ใครๆก็พูดถึงไทยแท้ แต่ใครรู้บ้าง ไทยแท้ๆเป็นอย่างไร....“พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” (National Discovery Museum Institute : NDMI)กำเนิดใหม่ สมิทโซเนียนเมืองไทย(ตอนที่หนึ่ง)


พิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัยน่าตื่นตาตื่นใจแห่งนี้   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา...
มีต่อ
  •  สวัสดีครับคุณsasinanda
    พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ  เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สวยงามมากเลยครับ  ถ้าได้ไปชมด้วยตัวเองคงจะงดงามตื่นตาตื่นใจมากกว่านี้  คงต้องหาโอกาสนำนักเรียนไปศึกษาเรียนรู้แล้วล่ะครับ  ขอบคุณที่นำข่าวมาแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ทราบนะครับ
     
                                         ขอบพระคุณมากครับ
 นี่คือเรียงความเรื่องประเทศไทยจริงๆค่ะ มีความเป็นมา ช้านานมากๆๆ  ที่สุวรรณภูมินี้ มีผู้คนอยู่กันมานานมากแล้ว เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์จริงๆ

   พิพิธภัณฑ์นี้   ฉีกภาพลักษณ์เดิมๆ ให้หมดไปและใส่ความมีชีวิตชีวา       เพื่อทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
    

ได้ยินมาหลายเสียงจากผู้ที่ไปร่วมงานเปิด รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ต้องไปให้ได้ครับ ขอบคุณพี่ศศินันท์มากๆ เลยครับ ขนาดดู demo ยังอยากไปทันทีเลยนะครับ

เว็บของเขาคือ www.ndmi.or.th แต่ในขณะนี้ ผมเข้าไม่ได้ คงเพราะยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการ หรือไม่ก็ประหยัดไฟ อย่างไรก็ตาม Google เคยมองเห็นครับ คำอธิบาย NDMI ที่ Google มองเห็นจากเว็บไซต์และเก็บไว้

 พื้นที่ทางกายภาพของพิพิธภัณฑ์จะมีลักษณะของคอมเพลกซ์

 ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มพิพิธภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อการใช้งานและการจัดการแสดงที่มีความหลากหลาย
โดยพื้นที่แรกที่เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คือ กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถนนสนามไชย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกันได้กับสถานที่สำคัญอีกหลายแห่งที่มีความสำคัญต่อจิตใจ
 ทั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)
พระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) รวมทั้งภาพชุมชนโดยรอบซึ่งเป็นภาพชีวิต ที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา

ภาพข้างล่างนี้ แสดงถึง ความเป็น ชุมชนสหชาติพันธุ์ ของคนไทยค่ะ

 สวัสดีค่ะคุณ . บัวชูฝัก

วันที่ไปชม ไปกับกลุ่มนักรียนค่ะ ถึงจะมีวิทยากรนำชม ตั้ง 3 คน แบ่งเป็นกลุ่มๆ

มีหลายห้องมากค่ะ ตึกกระทรวงพาณิขย์เก่า ทั้ง 3 ชั้นเลยค่ะ เขาบูรณะตึกใหม่สวยงามดีค่ะ สู้ วังบางขุนพรหมไม่ได้ เพราะ เจตนา จะสร้างให้เป็นอาคารที่ทำงานค่ะ แต่ก็สวย

คงต้องติดต่อเข้าไปก่อนค่ะ 02 2252774/  02 3573999 /023574000

 

สวัสดีค่ะคุณConductor 

ตอนนี้ ดูว่า  ผู้คนในสังคมเกิดการตื่นตัวในเรื่อง การเรียนรู้ นอกโรงเรียน ขึ้นมามากนะคะ
ดังนั้นเป้าหมายของ พิพิธภัณฑ์ ที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ รูปแบบใหม่  และเป็นชั้นนำที่ทันสมัย เป็นจริงขึ้นมา

        
   ผศ.พัชรี ชั้นธรรมมิตร  กล่าวว่า....    “ด้านการเชื่อมโยงกับต่างประเทศนั้น เรามีตัวแทนอยู่ที่อังกฤษและฝรั่งเศส   ซึ่งทำงานด้านวิชาการสำรวจการทำงานของพิพิธภัณฑ์
เราจะเรียนรู้ได้จากพิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่ โดยเฉพาะทั้ง
2 ประเทศนี้มีพิพิธภัณฑ์เก่าแก่นานนับ 100 ปี

และมีความหลากหลายรูปแบบ ทั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและเมือง รวมทั้งที่ฝรั่งเศสจะมีการจัดทำเว็บเครือข่ายติดต่อเชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์ของเรา ซึ่งในอนาคตเราจะเป็นสมาชิกของ
ICOM (International Council of Museum) เป็นที่ยืนที่ทำให้โลกรู้จักเรา

ที่สำคัญคือ เนื้อหาที่จัดแสดง ดีค่ะ น่าประทับใจ มีข้อมูลอีกมากมาย เขียนบันทึกเดียว ไม่มีทางหมดเลยค่ะ

 สวัสดีครับ คุณพี่ ศศินันท์  
                             ขอขอบคุณครับสำหรับแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ที่มีคุณค่ามหาศาล
                                                เปิดเมื่อไร ผมไปแน่ครับ
 พี่ศศินันท์ครับ
  • ขอบคุณพี่มากครับ ตื่นตา ตื่นใจ ตื่นเต้นมากเลยครับ ที่เราจะมีสถานที่ดีๆแบบนี้ อิจฉาคนกรุงเทพฯจังครับ

 ตอนที่เดินชม ก็ได้ความรู้ว่า ดินแดนที่เป็นสุวรรณภูมินี้ เมื่อล้านปีก่อน ก็มีมนุษย์อาศัยอยู่แล้วนะคะ

ที่น่าสนใจคือเมื่อ 500,000ปีก่อน มีมนุษย์ลำปางอยู่ด้วยค่ะ

หาดปู่ด้าย หมู่ที่ 1 ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 

ในความเป็นมาในการค้าพบโบราณวัตถุสำคัญ

     โดยเฉพาะฟอสซิลโฮโมอิเร็คตัสอายุประมาณ 5 แสนปี นับเป็นครั้งแรกของโลกที่พบฟอสซิล มนุษย์โบราณ โดยคนพื้นเมืองเจ้าของประเทศ
และเป็นการเปิดเผยโฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับวิวัฒนาการ การเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ในแผ่นดินไทยและในทวีปเอเชีย

     โฮโม อิเร็คตัส ที่ค้นพบได้จากจังหวัดลำปาง น่าจะได้รับการขนานนามว่า
  “ มนุษย์สยาม “ (Siam Man) “ มนุษย์ลำปาง ” ( Lampang Man ) หรือ 
“ มนุษย์เกาะคา ”  (KO-KHA Man) ตามแหล่งที่ค้นพบ

     ที่ตั้งของแหล่งที่ทำการสำรวจและขุดค้นอยู่ที่บริเวณเขาป่าหนามใกล้บ้าน
หาดปู่ด้าย ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ลักษณะ ที่ตั้งเป็นซอกหลืบหินปูน หรือโพลงถ้ำที่บริเวณเพดานพังลงมาทีหลังในภูมิประเทศแบบคาสต์ (relative open rockshelter, kast cave in filling) ใกล้แม่น้ำวัง แหล่งซากดึกดำบรรพ์เขาป่าหนามนี้ มีสภาพพิเศษที่เอื้ออำนวยให้ซากดึกดำบรรพ์ถูกเก็บรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพที่ดีพอสมควร โดยสารฟอสเฟตซึ่งเกิดจากมูลค้างคาวสลายตัวและห่อหุ้มซากกระดูกทั้งหลายเอาไว้ภายในหลืบ – ซอกของพื้นถ้ำ ทั้งนี้ เนื่องจากสารฟอสเฟต เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำผิวดินหรือใต้ดิน

     โฮโม อิเร็คตัส (Homo erectus) เป็นสายพันธ์มนุษย์ (Huminoid) มีวิวัฒนาการเมื่อประมาณ 1ล้านถึง 5 แสนปีมาแล้วของสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) 

มีลักษณกะโหลกค่อนข้างหนาเทอะทะและมีหน้าผากลาด มีสันเหนือกระบอกตา  (Supra-Orbital Ridge) เป็นสันนูนหนา แต่ขนาดความหนาย้อยกว่ามนุษย์นีแอนเดอธัลเล็กน้อยมีความจุขนาดสมองปริมาตร 800 – 1,200 ซีซี
 

ที่มา   แผ่นพับแนะนำแหล่งท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

 สวัสดีครับ

ยินดีกับประเทศไทยที่จะมีสถานที่ ที่ให้ความรู้ดีๆเพิ่มขึ้นอีกแห่ง ... นอกเหนือจากการไปห้างสรรพสินค้านะครับ...ตอนเรียนอยู่อเมริกาได้ไป museum ที่ DC เดินกันสามวันยังไม่ทั่วเลยครับ...อยากให้ประเทศเรามีโครงการแบบนี้เพื่อกระตุ้นความคิด ต่อยอดความรู้ของชาตินะครับ

อาคารนี้อยู่ตรงถนนเพชรบุรีใช้ไหมครับ...ขับผ่านทีไรก็เหลือบมองทุกที...เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสง่างามมากครับ...

โอชกร

 สวัสดีค่ะอ.จ. นาย เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี

ทีนี้ พอมีพิพิธภัณฑ์  เรื่อง บุคลากรเป็นเรื่องที่จะต้องมีการจัดเตรียมพิเศษ

ผศ.พัชรี ท่านกล่าว ว่า......

เพราะลักษณะของ
ภัณฑรักษ์ ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์จะต่างจากพิพิธภัณฑ์แบบเดิมๆ เพราะจะต้องเข้าใจถึงบทบาทของงานในแต่ละด้านว่า จะมีงานด้านใดที่แยกจากกันบ้าง

ขณะที่ปัจจุบันภัณฑรักษ์มีหน้าที่แบบรวมกัน ซึ่งภัณฑรักษ์ในพิพิธภัณฑ์แบบใหม่จะต้องเป็นผู้มีความสามารถในการค้นข้อมูลทางวิชาการ ถ่ายโอนข้อมูล เขียนสคริปต์และเขียนนิทรรศการได้ ซึ่งต้องเกิดจากการฝึกอบรม ดังนั้น สถาบันฯจะเป็นหน่วยที่ฝึกอบรมคนกลุ่มนี้ขึ้นมาเพื่อรองรับพิพิธภัณฑ์แบบใหม่

       
       ผศ.พัชรี กล่าวถึงการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ด้วยว่า ในระยะแรกสถาบันฯ จะเป็นเสมือนหน่วยงานที่สนับสนุน ดูแลกำกับเตรียมความพร้อมเพื่อให้เกิดการจัดตั้งทำให้เกิดพิพิธภัณฑ์ขึ้น
 ซึ่งในอนาคตเมื่อมีพิพิธภัณฑ์ในกำกับ หลายๆ แห่ง  ต้องมีการสรรหาผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์และมีสถานที่ทำงานของแต่ละแห่งด้วย
เรียกว่า....ยังมีงานอีกมาก รออยู่เลยค่ะ
การจะทำโครงการใหญ่ๆขึ้นมาแต่ละอย่างนี่ ไม่ง่ายนะคะ
มีรายละเอียดมากทีเดียวค่ะ
ต่อไป จะมีการขยาย ไปทุกจังหวัดค่ะ
เห็นมีการอบรมเจ้าหน้าที่ และเตรียมงานกันแล้วค่ะ

ข้อมูลจาก ทำเนียบเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้  สถาบันการเรียนรู้แห่งชาติค่ะ
ได้รับแจกหนังสือนี้ ในวันเข้าชมค่ะ
        
       ทั้งนี้ ภาครัฐจะให้งบประมาณทั้งสิ้นรวม 3,700 ล้านบาท โดยในปีแรกได้รับ 800 ล้าน เพื่อใช้ในการบูรณะซ่อมแซมอาคารต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันก็มีอนุกรรมการจัดหาทุนร่วมมือกับบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจหลายแห่งให้ความสนใจ
และปัจจุบันได้รับเงินสนับสนุนจากการบินไทยปีละ
20 ล้านบาทเป็นเวลา 3 ปี แบ่งเป็นตั๋วเครื่องบินปีละ 10 ล้าน ส่วนที่เหลือเป็นทุนสนับสนุนทุนหมุนเวียนและการจัดนิทรรศการ
สิ่งดีๆแบบนี้ หาทุนสนับสนุน ไม่ยากค่ะ

  สวัสดีค่ะคุณ  small man


ใช่ค่ะ ที่นี่เป็น แหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ที่มีคุณค่ามหาศาลค่ะ ดิฉันเข้าไปชมในวันแรกเลย เหมือนเขากำลังซ้อมๆอยู่น่ะค่ะ แต่ก็ประทับใจค่ะ

ต้องพาเด็กๆไปดูให้ได้ค่ะ


       อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่า พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ไม่ได้มีเพียงแค่แห่งเดียวเท่านั้น การเกิดขึ้นที่อาคารของกระทรวงพาณิชย์(เดิม) เป็นเพียงต้นแบบของพิพิธภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตบริเวณ เกาะรัตนโกสินทร์
ตั้งแต่ศาลฎีกา กระทรวงกลาโหม กรมแผนที่ทหารและกรมรักษาดินแดน รวมทั้งหมดประมาณ 3 แห่งด้วยกันค่ะ ที่กรุงเทพฯ

ศ.ดร.ชัยอนันต์ฯ ให้สัมภาษณ์เองค่ะ เมื่อ 19 ม.ค.2551 นี้ค่ะ

เป้าหมาย จะ พัฒนาสู่พิพิธภัณฑ์ชั้นนำในภูมิภาค พรั่งพร้อมด้วยบุคลากรที่มีความสามารถ และมีการจัดแสดงนิทรรศการอย่างมืออาชีพ
สวัสดีค่ะ คุณ โอชกร - ภาคสุวรรณ

พิพิธภัณฑ์นี้ อยู่ที่  กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถนนสนามไชย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกันได้กับสถานที่สำคัญอีกหลายแห่งที่มีความสำคัญต่อจิตใจ
 ทั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)
พระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) ค่ะ

สำหรับการเข้าชมขณะ เข้าใจว่า  ในวันธรรมดาคงเป็นโรงเรียน ซึ่งจะมีคู่มือให้ครูประสานกับบทเรียน พร้อมจัดตารางเวลา เพื่อไม่ให้คนแออัดมากนัก
และเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง มีเวลาสัมผัสกับสิ่งของ อุปกรณ์ต่างๆ
ส่วนเสาร์อาทิตย์คาดหวังว่าผู้ปกครองจะมากับลูก รวมทั้งคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว นักทัศนาจรชาวต่างชาติแวะเข้ามาชมด้วย

งานที่ดูจะหนักและเหนื่อยที่สุด   คงเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนสนใจพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
ทางหน่วยงานนี้   จะให้เยาวชนทั้ง
76 จังหวัด ได้เข้ามามีส่วนร่วมคิดและสร้างสรรค์พิพิธภัณฑ์เรียนรู้แห่งชาติและนำประสบการณ์ที่ได้รับขยายผลเป็นเครือข่ายต่อไปในอนาคต

เช่น เผยแพร่ความคิดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในบ้านเกิดของตัวเอง
นอกจากนักเรียนแล้วครูสังคมศึกษาทั่วประเทศประมาณ
8,000 คน ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการระดมความคิดว่าต้องการพิพิธภัณฑ์แบบไหน ให้เกิดขึ้นเป็นคู่ขนานไปกับการเรียนในห้องเรียนหรือหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกันไปด้วย
 
ขณะเดียวกันก็คง จะต้องให้การอบรมครูในการนำนักเรียนมาเที่ยวชมนิทรรศการเพื่อเป็นการเสริมยอดให้กับการเรียนประการหนึ่ง
อีกทั้งยังสร้างโอกาสให้เด็กที่พัฒนาการความรู้ที่แตกต่างกันเข้ามาฝึกทดลองเลิร์นนิ่งแล็บ ในพิพิธภัณฑ์ ตามสไตล์การเรียนของตัวเองอีกด้วย

ที่นี่ มีการเตรียมการเป็นระบบดีค่ะ
น่าพาลูกหลานไป แต่ จะเมื่อยหน่อยนะคะ มีหลายห้องมากค่ะ

        สวัสดีครับ
                     นี่คือสิ่งที่ประเทศไทยเรารอมานานหรือเปล่าครับ  ดีใจครับ  ๆ   ผมจะต้องหาโอกาสเข้าเมืองหลวงไปดูความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ และก็ไปดูเรื่องราวเก่า ๆ อย่างที่นี่เป็นต้นครับ
                 ขอบคุณที่นำมาให้ชมครับ
 
ในช่วงที่เริ่มมีผู้คนเข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิ เชื่อไหมคะ กรุงเทพฯยังไม่เกิดค่ะ

เพราะ เวลานั้น กรุงเทพฯ ยังอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
เมื่อ5,000 ปีก่อน ขอบอ่าวไทย กินพื้นที่ลึกเข้าไป  ไกลกว่าจุดตั้งต้นกรุงเทพฯราว 100 ก.ม. ต่อมาตะกอนดินจากแม่น้ำ ได้ทับถม ทำให้กรุงเทพนกลายเป็นแผ่นดินขึ้น เมื่อ 1000ปีกว่านี้เอง
ด้วยเหตุนี้ เมืองในยุคสุวรรณภูมิ นอกจากเมืองชายฝั่งทะเล ภาคใต้แล้ว
ยังมีเมืองที่อยู่ลึกเข้าไปถึงสุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม เมืองเหล่านี้ คือเมือง ชายทะเล ในยุคสุวรรณภูมินั่นเอง

ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
จะไปต้องแต่งตัวเรียบร้อยมากหรือเปล่าครับ? ใส่กางเกงยีนเข้าได้เปล่าครับ?
 สวัสดีค่ะคุณ สุมิตรชัย
ดีใจนะคะ ที่มาเยี่ยม
 

 ค่ะ นี่คือสิ่งที่ เป็นที่น่าดีใจ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ค่ะ

เพราะเป็นการเรียนรู้  ประวัติศาสตร์ยุคใหม่ที่กำลังจะมารวมตัวในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติแห่งนี้
และคงจะเปลี่ยนสภาพการรับรู้ของคนไทยให้ตื่นขึ้นมาจากประวัติศาสตร์ยุคเก่าได้เป็นอย่างดี

เดิมที สังคมไทย ไม่ค่อยให้ความสนใจกับคุณค่า ของพิพิฑธภัณฑ์สถานนัก  เพราะ พิพิธภัณฑ์แบบเก่า พัวพัน แต่เรื่องศาสตร์ๆ ศิลป์ๆ ที่อยู่ไกลตัวกว่า วิถีชีวิต ของผู้คนเกินไป

มักจะเป็นเรื่อง ของนักวิชาการหรือผู้มีอำนาจมากำหนด  คนท้องถิ่นจึงไม่ค่อยสนใจ
และสังคมไทยเอง ก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญ ในเรื่องวิชาการนัก พวกหนังสือพิมพ์ สื่อต่างๆ เน้น ความบันเทิงเป็นหลัก

ดังนั้น พิพิธภัณฑ์ แห่งนี้ จึงพยายามใช้เทคนิคการนำเสนอแบบใหม่ให้น่าสนใจขึ้น มีชีวิต ชีวา มีระบบการจัดให้มีองค์ประกอบ ที่ไปด้วยกันได้ อย่างลื่นไหล ทำให้ผู้ชม ไม่เบื่อ และทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วม ในการนำเสนอ นั้นด้วยค่ะ

สวัสดีครับ...ยินดีที่มีบันทึกข่าวดีอย่างนี้มาให้รู้กัน.ควรจะเป็นข่าวให้กว้างขวางกันทั้งประเทศคนไทย...มักมีเชื้อชาติไทยสัญชาติไทย..กันแต่ในทะเบียนบ้านและมักไม่ใคร่สนใจชาติตนไม่รู้เรื่องแล้วจะสอนบอกกล่าวคนรุ่นต่อไปกันอย่างไร?ความรู้ไม่สมบูรณ์. โชคยังดีที่ ชาติ ยังมีคนที่มีวิญญาณเป็นไทอยู่บ้างจึงยังประคองคนส่วนใหญ่ไว้ได้(พูดแบบไม่หวาน   คนส่วนใหญ๋ไม่ได้เรื่องหลอกครับ) เรื่องนี้สำคัญจะมีผลมากต่อไปเพราะยังไม่มีองค์กรระดับชาติออกมาพูด(ด้วยวิธีการใดก็ได้)เสียที่ทำให้เกิดการวุ่นวายจะเอาตามฝรั่งที่เขียนไว้มันทำให้ขัดแย้งเป็นสงครามได้ เราเขียนประวัติชาติพันธุ์ของเราเสียที่     ขอให้...   คนไทใจหนักแน่นมีชีวิตอย่างกว้างขวางและพอเพียง กราบขอบพระคุณ sas"da มากครับที่เก็บเรื่องสำคัญนี้มาฝาก

  •  สวัสดีครับคุณพี่ศศินันท์
  • เรื่องราวสดใหม่ สีสันน่าสนใจ ข้อมูลแน่น ตามเคยนะครับ
  • อยากพาเด็กไป  แต่คงไกลเกินฝันสำหรับโคกเพชร
  • ขอเลียบๆเคียงๆแอบๆเก็บเรื่องราวและข้อมูลภาพรวม  จากบันทึกนี้ของคุณพี่ก็แล้วกัน
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะคุณ วี वीर
เวลาจะไป ตอนเขาเปิดแล้ว ใส่กางเกงยีนส์ ไม่น่ามีปัญหา แต่เสื้อสีเรียบร้อยหน่อยก็ดีนะคะ

เมื่อ 4000 ปีก่อน พอผู้คนเริ่ม ตั้งถิ่นฐาน ก็หันมาทำกรเกษตรแล้วค่ะ
ครั้งแรกสุด กินข้าวป่า ตอนนี้รู้จักปลูกข้าวกินเอง และคนกินข้าวเหนียวก่อนข้าวเจ้าอีกนะคะ พบหลักฐานแถวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทั้วเคียว เมล็ดข้าวเหนียว  ใบมีด และกระดูกข้อเท้าควายค่ะ

%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%b4

เว็บไซดิ์ ของพิพิธภัณฑ์นี้ก็มี คือ  www.ndmi.or.th

แต่ในขณะนี้ เข้าไม่ได้ คงเพราะอาจจะยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการค่ะ

คุณ Conductor  ช่วยไปค้นมาให้ เผื่อบางท่านอยากอ่านเป็นภาษาอังกฤษค่ะ

Google เคยมองเห็นครับ คำอธิบาย NDMI ที่ Google มองเห็นจากเว็บไซต์และเก็บไว้

 Provide a general introduction to Thailand and Thai culture, which will be more specifically presented in the larger specialized museums to be developed in the future

What does it mean to be Thai? The demonstration project invites visitors to explore that question together

  • Use a multidisciplinary approach to develop content – in other words using a variety of disciplines (e.g. history, archaeology, anthropology, science) to present ideas and subject matter.
  • This allows for multiple perspectives and more inclusive understanding of the complex world we live in. Future museums will be more specialized focusing on one or two disciplines (e.g. Museum of Science).
  • Provide opportunities for training staff that will be deployed to other future specialized museums as well as offer courses for  the general public, teachers and interns from Bangkok and throughout the country.
  • Be relevant to people’s lives today, by connecting current issues and culture to those of the past.
  • สวัสดีครับคุณ Sasinanda

                    ตื่นตาตื่นใจมากครับ...รู้สึกอิ่มที่ได้แลเห็นความเปลี่ยนแปลงของพิพิธภัณฑ์แบบนี้ที่ประเทศไทย...เปิดแล้วจะต้องเข้าไปขอชมให้ได้ครับ

                                                      ขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ

    Sasinanda: ขอบคุณมากครับ ว่าแล้วก็อยากกินข้าวเหนียวครับ. น่าไปมากครับ มีเครื่องนุ่งห่มพร้อมแล้วก็เหลือแต่ว่า จะวางแผนการเดินทางอย่างไรเท่านั้นเอง

    สวัดดีค่ะ 

            ตื่นตา ตื่นใจมากค่ะ เป็นครั้งแรกที่เรามีพิพิธภัณฑ์แบบนี้
    เล่าเรื่องมาถึงอยุธยา เท่าที่ทราบมา อยุธยามียุทธศาสตร์เมืองน้ำ คืออะไรคะ ไม่เข้าใจค่ะ

     สวัสดีครับ

             ผมเป็นคนชอบแต่งกลอน และผมว่า กวีเอกๆ มาจากกรุงศรีอยุธยาทั้งนั้นเลยนะครับชอบจังครับ เรื่องประวัติศาสตร์ ถ้าเปิดเมื่อไร จะไปชมให้ได้ แล้วจะขยายไปต่างจังหวัดไหมครับ

    สวัสดีครับอาจารย์

    ผมจะรอรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอน/เงื่อนไขการเข้าชมเพื่อนำเด็กและเยาวชน(ด้อยดอกาส)ที่ปายเข้าชมครับ

    ขอคุณครับ / นายกระท้อน

     สวัสดีค่ะคุณ เดโชชัย

    คุณบอกว่า.....ยินดีที่มีบันทึกข่าวดีอย่างนี้มาให้รู้กัน.ควรจะเป็นข่าวให้กว้างขวางกันทั้งประเทศคนไทย   เราเขียนประวัติชาติพันธุ์ของเราเสียที่     ขอให้...   คนไทใจหนักแน่นมีชีวิตอย่างกว้างขวางและพอเพียง

    ค่ะ ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    และขอบคุณที่ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” (National Discovery Museum Institute : NDMI)         จะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จะทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ทีละน้อย

    โดยครั้งแรกสุด ให้เรียนรู้รากเหง้าของพวกเรา ก่อนอย่างอื่นเลยค่ะ

    %e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b9%86

    สวัสดีค่ะครูวุฒิ

    ดีใจที่ครูวุฒิ ครูในดวงใจของนักเรียนทั้งหลายมาเยี่ยมค่ะ

    จริงๆ เขาก็ยังไม่เปิด แค่ซ้อมๆ เวลาเปิดจริง จะมีเนื้อหา และมี แสง สี เสียง ประกอบมากกว่านี้แน่นอน วันที่ไป ช่างยังมาทำงานอยู่เลย พอดีโดยสารไปกับเด็กมัธยม ก็เลยได้ชมกับเขาด้วย ดีมากๆค่ะ แอร์เย็น จัดห้องแสดงก็ดี วิทยากรพาชมและอธิบายได้ดีค่ะ

    ภาระกิจของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มีหลายอย่าง แต่ที่สำคัญอีกอย่างคือ การสร้างและพัฒนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์

    และสนับสนุนให้พิพิธภัณฑ์ทุกแห่งในประเทศ มีอัตลักษณ์ของตัวเอง เป็นเสน่ห์ที่หลากหลาย มีทั้งเผ็ด มัน ร้อน เครื่องปรุงก็ต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับ สถานที่และแนวคิดของแต่ละแห่ง

    แต่ มีเป้าหมายว่า พิพิธภัณฑ์ จะต้องเป็นแหล่งเรียนรู้นอกระบบ ที่ให้บริการกับประชาชนและสังคม

    ต่อไปคนจะเลิกถามคำถามว่า.....ทำไม คนไม่เข้าพิพิธภัณฑ์ ...แต่เป็น

    ทำไม คนต้องเข้าพิพิธภัณฑ์ค่ะ

    เป็นพิพิธภัณฑ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจมากครับ ดีใจจริงๆ ที่ประเทศไทยเราเริ่มให้ความสำคัญกับการสร้างพิพิธภัณฑ์เป็นที่เรียนรู้ของคนไทยอย่างนี้ครับ

    "พิพิธเพลิน" นี้ผมต้องหาโอกาสไปให้ได้ทีเดียวครับ 

    551000000809502 

    สวัสดีค่ะ คุณพี่ Sasinanda

    มาชวนคุณพี่ไปทานอาหารกลางวันด้วยกันค่ะ โอ โฮ้ เยอะมากๆๆๆขนาดนี้สงสัยต้องชวนท่านอื่นมาช่วยกันทานค่ะ เดี๋ยวอ๋อจะอ้วนไม่ยอมลง อิ อิ

    ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ดีจังเลยค่ะ ขนาดแค่เห็นภาพยังตื่นตาตื่นใจขนาดนี้เลยค่ะ

    การไปเยี่ยมชมและเรียนรู้เรื่องราวของชาติทำให้มีรากแก้วที่แน่นและรักชาติมากขึ้นจริงๆค่ะ 

    หากคนไทยทุกคนพาลูกจูงหลานไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์แทนไปเดินห้างสรรพสินค้า ประเทศไทยเรานอกจากจะพัฒนายิ่งขึ้นแล้ววัฒนธรรมของชาติก็ไม่สูญหายแถมยังอาจทำเงินเข้าประเทศได้อีกต่างหากค่ะ

    ขอบพระคุณคุณพี่ศศินันท์ค่ะ  ที่อ๋อแปะภาพเก่งขึ้นก็เพราะมีครูดีกรุณาสอนไงคะ


    อ๋อค่ะ

    • สวัสดีค่ะพี่ศศศินันท์
    • อุ๊บ แอบชิมอาหารกลางวันก่อนเดินชมพิพิธเพลิน
    • สวยงามทั้งพื้นที่โดยรอบ
    • และหมวดหมู่การจัดแสดงก็น่าสนใจ
    • จำไม่ได้ว่าดูรายการอะไร เขาสัมภาษณ์ คนจัด
    • ดีใจได้มาเห็นในบันทึกพี่ว่าเสร็จไปหลายส่วนแล้ว
    • หลังจากเปิดอย่างเป็นทางการจะหาโอกาสไปเยี่ยมชมบ้างนะคะ
    •  ต้องขอบคุณกูเกิ้ลและหนุ่มไปรษณีย์ค่ะ ที่ทำให้ดอกทานตะวันเดินทางไปถึงพี่ได้ อิอิ

    สวัสดีค่ะ นายช่างใหญ่

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    ในการทำงานของสถาบันนี้ พวกเราอาจไม่ค่อยทราบกัน แต่ได้มีหนังสือเผยแพร่ออกมา ชื่อ ทำเนียบเครือข่าย พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ค่ะ

    คือเป็นการร่วมมือกันหมด ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนชุมชนและท้องถิ่น ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อจะต้องพัฒนาพิพิธภัณฑ์ ให้เป็นศูนยืกลางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ ค้นคว้าข้อมูล ตามอัธยาศัย สำหรับประชาชนค่ะ

    มีการจัดสัมนาเครือข่ายทั่วประเทศเลยค่ะ

    ขอสรุปแนวทางของพิพิธภัณฑ์ใหม่กว้างๆ ตามที่ท่าน ผศ.พัชรี ชินธรรมมิตร กล่าว และตามความเข้าใจนะคะ

    คือ กำเนิดพิพิธภัณฑ์ในยุคแรก เป็นเรื่องของชนชั้นกลางถึงชั้นสูง ที่ต้องการแสวงหาความรู้  และชื่นชมกับศิลปะที่หลากหลาย

    แต่บัดนี้ จุดประสงค์ของพิพิธภัณฑ์ ได้เปลี่ยนไป  แต่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย หรือ แหล่งเรียนรู้ นอกห้องเรียน เพื่อให้สังคม นั้นๆ เป็นสังคมเรียนรู้อย่างไม่จบสิ้น

    เป็นสังคม ที่หลากหลายประสบการณ์ สังคมที่รู้จักตนเองและผู้อื่น สังคม ที่เข้าใจคุณค่า ของความหลากหลาย เป็นต้น

    เข้ามาชื่นชมพิพิธภัณฑ์ใหม่เอี่ยมยังไม่ได้แกะกล่องครับ

    อ่านแล้วยิ่งทำให้รู้สึกอยากเรียนรู้มากๆครับ โดยเฉพาะกับคำถาม "ทำไม" 

    อ่านๆดูๆแล้วคงต้องใช้เวลาหลายวันจึงจะชมนิทรรศการทั่วถึงหรือเปล่าครับ

    ในอนาคตคงจะดีนะครับ ถ้ามีพิพิธภัณฑ์ลักษณะแบบนี้ของแต่ละท้องถิ่น แล้วมาแลกเปลี่ยนจัดแสดงคงจะทำให้รู้จักไทยแต้ๆกันทั้งประเทศครับ

    वीर 


     เปิดแล้วมาเลย นักศึกษาเก่งๆอย่างคุณไม่พลาดอยู่แล้วค่ะ

     จากพระราชนิพนธ์ที่ขออัญเชิญ คือ พระราชนิพนธ์ ของ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
     ที่ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาย่อมจะต้องแสวงหาความรู้หรือการศึกษาทุกรูปแบบ เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ปัญญาปัญญาจะเกิดขึ้นได้อย่างไรและโดยวิธีใด การแสวงหา "ความรู้" หรือ "การศึกษา" คงเป็นคำตอบที่ทุกคนคงกล่าวได้ตรงกัน แต่การศึกษาโดยทั่วไป มิได้มีความหมายถึงเฉพาะการไปโรงเรียน ฟังคำสั่งสอนของครู อ่านหนังสือ หรือทำการบ้านเท่านั้น
     แต่ "การศึกษา" ในที่นี้หมายถึง การที่จะได้มาซึ่งความรู้ทุกรูปแบบ ทั้งการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยด้วย ซึ่งรวมเรียกว่า การศึกษาตลอดชีวิต และควรต้องแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องจนมีบางคนกล่าวว่า ......
    "ชีวิต คือ การศึกษา และการศึกษาก็คือชีวิต" ทั้งนี้ เนื่องจากวิชาการต่างๆ ในสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าตลอดเวลา หากผู้ใดไม่แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องจะกลายเป็นผู้ด้อยการศึกษา ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราชทานเนื่องในโอกาสวันไหว้ครู ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2526 ว่า               
         " วิชาการต่าง ๆ ในสังคมทุกวันนี้ มิได้อยู่นิ่งกับที่ แต่เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาคนที่เรียน จบสูง ๆถ้าอยากจะอยู่อย่างก้าวหน้า ควรทำการค้นคว้าศึกษาเล่าเรียนต่อไป แม้จะมิใช่ การศึกษาเล่าเรียนในระบบ เช่น อาจเข้ารับการอบรมสัมมนา ฟังการอภิปราย หรือชมนิทรรศการว่ามีอะไรใหม่ ๆ การฟังข่าวสารจากวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ก็จำเป็น

    ทำให้เรารู้ว่าวิทยาการ ก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว สิ่งแวดล้อมรอบตัว เรามันไม่อยู่กับที่ เช่น เทคโนโลยีสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา "

    ดีใจที่พิพิธภัณฑ์-พิพิธเพลินนี้ใกล้จะเสร็จเปิดให้ชมได้ในอีกไม่นานนี้นะคะ

    เป็นแหล่งเรียนรู้ที่คนไทยทุกวัย ทุกอาชีพควรได้ไปเรียนรู้ โดยเฉพาะไปเรียนรู้จากการตั้งคำถามให้คิด ไปกันได้บ่อยๆ ค่อยๆชม ค่อยๆย่อย นึกถึงพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ค่ะ เขามีการให้สมัคร Friends of the Louvre เสียเงินจำนวนหนึ่ง แล้วมีบัตรที่ใช้เข้าชมได้ในหนึ่งปี จะเข้าชมกี่ครั้งก็ได้ เงินค่าสมาชิกนี้ ก็นำไปทำกิจกรรมต่างๆได้มากมาย ของเราอาจใช้ค่าสมาชิกนี้ไปช่วยให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลรายได้น้อย ได้มีโอกาสเดินทางมาชม คนไทยทุกคนควรได้มีโอกาสเข้าชมนะคะ

    เป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้ยินในช่วงนี้ค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณกฤษณา

    แฟนประจำ ณ ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง สงสัยเรื่อง อยุธยามียุทธศาสตร์เป็นเมืองน้ำ

    ตามที่ไปดูและศึกษามาจากที่พิพิธภัณฑ์นี้นะคะ

    ชัยภูมิ ของกรุ.ศรีอยุธยา เป็นเกาะ มีแม่น้ำ ล้อมรอบ 3 สาย เป็นข้อได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ และรัฐศาสตร์

    สามารถ ควบคุม เส้นทางคมนาคม และแหล่ง ทรัพยากรสำคัญบริเวณลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา โดยมีอยุธยา เป็นศูนย์กลาง

    เกาะเมือง ยังทำหน้าที่เป็นปราการป้องกันการโจมตีพระนคร จากศัตรูภายนอก และอยุธยา ยังอาศัยข้อได้เปรียบที่น้ำท่วมถึง เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมพื้นที่นอกกรุง จนข้าศึกต้องถอยกลับไป

    แต่สุดท้ายกลศึกนี้ ถูกข้าศึกแก้ได้ จนกรุงศรีอยุธยา ต้องเสียกรุงค่ะ

    น่าสนใจมากครับ...

    และที่สำคัญได้ชมก่อนที่พิพิธภันฑ์จะเปิดซะอีก...

    น่าดีใจนะครับที่จะมีพิพิธภันฑ์ลักษณะนี้ ที่จะถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน...

    เพื่อที่เราคนไทยทุกคนจะได้พูดเต็มปากซะที่ว่าเราเป็นคนไทยแท้ครับ...

    ขอบคุณมากครับ...

    สวัสดีค่ะคุณ พิเชษฎ์ คุณบอกว่า.....กวีเอกๆ มาจากกรุงศรีอยุธยาทั้งนั้นเลยนะครับชอบจังครับ
     กรุงศรีอยุธยาได้ชื่อว่าเป็น.....กรุงศรี กรุงศิลป์ --Art and Culture

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่1(พระเจ้าอู่ทอง)เป็นผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่เดิมพระเจ้าอู่ทองประทับที่เมืองอโยธยา ต่อมาก็พาคนอพยพมาสร้างเมืองใหม่ที่หนองโสน แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พ.ศ.1893

     

     ภูมิศาสตร์กรุงศรีฯ ที่มาแห่งอำนาจ ความมั่งคั่งและศิลปวิทยาการราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เติบโตและยิ่งใหญ่ เพราะมีชัยภูมิที่ได้เปรียบ ทั้งทางเศรษฐศาสตร์และยุทธศาสตร์ เป็นจุดรวมแม่น้า ถึง 3 สายคือ แม่น้าเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก  และแม่น้ำลพบุรีทำให้สามารถควบคุมการค้า ทั้งทางบกและทางเรือ จากทางตอนเหนือได้ทั้งหมด แม้แต่ในกรุงศรีฯก็อุดมสมบูรณ์ เพาะปลูกได้ดีส่วนทางทะเล ก็เป็นจุดนัดพบของทางซีกโลกตะวันออกและตะวันตก ทำให้เรือสินค้า จากนานาชาติ ใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นที่เปลี่ยนถ่ายซื้อขายสินค้านอกจากนี้
    ยังมีชัยภูมิที่เหมาะทางการศึกสงคราม มีแม่น้ำ เป็นปราการรอบด้าน ยากแก่การเอาชนะ ด้วยศึกสามัญการเป็นจุดศูนย์กลางนี้เอง ทำให้ ความมั่งคั่ง อำนาจและศิลปวิทยาการ ไหลบ่ามาสู่ดินแดนแห่งนี้

    ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๑๑๒

     แต่อีก ๑๕ ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงสามารถ กอบกู้เอกราชกลับมาได้ โดยทรงประกาศอิสสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๗ พระองค์ได้ทรงทำสงคราม เพื่อความเป็นปึกแผ่นของแผ่นดินไทย ตลอดพระชนมายุของพระองค์ ทำให้อาณาจักรอยุธยาแผ่ไปอย่างกว้างขวาง เป็นหนึ่งในสุวรรณภูมิ
    ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐กรุงศรีอยุธยาดำรงความเป็นราชธานีไทย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองจนล่วงมาถึง สมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เป็นระยะเวลา ๔๑๗ ปี นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๑๘๙๔ ถึง ปี พ.ศ.๒๓๑๐

    การที่ล่มสลายอย่างย่อยยับ   ด้วยความอ่อนแอ ของคนไทยเราเอง

    เพื่อให้เห็นภาพลักษณ์ดังกล่าว จึงขอยกเอาคำรำพึงของมหากวีเอกของไทยคือสุนทรภู่ ที่ได้บรรยายไว้ในนิราศพระบาทถึงสภาพของ กรุงศรีอยุธยาไว้บางตอนดังนี้


    ........... ดูปราสาทราชวังเป็นรังกา ดังป่าช้าพงชัฏสงัดคน
    อนิจจาธานินสิ้นกษัตริย์ เหงาสงัดเงียบไปดังไพรสณฑ์
    แม้กรุงยังพรั่งพร้อมประชาชน จะสับสนแซ่เสียงทั้งเวียงวัง
    .................................
    ........... ดูพาราน่าคิดอนิจจัง ยังได้ฟังแต่เสียงสกุณา

     ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มีวรรณคดีชั้นเยี่ยมหลายเรื่อง ......
    เช่น ลิลิตพระลอ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง   ลิลิตยวนพ่าย  สมุทรโฆษคำฉันท์    อนิรุทธคำฉันท์แต่งโดยศรีปราชญ์
    ส่วนสมัยศรีอยุธยาตอนปลาย ก็มีอีกหลายท่าน เช่น เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ ค่ะ 

    สวัสดีค่ะคุณพี่ Sasinanda

    ต่อไปอ๋อเลิกเสียตังค์ ซื้อ นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรมทุกเดือนๆแล้วค่ะ

    มาอ่านหาความรู้ด้วยศิลปวัฒนธรรมฟรี กับคุณพี่ Sasinanda  ดีกว่าค่ะ

    อยากเก่งๆมีความรู้เยอะๆทั้งทางโลก ทางธรรม แบบคุณพี่ บ้างจังเลยค่ะ

    คิดถึงจังค่ะ

    อ๋อค่ะ 

    %e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a9%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b8%b4%e0%b8%87

    ตัวอย่างงานศิลปะ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

    สวัสดีค่ะ Mr. Kraton Pai

    ดีจริง ที่คุณกระท้อนวางแผนจะพาเด็กเข้าชมแล้ว เด็กๆคงดีใจกันมากค่ะ

    คราวนี้ จะตอบคำถามเด็กๆได้เสียทีว่า.........ทำไมจึงเรียกชาวตะวันตกว่า ฝรั่ง” ?

    ทำไมอักษรไทยที่เดิมโบราณมี 38 ตัวจึงได้กลายเป็น 44 ตัวในปัจจุบัน?

    ทำไม คนไทยถึงถูกเรียกว่าชาวสยาม”?และเคยรู้บ้างหรือไม่ว่า เพลงชาติไทยนั้นมีถึง 7 เพลงเลยทีเดียว

    ที่นี่ดีค่ะ  เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตชีวา


    ศ.ดร.ชัยอนันต์ฯ ท่านเคยยกตัวอย่าง  พิพิธภัณฑ์แบบนี้    เช่น พิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์ของอเมริกา เด็กๆ สามารถขึ้นไปบนรถม้าที่นำส่งถุงเมล์ได้

    หรือในอังกฤษมีการทำเสื้อผ้าสมัยวิกตอเรียนให้เด็กลองสวมใส่ได้

    ขณะที่ในนิวซีแลนด์มีแผนที่พร้อมคำถามให้เด็กๆ ตอบ ในการเดินผ่านที่จำลองภูมิประเทศ สัตว์ทะเล พรรณไม้ เป็นต้น
    ศ.ดร.ชัยอนันต์ ได้กล่าวตอนหนึ่งในงานเขียนเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ว่า

    ไทยเรามีของดีๆ มากมาย บ้านเมืองของเราเต็มไปด้วยสถานที่ และชุมชน

    ที่ในตัวของมันเองก็มีลักษณะเป็นแหล่งเรียนรู้อยู่แล้ว เช่น ชุมชนมอญ ชุมชนคนจีน เป็นต้น

    ผมคิดว่าพิพิธภัณฑ์ไม่จำเป็นจะต้องเป็นอาคารใหญ่ๆ เราสามารถส่งเสริมให้ชุมชนจัดทำพิพิธภัณฑ์ไว้ในชุมชนนั้นเองได้ โดยเฉพาะถิ่นเยาวราช น่าจะมีพิพิธภัณฑ์แสดงความเป็นมาของชุมชนชาวจีนไว้ที่เยาวราช เวลามีคนไปเยาวราชก็แวะดูพิพิธภัณฑ์ เดินออกมาก็สัมผัสกับชีวิตจริง
    สวัสดีครับ 
            ที่บอกว่า.....พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ไม่ได้มีเพียงแค่แห่งเดียวเท่านั้น การเกิดขึ้นที่อาคารของกระทรวงพาณิชย์(เดิม) เป็นเพียงต้นแบบของพิพิธภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตบริเวณ “เกาะรัตนโกสินทร์” ตั้งแต่ศาลฎีกา กระทรวงกลาโหม กรมแผนที่ทหารและกรมรักษาดินแดน รวมทั้งหมดประมาณ 3 แห่งด้วยกัน
    ทราบไหมครับว่า จะเปิดเมื่อไร

    สวัสดีค่ะ 

                อยากให้เล่าย่อๆถึง ประวัติศาสตร์ตอนนี้ค่ะ   จากบางเกาะเป็นบางกอก : พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของคนสยามในลุ่มน้ำลำคลอง 

    สวัสดีค่ะ  ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์

    อย่างที่อาจารย์ เคยพูดถึงในบันทึกของอาจารย์เองว่า

    ข่าวดีรับปีใหม่ของชาวอเมริกัน คือ ในปีที่ผ่านมาคนอเมริกันกว่า 53 เปอร์เซ็นต์ได้ใช้งานห้องสมุด นั่นคือประชากรกว่า 150 ล้านคนเชียวนะครับ

    ไม่แปลกใจที่เห็นสังคมอุดมปัญญาของอเมริกาครับ

    ที่น่าสนใจคือ คนยุคใหม่ (Generation Y) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากและเติบโตมากกับเทคโนโลยีต่างๆ กลับเป็นกลุ่มที่มีการใช้งานห้องสมุดมากที่สุด

    กลุ่มนี้เป็นกลุ่ม "ผู้หิวสารสนเทศ" (information hunger) ซึ่งเป็นความหิวที่ดีครับ ยิ่งหิวมากก็ยิ่งรู้มาก มีความรู้มากก็ย่อมไม่ตกเป็นเหยื่อทางสังคม

    บันทึกนี้ ของพี่ คงเป็นข่าวดี ที่ฟังแล้ว สบายใจขึ้นนะคะ

    และจากกรุงเทพฯ ก็จะมีการขยายเครือข่าย ไปทุกจังหวัด ตามความเหมาะสมค่ะ ซึ่งสงขลา หาดใหญ่ น่าจะเป็น จังหวัดแรกๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง ในด้านพิพิธภัณฑ์ เกิดขึ้นค่ะ

    ถ้า มากรุงเทพฯ ตอนที่เขาเปิดเป็นทางการแล้ว น่ามาเที่ยวชม นะคะ

    • สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์
    • อยากให้มีพิพิธภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบที่สามารถให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย   แบบนี้มานานแล้ว 
    • จะพยามหาโอกาสพาเด็ก ๆ ไปศึกษาค้นคว้าบ้าง
    • ขอบคุณมาก ๆ ค่ะสำหรับข้อมูลที่นำเสนอ

    สวัสดีค่ะคุณหมอnithimar

    ขอบคุณอาหารกลางวัน ที่น่าทานมากๆค่ะ จะเหลือหรือนี่......อิๆๆๆ

    ที่นี่ไม่ได้ทำพิพิธภัณฑ์แบบแยกส่วน ที่พอใจแค่คนมาดู

    แต่เขาต้องดำเนินกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์ เช่นปาฐกถา สัมมนา กิจกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่นำเสนอ

     และไม่ใช่การเสนอนิทรรศการแบบไฮเทคที่แค่ให้คนมากดปุ่มได้ มีเสียง มีภาพ แต่องค์ประกอบทุกส่วนต้องเดินทางไปด้วยกัน ดีทีเดียวค่ะ รูปแบบใหม่นี้

    นำภาพขุนศึก ของกรุงศรีอยุธยามาฝากค่ะ ดูขึงขังดี มีหุ่นจำลองการชนช้างด้วยนะคะ

    สวัสดีค่ะ คุณnaree suwan

    คุณอ๊อด น่ารักจัง ทำความประหลาดใจให้พี่มากค่ะ แต่addressใม่ให้ไปแล้วนะคะ

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    เดิม กิจกรรมพิพิธภัณฑ์สถานอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร เพียงหน่วยงานเดียว และสาระที่นำเสนอ จะเป็นเรื่องของศิลปกรรมในประเทศไทย คือ ทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ แต่ต่อมา ได้มีความตระหนัก ในเรื่องเนื้อหา ที่หลากหลายมากขึ้น เช่นเรื่อง ชาติพันธุ์ ชีวิตชนบท ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นต้น

    ในช่วง 20-30 ปีนี้ เกิดกระแส การทำพิพิธภัณฑ์ โดยเอกชนมากยิ่งขึ้นค่ะ เช่น พิพิธภัณฑ์ผ้า พิพิธภัณฑ์แมลง พิพิธภัณฑ์หยก พิพิธภัณฑ์เครื่องถม พิพิธภัณฑ์กลุ่มชนต่างๆเช่น มอญ กะเหรี่ยง และตลาดเก่า บางแห่ง กลายเป็น ชุมชนพิพิธภัณฑ์ เช่น ตลาดสามชุก เป็นต้นค่ะ

    ไม่ทราบคุณอ๊อด จะแนะนำพิพิธภัณฑ์ ที่ต่างจังหวัดที่คุ้นเคย ไหมคะ

    นำภาพ ความรุ่งเรืองสมัยยุคทองของกรุงศรีอยุธยามาฝากค่ะ และเป็นช่วงนานถึง 400กว่าปีค่ะ

    สวัสดีค่ะ ว่าที่ ร.ต. วุฒิชัย สังข์พงษ์

     อ่านแล้วยิ่งทำให้รู้สึกอยากเรียนรู้มากๆครับ โดยเฉพาะกับคำถาม "ทำไม"

     คนไทย โดยทั่วไป มักไม่ชอบคำถามว่า ทำไม บางที ก็ตอบ ไม่ตรงคำถาม ซึ่งอาจจะเป็น ส่วนหนึ่งของแบบแผนความสัมพันธ์ทางสังคมที่สอดคล้องกับแบบแผนความสัมพันธ์ในรูปอื่นๆ ของคนไทยด้วย

     เพราะการตอบให้ ตรงคำถาม คือการประกาศจุดยืน หรือ ไม่แน่ใจว่าจะตอบอย่างไรดี นั่นเอง

     ในประเด็นที่เรากำลังพูดถึงนี้ คือความชัดเจน (คนไทย = คนเชื้อชาติไทย) หรือสับสนลังเล (คนไทย = คนสัญชาติไทยหรือเชื้อชาติไทยกันแน่)

    เราจึงต้อง มาทำความรูจัก ความเข้าใจ กับความเป็นมา ของพวกเรา ตั้งแต่ สมัยหิน เราต้องเรียนรู้เรื่องของเราเองก่อน ที่จะไปเรียนเรื่องของคนอื่น เช่น น่านเจ้า

    เราต้องรู้รื่อง ประวัติของเชื้อชาติของเรา(history of the Thai race) ให้ดีก่อนจะไปรู้เรื่องของคนอื่นเขาค่ะ ที่นี่ ให้คำตอบกับเราได้ค่ะ เพราะสืบสาวราวเรื่อง มาตั้งแต่ 500,000ปีที่แล้ว คือ....

    โฮโม อิเร็คตัส ที่ค้นพบได้จากจังหวัดลำปาง น่าจะได้รับการขนานนามว่า “ มนุษย์สยาม “ (Siam Man) “ มนุษย์ลำปาง ” ( Lampang Man ) หรือ “ มนุษย์เกาะคา ” (KO-KHA Man) ตามแหล่งที่ค้นพบ

    สวัสดีครับพี่ศศินันท์

    วันนี้ดีใจมากครับที่เข้า gotoknow ได้เป็นปกติ และสามารถขีดเขียน ทักทายบุคคลที่ผมระลึกถึงได้ตามที่ต้องการ 

    พิพิธเพลิน...น่าสนใจมากๆครับ คงต้องหาโอกาสไปชมให้ได้ และที่สำคัญต้องช่วยกันบอกต่อ

    หากถามผมในอดีตว่า ทำไม...ไม่ชอบเรียนประวัติศาสตร์ ผมจะตอบว่าเป็นวิชาที่น่าเบื่อ ทำไมต้องมาี่จำ แล้วก็จำแต่เรื่องเก่าๆ พอไปทัศนศึกษาก็ต้องจดแล้วก็จดเอามาทำรายงาน เป็นความทรงจำที่ไม่สนุกเลยสำหรับเด็กๆ

    แต่ถ้าเราเข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กๆ มีกระบวนการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางน่าจะ
    ทำให้เด็กไทยใช้ประโยชน์จากวิชาประวัติศาสตร์ได้มากกว่าในอดีต

    ขอบคุณมากครับ 

    น่าไปดูมากค่ะ ทราบข่าวมานาน ถ้าเปิดเป็นทางการเมื่อไหร่ต้องพาหลานไปชัวร์ อันที่จริงแล้วเคยพาหลานไปที่นี่นะคะ น้องชายพาหลานไปเข้ากลุ่มทำกิจกรรมขุดค้นทางโบราณคดีสำหรับเด็กเมื่อปีที่แล้ว ตอนนั้นเขายังอายุไม่ถึงแต่ก็ได้ไปขุดๆ แซะๆ เล่นตามพี่โตทั้งหลายเพราะว่าเพื่อนน้องทำการขุดค้นอยู่ที่นั่นค่ะ ^ ^ เลยอนุโลมให้ แต่ก็ไม่รู้เรื่องเท่าไหร่ ได้แต่ความประทับใจกลับมา แต่ก็แปลกเขาบอกว่าเขาไม่อยากเป็นนักโบราณคดี เขาอยากเป็นนักธรณีวิทยา เออแฮะ - - "

    ปล. ที่นั่นเป็นวังเก่าตั้งแต่สมัยร.1 แล้วปลูกทับกันประมาณสามสมัย เลยมีการทำสำรวจขุดค้นค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณนายดอกเตอร์

    อาจารย์บอกว่า.....เป็นแหล่งเรียนรู้ที่คนไทยทุกวัย ทุกอาชีพควรได้ไปเรียนรู้ โดยเฉพาะไปเรียนรู้จากการตั้งคำถามให้คิด ไปกันได้บ่อยๆ ค่อยๆชม ค่อยๆย่อย

    พี่เคยอ่านบทความอยู่ชิ้นหนึ่ง เขามีการสำรวจ คนหนุ่มสาวปัจจุบันสำหรับผู้ที่ยืนยันว่าตนเป็นไทย และอยากเป็นไทยสืบไปเบื้องหน้า- หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือผู้ที่กระจ่างชัด เรื่องเอกลักษณ์แห่งชาติ (national identity) ของตัว เขาเขียนว่า......

    หลักหมาย "ความเป็นไทย" ที่พวกหนุม่สาวกลุ่มที่ ถูกสัมภาษณ์  ยึดมั่น ความเป็นไทย และเชื่อมโยงเข้ากับตัวเองมี 2 ประการ คือ

    1) พระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน

    และ 2) ระบอบการปกครองเสรีประชาธิปไตย

    บางคน มีท่านพุทธทาส เป็นหลัก ที่เขาเชื่อมโยงเป็นหลักยึดในชีวิตด้วย

    และอีกเรื่องหนึ่งคือ  เรื่องความเป็นไทย มีการสอบถามความเห็น.......และมีผู้ตอบว่า.....

    คน ที่ 1 ตอบว่า: "ตามความคิดของข้าพเจ้าแล้วคิดว่าตนเองเป็นคนไทย ตามความหมายของเชื้อชาติและชาติพันธุ์เพราะบรรพบุรุษของต้นตระกูลทุกคนเป็นไทยแท้หมด ไม่มีใครมีเชื้อสายอย่างอื่น"

    คนที่ 2  ก็ลังเลว่า: "เป็นคำถามที่หาคำตอบได้ยากเพราะไม่ปรากฏคำนิยามที่แน่นอนว่าคนไทยมีลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างไร โดยส่วนตัวถ้าเอาในแง่เชื้อชาติก็ไม่ใช่คนไทยแล้ว (เพราะมีเชื้อชาติจีนผสมอยู่ด้วย 25%)..."

    คนที่ 3 ตอบว่า : "เขาคิดว่าตนเองเป็นคนไทยเพราะเกิดบนแผ่นดินไทย พูดภาษาไทย พ่อกับแม่ก็เป็นคนไทย ถึงแม้ว่าในสายเลือดจะไม่ใช่ไทย 100% ก็ตาม..."

    นี่คือความไม่ชัดเจน เรื่อง นิยามความเป็นไทย ของเราเองค่ะ

    แต่ จากที่นี่ พี่ว่าเราจะชัดเจนขึ้น เพราะเขามีการ ศึกษาและมีหลักฐานค่ะ ต้องไปดู และเราเอากลับมาคิดดูเองด้วย

    แต่อย่างไรก็ตาม ความรักในความเป็นเพื่อนมนุษย์ ร่วมแผ่นดินเกิด มีภาษาพูดอย่างเดียวกัน มีวัฒนธรรม ประเพณีหลักๆ อย่างเดียวกัน  ก็จะเป็นหลักยึด ที่แข็งแกร่ง อีกอย่างหนึ่งแน่นอน

    ที่พูดถึงหลักหมาย  เรื่องความเป็นไทย 

    คิดว่า คนไทยก็อยู่ในระดับยอดเยี่ยมนะคะ

    เพราะ ในเรื่อง อิสระสเรีภาพ  ประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความเป็นอิสระเสรีสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

    และเรื่อง ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน

    กับการยอมรับเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

    ก็ดีค่ะ ถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆหลายประเทศ

    ดิฉัน มีเชื้อจีน แต่มีความเป็นคนไทย 100%ค่ะ รักประเทศไทยค่ะ

    ตามเข้ามาติดๆ เพื่อนกันค่ะ

    ดิฉันกำลังเรียนหนังสือว่า......

    ประเทศไทยเริ่มแปลงโฉมครั้งใหญ่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สี่ เพื่อให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคม

    และก้าวสู่ความเป็นแบบตะวันตก  แต่ยังคงเอกลักษณ์ของตนไว้ การสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติหรือสิ่งที่เรียกว่า "ความเป็นไทย" ดำเนินไปพร้อมกับการปฏิรูปประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ-การเมือง-สังคม 

    ดิฉันเรียนไป ภูมิใจไปค่ะ ประเทศเรา อยู่รอดปลอดภัยมาจนทุกวันนี้ เป็น ความโชคดีอย่างมหาศาล และเราเป็นหนี้บุญคุณบรรพบุรุษ อย่างเป็นที่สุดค่ะ

    ดิฉัน รักความเป็นคนไทยมากที่สุดค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ Mr.Direct

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    ที่พิพิธภัณฑ์ นี้ แสดงรายละเอียดให้เราชม แบบแผนของการดำรงชีพและสังคม ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาเลยค่ะ

    ซึ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็จะแยกดังนี้ค่ะ

    1.สมัยชุมชนล่าสัตว์ หาของป่า มีการพบแหล่งโบราณคดีอยู่หลายแหล่งค่ะ เช่น ที่แม่ทะ จ.ลำปาง ที่นี่มี การพบ โครงกระดูกมนุษย์ลำปาง มีอายุตั้ง500000 ปีมาแล้ว และพบเครื่องมือสมัยหินที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย  ที อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน และที่ อ.เมือง จ.กระบี่ ก็มีค่ะ

    2.สมัยหมู่บ้านเกษตรกรรม

    3.สมัยสังคมเมือง

    วันนี้มีรูป ที่อยากมาฝากมากค่ะ คือ สมัยอยุธยานั้น มีการเก็บอากรค่าน้ำกันด้วยนะคะ

    อาหารหลักของชาวกรุงศรีฯคือข้าว กับ ปลา ทุกบ้าน มีเครื่องมือจับปลา

    ราชการจึงหาช่องทาง หารายได้เข้ารัฐ โดยเปิดประมูลค่าน้ำเป็นรายปี ผู้ประมูลได้ จะรั้ง ตำแหน่ง นายอากร ค่าน้ำ มีหน้าที่เรียกเก็บค่า ธรรมเนียม เครื่องมือจับสัตว์น้ำกับราษฏร ตามอัตราที่รัฐกำหนดค่ะ

    • กราบสวัสดีครับ.พี่ Sasinanda แวะเข้ามาเยี่ยมแสดงความคาราวะและยินดีอีกวาระครับ. บันทึกนี้ได้รับการตอบรับจากคนไทยในสังคมG2Kดีมากใน ทัศนะของกระผม คงเพราะผู้บันทึกแสดงชัดถึงความตั้งใจ(เป็นตัวอย่าง)และเป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้สึกของคนไทยที่เป็นคนไททั้งหลาย หากไม่เรียนรู้รากเหง้าของตนเป็นเบื้องต้น ยากนักที่จะสำเร็จในเบื้องปลาย..........คนที่ 4 ตอบว่าแม้ว่าคนรุ่นปู่ทวด รุ่นทวดและรุ่นปู่ตา จะมิใช้ไทยอยุธยาสุโขทัยไทยทวาราวดีศรีวิชัยหรือขอมไท แต่แผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินของผู้ที่ไม่ยอมตกเป็นทาศร่วมกันสร้างมา  หากเจ้ามีวิญญาณที่เป็นไทแล้วเจ้าย่อมเป็นคนไทย...ไม่ว่ามีเชื้อชาติศาสนาใดหากมีวิญญาณที่รักในอิสระและศานติเจ้าเป็นคนไทย. กระผมมั่นใจว่าพี่ Sasinanda เป็นคนไทแน่ๆ ครับ ( ท้ายนี้กราบฝากให้พี่กรุณาพิจารณา หากเราไม่ทำความเข้าใจคำว่า"ไท"นี้ให้ดีแม้จะมีชาติเชื้อสืบไปก็ไร้ความหมาย.  ไทเป็นกันที่วิญญาณไม่ใช้เปลือก)

    สวัสดีครับคุณพี่ศศศินันท์

    ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆ แบบละเอียดของพิพิธพัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาตินะครับ ผมชอบที่เขาใช้วิธีการเล่าเรื่องเหมือนที่คุณพี่ชอบนะครับ ผมม้นช่วยให้จดจำได้ และสนุกด้วย อ่านบันทึกและดูรูปไปพร้อมๆ กันก็รู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ถ้าเปิดจริงต้องไปดูให้ได้เลยครับ

    ผมสงสัยว่าทางพิพิธพัณฑ์เขาสรุปไหมว่า "ไทย" หรือ "ไท" คืออะไร เริ่มนับว่าเป็นไทยตอนไหน เพราะผมเข้าใจว่าเราเองก็มีวัฒนธรรมผสมผสานกับจีน อินเดีย และประเทศเพื่อนบ้านมากมาย ไม่ว่าจะด้านภาษาและคติความเชื่อ ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะมันมีการเดินทางติดต่อ เชื่อมโยงกันอยู่ วัฒนธรรมที่มันไม่ตาย มันก็เปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ

    ผมเองเริ่มถามตัวเองว่าคนไทย คือใคร ก็เมื่อต้องมาอยู่ในดินแดนที่มีหลากหลายชาติพันธุ์นี่ละครับ ตอนอยู่เมืองไทยไม่ค่อยจะสนใจ คงเพราะผมโตในเมืองด้วย วัฒนธรรมต่างๆ ก็ไม่ค่อยได้ใกล้ชิด พอได้มาอยู่ต่างที่ มันเหมือนเป็นการเรียนแบบถอยหลังครับ คือรู้จักตัวเอง เพราะเห็นว่าเราต่างกับคนอื่นอย่างไร มันชัดเจนมากขึ้นว่าเราใช้ชีวิตไม่เหมือนเขา เรามองสิ่งต่างๆ ให้คุณค่ากับสิ่งรอบตัวต่างกับเขา

    ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีค่ะคุณหมอ  nithimar

    อ่านที่ชมแล้ว เขินค่ะ พี่ไม่ได้ มีความรู้อะไร มากมายหรอกที่จริง

    แต่เป็นคนชอบ ถาม ทำไมๆๆๆ กับทุกเรื่อง มาตั้งแต่เด็ก ถ้าผู้ใหญ่ตอบไม่ได้ หรือ เรายังไม่อิ่มในคำตอบ เราก็หา คำตอบเอง บางที ก็หานานเหมือนกัน สนุก ในการค้นหา สนุกในการคิด ค่ะ ไม่เบื่อเลยนะคะ เกิดมาไม่รู้จักคำว่า เหงา เพราะมีอะไรทำอยู่ตลอดเวลา ชีวิตไม่เคยว่าง

    ถ้าจะใช้คำว่า ว่าง กับการศึกษาธรรมะ ก็ไม่ใช่อีก เพราะ เรากำลังศึกษาจิตและศึกษาตัวเอง จะเรียกว่า ว่างไม่ได้อีก จริงไหมคะ

    คำว่า จิตว่าง คือ คำที่แสดงว่า จิตเราสงบ หลุดพ้นจากฝุ่นละอองที่มาเกาะ มาทำจิตเราเปื้อนและทำให้จิตมัวหมอง แม้จะชั่วคราวก็ยังดี  ถ้าจะให้เกิดปัญญา ต้องทำ จิตให้ว่าง แน่นอน แบบที่ครูบาอาจารย์ สอนกันมาค่ะ

     

    จากที่ได้ไปชมพิพิธภัณฑ์นี้มา มีอีกสิ่งหนึ่ง ที่สำคัญ คือเรื่องพุทธศาสนา

    คนที่สุวรรณภูมิ นับถือศาสนาอื่นมาก่อน ที่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่ศาสนาพุทะ เป้นศาสนา ที่ได้มีการนำเข้ามา ริเริ่ม ส่งเสริมและอุปถัมภ์ โดยผู้มีอำนาจในแผ่นดินสมัยนั้น

    ใจบ้าน ใจเมือง เป็นคติความเชื่อ อย่างหนึ่ง ที่กลุ่มชนชาติพันธุ์หลากหลาย ในแหลมทองมีอยู่ร่วมกัน เช่นกลุ่ม มอญ เขมร กลุ่มไท เป็นต้น

    มีเรื่องของ คติ การปลูก เสาเมือง ซึ่งมีกำเนิดมาจาก อัสสัม ยูนนาน และเวียตนาม มีมาก่อนกำเนิดรัฐไท ในพื้นที่ ตอนล่าง คือ สุโขทัยและอยุธยาค่ะ

    แม้แต่ ศาลหลักเมือง ที่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ก็เป็นวัฒนธรรมที่ส่งต่อๆกันมาค่ะ

    วันนี้ นำรูปมาฝากค่ะ เป็นรูปแผนที่ แสดงถึงดินแดนสุวรรณ(พรรรภูมิเ)ดิม จนมาถึงอยุธยาค่ะ

    ที่น่าสนใจ คือเรื่อง พระเจ้าอู่ทอง ผู้สถาปนา กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี

    มีทั้งตำนาน ทั้งหลักฐาน ทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์มากมายค่ะ น่าสนใจ น่าไปเรียนรู้ค่ะ

     อ่านดูตาม ลิงค์ นี้ก็ได้ค่ะ กรุงศรีอยุธยาคงมีพัฒนาการทางสังคมความเจริญถึงระดับความเป็นเมืองก่อนปี พ.ศ. ๑๘๙๓ แน่นอน และเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้อิทธพลทางการเมืองของเมืองลพบุรีด้วย ในช่วงแรกสันนิษฐานว่าศูนย์กลางเมืองอาจอยู่บริเวณวัดพนัญเชิง หรือพุทไธสวรรค์ แล้วต่อมาในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ คงเป็นเพียงปีที่พระเจ้าอู่ทองย้ายศูนย์กลางของเมืองหรือย้ายพระราชวัง เท่านั้น

    สวัสดีค่ะคุณ  เค

    คุณเค ถามว่า

    การเกิดขึ้นที่อาคารของกระทรวงพาณิชย์(เดิม) เป็นเพียงต้นแบบของพิพิธภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตบริเวณ เกาะรัตนโกสินทร์ตั้งแต่ศาลฎีกา กระทรวงกลาโหม กรมแผนที่ทหารและกรมรักษาดินแดน รวมทั้งหมดประมาณ 3 แห่งด้วยกัน
    ทราบไหมครับว่า จะเปิดเมื่อไร

    คงอยู่ในระหว่าง ดำเนิการ ดิฉันก้ไม่ทราบค่ะ แต่จะไปหาข้อมูลมาให้ค่ะ

    สวัสดีค่ะ พี่ P

     

    ขอบพระคุณพี่มากๆ เลยค่ะ ที่ชวนมาเที่ยว และเปิดหู เปิดตา ไม่งั้นคงไม่มีโอกาสรู้อะไรดีๆ ก่อนคนอื่น

    พิพิธภัณฑ์นี้น่าสนใจมากนะคะ คงทำให้เราเข้าใจความเป็นคนไทย มากขึ้น  เพราะจะไ้ด้ข้อมูลย้อนหลังไปลึกมากทีเีดียว

    คำว่า สุวรรณภูมิ ที่เราใช้แทนแหลมทองของไทยทุกวันนี้ ก็คงมาจาก สุพรรณภูมิ นี่เองนะคะ 

    สวัสดีค่ะ คุณพี่ Sasinanda

    ช่วงเวลาที่เราได้ทำอะไรแล้วเราสบายใจ มีความสุข เป็นตัวเองจะรู้สึกดีที่สุดเลยนะคะ  บ่ายนี้ทานบัวลอยไข่หวาน ขนมไทยๆด้วยกันนะคะ

    อ๋อค่ะ

    Image23

    สวัสดีค่ะคุณยุ้ย

    เรื่อง บางเกาะ มากลายเป็นบางกอก ขอเล่า ตอนหน้านะคะ ตอนนี้เล่าตามที่ไปดูมาแค่ ยุคอยุธยาก่อนค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณRAK-NA

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ พิพิธภํณฑ์นี้จะเปิด เม.ย.นี้ น่าพาเด็กๆไปดูค่ะ ติดต่อเข้าไปก่อนนะคะ

    "อยุธยา" เป็นเมืองหลวงของสยามประเทศนานถึง 417 ปี

    จนถึงปี 2551 นี้อยุธยาก็ยังเป็นเมืองสำคัญของประเทศ ที่ต้องรับรองนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปี เพราะเรื่องราวความเป็นมาในหน้าประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตของผู้คนที่ยังคงฉายผ่านร่องรอยที่แม้ปัจจุบันจะเห็นเป็นเพียงซากโบราณสถานก็ตามที

    อยุธยาเป็นเมืองเก่าแก่ และมีของดีมากมายค่ะ

    ด้วยเหตุนี้เองที่องค์การยูเนสโกรับเอานครประวัติศาสตร์แห่งนี้เข้าไปอยู่ในรายชื่อเมืองมรดกโลกตั้งแต่ 15 ปีก่อน   เป็นมรดก ทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์

    โดยได้รับการพิจารณาตัดสิน  จากคณะกรรมการมรดกโลกแห่งองค์การสหประชาชาติ (องค์การยูเนสโก) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534

    นับว่าเป็นเกียรติภูมิอย่างยิ่งของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่จะต้องจัดให้มีงานประเพณีเฉลิมฉลองขึ้นเป็นประจำทุกๆปี ซึ่งในแต่ละปีได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

    วันนี้นำรูป เรือสำเภาราชฑุตฝรั่งเศส ชื่อเรือลัวโซ   นำคณะราชฑุตฝรั่งเศสมา ทำสัญญาทางพระราชไมตรี ด้านศาสนาและการค้า ในสมัยพระนารายรณ์ พ.ศ. 2228 มาให้ชมค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ  ข้ามสีทันดร


     ดีใจจังที่เข้า g2kได้แล้ว พี่ก็แวะไปที่บล็อกคุณบ่อยๆค่ะ

    วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ออกน่าเบื่อจริงๆค่ะ เด็กๆได้แต่จดๆ  ท่องจำ และทำรายงาน มันไม่สนุกเลย

    แต่การเรียนรู้แบบใหม่นี่ เขาจะพยายามทำไห้การเรียนประวัติศาสตร์ ไม่น่าเบื่ออีกต่อไปค่ะอย่าลืมไปชมให้ได้นะคะ และเอามาบอกเล่าต่อๆกันด้วยค่ะ

    มีเรื่องที่น่าสนใจสำหรับคุณด้วย คือเรื่องศาสนาค่ะ.....

    รากเหง้าแห่งความเชื่อ ของคนไทย คือ ผี พุทธ พราหมณ์นะคะ

    ผี เป็น เรื่องของพิธีกรรมเพื่อชีวิต ผี เป็นความเชื่อดั้งเดิมจริงๆ ของชนชาติในสุวรรณภูมินี้ค่ะ

    เช่นผีฟ้า ผีดิน ผีบ้าน ผีป่า ผีเมือง  คือ Animism ---The religion of Suvarnabhumi

    ต่อมาเป็นพราหมณ์ ผู้สร้างสถาบันกษัตริย์--Brahmins and

    Royalty

    ต่อมาเป็นพุทธศาสนา--Budhism---The great Unifier--

     เข้ามาครั้งแรก บริเวณเมืองอู่ทอง แถวๆ แม่น้ำแม่กลองและท่าจีน

    ถือว่า กษัตริย์ เป็นสมมุติราช เป็นผู้มีบุญบารมีมาแต่ปางก่อน มาเพื่อนำหลักธรรมของศาสนามาปกครองประชาชน ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข

    ถ้าอยากทราบอย่างละเอียด ต้องไปชมเองค่ะ

    สวัสดีค่ะน้อง  Little Jazz \(^o^)/

    เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ พี่ชอบค่ะ แต่ไปไม่ถึงพวกโบราณคดีอะไรค่ะ ต้องเป็นspecialistลงลึกไปในด้านนี้ จริงๆ

    อ่านมาพอควร แต่ยังไม่มาก ถ้าเทียบกับน้องซูซานค่ะ มีอะไรที่น่าจะเพิ่มเติม ช่วยเพิ่มด้วยค่ะ

    จริงๆ แค่เล่าย่อๆ จริงๆ ต้องไปดูกันเองค่ะ

    วันนี้ขอนำรูป นางสาวสยาม มาฝากค่ะ นานมากๆ ตั้งแต่ พวกเรายังไม่เกิด แต่ดูแล้ว สวยมากนะคะ

    พี่จะนำไปเล่าต่อตอนหน้าค่ะ นี่ แค่ น้ำจิ้ม

    มีเรื่องเก่าๆจากพิพิธภัณฑ์ เยอะเลย ย้อนยุค ทั้งนั้น น่าไปดูจริงๆค่ะ........

    ประกวดในปี2580 นั้น มีอดีตนางสาวสยามถึง 2 พ.ศ. กลับมาร่วมประกวดด้วยอีกครั้ง คือ คุณวณี เลาหเกียรติ์ นางสาวสยาม 2478 และคุณวงเดือน ภูมิรัตน์ นางสาวสยาม 2479 ในขณะที่สาวงามอีกคน คือ คุณพิศมัย โชติวุฒิ ผู้ซึ่งอนาคตคือนางสาวสยาม 2481 ก็เข้าร่วมประกวดในปีนั้นด้วย รวมทั้งผู้เข้าประกวดที่เป็นเจ้าของมงกุฎนางสาวสยาม 2480 นั่นคือ คุณมยุรี วิชัยวัฒนะ

    นับเป็นการประกวดปีที่รวมเอานางสาวไทยไว้บนเวทีเดียวกันได้มากที่สุดถึง 4 คน ทั้งอดีตนางสาวไทย นางสาวไทยปีปัจจุบัน และว่าที่นางสาวไทยในอนาคต

    ในรูป ที่เห็นสวยที่สุด คือคุณวงเดือน ภูมิรัตน์

     

     

    สวัสดีครับพี่P

    65. Sasinanda 
     เข้ามารับความรู้เพิ่มเติมครับ ขอบคุณครับ

    สวัสดีค่ะคุณ พรรณี

     ขอบคุณที่สนใจและมาอ่านค่ะ

    คุณบอกว่า.....

    เรื่องความเป็นไทย 

    คิดว่า คนไทยก็อยู่ในระดับยอดเยี่ยมนะคะ

    เพราะ ในเรื่อง อิสระสเรีภาพ  ประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความเป็นอิสระเสรีสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

    และเรื่อง ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน

    กับการยอมรับเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

    ก็ดีค่ะ ถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆหลายประเทศ

    ค่ะ เห็นด้วย

    ประเทศเรา ตอนนี้ ก็ย้ำเตือนกันเรื่องความเป็นไทย เพื่อ ให้ เกิดความสามัคคี มีสมานฉันท์ ...โดยมีเอกลักษณ์ของชาติ มีหลักยึดร่วมกันหลักๆ คือ ระบบกษัตริย์ ความเป็นประชาธิปไตย และหลักยึดอย่างอื่น รองๆลงมา

     ดิฉันเองเห็นว่า.... สังคมหลายเชื้อชาติเป็นเรื่องธรรมดา หากยังเป็นที่ภาคภูมิใจ สำแดงเกียรติยศศักดิ์ศรีได้เต็มที่ เพราะพระมหากษัตริย์ ผู้ครองแผ่นดิน ก็ ทรงต้อนรับ ชนนานาชาติหนีร้อนมาพึ่งพาอาศัยร่มพระบรมโพธิสมภารปกเกล้าคุ้มกระหม่อมด้วยซ้ำไป

    รวมทั้ง คนในชาติที่อยู่เก่า ก็มิได้ตั้งแง่รังเกียจเดียดฉันท์

     แต่มีการสมาคมกัน กระทั่งแต่งงานอยู่กินสืบเชื้อสายกับชนต่างชาติเหล่านั้นเป็นปกติธรรมดามากๆค่ะ และทุกคนก็เป็น คนไทยเหมือนๆกันค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณจิรายุ

    คุณบอกว่า กำลังเรียนพอดี จึงเข้ามาให้ความรู้เพิ่มเติมว่า......

    ประเทศไทยเริ่มแปลงโฉมครั้งใหญ่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สี่ เพื่อให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคม

    และก้าวสู่ความเป็นแบบตะวันตก  แต่ยังคงเอกลักษณ์ของตนไว้ การสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติหรือสิ่งที่เรียกว่า "ความเป็นไทย" ดำเนินไปพร้อมกับการปฏิรูปประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ-การเมือง-สังคม 

     

    ค่ะ เห็นด้วย

    ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการทำสัญญากับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ทรงนำนโยบาย "ผ่อนสั้น ผ่อนยาว" มาใช้กับประเทศมหาอำนาจเป็นพระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ อันทำให้ไทยสามารถดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้ 

    ทรงโปรดเกล้าให้ชาวต่างประเทศรับราชการเป็นกงสุลไทย

     เช่นเซอร์ จอห์น เบาริง อัครราชทูตของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งประเทศอังกฤษ เข้ามาทำสนธิสัญญากับประเทศไทยเป็นชาติแรก เมื่อ พ.ศ. 2398 ได้ทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ" เป็นกงสุลไทยประจำกรุงลอนดอน

    สวัสดีอีกทีค่ะคุณ เดโชชัย

    ดีใจจัง ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนอีกนะคะ

    และให้ความเห็นอย่าง คมคายมากๆว่า

    หากเราไม่ทำความเข้าใจคำว่า"ไท"นี้ให้ดีแม้จะมีชาติเชื้อสืบไปก็ไร้ความหมาย.  ไทเป็นกันที่วิญญาณไม่ใช้เปลือก

    พิพิธภัณฑ์ฯนี้    ถูกใจคนมากมายค่ะ เพราะ สิ่งที่พยายามจะบอกนั้น เป็นเรื่องจริง

    ความหลากเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม-ความเป็นสหชาติพันธุ์   เป็นธรรมชาติธรรมดาของสังคมประเทศนี้ค่ะ

    ดิฉันเห็นว่า เราไม่ควร จะไปขีดเส้นพรมแดนจำกัดพื้นที่ ให้นิยามความเป็นไทยให้หดแคบลง

    ทุกคนมี หุ้นส่วนที่ ถือกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้ร่วมเป็นเจ้าของแผ่นดินโดยชอบค่ะ

     

    สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์

    มาเยี่ยมชมช้าไปหน่อย แต่ก็มีรายละเอียดน่าสนใจให้อ่านเยอะมาก  ดีจังเลยค่ะ

    ประเทศไทยควรจะมีพิพิธภัณฑ์เช่นนี้นานแล้ว พิพิธภัณฑ์จะได้เป็นที่เราสามารถไปพักผ่อนและหาความรู้ไปได้ในตัว  

    การได้เห็นอะไรที่น่าสนใจ จะมีส่วนกระตุ้นให้เด็กๆ คิดเพิ่ม และเมื่อมีแหล่งให้เขา เขาก็จะค้นคว้าเพิ่มได้อีก มีหนึ่ง ได้สอง ได้สาม หลายเท่าทวีคูณเลยค่ะ

    ขอบคุณสำหรับความรู้และแหล่งความรู้ดีๆ เช่นนี้นะคะ ^ ^ 

     

    สวัสดีค่ะ คุณคุณแว้บ

    ผมสงสัยว่าทางพิพิธพัณฑ์เขาสรุปไหมว่า "ไทย" หรือ "ไท" คืออะไร เริ่มนับว่าเป็นไทยตอนไหน เพราะผมเข้าใจว่าเราเองก็มีวัฒนธรรมผสมผสานกับจีน อินเดีย และประเทศเพื่อนบ้านมากมาย ไม่ว่าจะด้านภาษาและคติความเชื่อ ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะมันมีการเดินทางติดต่อ เชื่อมโยงกันอยู่ วัฒนธรรมที่มันไม่ตาย มันก็เปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ

    ดีใจจริงๆที่เข้ามาแลกเปลี่ยน พร้อมคำถามที่ตอบตรงๆยากส์ค่ะ

    ทางพิพิธภัณฑ์ พยามย้ำๆ ว่า คนที่อยู่ในประเทศไทยนี้ มีความหลากหลายเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม เรียกว่า เป็นสหชาติพันธุ์ ไล่ขึ้นไป จนถึงก่อนยุคสุวรรณภูมิ

    เราต้องมองกว้าง ไกลๆค่ะ จึงจะได้คำตอบค่ะ คิดว่า ที่เขียนเล่ามา น่า จะเป็นคำตอบได้บ้างแล้วนะคะ

    สังคมหลายเชื้อชาติเป็นเรื่องธรรมดา ยังมีหลักฐานอีกนะคะว่า....

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    เคยมีพระราชดำรัสว่าเจ้าสาวของปู่ทวดของพระองค์ เป็นลูกสาวคนสวยของครอบครัวคนจีนที่ร่ำรวยที่สุดครอบครัวหนึ่งในอยุธยา

    , พระมารดาของพระองค์ก็ทรงเป็นธิดาของพระขนิษฐาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกกับเศรษฐีจีน,

     สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชมารดาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระธิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระสนมที่เป็น "จีนแท้" เป็นต้น (อ้างจาก เบเนดิคท์ อาร์, โอ จี. แอนเดอร์สัน, "ศึกษารัฐไทย : วิพากษ์ไทยศึกษา", ฟ้าเดียวกัน, 1:3 (ก.ค.-ก.ย.2546), หน้า 122 เชิงอรรถ 34)

    เห็นไหมคะ ว่าจะแยกออกไหมเนี่ย ว่า ไทยแท้บริสุทธิ์ จะแยกออกมาได้อย่างไรกัน

     ตั้งแต่เก่าแก่ สมัยสุวรรณภูมิเป็นต้นมา เราก็มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาก โดยเฉพาะจีน   ทำให้มีการแต่งงานข้ามชาติพันธ์มาก   ทำให้ มีหน้าตา คล้าย จีน ลาว ญวน เขมร แขก ฝรั่ง

    ทางใต้ก็เช่นเดียวกันเป็นชุมทางการค้าขายมาแต่โบราณ จึงมีการติดต่อ ทั้งแขก จีน มาเลย์  จึงเกิดการผสมผสานทางชาติพันธุ์ขึ้น

    และรู้สึกว่า  ยุคหนึ่ง  ก็เคยมีชาวจีนในประเทศ   ลงไปอยู่ภาคใต้   อาจจะเป็นจังหวัด ภูเก็ต

    อย่างนี้ ต้องไปดู และศึกษาเองค่ะ จะละเอียดมากค่ะ

    สวัสดีครับพี่ใหญ่

     บอกได้คำเดียวว่าจะต้องหาทางไปชมให้ได้ครับ  เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนจะต้องไปชม โดยเฉพาะเด็กยุคใหม่ที่ห่างไกลรากเหง้าความเป็นไทย  ของดีดีมีคุณค่าเช่นนี้ พลาดไม่ได้

    ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช  ท่านอาจารย์เป็นรุ่นน้องคุณอาผมที่ รัฐศาสตร์จุฬาฯ ผมเองเคยใกล้ชิดท่าน และชื่นชมท่านมากครับ ผมยังติดตามผลงานของท่านมาตลอดครับ

    ขอบพระคุณครับ ที่นำสิ่งที่ดีที่สำคัญที่สุดมาให้ครับ

    .สวัสดีค่คุณ  ภูคา

    ดีใจจังที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ คุณเคยไปเที่ยวหลักเมือง ที่กรุงเทพฯไหมคะเป็นที่พึ่งทางใจ และเป็นอาหารตา ของนักท่องเที่ยวนะคะ และยังเป็นอาหารสมอง ของนักวิชาการด้วย

    เพราะนักวิชาการต่างประเทศ  พยายามค้นคว้าศึกษาเรื่องหลักเมืองกันมาก และก็มีข้อถกเถียง ที่ไม่ค่อยจะยุติกันด้วยค่ะ

    หลักเมือง ที่กรุงเทพฯมี 2 หลัก ที่ตราดมี 2หลัก ที่ลำปาง มี 3หลักค่ะ ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีหลักเมืองจำลองให้ชมอยู่ค่ะ

    นำภาพ ไคล์แม็กซของการจัดนิทรรศการถาวรนี้ มาให้ชมอีกทีค่ะ

    %e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b9%86

    • กราบสวัสดี.พี่sasinanda  อีกครั้งนะครับตามทัศนะของกระผมเชื่อว่าบันทึกนี้ของพี่เป็นบันทึกที่สำคัญเพราะนำไปสู่คำถามมากมาย ใคร?ทำไม?ที่ไหน?อย่างไร?เพราะอะไร?ฯ เรื่องตัวเรานี้หากศึกษาด้วยความไม่เชื่อแต่ปราศจากอคติไปเรื่อยๆก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้เป็นธรรมเพราะโลกเป็นเช่นนั้นเอง   อย่างน้อยสถานที่เรียนรู้เรื่องชาติพันธุ์ฯลฯนี้จะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่เยาวชนและชาวไทยทั้งมวล (ทุกเชื้อชาติศาสนาและความเชื่อ) ที่ต้องการเรียนรู้ ผมเป็นคนหนึ่งที่รอให้ประเทศของเรามีองค์กรอย่างนี้มานาน ทั้งหมดเกี่ยวข้องในกระบวนการวิวัฒนาการมาเป็นปัจจุบันและอนาคต  "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม"มีแต่กษัตริย์ชาวไทเท่านั้นที่ตรัสอย่างนี้ในโลก หากเราไม่ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในรากเหง้าของเราเอง เราจะ "รู้ รัก สามัคคี "ได้อย่างไร( เราทั้งมวลล้วนพี่น้องกัน) ดูให้เห็นๆให้รู้ๆให้เข้าใจ เมื่อรู้แล้วจะภาคภมูใจที่เกิดมาเป็นคนไทร่วมกัน  สุดท้ายนี้สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้อดีตจงลืมปัจจุบันแต่อย่าลืมสติ"ไม่รู้อตดีตก็ไม่รู้อนาคต"กราบขอบพระคุณพี่sasinanda ครับ
    • น่าไปเที่ยวชะมัดเลยครับ
    • ขอบคุณครับพี่ น่าสนใจมั๊กๆๆ
    • อิอิ
    สวัสดีค่ะ            พอดี ผ่านมาอ่านพบ เรื่องหลักเมือง ดิฉันเคยอ่านพบมาว่า มาจากความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา ใช่ไหมคะ หรือมาจากแหล่งใด
     ครับ   บันทึกยาว แต่มีเนื้อเรื่องมากครับ น่าอ่าน และผมไปดูพิพิธภัณฑ์แน่นอนครับ 
    อ่านๆดูแล้ว ประเทศเราเป็นแบบ วัฒนธรรมลูกผสมนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณหมอ nithimar

    ขนมอร่อยมากค่ะ ทานเสียหมดชามแล้วค่ะ

    อยากคุยกับคุณหมอนิดนึง ต่อจากที่คุยเรื่อง รากเหง้าแห่งความเชื่อ ของคนไทย คือ ผี พุทธ พราหมณ์   ที่คุยกับคุณ ข้ามสีทันดร

    เพราะน่าสนใจค่ะ

    ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีหลักฐานจารึก โบราณสถาน วัตถุต่างๆ รวมทั้งวรรณคดี บ่งชัดว่า คติ ความเชื่อเรื่องหลักเมือง เป้นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดอย่างหนึ่ง ของสังคมไทย เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งเลยค่ะ 

     สมเด็จกรมพระยาดำรง ราชานุภาพ เคยทรงมีพระมติว่า หลักเมืองที่เก่าแก่ที่สุด ในสยามประเทศ คือ หลักเมืองที่ ศรีเทพ ที่เพชรบูรณ์ค่ะ

    คุณหมอเคยได้ยินไหมคะ  สมเด็จกรมพระยาฯ มีพระมติว่า หลักเมือง มีมาแต่อินเดีย  เป็นธรรมเนียมพราหมณ์

    ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ก็มีอธิบาย ไว้มากเหมือนกันค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

    ดีใจมากที่เข้ามาเยี่ยมและบอกว่า....

    บอกได้คำเดียวว่าจะต้องหาทางไปชมให้ได้ครับ  เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนจะต้องไปชม โดยเฉพาะเด็กยุคใหม่ที่ห่างไกลรากเหง้าความเป็นไทย  ของดีดีมีคุณค่าเช่นนี้ พลาดไม่ได้

    จริงๆอย่างที่คุณไพศาลบอกค่ะ เชิญชวน และขอให้บอกต่อๆไปด้วยนะคะ และนอกจากจะได้ความรู้ อย่างเต็มอิ่มที่พิพิธภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์แห้งๆ เหมือนที่เป็นมาในอดีต แล้ว ยังได้ชมรูปแบบสถาปัตยกรรมแบเก่าๆ  ของตึกกระทรวงพาณิชย์เก่า ที่เป็นสถานที่จัดแสดงด้วยค่ะ

    สวัสดีค่ะอาจารย์ กมลวัลย์

    อาจารย์บอกว่า.....

    ประเทศไทยควรจะมีพิพิธภัณฑ์เช่นนี้นานแล้ว พิพิธภัณฑ์จะได้เป็นที่เราสามารถไปพักผ่อนและหาความรู้ไปได้ในตัว  

    การได้เห็นอะไรที่น่าสนใจ จะมีส่วนกระตุ้นให้เด็กๆ คิดเพิ่ม และเมื่อมีแหล่งให้เขา เขาก็จะค้นคว้าเพิ่มได้อีก มีหนึ่ง ได้สอง ได้สาม หลายเท่าทวีคูณเลยค่ะ

    ความคิดเป็นอาการของจิต จิตคือตัวรู้ 

    เมื่อเด็กหรือผู้ที่ไปชม ได้เห็นรูปแบบใหม่ ของการจัดแสดง ซึ่งกระตุ้น ให้เกิด ความคิด และคำถาม ไม่ใช่แต่ จะไปเดินดูอย่างเดียว ก็จะเกิด ความอยากรู้ และต้องการ คำตอบ ที่ขยายกว้างออกไปด้วยค่ะ เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ ของเด็ก ได้ดีค่ะ

    เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดีค่ะ

    พี่ก็ไม่ค่อยทราบอะไรที่เกี่ยวกับโบราณคดีนัก แต่พอไปดูที่พิพิธภัณฑ์นี้ จึงได้ทราบว่า...

    ในประเทศเรานี้ มีผู้คนอยู่อาศัยมานานมากๆแล้ว

    ตั้งแต่ 500,000ปีที่แล้วก็มี คือ มนุษย์ลำปาง ต่อมาเขาก็ขุดพบกันอีก แทบจะทั่วประเทศค่ะ

    ส่วนใหญ่ จะเป็นก่อนสมัยประวัติศาสตร์ระยะที่3  สมัยเหล็กช่วงต้น

    ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบมากกว่า ภาคเหนือและภาคใต้ เช่น...แหล่งโบราณคดี บ้านเชียง อ.หนองหาน จังหวัดอุดรธานี และแถวโนนนกทา อ.ภุเวียง จ.ขอนแก่น ที่ ท่าแค จ.ลพบุรี  และที่พี่รู้จักดี คือที่ บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรีเป็นต้น

    นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร เคยให้ข้อสรุปไว้ว่า...(อ้างถึง จากหนังสือ คนไท(เดิม)ไม่ได้อยู่ที่นี่  โดย บี.เจ.เทอร์วีล แอนโทนี ดิลเล่อร์ ชลธิรา สัตยาวัฒนา)

    ผลการค้นพบจนถึงปัจจุบัน ดูเหมือนจะชี้ให้เห็นว่า" ดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน เคยเป็นถิ่นที่อยู่ ของชนชาติ ที่มีลักษณะไม่ต่างจาก คนไทยปัจจุบันนัก"

    และที่บ้านเชียงเอง นายแพทย์ สุดฯ ก็ระบุว่า โครงกระดูก ที่พบที่ บ้านเชียง กับโครงกระดูก คนไทยปัจจุบัน คล้ายคลึงกันมาก

    แสดงว่า น่าจะมีชนชาติไท ได้อาศัย อยู่ในแผ่นดินที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน มาเป็นเวลา 4,000 ปีแล้ว

    ดังนั้น  ทฤษฏีนี้ จึง ค่อนข้าง เป็นที่แน่นอนว่า

    วัฒนธรรม ของชนชาติไท ที่ปรากฏอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์   เป็นสิ่งที่ ดูจะน่าเชื่อถือมากที่สุด

    แต่จริงๆแล้ว อาจารย์คะ ก็ยังไม่มีใครกล้าฟันธงไปได้แน่นอนว่า....

    จริงๆ ว่า บรรพบุรุษ ของชาวสุวรรณภูมิจริงๆๆ อาจจะเป็นชนกลุ่มมงโกลลอยด์ ที่อพยพมาจากแผ่นดินจีน เมือ่ 3000 ปีก่อน และเข้าแทนที่ ประชากรดั้งเดิม ที่อยู่ที่นี่มาก่อนไหม ยังเป็นปริศนาอยู่ค่ะ

    • ขอบคุณ สำหรับสาระ และประโยชน์ที่นำมาให้อย่างมหาศาลจริงๆครับ

    สวัสดีอีกทีค่ะคุณ  เดโชชัย

    ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ  เห็นด้วยอย่างที่คุณกล่าวว่า....

    อย่างน้อยสถานที่เรียนรู้เรื่องชาติพันธุ์ฯลฯนี้จะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่เยาวชนและชาวไทยทั้งมวล (ทุกเชื้อชาติศาสนาและความเชื่อ) ที่ต้องการเรียนรู้

    หากเราไม่ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในรากเหง้าของเราเอง เราจะ "รู้ รัก สามัคคี "ได้อย่างไร( เราทั้งมวลล้วนพี่น้องกัน) ดูให้เห็นๆให้รู้ๆให้เข้าใจ เมื่อรู้แล้วจะภาคภมูใจที่เกิดมาเป็นคนไทร่วมกัน 

    ดิฉันคิดว่า ....

    การสร้างความสามัคคีในชาติ เราไม่ควรแทรกแซงทางด้านรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนที่เขาคุ้นเคยอยู่มาเป็นช้านาน

    มิฉะนั้น อาจเกิดการต่อต้านได้ และอาจแสดงออกโดยการเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นไทย  และรู้สึกตนเองไม่ใช่เกี่ยวกับการสร้างชาติและเอกลักษณ์ของชาติ

    จริงๆทุกคนรักแผ่นดินไทย  อยากเป็นคนไทย  แม้อาจจะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างไปบ้าง

    เพราะประเทศไทยสบายกว่าที่ไหนๆ  ผู้คนก็ใจดี มีความอารีอารอบ ไม่ถือเขาถือเรา ไม่แบ่งแยก ทำตัวกลมกลืนไปกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างสูงมากๆค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    อ่านแล้วน่าติดตาม ได้รับความรู้และสาระมากค่ะ.. เยี่ยมมาก

    สวัสดีค่ะคุณดาวเรือง

    คุณปรารภว่า....

     เรื่องหลักเมือง ดิฉันเคยอ่านพบมาว่า มาจากความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา ใช่ไหมคะ หรือมาจากแหล่งใด

    ค่ะ จริงๆแล้ว ความเชื่อเรื่องวิญาณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตอยู่กับธรรมชาติ เป็น ความเชื่อของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาค่ะ เรียกว่า ความเชื่อดั้งเดิม Animism

    จากผู้ที่ศึกษาเรื่องหลักเมือง ท.กล้วยไม้ ณ อยุธยา เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับมากค่ะ ซึ่ง ได้มีข้อสรุปดังนี้(ค้านกับ ข้อสรุปของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ ว่า หลักเมือง มาจาก พราหมณ์) คือ...

    หลักเมืองมีที่มาจากการนับถือผีสางเทวดา ก่อนที่จะก้าว ไปสู่การนับถือศาสนาที่ละเอียด

    กรณีสังคมไทย ก็วิวัฒนาการมาจาก คติผีบรรพบุรุษ หอผีประจำหมู่บ้าน ผีเรือนบนหิ้งเสาเอกค่ะ

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยทรงสันนิษฐานถึงแท่งหินดำที่วัดมหาธาตุ ใจกลางเมืองสุโขทัย ที่เรียกกันว่า ขอมดำดิน นั้น

    ที่แท้ก็คือเสาหลักเมืองเดิม แสดงว่า กรุงสุโขทัย ก็เคยมีประเพณี ตั้งเสาหลักเมืองด้วยค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ suksom

    ประเทศไทย จะว่าไป ก็โชคดี

     เพราะความหลากหลายแตกต่างทางวัฒนธรรมช่วงนี้ เอื้อกับการท่องเที่ยวมากค่ะ

     หรืออาจจะว่า  การท่องเที่ยวนั่นแหละที่ไปดึงเอาความหลากหลายทางวัฒนธรรมนี้ ให้ปรากฏเด่นชัดออกมานะคะ

    สวัสดีค่ะ คุณพี่ Sasinanda

    มาแล้วค่ะ มาแล้ว  บัวลอยงาดำน้ำขิง  ทานถ้วยนี้หมดอิ่มแน่น ไม่ต้องทานข้าวกันเลยเชียวค่ะ

    ช่วงนี้อ๋อยุ่งๆค่ะ เริ่มมีต้นฉบับจากทั่วประเทศส่งมาให้อ๋ออ่านกันแล้ว จึงมีงานวารสารวุ่นวายอยู่ค่ะ  คิดถึงคุณพี่ค่ะ

    ขอบพระคุณมากค่ะ

    อ๋อค่ะ

    Imagee

    • ขอบพระคุณมากค่ะ สำหรับความรู้ที่คัดกรองมาให้อย่างเต็มอิ่มค่ะ
    • อยากให้มีคนไทยคุณภาพแบบนี้เยอะๆ ค่ะ จะพาชาติเรารุ่งเรื่องค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ  อิทธิพล
     บันทึกนี้ พยายามตัดให้สั้นๆแล้วนะคะ เนื้อหาที่ไปดู พิพิธภัณฑ์มา มีมากมายค่ะ อยากจะเล่าที่น่าสนใจให้ฟังกันก่อนที่จะไปชมจริงๆ

    อย่างไรก็ตาม ก็สู้ไปชมจริงไม่ได้ค่ะ

    ขอเล่าเรื่องหลักเมืองต่อนะคะ เรื่องนี้ น่าสนใจค่ะ

    จากข้อมูล เที่ยวเมืองพระร่วง  ของท.กล้วยไม้ ณ อยุธยา 2525:10

    ยืนยันว่า มีประเพณีการตั้งหลักเมืองมาแต่โบราณ ในพื้นที่ประเทศไทย ปัจจุบัน โดยมีแนวคิดว่า..

    หลักเมืองอยู่ใจกลางเมือง มีสัญญลักษณ์ เป็นหินหรือ ต้นไม้ก็ได้

    ที่หริภุญญไชย (ลำพูน ) นครเขลางค์ (ลำปาง)  และสุโขทัย เป็นหิน

    ส่วนที่โยนกเชียงแสน และเชียงลาว  เป็นต้นไม้ รวมทั้งที่กรุงศรีอยุธยา เป็นต้นหมัน ส่วนที่กรุงรัตนโกสินทร์  ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์

    แต่ในที่สุดแล้วนะคะ   ก็ยังไม่เป็นที่ยืนยันอีกค่ะว่า...

    คติความเชื่อเรื่อง ผีบ้าน ผีเมือง จะเป็นเรื่องเดียวกับ หลักเมือง ที่อยู่ใจกลางเมือง หรือไม่

    เพราะมีนักวิชาการบางท่าน ค้านโดยมีเหตุผลที่น่าฟัง

    แต่ความเชื่อกันคนละทางสองทางนี้ ก็มีการผสมผสานกันต่อมาในภายหลังค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ. จอย

    คุณให้ข้อคิดเห็นว่า.....อ่านๆดูแล้ว ประเทศเราเป็นแบบ วัฒนธรรมลูกผสมนะคะ

    ค่ะ    ปัจจุบันนี้ มีนักวิชาการเป็นจำนวนมาก ที่พยายาม ผลักดัน ให้เกิด"สำนึก" ใหม่ในสังคมไทย นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญมาก

    เพราะเรา จะเริ่มเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคม อันมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างผสมกลมกลืน และอย่างเต็มใจค่ะ

    ตามมาดูความอลังการของงานค้นคว้าค่ะ

    น่าสนใจมากเลย  เอาไว้จะตามมานั่งแกะรอย อ่านต่อค่ะ

    ขอบคุณนะคะ

    • ว่างจากเก็บเห็ด.....แวะมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ค่ะ..... ^ - ^
    • ที่จังหวัดฯ เห็นสร้างพิพิธภัณฑ์ (นานมากแล้ว) แต่ยังสร้างไม่เสร็จ และยังไม่เปิดให้ชมอย่างเป็นทางการ...
    • "พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ" ที่ผ่านการวางแผนจากบริษัทมืออาชีพ น่าสนใจดีค่ะ....หากเสร็จสมบูรณ์/เปิดอย่างเป็นทางการแล้วต้องมาชมให้ได้ค่ะ...

     

    สวัสดีค่ะ คุณ MSU-KM :panatung

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    ถ้าที่นี่เปิดแล้ว ต้องไปชมให้ได้ค่ะ

    พื้นที่เกือบ 3000 ตร.ม. ในการแสดงนิทรรศกาถาวร เรื่อง ปรืศนา หลายหมื่น หลายพันปี ของสุวรรณภูมิ มูลเหตุสู่ยุคทองของสยามประเทศ และเงื่อนปมก่อนจะมาเป็น ประเทศไทยอย่างที่เห็น และอย่างที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันนี้ค่ะ

    เดินชมกันเมื่อยเลยค่ะ

    จุดมุ่งหมายของพิพิธภัณฑ์นี้ เพื่อที่จะให้เป็นการนำเสนอ พิพิธภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์แห้งๆ เหมือนที่เป็นมาในอดีต และจะให้เป็นมากกว่า คลังสะสมวัตถุ ให้เราสามารถที่จะ ให้พิพิธภัณฑ์ เป็นเครื่องมือที่จะใช้ประวัติศาสตร์ สะท้อนภาพ ที่เราเป็นอยู่ขณะนี้ ด้วยประวัติศาสตร์ค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณ coffee mania

    ที่เขียนบันทึกนี้ ก็เขียนตาม ที่เขาแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ ที่มีข้อมูลเยอะมาก และได้ถ่ายรูปไว้ด้วยค่ะ อาจจะยาวหน่อย แต่ นี่เพียงเสี้ยวเดียว แค่น้ำจิ้ม ค่ะ ยังมีที่เราควรไปดูเองอีกมาก

    ประเทศอื่นๆ ก็ใช้พิพิธภัณฑ์ เป็นเครื่องมือ ในการใช้ประวัติศาสตร์สะท้อนภาพ เช่นเดียวกับเราค่ะ

    ประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มากที่สุดในโลกคือ แคนาดา เป็นผลจาการอพยพครั้งใหญ่ ในศตวรรษที่ 20 โดยมีคนอพยพเข้าไปเกือบ 14 ล้านคน

    ในโตรอนโต ประชากร มากว่า 40 %เกิดนอกแคนาดา

    ในแวนคูเวอร์กว่า 30% สำนึกว่า ตัวเองมีชาติพันธุ์ของคนเอเซีย มีชาวแคนาดา กว่า 17 % ที่มีเชื้อสายจีน

    ซึ่งแคนาดา ก็ตั้งรับ ความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา สำนึกชาติพันธุ์ด้วยรัฐบัญญัติ ว่าด้วยพหุวัฒนธรรมแคนาดา ค.ศ.1988 ด้วยค่ะ

     

    สวัสดีค่ะคุณ Gutjang

    ดีใจจังที่ มาเยี่ยมค่ะ ตอนนี้ สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์แล้วนะคะ

    ที่สุรินทร์มี พิพิธภัณฑ์หลายแห่งเหมือนกัน รู้สึกจะ4-5 แห่งนะคะ ไม่รวมที่ น้องกล่าวถึงค่ะ

    เช่น สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์     พิพิธภัณฑ์-นิทรรศการ ร.ร.สิรินธร

    พิพิธภัณฑ์ผ้าไหม เป็นต้น

    ซึ่งที่สุดท้ายนี้ เป็นศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตสุรินทร์
     ตั้งอยู่ภายในสถานีวิจัยหม่อนไหมสุรินทร์ 
    โดยเป็นโครงการส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร เน้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม ในรูปแบบของ " ห้องสมุดธรรมชาติ"
    ภายในพื้นที่ 5 ไร่ ในบริเวณสถานี ฯ เพื่อใหผู้ชมได้สัมผัสและเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมครบวงจรแบบพื้นบ้าน 
    ซึ่งมีการจัดแสดงให้ชม การสาวไหม เพื่อให้ได้เส้นไหมพื้นเมืองคุณภาพการย้อมเส้นไหมด้วยสีจากธรรมชาติ ไปจนถึงการทอผ้าไหม ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านของจังหวัดสุรินทร์
    โดยกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มแม่บ้านน่าสนใจมากนะคะ
    ถ้ามากรุงเทพฯตอนที่เขาเปิดแล้ว อย่าลืมมาชมค่ะ

    สวัสดีค่ะ อาจารย์ พิสูจน์

    ขอบคุณที่ชมค่ะ

    ที่นิทรรศการนี้ มีแสดง เรื่องสุพรรณบุรี หลายอย่างค่ะ มีตลาด สามชุกด้วยนะคะ

    ตลาดสามชุก เป็นตลาดเก่าแก่ได้รับการประกาศให้เป็นตลาด ๑๐๐ ปี ในเชิงอนุรักษ์ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

    ตลาดสามชุกมีร้านค้าห้องแถวเก่าอายุร่วมร้อยปี ในอตีดมีโรงสีและเป็นแหล่งค้าข้าวที่สำคัญ ซึ่งมีการเก็บภาษีได้มาก และนายอากรคนแรกคือ ขุนจำนงจีนารักษ์ ซึ่งบ้านท่านขุนจำนง ปัจจุบันกลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ของชุมชน

    ดิฉัน  เคยไปค่ะ   ระยะทางราว150ก.มจากกรุงเทพฯใช้เส้นปิ่นเกล้านครชัยศรี,มาบางบัวทองแล้ววิ่งตรงมาตลอดบนถนนที่ราบเรียบตลอดเส้นทาง ใช้เวลาชั่วโมงครึ่ง

    ตลาดสามชุกมีหลายซอยเป็นตลาดที่ทำการค้าขายกันทุกวัน เป็นกลุ่มชาวบ้านท้องถิ่นที่รักษาวิถีชีวิตในชุมชนดั่งเดิมเอาไว้ด้วยความภูมิใจ

    ได้ซื้อ ข้าวห่อใบตองหรือใบบัวมาทานด้วย อร่อยมากค่ะ    ชอบเดินที่ ตลาดเก่า อาหารโบราณที่หายากขึ้นทุกวันนะคะ

    สวัสดีค่ะ คุณพี่ Sasinanda

    Imaget พักดื่มน้ำเย็นชื่นใจก่อนค่ะ

    อ๋อค่ะ

     สวัสดีค่ะคุณ Bright Lily

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมนะคะ

    พี่เคยทำงาน ที่กาญจนบุรีหลายปี ในช่วงเวลานั้น ได้มีโอกาสสัมผัสชีวิตของเกษตรกร ในพื้นที่ สุพรรณบุรี อ่างทอง ราชบุรี นครปฐมด้วย

    สังเกตดูว่า พอมีเวลาว่างจากการทำเรือก สวน ไร่นา เขาจะมีเวลาว่างกันพอสมควร ซึ่งพวกเขาก็มีอะไรทำในวลาว่างนี้นะคะ ไม่ได้อยู่เฉยๆ ซึ่งกลายเป็นเรื่องสร้างสรรค์ และคิดประดิษฐ์ต่างๆค่ะ

    เช่นเรื่องการหัตถกรรมต่างๆ การละเล่น การละคร การพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในด้านการพัฒนาอาชีพต่างๆ การอบรมสอนเด็กให้รู้จักทำงานบ้าน งานครัว งานเย็บปักเป็นต้น

    ส่วนใหญ่ การทำงานอะไรที่เป็นอิสระ ยามว่างจากงานหนัก ก็มัก จะเป็นผลมาจาก วัฒนธรรมที่ส่งต่อๆกันมาด้วยนะคะ และบางแห่ง การทำงานยามว่าง กลายเป็นวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อของท้องถิ่นหนึ่งๆไปด้วยค่ะ เช่น

    ผ้าทอมือ ของไทยวนคูบัว (เมืองนี้ มีความเป็นมาที่เก่าแก่มากค่ะ ตามที่เขียนในบันทึกด้านบน)  จังหวัดราชบุรี

    และของชาวไทโซ่ง ที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี เป็นต้นค่ะ เขายังรักษาประเพณีเดิมไว้ได้ สวยมากค่ะ ดังในภาพค่ะ พี่ได้ซื้อไว้ด้วยนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณหมอnithimar

    น้ำหวานเย็นๆแก้วนี้ ชื่นใจมากๆค่ะ เลยขอนำภาพมาฝากด้วยภาพหนึ่งค่ะ

    %e0%b8%9a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%b4

    คุณหมอ nithimar คะ

    บัวลอยของคุณหมอ ทำให้พี่อิ่ม ไม่ได้ทานข้าวเย็นวันนั้น เลยค่ะ อร่อยมากๆๆ

    ถ้าคุณหมอ มีเวลา อยากให้อ่านเรื่องนี้ค่ะ พี่อ่านแล้ว เข้าใจอะไรต่ออะไรมากขึ้นมากค่ะ ในด้าน ประวัติศาสตร์ของชาติเรา

    รศ. ศรีศักร วัลลิโภดมได้รับรางวัลวัฒนธรรมเอเชียฟูกุโอกะ ประจำปี ๒๕๕๐  จบการศึกษาอักษรศาสตร์บัณฑิต ( ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส )คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .....คณะเดียวกับพี่ค่ะ แต่รุ่นพี่ ไม่เห็นฝุ่น.....และท่านไปศึกษาต่อที่อื่นอีกมากค่ะ

    รางวัลวัฒนธรรมเอเชียฟูกุโอกะ

    เป็นรางวัลที่นครฟูกุโอกะประเทศญี่ปุ่น มอบให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ที่มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะผลงานที่จรรโลงและสร้างสรรค์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย

    ก่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมเอเชีย และส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างคนกลุ่มต่างๆในภูมิภาค


    จัดว่าเป็นหนึ่งในนักมานุษยวิทยาและนักโบราณคดีชั้นแนวหน้าของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านได้ใช้ความเชี่ยวชาญในด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์และขนบธรรมเนียมความเชื่อพื้นบ้านมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อนำเสนอประวัติศาสตร์ไทยในลักษณะใหม่โดยสิ้นเชิง

    ท่านมีผลงานโดดเด่นมาก  เรื่อง งานสำรวจทางโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในยุคก่อนประวัติศาสตร์   และงานวิจัยเกี่ยวกับอาณาจักรโบราณของไทย

    ในผลงานชิ้นแรกนั้นรองศาสตราจารย์ศรีศักรได้รวบรวมหลักฐานจากงานสำรวจภาคสนาม

    เป็นเหตุผลสนับสนุนว่า การเกษตรกรรม เกลือ และเหล็ก

    เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและยังแสดงให้เห็นว่าการสักการะบูชาทางศาสนามีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์โดยมีหินสีมา

    ซึ่งพบได้เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นหลักฐาน การค้นพบดังกล่าวหักล้างภาพเก่า ๆ ของ ภาคอีสานที่ยากจน และได้วาดเค้าโครงใหม่ให้กับภูมิภาคว่าเป็น ภาคอีสานที่เคยรุ่งโรจน์ ข้อมูลทางโบราณคดีบางส่วนที่รองศาสตราจารย์ศรีศักรเก็บรวบรวมจากภูมิภาคนี้ได้แพร่หลายทางอินเตอร์เนตและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

    ในผลงานชิ้นที่สองของรองศาสตราจารย์ศรีศักรได้ใช้แผนที่ทางอากาศในงานวิจัยเมืองโบราณของไทย

    ทำให้ค้นพบการวางผังเมืองและโครงสร้างของเมืองโบราณหลายเมือง อาทิเช่นทวารวดีซึ่งเป็นอาณาจักรสมัยแรกของไทย     ต่อด้วย อาณาจักรในราชวงศ์สุโขทัย และอาณาจักรในราชวงศ์อยุธยา

    โดยรองศาสตราจารย์ศรีศักรได้วิจารณ์ว่าการค้าขายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอิทธิพลต่อการสถาปนาอาณาจักรโบราณของไทยเป็นอย่างมากค่ะ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท