อเมริกันยุคใหม่หิวสารสนเทศ กว่าครึ่งเข้าห้องสมุด


ข่าวดีรับปีใหม่ของชาวอเมริกัน คือ ในปีที่ผ่านมาคนอเมริกันกว่า 53 เปอร์เซ็นต์ได้ใช้งานห้องสมุด นั่นคือประชากรกว่า 150 ล้านคนเชียวนะครับ

Generation Y biggest user of U.S. libraries - survey

คิดกันง่ายๆ คือคนกว่าสองเท่าของจำนวนประชากรในประเทศไทยเข้าใช้ห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดในสถานศึกษา หรือห้องสมุดในหน่วยงานต่างๆ

ไม่แปลกใจที่เห็นสังคมอุดมปัญญาของอเมริกาครับ

ที่น่าสนใจคือ คนยุคใหม่ (Generation Y) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากและเติบโตมากกับเทคโนโลยีต่างๆ กลับเป็นกลุ่มที่มีการใช้งานห้องสมุดมากที่สุด

กลุ่มนี้เป็นกลุ่ม "ผู้หิวสารสนเทศ" (information hunger) ซึ่งเป็นความหิวที่ดีครับ ยิ่งหิวมากก็ยิ่งรู้มาก มีความรู้มากก็ย่อมไม่ตกเป็นเหยื่อทางสังคม

เมื่อย้อนกลับมาดูประเทศไทย... เอ่อ...

หมายเลขบันทึก: 156837เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2008 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะP

วันนี้เป็นวันที่ 1 ม.ค.2551 วันแรกของปี อากาสแจ่มใส ไม่ร้อนไม่หนาว สดชื่นมากค่ะ

เป็นที่น่าดีใจแทนสำหรับประเทศอเมริกา ที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้นๆ ซึ่งเป็นลักษณะของสังคมอุดมปัญญา

สมัยที่ดิฉันไปเรียนที่อเมริกา พาลูกชายอายุ 8 ขวบไปด้วย ที่โรงเรียนเขา ให้การบ้านทำreportส่งบ่อยมาก ซึ่งต้องเข้าห้องสมุดอย่างเดียว แต่ห้องสมุดเขาเยอะมากค่ะ การยืมการคืนก็สะดวก เด็กๆทุกคนเคยชินกับการเข้าห้องสมุด เลยกลายเป็นนิสัยติดตัวลูกมาจนปัจจุบัน

สำหรับประเทศเรา ดิฉันคิดว่าอยู่ที่ครอบครัวและสิ่งแวดล้อมเป็นหลักก่อน

ตัวอย่างตัวดิฉันเอง เกิดมาก็เห็นหนังสือ อยู่มากมายในบ้าน เห็นหนังสือ Life/Time/Reader Digest/เอนไซโคลพีเดียเล่มใหญ่ๆ  มา และใช้ประโยชน์ในการทำรายงาน ส่งครูด้วย+การเข้าห้องสมุด และเมื่อคุยๆกับคนอื่นๆที่ชอบอ่านหนังสือ เขาก็มีสิ่งแวดล้อมอย่างนี้เหมือนกัน

แต่ เด็กๆอีกมากที่ ไม่ได้มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และโรงเรียนก็ยังไม่ค่อยมีหนังสือให้อ่าน เด็กก็เลยไม่เคยชินค่ะ

จริงๆเด็กๆของเรา มีความสามารถในการเรียนรู้ทุกคน และจะชอบด้วย ถ้าเขาได้รับการปลูกฝัง ตั้งแต่เด็กๆ  และดิฉันก็เชื่อมั่นว่า เด็กๆมีสมองไม่ค่อยแตกต่างกันหรอกค่ะ อยู่ที่สิ่งแวดล้อมและโอกาสของเขาค่ะ

คุณภาพของการศึกษาจึงกลายเป็นเรื่องของโอกาสและความใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต

คุณภาพการศึกษาจึงไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนอย่างเดียว  แต่อยู่ในสังคมวงกว้างด้วย

และสื่อของสังคมไทยนั้นเป็นอย่างไร ทีวีมีแต่ละครน้ำเน่า หนังสือบันเทิงและกีฬาคือสิ่งที่คนอ่านมากที่สุด ทั้งประเทศจะหาห้องสมุดได้น้อย เมื่อเทียบกับจำนวนพลเมือง เด็กๆจึงไม่ค่อยเคยชินกับห้องสมุดค่ะ

 ถ้าเรามีวัฒนธรรมสารสนเทศแล้ว ต้องสามารถบอกกล่าว เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารที่ตนเองมีอยู่ในมือ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารนั้น และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ มิใช่มีข้อมูลอยู่ในมือแล้ว รู้เรื่องอยู่เพียงผู้เดียว คนอื่นดูไม่รู้เรื่องด้วย

 ผู้ที่มีวัฒนธรรมสารสนเทศจะรู้วิธีสื่อสารกับคนอื่นๆให้เขารู้เรื่องด้วย เช่นวิธีการนำเสนอตัวเลขให้นักการตลาดใช้ ก็ไม่เหมือนกับการนำเสนอตัวเลขให้นักเศรษฐศาสตร์เป็นต้น

  คนใดไม่มีวัฒนธรรมสารสนเทศ คนนั้นมักจะพยายามทำให้ตัวเลขข้อมูลต่างๆ ดูยุ่งยากสับสน คนอื่นเข้าใจได้ยาก  ในที่สุด ข้อมูลที่มีค่าเหล่านั้น เลยไม่มีประโยชน์เท่าที่ควรค่ะ 

ผมเองก็เติบโตมาในสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกันครับ เป็นสิ่งที่ผมถือว่าโชคดีที่สุดที่ได้เติบโตมาท่ามกลางหนังสือ ทำให้เป็นคนรักการอ่าน รักการหาความรู้ ซึ่งในที่สุดแล้วก็ได้เป็นผู้ใหญ่ที่สามารถเลี้ยงตัวอยู่ได้ด้วยทุนทางปัญญานี่เอง

ผมจึงเชื่อว่า "ปัญญา" เป็นมรดกที่ดีที่สุดที่พ่อแม่จะให้แก่ลูกหลานได้ครับ 

สำหรับอเมริกา สิ่งที่ทำให้ผมคิดถึงอเมริกามากที่สุดคือ ห้องสมุด และร้านหนังสือ ครับ ของเขามากทั้งคุณภาพและทั้งปริมาณครับ ไม่ว่าเล็กใหญ่ เขาก็มีดีของเขาเองที่น่าชื่นชม

ในขณะที่ประเทศไทยนั้น แหล่งบันเทิงกลางคืนคือสิ่งที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกเรื่องคุณภาพและปริมาณ

เฮ้อ... 

สิ่งที่จะก่อให้เกิด ปัญญา ที่อาจารย์ กล่าวถึงอีกอย่างคือ การอยู่กับธรรมชาติค่ะ

การที่เราเติบโตมากับธรรมชาติ การนั่ง ยืนเดินเล่น สูดอากาศดีๆ แวดล้อมด้วยต้นไม่ใบหญ้า ปล่อยจิตใจให้ไหลเรื่อย ไปช้าๆ ในที่สุดก็หยุดนิ่ง และประสานเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติได้เอง

และเมื่อ ใจเรานิ่ง Suppreme Concious จะเกิด ซึ่งคือปัญญา

ดิฉันอยู่กับธรรมชาติมาตั้งแต่เด็ก ที่บ้านมีสวนกล้วยไม้ 2ไร่ ดิฉันมีประสบการณ์ของเรื่องนี้ค่ะ เข้าใจดีเวลา มีใครพูดถึง ความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

ผมเห็นด้วยครับว่าการอยู่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาตินั้นเป็นจุดก่อเกิดปัญญาจริงๆ ครับ

ชีวิตผมอยู่กับธรรมชาติมาตลอด เคยอยู่กรุงเทพฯ จริงๆ เพียงแค่สามเดือนเท่านั้นครับ

อาจารย์ที่ปรึกษาผมที่อเมริกาแกมีบ้านสองชั้นหลังเล็กนิดเดียวเมื่อเทียบกับมาตราฐานบ้านคนไทย แต่เข้าไปอยู่กลางป่าเลยทีเดียวครับ ต้นไม้รอบบ้านทุกต้นสูงกว่าบ้านทั้งนั้นครับ

ผมเคยคุยกับ อ.เม้ง ว่าจะซื้อสวนปลูกบ้านสักหลัง ตอนเช้าๆ แดดกำลังดีก็ทำสวนผสมไป ได้ทั้งอาหารกินเอง ทั้งออกกำลังกาย ตกบ่ายจนถึงค่ำก็เขียนโปรแกรมไป น่าจะเป็นชีวิตที่สงบดีครับ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ ความสุขในครอบครัวของอาจารย์นั้นมีมากมายอยู่แล้วจากการได้สมาชิกใหม่มาช่วยเติมเต็ม ขออวยพรให้อาจารย์และครอบครัวได้รับพรที่ดีเลิศในทุกประการค่ะ

สวัสดีปีใหม่นะคะอาจารย์

หนิงก็เชื่อเหมือนอาจารย์เลยค่ะว่า  "ปัญญา" เป็นมรดกที่ดีที่สุดที่พ่อแม่จะให้แก่ลูกหลานได้

 นะคะ

เห็นด้วยกับคุณ sasinanda เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุนความอยากรู้อยากเรียน ลองดูเด็กๆ เราที่บ้านและที่โรงเรียน เขามีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาปัญญาหรือเปล่า ที่โรงเรียนจัดกิจกรรมเกี่ยวกับห้องสมุดได้น่าสนใจหรือเปล่า ที่บ้านพ่อแม่อ่านหนังสืออะไร หากเด็กๆ เห็นว่า ใครๆ ก็อ่านหนังสือ เขาก็น่าจะอ่านตาม ขอเล่าเกี่ยวกับ ดิฉันตอนเด็กๆ ช่วงปิดเทอมต้องไปอยู่กับคุณปู่คุณย่าที่บ้านนอก วันๆ นอกจากเล่นแล้วก็มีหนังสือในตู้ที่ได้อ่าน พ๊อกเก็ตบุ๊คเล่มโปรดคือ ต่วย' ตูนค่ะ  เลยชินกับการอ่านมาตั้งแต่นั้น

ขอบพระคุณค่ะ

คนไทยทุกวันนี้รักการดูมากกว่าอ่านครับ

ตามบ้าน เด็กๆ ก็จะนั่งอยู่แต่หน้าทีวี

บางครั้งสิ่งแวดล้อมก็ไม่ได้ช่วยให้เด็กๆ รักการอื่นขึ้นมาสักเท่าไหร่

 

ผมว่านะ เด็กจะรักการอ่านเป็นแค่ตัวเด็กเองครับ

สิ่งแวดล้อมเป็นแค่ส่วนนึง

 

ตัวผมเองไม่ได้มีสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการอ่านเลยแม้แต่น้อย

เริ่มอ่านหนังสือจริงจังและชอบอ่านเรื่อยมาก็ตอนเข้าเรียน ปวช นี่ละครับ

 

พูดถึงห้องสมุดแล้ว แถวบ้านผมนี่ ไม่ค่อยน่าเข้าสักเท่าไหร่

ไม่รู้ทำไม ห้องสมุดเมืองไทยถึงมีแต่วัยรุ่นไปนั่งจีบกัน

 

^___^

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท