ลำเหมืองน่าน(๑)


"...สมัยคุณธนะพงษ์  เป็น ผวจ.น่าน จำได้เคยมีเรื่องชาวน่านต่อต้านโครงการกก อิง น่าน โครงการนี้เป็นการต่อต้านด้วยสันติและใช้ปัญญา  และในคราวนั้น  ได้เคยไปรับฟังการรับฟังความคิดเห็นที่ กศน.น่าน มีทีมวิชาการมาอ้างว่า มารับฟังความคิดเห็น ผมเขาไปฟังราวใกล้เที่ยง ได้ฟังสตรีท่านหนึ่งเธอพูดอยู่นาน เลยกระซิบถามชาวบ้านที่นั่งอยู่ใกล้ ๆ  ว่า เธอเป็นถึงด๊อกเตอร์มาจากส่วนกลางดูเหมือนเธอจะพูด ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ อยู่ได้คนเดียว   เลยอดทนไม่ได้ต้องยกมือขอเธอพูดแทรกว่า ตกลงมารับฟังความคิดเห็นหรือมาประชาสัมพันธ์ชี้นำโครงการฯ  และขอให้บันทึกในหมายเหตุรับรู้ร่วมกัน ณ ที่แห่งนี้ด้วยว่า ท่านมาพูดอยู่คนเดียว โดยสัดส่วนเวลากว่าร้อยละ ๘๐ เป็นของท่านทั้งสิ้น.... "

โครงการนี้ดูจะสร้างความไม่มั่นคงในชีวิตชาวน่านเข้าอีกแล้ว ขณะที่ชาวน่านร่วมมือ ร่วมใจพยายามรักษาป่าไม้ธรรมชาติป่าต้นน้ำ  ให้มีปริมาณน้ำในลำน้ำน่าน และลำน้ำสาขาให้มากกว่าที่ผ่านมา  มีกิจกรรมทำกันมาอย่างต่อเนื่อง

หากท่านมองแบบไม่รู้จัก ไม่เข้าใจจะมองไปว่า ชาวน่านเป็นคนเห็นแก่ตัวต้องออกมาต่อต้านแล้งน้ำใจ  ไม่ยอมให้ใช้พื้นที่ผันน้ำเพื่อคนปลายน้ำ  ผมคิดว่า  ผู้บริหารระดับสูงควรได้ตระหนัก  การจะทำอะไรต่อไป หรือแม้กระทั่งให้ข่าว ควรได้คำนึงถึงสิ่งที่ได้ทำมา และให้รับรู้ความจริงกันด้วยว่า  น้ำจำเป็นต่อการดำรงชีวิตก็จริง  และวิถีชีวิตผู้คนข้างลำน้ำเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง  ก่อนอ่านข่าวสดวันนี้ โปรดเรียนรู้ได้จากเรื่องเดิมตามลิ๊งค์ครับ

http://www.localtalk2004.com/V2005/detail.php?file=1&code=d1_31082005_01

http://www.ryt9.com/news/1998-02-18/22041006/

http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content3/show.pl?0130

http://www.seub.ksc.net/Library/kt-270942-1.htm

http://203.155.16.66/idi/votepipe/first.html

เป็นการบ้านใหญ่ชาวน่านต้องทำงานหนักกันอีก  กับการให้ข่าวของ อธิบดีกรมชลฯ ปรากฏเป็นข่าวเมื่อ วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6366 ข่าวสดรายวัน  "ปัดฝุ่นผันน้ำ"สาละวิน-กก-อิง-น่าน" เติมลงเขื่อน"ภูมิพล-สิริกิติ์"มั่นใจภายใน2ปีคืนทุน"

กรมชลฯ - นายธีระ วงศ์สมุทร อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานเตรียมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง โดยนำโครงการผันน้ำมาลงเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก และเขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่กรมส่งเสริมและพัฒนาด้านพลังงาน ได้เคยศึกษาไว้มาทบทวนดำเนินการใหม่ ซึ่งจะเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนทั้ง 2 แห่ง ได้ไม่น้อยกว่า 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

ทั้งนี้ ในส่วนของเขื่อนภูมิพล จะผันน้ำมาจากแม่น้ำแม่ยวมตอนล่าง ก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำสาละวินและไหลออกสู่ทะเล ซึ่งจะสามารถผันน้ำมาเติมไว้เป็นน้ำต้นทุนของเขื่อนภูมิพลได้ถึงปีละ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยจะต้องมีการสร้างอุโมงค์ส่งน้ำมีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร เจาะลึกจากผิวดิน 1,000 เมตร เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่ผิวดินให้เกิดน้อยที่สุด

นายธีระ กล่าวต่อว่า สำหรับการเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนสิริกิติ์ ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ นั้น ได้มีการศึกษาไว้เช่นกัน เรียกว่าโครงการ "กก-อิง-น่าน" เป็นการผันน้ำ จากแม่น้ำกก ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขงและออกสู่ทะเล โครงการนี้จะสามารถผันน้ำได้ถึงปีละ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวต่อว่า สำหรับเงินลงทุนอาจจะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล แต่ผลตอบแทนที่ได้ก็คุ้มค่า เพราะปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จากจำนวนดังกล่าวนี้จะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานในฤดูแล้ง โดยเฉพาะการทำนาปรังได้ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านไร่ ซึ่งจะได้ข้าวเปลือกถึงประมาณ 5 ล้านตัน และถ้าหากราคาข้าวที่กำลังได้ราคาดีอยู่ที่ตันละ 10,000 บาท จะได้เงินถึง 50,000 ล้านบาท

จากสถานการณ์เช่นนี้เพียงแค่ 2 ปี ก็คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไปแล้ว นอกจากนี้ยังจะได้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทดแทนการนำเข้าน้ำมันที่มีราคาแพงมาผลิตไฟฟ้าเป็นมูลค่ามหาศาลอีกด้วย

หน้า 28

 

หมายเลขบันทึก: 180497เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2008 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ส่วนกลางให้ความรู้ ตัวเลขเด็ดๆอย่างที่ยกมานั้นเกิดขึ้นมาตลอด

ชาวบ้านเคยปลูกพืชเชิงเดี่ยวมายาวนาน จนป่าพังพินาศ เพราะใคร

ป่าไม้น่าน-แพร่ ที่ถูกตัดอย่างมโหฬารในอดีตที่ผ่านมา เพราะใคร

ประชาชนในพื้นที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจด้วยกันจริงๆ

ควรให้ตระหนักรู้ที่จะประหยัด ซ่อมเสริมป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติให้มากๆ

สอนเด็ก-ผูใหญ่ให้รู้เวลาเปิดน้ำประปาว่ามันมาจากไหน และมันสามารถหมดไปได้ด้วย

ด้วยความยินดีกับพี่ประจักษ์ และข้อคิดความเห็นที่ดียิ่งจากคุณ Tafs

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท