ผู้ประกอบการทางสังคม (Social Entrepreneur)


หมอสมศักดิ์กับหมอก้องเกียรติ ชวน อ. หมอธาดากับผมไปคุยกันเรื่องการทำธุรกิจแบบไม่หวังผลกำไร หมอก้องเกียรติค้นเอกสารเรื่อง Social Entrepreneur จาก อินเทอร์เน็ต ส่งมาให้อ่านล่วงหน้า เอกสารชิ้นหนึ่งชื่อ Toward a better understanding of social entrepreneurship: Some important distinctions เขียนโดย Jerr Boschee and Jim McClurg


ผมอ่านแล้ว AAR ว่า ผู้ประกอบการทางสังคมเป็น nonprofits acting in an entrepreneurial manner หลักการสำคัญคือเป็น nonprofit organization ที่ generating earned revenue from its activities แปลเป็นไทยว่า ทำงานหาเงิน/รายได้จากกิจกรรมของตน ซึ่งเวลานี้ มสช. และ มสส. ที่ผมเป็นกรรมการอยู่ด้วย เป็นเช่นนั้น และผมเป็นผู้เสนอต่อ อ. หมอประเวศ เมื่อเกือบสิบปีมาแล้วว่า มสช. ควรหาเงินมาดำเนินการเพื่อสังคมแบบหารายได้ มีการจัดการแบบธุรกิจ แต่ไม่แสวงกำไร ไม่เอารายได้ที่เหลือจากค่าใช้จ่ายไปแบ่งปันกัน และคนที่มาทำงานก็มีเป้าหมายทำเพื่อสังคม ไม่ทำเพื่อตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ทำเพื่อไต่อำนาจการเมือง หรือเพื่อร่ำรวยโภคทรัพย์ แต่เน้น ร่ำรวย อริยทรัพย์


หัวใจของการประกอบการ คือความต่อเนื่องยั่งยืน ถ้าไม่หารายได้เลี้ยงตัวเอง และพัฒนาความเข้มแข็งจากการหารายได้นั้น ความยั่งยืนก็จะเกิดได้ยาก กิจการเพื่อสังคมที่ยืนอยู่บนฐานของการบริจาคล้วนๆ จะยั่งยืนได้ยาก


กิจการ / องค์กร / บุคคล ที่พึ่งพิงทรัพยากรของผู้อื่น ไม่มีวันมีความมั่นคง ความมั่นคงมาจากความสามารถในการยืนบนขาตนเอง และออกกำลังพัฒนาความสามารถของตนเองให้เผชิญความไม่แน่นอนได้


ผม AAR ว่า ผู้ประกอบการทางสังคมที่แท้จริง ต้องเป็น Learning Organization

เอกสารอีกชิ้นหนึ่ง เรื่อง Social Entrepreneur : The Case for Definition เขียนโดย Roger L. Martin & Sally Osberg ลงพิมพ์ใน Stanford Social Innovation Review 2007 www.ssireview.org เน้นนิยามที่คำว่า entrepreneur ซึ่งต้องเป็นผู้ทำสิ่งแปลกใหม่ ที่ต้องใช้ความ กล้าเสี่ยงในการลงมือทำ มองเห็นโอกาส มีความสร้างสรรค์ คือทำสิ่งแปลกใหม่ตามโอกาสที่เปิดนั้น มุ่งมั่นบากบั่นต่อสู้เอาชนะอุปสรรคทั้งหลาย จนประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย จึงจะเรียกว่า entrepreneur ถ้าล้มเหลวก็ไม่เรียก entrepreneur แต่เรียกว่าคนล้มเหลว คำนี้จึงได้รับในภายหลัง หลังจากกิจการประสบความสำเร็จแล้ว ไม่ใช่เรียกตอนกำลังตะเกียกตะกายอยู่
ผมมองว่า สำหรับ entrepreneur เขาเห็นโอกาสเพียงรางๆ เท่านั้น แต่เขากล้าเข้าไปลอง “เปิดประตู” โอกาสนั้น สร้างให้เป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ ที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ยิ่งใหญ่
ต้องอ่านบทความนี้เองนะครับ จึงจะเข้าใจว่าวิธีหาโอกาส วิธีหนึ่งคือ เห็น suboptimal equilibrium เพื่อหา solution ใหม่ ที่จะนำไปสู่ product ใหม่, service ใหม่ หรือ process ใหม่ อ่านถึงตรงนี้ผมมีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย ข่าวดีคือผมมองเห็นวิธีจัดการศึกษาหรือการเรียนรู้เพื่อสร้าง entrepreneur แจ๋วแหววทีเดียวครับ ข่าวร้ายคือการศึกษาไทยทำในทางตรงกันข้ามครับ


คุณสมบัติที่ยิ่งใหญ่ (แต่ธรรมดา) ของ entrepreneur คือ ลงมือทำ ครับ ไม่ใช่รอให้คนอื่นทำ เมื่อเห็นปัญหาที่เป็นโอกาสหรือช่องทาง ก็ลงมือทำ


บทความนี้บอกว่า ทั้ง entrepreneur และ social entrepreneur เป็นคนตระกูลเดียวกัน คือมีความหลงไหลอยู่ใน “โอกาส” ที่ตนเห็น และมุ่งทุ่มเททำให้โอกาสนั้นกลายเป็นความจริง ตัวขับดันหลักต่อคนทั้งสองชนิด (ที่เป็นชนิดเดียวกัน) นี้ ไม่ใช่เงินหรือความร่ำรวย แต่เป็นความท้าทายที่จะทำฝันให้เป็นจริง
ความแตกต่างอยู่ที่ entrepreneur มีเป้าหมายรูปธรรมที่กำไรหรือเงิน แก่ผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้น แต่ social entrepreneur มี เป้าหมายรูปธรรมอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงสังคม เน้นที่คนยากจน หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคม
บทความนี้ให้ทฤษฎีหรือหลักการในการสร้าง social entrepreneurship ไว้ ๓ ขั้นตอน โดยยึดหลัก suboptimal equilibrium คือ
๑. หาสภาพที่เรียกว่า unjust equilibrium ในสังคม ที่มีความไม่เท่าเทียม หรือความไม่ยุติธรรมในสังคม
๒. หาโอกาสสร้าง equilibrium ใหม่ที่เป็นธรรมกว่า
๓. ดำเนินการ ฟันฝ่า ไปสู่เป้าหมายใหม่นั้น

เขายกตัวอย่าง Mohammad Yunus ผู้ก่อตั้ง Grameen Bank และระบบ micro credit, Robert Redford ดาราภาพยนตร์ผู้ก่อตั้ง Sundance Institute สนับสนุนให้ดาราเป็นผู้สร้างหนังตามจินตนาการของตน (เรียกว่า Independent Film Movement) ไม่ใช่ตามความต้องการของนายทุน Victoria Hale ผู้ก่อตั้ง OneWorldHealth ผลิตยารักษาโรคของคนจน


บทความนี้บอกว่าต้องแยกการกระทำเพื่อสังคม หรือ social change agent ๓ แบบ ออกจากกัน คือ Social Service Provision, Social Activism และ Social Entrepreneurship ทั้ง Social Activism และ Social Entrepreneurship มีเป้าหมายสร้าง equilibrium ใหม่ทางสังคม ต่างกันที่ Social Entrepreneurship ลงมือทำเอง แต่ Social Activism เรียกร้องให้คนอื่นทำ


เอกสาร The Meaning of “Social Entrepreneurship” โดย J. Gregory Dees Original Draft: October 31, 1998 Reformatted and revised: May 30, 2001 บอกว่า entrepreneur ทำงานในระบบตลาด แต่ social entrepreneur ทำงานในระบบสังคม บทความนี้ระบุกิจกรรมของ social entrepreneur ไว้ชัดเจนมาก ดังนี้


Social entrepreneurs play the role of change agents in the social sector, by:
•Adopting a mission to create and sustain social value (not just private value),
•Recognizing and relentlessly pursuing new opportunities to serve that mission,
•Engaging in a process of continuous innovation, adaptation, and learning,
•Acting boldly without being limited by resources currently in hand, and
•Exhibiting heightened accountability to the constituencies served and for the outcomes created.

วันนัดคือวันที่ ๑๘ ก.ค. ๕๑ เป็นวันเข้าพรรษา วันมงคล คณะผู้ก่อการ ซึ่งตามปกตินัดพบกันยากมาก อาศัยวันหยุดเป็นวันนัดพบกันที่ มสช. โดยหมอสมศักดิ์เป็นผู้นัด คนที่มาไกลคือ อ. หมอธาดา จากสงขลา เจ้าของเรื่องคือหมอก้องเกียรติก็มาไกล จากภูเก็ต สมศักดิ์ชวน รศ. นพ. สมชาติ โตรักษา จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม. มหิดล มาร่วมด้วย


ตอนนัด เรารับนัดกันแบบเชื่อใจ ว่าต้องเป็นเรื่องดีเรื่องสำคัญต่อบ้านเมือง รู้เลาๆ ว่าเป็นเรื่องการทำงานเพื่อสังคม เชื่อมโยงมาจากการจัดตั้งบริษัทพัฒนาและให้บริการ Hospital OS ที่ก้องเกียรติทำมา ๗ ปีแล้ว ต่อยอดจากโครงการ R&D ที่ สกว. ให้ทุน โดย มสช. เป็นผู้จัดการทุนวิจัย


สรุปประเด็นที่เราคุยได้ว่า แรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาสังคมภาพใหญ่ มี ๓ แรงใหญ่ๆ
๑. ภาครัฐ เป็นแรงผสมระหว่างราชการกับการเมือง
๒. ภาคธุรกิจ เป็นการทำงานที่เป้าหมายสูงสุดคือกำไร แม้เวลานี้จะมีแนวคิด BSC, CSR
๓. ภาคประชาสังคม หรือ Third Sector หรือภาค NPO
เรามองว่าต้องประสาน ๓ แรงนี้ สังคมจึงจะพัฒนาอย่างยั่งยืน ก้องเกียรติ มีประสบการณ์ชีวิตทั้งภาคที่ ๑ และภาคที่ ๒ มาแล้ว ยังค้นหาตัวเองไม่พบ อยากหันมาลองในภาคที่ ๓ บ้าง


ผมสรุปจากการสนทนาว่า ในโลกนี้มีเงินเหลือใช้มากมายมหาศาล ส่วนหนึ่งเขาเอาไปเข้าภาคที่ ๑ คือรัฐ โดยการเก็บภาษี อ้างว่าเอาไปบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร ซึ่งก็จริงบ้างไม่จริงบ้าง อีกส่วนหนึ่งเราเอาไปเข้าภาคที่ ๒ ที่เรียกว่าเอาไปลงทุน เท่ากับเอาเงินต่อเงิน เป้าหมายคือสะสมทรัพย์สมบัติเป็นเงินหรือหลักทรัพย์ ก้องเกียรติอยากให้สังคมไทยเอาเงินเหลือใช้มาเข้าภาคที่ ๓ บ้าง คือเอาเงินมาต่อหรือสะสมความมั่งคั่งทางสังคม เกิดการทำงานหรือองค์กรที่ทำงานแบบธุรกิจ แต่มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สังคม ไม่ใช่กำไรเป็นเงิน โดยที่ผลลัพธ์จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับนวัตกรรมสังคม ก้องเกียรติอยากให้มี Social Entrepreneur Fund ในสังคมไทย


ผมถือโอกาสตั้งชื่อ ว่าเราคบคิดกันจะตั้งองค์กร ชื่อ SEN Foundation ย่อมาจาก Social Entrepreneur Network Foundation โดยหมอก้องเกียรติ เกษเพชร จะลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต มาทำงานนี้เต็มเวลา เห็นเลือดบ้าของหมอก้องเกียรติไหมครับ แต่นี่เป็นความบ้าเพื่อสังคม หรือบ้าดี ผมจึงสนับสนุนเต็มที่


หมอก้องเกียรติต้องการเป็น SE ที่ทำงานสร้าง SE ให้แก่สังคมไทย หรือทำงานสนับสนุน SE ที่มีหน่ออ่อนในสังคมไทย


อ. หมอธาดาสรุปว่า SE คือคนที่มองเห็น gap หรือ suboptimal equilibrium ในสังคม และมองเห็นโอกาสปิดช่องว่างนั้น แล้วลงมือทำ ทำต่อเนื่อง ฟันฝ่าอุปสรรค์ จนเกิดนวัตกรรมสังคม เราควรทำให้การทำงาน SE ง่ายขึ้น โดยหาคนที่มองเห็น gap มาช่วยกันบอก gap คล้ายๆ รวบรวม gap แล้วรวบรวมคนที่จะทำงานปิด gap มาทำงานกันเป็นเครือข่าย


ผมกลับมาคิดต่อที่บ้าน ว่างาน SEN ต้องมียุทธศาสตร์การทำงานที่เข้าใจ จิตวิญญาณของ SE ผมมองว่า SE คือคนที่ตื่นเต้นกับ social gap ที่ตนมองเห็น เห็นทั้ง gap และเห็นทั้งโอกาสในเวลาเดียวกัน คือนอกจากมอง gap เป็นโอกาสแล้ว ยังเห็นโอกาสปิด gap ด้วย อย่างน้อยก็รางๆ ในเบื้องต้น และวิธีปิด gap ของ SE จะไ ม่ใช่ conventional means แต่เป็น innovative / unconventional means ตรงนี้แหละที่เป็นพลังขับดัน SE คือเขาชอบสนุกกับการทำอะไรที่คนอื่นเขาไม่ทำกัน หรือคนอื่นนึกไม่ถึง ย้ำว่า “คนอื่นเขาไม่ทำกัน หรือคนอื่นนึกไม่ถึง” เป็น “viagra” ของ SE


ดังนั้น วิธีทำงานของ SEN Foundation ควรนึกถึงประเด็นนี้ แต่ต้องเตือนว่า อย่าเชื่อตามที่ผมฝันมากนัก


อย่างไรก็ตาม สังคมไทยมี SE ที่น่ายกย่องมากมาย เช่น PDA ของคุณมีชัย, มสช. เองก็มีเป้าหมายนี้, มูลนิธิ สคส. ก็หวังทำงาน SE, ตัวท่านอดีตรองนายกไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ก็น่าจะถือเป็น SE คนหนึ่ง, อ. หมอประเวศ ก็ใช่


ในที่ประชุมเราพูดถึง SVN หรือ Social Venture Network ซึ่งเป็นขบวนการระดับนานาชาติ http://www.svn.org/ และมีภาคเอเซีย http://www.svnasia.org/ แต่ก็เป็นเรื่องของ CSR มากกว่า หมอสมศักดิ์พูดถึง BRAC http://www.brac.net/ ซึ่งเป็น SE ที่น่าทึ่งมาก

เรามีนัดกันครั้งที่ ๒ โดยจะเชิญคนที่รู้ว่า “ตลาดเงิน” สำหรับทำ SEN อยู่ที่ไหน มาร่วมหารือด้วย

วิจารณ์ พานิช
๑๙ ก.ค. ๕๑



จากซ้าย หมอธาดา หมอก้องเกียรติ และหมอสมศักดิ์

หมายเลขบันทึก: 195400เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2008 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2015 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ได้อ่านบันทึกนี้ของอาจารย์แล้วผมดีใจมากครับ ที่ประเทศไทยจะได้มีการขับเคลื่อนในเรื่อง social enterprise อย่างเต็มที่โดยมีมือดีอย่าง อ.หมอก้องเกียรติเป็นกำลังสำคัญครับ

อ.หมอก้องเกียรติเป็นคนไฟแรงมากครับ ผมไม่ได้เจอ อ.หมอก้องเกียรติหลายปี พอได้เจออีกครั้งก็เห็นเลยว่ากำลังไฟของอาจารย์ไม่ได้ลดลงไปเลยครับ ยิ่งเห็นอาจารย์จะทำ SEN Foundation นี่ยิ่งเห็นเลยว่ากำลังไฟของอาจารย์เพิ่มขึ้นอย่างมากครับ

บันทึกนี้เป็นข่าวดีรับยามเช้าของวันนี้เลยครับ

 

ผมเห็นด้วยกับบทความของท่านอาจารย์ที่ได้นำเสนอ เพื่อเป็นวิทยาทาน และสามารถนำ เป็นแนวคิดเพื่อสร้างความเข็มแข็งในรูปแบบ ทางสังคมที่ยั่งยืน ( Social Sustainble ) แต่ระบบการศึกษาที่เราใช้อยู่ เป็นองค์ความรู้ (Body of Knowledge ) ที่เป็นเครื่องที่สำคัญ จะถูกนำมาใช้กับสังคม เพื่อสอดรับภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีการแข่งขันอย่างสูงอยู่ในขณะนี้ ไม่มีความสามรถพอที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ดีพอ เพื่อมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรของสังคมให้ยั่งยืน เพื่อมาสร้างเป้าหมายและเป็นเครื่องมือการรองรับต่อการเปลี่ยนที่ดีในอาคต เพราะเราขาดผู้นำที่มีจิตสาธารณ (Public Mind) ที่จะมาเป็นรูปแบบ (Model) ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนในประเทศมีความภาคภูมิใจและนำมาเป็นแบบอย่างในนำไปใช้ในองค์การ ในขณะที่ประเทศอื่นๆบางประเทศเขามี โดยเฉพาะประเทศที่มสร้างองค์ความรู้เพื่อการเปลี่ยแปลง องค์ความรู้ที่เราได้ในวันนี้เราปฎิเสธไม่ได้หรือส่วนใหญ่มาจากตะวันตก  (Western) แต่พวกเขาเหล่านั้นได้สร้างหลักสูตรของพวกเขาพร้อมกันระหว่าง จิตภาพกับกายภาพครับ เป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ เพื่อการขับเคลื่อนทางสังคมให้มีความมั่งคง...

 ทวีศักดิ์ มหามะ

 M.P.A. Nida รุ่นที่ 19

ขอขอบคุณท่านผู้ประกอบการดีทั้ง 4 ท่าน เห็นท่านร่วมประชุมกันแล้ว เชื่อว่า SEN เมืองไทยเกิดแน่ค่ะ จะเฝ้าติดตาม และเป็นหน่วยสนับสนุนเท่าที่จะทำได้ค่ะ

หมอสมศักดิ์ส่ง อี-เมล์ ถึงผู้เข้าร่วมหารือดังนี้

As we did not have notes for the record, this is my personal note with my own ideas added. May be useful for us to share on what can we do about this. I also wrote an article for post-today to be published tomorrow. I qouted your names as well. Hope u don't mind.

Entrepreneurial spirits for Thailand

Social entrepreneur - เคลื่อนไหวสังคม

Small business entrepreneurs - ธุรกิจ

จะทำอะไรดี

1 อบรมเรื่องการจัดการเพื่อสังคม

2 สร้างเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคม ให้เข้าใจเรื่องการลงทุนเพื่อสร้างสัมคมเข้มแข็ง (ซึ่งอาจรวมเรื่องการสร้าง เถ้าแก่ขนาดเล็กด้วย)

3 ทำวิจัย(ข้อมูล) เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะในมุมการเงินว่าทำยังไงให้มีกลไกการเงินเพื่อหนุนการทำงาน ในสังคมให้มากกว่านี้

4 สร้างความตระหนักผ่าน การให้รางวัล social entrepreneur (innovation) of the year - (กลุ่ม) เกษตรกร กลุ่มครู

5 สร้างนโยบายสาธารณะ

6 สร้างกองทุน/กลไก social stock

Specific sectors that can benefit from more entrepreneurial spirits

1 educational sectors

2 agricultural sctors

3 samll vendors

ผู้ประกอบการสังคม : พลังความคิดใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงโลก (How to Change the World)

เดวิด บอร์นสตีน เขียน / เจริญเกียรติ ธนสุขถาวร และวิไล ตระกูลสิน แปล

     หนังสือเรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลผู้แก้ไขปัญหาสังคมในขอบเขต อันกว้างขวาง บุคคลส่วนใหญ่ในหนังสือนี้เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ไม่ใช่นักการเมืองหรือนักอุตสาหกรรม บ้างก็เป็นแพทย์ นักกฎหมาย และวิศวกร นอกจากนี้ก็เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการ ผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ครู และนักหนังสือพิมพ์ บางคนเริ่มต้นในฐานะพ่อแม่ พวกเขาอยู่ห่างไกลจากกันในที่ต่างๆ ทั้งในบังคลาเทศ บราซิล ฮังการี อินเดีย โปแลนด์ แอฟริกาใต้ และสหรัฐฯ สิ่งที่รวมพวกเขาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็คือบทบาทในการเป็นผู้ริเริ่ม นวัตกรรมสังคม (Social Innovator) หรือ ผู้ประกอบการสังคม (Social Entrepreneur) พวกเขามีแนวความคิดอันทรงพลังในการปรับปรุงชีวิตของประชาชน และได้นำแนวความคิดเหล่านั้นไปใช้ในเมืองต่างๆ ประเทศต่างๆ และในบางกรณี ทั่วทั้งโลก

     จุดมุ่งหมายของหนังสือนี้ มิใช่เพื่อสรรเสริญชายหรือหญิงจำนวนไม่กี่คน แต่เพื่อชี้ให้เห็นบทบาทของผู้ปฏิบัติงานประเภทหนึ่งซึ่งขับเคลื่อนการ เปลี่ยนแปลงทางสังคม ผู้ประกอบการสังคมก่อผลสะเทือนต่อสังคมอย่างล้ำลึก แต่กระนั้นหน้าที่ในการแก้ไขสิ่งผิดของพวกเขายังไม่เป็นที่เข้าใจเพียงพอและ ได้รับความชื่นชมน้อยกว่าที่ควร ถึงแม้ว่ามีบุคคลประเภทนี้ดำรงอยู่มาโดยตลอด แต่ทุกวันนี้พวกเขาปรากฏตัวเพิ่มมากขึ้นด้วยสาเหตุอันหลากหลาย

     ชื่อที่ใช้เรียก “ผู้ประกอบการสังคม” เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ มหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกาหลายแห่งมีหลักสูตรการประกอบการสังคม นักหนังสือพิมพ์ ผู้บริจาคเงินช่วยเหลือสังคม และนักพัฒนา เอ่ยอ้างถึงชื่อนี้บ่อยๆ อย่างไรก็ตาม ความสนใจส่วนใหญ่มุ่งเน้นเกี่ยวกับวิธีปรับใช้ทักษะด้านธุรกิจและการจัดการ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางสังคม ตัวอย่างเช่น ทำอย่างไรองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรจึงจะสามารถดำเนินกิจการที่แสวงหากำไรเพื่อ สร้างรายได้ ในขณะที่ประเด็นนี้เป็นแนวโน้มสำคัญ แต่หนังสือเรื่องนี้มองผู้ประกอบการสังคมในด้านที่แตกต่างออกไป กล่าวคือในด้านที่เป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นบุคคลที่มีแนวความคิดใหม่ในจัดการกับปัญหาสังคมที่สำคัญ ผู้ไม่ยอมนิ่งเฉยในการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ของตน บุคคลที่ไม่ยอมรับคำว่า “ไม่” เป็นคำตอบ ผู้ที่ไม่ยอมล้มเลิกจนกว่าจะได้เผยแพร่แนวความคิดของตนให้กว้างขวางที่สุด เท่าที่จะทำได้

 

ขอยกย่องและชมเชยแนวคิดนี้ด้วยความจริงใจโดยเฉพาะคุณหมอก้องเกียรต์ จะคอยติดตาม เรียนรู้ และให้กำลังใจค่ะ

น่าจะคล้ายๆ รายการโทรทัศน์ "ปราชญ์ เดินดิน"

หรือไม่ ครับ?

ผมเพิ่งมาพบบทความนี้ หลังจากที่อ.ได้โพสไว้แล้ว 1 ปีผ่านไป

ตอนนี้ผมกำลังสนใจเรื่อง SE และพยายามจะลองศึกษาถึงเรื่องความเป็นไปได้และรูปแบบของ Social Technopreneur (อาจจะขออนุญาตย่อว่า ST) ในประเทศไทย ซึ่งอาจไม่ค่อยแน่ใจนักว่า จะแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรดีนะครับ

อย่างน้อยผมก็ได้รู้ว่าในประเทศไทยเรามีคนคิดเรื่องนี้กันไว้แล้วพอสมควร และผมพยายามจะเติมเต็มต่อไป ซึ่งอาจจะต้องรบกวนของคำแนะนำจากอ.ด้วยนะครับ

ขอบพระคุณครับ

เป็นบทความ เนื้อหา เรื่องราวที่ทั้ง intriguing, inspiring มากครับ

ขอนำไปภาวนาต่อ

พยายามปลุกปั้นตัวตน และคนรอบข้าง (สร้างทีม และหาหุ้นส่วน) ให้เชื่อว่าทำงานทางนี้อยู่รอดได้

แต่ท้ายที่สุด ก็ไม่มีใครเอาด้วย

เหลือตัวเองคนเดียว ที่ต้องคิด และค้นหาทางต่อไป

แต่อย่างหนึ่งที่แปลก และตรงกับข้อเขียนในบทความนี้ก็คือ

...ความคิดที่ว่า "ทำไม่ได้" ไม่เคยมีในหัวเลยค่ะ....

และอีกอย่าง เวลาไปไหน ทำงานให้ใคร ก็มักเห็น gap เต็มไปหมด

ซึ่งเป็น gap ที่เราอยากแก้ และเติมเต็ม นั่นเอง

จะรอ และเฝ้าติดตาม แกนนำคนที่คิดทำเพื่อสังคม

จะร่วมเข้าอบรม ขอเป็นอาสา เข้าไปขอวิชา

รวมทั้งขอกำลังใจ จากท่านอาจารย์ผู้กล้า อีกคนนะคะ

เข้ามาอ่านข้อมูลและทำความรู้จักกับการประกอบการทางสังคม เผื่อจะเกิดไอเดียในการต่อยอดความคิดจากท่านกูรูทั้งหลาย ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท