วันนี้คุณอ่านหนังสือก่อนนอนรึเปล่า?


อ่านหนังสืออะไรก็ได้ที่ท่านชอบ  ก่อนนอนอย่างน้อย 10 หน้า ทำอย่างนี้ทุกวัน  เดือนหนึ่ง 30 วัน อย่างน้อยท่านก็จะสามารถทำสถิติ อ่านหนังสือได้ 1 เล่มใหญ่ (ขนาด 300 หน้า) ต่อเดือน   แล้วท่านก็จะมีความรู้สั่งสมมากขึ้นทุกวันๆๆ

ข้อดีอีกอย่างก็คือ ท่านที่นอนไม่ค่อยหลับ ก็จะหลับได้ง่ายขึ้น (กรณีนี้ หาหนังสือธรรมะอ่านน่าจะดีที่สุดค่ะ)

สำหรับท่านที่หลับง่ายอยู่แล้ว ก็จะหลับสบายทุกคืน.......

เป็นชาว Blog  ฝึกฝนตนเองทั้ง ฟัง  พูด  อ่าน  เขียน จะได้ครบเครื่องเรื่อง KM นะค่ะ 

หมายเลขบันทึก: 19048เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2006 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

นอนอ่านหนังสือทีไร เป็นเหมือน Sleeping Pill ทุกทีเลยอาจารย์ หลับง่ายเหมือนที่อาจาย์บอกเลยครับ ทำไงดี

ถ้าอย่างงั้น ตอนที่เขียนตีสองแล้ว เดินขึ้นเตียง หยิบหนังสือ แล้วเริ่มอ่านได้ค่ะ

 

สุ จิ ปุ ลิ นี้คือหัวใจของนักปราชญ์ ที่คน KM พึงปฏิบัติให้ครบถ้วนจริง ๆ ครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นว่าอาจารย์มาลินี เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคน KM อย่างดียิ่ง คือ การเจริญสติ ระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เพราะถ้าเราสามารถกำหนดสติให้อยู่กับปัจจุบันได้ตลอด ปัญญาจะตามมา เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คน KM พึงปฏิบัติครับ
รัตน์ทวี อ่อนดีกุล

เรียนท่านคณบดีที่รักและเคารพ

การอ่านหนังสือก่อนนอนดีแน่และแท้จริงค่ะ แต่ที่ท่านหมอวัลลภได้เขียนไว้ที่ท่านคณบดีเองก็เคยอ่าน http://gotoknow.org/archive/2006/03/11/22/33/26/e18531 เรื่อง "นอนมากหรือน้อยเกิน อาจเสี่ยงเบาหวาน" อาจทำให้ท่านนอนดึกมากจน มีเวลาพักผ่อนน้อย เมื่อวาน (14 มีค.49) ที่มาประชุมกัน คุณตูน แอบกระซิบว่าเห็นหน้าท่านคณบดีใกล้ ๆ แล้ว ขอบตาช้ำ เหมือนนอนดึกทุกวัน รักษาสุขภาพมาก ๆ นะคะอาจารย์ รู้ว่าอ.เป็นคนที่ทำงานอย่างเอาจริงเอาจังทุกเรื่อง และส่วนมากก็ทำเองแทบทุกเรื่องด้วยเช่นกัน ยังไงก็รักษาสุขภาพมาก ๆ นะคะ พักผ่อนเยอะ ๆ นะคะอาจารย์

ด้วยรักและเป็นห่วงค่ะ ):

ยืมหนังสืออ่านเล่นจากห้องสมุดมา กะว่าจะอ่านก่อนนอน แต่ไม่มีเวลาเลยค่ะ  ทำไงดี จัดการตัวเองไม่ได้ แล้วจะจัดการความรู้ได้อย่างไร...help me

ผมอ่านหนังสือแล้วมักจะลืมเข้านอนตามเวลาครับ แต่ก็ทำให้หลับง่ายอย่างที่อาจารย์มาลินีว่าจริง ๆ

เป็นคนชอบอ่านหนังสือ แต่อ่านแล้วจับใจความหรือประเด็นสำคัญไม่ได้ หรือไม่(อาจ)สามารถอธิบายให้เข้าใจได้(ดี) อาจารย์ช่วยแนะนำด้วยค่ะ  (ช่วงนี้อ่านอย่างไรก็ไม่หลับ เพราะเป็นช่วงประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน  ฯลฯ ด่วน ๆ ทั้งนั้นค่ะ ก็เลยทำให้นอนไม่หลับ ถึงหลับก็ไม่สนิท) ถึงจะอ่านธรรมะอย่างอาจารย์แนะนำ มันก็ไม่หลับคะ..........

ผู้ที่ชอบอ่านหนังสือ ย่อมเป็นผู้มีความสามารถในการจับใจความ หรือประเด็นสำคัญอย่างแน่นอนค่ะ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นประเด็นของเรา ตามความเข้าใจของเรา เราถึงอ่านได้อย่างชอบ

เพียงแต่....อ่านแล้ว ถ้าต้องเอามาเล่าต่อ ความสามารถตรงนี้ จะไม่เท่ากันในแต่ละคน  บางคนเล่าเรื่องที่อ่านมาแล้วให้ผู้อื่นฟังได้อย่างสนุกสนาน เพราะมีความสามารถในการถ่ายทอดด้วยการพูด  ในขณะที่บางคนจะทำได้ดีกว่าถ้าให้ถ่ายทอดด้วยการเขียน  ก็แปลกดีนะคะ  เราถึงได้พบว่านักพูดหลายคนเขียนไม่เก่ง  หรือนักเขียนหลายคนพูดไม่เก่ง

ถ้าจิตใจว้าวุ่น ไม่ว่าจะอ่านหนังสือที่แสนสนุกหรือน่าเบื่อเพียงใด  ก็คงเอาไม่อยู่แน่นอนค่ะ  เพราะใจของเราไม่ยอมหยุดคิดเรื่องงาน  เรื่องความไม่สบอารมณ์  ฯลฯ  ใจของเราไม่ได้อยู่ที่หนังสือเสียแล้ว

ถ้านอนไม่หลับ ลองบังคับใจตัวเองด้วยการบังคับกายให้นั่งหลับตานิ่งๆ (บนที่นอนก็ได้ค่ะ) นั่งในท่าที่สบายที่สุด แต่อย่ากระดุกกระดิกนะค่ะ  ในขณะที่นั่งหลับตา ให้จับความรู้สึกที่พุงของเราให้ได้ว่า มันพองยุบ  พองยุบ ขยับขึ้น  ขยับลงอยู่  ความรู้สึดจดจ่อนี้อาจมีอยู่ได้ไม่นาน  ใจก็จะคิดเรื่องโน้น เรื่องนี้ เรื่อยเปื่อยอีก เป็นธรรมดา ไม่เป็นไร  ขอเพียงเมื่อรู้ตัวทีไรว่ากำลังคิด ก็กลับมาดูพุง ที่พองยุบ พองยุบ ขยับขึ้น  ขยับลง อีก ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ถ้าตามจับความคิดได้ทัน กลับมาหาพุงได้เร็ว ก็จะเริ่มบังคับใจได้แล้ว จะรู้ว่าสบายขึ้น จากการไม่คิดเรื่องอะไรๆ พอใจเริ่มสบาย ก็จะทำให้หลับได้ค่ะ

ลองสังเกตซิค่ะว่า ภาวะพุงกระเพื่อมจากการหายใจของเรา จะแปรเป็นปฏิภาคโดยตรงกับภาวะทางใจและทางกาย

เราจะหายใจเร็วและแรง เมื่อใจกระเพื่อมจากความโกรธ กังวล ขุ่นมัว ในขณะเดียวกันหัวใจจะเต้นเร็ว กระสับกระส่าย ถึงเวลานอนก็นอนไม่หลับ

ดังนั้น ถ้าเราอยากสบายใจ สบายกาย นอนหลับ เราต้องพยายามทำให้การหายใจเป็นปกติ สม่ำเสมอที่สุด นั่นเอง ง่ายนิ๊ดเดียวค่ะ  ภาษาอังกฤษยังหัดยากกว่าเสียอีก...จริงไหมค่ะ คุณแอนดรูว์

 

คนที่ไม่ค่อยมี tacit knowledge เกี่ยวกับ "ภาวะพุงกระเพื่อม" คงจะเข้าใจได้ไม่ง่ายนัก

ดิฉันก็ว่างั้นแหละค่ะ คุณแอนดรูว์อาจพูดถูก ภาษาอังกฤษง่ายนิ๊ดเดียว แต่คอยดูพุงกระเพื่อมยากกว่ากันเยอะ เผลอๆ นอกจากจะนอนไม่หลับแล้ว ยังปวดหัวอีกตะหาก

งั้นลองแบบนี้ไหมค่ะ click

อาจารย์คะ เหมือนคนเจ้าปัญหา  ปรึกษาต่อคะ ถ้านอนหลับแล้ว  แต่ชอบตื่นอยู่เรื่อย ๆ เพราะกังวลเรื่องงาน  พอตื่นมาทีไรก็จะนึกถึงแต่เรื่องงานที่คงค้าง งานที่เร่งด่วน ใจก็จะเต้นเร็ว  ก็ทำให้หลับต่อยากอีก  นี่อีกปัญหาหนึ่งค่ะ (หนูออกกำลังกายเกือบจะทุกวัน โดยการเล่นเทนนิสวันละ 1ชั่วโมง)  เหมือนมีกรรมนะคะอาจารย์ 

คุณ sompornp ช่างเป็นผู้มีความรับผิดชอบสูงส่งเสียนี่กระไร  และเป็น Miss Perfect  แน่แท้  ถึงกับผวาตื่นด้วยกังวลเรื่องงานนี่ไม่เบาทีเดียว  ทำไงดีละค่ะเนี่ย

ดิฉันต้องยอมรับว่า ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้  ได้แต่นำ Tacit Knowledge ที่เป็นประสบการณ์เฉพาะตัวมาเล่า  ซึ่งอาจใช้ไม่ได้กับทุกท่าน

ถึงอย่างไรก็ตาม ดิฉันเองรู้สึกยินดีเหลือเกิน ที่เหมือนมีเพื่อนมาปรับทุกข์ให้ฟัง  คนเราทุกคนต่างมีทุกข์  และทุกข์ต่างรูปแบบกันนะคะ  แต่หากได้เล่าได้ระบายให้ใครสักคนฟัง  ก็เหมือนช่วยผ่อนคลายลงไปได้ไม่น้อยทีเดียว

งานเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิต  ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต  เก็บชีวิตอันแสนสั้นของเราไว้เพื่อแสวงหาความสุขที่แท้จริงดีกว่าค่ะ  ถ้าทำเต็มที่แล้ว  ก็อย่าไปกังวลอีกเลยนะคะ

สมัยนี้ดูเหมือนจะมีแต่เรื่องด่วน  สงสัยต้องทำตรายางสำหรับเรื่อง "ไม่ด่วน" ดีกว่า  เพราะปกติมันด่วนทุกเรื่อง

ไหนๆ ก็ไหนๆ  หากคืนไหน ตื่นขึ้นกลางดึก ถือว่าเป็นโชคดี  อาศัยความเงียบฝึกนั่งสมาธิดูซิค่ะ  หลายคนบอกว่ายาก  แต่สมาธิก็เหมือนเรื่อง KM ไม่ทำไม่รู้  จริงๆ นะค่ะ ฝึกบ่อยๆ  ขี้คร้านจะบ่นว่า นั่งสมาธิทีไรง่วงทุกที.....

   

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ  เหนื่อย ๆ ทีไร มาอ่าน blog โดยเฉพาะของสำนักงานเลขานุการ  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ใกล้เคียงกับเรา อย่างที่คุณบอยรับผิดชอบ  ทำให้มีกำลังใจขึ้นมาก และยิ่งท่านคณบดีดูแล ให้ความสำคัญในทุกเรื่อง  รู้สึกว่าเป็นกำลังใจอันยิ่งใหญ่ในการทำงานมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตามของเภสัช เชียงใหม่ ท่านคณบดีก็น่ารักไม่เบา เราจึงต้องทุ่มเทการทำงานกันค่ะ  ถึงแม้ว่าทางเภสัชจะยังไม่ได้นำ KM มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม (กำลังรอคณะกรรมการฯ กำหนดแนวนโยบายค่ะ ซึ่งหนูก็เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ของคณะฯ  )ซึ่งกรรมการทุกท่านก็ใหม่กันหมด  เราจึงยังต้องเรียนรู้อีกมาก  แต่จริง ๆ แล้วหนูว่าในคณะเราก็กำลังทำกันอยู่อย่างเช่น ทีมสายสนับสนุน เรามีทีมปันความรู้สู่ทีม ซึ่งประกอบไปด้วย เลขานุการคณะเป็นหัว(ปลา)มีหัวหน้างาน หัวหน้าหน่วย และตัวแทนหน่วยงาน จำนวน 19 คน ร่วมในการประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ของคณะ (เฉลี่ยนเดือนละ 1 ครั้ง) ซึ่งรวมทั้งการจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Job Module)  เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน และเรากำลังพัฒนาเพื่อขึ้นเวบ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเพื่อพัฒนาในการทำงานต่อไป ซึ่งอนาคตอาจต้องรวมถึงการคิดภาระงานของสายสนับสนุน  ซึ่งจะโยงกับ KPIs ที่เราไปประชุมสัมมนาของ ปขมท.ที่เชียงใหม่ เมื่อ 2-3 กพ.49ที่ผ่านมา (คุณบอยก็มาประชุมค่ะ)  มีความคืบหน้าอย่างไรอาจจะนำตัวอย่างขึ้นทาง blog เผื่อว่าอาจารย์จะได้กรุณาให้ comment

 

ชื่นชมอาจารย์และทีมสายสนับสนุนของสหเวชฯ ค่ะ

 

สมพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท