษาไทย เป็นระยะ ๆ ครับ อาจารย์เอก

ขอบคุณครับ :)

สวัสดีครับลุงเอก

  • ในฐานะที่เป็นครูผู้ผลิตคนหนึ่ง ขอยกมือเห็นด้วยกับลุงเอกทุกประการครับ
  • ผมว่าวิชา "คุณธรรมจริยธรรม" มีความสำคัญอย่างยิ่งครับ เพราะคนและสังคมในปัจจุบันค่อนข้างมักง่าย ประมาท และขาดคุณธรรมครับ
  • แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง การสอนคุณธรรมจริยธรรม ครูผู้สอนที่เข้าถึงแก่นแท้ผมว่ายังน้อยอยู่ จึงทำให้ผู้เรียนเข้าไม่ถึงเบื่อหน่าย
  • ผมเสนอว่า คงต้องรบกวนพระคุณเจ้ามาช่วยสอน และขยายสาขามหาวิทยาลัยพุทธนานาชาติให้มากขึ้นนะขอรับ
  • ผมว่า เรื่อง คุณธรรมจริยธรรม มีความเป็นนามธรรมสูง ทำให้สอนได้ยาก นักปราชญ์โบราณท่านหนึ่ง (น่าจะเป็นเพลโต) กล่าวว่า คุณธรรมจริยธรรมสอนกันไม่ได้ ได้แต่ชี้แนะให้เขาเปลี่ยนตัวเขาเอง คำถามต่อมา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภายในของคนที่สอดคล้องกับยุคสมัย คืออะไรบ้าง ?
  • --------------------------------
  • ประเด็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผมเสนอว่า ต้องรีบให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชนอย่างเร่งด่วนที่สุด (เน้นว่าข้อมูลที่ถูกต้อง) เพราะด้วยความก้าวหน้าของสังคมแห่งการเรียนรู้ ความลับจะไม่เป็นความลับอีกต่อไป ข้อมูลจะถูกตรวจสอบเชื่อมโยงกันทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว แล้วความจริงจะปรากฏ
  • บางทีกว่าภาพสุดท้ายที่ถูกต้องและชัดเจนจะปรากฏขึ้นมาพร้อมคำอธิบายที่ถูกต้อง ถ้าเขาเรียนรู้เองอย่างผิด ๆ ถูก ๆ เกิดอาจจะเกิดการเข้าใจผิดมีปัญหาได้ง่ายนะขอรับ
  • หนังพระนเรศวร ก็เป็นตัวอย่างการให้ข้อมูลประวัติศาสตร์ที่สร้างสรรค์ดีมากนะครับ

วาทกรรมการศึกษานี่สามารถเขียนได้ตลอด และจำเลยก็หน้าเดิมตลอด ผมเข้าใจว่าถึงบัดนี้แล้ว จำเลยคือ ทุกคน

ดังนั้นทุกคนก็ต้องร่วม "ร่วมคิด ช่วยทำ"

การศึกษาเริ่มจาก เกิดในครอบครัว ครู คือ พ่อ และแม่ ตรงนี้ ผู้ให้กำเนิดเป็นครูธรรมชาติ แต่ก็นั่นอีกละครับ ครูธรรมชาติ แต่ยังไม่มีองค์ความรู้ใด หรือมีก็น้อยในการอบรมสั่งสอน ผลก็ตกมาที่นักเรียนรู้ คือเด็กน้อยที่เป็นผลผลิตของประเทศ

หากเราสืบสาวก็พบการสื่บเนื่องไปเรื่อยจนถึงการศึกษาในระบบ

ผมมองว่า ในนอกระบบเราอาจช่วยทำได้ และเราก็ทำกันมาบ้างแล้ว ไม่ว่าประเด็น KM และ การพัฒนาต่างๆที่เน้นชุมชนเป็นฐาน ถึงแม้ว่าไม่ใช่เมกะโปรเจก แต่ก็เป็นการลงทุนที่ใช้พลังสูงทั้งผู้ทำกระบวนการ และผู้เรียนรู้ร่วมกระบวนการ

ผมเข้าใจว่าทุกองคาพยพของสังคมก็ตระหนักในเรื่องนี้ แต่กำลังหาทางออกที่ดี และตระหนักกันส่วนใหญ่

ดังนั้น เรามาร่วมคิด...ว่า การศึกษาเพื่อสุขภาวะ ของประเทศไทยเราน่าจะเป็นอย่างไร

คำถามนี้เป็นคำถามท้าทายครับ

ผมหวังจากเปลี่ยนแปลงในระดับเล็กๆ ค่อยขยายไประดับแมคโคร ..

น่าจะยั่งยืน และตอบโจทย์ระบบการศึกษาที่ยังอยู่ในกรอบคิดเดิมอันเข้มแข็งได้

ผมเชื่อว่า คนรากหญ้าตอนนี้ เขาเรียนรู้กันเอง และพยายามยกระดับตัวเอง โดยสนใจ หรือไม่สนใจปริญยาก็ได้ แต่ความจำเป็นต้องใช้ใบปริญญาเป็นเครื่องหมายให้กับสังคมสัญลักษณ์ จึงมีมหาวิทยาลัยยื่นมือไปให้ใบปริญญาถึงชุมชน เรียกว่า "การศึกษาเชิงรุก" คือเข้าไปผลิตบัณฑิตจากตำราถึงในชุมชน เป็นธุรกิจขนาด SML ไปบ้างก็มี แต่ก็แลกด้วยค่าชั่วโมงแสนแพง

ชาวบ้านก็ไม่ได้โง่ เพียงแต่ ได้มาก็ดี ซื้อเอาไว้ก่อน เอาไว้เป็นวิ่งการันตี ติดข้างฝาบ้านไว้ ยังพอดูดี

 

+ ลุงเอกค่ะ....

+ แบบว่าขอจองค่ะ....

+ ต้องอาบน้ำไป ร.ร.ก่อนค่ะสำหรับเพลานี้....

+ ตอนเย็นจะกลับมา ลปรร.แน่นอนค่ะ...

+ ลุงเอกรักษาสุขภาพกายและใจด้วยค่ะ.....

P อาจารย์ Wasawat Deemarn ครับ ขอบคุณที่บันทึกสาระดีๆเอาไว้  เรื่องวิ่งเต้นในสังคมไทยอยู่ในสายเลือดครับ

ตำแหน่งต่างๆต้องใช้เงินหนุน  แถมถูก "นายทุน" ครอบงำอย่างว่า

สงสารเด็กไทยที่ไร้ปัญญาหาคนถือหางเสือที่เข้าใจร่องน้ำไม่ได้จึงเกยตื้นกันระนาว

P สวัสดีครับเด็กข้างบ้าน (ธรรมดา)~natadee  ลุงเอก  เรามัวแต่ว่านักการเมืองไม่มีคุณธรรม  แต่เราก็ไม่เคยสอนไม่เคยปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง  เอาพระมาสอนลุงเอกเองยังกลัวๆว่าจะรอดใหมเนี่ย
 
คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะสอนหรือแสดงให้เห็น  ขอบคุณที่ให้ความเห็นที่น่าสนใจหลายๆประเด็นครับ

P เอกประเด็นนี้เกิดจากบรรยากาศที่ไปบรรยาที่ธรรมศาสตร์มาเมื่อวันวาน  มีการพูดเรื่องนี้กันมาก  จำเลยคือกระทรวงศึกษา  คงเป็นจำเลยหน้าเดิม  อย่างเอกว่าจริงๆ

เอ๊ะคุ้นๆรายการนี้ "ร่วมคิด ช่วยทำ"

ไปๆมาๆการศึกษาไทย  คงอยู่กับ บรม อย่างว่า

ลุงเอกว่าการศึกษาไทยทุกวันนี้อยู่ได้ด้วย  การศึกษานอกระบบอย่างว่า

พอดีผมเป็นแฟนประจำเฝ้าหน้าจอ รายการ "ช่วยคิด ช่วยทำ" ของพี่หญิงครับ :)

ช่วงนี้ได้ยินคำว่า "การศึกษาสูง แต่ความรู้ต่ำ" บ่อยมาก นั่งแท็กซี่ออกจากบ้าน คนขับชวนคุยถึงเหตุบ้านการเมืองแล้วเขาก็พูดเรื่องนี้

ไปถึงลำพูน คุยกับชาวบ้านจากเครือข่ายป่าชุมชนเรื่องการป้องกันปัญหาหมอกควัน อยู่ๆเขาก็พูดคำนี้ขึ้นมาอีก

นั่นอาจจะอนุมานได้บ้างว่าชาวบ้านเขาสนใจและก็มองเห็นปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษาอยู่เหมือนกันนะ

จริงอยู่การสร้างแรงจูงใจให้กับคนทำงานเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง แต่ถ้าเรายังมัวแต่พูดถึงการประเมินวิทยฐานะและหนี้สิน ก็คงจะไปพ้นจากนี้ได้ยาก

อย่าไปฝากความหวังไว้กับโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษามากนักเลย ครอบครัว พ่อแม่ ต้องช่วยกันด้วย

หรือว่าตอนนี้เรามีแต่เวลาทำงาน แต่ไม่มีเวลาให้ครอบครัว

P วัฒน์ ลำลูกกา วันนี้การศึกษาไทยเป็นอย่างนี้จริงๆน่าเศร้าใจ  ให้ระดับชาวบ้านและแท็กซี่ปรามาสได้แสดงว่าการศึกษาไทยสิ้นหวังจริงๆ

ลุงเอกเลิกฝากความหวังไว้กับระบบการศึกษาไทยนานแล้ววิธีคิดบิดเบี้ยว  คงต้องย้อนกลับมาสู่การศึกษาจากรากเหง้าชีวิตเราจริงๆซะที

ลุงเอกคะ...สำนึกความเป็นครูนี้แหละคะที่จะสามารถสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ลูกศิษย์..ระบบก็ยังคงเป้นระบบสำนึกความเป้นครูจะอยู่กับตัวครูและถูกถ่ายทอดไปที่ลูกศิษย์เรานี้แหละคะ...ชีวิตนี้ยังมีหวังนะคะ..ลูกน้ำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท