มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ศึกษาธรรมกับท่านอาจารย์ธีรธัมโม (5)


เพื่อนถามว่า "สิ่งที่ทำให้เราสบายใจจริงๆท่าจะไม่ใช่ความคิดดีๆ แต่เป็นไม่คิดใช่หรือเปล่า"

ตอบเมลเพื่อนไปว่า:

พอดีเมื่อว่าเราไป retreat กับท่านธีรธัมโมมา 1 วัน ท่านเป็นลูกศิษย์อ.ชาน่ะ
ท่านพูดเรื่องนี้พอดี

ท่านบอกว่าเวลาเจริญสติ ให้ใช้ลมหายใจเป็น point of reference
การที่ความคิดของเรามันฟุ้งซ่านหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น
ประเด็นมันอยู่ที่ว่าเรารู้หรือเปล่าว่าความคิดเรามันมาอีกแล้ว
ให้รู้ว่ามัน off หรือ on ลมหายใจ


ท่านบอกว่าถ้าขณะที่ใจเราจ่อมองดูที่ลมหายใจ ความรู้สึกที่ลมกระทบจมูกและช่องทางเดินหายใจ แล้วมีความคิดอะไรฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ไม่ต้องไปห้่ามไปหยุดมัน ให้รับรู้ว่ามันมา แล้วเราก็เอาใจเรากลับมามองดูลมหายใจอีกครั้ง
ให้ไอ้ความคิดนั้นมันอยู่ใน background ให้เป็น secondary ไป
เอาลมหายใจเป็น primary อยู่ฉากหน้า

แล้วให้คิดว่าลมหายใจคือเพื่อนที่เราพึ่งพาได้เหมือนใครซักคนที่เวลาเรามีปัญหาเราอยากโทรไปคุย
ลมหายใจคือเพื่อนที่เราไว้ใจ เป็นคนที่ always be there for you เป็นเพื่อนที่ให้กำลังใจ support เราเสมอ
ก็จริงเหมือนกันเนอะ : )

ทีนี้การที่เรามีสติเนี่ยะ เราจะ"มอง"และ"รับรู้" ไม่คิดไปเองแบบผิวๆ ถ้าไม่คิดเลย สงบอย่างเดียว (สมถะ) ก็ดีเหมือนกัน แต่มันไม่สุดทาง ปัญหามันยังอยู่ สาเหตุต้นตอที่แท้จริงยังอยู่ ยังไม่ถูกถอนรากถอนโคน
ความสุขที่ได้จากการทำสมถะมีจริง แต่เป็นสุขไม่ยั่งยืนเพราะเดี๋ยวเราก็ต้องออกจากสมาธิ หรือว่าเราแค่ไม่คิดถึงปัญหา มันก็เลยไม่ทุกข์ ณ ขณะนั้นๆ
ซึ่งมันก็ไม่เลวร้ายนะ มันจำเป็นด้วย ใจต้องสงบถึงระดับหนึ่งอยู่ดี เพียงแต่ว่ามันไม่พอ

ที่นี้ถ้าเราจะถอนรากถอนโคนเหตุแห่งทุกข์เนี่ยะ ไม่ใช่ว่าไม่คิดอะไรเลยนะ เวลาวิปัสสนาเนี่ยะ ไม่ใช่ว่านิ่งอย่างเดียว แต่เราต้องมาระวังคำว่าคิด พระท่านบอกว่า ไม่ใช่ think แบบ intellectual ไม่ใช่ rationalize พยายามหาเหตุผลมาอธิบาย เพราะว่าเวลาเราคิดแบบนี้ เราคิดบนพื้นฐานการมองโลกผ่านเลนส์แบบมี ego ของเราเอง
แต่เวลาวิปัสสนาเราต้อง พิจารณา (investigate) ปัญหาแบบใช้การ "รับรู้" มองดูข้างในว่าเรารู้สึกอย่างไร มองตรง มองอย่าง objective ให้รู้ว่าไอ้ความรู้สึกนั้นมันคืออะไรกันแน่ แล้วต้นตอของความรู้สึกนั้นคืออะไรกันแน่ มองเข้าในนะ ไม่ใช่คิดหาเหตุผลออกนอกตัว

เช่น ท่านเคยหงุดหงิด ไม่พอใจที่มีคนมาว่า ท่านเป็นแบบนั้นต่อกัน 2-3 วัน ทั้งๆที่บวชมาสิบกว่าพรรษาแล้วตอนนั้น ท่านเลยลองพิจารณาดูจนแตกย่อยไปได้ว่า ที่หงุดหงิด ไม่พอใจเพราะท่านมีอดีตเรื่องการผิดใจกันมาก่อน ท่านดูให้เห็นว่าท่านมีมานะคิดว่าตัวเองถูกคนที่ว่าท่าผิดทั้งๆที่จริงๆท่านก็มีส่วนผิด ท่านพิจารณาไปเรื่อยๆโดยใช้สติขณะนั่งวิปัสสนาแล้วท่านรับรู้ว่าจริงๆ สิ่งที่อยู่ลึกๆจริงๆคือ ความกลัว ท่านบอกว่าความกลัวนี่แหละ เป็นต้นตอมากมายของหลายอารมณ์ที่เราปรุงแต่งต่อ แล้วท่านก็เห็นว่า แม้แต่ไอ้ความกลัวนี้ "มันก็ไม่ใช่ของเรา" มันมีของมันอยู่อย่างนั้น
แล้วเราก็จะเข้าใจ จะเห็นสภาวธรรมอะไรบางอย่างที่อธิบายลำบาก ต้องลองเป็นประสบการณ์ตรง ท่านอธิบายว่ามันเหมือนก้อนพลังงานที่ท่านเรียกไปเองว่า life-force หรือ ชีวะในภาษาบาลี

เราคิดว่าชาตินี้คงไม่ต้องถึงกับปฏิบัติธรรมเพื่อจะเป็นอรหันต์ แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่ปฏิบัติเลยเพราะคิดว่ามันไกล ไปไม่ถึง
ไอ้การรับรู้สภาวะธรรม หรือ จังหวะที่ enlighten นั้น เราๆท่านๆทำได้นะ อาจจะครั้งหนึ่งในชีวิต แค่ไม่กี่นาที แต่ก็คุ้มนะเราว่า
พระท่านเรียนว่า it's a glimpse of (being) buddha : ) ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

หมายเลขบันทึก: 182020เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2008 00:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะคุณมัท

อ่านแล้วรู้สึกดีจัง เหมือนย้อนระลึกถึงสิ่งที่ได้มีโอกาสไปปฏิบัติมา เหมือนที่เคยไปนั่งวิปัสนากรรมฐานเมื่อปีที่แล้วที่เมืองไทย ไม่ว่าจะสายไหนก็ให้หลักการรากฐานในแนวเดียวกัน

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมอมัท

แวะมารับธรรม เพื่อต้อนรับเช้าวันใหม่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณหมอ

              อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีมีประโยชน์ครับ...ฝากน้องตัว c ให้เข้าไปอยู่ใน seondary กับเพื่อน ๆ สักตัวนะครับ...

                                                           ขอบคุณครับ

                                                     

สวัสดีค่ะ

  • เข้ามาอ่านอย่างละเอียดเสีย 2 รอบเลยค่ะ
  • ประสบการณ์ตรงทำให้เราเข้าใจธรรมะของครูบาอาจารย์สอนเรานะคะ
  • คนไม่มีรากติดตามอ่านงานคุณหมอมัทมาตลอดค่ะ
  • และครั้งนี้ได้ประโยชน์มากและยังนำไปใช้ได้ในทันทีด้วย
  • ขอบคุณค่ะ...วันนี้ได้เรียนรู้ความกลัวที่ทำให้เราปรุงแต่งจิตเสียจนทุกข์ไปหมด
  • ต้องใช้ลมหายใจชำระความกลัวใช่ไหมคะ...^_^

ขอบคุณทุกๆท่านมากค่ะ ดีใจถ้าเป็นประโยชน์่ค่ะ

มัทยอมรับว่าคำบางคำ เช่น "ความคิด" อาจ misleading แต่ว่ามัทเขียนตามที่นึกได้ตอนนี้เอานะคะ

มีฝรั่งถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าเรา think หรือ เรา contemplate

ว่าเราคิดอยู่หรือพิจารณาอยู่

ท่านตอบว่า "if you're lost in your thought, you're probably just thinking"

มัทว่าฝรั่งคนนี้ถามดี๊ดีค่ะ

  • when the silence cause another silence and the other consequences
    ".............."

  • "....."
  • "............."
  • "....."

 

  • เข้ามาอ่านแล้วประทับใจค่ะ
  • พอดีเพื่อนกำลังฟุ้งซ่าน เลยส่งลิงก์บันทึกนี้ไปให้เขาอ่านค่ะ เพื่อนเป็นคนชอบคิด อยู่กับความถูกต้อง แต่ยังจัดการความรู้สึกตัวเองไม่ได้ เขาเคยปฏิบัติสมาธิเล็กน้อยค่ะ บันทึกนี้ของคุณหมอมัทน่าจะช่วยเขาได้
  • ขอบคุณนะคะสำหรับบันทึกดี ๆ เปี่ยมธรรมะเช่นนี้ ^_^

ขอบคุณมากค่ะคุณกวินและคุณศศิวิมล (ใบไม้ย้อนแสง)

ถ้าบันทึกนี้ช่วยเพื่อนร่วมทุกข์ของเราได้ มัทก็ดีใจไปด้วยค่ะ

เพื่อนคนเดิมเขียนมาคุยอีกเมื่อคืน ไว้มัทจะมาบันทึกเป็นตอนต่อไปค่ะ

ตามมาอ่านครับ อ่านแล้วมีความสุบ ที่กาญจนบุรี มีหลวงพ่อมิตสุโอะ พระญี่ปุ่นครับ ท่านสอนดีมากๆๆ

สวัสดีค่ะ อ. ขจิต

มัทชอบหนังสือเล่มเล็กๆที่หลวงพ่อมิตสุโอะแจกฟรีหลายเล่ม เล่มที่ชอบมาคือ ธรรมะสำหรับคนขี้บ่น มัทว่าสมัยนี้คนขี้บ่นเยอะ ไม่พอใจโน่นไม่พอใจนี่ไปหมด แล้วมัทเองก็นิสัยไม่ดีที่เบื่อคนบ่นที่สุด ได้ยินแล้วตัวเองก็ร้อนขึ้นมาเอง ก็ได้ท่านมิตสุโอะนี่แหละค่ะที่สอนอะไรดีๆมีประโยคสั้นๆให้จำในใจหลายประโยค : )

"สิ่งที่ทำให้เราสบายใจจริงๆท่าจะไม่ใช่ความคิดดีๆ แต่เป็นไม่คิดใช่หรือเปล่า"

คิดว่า"กำลังคิด"

แล้ว"เฝ้าดูความคิด"

สาธุ... ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

มาอ่านอีกแล้ว อ่านช้า ๆ อ่านของคนอื่น ๆ ด้วย

ชอบ *"if you're lost in your thought, you're probably just thinking"

และ ** "when the silence cause another silence and the other(peaceful)* consequences "

จริง ๆ นะคะ บางครั้งในกาลก่อนไม่รู้ ไม่เข้าใจถึงสิ่งที่ดูเหมือนเงียบ ว่าทำไมมันมีฤทธิ์เดช วุ่นวายได้มากมายใหญ่โต....เจ้า"ความคิด"น่ะ

จนต้องนั่ง "นิ่ง" และตรึกตรอง..คล้ายกับการใช้ความคิดแต่บวก"สติ"เข้าไปด้วย

เกิด"ความปกติ" ขึ้นมาได้บ้าง

ขอบคุณค่ะ และขออนุญาตคุณกวินเติมคำหนึ่งคำ ค่ะ

พี่หม้อเล็กจ๋า ขอบคุณมากๆเน้อ : )

สติ บวกเข้าไป กับจังหวะลมหายใจ ตามมอง "ความคิด" มอง"ความรู้สึก" กลายเป็นการพิจารณาตรึกตรอง เกิด "ความเข้าใจ" แล้วก็ผ่อนคลาย แผ่กระแสความเมตตาออกมาให้ตัวเองและผู้อื่น?

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท