จากงานวิจัยชิ้นแรก...สู่ชิ้นที่ 2


ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะสามารถทำงานวิจัย และมีงานวิจัยเป็นของตัวเองเลยในชีวิตนี้

ผลจากการอ่าน ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ และอ่านมาก ๆ เพื่อเขียนงานวิจัยชิ้นแรก จากเรื่องเล่าในบันทึก จุดเปลี่ยน....หักเห....งานวิจัย ทำให้อยากทำงานวิจัยอีกสักชิ้นเป็นเรื่องที่สอง......

ทำเรื่องอะไรเหรอ  จากงาน Routine นี่แหละ ! เพราะความสงสัยเป็นเหตุ + ปัญหาที่ต้องทำการตรวจวิเคราะห์ซ้ำบ่อย ๆ ของผลการตรวจสุขภาพผู้มารับบริการ Check up ของรพ.เรา ส่วนใหญ่ เจอค่าสูง เสียเวลามาทำ repeat ประวัติเก่าก็ไม่มี  ส่วนใหญ่คนมาตรวจก็อายุเยอะ นี่แสดงว่าไม่เห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพสักเท่าไร ยิ่งเดี๋ยวนี้เขายิ่งมีนโยบายส่งเสริมสุขภาพกำลังฮิต  ผู้เขียนจึงอยากให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันบ้าง อันหนทางป้องกันย่อมดีกว่ารักษาน๊ะว่ามั๊ย? ถ้าเจออะไรอย่างน้อยยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเป็นอยู่ การกิน การออกกำลังกายได้ทันเวลา ยิ่งได้ไปอบรมหลักสูตรโปรแกรม SPSS ของศูนย์คอม ๆ  มาก็อยากนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ (ร้อนวิชา ว่างั้นเหอะ)

แรก ๆ ทำใหม่ ไฟยังแรง กับคุณบุญเลิศ นั่งเปิดหาข้อมูลตรวจสุขภาพทีละราย ๆ จดอายุ เพศ ค่า Check up ของ Chem ทั้งหมด ทำได้ 3 เดือน ชักเริ่มท้อ ข้อมูลก็เยอะ จดใส่สมุด แล้วไปลงคอม ฯ อีกที ชักจะท้อ เผอิญคุณปนัดดา เข้ามาเห็นก็แนะนำบอกให้ไปหาข้อมูลจากหน่วยคอมฯ (คุยกับคุณอุไรวรรณสิ)  เอ! เข้าท่าแฮะ

แต่ก็ไม่ดีไปกว่าเก่าเท่าไร ข้อมูลที่ได้ เพศก็ไม่มี มีแต่นาง นาย นางสาวให้เราแปลงเพศเอาเอง อายุก็มีซะละเอียดยิบ บอกอายุ เป็นปี เป็นเดือน เป็นวัน ก็ต้องมานั่งปัดเฉลี่ยอีก  ข้อมูล Glucose, BUN, Creatinine, Uric, AST, ALT & ALP ก็มาแยกกันเรียงต่อลงมาเรื่อย ๆ  ต้องมานั่งจับข้อมูลคนเดียวกันให้อยู่ด้วยกัน ชักจะท้อ ทำไปวันละนิด วันละหน่อย ความพยายามอยู่ที่ไหน ความพยายาม(และความสำเร็จ) อยู่ที่นั่น คงจะจริง !!!!!

ได้ข้อมูลเสร็จ หลังจากวิเคราะห์ ก็มีปัญหาอีก โปรแกรมที่เรียน SPSS ผู้เขียนไม่ได้มีความรู้ลึกซึ้งอะไรมากมาย พอต้องการข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1) เพศชายอายุ < 35 ปี 2)เพศชายอายุ >= 35    3) เพศหญิง อายุ < 35 ปี4) เพศหญิงอายุ >=ก็ต้องมาแยกเป็นชั้น ๆ สอบถามเซียน SPSS ทั้งหลาย อยู่นานสุดท้ายอยากจะขอบคุณ คุณพีระพล ชูส่งแสง(จากสถาบันวิจัยเขตร้อน ม.มหิดล) น้องชายของนายดำนั่นเอง ให้ Idea ที่ไม่คาดว่าจะมีพิมพ์ในหนังสือเล่มไหนเลยก็ว่าได้ ใครต้องการใช้ก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์ เนื่องจากเป็นวิธีที่เขาคิดค้นดัดแปลงขึ้นมาเอง นั่นคือสมมติตัวเลขอย่างเช่นให้เพศชาย = 2 เพศหญิง = 3    อายุ < 35 ปี = 5 อายุ >=  35 ปี= 7  แล้วนำเพศคูณกับอายุ ได้ตัวเลข เป็น 4 กลุ่ม คือ 10(แทนกลุ่ม 1),14(กลุ่ม 2),15(กลุ่ม 3),21 (กลุ่ม 4) แค่นี้ก็นำมาวิเคราะห์ ระหว่างกลุ่ม หรือจะเอากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาวิเคราะห์ก็นำมาได้อย่างง่ายดาย

จากงานวิจัยชิ้นแรก ติดใจแล้วสิ  พอเจอชิ้นที่ 2 ขอเวลาพักสักหน่อยเถอะ

ขอบคุณอ.ปารมี ที่ให้กำลังใจให้งานชิ้นที่ 2 go inter (ในฐานะที่มีอาจารย์ภาษาอังกฤษอยู่ใกล้ ๆ) ขอเป็นชิ้น 3 เถอะค่ะ

จากการเข้าร่วมโครงการอบรมงานวิจัยของภาคโดยท่าน CKO ก็ได้ Idea เป็นว่าที่งานวิจัยชิ้นที่ 3 ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการเก็บข้อมูล.....(หวังว่าการเขียนนี้คงเป็น Idea ให้ใคร ต่อใครได้อยากทำงานวิจัยบ้าง ซึ่งอย่างผู้เขียนก็ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะสามารถทำงานวิจัย และมีงานวิจัยเป็นของตัวเองเลยในชีวิตนี้)

 

หมายเลขบันทึก: 19031เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2006 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 00:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนับสนุนเต็มที่ค่ะ ยินดีช่วยสุดความสามารถในเรื่องภาษา หรืออื่นๆที่ต้องการค่ะ

น้องศิริเป็นตัวอย่างของคนที่แม้มีงานล้นมือ แถมมีภาระลูกเล็กๆ ก็ยังสามารถคิดสร้างงานแบบ R2R ได้อย่างน่าชื่นชม แล้วยังเป็นนักเขียนฝีมือดี หวังว่าจะเป็นแรงส่งให้คนอื่นๆเกิดความกระตือรือร้นแบบนี้บ้าง เชื่อว่าภาคพยา-ธิของเรายังมีทรัพยากรบุคคลแบบนี้ซ่อนอยู่อีกไม่น้อยค่ะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์โอ๋(อโณ) อีกไม่นานจะไปทาบทาม เร็วๆนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท