ใครๆก็พูดถึงไทยแท้ แต่ใครรู้บ้าง ไทยแท้ๆเป็นอย่างไร....“พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” (National Discovery Museum Institute : NDMI)กำเนิดใหม่ สมิทโซเนียนเมืองไทย(ตอนที่หนึ่ง)


พิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัยน่าตื่นตาตื่นใจแห่งนี้   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา...
มีต่อ

 Pnithimar

ขอบพระคุณค่ะ คุณพี่ศศินันท์ P

รู้สึกตื่นตา ตื่นใจมากค่ะ เป็นอาการส่วนตัวของอ๋อ  เมื่อได้พบสิ่งดีๆ ถูกใจมากๆค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ครั้งแรกที่อ๋อเริ่มมาสนใจเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ คงเป็นเพราะได้มีโอกาสทำฟันให้ คุณลุง นิคม มูสิกะคามะ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ค่ะ

ท่านเล่าเรื่องต่างๆให้อ๋อฟังมากมายตลอดเวลาราว 4 ปีที่ท่านมาทำฟันเป็นประจำจนท่านเสียชีวิตไปด้วยโรคมะเร็งเมื่อต้นปี 48 ที่ผ่านมาค่ะ

ได้อ่านหนังสือของท่าน ได้พูดคุยกับท่านถึงการบูรณะโบราณสถาน วัดว่าอารามต่างๆทั่วประเทศ รู้สึกสนุกและได้ความรู้มากๆค่ะ

บางครั้งมาทำฟันแล้วไฟดับ ไม่เป็นไรทำฟันไม่ได้นั่งคุยกันดีกว่า คุยเรื่องศิลปะ วัฒนธรรมต่างๆ มากมาย  รวมทั้งการเมืองค่ะ ท่านเคยบอกอ๋อว่าอยากรู้นักเชียว ว่านิยายการเมืองเรื่องนี้มันจะจบอย่างไร เรื่องไหนก็เรื่องนั้นนะคะ อ๋อดีใจที่ท่านไม่ต้องรับรู้ เพราะนิยายมันไม่ยอมจบและไม่สนุกด้วยค่ะ

วันนี้มีน้ำชมพู่ปั่นมาฝากคุณพี่ค่ะ ที่บ้านไม่มีชมพู่หรอกค่ะ แต่เห็นหล่นไปทั่วเต็มบ้านเต็มเมือง จึงเก็บๆมาปั่นกินเสียให้สะใจ เอ๊ย..ชื่นใจค่ะ ชื่นใจ

คิดถึงนะคะ

Imagei

มาอ่านแล้วค่ะ ตามที่คุยกัน วันนี้

น่าสนใจจริงๆนะคะ จะรออ่านต่อด้วยค่ะ

เข้ามาอ่าน พบในกูเกิ้ล

เยี่ยมมากค่ะ เวลาไปดู ของจริง จะง่ายขึ้นมาก เพราะ มีพื้นอยู่แล้ว

สวัสดีค่ะคุณ วงจันทร์

ที่พิพิธภัณฑ์นี้ เริ่มต้น ดำเนินการมาตั้งแต่ 18 มิถุนายน ปี 2547 เป็นหน่วยงานของรัฐค่ะ

สังกัด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ได้มีโอกาสเรียนรู้ และเสริมสร้าง พัฒนา ขีดความสามารถ ผ่านกระบวนการๆเรียนรู้สาธารณะค่ะ

เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมอ   nithimar

ขอบคุณสำหรับน้ำชมพู่ปั่นเย็นเจี๊ยบค่ะ ทานเสียหมดเลย ชื่นใจค่ะ

ตอนนี้ เราคงต้องคิดว่า ทุกอย่าง ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ เป็นเรื่องของมายา เราคงต้องมองให้เห็นถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นดีที่สุดค่ะ

ดีใจที่คุณหมอสนใจเรื่องเดียวกับพี่ค่ะจริงๆ พี่เป็นคนหลากหลาย มีความสนใจ ในเกือบทุกเรื่อง ที่พบเห็น เรื่องตราสัญญลักษณ์นี้ ก็เหมือนกัน ครั้งแรกงงๆว่า หมายความ ว่าอะไร พอศึกษาเข้า ก็ทราบความหมายค่ะ 

คนเมื่อ 3000ปีก่อน เขาใช้ รูปกบนี้ สลัก บนหน้ากลองสำริดหรือมโหรทึก เพื่อขอฝนจากฟากฟ้ามาอำนวย ความอุดมสมบูรณ์ ให้แผ่นดินที่ตนอาศัยอยู่ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ เจเจ

ดีใจที่มาเยี่ยม และชอบอ่านค่ะ

ถ้าเปิดแล้ว ต้องไปนะคะ คอยอ่านจากข่าวหนังสือพิมพ์ คงจะมีข่าวค่ะ

ทางสถาบันนี้ ได้รับมอบพื้นที่และอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งอาคารอื่นในบริเวณพื้นที่เดียวกัน จากกระทรวงพาณิชย์ เมื่อ 19 ม.ค 2548 โดยการนี้ ได้มีการเปิดตัวสถาบันนี้ด้วยค่ะ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิด พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550 ค่ะ  

สวัสดีคะคุณพี่ช่วงนี้ไม่มีเวลาเข้ามาเท่าไหร่แต่คืนนี้ว่างแล้วคะ นกจะมาอ่านต่อนะคะ คุณพี่ สุขภาพแข้งแรงนะคะ ตอนอากาศเปลี่ยนนกก็เป็นหวัดคะ

สวัสดีค่ะคุณรัตน์ชนก

ถ้าว่างก้เข้ามาอ่านนะคะ พอดีไปชม มาก็อยากจะนำมาบันทึกไว้เท่านั้นค่ะ

เราน่าจะภูมิใจในความเป็นชาติไทยของเรา ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมากค่ะ

สยาม เป็นประเทศที่อุดมไปด้วยสัญญลักษณ์เกี่ยวกับน้ำ มากกว่าประเทศใดในโลก น้ำแทรกซึมอยู่ในสิ่งต่างๆเต้มไปหมด ไม่ว่า จะเป็นพิธีกรรม วรรณกรรม ศิลปกรรมต่างๆ และการวังผังเมือง เป็นต้นค่ะ

%e0%b8%aa%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3

มาเยี่ยม...คุณ

Sasinanda

น่าสนใจใฝ่รู้เรื่องใกล้ตัวนี้มากครับ...

มีโอกาสคงได้เข้าเยี่ยมชม...แน่

สวัสดีค่ะคุณ umi

ค่ะ ถ้ามีโอกาส ควรไปชมค่ะ เพราะโครงการเต็มที่ของเขาจะ มี 4กลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ แต่ละแห่งจะนำเสนอเนื้อหาที่ต่างกันค่ะ

แต่ทั้งหมดจะสอดคล้อง และส่งเสริมภาพรวมขององค์ความรู้ที่เกี่ยวกับผู้คนและดินแดนอุษาคเณย์

แต่ที่ไปดูมานี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยค่ะ ที่แสดงลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติกับความสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำ ที่ดึงดูดผู้คนมากมาย นานาชาติพันธุ์ ให้มาตั้งถิ่นฐาน จนเกิดการผสมผสาน ทางสังคมและวัฒนธรรมกับคนพื้นเมืองดั้งเดิม แล้วเกิดการอยู่ร่วมกัน อย่างกลมกลืนค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่มาเยี่ยม

ทีพิพิธภัณฑ์ นี้ น่าไปชมมากค่ะ และดีใจที่มีลิงค์ไปยังพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศเลย เป็นเรื่องน่ายินดีมากค่ะ

 P

  • สวัสดีค่ะ
  • สบายดีนะค่ะ
  • แวะมาดูไทยแท้...พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ค่ะ
  • เป็นอะไรที่หาดูได้ยากมากเลยค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับสิ่งดี  ที่นำมาเสนอนะค่ะ

มาตามที่ให้ลิงค์ไว้ครับผม  จาก 0knation

และนำบล็อกคุณเป็น favoriteไว่แล้วครับ

น่าสนใจจริงๆ เรื่องนี้ อ่าน 2 รอบแล้ว

ตามลิงค์มาค่ะ

สนใจเรื่องนี้มานานแล้วค่ะ

ต้องไปดูให้ได้ค่ะ

  • แวะมาบ่อยครั้งมากในบันทึก   แต่ทั้งเวลาอันจำกัด  ผูกติดกับปัญหาระบบที่อืดช้ามาก  ทำให้ผมจำต้องล่าถอยออกไปจากบันทึก
  • ทำหน้าที่หลักแค่ลงบันทึกของตนเองและจากไป
  • แต่ไม่เคยเลยที่จะไม่แวะเข้ามา
  • ซึ่งบัดนี้  ผมยังเดินทางอยู่เรื่อย .. เมื่อวานก็ออกพื้นที่ ...วันนี้ก็ปฏิบัติงานเพิ่งกลับบ้านในตอน 4  ทุ่มครึ่ง  จึงเลือกบันทึกนี้เป็นบันทึกแรกของการพาตัวเองมาสู่ G2K   เพื่อเดินทางไกลอีกรอบ...
  • ........
  • ขอบคุณบันทึกสาระแห่งความเป็นไทย  ที่ทำให้คนที่รักความเป็นไทยอย่างผมอิ่มสุขอย่างล้นเหลือ  และขออนุญาตที่จะนำความเนไทยในบางเรื่องมาแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับเรื่องราวของบันทึกนี้นัก  แต่อย่างน้อยก็คือนาฏกรรมของไทยเราเหมือนกัน

......

บางลำภู ...  เป็นสถานที่หนึ่งในเมืองกรุงเทพฯ  ที่ผมหลงรักและเห็นกลิ่นอายความเป็นไทยที่มีอีกเชื้อสายหนึ่งอย่างน่าสนใจ   เมื่อหลายปีก่อนผมเคยไปเยือนที่นั่นเพราะต้องเอากล้องไปซ่อม...  เคยนอนโรงแรมเก่า ๆ  แถวนั้น   พลอยนึกถึงบรรยากาศความเป็นสังคมไทยยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475  อย่างน่าสนใจ

บางลำพู ... ในอดีตคงมีต้นลำพูมากเลยใช่ไหมครับ ...แต่เท่าที่ผมสัมผัสได้ในช่วงสั้น ๆ นั้นก็คือ  ย่านนี้ขึ้นชื่อในความเป็น "ตลาด"  ทีหลากหลายด้วยผู้คนและร้านค้า  จนเรียกติดปากว่า "ตลาดบางลำพู"  (บางลำภู - ก็เรียก)   และถ้าจำไม่ผิดเมื่อครั้งที่เรียนวิชาโทด้านประวัติศาสตร์นั้น  เหมือนเคยอ่านพบว่าตลาดบางลำพูเคยถูกเพลิงไหม้เสียหายมากมายก่ายกอง   แต่ก็ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5

สิบกว่าปีแล้วครับ  ผมไม่เคยได้ไปเยือนที่นั่น   ไม่รู้ว่าสภาพทุกวันนี้เป็นอย่างไร 

ผมไม่รู้จะบอกเล่าความเป็นไทยในบันทึกนี้อย่างไร   เลยหยิบเอาเรื่องอันเลือนลางของตนเองมาบอกกล่าว....

.....

ขอบพระคุณครับ

 

สะพานพระราม 6 ...

กรุงเทพฯ  เป็นเมืองที่มีคลองมากมาย ... วิถีชีวิตคนไทยผูกพันอยู่กับสายน้ำอย่างสนิทแน่น  ผมเองก็ไม่รู้ว่าเพราะเหตุใดจึงหลงใหลกับสะพานอยู่ทุกหนทุกแห่ง  โดยเฉพาะสะพานไม้ในชนบทนั้น   ถือได้ว่ามีมนต์ขลังสำหรับผมมาก

แต่ในช่วงวัยหนุ่มของผม  เคยได้ยินชื่อของสะพานพระราม 6  อยู่บ่อยครั้ง  ในบทเพลงของวงสตริงวัยรุ่นในยุคสัก 20 ปีกว่าปีที่แล้วก็คล้ายกับจะมีชื่อเพลงว่า "ไม่มีเธอที่สะพานพระราม 6"    ซึ่งคนบ้านนอกอย่างผม  ไม่รู้หรอกว่า  สะพานพระราม 6   เป็นอย่างไร  สำคัญแค่ไหนถึงมีนักเพลงนำเอาไปแต่งเป็นเพลงได้ ...  ซึ่งนั่นก็ฝังจำเสมอมา  แต่บอกย้ำตลอดว่าหากมากรุงเทพฯ  ต้องไปดูให้เห็นกับตาสักครั้งว่าสะพานที่ว่านี้เป็นอย่างไรบ้าง

กระทั่งมาเรียนในมหาวิทยาลัย  ก็พอได้รู้ชัดขึ้นบ้างว่า  สะพานนี้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 6  ซึ่งพระองค์ท่านเป็นผู้โปรดให้สร้างขึ้น  โดยถือเป็นสะพานเหล็กสะพานแรกที่สร้างขึ้นเพื่อทอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา  และเป็นที่น่าเสียดายว่านยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานนี้ก็โดนพิษของระเบิดอยู่อย่างสาหัส   กว่าจะได้บูรณะอีกครั้งก็หลังสงครามยุติลง    จนถึงทุกวันนี้  ผมเองก็ยังไม่เคยได้ไปสัมผัสสะพานนี้ด้วยตนเอง

นี่เป็นอีกสถานที่หนึ่งในความทรงจำเด็กบ้านนอกอย่างผมครับ -  และเชื่อว่าสะพานนี้ก็น่าจะบอกความเป็นประวัติศาสตร์ไทยได้บ้างเหมือนกัน

 

 

เรื่องวิถีชีวิตคนไทยที่ผูกติดกับสายน้ำ  จนเห็นคลอง, สายน้ำและสะพานอยู่เกลื่อนเมืองนั้น  เป็นภาพชีวิตที่ผมจินตนาการและซาบซึ้งอย่างไม่รู้ลืม 

ยิ่งบ้านเกิดของตนเองอยู่ติดกับเขื่อนยิ่งทำให้ตนเองหลงรักแม่น้ำอย่างเป็นชีวิตจิตใจ

ในโคลงพระราชพิธีทวาทศมาศ  พระนิพนธ์ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลากรมพระยาบำราชปรปักษ์   มีหลายบทที่เขียนเรื่องราวอันเป็นภาพชีวิตในแบบวิถีไทยซึ่งผูกติดกับสายน้ำอย่างแจ่มชัด  เช่น

เหล่าหญิงเก็บผักเหล้น         นานา

ตบตับเต่าสันตวา                 ผักบุ้ง

แพงพวยอีกต้นขา                เขียดเก็บ  มากแฮ

บัวเผื่อนผักก้ามกุ้ง               กับทั้งใบบัว

.....

กลอนเพียงบทเดียวแต่ปรากฏชื่อพืชผักวัชพืชในทุ่งนาหน้าน้ำได้อย่างน่าประทับใจ  

ขอบพระคุณครับ

  • ขอบคุณมากครับที่แวะไปทักทาย  จึงถือโอกาสแวะเข้ามาเยี่ยมบ้าง 
  • ข้อมูลของคุณSasinanda น่าสนใจ  ผมเองก็ชอบอ่านเกร็ดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์  โอกาสหน้าคงต้องขออนุญาตเข้ามาเยี่ยมอีก
  • ผมเองยังเป็นมือใหม่หัดขับ เกี่ยวกับg2k มาก  หากมีอะไรจะแนะนำก็ยินดีครับ

สวัสดีค่ะน้อง อ้อยควั้น

ดีใจที่มาเยี่ยมและอ่านนะคะ

พิพิธภัณฑ์นี้ มีสิ่งที่สำคัญและน่าสนใจให้ชมและเรียนรู้มากมาย

เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติของอุษาคเนย์

แสดงที่ตั้งสภาพทางภูมิศาสตร์ของภาคพื้นทวีปและหมู่เกาะในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่าและพรรณพืช

จัดเป็นป่าร้อนชื้น ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกนะคะ

นำรูปป่าฝนของเรา แต่เป็นป่าจำลองจากเชียงใหม่มาให้ดูนะคะ

 

สวัสดีค่ะคุณชาติ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

พิพิธภัณฑ์นี้ จะแสดงการเชื่อมโยง ของท้องถิ่นในดิแดนอุษาคเนย์โบราณ ตั้งแต่บริเวณยูนนาน อัสสัม กวางสี จนถึงหมู่เกาะอิโดเนเซียค่ะ ซึ่เดิม เคยเป็นแผ่นดินเดียวกัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ทำให้แยกออกจากกัน และยังมีการแสดงถึง เรื่องราวของมนุษย์สมัยแรกด้วย เช่น มนุษย์ชวาและอื่นๆ ซึ่งมีวิวัฒนาการเป็นชุมชนชาติต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไปค่ะ

สวัสดีค่ะคุณนารี

ความเป็นมา และประวัติ ของอุษาคเนย์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากค่ะ เพราะนอกจากเรื่องของวิวัฒนาการของชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆแล้ว

เรื่องภาษาตระกูลต่างๆก็น่าสนใจมากนะคะ

แต่ที่พิพิธภัณฑ์นี้ จะเน้นที่ ความเป็นสุวรรณภูมิของเราค่ะ ซึ่งเป็นศุนย์กลางการค้าและการคมนาคมในภูมิภาคนี้เลยค่ะ

เป็นจุดนัดพบระหว่างตะวันตกและตะวันออกค่ะ และการรับวัฒนธรรม จากจีนและอินเดียเข้ามา รวมทั้งการสร้างบ้านเมืองและรัฐ ยุคที่เริ่มมีศาสนาและตัวอักษร

ภาพ จากหนังสือพิพิธเพลินค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณพนัส แผ่นดิน

ดีใจที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ค่ะ และยังบอกให้อิ่มใจไปด้วยว่า.......

ขอบคุณบันทึกสาระแห่งความเป็นไทย  ที่ทำให้คนที่รักความเป็นไทยอย่างผมอิ่มสุขอย่างล้นเหลือ 

สมัยก่อน ตอนเด็กๆ พี่ก็ไปเดินซื้อของแถวบางลำพูบ่อยๆค่ะ ชอบไปที่นี่ แบบคุณพนัสค่ะ

คำว่า บางลำพูนี้ ไปค้นที่มาที่ไปจาก ราชบัณฑิตยสถานได้ดังนี้ค่ะ

บางลำพู - บางลำภู โดย ศ.พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ

ในปัจจุบัน กทม. ได้พยายามอำนวยความสะดวกในเรื่องป้ายบอกเส้นทางจราจรและป้ายบอกชื่อสถานที่ใน กทม. ได้ดีกว่าในทุกยุคทุกสมัย นับว่าน่ายกย่องชมเชยมาก อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องการเขียนชื่อวิสามานยนามที่ยังไม่ยุติกันก็ยังมีอยู่ เช่น คำว่า “บางลำพู” หรือ “บางลำภู” ถ้าท่านผ่านไปที่หน้าร้านสรรพสินค้า “นิวเวิลด์” ที่บางลำพู ท่านจะเห็นป้ายบอกชื่อ “บางลำภู” ติดตั้งอยู่ข้างหน้าตึกอย่างชัดเจน

          คำว่า “บางลำภู” (ใช้ ภ) ทั้ง ๆ ที่ความจริงควรจะเขียนเป็น “บางลำพู” (ใช้ พ) ทั้งนี้เพราะเรามี “บางลำพูล่าง” อยู่ที่เขตคลองสานแห่งหนึ่งแล้ว ที่นี่ความจริงก็ควรจะเป็น “บางลำพูบน” และถ้าหากสังเกตป้ายธนาคาร ห้างร้านต่าง ๆ แถวบางลำพูนั้น จะพบว่าเขียนเป็น “บางลำพู” (ใช้ พ) ก็มีเป็น “บางลำภู” (ใช้ ภ) ก็มี เหตุที่ข้าพเจ้าเห็นว่าควรเขียนเป็น “บางลำพู” (ใช้ พ) นั้

น ก็เพราะเดิมที่บริเวณ “บาง” แห่งนี้ คงมีต้นลำพูมากจึงเรียกว่า “บางลำพู” ชื่อวิสามานยนามในลักษณะอย่างนี้มีทั่วไปทั้งประเทศ เช่น “บ้านม่วง” เพราะมีต้นมะม่วงมาก “บ้านยาง” เพราะมีต้นยางมาก “บ้านงิ้วราย” ก็เพราะมีต้นงิ้วเรียงรายอยู่มาก ชื่อวิสามานยนามเหล่านี้อยู่ที่บ้านเกิดของข้าพเจ้าที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี นี่เอง จึงยืนยันได้

 

เคยไปกินโรตี ที่ร้านโรตีมะตะบะ  ร้านอยู่ตรงข้ามสวนสาธารณะสันติชัยปราการ

 โรตีเปล่าๆ กินกับ มัสมั่น กูรหม่า หรือจะเป็นแกงเขียวหวานก็อร่อยค่ะ

เรากำลังคุยกันเรื่อง บางลำพู ที่จะข้ามขั้น บันทึกมานิดนึง ไม่เป็นไรค่ะ เพราะ บันทึกหน้าก็จะเข้ากรุงเทพฯแล้วเหมือนกัน

บางลำพูทุกวันนี้ ก็คล้ายๆเดิม   มีร้านขายเสื้อผ้าเป็นส่วนใหญ่   ตั้งแต่ชุดนักเรียนไป จนสูงวัย  ที่จอดรถมีไม่มาก แต่ร้านขายอาหารน้อยลงมากค่ะ คงขายไม่ดี คนมาเดินน้อย ไม่สะดวกเรื่องจอดรถค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ sasinanda

  • ไม้ได้แวะมาเยี่ยมเสียนาน ผ่านมาทีไรไม่เคยผิดหวัง
  • ได้ความรู้ไปเพียบ 
  • ขอบคุณมากค่ะที่ทำให้รู้จักพิพิธเพลิน ดูแล้วยังเพลินอยู่เลย
  • ขออนุญาติ  COP ไปสอนเด็กบ้างได้มั้ยค๊ะ
  •  วันหลังจะแวะมาหาใหม่ ขอบคุณค่ะ
แวะมาเยี่ยมยินดีและเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูแพลนเน็ตแล้วน่าสนใจมากครับ

 คุณพนัสคะ.....

เรื่องสะพานพระรามหกนี้ พี่คุ้นเคยมากๆค่ะ เพราะ แต่ก่อนบ้านอยู่เมืองนนท์ ถนนพิบูลสงคราม ริมถนนเลย ต่อมาขายให้Narai Propertyไป

สะพานพระราม 6 (Rama VI Bridge)

เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมระหว่างแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กับแขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันสะพานพระราม 6 ปิดการจราจรส่วนที่เป็นถนน เมื่อมีการก่อสร้างสะพานพระราม 7 ขึ้นเป็นสะพานคู่ขนานแล้วนำส่วนที่เคยเป็นถนนแปรสภาพเป็นทางรถไฟ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทางคู่ช่วงบางซื่อ-นครปฐม สำเร็จเมื่อปี 2546

 แม้กระนั้นก็ตามเวลาใช้งานจริงต้องให้รถไฟ ผ่านเข้าไปทีละขบวน เพื่อป้องกันไม่ให้สะพานทะลายลงมาเพราะน้ำหนักเกินพิกัด

ประวัติของสะพานนี้ ก็น่าสนใจมากค่ะ....

สะพานพระราม 6

 เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกของประเทศไทย เซ็นสัญญาก่อสร้าง เมื่อ เมษายน พ.ศ. 2465

 เริ่มการสร้างเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2465 วางหีบพระฤกษ์เมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2466 โดย กรมพระกำแพงเพชอัครโยธิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานได้ถูกกองทัพสหรัฐและอังกฤษทิ้งระเบิดอย่างหนัก

ที่สุดสะพานขาดเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 และได้ซ่อมแซมใหม่โดยบริษัทดอร์แมนลอง (ผู้รับเหมาจากประเทศอังกฤษที่เคยประมูลการก่อสร้างสะพานพระราม 6 แต่แพ้ประมูลเพราะค่าเงินปอนด์แข็งเกินไป)

 และบริษัทคริสเตียนนีแอนด์นีลเส็น (ไทย) จำกัด (ผู้รับเหมาเดนมาร์กที่ภายหลังได้เป็นผู้รับเหมาไทยเต็มตัวเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพราะย้ายฐานมาเมืองไทย

 มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นสำคัญ) ในระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2496 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานพระราม 6 หลังจากซ่อมแซมแล้ว เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 โดยใช้รถจักรดีเซลสวิส เบอร์ 563 ทำขบวนเสด็จ

ใช่เลย  อย่างที่คุณพนัส บอกค่ะว่า.....สะพานนี้ก็น่าจะบอกความเป็นประวัติศาสตร์ไทยได้บ้างเหมือนกัน

สวัสดีค่ะคุณ นาย สมเจตน์ เมฆพายัพ

ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ เข้ามาเยี่ยมที่บล็อกนี้ค่ะ

ที่นี่ เป็นบล็อกที่ บันทึกเรื่องราวต่างๆที่เจ้าของบ้านคิดว่า  น่าสนใจค่ะ ด้วยกแนวการบันทึกที่อ่านง่ายๆ สบายๆค่ะ ยินดีต้อนรับทุกเวลาค่ะ

บันทึกนี้ เกี่ยวข้องด้วยประวัติศาสตร์ อันยาว นาน ของเรา จึงมีเรื่องให้กล่าวถึงเยอะหน่อย เพราะเราจะไปเรียนรู้ด้วยกันที่พิพิธภัณฑ์ ที่ย้อนยุคไป ตั้งแต่ สมัยเริ่มแรกมีมนุษย์เกิดขึ้นที่ๆเป็นประเทศไทยอยู่ ณ ปัจจุบันค่ะ และบันทึกนี้จะหยุดที่ปลายกรุงศรีอยุธยานะคะ

พอเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ ก็จะมีภาคต่อ อีกหนึ่งภาคค่ะ

ณ ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์นี้นะคะ มีประวัติอันยาวนานมาเช่นกันค่ะ...

คือ เมื่อ 450 ปีก่อน บริเวณนี้ เคยเป็นฐานที่มั่นของทหารฝรั่งเศสในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ต่อมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์บริเวณเดียวกันนี้คือที่ตั้งของวังเจ้านายหลายต่อหลายพระองค์ในอดีตเคยประทับอยู่

 จนถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ทำการกระทรวงพาณิชย์ได้ถูกสร้างขึ้น

และต่อมาได้ถูกบูรณะให้เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรกของเมืองไทย ท่ามกลางบรรยากาศกรุงเก่าที่แวดล้อมไปด้วยตลาด วัด และวัง ณ ชุมชนท่าเตียนบนเกาะรัตนโกสินทร์

ตัวอาคารที่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป สูง 3 ชั้น สีเหลืองนวลๆ  ประดับลวดลายปูนปั้นงดงาม สถาปนิกผู้ออกแบบคือ นายวิตโตริโอ โนวี นายช่างเอกจากเมืองมิลาน และมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาลี ในช่วงปีพ.ศ. 2465

ตอนระหว่างก่อสร้าง มีการจัดกิจกรรม ‘พิพิธเพลิน

ตอน นักโบราณคดีน้อย’ ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างรื่นรมย์โดยสวมบทบาทเป็นนักโบราณคดีน้อยขุดค้นในพื้นที่จริงและสลับบทบาทมาเป็นนักภัณฑารักษ์จิ๋วเพื่อจัดนิทรรศการสิ่งของที่ขุดค้นได้ร่วมกับเพื่อนๆด้วยค่ะ

ศาสตราจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานกรรมการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า....


ในอนาคตทางสถาบันยังมีแนวคิดจะขยายพื้นที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ที่มีชีวิตในหัวข้ออื่นต่อไป โดยมีสถานที่กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มอาคารที่เรียงรายอยู่ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในตั้งแต่ศาลฎีกา กระทรวงกลาโหม ไปจนถึงกรมการรักษาดินแดน และกรมแผนที่ทหาร

แต่ในระยะเริ่มต้นจะมีพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรกที่นี่เพียงแห่งเดียวก่อน

คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา ก็เป็นที่ปรึกษา สพร.ด้วยค่ะ

คุณพนัส กล่าวถึงความประทับใจกับสายน้ำ......

เรื่องวิถีชีวิตคนไทยที่ผูกติดกับสายน้ำ  จนเห็นคลอง, สายน้ำและสะพานอยู่เกลื่อนเมืองนั้น  เป็นภาพชีวิตที่ผมจินตนาการและซาบซึ้งอย่างไม่รู้ลืม 

บ้านเมืองเราเป็นบ้านเมือง แห่งน้ำค่ะ

น้ำแทรกซึมอยู่ในสิ่งต่างๆเต็มไปหมด ไม่ว่า จะเป็นพิธีกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมหรือการวางผังเมืองนะคะ

ท่าน ศาสตราจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช กล่าวว่า....

ในปัจจุบันเรามีการศึกษาเรื่องโบราณคดีสุโขทัย โบราณคดีอยุธยา แต่โบราณคดีรัตนโกสินทร์ยังไม่มี

ผมเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การเกิดองค์ความรู้ในเรื่องโบราณคดีรัตนโกสินทร์ และจะนำไปสู่ความเข้าใจ รักหวงแหนมรดกวัฒนธรรมของประเทศไทยต่อไป

เราสามารถปรับประยุกต์มรดกทางวัฒนธรรมไปใช้เพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม เพื่อความยั่งยืน”

ศ.ชัยอนันต์กล่าวถึงแนวคิดด้านการท่องเที่ยวของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติว่า

"ขณะนี้ได้มีการจัดทำแผนแม่บทเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวไว้แล้ว เพราะบริเวณนี้เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ความสนใจมาก หลังจากเปิดอย่างเป็นทางการแล้ว พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งนี้ก็จะเป็นแหล่งให้ความรู้ทางวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งที่สามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้

 นอกจากนี้ สถานที่ใกล้เคียงอย่างวัดโพธิ์ ก็เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อย่างดีอีกแห่งในละแวกใกล้เคียงกัน

 ส่วนเรื่องอัตราค่าเข้าชมนั้น ประธานสพร. บอกว่ายังไม่ได้คิดว่าจะกำหนดค่าผ่านประตูชาวต่างชาติอยู่ที่เท่าใด เพราะในส่วนของประชาชนไทยทั่วไปนั้นไม่มีการคิดค่าเข้าชมแต่อย่างใด

ทว่า การจะคิดเงินเฉพาะชาวต่างชาติอย่างเดียวก็อาจจะดูไม่เหมาะ

จึงอาจปรับเน้นไปที่การขายสินค้าของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวชดเชยส่วนของค่าเข้าชมไม่ให้มีราคาสูงมากเกินไปนัก

ที่สำคัญคือ การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ให้มากเกินกว่าสถานที่จะรองรับได้"

ข้อมูลบางส่วนจาก  หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน

สวัสดีค่ะคุณ pepra

ที่ถามว่า....

  • ขออนุญาติ  COP ไปสอนเด็กบ้างได้มั้ยค๊ะ
  • ยินดีค่ะ ถ้าจะเป็นประโยชน์ แต่ช่วยบอกแหล่งที่มาด้วยนะคะ และมีข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจอีกดังนี้ค่ะ

    ข้อมูลจาก   หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน อ้าง คำให้สัมภาษณ์ของท่าน ศ.ชัยอนันต์ ว่า.....

    นอกจากจะมี  แนวคิดด้านการท่องเที่ยวของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติแล้ว


    ทางด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.  

     ยังได้กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินหัวลำโพง-ท่าพระ และเริ่มยกระดับขึ้นบนดินที่ท่าพระ ที่มีแนวคิดว่าจะสร้างรถไฟฟ้าผ่านสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ด้วย

     ขณะนี้ทางรฟม. ได้มีการศึกษาพรบ.ร่วมทุนกับเอกชนเพื่อรอเสนอให้ ครม. เห็นชอบ จึงจะเริ่มประกวดราคา คาดว่าไม่น่าเกินปลายปีนี้จะเริ่มประกาศและก่อสร้างประมาณต้นปีหน้า

    เนื่องจากเส้นทางเดินรถสายสีน้ำเงินนี้ต้องตัดผ่านย่านโบราณสถานเก่าแก่ และยังต้องระวังปัญหาการทรุดตัวของพื้นดินและสิ่งแวดล้อม ทางผู้บริหาร รฟม.ยืนยันว่า มีการศึกษาผลกระทบในทุกด้านทั้งทางด้านเทคนิคและสิ่งแวดล้อม รวมถึงความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง

    “เราก็ได้ปรึกษากับกรมศิลป์แล้วว่าบริเวณที่เราจะขุดอุโมงค์ผ่านไม่น่าจะมีโบราณวัตถุ เพราะเป็นถนนเก่า ไม่ใช่บริเวณที่เป็นวัง

     เพราะฉะนั้น น่าจะทำให้สบายใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จุดที่เราผ่านในการดำเนินการแบบไม่มีการเปิดหน้าดิน คือจะมีการขุดพื้นที่พยายามเปิดหน้าดินแค่จุดเดียวเล็กๆ แล้วก็จะเอาหัวขุดลง แล้วก็ลำเลียงวัสดุก่อสร้าง จะไม่มีการเปิดหน้าดินยาว 200 เมตรเหมือนที่เราทำสมัยการก่อสร้างสายแรก

     ตรงจุดนี้จะช่วยให้ไม่กระทบกับข้างบนมากนัก ขณะเดียวกันเรามีข้อตกลงว่าระหว่างการขุดถ้าเราเจออะไร เราจะหยุดแล้วมาหารือกัน ว่าจะทำยังไงเราจะเอาของมีค่าเหล่านั้นขึ้นมาแสดง

     อย่างน้อยที่สุดเอาไว้ในสถานีก็ยังดี ทำเหมือนกับที่ประเทศกรีซ สถานีที่กรุงเอเธนส์

     เนื่องจากประเทศเขาเก่าแก่มาก เขามีการขุดเจอโบราณวัตถุ เขาก็หยุดการก่อสร้างแล้วขุดนำโบราณวัตถุเหล่านี้ออกมาก่อน พอก่อสร้างเสร็จก็นำสิ่งของโบราณเหล่านี้มาแสดงนิทรรศการที่สถานี

    ให้คนได้เห็นความเป็นมาของประวัติศาสตร์ชาติเขา ทางเราก็มองคล้ายๆ กัน เพราะพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้คนภาคภูมิใจในความเป็นชาติและมีประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องและยาวนาน

    ทางรฟม. สามารถช่วยได้ในการนำพาคนมาท่องเที่ยวหรือมาเรียนรู้ได้สะดวก จะได้ลดปัญหาการจราจรและความสั่นสะเทือน รวมทั้งมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อโบราณสถานที่เรารักและหวงแหน” ผู้ว่าฯ ประภัสร์ทิ้งท้าย

    วันนี้ ขอนำต้นลำพูมาฝากนะคะ


    สวัสดีค่ะคุณ เสียงเล็กๆ

    คงเคยได้ยินชื่อชาวเขา  เผ่าเมี่ยนหรือเย้า ใน 3 จังหวัด คือ พะเยา เชียงราย ลำปางแล้วนะคะ

    มีความเป็นมาน่าสนใจค่ะ......

    จากฐานข้อมูล การวิจัยทางชาติพันธุ์  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

      เมี่ยน [เย้า] ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คืออยู่ในตระกูลจีนธิเบต ได้ปรากฏครั้งแรกในเอกสารบันทึกของจีน สมัยราชวงศ์ถัง โดยปรากฏในชื่อ ม่อ เย้า มีความหมายว่าไม่อยู่ใต้อำนาจของผู้ใด

    คนเย้าในประเทศไทย เรียกตัวเองว่า เมี่ยน หรือ อิ้วเมี่ยน ซึ่งมีความหมายว่า มนุษย์ หรือ คนเหยา 

     การเดินทางจากจีนสู่ประเทศไทย ชาวเมี่ยนเผ่าเดิมมี 12 สกุล เส้นทางการอพยพของสกุลใหญ่ ๆ จะรู้เส้นทางชาวเย้าเผ่าเมี่ยนทั้งหมด

     ในหนังสือทางลงจากภูเขาของบรรพชน 12 สกุลที่ตำบลจงเหอเซียง อำเภอปกครองตนเอง ชนชาติเย้าเจียงหัว มณฑลฮูหนาน

    ถิ่นเดิมของชนชาติเย้าอยู่ที่นานไห่ผู เฉียวโถว จากตำนานชาวเย้าบางเผ่าที่อาศัยอยู่ตอนใต้ของทะเลสาปต้งถิงหู ก็มีเล่าว่าบรรพชนของพวกเขาย้ายมาจาก ผู เฉียว โกว แถบฝั่งเหนือของทะเลสาปต้งถิงหู จึงสันนิษฐานได้ว่า หนานไห่น่า จะหมายถึง ทะเลสาปต้ง ถึงชาวเย้า 12 สกุล

    คงจะข้ามทะเลสาปอพยพมาสู่ภาคใต้ ราวศตวรรตที่ 15-16

    ชาวเย้าเผ่าเปี้ยน อพยพเข้ามาสู่ภาคเหนือของเวียตนามผ่านประเทศลาว และอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยในราว 100 ปีมานี้เอง

    ชาวเมี่ยน     มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านดูแลสุขภาพในด้านพฤกษศาสตร์และด้านจิตวิญญาณจากเผ่าเมี่ยนในอดีต  ค่อนข้างมาก

    เมื่อถึงคราวเจ็บป่วย ชาวบ้านจะใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพพื้นบ้านที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีต ทั้งใช้วิธีการบีบนวด ไล่เลือดลม ยาสมุนไพร ใช้คาถาประกอบพิธีกรรม บางส่วนชาวบ้านสามารถทำได้เอง

     บางส่วนก็อาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น หมอยาสมุนไพร หมอผี หมอคาถา การดูแลรักษาสุขภาพของเมี่ยนจะเกี่ยวโยงกับการให้ความเคารพ ปฏิบัติและยึดมั่นตามหลักความเชื่ออย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ เช่น การเคารพบวงสรวงต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วให้มาคุ้มครองคนในครอบครัวให้รอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ

     โดยความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของเมี่ยนแบ่งได้ 4 ประเภทคือ 1) เกิดจากการกระทำของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ

    2) เกิดจากการที่ขวัญไม่อยู่หรืออกจากร่างกาย

    3) เกิดจากการดูแลสุขภาพและความผิดปกติของร่างกาย

    4) เกิดจากอุบัติเหตุ
    ประเภทหมอพื้นบ้าน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1)กลุ่มที่รักษาทางกาย ใช้การบีบนวด จับเส้น ใช้ยาสมุนไพร

    2) กลุ่มที่รักษาทางจิตวิญญาณ เรียนตำราหรือผู้รู้ที่เชี่ยวชาญด้านนี้และนำไปปฏิบัติจนชำนาญ เช่น คนเข้าทรง หมอคาถา เป็นต้น

    เป็นเรื่องที่น่าสนใจนะคะ และปัจจุบัน  พวกเขาก็เป็นสมาชิก อยู่ในประเทศไทยด้วยค่ะ

    ขออนุญาตนำข้อความของ ลุงเอก ที่เกี่ยวข้องมาไว้ที่นี้ด้วยค่ะ

     

    คิดเสมอว่า  คนที่ไม่มีอดีต  คือคนที่ไม่มีอนาคต   ให้ศึกษาอดีต  เพื่อกำหนดอนาคต
    คนไม่มี รากเหง้า  จะถูกคนอื่นกำหนดอนาคต 

    • ตามมาดู
    • ชอบเรื่องนี้
    • อยากให้เมืองไทยมีพิพิธภัณฑ์ดีมากๆ
    • ขอบคุณมากครับผมที่ไปอวยพรวันตรุษย์จีน
    • ตามน้องขจิตมารับอั่งเปาค่ะพี่
    • เห็นซองแดงมาแต่ไกล ขอบคุณพี่มากค่ะ
    • งานยุ่งมากค่ะช่วงนี้ไมได้แวะทักทายใครเลย
    • ขอสิ่งดีๆบังเกิดแก่พี่เช่นกันนะคะ
    • หวังว่าหลังตรุษจีนเราคงได้คณะรัฐบาลที่นำพาประชาชนให้พ้นวิกฤติเศรษฐกิจนะคะ
    สวัสดีครับ

    ความจริงผมก็ติดตาม ถามข่าวเรื่องนี้อยู่บ้าง เป็นเพราะว่ายังไม่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการนี่เอง เลยยังไม่มีใครเคยไปเยี่ยมชม

    ดูจากภาพและที่เล่ามาแล้ว น่าตื่นตาตื่นใจมากจริงๆ คงน่าสนุกด้วยทั้งสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ คงเหมือนหนังสือ ถ้ามีแต่ตัวหนังสือแล้ว ก็อ่านกันเหนื่อย ปวดตาด้วย มีภาพสวยๆ มีตัวหนังสือน้อยใหญ่สลับกันไป ได้พักสายตา ได้คิดไป อ่านได้จบจนลืมเหนื่อย

    เรื่องชาวเมี่ยน ผมเคยไปเยี่ยมบ้านพวกเขา บนเขาบนดอย ไปชมการปักผ้าลาย พร้อย สาวๆ ก็น่ารัก เด็กๆ แก้มแดงเหมือนเด็กจีน

    เรื่องภูมิปัญญานั้น เรามีที่น่าสนใจหลากหลาย แต่กระจายไปหมด ไม่ค่อยจะมีรวบรวมเอาไว้ จึงดูเหมือนว่าชาติเราไม่มีองค์ความรู้เป็นของเฉพาะตัว

    ต้องขอบคุณผู้เขียนบันทึกนะครับ ที่เล่าได้ละเอียดลออ คนที่เข้ามาอ่านบันทึกนี้คงจะใจจดใจจ่ออยากไปชมของจริงเสียเร็วๆ

    สวัสดีค่ะคุณ naree suwan

    คนไทยสมัยก่อน มีค่านิยม ของความเป็นคนมีน้ำใจ ช่วเหลือเกื้อกูลกันมาก

    แต่เดี๋ยวนี้ประเทศเรพัฒนาเข้าสู่ความทันสมัย ความมีน้ำใจกลับลดลง ต่างคนต่างอยู่มากขึ้นนะคะ

    อย่างไรก็ตาม คนไทยยังมีศูนย์รวมใจที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวร่วมกันอยู่ และมีความรู้สึกร่วมกันอย่างแท้จริง ว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน ไม่ว่า จะมีเชื้อชาติใดก็ตาม ขอนำรูปในหลวงมาฝากค่ะ จากหนังสือ Our Beloved King ของคุณ Anuchai Secharunputong

    สวัสดีค่ะคุณ  ธ.วั ช ชั ย

    ขอบคุณที่ชมว่าเล่าได้ละเอียด จริงๆ ไม่ละเอียด ขอให้ไปชมเอง บางคนยังไม่ได้ไป ก็จะได้ทราบว่า เขาแสดงอะไรไว้บ้าง เผื่อตรงกับความสนใจ จะได้ไปชมค่ะ อย่าลืมไปชมให้ได้นะคะ

    สวัสดีค่ะคุณ ขจิต ฝอยทอง

     ขอบคุณที่แวะมาค่ะ ไทยจีนมิใช่อื่นไกล พี่น้องกันนะคะ พี่เองมีคุณย่า เป็นคนจีนค่ะ เลยมีการฉลองกันนิดหน่อย ไม่ได้ทำพิธีอะไร เพราะคุณย่า ก็เสียไปแล้ว คนไทย คนจีน แยกกันไม่ออกค่ะ

    ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้ แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่   มีการจุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี การเชิดมังกรและสิงโต ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคล  


    ธรรมเนียมจีนให้ความสำคัญการความเป็นสิริมงคลในการดำเนินชีวิต มีนัยแห่งการสร้างความเชื่อมั่นเป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต นับเป็นความชาญฉลาดทางจิตวิทยา อย่างน่ายกย่องของบรรพชนค่ะ

    ขอบคุณครับ

    ผมไม่ค่อยได้ติดตามข่าวด้านนี้

    สรุปง่ายๆว่าผมตกข่าวครับ

    แต่ผมก็ยังอยากเห็นการปรับการสอนมาสู่ความรู้ที่ ทำให้ทุกคนเข้าใจกัน และเห็นใจกัน มากกว่าที่คอยจะดูถูก ข่มเหง และแก้แค้นกัน

    และทำให้สิ่งที่พลาดไปแล้วเป็นบทเรียน

    และควรปรับการสอนกันในโรงเรียน ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ครับ

    สวัสดีค่ะดร. แสวง รวยสูงเนิน

    ลองไปดูที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้   เขาจะมีการแสดง    ประวัติศาสตร์ผู้คนและดินแดน ในอุษาคเนย์เพื่อให้คนในละแวกนี้ด้วยกันรู้ถึงรากเหง้า      ความเป็นมาของความเป็นพี่น้องเพื่อเกิดความสมานฉันท์ในอุษาคเนย์แห่งนี้    โดยเฉพาะความต้องการให้เด็กไทยสำนึกรักประเทศ รู้จักเอกลักษณ์ของตัวเองค่ะ

    บันทึกนี้ถูกใจค่ะ  เคยไปเที่ยวเมืองจีน แถบเทือกเขาอัลไต เลยนึกสงสัยว่า ตกลง รากเหง้าเรามาจากเทือกเขานี้ จริงหรือคะ

    สวัสดีค่ะคุณเดือน

    ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ตั้งแต่บันทึกด้านบนแล้วค่ะว่า....

    เริ่มต้นแสดงความเป็นมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์  มีหลักฐานชี้ชัดว่า มีมนุษย์ดึกดำบรรพ์ 500,000ปีที่แล้ว เคยอยู่ที่พื้นที่ประเทศไทยมาแล้ว คือ มนุษย์ ลำปาง 

    บางทฤษฏีบอกว่า น่าจะมีชนชาติไท อยู่อาศัยในแผ่นดิน ตรงที่เป็นประเทศไทยมา 4000 ปีแล้ว แต่ ยังไม่ปรากฏแน่ชัดจริงๆว่า บรรพบุรุษ ของชาวสุวรรณภูมิจริงๆ อาจจะเป็น ชนกลุ่มมองโกลลอยด์ ที่อพยพมาจากแผ่นดินจีน เมื่อ 3000 ปีก่อน มาแทนที่ ชนดั้งเดิมหรือไม่ ยังเป็นปริศนา ให้คนรุ่นใหม่ ต้องศึกษาต่อค่ะ

    ที่เทือกเขาอัลไต Altay Mountain อยู่ใจกลางเขตไซบีเรียตอนกลาง  มีรอยต่อของดิแดน 4 ประเทศคือ คาซัคสถาน รีสเซีย มองโกลเลียและจีน

    ชาวบ้านที่นี่ เป็นชนเผ่ามองโกล เผ่าอาซาเค่อ เผ่าถูวา อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของทะเลสาบ ชนเผ่าถูวา สืบเชื้อสายมาจากผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของมองดกลเลีย คือเจงกีสข่าน ดินแดนแถบนี้ เคยเป็นที่อยู่ของชาวรัสเซีย ก่อนที่ชาวถูวา จะมาอาศัยอยู่ค่ะ

    นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จะเรียนรู้ในส่วนที่ตนเองเกี่ยวข้อง จะเป็นในลักษณะนักประวัติศาสตร์ภาคกลางก็เรียนรู้เรื่องภาคกลางเสียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกันนักประวัติศาสตร์ทางภาคเหนือก็เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ เหมือนกับเป็นการเรียนรู้แบบแยกส่วน ขาดคนกลางที่จะนำประวัติศาสตร์ทั้งหมดมาสังเคราะห์และเชื่อมโยง จึงเกิดการแบ่งแยกนักประวัติศาสตร์ออกเป็นกลุ่มๆ และมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน

    ผมศึกษาประวัติศาสตร์มา 10กว่าปี ทั้งประวัติศาสตร์ชาติไทย ประวัติศาสตร์ล้านนา และประวัติศาสตร์ของกลุ่มไต แทบทุกสาขา(โดยเฉพาะไทยใหญ่) ซึ่งไม่มีหนังสือแปล เรียนรู้ด้วยภาษาไต จึงสามารถเชื่อมโยงได้ว่า คนไทย(กรุงศรีอยุธยา)ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะบรรพบุรุษของพระเจ้าอู่ทองมาจากเชื้อสายผู้ครองเมืองชัยปราการ และบรรพบุรุษของผู้สร้างอาณาจักรสุโขทัย มาจากเชื้อสายของผู้ครองเมืองชัยนารายณ์ (ปากแม่นำกก) ซึ่งทั้งสองเมืองได้ถูกขุนเสือข่านฟ้า กษัตรย์ไตมาวตีแตก และบรรพบุรุษของผู้นำเหล่านี้ก็อพยพมาจากอาณาจักรน่านเจ้า ที่ชาวไตเรียกว่า หนองแส นั่นเอง

    ส่วนคำถามที่ว่า แล้วหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่บ้านเชียง ที่เมืองกาญจนบุรี ซึ่งมีอายุเป็นหมื่นๆปี พวกนี้เป็นใคร นักประวัติศาสตร์ต้องช่วยกันศึกษาเรียนรู้และสรุปให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้ เชื่อมโยง

    คำตอบในการเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ ผมนำภาษามาวิเคราะห์ ร่วมกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้วย โดนเฉพาะภาษาพ่อขุนฯของเรา นำมาเชื่อมโยงกับภาษาล้านนา และที่สำคัญเชื่อมโยงกับภาษาไต (ไทยใหญ่) และเชื่อมกับภาษาไตในกลุ่มอื่นๆ คำตอบก็คือ พวกเราคือเทือกเหง้าเหล่ากอเดียวกันแน่นอน

    อาจารย์เก

    สวัสดีค่ะอาจารย์อาจารย์เก  คะ

    ดีใจเหลือหลายที่อาจารย์เข้ามาให้ขัอคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ยิ่ง

    ตอนนี้ เราน่าจะมีคนกลางที่จะนำประวัติศาสตร์ทั้งหมดมาสังเคราะห์และเชื่อมโยง จึงเกิดการแบ่งแยกนักประวัติศาสตร์ออกเป็นกลุ่มๆ และมีความเห็นที่ไม่ตรงกันแล้วนะคะ และคงจะใกล้เปิดแล้วค่ะ ดีมากๆค่ะ สมควรจะต้องไปดูค่ะ

    ....“พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” (National Discovery Museum Institute : NDMI)กำเนิดใหม่ สมิทโซเนียนเมืองไทย

    ที่พิพิธภัณฑ์นี้ จะเน้นที่ ความเป็นสุวรรณภูมิของเราค่ะ

    โดยจะเชื่อมโยงไปถึงความเป็นมา และประวัติ ของอุษาคเนย์ด้วย

    เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากค่ะ เพราะนอกจากเรื่องของวิวัฒนาการของชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆแล้ว ยังมีเรื่องภาษาตระกูลต่างๆด้วยค่ะ

    แต่ที่แน่ๆคือ พวกเราคือเทือกเหง้าเหล่ากอเดียวกันแน่นอนค่ะ

    ขอบคุณครับอาจารย์ ผมจะหาโอกาสไปชมพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติให้ได้ และที่ต้องกราบเรียนขออนุญาตอาจารย์ก็คือ ขออนุญาตนำบล็อคเกอร์ของอาจารย์เข้าแพลนเนตด้วยนะครับ ผมชอบประวัติศาสตร์และความรู้ใหม่ๆ วันนี้ผมก็ไปสอนนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน เรื่องประวัติศาสตร์แม่ฮ่องสอน ผมใช้เวลาสอนเรื่องนี้ 2 ตอน 6 ชั่วโมง เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของถิ่นฐานที่ตนอาศัยอยู่ ชาติพันธุ์ ผมสอนโดยละเอียดทุกแง่ทุกมุม เทเวลาให้กับเรื่องนี้มาก เพื่อให้นักศึกษามีความรัก ความภาคภูมิใจในถิ่นฐานของตน อยากมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาถิ่นฐาน ไม่ใช่เข้าแถวเรียงหนึ่งดาหน้าเข้าสู่เมืองหลวงให้ชีวิตเป็นไปตามกรรมเหมือนเช่นที่เป็นอยู่ เราต้องใช้ประวัติศาสตร์สะกัดกั้นคนรุ่นใหม่ไม่ให้เข้าสู่เมืองใหญ่ ผมคิดอย่างนั้นครับอาจารย์

    ขอบพระคุณอาจารย์ จะติดตามผลงานอาจารย์อยู่เสมอ

    อาจารย์เก

    สวัสดีค่ะ อาจารย์เก คะ เขินจังที่อาจารย์เรียกขานเสียโก้ไป ขอให้เรียกพี่ศศินันท์ก็ได้ค่ะ กันเองดี

    ไม่ได้มีความรู้อะไรมากนักค่ะ เพียงแต่ชอบประวัติศาสตร์และชอบการเรียนรู้ ทุกเรื่องที่เป็นประโยชน์ค่ะ และถ้ามีข้อมูลอะไร ก็อยากนำมาแชร์กันน่ะค่ะ

    เป็นคนชาตินิยมพอตัวเลย และถือว่าทุกคนที่เกิดในแผ่นดินนี้คือพี่น้องกันหมด และในความเป็นจริงไปไล่ดูได้ พวกเราก็เป็นพี่น้องเดียวกันมาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนไทยในประเทศไทยหรือคนชาติอื่นในอุษาคเณย์แห่งนี้ค่ะ

    และรู้สึกเป็นเกียรติ์และยินดีมากๆที่อาจารย์จะรับเข้าแพลนเนตค่ะ

    ในเรื่องนี้ได้เคยอ่านพบว่า  นักวิชาการจำนวนมาก เห็นว่า ควรปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา   เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนไทยว่า คนที่แตกต่างจากเราทางวัฒนธรรมโดยสิ้นเชิงนั้นก็มีสิทธิในชาติเท่าเทียมกับเรา วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายล้วนมีรากลึกอยู่ในแผ่นดินนี้ พัฒนาคลี่คลายมาตามลำดับอย่างลึกซึ้งอยู่ในวัฒนธรรมนั้นๆ ทั้งสิ้นค่ะ

    สวัสดีคะ

    ขอบคุณคะ สำหรับความรู้และเรื่องดีๆ พึ่งทราบนะคะว่ากบ คือสัตว์แห่งความสมบูรณ์ และ ทำให้นึกถึง เพลง ที่มีเนื้อร้องว่า ย่างเข้าเืดือน 6กบก็ร้องอบ อบ ... ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์จริงๆ และ มองเห็นความเป็นธรรมชาติได้อย่างชัดเจน คะ ประวัติศาสตร์ และเนื้อหา ผลผลิต ของศิลปิน ดั้งเดิมมักจะแฝงแนว่คิดไว้ให้เราเสมอ มองเห็นคุณค่าของความเป็นไท และ ธรรมชาติมากขึ้นคะ

    สวัสดีค่ะคุณ ก้ามปู

    ที่คุณบอกว่า...กบ คือสัตว์แห่งความสมบูรณ์ และ ทำให้นึกถึง เพลง ที่มีเนื้อร้องว่า ย่างเข้าเืดือน 6กบก็ร้องอบ อบ ... ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์จริงๆ และ มองเห็นความเป็นธรรมชาติได้อย่างชัดเจน

    ลืมเพลงนี้ไปเลยค่ะ เพิ่งนึกถึงเดี๋ยวนี้เอง ใช่ค่ะ ที่ตราสัญญลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นรูปกบ เพราะสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกประเภทกบ เป็นสัญญลักษณ์ของน้ำและความอุดมสมบูรณ์ ดังปรากฏรูปกบอยู่บนหน้ากลองสำริดหรือกลองมโหรทึก ที่คนอุษาคเณย์ยุคโบราณเมื่อ 3000 ปีก่อน ใช้ประโคมในพิธีกรรม

    นอกจากนี้ คนโบราณยังร่วมเต้นฟ้อนทำท่ากบด้วย มีภาพเขียนสี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตามเพิงผาและถ้ำ ตั้งแต่มณฑลกวางสีถึงบริเวณประเทศไทยที่สะท้อนลีลาท่าเต้นนี้

    สวัสดีค่ะ

    • ขอบคุณค่ะ .. ที่ทำให้ได้เรียนรู้ ชาติพันธุ์ตัวเอง
    • เล่าได้ดี มีรูปให้เห็น อยากไปชมและศึกษา
    • แต่ตอนนี้ ขอเรียนรู้จากบล็อก ของอาจารย์ก่อนค่ะ
    • ขออนุญาตเรียกว่าอาจารย์นะคะ
    • .......
    • ชื่นชม ยินดี และดีใจ ค่ะ ที่มีโอกาสรู้จักคนดี
    • ถือว่าเป็นมงคลของชีวิตทีเดียวค่ะ

     

     สวัสดีค่ะคุณ สีตะวัน

    ดีใจที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ พิพิธภัณฑ์นี้ ได้ข่าวล่าสุดว่าจะเปิดเดือนมิถุนายนนี้ค่ะ ต้องไปชมให้ได้นะคะ

    ผมจำได้ว่าพิพิธภัณฑ์จะเปิดให้เข้าชมประมาณเดือนหน้า แวะมายืนยันข้อมูลครับ

    สวัสดีค่ะคุณ  ข้ามสีทันดร

    ข้อมูลเปลี่ยนไปมาค่ะ ครั้งแรกสุด บอกว่า เดือนมิ.ย 51  แต่วันที่ไปชม เขาบอกว่า จะเปิดเร็วขึ้น เป็น เม.ย. 51

    วันพฤหัสที่แล้ว 20มี.ค. ให้เด็กโทรไปถาม เจ้าหน้าที่ บอก...

     เป็น มิ.ย 51อีกแล้ว จะโทร ไปถามให้แน่ๆอีกทีค่ะ วันจันทร์ที่24มี.ค. นี้ค่ะ

    ประเด็นความรู้ที่เสนอเป็นตัวอย่างที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้  เรียบเรียงโดย ท่านศาสตราจารย์ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์

    ประวัติศาสตร์สังคม

    ซึ่งอาจเจาะเฉพาะเรื่องราวของกลุ่มชนต่างๆ ในสังคมไทยที่ผมเลือกประเด็นความรู้เรื่องนี้ ก็เพราะสังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่มีความหลากหลาย

    แต่ความรู้ความเข้าใจในความหลากหลายเช่นนี้มีน้อย ทำให้ความขัดแย้งต่างๆ โน้มเอียงไปสู่ความรุนแรงได้ง่าย

    เพราะสังคมไม่ได้เรียนรู้และยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน ความหลากหลายของกลุ่มชนในสังคมไทยไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งมีอยู่มากเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงกลุ่มอาชีพ กลุ่มศาสนา กลุ่มวิถีชีวิต ฯลฯ   

     ซึ่งมีความหลากหลายอีกมาก ความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ของคนกลุ่มต่างๆ ในเวลาที่มีเรื่องขัดแย้งกับคนกลุ่มอื่น อันเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในทุกสังคมสมัยปัจจุบัน

    คืออาศัยฐานของอัตลักษณ์ซึ่งแตกต่างกันนี้เป็นเครื่องมือสำหรับการต่อรองโดยสันติในขณะเดียวกัน ก็มีงานศึกษา โดยเฉพาะวิทยานิพนธ์ในระยะหลัง ที่ศึกษาความหลากหลายของกลุ่มชนต่างๆ

    ในระยะหลังมานี้จำนวนไม่น้อย แสดงว่าเริ่มมีฐานะทางวิชาการที่แข็งแกร่งมา

     ฉะนั้นการศึกษาและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์สังคมไทยในแง่นี้ นอกจากจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสังคมตัวเองแล้ว   ยังมีส่วนช่วยให้ความขัดแย้งต่างๆ ซึ่งต้องมีเป็นธรรมดาในทุกสังคมดำเนินไปด้วยความสงบมากขึ้น 

      เพราะความรู้เช่นนี้ทำให้คนไทยยอมรับกันและกันตามความเป็นจริงมากขึ้น (คือไม่ใช่ยอมรับแต่ความเหมือนซึ่งเป็นเรื่องสมมติขึ้นเท่านั้น)

    สวยจังครับ และมีความรู้มากๆเลย

    สวัสดีค่ะคุณ คนโรงงาน

    ขอบคุณนะคะ ที่เข้ามาอ่าน ตอนนี้ทางพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมแล้วค่ะ ทุกวัน อังคาร-อาทิตย์  หยุดวันจันทร์วันเดียว เข้าชมได้ตั้งแต่ 10.00น- 18.00 น

    ความหมายของ  "พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ"

    "พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ" หมายถึง ....แหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้สู่สาธารณชน เรื่องความเป็นมานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

    ของผู้คนและดินแดนในประเทศไทย และดินแดนอื่นในอุษาคเนย์ รวมทั้งภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมธรรมชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์รื่นรมย์ สร้างสำนึกรักและเข้าใจผู้คน บ้านเมืองและท้องถิ่นของตน และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติกับประเทศเพื่อนบ้าน

    อันเป็นองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาค

     

    ไปอ่านงานวิจัย....ชื่อเรื่อง แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย   ชื่อผู้วิจัย สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ   ปี 2534

    สรุป สาระที่เกี่ยวข้องกับ บันทึกเรื่องนี้คือ...ขออนุญาต นำข้อเขียนโดยย่อ มาเผยแพร่  ณ ที่นี้ด้วย  ขอบคุณมากค่ะ

    ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางแผ่นดินใหญ่เอเชียอาคเนย์

    จึงมีความหลากหลาย ของภาษาและวัฒนธรรมของประชากรในชาติเป็นอย่างมาก
    แต่ในโลกยุคปัจจุบันภาษาและวัฒนธรรมของชนกลุ่มต่าง ๆ กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลายกลุ่มอยู่ในภาวะวิกฤต และกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยมีโอกาสสูญหายได้ในอนาคตอันใกล้

    งานวิจัยนี้เป็นงานที่ผนวกศาสตร์ ๓ ด้านเข้าด้วยกัน ได้แก่ ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ คอมพิวเตอร์ และการทำแผ่นที่ โดยได้ ๑) ศึกษารวบรวมภาษาที่พูดในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยปัจจุบันในระดับหมู่บ้าน (ประมาณ ๗ หมื่นหมู่บ้าน) ว่ามีภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ใด พูดอยู่ที่ไหน และมีผู้พูดมากน้อยเพียงใด โดยใช้แบบสอบถาม ๒) จัดทำฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์ด้านภาษาและชาติพันธุ์ในระดับประเทศ ๓) เผยแพร่ข้อมูลการวิจัยในรูปของแผนที่แสดงการกระจายของภาษาต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรมสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

    ผลการวิจัยได้พบว่า
    ๑. กลุ่มภาษาต่าง ๆ ในประเทศไทย มีทั้งสิ้นกว่า ๖๐ กลุ่ม ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษา ๕ ตระกูลสำคัญของภาษาในเอเชียอาคเนย์ คือ
    ๑) ตระกูลไท ประมาณร้อยละ ๙๔

    ๒) ตระกูลออสโตร เอเชียติก (มอญ-เขมร) ประมาณร้อยละ ๔.๓
    ๓) ตระกูลจีน-ธิเบต ประมาณร้อยละ ๑.๑
    ๔) ตระกูลออสโตรนีเชียนหรือมาลาโยโพลีเนเชียน ประมาณร้อยละ ๐.๓ และ
    ๕) ตระกูลม้ง-เมี่ยน (หรือแม้ว-เย้า) ประมาณร้อยละ ๐.๓ กระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งได้จัดเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลด้านภาษาและชาติพันธุ์ของประชากร

    ในการจัดแผนที่แสดงการกระจายของกลุ่มภาษาต่าง ๆ เสนอเป็น ๒ ลักษณะ คือ
    ๒.๑ แผนที่แสดงการกระจายของกลุ่มภาษาตามพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรม โดยแสดงการกระจายของภาษาในตระกูลต่าง ๆ แต่ละตระกูลทั้ง ๕ ตระกูล รวมทั้งการกระจายของภาษาใหญ่และภาษาย่อยในสังคม เช่น ภาษาท้องถิ่นตามภูมิภาค ภาษาพลัดถิ่น ภาษาชายขอบ ภาษาในวงล้อม เป็นต้น และได้แสดงการกระจายของแต่ละกลุ่มภาษาเป็นรายภาษาทั้ง ๖๐ กลุ่ม

    ๒.๒ แผนที่แสดงการกระจายของกลุ่มภาษาตามพื้นที่ภูมิศาสตร์การปกครอง โดยเสนอการกระจายของกลุ่มภาษาต่าง ๆ ในระดับประเทศ ภาค (แต่ละภาค) และรายจังหวัดทั้ง ๗๖ จังหวัด เป็นต้น
    ผลงานวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงทรัพยากรด้านภาษาและวัฒนธรรมของประเทศ ซึ่งกระจายในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถนำไปใช้เป็นฐานในงานด้านนโยบาย การปฏิบัติงานในพื้นที่ การวิจัยในระดับลึกด้านต่าง ๆ ทั้งด้านภาษาศาสตร์ สังคมวิทยามานุษยวิทยา การสืบค้นและสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิง และเป็นฐานข้อมูลด้านภาษาและวัฒนธรรมของประเทศ
     

    ได้ไปค้น หัวข้องานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับบันทึกนี้ ....ชื่อเรื่อง ความรู้เรื่องเมืองไทย : พัฒนาการทางสังคมไทย-วัฒนธรรมไทยความเป็นชนชาติไท ชีวิต-ประวัติศาสตร์ชาวนาสยาม

    ชื่อผู้วิจัย ศรีศักร วัลลิโภดม สุมิตร ปิติปัฒน์ และ ธิดา สาระยา

    ปี 2537 ผลงานวิจัย ทั่วไป
    จึงขออนุญาต นำมาลงไว้ เพื่อเป็นวิทยาทานและข้อมูลเพิ่มเติมด้วย...คือ.
    .

    มีนักวิชาการสามท่าน  ได้ศึกษาค้นคว้าในรูปสหวิทยาการ เพื่ออธิบายพัฒนาการของสังคมไทยใน ๓ หัวข้อหลัก  โดยอาศัยความรอบรู้ที่ทั้งสามท่านได้วิจัย ค้นคว้ามาตลอดเวลา  สาระสำคัญมีดังนี้....

                    ก. รศ.ศรีศักร  วัลลิโภดม  ได้ค้นคว้าและประมวลวิวัฒนาการของสังคมในย่านอุษาคเนย์  ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์  มาจนถึงการเกิดขึ้นของรัฐต่าง ๆ ในแว่นแคว้นสุวรรณภูมิ  การปรากฏตัวของคนไทยและการเกิดขึ้นของอาณาจักรสุโขทัย  อยุธยา และอื่น ๆ ตลอดมาจนถึงกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์

      การติดต่อกับสังคมวัฒนธรรมอื่น ๆ ทางตะวันตกและตะวันออก  การล่าอาณานิคมทางการเมือง และเศรษฐกิจของฝรั่งที่มีผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งหมด
    ที่ทำให้เห็นความต่อเนื่องและพลวัตของการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากการค้นคว้าเรียบเรียงประวัติศาสตร์ไทยในแนวอนุรักษ์ 
    มีการวิเคราะห์ตีความจากข้อมูลใหม่ หลักฐานใหม่ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี มานุษยวิทยา ภูมิศาสตร์

    และให้ความเห็นแตกต่างจากนักวิชาการต่างประเทศและนักวิชาการไทยอื่น ๆ ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลง ความเคลื่อนไหวของสังคมไทยในภาพรวม  เห็นความล่มสลาย  การเกิดใหม่  เห็นบทบาทของประชาชนที่ประกอบด้วยชาติพันธุ์ต่าง ๆ และเห็นเหตุปัจจัยที่ส่งผลความต่อเนื่องของชีวิตคนในเมืองไทยเป็นภาพรวม  จนถึงยุคปัจจุบัน
    ที่มีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในประชาคมโลก  และชี้ให้เห็นปัญหาของบ้านเมืองโดยรวมที่ช่วยให้เข้าใจความสลับซับซ้อนของสังคมไทยปัจจุบัน
                    ข. รศ.สุมิตร  ปิติพัฒน์  ค้นคว้าและเรียบเรียง เรื่องความเป็นชนชาติไทย  โดยพิจารณาจากมิติทางเชื้อชาติที่ผสมกลมกลืนกันหลายเชื้อชาติ,  มิติทางภาษาที่มีหลายภาษา  แต่มีภาษาไทยเป็นหลักในการหลอมรวมคนทั้งหลายเข้าด้วยกัน,  มิติทางการเมืองหลายยุคหลายสมัย   ที่มีพัฒนาการมาเป็นรัฐไทยและคนไทยปัจจุบัน 
    และสุดท้ายคือ มิติทางวัฒนธรรมที่มีอยู่หลายลักษณะ  แต่ได้ผสมกลมกลืนกัน  มีอยู่ทั้งความหลากหลายและความคล้ายคลึง  ภายใต้สำนึกร่วมในความเป็นไทยร่วมกัน

                    ค. รศ.ดร.ธิดา   สาระยา   ได้เรียบเรียบประวัติศาสตร์ชาวนาสยามในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยวิเคราะห์ลักษณะสังคมชาวนา  วิวัฒนาการของการปลูกข้าวในสยามประเทศ 
    โดยแบ่งเป็นยุคสมัยต่าง ๆ จนถึงที่สยามส่งข้าวเป็นสินค้าออกสู่ตลาดโลก 

    วิเคราะห์วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์สู่ความเป็นชาวนาในสังคมสยามใหม่ 
    รวมถึงได้ชี้ให้เห็นวิวัฒนาการของการจัดระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน,  ระบบชนชั้นทางสังคมและให้ความ เห็นเกี่ยวกับวิถีการต่อสู้และวิบากกรรมของชาวนาไทยที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป

    157. นิชา ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ มีข่าวที่น่าสนใจ ที่จะบอกต่อดังนี้ค่ะ....

     เมื่อกลางเดือน มีนาคม 2552 ที่มิวเซียมสยามเปิดโชว์ลูกปัดโบราณ"สุริยเทพคลองท่อม"ผลสำรวจแหล่งอารยธรรมโบราณพื้นที่ภาคใต้  ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4  มีความเป็นไปได้ว่า ศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่มาสู่เมืองไทยนานกว่า 2 พันปี
    การสำรวจแหล่งอารยธรรมโบราณในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนกลางตั้งแต่ จ.กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา และชุมพร หลังการค้นพบลูกปัดชนิดต่างๆ อายุราว 2,000 ปี ทั้งลูกปัดหิน ลูกปัดแก้วโมเสก ลูกปัดทองคำ เครื่องมือผลิตลูกปัด เช่นรางและเบ้าหิน ว่...
    ในพื้นที่ภูเขาทอง หมู่ที่ 4 ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง เขาสามแก้ว ต.นาชะอัง อ.เมือง จ.ชุมพร อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี และ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ขุดพบลูกปัดสัญลักษณ์ตรีรัตนะเป็นเครื่องหมายทางพุทธศาสนาของอินเดียสมัยโบราณทำด้วยทองคำและหินสีมีค่ากึ่งรัตนชาติทั้งคริสตัล อมิทิสต์ โมกุล และอความารีน
    ซึ่งนักโบราณคดีพิสูจน์พื้นที่ที่พบสัญลักษณ์ตรีรัตนะทางวิทยาศาสตร์ด้วยคาร์บอน 14 มีค่าอายุอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 4-13

    โดยมีข่าวว่า  ร.อ.บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ นักโบราณคดีระดับชำนาญงานพิเศษ สำนักงานศิลปากรที่ 15 จ.ภูเก็ต ให้สัมภาษณ์ว่า การค้นพบตรีรัตนะทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าชาวอินเดียโบราณนำสัญลักษณ์ดังกล่าวติดตัวระหว่างเดินทางมาทำการค้าในชุมชนทางภาคใต้ของไทย หรืออาจเป็นไปได้ถึงร่องรอยการเผยแผ่ของพุทธศาสนายุคแรกเริ่มจากประเทศอินเดีย

    ร.อ.บุณยฤทธิ์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีการค้นพบหลักฐานทางพุทธศาสนาที่เป็นรูปเคารพของชาวอินเดียนำเข้ามาเผยแผ่ในพื้นที่ของไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่พุทธรูปศิลปะอมราวดี ของอินเดีย ที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ที่จ.นครราชสีมา และที่เกาะเซเรเบส ประเทศอินโดนีเซีย แต่อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8

     มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เปิดแสดงนิทรรศการ"ปริศนาแห่งลูกปัด"อีกครั้งหลังจากที่ปิดชั่วคราวเนื่องจากเกิดเหตุคนร้ายบุกโจรกรรมลูกปัด "สุริยเทพคลองท่อม" เป็นลูกปัดโบราณอายุ 2,000ปีพบเพียงแห่งเดียวในโลกที่อ.คลองท่อม จ.กระบี่เมื่อวันที่ 5มีนาคม ต่อมามีผู้นำสุริยเทพคลองท่อมใส่ซองจดหมายส่งคืนให้มิวเซียมสยามเมื่อวันที่ 12มีนาคม

    พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ว่า ผู้เข้าชมนิทรรศการลูกปัดครั้งนี้ เกินเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ โดยมีผู้ชมมากถึง 300คน ทั้งที่ปกติคาดว่าน่าจะมีผู้เข้าชมเพียงวันละ 200คน ทั้งนี้เป็นเพราะสื่อมวลชนนำเสนอข่าวลูกปัด โดยเฉพาะลูกปัดสุริยเทพทำให้มีผู้สนใจมากขึ้นและรู้จักมิวเซียมสยามเพิ่มขึ้นอีกด้วย
    พล.ร.อ.ฐนิธกล่าวว่า มิวเซียมสยามได้ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยจนขณะนี้มีความมั่นใจ โดยเฉพาะการติดตั้งระบบเซนเซอร์ที่ดูแลตรวจสอบพื้นที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด รวมถึงระบบกล้องวงจรปิด ที่ติดตั้งเพิ่มอีก10จุดทำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท