นาป่า (หรือนาตีนป่าในภาษาชาวบ้าน) เป็นนาแบบพึ่งตนเอง ต้นทุนต่ำ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


8. ออมเหงื่อ ออมแรง ออมอนาคตอันมั่นคงไว้ให้ลูกหลาน (ในขณะที่เราเองก็ได้ชื่นชมด้วย)

ในสภาวการณ์น้ำมันแพงดังทองคำ

อันทำให้ราคาข้าวของทุกอย่างขึ้นราคาตามไปด้วย

ปุ๋ยเอย ยาฆ่าหญ้าเอย ยาฆ่าหอยเชอรี่ ค่าไถ ค่าแรง และค่าโสหุ้ยอื่นๆในการทำนาอีกจิปาถะ

ต่างก็พากันพาเหรดขึ้นราคาไปรอดักหน้าอยู่ก่อนแล้ว

แม้จะมีสัญญาณบ่งบอกว่าราคาข้าวเปลือกจะมีราคาไม่ขี้เหร่นัก

แต่ก็ใช่ว่าจะช่วยให้พี่น้องชาวนามีกำลังใจในการลงแรงทำนามากขึ้นกว่าเดิมไม่

เหตุเพราะว่าทุนรอนที่จะนำมาลงนั้นมันคงต้องมากโขเอาการ

แล้วจะหาแหล่งทุนจำนวนมากจากที่ไหนมาใช้ในการลงทำนาในปีนี้

หวังพึ่ง ธกส. ก็ช่วยได้เพียงบางส่วนไม่มากนัก

ซึ่งสุดท้ายก็คงหนีไม่พ้นนายทุนหลักนอกระบบตามเคย

************

ในสภาวการณ์เช่นนี้

ทำให้พี่น้องชาวนาไทยที่เคยทำนาตามแบบที่ต้องพึ่งปัจจัยภายนอกเกือบ 100 %

คงต้องหันกลับมาทบทวนรูปแบบวิธีการทำนากันใหม่

ซึ่งโคกเพชรเชื่อว่า "การลดต้นทุนการผลิต" เท่านั้น

ที่จะช่วยให้พี่น้องชาวนาอยู่ได้

.....ดังนั้น.....

จึงใคร่ขอเสนอรูปแบบการทำนาแบบดั้งเดิม

ที่ต้องเริ่มทำกันเลยในฤดูกาลนาปีปีนี้

นั่นคือการทำนาแบบให้ธรรมชาติช่วยเหลือเกื้อกูลกันเอง

Napa1 

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่)

ซึ่งเป็นลักษณะการทำนาแบบที่เรียกว่า

"นาป่า" หรือ "นาตีนป่า" ในภาษาชาวบ้านอีสาน

ตามแบบที่บรรพชนของพี่น้องชาวนาได้พาทำมาก่อนแล้ว

หากแต่ได้เลือนหายไปจากความทรงจำของชาวนาส่วนใหญ่ไปหมด

เพราะกระบวนการเร่งเพิ่มปริมาณผลผลิต"เพื่อเงิน"ในยุคสมัยที่ผ่านมา

เป็นตัวเร่งเร้าให้เราโยนทิ้งของดีไปอย่างน่าเสียดาย

ชาวนาได้พากันโค่นตัด กำจัดต้นไม้ ทำลายความเป็นป่า  ขยายพื้นที่ทำนากันอย่างเต็มที่

โดยหาได้เฉลียวใจไม่ว่า

เราได้รื้อ "โรงงานผลิตปุ๋ยชีวภาพธรรมชาติ"

และ

"เครื่องจักรในการออมความชุ่มฉ่ำชุ่มชื้น" ในนาทิ้งไปด้วย

...ดังนั้น...

คนรุ่นหลังอย่างเราๆท่านๆ จึงได้เห็นแต่ท้องทุ่งนาที่โล่งเตียน

หลังฤดูเก็บเกี่ยวก็จะเห็นแต่เปลวแดดเต้นยิบยับๆอยู่เหนือท้องนา

อันเป็นลงมือปฏิบัติการ "เผาหญ้า ฆ่าดิน และสังหารจุลินทรีย์พร้อมสิ่งมีชีวิตเล็กๆ"

ที่มีวงจรชีวิตอยู่ในกระบวนการปรับปรุงบำรุงดินตามธรรมชาติ ที่มีอยู่ในดินอย่างโหดร้าย

และในห้วงเวลากว่า 7 เดือนหลังการเก็บเกี่ยวดังกล่าว

ชาวนาส่วนใหญ่ก็มิได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างคุ้มค่าอย่างที่ควรจะเป็น

อย่างมากก็มีแค่วัวควายผ่ายๆผอมๆ

ก้มหน้าก้มตาเลียเล็มหญ้าเหี่ยวๆสีซีดๆ อยู่บ้างเพียงบางๆตาเท่านั้น

ซึ่งจะต่างกับนาป่า

ที่สามารถใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งได้หลากหลายและง่ายกว่า

เพราะความชุ่มชื้นจะยังคงมีอยู่

ในขณะที่ระบบชีวมวลและอินทรีย์วัตถุก็ทำหน้าที่ของตัวเองไปตามธรรมชาติ

ซึ่งหากชาวนาขยันพอ

ก็สามารถใช้ปัจจัยพื้นฐานที่เอื้ออำนวยเหล่านี้

ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองและครอบครัวได้อย่างเต็มที่

และที่สำคัญที่สุด

นาป่ามีความเสี่ยงน้อยมาก

ถ้าได้รับการปรับปรุงให้มีองค์ประกอบที่ครบถ้วน

เช่น มีการเก็บกักน้ำไว้เผื่อแล้ง , มีการเพิ่มปุ๋ยคอกลงไปเป็นระยะๆตามสมควร

ก็แทบจะเชื่อมั่นได้เกือบ 100% เลยว่า "ไม่มีความเสี่ยงใดๆทั้งสิ้น"

โดยเฉพาะนาป่าในที่สูงหรือที่ดอน (นาโคก นาโนน ในภาษาชาวบ้านอีสาน )

ในขณะที่ผลผลิตเราสามารถเร่งได้อย่างเต็มที่

ตามแต่ศักยภาพของชาวนาและคุณสมบัติของข้าว

Napa6 

(นาป่าในหน้าแล้ง)

*********

ในส่วนของการทำนาปี ตามวิธีการของพี่น้องชาวนาโดยทั่วไป

เมื่อถึงฤดูการทำนา  พี่น้องชาวนาก็จำต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ 

อย่างที่เห็นและเป็นอยู่

ด้วยเพราะในพื้นนาแทบไม่มีต้นทุนของความอุดมสมบูรณ์อันจำเป็นสำหรับต้นข้าวสะสมอยู่เลย

ต้นทุนการผลิตของชาวนาจึงสูงขึ้นๆมาโดยตลอด

ในขณะที่ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าใครเพื่อนในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกข้าวด้วยกัน

(อ่านรายละเอียดและอ้างอิงที่นี่)

 ดังนั้นเราจึงเห็นมาตลอดว่า  ไม่ว่าราคาข้าวจะดีแค่ไหน

ก็หาได้สมดุลกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นไม่

หนำซ้ำยังต้องมีภาวะเสี่ยงกับความไม่แน่นอนของธรรมชาติ

Napajon1 

ทั้งฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง ฝนท่วม

รวมทั้งการระบาดของโรค  แมลง  ปู  หอยเชอรี่ ฯลฯ อีกต่างหาก

(ซึ่ง 2 อย่างหลังนั้นไม่ควรจะเป็นศัตรูข้าวเลย ในความเป็นจริงควรเป็นปัจจัยเอื้อด้วยซ้ำ)

ที่ผ่านมา ชาวนาจึงไม่เคยลืมตาอ้าปากได้สักที

แถมในชีวิตประจำวันก็ยังมีค่าภาษีสังคมอีกเพียบ

"ความจน" จึง "ครองบ้าน" และเป็น "สมบัติอันพึงใจ" ของชาวนามาโดยตลอด

...ถามว่า...

บัดเดี๋ยวนี้ ควรถึงเวลาแล้วหรือยัง

ที่เราต้องเลิกทำนา "บนดินที่ตายแล้ว" แบบนี้

Nadintai1 

แล้วหันมาค่อยๆปรับปรุงให้เป็น "นาพึ่งพาตนเอง"

ตามหลัก "เศรษฐกิจพอเพียงของพ่อ" อย่างจริงจัง

ซึ่ง "ธรรมชาติ" เขาพร้อมช่วยเหลือเกื้อกูลและส่งเสริมเราอยู่แล้ว

....ไม่ว่าจะเป็นการช่วย....

1. ออมปุ๋ย ออมอินทรีย์วัตถุ ออมความอุดมสมบูรณ์

2. ออมน้ำ ออมความชุ่มฉ่ำความชุ่มชื้น

3. ออมป่า ออมต้นไม้ ออมอาหาร ออมสมุนไพร

4. ออมชีวมวลที่เป็นคุณเป็นประโยชน์

5. ออมสุขภาพ ออมความปลอดภัยจากสารเคมีอันตราย

6. ออมความสุขกายสบายใจเพราะไร้หนี้สิน

7. ออมความหวงแหนที่ดิน ออมความรักที่ทำกิน

8. ออมเหงื่อ ออมแรง ออมอนาคตอันมั่นคงไว้ให้ลูกหลาน (ในขณะที่เราเองก็ได้ชื่นชมด้วย)

9. ออมความรักถิ่นแผ่นดินเกิด

และ

10. ออมสิ่งประเสริฐสูงสุด คือ...

 "ความรักมั่นกตัญญู" ต่อ "สิ่งและบุคคลอันควรทูนเทิด"

ไว้ในหัวใจเรา... นานเท่านาน...

********

ด้วยศรัทธามั่น

ครูวุฒิ นาป่า

หมายเลขบันทึก: 181531เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2008 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

น่าสนใจ ถ้ามีโอกาส อยากให้ไปที่พี่เดชาที่สุพรรณบุรี มูลนิธิข้าวขวัญ รับรองว่าต้องชอบแน่ๆๆเลยครับ ขอบคุณครับ ผอ

สวัสดีค่ะคุณครูวุฒิ

  • ตามเข้าไปดูนาตีนป่าโคกเพชรมานับว่ายังโชคดีที่มีให้เห็น
  • แถวบ้านหนูสมัยก่อนไม่ใช่แค่ตีนป่าตีนบ้านนะคะครู 
  • แต่เป็นนากลางป่า  แถมบ้านกลางป่าอีกด้วย 55555
  • แต่เดี๋ยวนี้มองหาร่มไม้ตามนาแทบจะไม่มีแล้ว
  • ดีหน่อยสำหรับคนที่มี ที่ดินติดหมู่บ้านยังพอเห็นบรรยากาศจึงคล้าย ๆ กับโคกเพชร
  • แต่คนที่มีที่ดินทำกินอยู่ไกล ๆ ไม่มีต้นทุนของความอุดมสมบูณ์อันจำเป็นสำหรับข้าวเลย
  • แถมไม่ได้มีความรู้ในการปรับปรุงบำรุงดินเลย จะทำอย่างไร
  • ..........................>
  • คุณครูวุฒิอย่าเครียดนะคะ  เป็นห่วงจริงจริงนะเจ้าคะ...  อิอิ 
  • คิดถึงเด็ก ๆ โคกเพชรจังเล้ยยยยย   เปิดเทอมหรือยังคะ
  • เอ..ว่าแต่นักเรียน  ป. 1  ได้ข่าวว่าได้เลื่อนชั้นขึ้น  ป.2  แต่หายๆๆๆๆไม่มาเรียน 
  • วันนี้น้องรักษ์เป็นตัวแทนนำดอกไม้มาไหว้ครูและเป็นกำลังให้โคกเพชร สู้ สู้ ค่ะ
  • รักษาสุขภาพด้วยนะคะ คุณครูเพื่อศิษย์

วันนี้ฝนลงเม็ดแล้ว

แต่ชาวนายังไม่ลงนาเต็มที่กันเท่าไหร่

เพราะราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวแพง (มาก) ในปีนี้ (แถมหาซื้อไม่ได้อีกต่างหาก)....ทำให้ต้องรอบคอบมากขึ้นในการทำนา

เปิดเทอมปีนี้จะได้ลงนา...และคงเรียกได้ว่าเป็นนาตีนป่า (และนาตีนบ้านด้วย) เพราะเป็นโรงเรียนในป่าใกล้หมู่บ้านค่ะ :)

  • เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
  • คงถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องกลับไปมองย้อน "รอยเท้าที่ผ่านมา"
  • ไม่หลงงมงายกับเทคโนโลยีที่มีแต่จะทำลาย และทำลาย
  • คืนสู่สามัญ ชาติไหนไม่เอาช่างเขา ชาติไทยเราริเริ่มก่อนเพื่อนเลยนะครูนะ
  • อิอิ

สวัสดีครับ

ผมเห็นด้วยครับ ได้เวลาแล้วที่เราจะนำการทำนาแบบดั้งเดิมกลับมา ทำให้ความอุดมกลับคืนมาสู่อีสานอีกครั้ง

  • Thank you ...for best think na ka
  • I gone with the wind...555
  • Have a good day ...see you soon

ผมเห็นด้วยครับและกำลังจะทำเหมือนกัน

พิสูจน์ให้เห็นว่าเราไม่ควรแทรกแซงธรรมชาติ

สวัสดีครับเพื่อนพ้องน้องพี่ทุกท่าน P P Gutjang P P P P P P

  • ขอบคุณทุกท่านทุกคนกำลังใจและทุกความคิดเห็นที่ดีๆ
  • และผมต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้ตอบทุกท่านในช่วงเวลาอันควร
  • ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่กำลังอยู่ระหว่างลงมือปฏิบัติอย่างคุณชัยมงคล ขอเรียนว่านาดอนดีที่สุดครับ  จัดการง่าย มีทางเลือก  และใช้ประโยชน์ได้หลากหลายกว่า  เพราะมีข้อดีคือน้ำไม่ใคร่ท่วม  แค่นี้ก็สบายแล้ว  อย่างอื่นแก้ปัญหาได้ไม่ยาก  ลงมือลุยเลยครับ  จะได้เป็นตัวอย่างให้พี่น้องชาวนาทั่วไปด้วย
  • ขอบคุณทุกท่านอีกครั้ง
  • สวัสดีครับ

ดีจัง คนดีคิดดี ทำดี มีแง่คิดดี อ่านแล้วอยากเป็นคนดี

ขอบคุณครับคุณ 11. ไม่แสดงตน

เยี่ยมไปเลย "อ่านแล้วอยากเป็นคนดี" สุดยอดเป็นที่สุดครับ

โอกาสหน้าเชิญแวะที่ http://khokpet.com สักนิดนะ

สวัสดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท