20 จว. 120 หน่วยงานนำร่อง (15) ยุทธศาสตร์ และการบูรณาการชุดสิทธิประโยชน์


กองทันตสาธารณสุขเรามองว่า "ฟันเทียม" เป็นส่วนที่เราไปดูที่ปลายเหตุ ก็คือ ไม่มีฟันแล้ว และมาใส่ฟันเทียม และอีกส่วนหนึ่ง เราไปดูที่ต้นเหตุ ตั้งแต่แม่และเด็ก เด็กเล็ก เด็กวัยเรียน เราก็ส่งเสริมที่ต้นเหตุ ต้นน้ำ และมาดูว่า จริงๆ ในส่วนของผู้สูงอายุเอง ก็มีฟันดีอยู่ และกลุ่มที่ยังเหลือฟันอยู่ ตรงนี้จะทำอย่างไร

 

ชั่วโมงนี้ ก็เล่าสู่กันฟังในเรื่องของยุทธศาสตร์ และการบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก กับเรื่องการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ เน้นในเรื่องของชุดสิทธิประโยชน์ค่ะ โดย ผู้อำนวยการกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ... ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย

ผอ.เกริ่นนำว่า ... วันนี้เราคุยกันในเรื่องของฟันผุ ปริทันต์ และ trend ต่อไปก็คงจะเป็นเรื่องของ cancer กองทันตฯ ก็มองไปถึงอนาคตด้วยว่า เรื่องของ cancer เมื่อถึงระยะหนึ่งที่ผู้สูงอายุไปถึงก็คงจะต้องใช้ เราจึงมองไปข้างหน้า และจับมือกับอาจารย์หลายๆ ท่าน เช่น อ.ลักขณา (จุฬา) อ.วรลักษณ์ (มหิดล) อ.สมพิศ (มอ.) ... อีก 5 ปี ก็น่าจะ implement ได้ในระดับประเทศ

กองทันตสาธารณสุขเรามองว่า "ฟันเทียม" เป็นส่วนที่เราไปดูที่ปลายเหตุ ก็คือ ไม่มีฟันแล้ว และมาใส่ฟันเทียม และอีกส่วนหนึ่ง เราไปดูที่ต้นเหตุ ตั้งแต่แม่และเด็ก เด็กเล็ก เด็กวัยเรียน เราก็ส่งเสริมที่ต้นเหตุ ต้นน้ำ และมาดูว่า จริงๆ ในส่วนของผู้สูงอายุเอง ก็มีฟันดีอยู่ และกลุ่มที่ยังเหลือฟันอยู่ ตรงนี้จะทำอย่างไร

ส่วนที่มีฟันดีอยู่ เราก็พยายามใช้ในเรื่องของชุมชน ใช้เรื่องของประชาคม ชมรมผู้สูงอายุ เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไร เราดำเนินการไปแล้ว 11 จังหวัด 32 ชมรม ปีนี้ เราจะขยายไปที่ภาคใต้ ที่ศูนย์อนามัยที่ 11 และ 12 ภาคอื่นเป็น Pilot ไปหมดแล้ว

ตรงนี้ ... วันนี้ จะเป็นเรื่องของสถานบริการ ในส่วนที่เป็นเรื่องของ Screening และ Prevention ... ที่เราจะเก็ง และสกัดกั้น เพื่อที่จะทำให้ฟันอยู่คู่กับประชาชนคนไทยตลอดไป ... ก็ขอชี้บางประเด็น เป็นภาพคร่าวๆ เรื่อง สถานการณ์ผู้สูงอายุ สุขภาพ นโยบายแห่งรัฐทำอะไรบ้าง ที่เป็นตัวหนังสืออย่างไร ... ส่วนภาคปฏิบัติ เราก็ทำกันอยู่ในแต่ละภาคส่วน

ประชากรในปี 2543, 2550 และคาดประมาณการปี 2563 พบว่า เด็กน้อยลงเรื่อยๆ 6-14 ปี 15-24 ปี ก็ลดลง วัยทำงานลดลงนิดหน่อย และไปสูงเอาที่ 60 ปีขึ้นไป 16.8 ในปี 2563 หมายความว่า สังคมเราจะต้องแบกรับกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น ในขณะที่เด็กน้อยลง และวัยทำงานยังคงเท่าเดิมอยู่ คือ วัยทำงานก็ยังสามารถจะดูแลทั้งเด็ก และผู้สูงอายุอยู่ประมาณ ครึ่ง-ครึ่ง

เรื่องภาระการดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ปี 2563 จะมีอายุค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 81 ปี กลุ่มพวกเราก็คงจะอยู่กันตรงนี้ ในปี 2519 เกินแค่ 3.8 ปี ก็ไปแล้ว และปี 2549 เกินไป 17 ปี ก็ไปแล้วเหมือนกัน เพศหญิงอายุยืนมากกว่าเพศชาย แสดงว่าพอเกษียณแล้ว ก็ยังมีเวลาไปเรียนหนังสือได้อีก 4 ปี ทำงานอีก 16 ปี ไปเรียนเอาปริญญาอื่นนะครับที่ไม่ใช่ทันตแพทย์ ก็สามารถทำอะไรได้สบายๆ เลย ... เกษียณแล้วก็ยังสามารถทำงานได้อีกครึ่งหนึ่งของชีวิตทีเดียว

จะเห็นว่า ผู้สูงอายุนับว่าจะเป็นภาระให้กับสังคม ... ถ้าผู้สูงอายุอยู่อย่างไม่มีคุณภาพ ถ้าต้องอาศัยภาวะพึ่งพิง ทั้งญาติพี่น้อง ระบบบริการ ที่เราต้องรองรับตรงนั้น อีกตั้ง 20 กว่าปี (นับที่อายุเฉลี่ย)

  • ในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60-74 ปี นี่ เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ประมาณ 75% ที่อยู่ในกลุ่มนี้ 75 ปีขึ้นก็น้อยลง ประมาณ 25% ... เขาบอกว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 88 ดูแลตนเองได้ 1 ใน 10 ต้องมีผู้ดูแล ประมาณ 10% และ 96% ผู้ดูแลเป็นญาติๆ
  • ... การศึกษา 1 ใน 4 อ่านและเขียนไม่ได้
  • การรับรู้ข่าวสารของผู้สูงอายุ ร้อยละ 32-60 ใช้ทักษะการฟังมากกว่า อ่านแค่ 10% เพราะฉะนั้นคนไทยชอบฟัง และดู เป็นภาพ แต่ไม่ใช่อ่านจากหนังสือ เพราะฉะนั้นช่องทางที่เขาจะรับรู้ข่าวสาร คือ ฟัง จากเพื่อนบ้าน หรือเม้าท์กันตั้งแต่หัวบ้าน ถึงท้ายบ้าน
  • "ผมพูดเมื่อครั้งที่แล้ว ที่ไปที่หมู่บ้านที่นครสวรรค์ บ่ายๆ เย็นๆ แล้ว เข้าไปเก็บข้อมูล แป๊บเดียว พอพรุ่งนี้ รู้กันทั้งหมู่บ้านละ ว่า กลุ่มนี้มาเก็บข้อมูลเรื่องอะไร คนนั้นถามอะไร คนนี้ถามอะไร พอรุ่งขึ้นไปอีกบ้านหนึ่ง เขาบอกรู้แล้ว จะมาถามอันนี้ใช่มั๊ย นี่ก็คือ ผู้สูงอายุ เขาก็สื่อกันเองได้หมด"

เรื่องสุขภาพ และสุขภาพช่องปาก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

  • ... เขาบอกว่า เป็น Chronic disease และเป็นเรื่องของความดัน เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต ใครที่อยู่กับผู้สูงอายุทุกวันก็จะรู้ได้เลย ถึงการเปลี่ยนแปลงของเขา จะเห็นว่าเขามีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เรื่องกระดูก กล้ามเนื้อ หรืออื่นๆ
  • เรื่องสุขภาพช่องปาก ก็เป็นเรื่องของโรคฟันผุ สูญเสียฟัน ปริทันต์ รากฟันผุ ประมาณ 20% จากการสำรวจ การแปรงฟัน แปรงเช้า-ก่อนนอน แค่ร้อยละ 31 บางท่านก็แปรงเฉพาะตอนเช้า ก่อนนอนก็ไม่แปรง ถามว่าทำไม เขาก็บอกว่า ใช้ไม้จิ้มฟันก็พอแล้ว
  • เรื่องสวัสดิการ ส่วนใหญ่มีสวัสดิการ UC บ้าง สวัสดิการข้าราชการบ้าง ประกันสังคมบ้าง แต่ว่าสิทธิไม่เท่ากันใน 3 กองทุน เรื่องฟันเทียม สิทธิข้าราชการไม่ได้ UC ไม่ได้ แต่ประกันสังคมได้บางส่วน
  • เขาบอกว่า เรื่องของความสุข พอมีฟัน ผู้สูงอายุก็ชอบ เคี้ยวอาหารได้ การสูญเสียฟัน ก็มีผลเสียต่อโภชนาการ และเรื่องต่างๆ
  • ก็คงจะเห็นได้ว่า เรื่องของสุขภาพ และสุขภาพช่องปากนี้มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างใกล้ชิด ปวดฟัน 1 ซี่ ก็ทุกข์ทรมาน

เรื่องของภาครัฐ ดูแลผู้สูงอายุกันอย่างไรบ้าง

  • ... ภาครัฐส่วนใหญ่ทำอะไรได้บ้าง ถ้าไม่ใช่ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ ส่วนที่เป็นเชิงนโยบาย ซึ่งตอนนี้ก็จะพึ่งพิงไปที่กฎหมายเสียมาก เขาบอกว่า รัฐธรรมนูญปี 50 ก็มีการเขียนไว้ เรื่องของผู้สูงอายุ เขาบอกว่า ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวก ความช่วยเหลือจากรัฐ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และพึ่งพาตนเองได้
  • พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ปี 2546 ก็บอกว่า ให้มี Green channel ให้กับผู้สูงอายุ และให้ข้อมูลข่าวสารกับผู้สูงอายุที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
  • ยังมีแผนผู้สูงอายุที่ได้เขียนไว้ด้วยว่า ... ได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ เรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของผู้สูงอายุ เรื่องการส่งเสริมผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องของการดูแลเบื้องต้น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และเรื่องของการคุ้มครอง ก็เป็นเรื่องของหลักประกัน และมีเรื่องของการพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาผู้สูงอายุ มีเรื่องขององค์ความรู้อีกด้วย
  • นโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ได้พูดถึงเรื่องผู้สูงอายุ คือ จะขยายเรื่อง อสม. เพื่อเป็นแหล่งสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เตรียมความพร้อมให้กับสังคมผู้สูงอายุ ให้มีสุขภาพดี ทั้งกายและใจ

ในส่วนของกรมอนามัย เป็นกรมที่ส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี เป็นกรมที่ดูแลเรื่องสุขภาพ และการป้องกันโรค ดูในเรื่องทั้งบุคคล และสิ่งแวดล้อม กรมอนามัยจึงจะมีบุคลากร 1 ส่วน ทั้งสุขภาพ และ Environmental health

เราก็ใช้หลักยึดในเรื่องของ Ottawa charter ในเรื่องของบุคคล คือ เพิ่มศักยภาพบุคคล เพิ่มความเข้มแข็งของชุมชน สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพดี ทำเรื่องของ Reoriented Health Service คือ ปรับเปลี่ยนระบบบริการจากฟื้นฟูรักษา เป็นส่งเสริมป้องกันมากขึ้น พยายามสร้างเรื่องของ Public Policy นโยบายสาธารณะขึ้นทุกระดับ ก็เป็นส่วนที่เป็นหลักยึด ที่ทำอย่างไรให้ประชาชน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมต่างๆ เอื้อต่อการมีสุขภาพดีได้

ที่เรากำลังทำกันอยู่ก็จะอยู่ในเรื่องของระบบบริการ เรื่องของการเพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่ และเพื่อจะไปเพิ่มศักยภาพของประชาชน และผู้สูงอายุ

ใน Bangkok Charter ที่เป็นตัวย่อยลงมาจาก Ottawa charter ที่ได้รับความสำเร็จในประเทศไทย ได้ข้อสรุปว่า ยุทธศาสตร์การทำงานเรื่องส่งเสริมสุขภาพ ต้องทำเรื่องภาคีเครือข่าย และต้องเพิ่มศักยภาพภาคีเครือข่ายต่างๆ ทุกระดับ ต้องทำเรื่อง Advocacy การสื่อสารสาธารณะ ทำเรื่องนโยบาย กฎหมายต่างๆ ส่วนของการลงทุน ก็คงเป็นอีกพักหนึ่งที่จะต้องสร้าง ถ้าโครงการใดจำเป็นต้อง Infrastructure ขึ้น

กรมอนามัยมียุทธศาสตร์ในปี 2551 อยู่ 6 เรื่อง ตั้งแต่แม่และเด็ก วัยเรียนวัยรุ่น ผู้สูงอายุ คนไทยไร้พุง เรื่องของชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ก็จะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องนโยบายสวนสาธารณะ เมืองน่าอยู่ ... กรมอนามัยมีงานในกรมฯ เยอะมาก แต่พยายาม Scope งานแต่ละงานออกมา เป็นแต่ละกลุ่มอายุ และเรื่องผู้สูงอายุก็เป็นประเด็นหนึ่งที่กรมอนามัยให้ความสำคัญ กรมอนามัยดูแลทั้งเรื่องส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งสองด้าน คือ ยึด Ottawa charter และ Bangkok มาดำเนินการอยู่แล้ว และ scope ไปในเรื่องของการส่งเสริมป้องกัน และเป็นที่น่าประหลาดว่า งานทันตฯ งานเดียวสามารถทำได้ทั้ง ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู (ส ป ร ฟ) ในบริบทเดียวกันทั้งหมดเลย ไม่เหมือนงานอื่นๆ เช่น งานโภชนาการ การแพทย์ ... งานทันตฯ จึงเป็นงานที่สามารถผสมผสานทั้ง ส ป ร ฟ ได้เลย ซึ่งเราได้ผสมผสานกันทั้งในบริบทของทางด้านงานทันตฯ บางทีก็แยกกันไม่ค่อยออก

กรมอนามัยมีสำนักส่งเสริมสุขภาพ ที่จะมีผู้อำนวยการส่วนผู้สูงอายุ ก็จะทำในภาพรวมของผู้สูงอายุ ทันตฯ ก็เป็น issue หนึ่ง เราพยายามที่จะบูรณาการกันขึ้น กับผู้สูงอายุของสำนักส่งเสริมสุขภาพ ในกรมอนามัย ท่านบอกว่า ทำอย่างไรที่จะแบ่งผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม คือ ที่ดูแลตัวเองได้ ที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง และที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ทางสำนักส่งเสริมสุขภาพจะทำในเรื่องของชมรมผู้สูงอายุ วัดส่งเสริมสุขภาพ มาตรฐาน Home Health Care ซึ่งในปีนี้ก็จะได้รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวเกิดขึ้น ... ทันตฯ เราทำในเรื่องของชมรมสร้างสุขภาพช่องปาก เกณฑ์ผู้สูงอายุฟันดี และฟันเทียมพระราชทาน และในวันนี้มาพูดกันในเรื่อง สิทธิประโยชน์

ชุดสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ ก็จะมีแนวทาง และมีข้อจำกัดอยู่ว่า เป็นเรื่องของการผสมผสานแนวคิด ที่จะทำในเรื่องของการส่งเสริมป้องกัน รักษาฟื้นฟูเข้าด้วยกัน เป็นการให้บริการส่วนบุคคล ไม่ใช่ชุมชน ... สปสช. ได้กำหนดภาพรวมของชุดสิทธิประโยชน์ และผู้สูงอายุก็เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย 60 ปีขึ้นไป ส่วนของสุขภาพทั่วไป ก็คือ เรื่องของการคัดกรองโรคเรื้อรัง ทางทันตกรรม เราก็กำลังคุยกันในวันนี้ ... การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก จะเป็นเรื่องของ การแนะนำ การใช้ฟลูออไรด์ Sealant

ผลของการทำฟันเทียม และการทำในเรื่องของชมรมผู้สูงอายุ ทำให้ปี 2548 การใช้ฟันได้ 4 คู่สบ ร้อยละ 44 เป็น 48 ในปี 2550 แต่การสำรวจเมื่อปีที่แล้ว การสูญเสียฟันทั้งจากร้อยละ 8 เพิ่มเป็นร้อยละ 10 สงสัยเพราะว่าเราไปถอนฟันเยอะไปหรือเปล่า ??? แต่ก็สามารถแสดงได้อีกทางหนึ่งว่า ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้นหรือเปล่า ???

ที่เรามาคุยกันใน 2 วันนี้ ก็คงจะเป็นการคุยในเรื่องของคุณภาพ ... ถ้าเราจะเอาระบบนี้ไปใช้ในงานของเรา เพื่อไปทำให้งานของเรามีคุณภาพมากขึ้น เราก็คงต้องปรับหัวของเราก่อนที่จะจัดระบบการให้บริการทันตกรรม ... ทำในเรื่องของสิทธิประโยชน์ให้กับผู้สูงอายุ การทำในเรื่องนี้ให้ได้ ก็คงจะขึ้นกับฝีมือน้องๆ ทุกคนนะครับ เพราะว่าพี่อยู่ตรงกลาง ไม่สามารถเห็นระดับ micro ของแต่ละโรงพยาบาลได้ บริบทนี้เป็นอย่างไร ก็เป็นสิ่งท้าทายสำหรับพวกเราทุกคนที่จะทำให้ เรื่อง Screening เรื่อง Prevention เข้าไปสอดอยู่ในระบบของเราให้ได้

ก็คือ ต้องเปลี่ยนหัวก่อน ต่อมาเปลี่ยนเพื่อนร่วมงาน ต่อมาเปลี่ยนระบบงาน จากนั้น เป็นการแจ้งผู้รับบริการให้รับทราบ ถึงระบบที่เราได้ปรับ เพราะจะต้องกระเทือนถึงผู้มารับบริการได้แน่นอน เราคงต้องสื่อสารให้ทั้งในองค์กร และนอกองค์กร จนถึงประชาชนได้รับทราบด้วยครับ

มีแนวคิดของ Romer ก็จะบอกว่า ระบบบริการทันตสุขภาพประกอบด้วย ทรัพยากร องค์กร กลไกการสนับสนุนทางการเงิน การบริหารจัดการ การจัดบริการ ... การปรับเปลี่ยนระบบของเราก็จะกระทบไปทั้งเรื่องคน โครงสร้าง การ Assign บทบาทใหม่ หน้าที่ของผู้ช่วย ทันตแพทย์ ทันตาภิบาลใหม่ ทำอย่างไรที่จะ serve ตรงนี้ การบริหารจัดการจะเป็นแบบไหม ใครจะมาช่วยตรงไหน หรือเอื้ออะไรให้กับเราได้บ้าง และส่วนที่เราต้องให้บริการกับ ปชช. นั่นก็คือ 5 องค์ประกอบของการดำเนินการให้ครบถ้วน งานก็จะบรรลุความสำเร็จ และมีอุปสรรคน้อยที่สุด นี่เป็นสิ่งที่คาดหวังจะเกิดระบบ กลไก และเตรียมการรองรับให้กับผู้สูงอายุล่วงหน้าครับ

รวมเรื่อง 20 จว. 120 หน่วยงานนำร่อง

 

หมายเลขบันทึก: 181528เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2008 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท