เยี่ยมบ้านท่านพลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช...ที่สุด ที่สุด ของความเป็นไทย


ปัจจุบัน ไม่ทราบว่า ช่องทางการถ่ายทอดวัฒนธรรม ซึ่งมีอยู่ในวิชาประวัติศาสตร์ วรรณคดี และทางศิลปะ ยังมีอยู่อีกมากน้อยเพียงใด หรือถ้า ถ่ายทอดมา ได้มีการพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแค่ไหน ของความประณีต งดงาม ซึ่งในที่สุดแล้ว วัฒนธรรมในด้านโขนของเรา ก็จะค่อยๆเลือนหายไปในที่สุด

เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2550     พวกเราศิษย์เก่าอักษรศาสตร์  รุ่นที่ประธานรุ่น    เป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์คนปัจจุบัน  ได้นัดรับประทานอาหารกลางวัน  และประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน 

 เพื่อทำการระดมทุนเข้า มูลนิธิมหาจักรีสิรินธร  เพื่อคณะอักษรศาสตร์ ซึ่งพระองค์ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงรับเป็นประธานมูลนิธิ   เพื่อนำมาเป็นงบประมาณในการช่วยเหลือบำรุงรักษา อาคารมหาจักรีสิรินธร ซึ่งได้เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2550  อันเป็นปีมงคลวาร 90 ปี คณะอักษรศาสตร์พอดี      การระดมทุนของรุ่นดิฉัน    สามารถปิดหีบลงได้อย่างเรียบร้อยสวยงาม ตามเป้าที่ได้รับมา

รายการต่อไป  เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ  คือการไปเยี่ยมบ้าน ท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ปราชญ์ และปูชนียบุคลล ที่ได้สร้างคุณูปการให้แก่สังคมไทย  มีคุณอย่างเอนกอนันต์ต่อแผ่นดิน โดยเฉพาะผลงานทางด้านศิลปะการแสดงและวรรณกรรม ที่ถ่ายทอดความเป็นไทยให้คนไทยและต่างชาติได้รับรู้ และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทย    ท่านได้อำลาจากโลกนี้ไป ครบ 12 ปี ในวันที่ 9 ตุลาคม 2550

เรายกขบวนไปกันหลายคันรถเก๋ง แต่ไม่ลำบากเรื่องที่จอด เพราะข้างในบ้าน มีที่จอดพอ  เนื่องจากบริเวณบ้านกว้างหลายไร่ มีสวนใหญ่ๆ  ต้นไม้เก่าแก่ร่มรื่นมาก อากาศก็ครึ้มเป็นใจ  ให้ได้เดินชมทั่วบริเวณอย่างสบายใจ

มีมัคคุเทศก์ เป็นคนหนุ่มๆอายุ 20 ปีเศษ 2 คน ท่าทางอารมณ์ดี มาพาเราไปชมบ้านและของสะสมของท่าน    พร้อมกับอธิบายประวัติความเป็นมาอย่างคล่องแคล่ว โดยได้เล่าประวัติย่อๆว่าท่านศึกษาจบจาก มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด  ประเทศอังกฤษ ด้านการเมือง ปรัชญา และเศรษฐศาสตร์ ได้รับปริญญาเกียรตินิยม กลับมาประเทศไทย เมืออายุได้ 22 ปี 

%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b9%89

พวกเราหลายคนอาจไม่ทราบว่า ท่านมีประวัติชีวิตอันงดงาม ในด้านต่างๆ  ที่น่าสนใจมาก จะถ่ายทอดบางส่วน มาเล่าโดยสรุปคือ

·         บทบาทในด้านการเงิน การธนาคาร :: ในช่วงต้นนี้ ท่านเคยทำงานเป็นผู้จัดการธนาคารสยามกัมมาจลทุนจำกัด(ธนาคารไทยพาณิขย์) สาขาลำปางด้วยค่ะ และท่านมีบทบาทสำคัญในการชักชวน คนภาคเหนือให้มาใช้เงินบาท แทนเงินรูปีด้วย   จนทำให้การใช้เงินรูปีในตลาดลำปางหมดสิ้นลง ต่อมาได้มาทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบธนาคารให้ทันสมัย และยังได้ร่วมก่อตั้งธนาคารกรุงเทพพาณิชยการอีกด้วย

·         บทบาทในด้านความเป็นครูและนักวิชาการ  ท่านกล่าวว่า ท่านรักความเป็นครูมาก รักลูกศิษย์เหมือนลูกหลานหรือญาติ ท่านสอนหลายวิชาด้วยกัน ทั้งเศรษฐศาสตร์  ปรัชญา การเมือง อารยธรรมไทย และพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้บุกเบิกร่วมก่อตั้ง คณะศิลปศาสตร์ และริเริ่ม โขนธรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • บทบาทนักหนังสือพิมพ์และนักประพันธ์  เขียนคอลัมน์ ข้าวนอกนา คลื่นใต้น้ำ และซอยสวนพลูเป็นต้น   ที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ   ที่ท่านก่อตั้งขึ้น รวมทั้งได้ประพันธ์หนังสือไว้หลายเล่มด้วยกัน  เช่นเรื่อง โจโฉ นายกตลอดกาล  สี่แผ่นดิน ไผ่แดง หลายชีวิต และซูสีไทเฮา เป็นต้น ผลงานทุกเรื่องมีคุณค่า เป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาไทยอย่างดีเลิศ

  • บทบาทในด้านวรรณศิลป์  ท่านโดดเด่นมาก ได้รับการเชิดชูเกียรติ์ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขา วรรณศิลป์    เมื่อพ.ศ. 2528  ท่านมีเจตนาอย่างแรงกล้าในการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมด้านดนตรี นาฎศิลป์ไทย ทั้งที่แสดงเอง และด้วยการส่งเสริม ในศิลปะแขนงต่างๆ ตั้งโขน ละคร การเล่นสักวา เพลงเรือ เพลงฉ่อย เป็นต้น
  • บทบาทนักการเมือง ท่านเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 13 ของประเทศไทย   ก่อนหน้านี้ ท่านได้ริเริ่มตั้งพรรคการเมืองพรรคแรก ในประเทศไทย คือพรรคก้าวหน้า เมื่อพ.ศ. 2488 และได้นำวิธีการหาเสียงที่เรียกว่า ไฮปาร์คมาใช้เป็นครั้งแรก  และต่อมาได้ก่อตั้งพรรคกิจสังคม
  • พวกเรามีโอกาส ได้เข้าไปชมเรือนไทยของท่านทั้ง 3 หลัง โดยใช้เป็นที่รับแขกใหญ่ๆเสียหลังหนึ่ง   เป็นเรือนพร้อมหอนอนหลังหนึ่ง และอีกเรือนหนึ่ง  เป็นเรือนเอนกประสงค์ มีนอกชานแล่นถึงกันแบบโบราณ 

    พวกเราได้ขอชมหมดทุกห้อง ซึ่งก็ประทับใจในการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ของท่านมาก ไม่มีความหรูหราพิสดารอะไรเลย ยกเว้น เครื่องประดับห้องเก่าแก่  ในบางห้อง ที่หาค่ามิได้

     ที่ดิฉัน ประทับใจคือ ตู้ที่ตั้งแสดงหัวโขนต่างๆไว้อย่างสวยงาม ซึ่งถือเสมือนเป็นหน้ากาก เหมือนกับ ละครโน่ห์ ของญี่ปุ่น ซึ่งสะท้อนถึงคติความเชื่อ เกี่ยวพันถึงการแสดงเพื่อบูชาพระเจ้า เมื่อมนุษย์จะแสดงบทบาทของเทวดา แต่ตัวเองคิดว่ายังไม่ดีพอ จะเป็นเทวดา จึงต้องใส่หน้ากากขึ้นมา

    สำหรับโขนของเรา ท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เคยเล่าว่า มาจากหนังใหญ่ หรือจากการแสดงระเบ็ง ไม่ใช่มาจากเขมรค่ะ  เพราะท่าน บอกว่า ในราชสำนักเขมร ไม่มีโขน ซึ่งเรื่องนี้  ยังมีรายละเอียดที่มา ที่ไป อีกมาก

    อย่างไรก็ตาม โขนคือศิลปะชั้นสูงของไทย      ที่รวมเอาศิลปะหลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน โขนเป็นนาฏศิลป์ที่ผู้แสดงต้องสวมหน้ากากที่เรียกว่า หัวโขนและเต้นประกอบจังหวะ ร่ายรำหรือตีบทให้เข้ากับคำร้อง บทพากย์และบทเจรจา จึงอาจกล่าวได้ว่าโขนเป็นที่รวมของศิลป

       สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะการเมือง การปกครอง และคติ ชีวิตความเป็นอยู่ของไทย   ถ้าเปรียบกับบัลเล่ต์ จะมีลักษณะการฝึกโดยใช้กล้ามเนื้อเหมือนกัน แต่ของเราจะยากตรง ที่มีบทร้อง บทพากย์ ละครจึงต้องทำบทให้เข้ากับเสียงร้อง เสียงพากย์ด้วย ไม่ใช่แต่เรื่องดนตรีเท่านั้น

     ปัจจุบัน เราหาโขนดูยากขึ้น อาจะเป็นเพราะว่า เราปล่อยให้วัฒนธรรมต่างประเทศเข้ามามีอิทธิพลกับเรามากไปโดยไม่รู้ตัว
    %e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%82%e0%b8%82%e0%b8%99
    จนวัฒนธรรมไทยหลายอย่างถูกทอดทิ้งไป ไม่มีการศึกษาค้นคว้าสืบทอดกันอย่างเข้มแข็ง เด็กๆไทยเลยไม่ทราบว่าวัฒนธรรมบางอย่างของเรามาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร

    ดิฉันไม่ทราบว่า ปัจจุบัน ช่องทางในการถ่ายทอดวัฒนธรรมซึ่งมีอยู่ในวิชาประวัติศาสตร์ วรรณคดี และทางศิลปะ ยังมีอยู่มากน้อยเพียงใด หรือถ้าสอนถ่ายทอดมา ได้มีการพิจารณากันอย่าง ลึกซึ้งแค่ไหน ของความประณีต งดงาม ซึ่งในที่สุดแล้ว วัฒนธรรม ในด้านโขนของเรา ก็จะค่อยๆเลือนไปในที่สุดและเมื่อเด็กกลับบ้านไปแล้วทางบ้านได้มีการย้ำถึงสิ่งที่เด็กได้รับการสอนมาหรือไม่  ถ้าครอบครัวไม่สนใจ การสอนในด้านเหล่านี้ ก็ไม่ค่อยจะเกิดประโยขน์มากนัก เพราะวัฒนธรรมไทย ส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวและสังคมสิ่งแวดล้อม  มากกว่าจะได้รับจากโรงเรียนเสียอีก
    หมายเลขบันทึก: 145733เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2007 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (130)

    ยังมีชมรมดนตรีไทย มาฝึกซ้อมและเล่นดนตรีกัน เป็นประจำ วันที่ไปเยี่ยมบ้านท่าน ก็มได้ยินเสียงดนตรีไทยด้วย ไพเราะมากค่ะ

    ที่บ้านนี้ จะมีสนามกว้างใหญ่มาก ปัจจุบันรับเป็นที่จัดงานต่างๆด้วย เช่น งานแต่งงาน งานต้อนรับแขกต่างๆเป็นต้น ในวันที่ไป มีการเตรียมสถานที่ เพือ่จัดงานแต่งงาน

     สวัสดีครับพี่ sasinanda

    มาเรียนรู้ชีวิตอันงดงาม เยี่ยมชม บ้านนักปราชญ์ มรว.คึกฤทธิ์ ด้วยครับ ขอบคุณครับ

    สวัสดีค่ะP

    ขอบคุณที่มาเยี่ยม ตอนนี้ งานลงตัวแล้วนะคะ ยินดีด้วยอีกครั้งค่ะ ที่งานและทุกสิ่งเจริญก้าวหน้าดี ขอให้ยิ่งเจริญขึ้นๆนะคะ

    คนเรา ตอนมีชีวิต กระทำความดีไว้มากๆ โดยเฉพาะเรื่องการงาน ก็เหมือนสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ตัวเองนะคะ จากไปแล้ว คนก็ยังนึกถึงความดีนั้นค่ะ ลูกหลานก็ภูมิใจ

    ดูบรรยากาศเงียบสงบดี  ร่มรื่น ผมชอบบ้านทรงไทยที่อยู่ผมก็ไทยผสม

    พี่ศศินันท์ กิจกรรมมากนะครับ  แต่ยังมีพลังไปเยี่ยมบล็อกมากมายเลยครับ

    สวัสดีค่ะคุณพี่

     เหมือนได้ติดตามไปด้วยเลยค่ะ พื้นที่กว้างขวาง และได้รับการดูแลสุดยอด ขอบคุณมากๆค่ะ

    • ได้รับหนังสือแล้วค่ะพี่
    • ขอบพระคุณมากนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณเอกP

    บ้านไทยท่านสวยดีค่ะ และชอบที่ท่านมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายด้วย โต๊ะทานอาหาร เตียงนอน ก็ไม่ใหญ่เลย เล็กๆด้วยค่ะ เหมือนชีวิตคนไทยสมัยก่อนน่ะค่ะ

    ตอนนี้ บ้านออกจะเตี้ยไป เห็นว่าต้องซ่อมยกพื้นชั้นสองขึ้นไปค่ะ แต่ก้คงได้รายได้จากการเข้าชม คนละ 50.00บาท และการให้เช่าสถานที่จัดงานค่ะ

    ชีวิตประจำวันก็ยุ่งตลอดค่ะ ไม่เคยว่างเลย ยิ่งเดือนธันวา ยิ่งกิจกรรมมาก แต่ทุกที่ๆไป  มีคอมฯให้เข้าได้ ก็เลยเปิดดู  บันทึกไหนที่เราจะต่อยอดได้ ก็เขียนไปค่ะ แลกเปลี่ยนความรู้กัน สนุกดีค่ะ

    วันหลังมีโอกาส จะได้ไปชมบ้านคุณเอกบ้างค่ะ ชอบแบบไทยๆค่ะ

    เท่าที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช  ภาพพจน์ที่ติดตาตนเองก็คือ  ความเป็นไทยที่ฝัแน่นอยู่ในตัวท่าน  โดยเฉพาะเรื่องของโขนนั้น  ดูจะมีมีตัวตนที่ชัดเจน

    นอกจากนั้น   ผมก็ชื่นชอบท่านในบทบาทของนักประพันธ์   โดยเฉพาะเรื่อง "ไผ่แดง"   ที่ท่านหยิบยก หรือสะท้อนแนวคิดในเชิงการเมืองอย่างมีอารมรมณ์ขัน   ผมชอบนวนิยายเรื่องนี้มาก  สมัยที่เรียนมหาวิทยาลัยติดตามหาอ่าน  รวมถึงติดตามซื้อมาเก็บไว้  แม้กระทั่งเอนำมาสร้างเป็นละครผมก็ยังติดตามดูอย่างไม่ลดละ 

    ในอดีตหนังสือพิมพ์สยามรัฐ  เป็นหนังสือพิมพ์ที่ผมติดตามข่าวสารการเมืองอยู่ประจำ  ถึงแม้วันนี้จะเปลี่ยนมือ - รูปลักษณ์ -  ก็ยังอ่านบ้างตามโอกาสอันควร

    ส่วนเรื่อง "สี่แผ่นดิน"  นั้นคงไม่ต้องพูดถึง  ใคร ๆ ก็รัก (แม่พลอย)   ใคร ๆ ก็ชอบ  และที่สำคัญก็คือ วรรณกรรมเรื่องนี้สะม้อนวิถีความเป็นไทยอย่างชัดเจน และยากยิ่งต่อใครจะสร้างวรรณกรรมได้ดีเด่นเทียบเท่าได้

    ...

    ไว้จะกลับมาอีกครั้ง  พร้อมกับจะเอาปกหนังสือเรื่องไผ่แดงเก่า ๆ  มาให้ดูนะครับ

     

    • สวัสดีครับ
    • ดีมากเลยครับได้ทราบข้อมูลเพิ่มของมรว.คึกฤทธิ์  ปราโมช
    • บริเวณร่มรื่นดีกว้างขวางดูสงบร่มเย็นครับ
    • และที่สำคัญท่านมีส่วนช่วยอนุรักษ์และส่งเสริมการแสดงโขน ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันสูงค่าของไทย
    • ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีครับคุณพี่ศศินันท์

    มาเพิ่มเติมความรู้จากพี่ครับ ความรู้เพียบ ภาพเยอะ ท่านเป็นบุคคลที่น่าสนใจมาก มีความรู้รอบตัวทุกด้าน ขอบคุณที่นำสิ่งดีๆมาเล่าสู่กันฟังครับ

    Pสวัสดีคะ และนำแจกันดอกปีปที่คุณ sasinandaจัดไว้ มาด้วยกลิ่นหอมของดอกปีปยามเช้านี้หอมจังเลยคะ

    %e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b8%9a

    สวัสดีครับ

    • น่าดีใจที่ยังมีการรักษาบ้านของท่านเอาไว้เป็นอย่างดี
    • ท่านนิยมโขนมาก ถึงกับริเริ่มโขนธรรมศาสตร์ขึ้นมา ชาวธรรมศาสตร์ยังรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้ แต่ก็ไม่คึกคักเหมือนแต่ก่อนครับ

    สวัสดีค่ะ

    P

    เวลาที่มีการนัดพบปะกันในรุ่น เราก็จะพยายามมีกิจกรรมร่วมกันแบบนี้ค่ะ เป็นการหาเวลาอยู่ใกล้ชิดและคุยกัน และได้ความรู้ไปด้วย

    ในวันที่ 9 ธันวานี้ ก็จะได้เวลา นำเงินบริจาคทั้งหมดที่รวบรวมได้จากศิษย์เก่าทุกรุ่น  ไปทูลเกล้าฯถวายในวัง ถ้าสามารถถ่ายรูปมาได้ ก็จะมาเล่าเรื่องให้ฟังต่อค่ะ

    ตอนที่ไปเที่ยวนี้ มัคคุเทศก์ ก็เล่าถึงเรื่อง ตำนานเรือนไทย ให้ฟังอย่างสนุกค่ะ ที่เรียกว่า เรือนคุณย่า

    และยิ่งได้อ่านที่ท่านคึกฤทธิ์เขียนเล่าเองยิ่งสนุกค่ะ

    ท่านเล่าถึงเรือนไทยว่า เป็นเรือนใต้ถุนสูง เพราะจะได้อยู่พ้นน้ำ ตอนน้ำท่วม คนไทยทิ้งขยะไปกับสายน้ำในหน้าน้ำ แต่ถ้าหน้าแล้ง ทิ้งใต้ถุนค่ะ รอน้ำขึ้นทีหนึ่ง น้ำก็พัดเอาขยะไป สะอาดกันเสียที แล้วก็ทิ้งใหม่

    มีสัตว์ ที่เรียกว่าเหี้ย ชอบมากินขยะ ถ้าบ้านไหน ขยะมาก เหี้ย ก็เข้ามามาก คนจะทำนายว่า บ้านนี้จะไม่เจริญ เพราะมีเหี้ยลุยเข้ามา นี่คือสิ่งที่ท่านเขียนเล่าค่ะ

    • สวัสดีค่ะ อาจารย์
    • ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆตัวอย่างที่ดีๆค่ะ

    สวัสดีครับพีศศินันท์

    ตามมาอ่านบันทึกดีๆของพี่สม่ำเสมอครับ

    พี่ครับผมขอฝาก เรื่องการขอรับบริจาค ด้วยครับ ตอนนี้ก็เข้ามาเรื่อยๆครับ

    รินน้ำใจ ช่วยเหลือกัน : ขอรับบริจาคสิ่งของเพื่อต้านภัยหนาวที่แม่ฮ่องสอน

    หากเป็นหนังสือธรรมะ ก็คนละเล่ม สองเล่ม ก็ได้ครับ ส่งมาโดยตรงเลย ผมรวบรวมได้บางส่วนครับ ทั้งหนังสือ ซีดี และสื่ออื่นๆ

    สวัสดีค่ะอาจารย์ลูกหว้าP

    โล่งใจว่าได้รับหนังสือแล้ว เกรงจะไม่ถึง

    เปิดเทอมแล้ว อาจารย์คงจะยุ่งๆหน่อย ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

    ไปเยี่ยมบ้านท่านคึกฤทธิ์ฯแล้วนึกถึงเรือนไทยของอาจารย์ ดูน่าอยู่และเย็นสบายดี  ที่บ้านมีนอกชานเอาไว้ตากผ้า ปลูกพริก โหระพา ต้นไม้ ดอกไม้ บ้างหรือเปล่าคะ บ้านไทยๆมีทุกบ้านเลย ดูอบอุ่นมากค่ะ

    บ้านไทยสมัยก่อน จะสร้างนอกชานให้ต่อถึงกันได้ทุกหลังนะคะ ถ้าปลูกติดๆกัน เพราะสมัยก่อน เวลาน้ำขึ้น จะให้พายเรือไปก็กระไร มันใกล้แค่นั้นเอง ชีวิตแบบนี้ดีค่ะ

    • แวะมาเยี่ยมชมคะ
    • ชื่นชมท่านมรว.คึกฤทธิ์  ปราโมช มานานแล้วคะ
    • ผลงานของท่านเป็นที่ประจักษ์น่ายกย่องเชิดชูอย่างมากนะคะ

    สวัสดีครับ

              ผมก็ทำงานอยู่แถวนั้นเหมือนกัน แต่ก็ยังไม่เคยเข้าไปเลย ไม่กล้าเข้าไปคนเดียว  บ้านสวยดี  ผมต้องหาเวลาว่างเข้าไปดูสักครั้งหนึ่งแล้ว ขอบคุณมากครับที่เขียนบันทึกดีๆ มาให้อ่านและน่าสนใจด้วย

    สวัสดีค่ะ

            ดิฉันเข้ามาอ่านแล้วค่ะ  ดิฉันเป็นคนจังหวัดพิจิตร บ้านดิฉันเป็นบ้านไทยประยุกต์ผสมกันค่ะ และแถวบ้านก็ไม่ค่อยมีบ้านเรือนไทยมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านสมัยใหม่กันทั้งนั้น หาดูบ้านที่เป็นเรือนไทยค่อนข้างยากค่ะ  แต่พอได้มาดูบ้านของ                  มรว.คึกฤทธิ์   ปราโมช  แล้วรู้สึกชอบมาก บรรยากาศก็ดี  สวยงามน่าอยู่  เป็นบ้านที่ประทับใจมากเลยค่ะ  คงต้องแวะไปชมสักหน่อยค่ะ   ขอบคุณมากค่ะที่เขียนสิ่งดีๆ มาให้อ่าน  

     P

     สวัสดีค่ะ

     นึกแล้วว่าคุณพนัส ต้องเคยอ่านหนังสือของท่านแน่นอน ยิ่งเป็นนักอ่าน เพราะเป็นผู้ที่ชอบการประพันธ์เหมือนๆกัน  ท่านใช้ภาษาได้สละสลวย  งดงามมากนะคะ 

    คุณพนัสบอกว่า......ภาพพจน์ที่ติดตาตนเองก็คือ  ความเป็นไทยที่ฝัแน่นอยู่ในตัวท่าน  โดยเฉพาะเรื่องของโขนนั้น  ดูจะมีมีตัวตนที่ชัดเจนนอกจากนั้น   ผมก็ชื่นชอบท่านในบทบาทของนักประพันธ์   โดยเฉพาะเรื่อง "ไผ่แดง"   ที่ท่านหยิบยก หรือสะท้อนแนวคิดในเชิงการเมืองอย่างมีอารมรมณ์ขัน

     นอกจากนี้ พี่เคยอ่านข้อเขียนของ  ดร.วีรพงษ์ รามางกูร  ประชาชาติธุรกิจ หน้า วันที่ 16 พฤษภาคม 2548 ค่ะ

     

    เรื่อง  ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์กับท่านอาจารย์พุทธทาสเคยโต้ปัญหาธรรมะกัน เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อต้นปี 2507 ทางคุรุสภา ได้เชิญท่านอาจารย์คึกฤทธิ์และนิมนต์ท่านอาจารย์พุทธทาสมาเป็นผู้อภิปราย เรื่อง "เราควรจะเข้าใจธรรมะกันอย่างไร"

    เมื่ออ่านดูก็ทำให้เคารพท่านทั้งสองเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านทั้งสองมีความเห็นต่างกันในเรื่อง "สุญตา" หรือการทำให้ "จิตว่าง" ทั้งสองท่านมีความเห็นเหมือนกันมาตลอดการอภิปราย

    จนถึงตอนสุดท้าย ทั้งสองท่านมีความเห็นต่างกันท่านพุทธทาสเห็นว่าทุกคนไม่ว่าจะเป็นสมณะหรือฆราวาส หากปฏิบัติภารกิจของตนด้วย "จิตว่าง" แล้วจะไม่มีทุกข์ จะทำงานด้วยความสุขและจะประสบความสำเร็จท่าน

    อาจารย์คึกฤทธิ์ไม่เห็นด้วย ท่านบอกว่าเฉพาะสมณะเท่านั้นที่จะปฏิบัติภารกิจคือทำให้บรรลุมรรคผลได้ด้วย "จิตว่าง" ส่วนฆราวาสถ้าจะปฏิบัติภารกิจทางโลกให้สำเร็จ ไม่สามารถทำงานให้บรรลุผลได้ถ้า "จิตว่าง" ต้องมีกิเลสคืออยากให้ภารกิจสำเร็จบรรลุผลจึงจะสำเร็จได้

    ทั้งสองท่านอภิปรายด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน อาจารย์คึกฤทธิ์เรียกตนเองว่า "กระผม" และเรียกท่านเจ้าคุณพุทธทาสว่า "ใต้เท้า" ทุกคำ ส่วนท่านพุทธทาสก็เรียกว่า "อาจารย์คึกฤทธิ์" ทุกครั้ง

    เมื่อแสดงความเห็นกันไปจนหมดเวลา ท่านพุทธทาสจึงกล่าวขึ้นว่า "ขอกลับไปคิดดูก่อน" แล้วก็ปิดการอภิปรายไป ผู้ฟังก็อิ่มเอิบได้ประเด็นกลับไปคิดไปไตร่ตรอง

    แสดงว่า คนเรามีความเห็นและมุมมองต่างกันได้ แต่ก็ ออกความเห็น กันได้อย่างสุภาพ ให้เกียรติ์กัน น่านับถือมากนะคะ

     สำหรับพี่เอง เอนไปทางด้านท่านคึกฤทธิ์ฯเล็กน้อย

     เพราะแอบคิด มานานแล้วว่า เวลาคนเราจะทำงานให้สำเร็จ ต้องมีจิตว่างก่อนเป็นอันดับแรก ปัญญาจึงจะเกิด

    แต่ ในขั้นต่อไป เราก็ต้องมุ่งมั่นกระทำการให้สำเร็จจนได้ ตรงนี้ น่าจะเป็นกิเลส แต่กิเลสดีๆ 

    แต่ก็เจียมตัว ว่าความรู้ด้านธรรมะน้อย ไม่กล้าไปพูดกับใคร ได้แต่คิดในใจ ไม่มีใครได้ยินค่ะพี่เป็นคน ชอบนึก ชอบพูดอะไร กับตัวเอง ในบางเรื่อง  เพราะไม่กล้าพูดเสียงดัง กลัวขายขี้เท่อค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    P

     ค่ะ...ที่กล่าวว่า ...ท่านมีส่วนช่วยอนุรักษ์และส่งเสริมการแสดงโขน ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันสูงค่าของไทย

    เป็นเรื่องจริงแท้แน่นอน เพราะท่านมีผลงานที่เด่นมากๆในเรื่องบทบาทในด้านวรรณศิลป์  ได้รับการเชิดชูเกียรติ์ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขา วรรณศิลป์    เมื่อพ.ศ. 2528 

    เสียดายที่การสอนวรรณคดีสมัยนี้ สอนกันแบบเป็นการเรียนหนังสือเท่านั้น

     แต่ไม่ได้ลงลึก กระตุ้นให้เด็กเกิดความรู้สึกสนใจทางวัฒนธรรมด้านนี้ อย่างจริงจังนะคะ คุณ เศกสรร ก็มีส่วนอย่างมาก ในการนำเอาวัฒนธรรมด้าน ดนตรี ศิลปะ และวรรณกรรมมาเผยแพร่ ดิฉัน ตามไปอ่านที่บล็อกบ่อยมากค่ะ

    วัฒนธรรมในด้านศิลปะนี่  เป็นเรื่องที่ต้องลงลึกถึงจิตใจจริงๆนะคะ ไม่ใช่เรื่องผิวเผินเลย

    สวัสดีค่ะท่านอัยการ

    P

    พอมาที่บล็อกนี้แล้ว ทำไมสุ้มเสียงดูขรึมจังคะ แหม สบายๆค่ะ

    บล็อก Good Living นี่เรื่องเบาๆ สบายๆค่ะ ไม่เครียดเลย

    ทางใต้ พวกโรงแรมหรูๆ ก็นำเอาเรือนไทย ไปประยุกต์ เป็น villa หลังเล็ก หลังใหญ่กันเป็นแถว ชาวต่างประเทศชอบกันมากค่ะ แต่เขาไปดัดแปลงให้อยู่สะดวก สบายขึ้น มีสวน มีสระว่ายน้ำ ทำให้ดูน่าอยู่ขึ้น

    สมัยดิฉันเด็กๆ ถ้าจะนำบ้านเก่ามาทำใหม่ เห็นเขานิยมนำช่างจาก อำเภอผักไห่ จังหวัดอยุธยามาสร้างค่ะ เพราะเป็นช่างชำนาญการปลูกเรือนไทยมานาน แต่เดี๋ยวนี้ข่างสมัยใหม่ก็น่าจะสร้างได้ดีแล้ว

    สวัสดีค่ะคุณหมู

    P

     MOO

    ดอกปีบเป็นดกไม้ไทยๆที่หอมเย็นๆ ดอกดก เสียแต่ออกปีละครั้งเท่านั้นค่ะ แต่ดอกไม้ไทยๆยอดฮิต คือ มะลิค่ะ

    มีทั้ง มะลิลา, มะลิหลวง, มะลิซ้อน ทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดปี  เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง 

    ปัจจุบันกลายเป็น ไม้ดอกเศรษฐกิจที่นับวันมีความสำคัญมากขึ้นประโยชน์ เช่น เก็บดอกสำหรับทำพวงมาลัย ดอกไม้แห้ง  และทำน้ำมันหอมระเหยเป็นต้นค่ะ

    นอกจากนี้ ยังนึกถึง บานไม่รู้โรย ซึ่งเป็นดอกไม้เมืองร้อนที่ปลูกอยู่ตามบริเวณบ้านและริมรั้วทั่วไป สามารถนำมา ใช้ในงานพิธีกรรมต่าง ได้เป็นอย่างดีค่ะ

    สวัสดีค่ะ

         ได้อ่านเรื่องนี้แล้ว  นึกถึง ผ้าขาวม้า  ข้าวแช่  ดนตรีไทยเดิม   ถูกใจจริงๆเลยค่ะ

    สวัสดีค่ะ
    คุณธ วั ช ชั ย
    คุณธ วั ช ชั ย  บอกว่า...

    ท่านนิยมโขนมาก ถึงกับริเริ่มโขนธรรมศาสตร์ขึ้นมา ชาวธรรมศาสตร์ยังรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้ แต่ก็ไม่คึกคักเหมือนแต่ก่อนครับ 
     ขณะที่คนไทยลืมๆเลือนๆ โขน ไปบ้าง

    แต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ  ยังชอบอยู่นะคะ  เพราะเขาอยากจะมาท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มองหาสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมอันดีของชาตินั้นๆ มากกว่าที่จะจงใจมาชอปปิงซื้อสินค้าแบรนด์เนม

     ซึ่งประเทศไทยจัดว่ามีสินทรัพย์ที่เป็นทุนในการแข่งขันเรื่องของการท่องเที่ยวอยู่หลายประการค่ะ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเรา จึงมีศักยภาพมากค่ะ 
    ทุนทางวัฒนธรรมของเรา มิใช่ มีแต่โขนนะคะ
      เรามีวัฒนธรรมอันงดงามในทุกๆ ภาค มีอารยธรรม ศิลปกรรมที่น่าชม ไม่ว่าจะเป็นนาฏศิลป์ หุ่นกระบอก โขน รำไทย
    รวมทั้งความอบอุ่นเป็นกันเองที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มมิตรไมตรีที่มอบให้แก่นักท่องเที่ยว 
     สิ่งเหล่านี้เป็นเสน่ห์อย่างมาก  ที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางกลับมาเที่ยวชมเมืองไทยอีกครั้งหรือหลายครั้งค่ะ  

    สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์

    ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเรามีหลายท่านที่เก่งๆ มีความสามารถในหลากหลายด้าน น่าจะทำหนังสือประวัติและผลงานบอกเล่าเรื่องราวๆต่างที่สมควรเป็นแบบอย่าง เพื่อที่ลูกหลานไทย เด็กไทยจะได้ดูเป็นตัวอย่าง รวมทั้งเกิดแรงบันดาลใจที่จะดำเนินรอยตาม

    ท่านคึกฤทธิ์ ปราโมช หากเรามองในแง่มุมของนักการเมือง อาจจะไม่ค่อยรู้สึกอะไรนัก แต่เมื่ออ่านประวัติและผลงานของท่านจากที่พี่เล่าให้ฟัง ท่านนับว่าเป็นปราชญ์ และเป็นปุชนียบุคคลที่บุคคลรุ่นหลังควรเอามาเป็นแบบอย่างนะค่ะ

    บ้านท่านสวยมากเลยนะค่ะ น่าไปเยี่ยมชมมากค่ะ

    ขอบคุณมากค่ะ

    สวัสดีค่ะป้าแดง

    P

    ไม่น่าเรียกป้าเลยนะคะ อายุยังไม่เท่าไหร่เลย อิๆๆ

    ป้าแดงทราบไหมคะ การกินหมากเป็นวัฒนธรรมของคนไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งกำลังจะสูญหรือสูญไปแล้วบ้างก็ไม่ทราบ

    ไม่เห็นใครกินหมากแล้ว นอกจากคุณย่าคุณยายไม่กี่คน

    ดิฉันอ่านพบมาว่า....

    การกินหมากเป็นวัฒนธรรมใหญ่ของเอเซียนะคะ มีในทุกประเทศเลย จะขอลูกสาวใครต้องมีขันหมาก และในพิธีทางศาสนา ต้องมีหมากพลู เดี๋ยวนี้ ขอลูกสาวกันเฉยๆ ไม่เห็นมีขันหมากไปด้วย

    ในหนังสุริโยทัย หรือหนังย้อนยุค ผู้หญิงฟันดำหมด ถ้าฟันขาว ไม่มีหนุ่มมาจีบ

    ที่ญี่ปุ่น เขาเอาสีดำมาทาฟันให้ดำค่ะ

    ไม่ใช่แต่ประเทศไทยนะคะที่นิยมฟันดำ เอเซียเกือบทุกประเทศค่ะ เดี่ยวนี้ ไม่เหลือแล้ว

    แต่ในความเห็นของดิฉัน  เลิกไปก็ดีค่ะ ดูไม่ค่อยสะอาด และสุขภาพฟันไม่ดีด้วยค่ะ

    P

    ขอโทษทีช้าไปหน่อยค่ะ

    พรุ่งนี้สายๆ จะไปส่งหนังสือให้ 1 กล่อง นะคะ lotหน้าจะส่งพวก c.d.ให้ค่ะ ยินดีแบ่งปันค่ะ

    อยากให้เด็กๆ รักการอ่าน รวมทั้งผู้ใหญ่ด้วย

    พอพูดถึงเรื่องวัฒนธรรมก็นึกถึงที่คุณเอกเคยเขียนว่า....

    การเติบโตของภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่มีมากนี่เอง เป็นปัจจัยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาวะคนในท้องถิ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหาที่ตามมาจากบริโภคนิยมเกิดขึ้นในหลากหลายประเด็น ซึ่งก็น่าเป็นห่วงมาก ถ้าเราไม่ทันต่อปัญหา

    เห็นด้วยที่จะต้องรวมตัวกันเข้าไประงับเหตุที่จะมาทำให้วัฒนธรรมดีๆของเราเลือนไปโดยด่วนค่ะ 

    สวัสดีค่ะคุณนารี

    P

    ตอนนี้กลับจากเที่ยวแล้ว คงมีงานรอให้สะสางอยู่เยอะนะคะ ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    พอพูดถึงเรื่องงานเขียนของท่าน

    ท่านหม่อมคึกฤทธิ์เคยให้สัมภาษณ์ไว้ค่ะว่า.....

    วรรรกรรมอย่างเรื่องสี่แผ่นดิน เป็นสิ่งที่มาจากDrive ภายในจริงๆ ห้ามไม่ได้ หยุดไม่ได้ มาจากแรงบันดาลใจของท่านเองจริงๆ

    เรื่องสี่แผ่นดิน มีคนให้ข้อสังเกตหลายประการ อาทิเช่น ....

    ทำไมจึงให้ ผู้หญิงเป็นคนดำเนินเรื่องเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในสี่แผ่นดินของสังคมไทย

    หรือ  ผู้เขียน "สี่แผ่นดิน" เป็นปัญญาชนที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติทางการเมืองของคนไทยมาจนปัจจุบันมาก เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม ดิฉันเคยดูละครในทีวี  มีความรู้สึกว่าสนุก นางเอกสวย แต่ไม่ได้คิดไปไกลนักค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณพิเชษฐ์

    ดิฉันก็ไม่เคยไปชมค่ะ เพิ่งเข้าไปคราวนี้ละค่ะ

    แต่ก็ประทับใจในความเป็นไทยแท้ของท่านค่ะ ตั้งแต่บ้านเรือนจนวิถีชีวิตค่ะ

    ได้มีคนมาพาชมและอธิบายอย่างละเอียด

    และเมื่อมาอ่านหนังสือเพิ่มเติม ก็ทราบว่า ประเทศเราเริ่มรับวัฒนธรรมใหม่ๆเข้ามาอย่างเด่นชัด  ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ค่ะ เช่นมีการเปลี่ยนประเพณี ให้ขุนนางสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า เพราะเกรงจะเป็นที่ดูถูกดูหมิ่น

    พอรัชกาลที่ 5 ก็มีการเปลี่ยนเรื่องการแต่งกายอีก มีการแต่งอย่างฝรั่งมากขึ้น และเวลาเข้าเฝ้า ให้เลิดหมอบคลาน เป็นการยืนคำนับแทน

    เรื่องศีลธรรมก็เริ่มเปลี่ยน โดยรับเอาเรื่องว่า มีภรรยามากไม่ดี พวกขุนนางไทย ก้ต้องซ่อนเร้นกัน

    มาเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกที ก็ตอนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น ให้คนไทยแต่งกายเลียนแบบชาวตะวันตก ผู้หญิงต้องสวมหมวก  ผู้ชายแต่งฝรั่ง สวมรองเท้า เป็นต้น

    และยังมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงวัฒนธรรมและประเพณีอีกหลายอย่างเชียวค่ะ

    กลับมาอ่านหนังสือ ย้อนยุคไปศึกษา ประวัติศาสตร์ใกล้ๆนี่เอง แต่ก่อนดิฉันเกิดค่ะ

    การไปเที่ยวสถานที่ๆเป็นประวัติศาสตร์ ก็ทำให้เราลุกมาหยิบหนังสือ ปัดฝุ่นขึ้นมาอ่านใหม่ บางทีเคย ทราบมาแล้ว ก็ลืมไป ต้องนำมาอ่านใหม่ค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณกฤษณา

    แถวภาคกลาง ดิฉันเคยไปเที่ยวจังหวัดพิจิตรค่ะ มีบ้านไทยไม่มากเท่าอยุธยา

    ดิฉันมีภาพ บ้านทรงไทยแบบต่างๆจากหลายภาค  มาให้ชมหลายแบบค่ะ

    1.ซ้ายบน.....เรือนแพและศาลาไทยริมน้ำ บ้านปาร์คนายเลิศ

    เป็นสถาปัตยกรรม บ้านเรือนของชาวสยามในอดีต คือ เป็นเรือนไม้ หลังคาจั่วสูง ยกพื้น ไม่ใต้ถุน ปัจจุบันอยู่ในบริเวณบ้านปาร์คนายเลิศ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2470 เจ้าของเดิมคือ พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร)

    2.ขวาบน....บ้านท่าเสา ราชบุรี

    เป็นบ้านทรงไทย เจ้าของเดิมคือ ผู้ใหญ่กิม สร้างเมื่อประมาณ 70 ปี ที่ผ่านมา โดยช่างผู้มีความชำฯาญในการสร้างบ้านทรงไทย ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 10 เดือน ตัวบ้านใช้ไม้อย่างดีประกอบแบบเข้าลิ่น โดยไม่ใช้ตะปู ซึ่งเป็นการสร้างบ้านแบบลักษณะไทยแท้
    3.ซ้ายล่าง...บ้านจักรพงษ์

    ดิฉันว่า เป็นแบบไทยประยุกต์    ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าเตียน เจ้าของเดิมคือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ออกแบบและสร้างในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยวิศวกรชาวอิตาลี

    4.หอคำ ไร่แม่ฟ้าหลวง เชียงราย

    เป็นสถาปัตยกรมมไทยใหญ่ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงราย สร้างโดยการนำไม้จากบ้านที่มีอายุเก่าแก่จำนวน 32 หลัง ปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงสิ่งประดิษฐ์ของทางภาคเหนือ

    ขอเพิ่มเติมค่ะ รูปบ้านทรงไทยแบบต่างๆได้มาจาก...บ้านทรงไทย ดอทคอมค่ะ และมีข้อมูลที่น่าสนใจคือ......

    เรือนไทยทำไมเย็น      

    เรือนไทยของเรามีบรรยากาศเย็นสบาย เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของไทยเราโดยแท้ ทำไมเรือนไทยถึงเย็น มีสาเหตุใหญ่ๆ เช่น การวางผังและออกแบบตัวเรือน ที่ทำให้เรือนไทยของเรามีเอกลักษณ์ ได้แก่การออกแบบหลังคาให้สูงโปร่ง มีระเบียงและชานเล่นระดับสูงต่ำและวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง เช่น ประตู หน้าต่าง ลูกกรง ช่องลม เป็นองค์ประกอบของเรือนไทยที่เน้นในเรื่องความโปร่งโล่ง ให้แสงและลมเข้าได้ ฝาผนังเป็นไม้ ซึ่งเป็นวัสดุที่เป็นฉนวนอันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรือนไทยเย็น

    1. การวางผังและออกแบบตัวเรือน ที่ทำให้เรือนไทยของเรามีเอกลักษณ์

    องค์ประกอบที่ทำให้เรือนไทยของเราเย็น คือผังของตัวเรือนไทยซึ่งเป็นต้นแบบของการวางผังบ้านแบบกลุ่ม (CLUSTER) แบบแรกที่เอื้อประโยชน์ใช้สอยมหาศาล ตามลักษณะการดำรงชีวิตของเรากับความเหมาะสมต่อสภาพภูมิอากาศ ผังเรือนไทยโดยทั่วไปแบ่งออกได้สามส่วนคือ

    1) นอกชาน

    2) ชาน หรือระเบียงชาน

    3) ตัวเรือน

    2. วัสดุที่ใช้ก่อสร้าง

    วัสดุก่อสร้างเรือนไทย ที่ทำให้เรือนไทยเย็นก็คือ "ไม้" ซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่นที่หาง่ายและมีมากที่สุด เพราะไม้เป็นฉนวน คือเป็นตัวนำความร้อนที่เลวและไม้ก็ไม่อมความร้อนเท่าคอนกรีต เมื่อพลบค่ำความร้อนจึงไม่ได้ถูกส่งผ่านเข้าภายในห้อง และไม่มีความร้อนมากมายที่จะกระจายออกจนทำให้ห้องร้อน...เรือนไทยจึงเย็น

    สวัสดีค่ะคุณดอกแก้ว

    ที่คุณดอกแก้วนึกถึง ผ้าขาวม้า ข้าวแช่ ดนตรีไทย

    นั่นก็คือวิถีไทยทั้งนั้นค่ะ

    เมืองไทยเป็นเมืองร้อนชื้น สมัยก่อน ผู้ชายนิยมนุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียวเวลาร้อนๆค่ะ สมัยดิฉันยังเด็กๆ คุณพ่อพาไปเที่ยวต่างจังหวัด จะเห็นชาวบ้านนุ่งผ้าขาวม้าเป็นปกติค่ะ ถ้าร้อนมากๆ ก็อาบบน้ำจากตุ่มดินเผาชนิดไม่เคลือบค่ะ จะเย็นกว่าตุ่มชนิดเคลือบ

     ข้าวแช่ เป็นอาหารคลายร้อนได้ดีมากค่ะ มีตำนานว่า เกิดจากเมืองเพชรบุรี ข้าวแช่เมืองนี้ใช้ปลายี่สนแห้งผัดหวาน ไม่ได้มีพริกหยวกสอดไส้อย่างที่เราทานกันประจำ ส่วนข้าวแช่ชาววัง ก็สันนิษฐานกันว่า น่าจะเข้าไปในวัง ตอนรัชกาลที่ 4 เพราะรัชกาลที่ 4 ท่านไปประทับที่พระนครคีรี หรือพระราชวังบนยอดเขาวัง

    ส่วนเรื่องดนตรีไทยนั้น มีข้อเขียนของท่านนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่กล่าวถึงดนตรีไทยไว้ดังนี้ค่ะ

     

    เพียงแค่ย้อนกลับไปดูโน้ตเพลงที่ลาลูแบร์จดไว้ในปลายสมัยพระนารายณ์ ผมคิดว่าเพลงไทยในตอนนั้นยังค่อนข้างง่ายๆ และคงไม่เสนาะหูเท่ากับยุคหลัง

    แต่ไม่นานหลังจากนั้นคือนับตั้งแต่ปลายอยุธยาลงมา โดยเฉพาะในต้นรัตนโกสินทร์ (ระยะเวลาแค่ศตวรรษเดียวหรือไม่ถึงดี) ดนตรีไทยได้มีพัฒนาการแบบก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการประกอบวง (ซึ่งบังคับให้ต้องมีจินตนาการถึงเสียงใหม่ของการประสานเสียงด้วย) อาจจะมีเครื่องดนตรีใหม่ด้วย

     เทคนิคการเล่นก็น่าจะปรับเปลี่ยนไปบ้าง รูปแบบของเพลงนั้นเปลี่ยนไปแน่นอน อย่างน้อยก็ซับซ้อนขึ้น

    จังหวะช้า 3 ชั้นเป็นของคิดขึ้นใหม่เลย การเอื้อนใช้มากขึ้นและสลับซับซ้อนขึ้น ฯลฯ

    คิดไปเถิดครับว่าอเนกอนันต์ขนาดไหน

    จนแทบจะพูดได้ว่าอะไรที่เราเรียกดนตรีไทยในปัจจุบันนั้น ที่จริงแล้วเป็นผลผลิตของ (ปลายอยุธยาและ) ต้นรัตนโกสินทร์นี้เอง

     ผมสงสัยว่าคนอยุธยาก่อนสมัยพระนารายณ์มาฟังเพลงไทยปัจจุบัน อาจคิดว่าไม่ใช่เพลงกูนี่หว่า อาจจะเป็นเพลงสิบสองภาษากระมัง

    ฉะนั้น หากจะฟื้นฟูดนตรีไทยให้กลับคืนมา สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือทำลายอำนาจของ "ศูนย์"  นั่นคือ

     ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมที่มีพร้อมกับการ มีตรามาตรฐานที่ตายตัวอย่างชนิดที่กระดิกกระเดี้ยไม่ได้ ปรับตัวไม่ได้

      ลงเสียให้หมด (โดยเฉพาะอำนาจที่ไม่เป็นทางการ) ปลดปล่อยจินตนาการถึงเสียงใหม่ของคีตกวี, นักดนตรี และผู้ฟังให้อิสระเสรีอย่างเต็มที่ ปล่อยให้เขาได้ลองผิดลองถูกไปตามครรลองของการสร้างศิลปะ

    และไม่ต้องห่วงว่า บุรพาจารย์ท่านจะนอนสะดุ้งที่ได้ยินดนตรีไทยซึ่งท่านไม่คุ้นเคย เพราะดนตรีเป็นสมบัติของยุคสมัยเสมอ เราคงไม่ผลิตดนตรีให้แก่ยุคสมัยที่ล่วงไปแล้ว ไม่ต่างจากบุรพาจารย์ก็เคยทำให้บุรพาจารย์ของท่านเองนอนสะดุ้งในปรภพมาแล้วเหมือนกัน

    เป็นข้อเขียนที่น่าฟังมิใช่น้อยนะคะ

    • บันทึกนี้นับว่า เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อผู้ใฝ่รู้
    • เพราะเรื่องราวของอัจฉริยบุรุษ อย่างท่าน มรว.คึกฤทธิ์ เป็นเรื่องที่น่าศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง
    • ผมเคยจำบทประพันธ์ของท่านได้เกี่ยวกับหัวโขน เดี๋ยวนี้ลืมแล้ว ทำนองว่า
    • "เมื่อเอาหัวโขน มาสวมใส่ ก็ต้องเต้น ไปตามหัวโขน ให้มันถูกจังหวะจะโคน
    • แม้เอาหัวโขน มาสวมใส่ ไม่เต้นไปตามหัวโขน ให้มันถูกจังหวะจะโคน
    • เอาหัวโขนสวมหัวตอก็พอกัน"
    • ทำนองนี้แหละ..นานมาแล้ว..คงขาดหายไปหลายคำ
    • ว่างๆจะไปทบทวนอีกที
    • หรือคุณศศินันท์ มีข้อมูลนี้ ก็ช่วยกรุณาแก้ไขเพิ่มเติมให้ผมด้วยนะครับ

    สวัสดีค่ะอาจารย์แป๋ว

    P

     paew

    กำลังคิดถึงอาจารย์อยู่ว่า หายเหนื่อยจากไปเที่ยวหรือยังค่ะ เพราะทำหน้าที่หัวหน้าทัวร์ด้วยนะคะ

    ที่อาจารย์บอกว่า....

    ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเรามีหลายท่านที่เก่งๆ มีความสามารถในหลากหลายด้าน น่าจะทำหนังสือประวัติและผลงานบอกเล่าเรื่องราวๆต่าง

    ที่สมควรเป็นแบบอย่าง เพื่อที่ลูกหลานไทย เด็กไทยจะได้ดูเป็นตัวอย่าง รวมทั้งเกิดแรงบันดาลใจที่จะดำเนินรอยตาม

    เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ พี่ว่าน่าจะรวมเป็นหมวดๆก็ได้นะคะ หรือทำเป็นเล่มๆละท่านก็ได้

    เป็นตัวอย่างที่ดีของเด็กๆต่อไป

    ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนักปราชญ์ผู้มีความรู้แตกฉานทั้งทางโลก ทางธรรม ซึ่งได้มาด้วยการศึกษาหาความรู้ด้วยวิธีต่าง ๆ ตลอดจนมีประสบการณ์และสัมผัสมาด้วยตนเอง

    ท่าน จึงเป็นพหูสูต ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากบุคคลทั่วไปชีวิตและความเป็นอยู่ส่วนตัวของท่าน ก็น่าภูมิใจ ไม่ว่า จะเป็นชาติสกุล เกียรติยศ ชื่อเสียง คุณงามความดี ความรู้ ความสามารถความเคารพนับถือจากผู้อื่น มีพร้อมอยู่ในตัวท่านทุกประการ

     ถ้าจะพูดถึงเรื่องความรู้ ความสามารถของท่านแล้ว ท่านเป็นอัจฉริยะมีความรอบรู้ทุกด้าน  จัดเป็นปราชญ์คนหนึ่งของเมืองไทย

     

    วันหลัง ถ้าอาจารย์ว่าง จะไปเที่ยวก็ได้ค่ะ

    บ้านซอยสวนพลู คือของบ้านอดีตนายกรัฐมนตรีบุคคลสำคัญคนหนึ่งของเมืองไทย ท่านได้ใช้บ้านนี้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย และรับรองแขกบ้านแขกเมืองจนถึงกับระดับผู้นำประเทศ มาจนถึงท่านถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.2538ค่ะ

    เป็นสถานที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งแห่งหนึ่ง

    ในบริเวณบ้านประกอบด้วยเรือนไทย และศาลาไทย ในเนื้อที่ดินประมาณ 5 ไร่ ในบรรยากาศที่ร่มรื่น ด้วยบริเวณสวนไม้ดัด และสวนหลังบ้าน นับว่าเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากท่ามกลางตึกรามบ้านช่องกลางกรุงเทพฯ

    เมื่อคืนตั้งใจจะมาลงภาพปกหนังสือให้ดู   แต่เสียดายกลับจากที่ทำงานดึกไปหน่อย  มีประชุมจนถึงทุ่มเศษ ๆ  จากนั้นก็นั่งเคลียร์งานเล็ก ๆ น้อย ...

    เอาไว้ก่อนแล้วกันนะครับ

    .....

    เส้นทางด้านการเมืองของ  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช    เป็นเส้นทางที่น่าศึกษาไม่ใช่น้อย  ผมเข้าใจว่าก่อนผละออกมาตั้งพรรคก้าวหน้าและพรรคกิจสังคมนั้น  น่าจะอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน  และการเล่นการเมืองก็อยู่ในระยะเดียวกับ ม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช  ด้วยเช่นกัน

    ในสมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น  ที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็น่าจะเป็นการผันเงินไปพัฒนา  หรือสร้างงานในชนบท  รวมถึงการสัมปทานรถจากเอกชนมาเป็นของรัฐบาล  ซึ่งสมัยนั้นเรียกรถประจำทาง  แต่ตอนนี้เป็นรถเมล์หรือเปล่าผมก็ไม่แน่ใจ  และที่ฮือฮาก็คือการประกาศช่วยให้คนจนขึ้นรถฟรีด้วยนั่นเอง

    ส่วนบทความในหนังสือของท่านนั้น  ต้องยอมรับว่ากลุ่มปัญญาชนหัวก้าวหน้าในสมัยนั้นติดตามอ่านกันงอมแงมเลยทีเดียว   ดุเด็ด   แปลกใหม่  ภาษาทันสมัย  ให้แง่คิด  แบะมีอารมณ์ขัน   และสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งการันตีในด้านศักยภาพของท่านทั้งสิ้น

    ....

    จะแวะมาอีกรอบนะครับ

    ผมผ่านมาอ่านครับ โขนนี่มีมาตั้งแต่สมัยใด พอทราบไหมครับ ดูๆแล้วน่าจะเก่าแก่ น่าจะมาจากในวัง เพราะการแต่งตัวสวยงามมาก

    มาเยี่ยม  คุณ

    P

    ได้อ่านผลงานบุคคลของโลกจากบันทึกนี้แล้วชื่นใจครับ...

    สวัสดีค่ะอาจารย์พิสูจน์

    P

    ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ

    สำหรับกลอนที่อาจารย์ เล่ามานี้....

  • "เมื่อเอาหัวโขน มาสวมใส่ ก็ต้องเต้น ไปตามหัวโขน ให้มันถูกจังหวะจะโคน
  • แม้เอาหัวโขน มาสวมใส่ ไม่เต้นไปตามหัวโขน ให้มันถูกจังหวะจะโคน
  • เอาหัวโขนสวมหัวตอก็พอกัน"
  • หายังไม่พบเลยค่ะ สงสัยต้องขอแบบอาจารย์ไปก่อนค่ะ และนำรูป การแต่งกายของโขมาฝากค่ะ มีทั้งตัวพระ ตัวนาง ยักษ์และลิงค่ะ

    อ้างอิงจากweb งานวิจัย  นาฎกรรมโขนค่ะ มีคำอธิบายเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ค่ะ.......

    โขนเป็นนาฏกรรมที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับของตนเอง

    คำว่า "โขน" ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในลิลิตพระลอเล่าถึงงานมหรสพในงานพระศพของพระลอและพระเพื่อนพระแพงว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน" คำว่า "โขน" มีกล่าวไว้ในหนังสือของชาวต่างประเทศ เป็นการกล่าวถึงศิลปะแห่งการเล่นของไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นที่นิยมและยึดถือเป็นแบบแผนกันมานาน มีข้อสันนิษฐานว่าโขนน่าจะมาจากคำในภาษาต่าง ๆ ดังนี้

    1. โขนในภาษาเบงคาลี ซึ่งมีคำว่า "โขละ หรือโขล"

    ซึ่งเป็นชื่อของเครื่องดนตรีประเภทหนัง ชนิดหนึ่งของฮินดู โดยตัวรูปร่างคล้ายมฤทังคะ (ตะโพน) ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่พวกไวษณพนิกายในแคว้นแบงกอลนิยมใช้ประกอบการเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ยาตรา" ซึ่งหมายถึง ละครเร่ และหากเครื่องดนตรีชนิดนี้ได้เคยนำเข้ามาในดินแดนไทยแล้วนำมาใช้ประกอบการเล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง เราจึงเรียกการแสดงชุดนั้นว่า "โขล" ตามชื่อเครื่องดนตรี

    2. โขนในภาษาทมิฬ เริ่มจากคำว่า โขล มีคำเพียงใกล้เคียงกับ "โกล หรือ โกลัม" ในภาษาทมิฬ

     ซึ่งหมายถึงเพศ หรือการแต่งตัวหรือการประดับตกแต่งตัวตามลักษณะของเพศ

    3. โขนในภาษาอิหร่าน มาจากคำว่า "ษูรัต ควาน" (Surat khwan)

    ซึ่งษูรัตแปลว่าตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ขับร้องแทนตุ๊กตาหรือหุ่นเรียกว่า "ควาน" หรือโขน (Khon) ซึ่งคล้าย ๆ กับผู้พากย์และผู้เจรจาอย่างโขน

    หากที่มาของโขนมาจากคำในภาษาเบงคาลี ภาษาทมิฬและภาษาอิหร่าน ก็คงจะมาจากพวกพ่อค้าวาณิช และศาสนาจารย์ของประเทศนั้นๆ

     แพร่มาสู่ดินแดนในหมู่เกาะชวา มาลายูและแหลมอินโดจีน 

    4. โขนในภาษาเขมร ในพจนานุกรมภาษาเขมร มีคำว่า "ละคร" แต่เขียนเป็นอักษรว่า "ละโขน" ซึ่งหมายถึงมหรสพอย่างหนึ่งเล่นเรื่องต่าง ๆ กับมีคำว่า "โขล" อธิบายไว้ในพจนานุกรมเขมรว่า "โขล ละคอนชายเล่นเรื่องรามเกียรติ์" (ธนิต อยู่โพธิ์. 2511. : 23 - 29)

     

    จากข้อสันนิษฐานต่างๆ ยังมิอาจสรุปได้แน่นอนว่า "โขน" เป็นคำมาจากภาษาใด

     แต่เมื่อเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ซึ่งใช้กันในยุคสมัยนี้ก็จะพบว่า โขน หมายถึง การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน หรืออีกความหมายหนึ่งหมายถึง ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไป เรียกว่า "โขนเรือ" เรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่า เรือโขน เช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อย เหลือหลาย (ลิลิตพยุหยาตรา) หรือส่วนสุดทั้ง 2 ข้างของรางระนาดหรือฆ้องวง ที่งอนขึ้นก็เรียกว่า "โขน"

    เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการประกอบการแสดงโขน แต่งกายแบบยืนเครื่อง พระ นาง ยักษ์ ลิง นอกจากตัวละครอื่นๆ จะแต่งกายตามลักษณะนั้นๆ เช่น ฤาษี กา ช้าง ควาย ฯลฯ นอกจากนี้ผู้แสดงโขนจะต้องสวมหน้ากากที่เรียกว่า "หัวโขน" ซึ่งศิลปินไทยได้กำหนดลักษณะและสีไว้อย่างเป็นแบบแผน และกำหนดให้ใช้เฉพาะกับตัวละคร เช่น พระรามสีกายเขียว พระลักษณ์สีกายเหลือง ทศกัณฐ์สีกายเขียว เป็นต้น

    เครื่องแต่งกายของโขนนั้น ได้เลียนแบบอย่างเครื่องแต่งกายของพระมหากษัตริย์ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
    1. ศิราภรณ์ คือเครื่องประดับศรีษะ เช่น ชฎา มงกุฎ ปั้นจุเหร็จ หรือแม้นกระทั้งหัวโขนก็จัดเป็นเครื่องศิราภรณ์ด้วยเช่นกัน
    2. ภูษาภรณ์ คือ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เช่น ฉลององค์(เสื้อ) สนับเพลา(กางเกง) ห้อยหน้า(ชายไหว) ห้อยข้าง(ชายแครง) พระภูษา(ผ้านุ่ง) รัดเอว ผ้าทิพย์ เจียระบาด สะไบเป็นต้น
    3. ถนิมพิมพาภรณ์ คือ เครื่องประดับต่าง ๆ เช่น ปั้นเหน่ง(เข็มขัด) สังวาล ตาบหน้า ตาบทิศ ตาบหลัง อินทรธนู ธำมรงค์ แหวนรอบ ปะวะหล่ำ ทองกร กรองคอ สะอิ้ง พาหุรัด กำไลเท้า เป็นต้น

     ถ้าเราอ่านทั้งหมดแล้ว ก็ยังสรุปไม่ได้แน่ๆว่า โขนมีต้นกำเนิดครั้งแรก จากที่ใดกันแน่ค่ะ

     

    บันทึกนี้ ข้อมูลดีนะครับ รูปสวย

    ผมชอบครับ และเป็นคนชอบอะไรไทยๆด้วย

    ละครโน่ต์ เป็นอย่างไร ไม่รู้จักครับ

    ตามมาดูจากGoogle ครับ ผมsearch คำนี้เจอที่นี่ แต่ไม่มีคำอธิบาย พอทราบไหมครับ

    สวัสดีค่ะ คุณ Sasinan

    *แวะมาเยี่ยมด้วยคนน๊ะค๊ะ

    *ดีใจและขอบคุณมากที่นำไปเยี่ยมชมบ้านท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช

    *เคยชื่นชมและฝันอยากไปเยี่ยมชมมานานแล้วแต่ไม่มีโอกาส

    *ชอบบรรยากาศแบบนี้มาก ๆ ไทย ๆ ดีค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์

    ได้เห็นวัฒนธรรมไทยหรือศิลปกรรม สถาปัตยกรรมไทยๆ แล้วชื่นใจค่ะ ดูเย็นตา และหาดูยากยิ่งขึ้นทุกวัน

    ชีวิตคนไทยสมัยก่อนไม่เร่งรีบเหมือนปัจจุบัน ทำการเกษตร เลี้ยงชีวิตตามอัตภาพ ไม่เหมือนปัจจุบันที่เราเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตเป็นแบบตะวันตกไปเสียมากแล้ว โดยเฉพาะในเมือง .. บ้านท่าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ หากลูกหลายไม่ได้รักษาไว้ หรือท่้านไม่ได้สั่งเสียไว้ ก็คงหมดไปแล้ว ดีที่ยังอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ดูบ้าง

    จะมาแจ้งว่าได้รับหนังสือแล้วด้วยนะคะ ขอบคุณมากเลยค่ะ หนังสือดูดี สวยงามน่าอ่านมาก เนื้อหาก็คงจะไม่แพ้ความสวยงามเป็นแน่ .. ขอบคุณมากๆ อีกครั้งค่ะ ^ ^ 

    สวัสดีค่ะ มาอ่านบันทึกคุณพี่ครั้งใดได้รับทั้งอรรถรสและเรื่องราวเต็มเปี่ยม

    ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชท่านเป็นสุดยอดของหลายสิ่งตามที่คุณพี่เล่ามา ส่วนมากเรามักไม่ได้มีโอกาสรับรู้ทุกด้าน ได้มีการประมวลเช่นนี้ทำให้เห็นภาพใหญ่ของการเป็นตัวท่านชัดเจนนะคะ

    โชคดีที่บ้านของท่านมีการดูแลอนุรักษ์ไว้อย่างดีเยี่ยมให้คนรุ่นหลังได้เข้าไปสัมผัสการใช้ชีวิตของท่าน

    อ่านบันทึกนี้เลยได้ความรู้ใหม่ว่า ที่ลำปางเคยใช้เงินรูปี แล้วได้ท่านมาชวนให้ใช้เงินบาท น่าสนใจประวัติศาสตร์ช่วงนั้นจังค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณพนัส

     P

     

    ดีใจที่เข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องแง่มุมทางการเมืองของท่านค่ะ

    ท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เป็นบุคคลที่มีบุคลิกและบทบาทที่หลากหลาย มีชื่อเสียงในหลายๆ ด้าน นอกจากการประพันธ์ การแสดงแล้ว  ยังเป็นนักการเมืองอีกด้วย ตามข้อมูลดังนี้ค่ะ

     ท่านเป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้า เมื่อ พ.ศ. 2488

    ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา

    ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2493 และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 13 ของประเทศไทย

    เมื่อ พ.ศ. 2518  ได้สามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส.ในมือเพียง 18 คน

    รัฐบาลคึกฤทธิ์ในครั้งนั้นมี นายบุญชู โรจนเสถียร ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกิจสังคม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบาย "เงินผัน" เป็นที่รู้จักเลื่องลือทั่วไปในสมัยนั้น

    อ้างถึง ข้อเขียนของ  คุณวิษณุ บุญมารัตน์ เศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  กรุงเทพธุรกิจ  วันที่  7  ธันวาคม  2547

    โครงการเงินผันสมัยที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และนายบุญชู โรจนเสถียร เป็น รมว.คลัง เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชน 14 ตุลาคม 2516 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปลายปี 2517

    สภาพทางการเมืองในขณะนั้น ถือว่าเป็นยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน มีการเคลื่อนไหวของกรรมกร (แรงงาน) ชาวนา และขบวนการนักศึกษา ที่นิยมความคิดและอุดมการณ์สังคมนิยม จึงทำให้ประชาชนซึมซับแนวความคิดสังคมนิยมในระดับที่ต่างกันไป

    การเมืองหลายพรรคจึงใช้นโยบายสังคมนิยม หรือสวัสดิการนิยม เป็นหลักหาเสียงเรียกคะแนน ซึ่งไม่ต่างจากแนวทางของพรรคการเมืองไทยยุคปัจจุบัน

    พรรคกิจสังคม ก็เป็นพรรคการเมืองหนึ่งที่มีแนวนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นการพัฒนาชนบท และประชาชนในระดับรากหญ้า เพราะได้นายบุญชู โรจนเสถียร ซึ่งเป็นอดีตนายธนาคารมาเป็นเลขาธิการคุม นโยบายของพรรคที่มุ่งเน้นประชาชนรากหญ้าเป็นหลัก

    เช่น ให้ประชาชนทุกคนมีงานทำอย่างทั่วถ้วน ปรับมาตรฐานครองชีพของประชาชนในกลุ่มรายได้ต่ำ ให้ขึ้นสู่ระดับปานกลางภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี

    ให้ผู้มีรายได้น้อยขึ้นรถเมล์ฟรี รักษาพยาบาลฟรี

    จะเห็นได้ว่า.....

    นโยบายของพรรคการเมืองของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯ คล้ายกับนโยบายของรัฐบาลที่แล้วค่ะ เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท เป็นต้น

    สวัสดีค่ะคุณสุเทพ

    ข้อคิดเห็นของคุณสุเทพ ดิฉันได้แลกเปลี่ยนไปแล้วที่

    P

    40. sasinanda
    เมื่อ อ. 13 พ.ย. 2550 @ 11:45
    455498

    สวัสดีค่ะอาจารย์พิสูจน์

    P

     

    ความรู้สึกเหมือนกับการอ่านบันทึกอื่นๆ  ในบล็อกนี้ค่ะ

    คือมาแล้วต้องมาอีกหลายรอบ

    ...

    แล้วจะมาอีกนะคะ

    ขอบคุณค่ะ

     

    - แวะมาเยือนที่ไรได้ความรู้มากมาย...ขอบคุณนะคะ...หากไปกทม.จะหาโอกาสไปเยือนบ้านท่านคึกฤทธิ์สักครั้ง....

     

     

    สวัสดีค่ะ

      P
     umi
    ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ
     ท่านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯท่านเป็นคนที่มีความสามารถโดดเด่นหลายอย่างค่ะ
    ในเรื่องของการประพันธ์ ท่านมีผลงานมากมายนะคะ ดิฉันได้ลองไปค้นมาให้ เผื่อใครอยากจะไปอ่านเรื่องใด ก็ตามอัธยาศัยค่ะ
    นวนิยาย
     สี่แผ้นดิน ·        ไผ่แด ·        กาเหว่าที่บางเพลง  ·        ซูสีไทเฮา ·        .สามก๊กฉบับนายทุน  ·        ราโขมอน 
    รวมเรื่องสั้น
    ·        มอม ·        เพื่อนนอน ·        หลายชีวิต
     ารคดี 
      ·        ฉากญี่ปุ่น ·        ยิว ·        เจ้าโลก ·        สงครามผิว ·        คนของโลก ·        ชมสวน ·        ธรรมคดี ·        น้ำพริก ·        ฝรั่งศักดินา · 
           สรรพสัตว์ ·        สัพเพเหระคดี ·        ข้อคิดเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ·        โครงกระดูกในตู้ ·        พม่าเสียเมือง ·        ถกเขมร ·        เก็บเล็กผสมน้อย ·  
          เบ้งเฮ็ก ผู้ถูกกลืนทั้งเป็น ·        เมืองมายา ·        เรื่องขำขัน·        โจโฉ นายกฯ-ตลอดกาล ·     
       กฤฎาภินิหารอันบิดบังมิได้ ·        คนรักหมา ·        ตลาดนัด ·        นิกายเซน ·    
        บันเทิงเริงรมย์ ·        วัยรุ่น ·        สงครามเย็น ·        อโรคยา
    บทละครเวที      
    ลูกคุณหลวง                                   

    สวัสดีค่ะคุณ ภูวดล สุวิบูล

    ขอบคุณที่ชม พอดีไปประชุมใกล้ๆกับบ้านท่านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯ จึงถือโอกาสไปเยี่ยมที่บ้านท่านค่ะ

    วันที่ไป ก็มีทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มาชม รวมทั้งมีผู้ มาจัดสถานที่ เพื่องานแต่งงานในวันรุ่งขึ้นด้วยค่ะ

    ที่บ้านท่านมีหัวโขนเรียงรายใส่ตู้โชว์ ไว้เต็มไปหมดค่ะ ดิฉันได้ไปพินิจพิจารณาทุกอัน ดูแล้ว ก็ไม่เหมือนกันทีเดียวนะคะ แม้จะมองในภาพรวมว่า คล้ายๆกันในบางแบบ ซึ่งมีคำอธิบายไว้ด้วยค่ะ

    หัวโขน    เป็นเครื่องใช้สำหรับศีรษะและปิดบังส่วนหน้าที่คล้ายกับหน้ากาก แต่หัวโขนจะมีลักษณะที่แตกต่างออกไปตรงที่สร้างหุ่นจำลองรูปทรงใบหน้าและศีรษะ ทั้งหมด โดยผู้แสดงสามารถสวมครอบศรีษะจะห่อหุ้มส่วนใบหน้าและส่วนหัวมิดชิด และเจาะช่องเป็นรูกลมที่ตาของหน้ากากให้ตรงกับนัยน์ตาของผู้แสดง เพื่อให้นักแสดงมองเห็นการแสดง

    หัวโขน อาจแบ่งตามประเภทของหัวโขนที่ใช้สวมอย่างละ 2 จำพวก คือ ยักษ์ยอด ยักษ์โล้น และลิงยอด ลิงโล้น นอกจากนี้หัวโขนก็ยังแบ่งออกได้ตามชนิดของหัวโขนซึ่งมีลักษณะต่างๆ กัน ซึ่งจะแบ่งเป็นฝ่ายลงกา และฝ่ายพลับพลา(ลิง)

    แม้จะได้บัญญัติและประดิษฐ์หัวโขนให้มีลักษณะแตกต่างกันแล้ว ก็ยังมิวายที่จะซ้ำกันอีก จึงต้องประดิษฐ์หน้าโขนโดยให้ทำปาก และตาให้แตกต่างกันไป ซึ่งอาจแบ่งประเภทของหน้าออกไปตามลักษณะของปากและตาอีก 4 จำพวกคือ

    1. ปากแสยะ ตาโพลง เช่น ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ 3. ปากขบ ตาโพลง เช่น อินทรชิต รามสูร
    2. ปากแสยะ ตาจรเข้ เช่น พิเภก พิราพ 4. ปากขบ ตาจรเข้ เช่น มัยราพณ์ มังกรกัณฐ์

     

    มาอีกรอบค่ะ เช้านี้อ่านหนังสือพิมพ์มติชนพบเรื่องสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงให้มีการฟื้นฟูโขน เลยคิดถึงคุณพี่ค่ะว่ามีวิสัยทัศน์สมเป็นข้าพระบาทฯ

    ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี แถลงข่าวการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ เรื่องรามเกียรติ์ ตอบ พรหมาศ ทรงมีพระราชดำรัสว่า "เมื่อไม่มีคนดูโขน ฉันจะเริ่มดูเอง" ท่านทรงห่วงมาก เพราะโขนป็นศิลปะวัฒนธรรมของชาติ ถ้าไม่ส่งเสริมตั้งแต่วันี้ ต่อไปจะเลือนหาย แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ยังคงจารีตประเพณี เป็นการเปลี่ยนในทางที่ดีขึ้น ให้เข้ากับยุคสมัย เป็นการร์อฟื้นโขน เพื่อวางรากฐานอีกยี่สิบปีของรัตนโกสินทร์จะเป็นอย่างไร ในสมัยรัชกาลที่๙ มีของดีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เพราะโขนถือเป็นการแสดงที่เป็นสุดยอดของวัฒนธรรมไทยอีกการแสดงหนึ่ง

    รอบปฐมทัศน์ จะมีขึ้นในวันที่ ๒๕ ธันวาคมนี้ค่ะ

    สวัสดีค่ะ

               ดิฉันได้อ่านหนังสือพิมพ์แล้วพบว่า สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงให้มีการฟื้นฟูโขน ซึ่งดิฉันชอบดูมาก  และเป้นเรื่องที่ถูกใจมาก  เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบดูโขนกัน ชอบแต่ดูคอนเสิร์ต  ฟังเพลงต่างๆ  เราน่าจะช่วยกันอนุรักษ์ละครโขน เลยรองดูใน googel  เขียนว่า  โขน  จึงมาเจอบันทึกของคุณศศินันท์  เขียนเรื่องโขน  จึงชอบและมีรูปภาพประกอบด้วย  บันทึกนี้มีประโยชน์ต่อคนอื่นมาก  ขอบคุณมากค่ะที่เขียนเรื่องดีๆ ให้อ่านค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณทอม

    ขอบคุณที่เข้ามาทักทายค่ะ

    ละครโน่ห์ เป็นอย่างไร ไม่รู้จักครับ

    ตามมาดูจากGoogle ครับ ผมsearch คำนี้เจอที่นี่ แต่ไม่มีคำอธิบาย

    ดิฉันเองก็ไม่เคยดูที่เขาเล่นจริงๆค่ะ เคยเห็นแต่ในภาพยนต์สารคดี หรือภาพยนต์สมัยซามูไร แต่ไปได้ข้อมูลมาจากEncyclopædia Britannica ดังนี้ค่ะ

    ละครโนห์ของญี่ปุ่น  Noh   also spelled  No  traditional Japanese theatrical form and one of the oldest extant theatrical forms in the world.

    Noh...แปลว่า ทักษะ หรือ ความฉลาด มีปฎิภาณ

    Noh...เป็นการเล่าเรื่องธรรมดา Storytellers  ไม่ใช่ผู้แสดง แต่จะใช้กิริยาท่าทาง หรือลักษณะการแต่งตัว ของผู้เล่า มาประกอบให้ผู้ชมจินตนาการตามได้

    ดังนั้น ในเมื่อผู้ชมรู้เรื่องทั้งหมดแล้ว ก็ไม่ค่อยจะตื่นเต้นไปกับการเล่านัก นอกจากชื่นชมว่า ผู้เล่าๆได้เก่ง มีการทำท่าทาง น้ำเสียง ประกอบ เร้าให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

    โนห์ถือกำเนิดมาจากการร่ายรำ ในงานฉลองตามวัด และ ศาลเจ้า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 12-13

    แต่มาเป็นการแสดงที่โดดเด่นขึ้น ในศตวรรษที่ 14 และมีชื่อเสียงขึ้นอีก ในช่วงของ Tokugawa  ค.ศ. 1603-1867 ซึ่งกลายมาเป็นการแสดงสำหรับให้ พวกนักรบซามูไรชม มีท่วงทำนอง การเยิรยอสรรเสริญ

    แต่พอสมัย 1868 เป็นต้นมา การแสดงนี้ ก็เริ่มได้รับความนิยมน้อยลง

    การแสดงโนห์นี้ มีอยู่ด้วยกัน 5 แบบค่ะ....

    1.Kami(god) play...เกี่ยวกับเรื่องศาสนาชินโต

    2.Shura mono (fighting play) เกี่ยวกับเรื่องนักรบ

    3.Katsura mono (wig play) ให้ผู้หญิงเป็นตัวละคร สำคัญ

    4.Present - day play --Gendai mono-- เล่นเรื่องทั่วๆไป ร่วมสมัย

    5.kiri or kichiku (“final” or “demon”)  ..เล่นเรื่องที่เกี่ยวกับ ความชั่วร้าย ความบาป ฝ่ายมาร

    การแสดงโน่ห์ เป็นการแสดงที่ไม่ยาว บทพุดน้อย  มักจะมีดนตรีแทรกค่อนข้างมาก และมักมี 3 แบบ ใน 5 แบบ ข้างต้นผสมกัน เป็นการแสดง 1 ครั้ง

    ได้มีการปฎิรูปการแสดงโน่ห์ใหม่ เมื่อศตวรรษที่ 20นี่เองค่ะ ให้มีเนื้อหาแปลกใหม่ขึ้น และมีการปรับปรุงรูปแบบเวที แสง สี เสียง ให้สวยงาม มีเสน่ห์ในการเข้าชมขึ้นค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    P

    43. pepra

    ยินดีต้อนรับค่ะ รู้สึกจะเข้ามาอ่านเป็นครั้งแรก

    ไม่ทราบเคยดูโขนไหมคะ

     ตอนนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงห่วงมาก และทรงตระหนักว่าวัฒนธรรมไทยเป็นของล้ำค่า จึงทรงโปรดให้ฟื้นฟูโขนขึ้นมา โดยจะทรงเป็นองค์แบบอย่างให้ประชาชนได้ทำตาม ซึ่งทรงมีพระราชเสาวนีย์ที่จับใจว่า 'เมื่อไม่มีคนดูโขน ฉันจะดูเอง'

    เมื่อมีโขน ก็ต้องมีดนตรีไทย

    ท่านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯ ท่านเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า.....

    เพลงลูกทุ่งนี่ละ คือการสืบทอด ดนตรีไทย เพราะทำนองเพลงมาจากเพลงไทยเดิมทั้งนั้น คนแต่งเพลงลุกทุ่ง ไม่มรู้ว่า เพลงไหน เป็นเพลงไหน แต่เพลงไทย ดนตรีไทย มันอยู่ในใจเขา

    เพลงลุกทุ่งจึงเป็นการสืบทอดเพลงไทยแน่นอนค่ะ

    สวัสดีค่ะอาจารย์ P


    ดีใจที่ได้รับหนังสือแล้วค่ะ อ่านแล้วดีค่ะ

    ที่อาจารย์บอกว่า.....บ้านท่าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ หากลูกหลานไม่ได้รักษาไว้ หรือท่้านไม่ได้สั่งเสียไว้ ก็คงหมดไปแล้ว ดีที่ยังอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ดูบ้าง

    จริงค่ะ ถ้าท่านไม่สั่งไว้ และถ้าทายาทของท่านคือ ม.ล.รองฤทธิ์ ปราโมช ทายาทของท่านไม่เก็บรักษาไว้ และเปิดให้ประชาชนเข้าไปชมได้ ความเป็นไทย ที่ท่านพยายาม ปลูกฝังมาตลอดชีวิต ก็อาจจะเลือนหายไปบ้าง และเร็วขึ้น

    พี่จึงคิดว่า เมื่อเข้าไปเยี่ยมเยือนที่บ้านซอยสวนพลูแล้ว ก็ควรจะ เขียนบันทึกขึ้นมา สักหนึ่งเรื่อง เพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วไป โดยเฉพาะเยาวชน  ได้ทราบว่า ท่านคือ ผู้หนึ่ง ที่เป็นปราชญ์ของแผ่นดิน และอัครศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ ของบ้านเมืองเราค่ะ 

    สวัสดีค่ะอาจารย์

     P


     

    ดีใจจังที่เข้ามาอ่าน จริงๆแล้ว คนที่มีบุคคลิกเข้ากับเรื่องนี้ ที่จะเป็นคนเล่า  น่าจะเป็นอาจารย์นะคะ เพราะดูเย็นๆ ใสๆ สำหรับพี่ บุคคลิก ออกไปทาง เร็วๆไปหน่อยค่ะ

    อาจารย์บอกว่า....

     ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชท่านเป็นสุดยอดของหลายสิ่งตามที่คุณพี่เล่ามา ส่วนมากเรามักไม่ได้มีโอกาสรับรู้ทุกด้าน ได้มีการประมวลเช่นนี้ทำให้เห็นภาพใหญ่ของการเป็นตัวท่านชัดเจนนะคะ

    ค่ะ ก็เป็นการสรุปภาพของท่านอย่างกว้างๆ ความจริง ท่านมีรายละเอียด ที่น่าเขียนเอาไว้อีกมาก แต่เกรงจะยาวไป นี่ก็ดูยาวแล้ว ต้องเอารูปมาคั่น ให้ ไม่ตาลายเกินไปค่ะ

      อาจารย์ เปิดประเด็นนี้ค่ะ........................................

    ....ที่ลำปางเคยใช้เงินรูปี แล้วได้ท่านมาชวนให้ใช้เงินบาท น่าสนใจประวัติศาสตร์ช่วงนั้นจังค่ะ

    พอดีพี่ไปเจอ ข้อเขียนของ ดร. วิรไท สันติประภพ  กรุงเทพธุรกิจ  วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เขียนไว้ว่า....

    เมื่อวันที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา มี milestone อันหนึ่งที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยคือ

     ในวันดังกล่าวธนาคารไทยพาณิชย์ได้ดำเนินธุรกิจครบ 100 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์ไม่ได้เป็นเพียงธนาคารไทยแห่งแรก ที่สามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จนอยู่รอดมาครบศตวรรษเท่านั้น

    แต่ธนาคารไทยพาณิชย์อาจจะเป็นบริษัทไทยบริษัทแรก ที่ดำเนินธุรกิจต่อเนื่องมาครบ 100 ปี และยังคงความเป็นบริษัทไทยอยู่ด้วย

    ผมลองค้นหาข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ว่ามีบริษัทใดบ้าง ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยมาเกิน 100 ปี ได้พบ 3-4 บริษัท แต่เป็นบริษัทชื่อฝรั่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศสยาม ตั้งแต่ช่วงที่กระแสล่าอาณานิคมคุกรุ่น

    เมื่อย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ 100 ปีที่ผ่านมา

    จะพบว่าการที่จะดำเนินธุรกิจอยู่รอดมาจนครบ 100 ปีนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ช่วงแรกตั้งแบงก์สยามกัมมาจล หรือธนาคารไทยพาณิชย์ในสมัยนั้น เป็นช่วงที่ประเทศสยาม กำลังถูกคุกคามทั้งด้านการเมืองระหว่างประเทศ และด้านเศรษฐกิจจากประเทศจักรวรรดินิยม ที่เข้ามาล่าอาณานิคม และแสวงหาผลประโยชน์จากเศรษฐกิจไทย

     เป็นช่วงที่อยู่ระหว่างการปฏิรูประบบการเงินการคลังของประเทศ และมีผู้รู้ด้านการเงินการธนาคารจำกัดเพียงไม่กี่ท่าน เมื่อก่อตั้งแบงก์สยามกัมมาจลขึ้นนั้น กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ถูกต่อต้านอย่างหนักจากกงสุลต่างประเทศ

    เพราะระบบธนาคารในประเทศสยาม ถูกผูกขาดด้วยสาขาของธนาคารต่างชาติ ผมคิดว่าแรงต่อต้านจากกงสุลต่างประเทศในช่วงนั้น คงรุนแรงไม่น้อยกว่าที่เราเห็นหอการค้าต่างประเทศ ออกมากดดันรัฐบาลในสมัยนี้ เพราะในยุคนั้น ประเทศจักรวรรดินิยมมีกำลังเงินและกำลังอาวุธเหนือกว่าเรา มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และมักจะชอบแสดงกำลังอาวุธในบางโอกาสด้วย

    นอกจากความยากลำบากในช่วงแรกตั้งแล้ว ตลอด 100 ปีที่ผ่านมา ระบบเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ และความตกต่ำทางเศรษฐกิจหลายต่อหลายครั้ง

    ถ้าดูในช่วง 50 ปีแรก เศรษฐกิจไทยและแบงก์สยามกัมมาจล ต้องเผชิญกับเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่เกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก และประเทศสยาม ขาดดุลการค้าอย่างรุนแรง ต้องเผชิญกับการยกเลิกระบบมาตรฐานทองคำซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท

    การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เศรษฐกิจตกต่ำและการขาดแคลนสินค้าอย่างหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่นเข้ามายึดครองเศรษฐกิจไทย

    รวมทั้งรัฐบาลมีภาระค่าใช้จ่ายด้านสงครามสูงมาก จนขาดแคลนเงินที่จะมาบูรณะ และฟื้นฟูประเทศช่วงหลังสงคราม ส่วนในช่วง 50 ปีหลังนั้น เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับวิกฤติราคาน้ำมัน (oil shock) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรุนแรงจนต้องลดค่าเงินบาทในปีพ.ศ. 2524 และ 2527

     และที่รุนแรงที่สุดคือวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ที่ส่งผลให้ธนาคารไทยและบริษัทไทยหลายแห่งต้องล้มหายตายจากไปอย่างรวดเร็ว

    ...................................................................................

    ทุ่งสงเป็นทั้งสถานีรถไฟปลายทางภาคใต้ และเป็นทั้งแหล่งแร่ จึงเหมาะสมที่ธนาคารจะเปิดสาขาภูมิภาคเป็นแห่งแรก

    ส่วนสาขาในภูมิภาคแห่งที่สองและสามของธนาคารอยู่ที่เชียงใหม่ และลำปาง

    เพราะในสมัยนั้นในภาคเหนือขาดแคลนเงินบาท และเงินเหรียญของไทยจนต้องใช้เงินพม่าเป็นหลัก

     สาขาของธนาคารในภาคเหนือได้ช่วยแก้ปัญหานี้ให้แก่รัฐบาล นอกจากนี้เชียงใหม่ และลำปางยังเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมป่าไม้  ซึ่งในช่วงนั้นเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศอีกอย่างหนึ่ง

    นอกเหนือจากเกษตรกรรม และเหมืองแร่ การเปิดสาขาของธนาคารในภูมิภาค จึงมีส่วนช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมหลักของประเทศในช่วงเวลานั้นๆ

    ต่อจากนี้ เป็นข้อมูลพี่เอง........

     

    เหตุผลทำไมใช้เงินรูปี.......พี่คิดว่าน่าจะเป็นเพราะ......

    มีชาวอินเดียมากในพม่า เพราะพรมแดนติดกัน  เมื่อชาวอินเดียเป็นพ่อค้า ก็ใช้เงินรูปี เมื่อมาค้าขายกับไทย คงจะเอาเงินรูปีมาใช้แพร่หลายที่ลำปาง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าในขณะนั้นด้วย

    ส่วนลำปางของเราก็เป็นศุนย์กลางการค้าของภาคเหนือในช่วงนี้ค่ะ

    ความเจริญของนครลำปางก้าวหน้ามาเป็นลำดับจนกระทั่งในช่วงยุคทองช่วงหนึ่งในปี พ.ศ. 2425-2440 สมัยเจ้านรนันทชัยชวลิต เจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 9  ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 นครลำปางมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ในฐานะของศูนย์กลางการค้าไม้สักภาคเหนือ  

    โดยมีที่ตั้งอยู่บริเวณถนนตลาดเก่า ซึ่งมีอาคารพาณิชย์ ร้านค้า บ้านพักอาศัยของคหบดี ในสมัยนั้นโดยมากแล้วเป็นชาวพม่าที่เข้ามาทำธุรกิจค้าไม้ และได้ตั้งชุมชนที่ท่ามะโอ ณ ตำบลเวียงเหนือ ด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงได้สร้างวัดแบบศิลปะพม่าไว้หลายแห่ง

     

    ทั้งหมดนี้ น่าจะพอ อธิบายได้บ้าง ว่าทำไม ที่ลำปางใช้เงินรูปีในสมัยหนึ่ง และท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯ มส่วนที่ไปรณรงค์ให้คนไทยในลำปาง กลับมาใช้เงินไทยค่ะ 

    โอ้โฮ มาที่นี่ราวกับได้พบเอ็นไซโคลพีเดีย อยากทราบอะไรก็ได้ทราบหมด สุดยอดค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่คุณพี่กรุณาค้นคว้าและเพิ่มเติมข้อมูลที่น่าสนใจยิ่ง คนยุคนี้คงหาโอกาสรับรู้ได้ยาก

    แถมอ่านแล้วยังรู้สึกเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของตนเองที่ได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดแบบพม่าที่ลำปาง คือ "วัดท่ามะโอ" ค่ะ

    ประทับใจในความรอบรู้และช่างค้นคว้าของคุณพี่มากๆๆๆเลยค่ะ ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ

    สวัสดีค่ะP

    48. Gutjang

      

    ครูกั๊ด บอกว่า.....ความรู้สึกเหมือนกับการอ่านบันทึกอื่นๆ  ในบล็อกนี้ค่ะ

    คือมาแล้วต้องมาอีกหลายรอบ

    ขอบคุณค่ะ ถือว่า เป็นการให้เกียรติอย่างสูงค่ะ

    มีคำถามที่น่าสนใจ ที่มีคนถามท่านคึกฤทธิ์ฯค่ะ.........เลยอยากจะเล่าให้ฟัง เพราะเกี่ยวกับการสอนเด็กๆด้วย.........

    คำถาม.......มีความเป็นห่วงว่า วรรณคดีไทย จะค่อยๆหมดไป เพราะสภาพเศรษฐกิจและสังคม ท่านเห็นเป็นอย่างไร?

    ท่านตอบว่า....

    เรื่องนี้ เป็นเรื่องของกาลสมัย และเป็นเรื่องของคนไทยที่ไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือด้วย รัฐบาล ต้องพยายามสร้างสรรค์ให้คนอ่านหนังสือให้มากขึ้น

    ท่านบอกว่า นี่คือจุดบกพร่อง ของการเมืองไทยมากที่สุด ต้องแก้ให้คนอ่านหนังสือเป็น และต้องหาหนังสือให้เขาอ่านด้วย

    ส่วนเรื่องวรรณคดี ท่านก็บอกว่า ไม่ได้จำกัดแค่ วรรณคดีไทย แต่เป็นวรรณคดีโลก ถ้าเรารู้วรรณคดีโลก เราจะมีความคิดเห็นกว้างไกลขึ้นค่ะ คือต้องมีการแปลวรรณคดีโลกออกมา แล้วต่อไป วรรณคดีใหม่ๆของไทยก็จะเกิดขึ้นมาอีกเอง

    สวัสดีค่ะครูหล้า

    P

    ขอบคุณที่มาให้กำลังใจ

    ในบันทึกนี้ นอกจากจะเล่าถึง การไปเยี่ยมบ้านท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯ  พร้อมเล่าให้ฟังถึงประวัติ ผลงานของท่านแล้ว ยังได้แตกยอด คุยกันเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกันด้วยค่ะ

    ในบันทึกนี้ พูดถึง โขน ไว้มาก แต่ยังไม่ได้กล่าวถึงหนังใหญ่   ซึ่งเป็นนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทย มีกำเนิดมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 และเป็นต้นแบบของโขน ในการต่อมา  จึงนำเสนอข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมาตาม Link ข้างต้นนี้ค่ะ

    เนื้อเรื่องแสดงเค้าโครงเรื่องเดิมมาจาก เรื่องรามายนะของอินเดีย ไทยเราเรียกว่า รามเกียรติ์ 

    หนังใหญ่ปัจจุบัน มีเล่นที่วัดขนอน จังหวัดราชบุรีค่ะ และมีพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอนที่นั่นด้วย

    ยังมีเล่นทุกวันเสาร์ เวลา 10-11 น. สนใจโทร ไปขอรายละเอียดได้ที่

    032 233386 ค่ะ

    ขอบคุณอาจารย์ค่ะ ที่นำข่าวมาบอก เพิ่งทราบจากอาจารย์ค่ะ

    P

     อาจารย์ บอกมาว่า.....มาอีกรอบค่ะ เช้านี้อ่านหนังสือพิมพ์มติชนพบเรื่องสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงให้มีการฟื้นฟูโขน เลยคิดถึงคุณพี่ค่ะว่ามีวิสัยทัศน์สมเป็นข้าพระบาทฯ

    'พระราชินี' ทรงตระหนักวัฒนธรรมไทยเป็นของล้ำค่า โปรดให้ฟื้นฟูโขน โดยทรงเป็นองค์แบบอย่าง มีพระราชเสาวนีย์ 'เมื่อไม่มีคนดูโขน ฉันจะดูเอง'

    เป็นข่าวดีมากค่ะ คราวนี้ โขน คงจะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งนะคะ

    สำหรับการแสดงดังกล่าว นำแสดงโดยศิลปินชั้นนำจากกรมศิลปากร ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ทอดพระเนตรการแสดงรอบปฐมทัศน์

    ในวันที่ 25 ธันวาคมนี้ และรอบประชาชนทั่วไป ในวันที่ 27 - 28 ธันวาคม 2550 ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
     
     

    สวัสดีค่ะคุณบุญทิวา

    ขอบคุณที่มาเยี่ยม

    ชื่นชมที่ ชอบวัฒนธรรมไทยๆค่ะ

    ที่จริง ศิลปะของไทย ก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก ศาสนาเป็นส่วนใหญ่ค่ะ ไม่ว่า จะเป็นด้านวิจิตรศิลป์ ปฎิมากรรม ภาพเขียน ภาพปั้น แกะสลัก ล้วนได้แรงบันดาลใจมาจากศาสนาทั้งสิ้น

    เราจึงเห็นพระเป็นผู้สร้าง หรือผู้รักษาศิลปะของเรามากมาย

    แต่ตอนนี้ มีพระน้อยองค์ที่จะมาสนใจรักษาศิลปะ จึงทำให้วัดบางวัดดูทรุดโทรมลงไป อย่างน่าเสียดายนะคะ

    P


    ขอบคุณอาจารย์ที่มาสะกิด เรื่องเงินรูปีที่ลำปาง เพราะพี่ก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่ได้ไปค้นหามาให้ค่ะ

    งานนี้ มีความรู้สึกว่า ดีใจที่ได้ทราบเรื่องตรงนี้ไปด้วย

    สมัยก่อนเมื่อพีอายุประมาณ 3 ขวบ ยังมีภาพติดตา ยืนมองช้างอาบน้ำ ที่ระเบียงบ้านค่ะ

     ( จำได้จริงๆค่ะ ไม่ได้โม้ ) เพราะคุณพ่อพี่ สมัยหนึ่ง ทำงานที่กระทรวงอุตสาหกรรม และย้ายไปเป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลที่ลำปางอยู่ในระยะสั้นๆ แล้วก็กลับมา อยู่ประมาณ 2 ปี ยังไปซื้อที่ๆลำปางอยู่บ้างค่ะ

    นอกจากช้าง ก็จำอะไรไม่ได้ แสดงว่าเด็กๆ จะชอบดูสัตว์ และจำได้จริงๆ

    นำรูปวัดท่ามะโอมาฝากค่ะ  มีweb site ทันสมัย และสถานที่กว้างขวาง สะอาด น่าไปปฎิบัติธรรมนะคะ

    เห็นมีการรับบริจาคร่วมสร้างหนังสือด้วย ผู้บริจาคจะได้รับอานิสงส์มากนะคะ

    หลังๆเคยไปเที่ยวที่ลำปางอีก2.-3 หน แต่ไม่ได้ค้าง ตรงไปเชียงใหม่เลยค่ะ

    มีเพื่อนชวนไปวัดขนอน ไปดูหนังใหญ่ และบอกว่า โขนก็มาจากหนังใหญ่นี่ละ ยังหาเวลาว่างไม่ได้ กำลังเรียนทางด้านจิตรกรรมอยู่ ถ้ายังไง ผมอาจขอ อีเมลล์ มาปรึกษาคุณศศินันท์ บ้าง เรื่องข้อมูลนะครับ

    มีคนแนะนำให้เข้ามาอ่านบันทึกของคุณครับ 

    สวัสดีค่ะ

    ไม่ได้ทักทายกันนาน แต่ก็ยังแวะมาอ่านสาระในบล็อกนี้อยู่บ่อยๆ ขอบคุณนะคะ สำหรับเนื้อหาที่มีมากกว่าที่เคยรู้ ไม่ค่อยได้ศึกษาหรือมีความรู้ด้านนี้ซักเท่าไหร่ แต่มาหาอ่านที่นี่แล้ว ได้เกินกว่าที่ต้องการจริงๆ ค่ะ แถมมีปภาพสวยประกอบอีกด้วย ได้อ่านแล้วตระหนักถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยขึ้นมาเลยค่ะ

    เรย์

    สวัสดีค่ะ

              ดิฉันเป็นผู้ปกครองเด็ก ดูเรื่องวิชาประวัติศาสตร์ของลูกแล้ว เห็นว่าสอนหนักทาง ประวัติศาสตร์สังคมและการเมือง มีทางด้านวัฒนธรรมไม่เท่าไร เกรงว่าเด็กๆต่อไป จะรู้เรื่องวัฒนธรรมไทยน้อยไปนะคะ

     สวัสดีครับ
             ตามมาอ่าน เป็นคนนิยมไทยเหมือนกันครับ

    ประวัติชีวิตของท่าน ตอนที่ทำงานกับธ.ไทยพาณิชย์ ก็น่าสนใจนะครับ  ตามที่อ่านมา ผมรู้สึกว่า ท่านจะเป็นผู้จัดการธนาคารไทยพาณิย์สาขาลำปางเป็นคนแรกนะครับ ไม่เห็น มีการเอ่ยถึง

    สวัสดีค่ะคุณดนัย

    คุณดนัยบอกว่า....

    มีเพื่อนชวนไปวัดขนอน ไปดูหนังใหญ่ และบอกว่า โขนก็มาจากหนังใหญ่นี่ละ

    จริงๆแล้ว หนังใหญ่มีทุกภาคของประเทศไทย

     เช่น ภาคกลางหนังใหญ่จะมีอยู่ที่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี

    วัดพลับ จังหวัดเพชรบุรี วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี วัดภูมิรินทร์ จังหวัดสมุทรสงคราม ภาคตะวันออก ที่วัดดอน จังหวัดระยอง

    แต่ตัวหนังใหญ่ที่มากที่สุดและสมบูลณ์ที่สุด มีทั้งผู้เชิด ผู้พากย์ มีอยู่ที่วัดขนอน และยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

    หนังใหญ่นั้น ทำจากหนังวัว หรือ หนังควาย นำมาฉลุเป็นรูป ยักษ์ ลิง พระ และนางตาม เรื่องรามเกียรติ์ การเล่นหนังใหญ่ นอกจากจะมีตัวหนังแล้ว ยังมีคนเชิด คนที่นำตัวหนังออกมาเชิดต้องมีจังหวะในการเชิด นอกจากนี้ ยังต้องมีผู้ภากย์ เจรจา ทำหน้าที่พูดแทนตัวหนัง และมีวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดงด้วย

    ลองไปชมดูนะคะ

     

    สวัสดีค่ะP

    66. Raynu

    คุณ Raynu   บอกว่า บันทึกนี้มีเนื้อหา มากกว่าที่เคยรู้ ไม่ค่อยได้ศึกษาหรือมีความรู้ด้านนี้ซักเท่าไหร่ แต่มาหาอ่านที่นี่แล้ว ได้เกินกว่าที่ต้องการจริงๆ ค่ะ แถมมีภาพสวยประกอบอีกด้วย ได้อ่านแล้วตระหนักถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยขึ้นมาเลยค่ะ......

    ขอบคุณในคำชมค่ะ

    จริงๆแล้ว เนื้อหาอาจมีแตกยอด ไปบ้าง แต่ก็ไม่แตกไปจาก ประเด็นสำคัญๆของเรื่องนะคะ

    บางทีท่านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯท่านเอ่ยถึง ละครโนห์หรือ หนังใหญ่ แต่ ดิฉันหรือ ท่านผู้อ่านบางท่าน ก็ไม่ทราบว่า สิ่งที่เอ่ยถึงนั้น คืออะไร จึงได้มีการไปค้นมาตอบหรืออธิบายเพิ่มค่ะ อย่างน้อย ตัวเองก็ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นค่ะ

    ขอบคุณที่มาเยี่ยม อ่าน และฝากรอยไว้ค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณภาณี

    คุณภาณีบอกว่า.... ดิฉันเป็นผู้ปกครองเด็ก ดูเรื่องวิชาประวัติศาสตร์ของลูกแล้ว เห็นว่าสอนหนักทาง ประวัติศาสตร์สังคมและการเมือง มีทางด้านวัฒนธรรมไม่เท่าไร เกรงว่าเด็กๆต่อไป จะรู้เรื่องวัฒนธรรมไทยน้อยไป

    ค่ะดิฉันก็เห็นอย่างนั้น คือ ในวิชาประวัติศาสตร์ เราสอนหนักไปในเรื่องราว ของวีรบุรุษในอดีต ของพระมหากษัตริย์ในอดีต  แต่ในเรื่องวัฒนธรรมที่สอดแทรกในประวัติศาสตร์ เราสอนนักเรียนน้อยไป

    อย่างเช่น นาฎศิลป์ เรื่องโขน เป็นต้น

    ในปัจจุบัน เวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงออกงานต่างๆ เราก็จะเห็นวัฒนธรรมไทยเก่าๆแทรกอยู่ด้วย ซึ่งครูอาจารย์ จะชี้ให้นักเรียนเห็นได้เสมอค่ะ

    %e0%b8%9e%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9a%e0%b8%b21+014-1

     

    พิมพ์ครั้งแรกในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์  ปี 2497

    และปกนี้พิมพ์ครั้งที่  10   เมื่อปี  2517

     

    สวัสดีค่ะคุณพนัส

    P

    ขอลัดตอบก่อนค่ะ ดีใจที่เห็นหนังสือไผ่แดง แสดงว่าอ่านจนเยิน ใส่ปกพลาสติกไว้ซีคะ จะได้เก็บไว้ให้ลูกค่ะ

    จากเรื่องไผ่แดงนี้ ทำให้นึกถึงข้อเขียนของ

    คุณธงทอง จันทรางศุ  มติชนรายวัน  วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10659 ที่กล่าวถึงเรื่อง

    การบัญญัติ ให้พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ

    หนังสือเรื่อง "ไผ่แดง" ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านเขียนเอาไว้เมื่อห้าสิบปีมาแล้ว

    แต่เห็นว่ายังจับใจอยู่เช่นเดียวกัน ข้อความตอนที่ว่านี้ พระประธานในโบสถ์วัดไผ่แดง ท่านสนทนากับสมภารกร่างตัวละครเอกของเรื่องผู้กำลังกลัดกลุ้มกับอันตรายจากการคุกคามของภัยหลายเรื่องที่มีต่อพระพุทธศาสนา หลวงพ่อพระประธานท่านสอนสมภารกร่างว่า

    "สมภารมีศรัทธาหรือเปล่า" หลวงพ่อถาม "มีศรัทธามีความเชื่อหรือเปล่าว่าศาสนาของสมภารเป็นของจริง เป็นของดีและมีอำนาจด้วยความจริง ความดีนั้นพอจะต่อต้านกับลัทธิอื่นที่ไม่จริงเท่า?"

    "ปู้โธ่! หลวงพ่อถามได้!" สมภารกร่างตอบ "ถ้าไม่มีศรัทธา ผมจะมานั่งอยู่ที่นี่ทำไม?"

    "ถ้าอย่างนั้นสมภารจะไปกลัวอะไร" หลวงพ่อพูด "ถ้าของเราดีจริง มีอำนาจจริงของอื่นจะแปลกปลอมเข้ามาเท่าไรก็ทำอะไรไม่ได้ สมภารก็เคยไปไหว้พระแก้วมรกตที่กรุงเทพฯ แล้วมิใช่หรือ นั่นแหละ ถ้าใครเอาหนอนแมลงวันไปใส่ตักท่านสักกำมือหนึ่ง หนอนก็ตายไปเอง แต่ถ้าเอาหนอนไปใส่ชิ้นเนื้อดิบเพียงตัวสองตัวประเดี๋ยวก็เน่า หนอนกินหมด

    ที่เป็นเช่นนี้เพราะพระแก้วมรกตไม่มีธาตุบูดเน่าอยู่ในตัวท่านเลย แต่เนื้อดิบนั้นมีธาตุบูดเน่า หนอนมันจึงเจริญได้ ศาสนาของสมภารก็เป็นของแข็งของบริสุทธิ์อย่างนั้น สมภารอย่าวุ่นวายไปเลย..."

    เอ๊ะ!!!ทำไมมาออกเรื่องนี้ได้ค่ะ

    ถือว่า เรื่องหนังสือ ไผ่แดง พาไปนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณโกศล

    ดิฉันดีใจที่คุณโกศล บอกว่า นิยมไทย หรือ จริงๆคือนิยมความเป็นไทย

    ดิฉันยังติดใจอยู่ ที่เห็นบางวัดเก่าๆ    ธรรมาสน์  พวกลายกนก ลายสลักครุฑ ลายกนกหายไปอยู่เวิ้งฯ เพื่อแลกกับ เครื่องเสียง โทรทัศน์ ตู้เย็น

    ดิฉันเห็นมากับตา น่าเสียดายค่ะ

    สถานที่ๆเราจะไปดุพวกศิลปะเก่าๆก็น้อยลงทุกวันแล้ว พระพุทธรูปมีค่าหลายๆองคื ก็ต้องทำเหล็กดัดล้อม ไม่งั้น ....หาย

    แต่ถ้า ทำใจสบายๆ ก็พยายามนึกว่า ไม่ใช่มีแต่ประเทศเราที่ของโบราณมีค่า โดนขโมย แม้แต่ในต่างประเทศ ก็มีอย่างนี้เหมือนกัน

    สวัสดีค่ะคุณกรวี

    คุณกรวีบอกว่า.....ประวัติชีวิตของท่าน ตอนที่ทำงานกับธ.ไทยพาณิชย์ ก็น่าสนใจนะครับ  ตามที่อ่านมา ผมรู้สึกว่า ท่านจะเป็นผู้จัดการธนาคารไทยพาณิย์สาขาลำปางเป็นคนแรกนะครับ

    ค่ะ ประวัติตอนนั้นของท่านก็น่าสนใจ ไม่ค่อยมีการกล่าวถึงเท่าใด

    ดิฉันได้ไปอ่านประวัติของท่านช่วงนั้นมา จึงขอเล่าคร่าวๆพอเป็นสังเขปค่ะ

    เมื่อปีพ.ศ.2476 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯได้เป็นเลขานุการของนายเจมส์ แบกซเตอร์ ที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง

     ต่อมาพระยาไชยยศสมบัติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ซึ่งเป้นประธานคณะกรรมการ ธนาคารสยามกัมมาจลทุน จำกัด ได้ชักชวนท่านให้ไปทำงานด้วย ท่านจึงได้ลาออกจากราชการ ไปเป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีที่ธนาคารแห่งนี้ ที่กรุงเทพฯ

    และต่อมา ได้รับเลื่อนเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาลำปางแทนชาวอังกฤษ

    และได้ชื่อว่า เป็นคนไทยคนแรก ที่ได้เป็นผู้จัดการธนาคาร และยังมีบทบาทในการให้คนไทยในลำปางหันมาใช้เงินไทย แทนรูปี และท่านทำงานอยู่ที่ลำปางในหน้าที่นี้ ถึง 8 ปีค่ะ

    บันทึกนี้ ให้ภาพท่านคึกฤทธิ์ฯ กว้างๆดีครับ  ท่านมีมุมที่น่ายกย่องหลายมุมมากๆ

    ท่านมีความรู้ด้านการเงิน ด้านเศรษฐศาสตร์ดีมาก ซึ่งจำเป็นสำหรับยุคนั้น  แล้วภาษาท่านก็ดีมากด้วย
    • สวัสดีค่ะ  คุณพี่ศศินันท์ ..

    คิดถึงค่ะ  ไม่ได้คุยกันนานเลย ^_^

     ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  เป็นผู้ที่มีความสามารถหลากหลายจนเป็นที่รู้จักกันดี    แต่ต้อมจะคุ้นกับงานของท่านในด้านวรรณศิลป์  อย่างเรื่องสั้น "มอม" หรือนวนิยาย "สี่แผ่นดิน"  มากกว่าแขนงอื่นน่ะค่ะ

     ขอบคุณค่ะ ที่ทำให้รู้จักท่านมากกว่าเดิม กับบันทึกนี้ 

    สวัสดีค่ะ

    • เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ
    • ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิมมากเลยค่ะ

     

    สวัสดีครับ

    บังเอิญเสริซมาเจอบลอกนี้ครับ ผมเป็นรุ่นน้องคณะอักษร (รหัส 44) ดีใจที่รุ่นพี่ๆ ช่วยกันระดมทุนจัดหาเงินมาซื้อวัสดุคุรุภัณฑ์สำหรับอาคารใหม่ของเรา รุ่นผมยังรวมเงินได้นิดนึงเองครับ อาจจะเพราะว่าเครือข่ายรุ่นยังไม่ดีพอหรือไงก็ไม่ทราบ หรือเพราะเพิ่งจบมาเลยไม่มีสะตุ้งสตังค์กันมากมาย

    อ่านโพรไฟล์พี่แล้ว รู้สึกทึ่งจริงๆ เด็กอักษรนี่ทำได้ทุกอย่างจริงๆ ครับ

    • ตามมาขอบคุณครับผม
    • ดีใจที่พี่ไปเยี่ยมและจะช่วยทำบุญให้เด็กด้อยโอกาสครับผม

    สวัสดีค่ะคุณนพ

    เห็นด้วยค่ะที่คุณนพ บอกว่า.......

      ที่ท่านมีมุมที่น่ายกย่องหลายมุมมากๆ  ท่านมีความรู้ด้านการเงิน ด้านเศรษฐศาสตร์ดีมาก ซึ่งจำเป็นสำหรับยุคนั้น  แล้วภาษาท่านก็ดีมากด้วย

    มีผู้เขียนประวัติท่าน  สำหรับประวัติเด่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ การพัฒนาระบบการธนาคารบางส่วนให้ทันสมัย โดยเฉพาะระบบเคลียร์เช็ค และยังมีประวัติเด่นๆอีกหลายประการที่เกี่ยวกับการเงินค่ะถ้าสนใจ น่าจะมีรายละเอียดอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ในช่วงปีพ.ศ.2485 ประมาณนั้น

    ส่วนในเรื่องการเป็นอาจารย์ 

    ท่านสอนที่คณะบัญชี  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2484-5 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2487 และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2491-2ค่ะ

    และธุรกิจส่วนตัว ก่อนมาเล่นการเมือง ก็เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการเงินการธนาคารเช่นเดียวกันค่ะ โดยมีส่วนร่วมในการก่อตั้งธนาคาร 2 แห่งด้วยกัน คือ ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ และธนาคารแหลมทอง

    ในเรื่องภาษา ท่านเก่งมาก ท่านเขียนบทความภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ที่หนังสือพิมพ์Liberty ด้วยค่ะ

     

     

    สวัสดีค่ะคุณต้อม

    P

    หายไปพักใหญ่เลย คิดถึงจังค่ะ

    คุณต้อมพูดถึงเรื่อง มอม....เรื่องนี้น่าอ่านมากๆนะคะ  คล้ายกับสุนัขของพี่เลย แต่ชื่อเจ้าหมี..

     มอมตัวเอกของเรื่อง
    เป็นสุนัขของครอบครัวหนึ่งในตอนต้นของชีวิต แต่ภัยจากสงครามทำให้มอมตกมาอยู่กับอีกครอบครัวหนึ่ง
    และในที่สุดเหตุการณ์ก็ผันกลับให้มาพบนาย เจ้าของเดิมของตน

    แนวคิดสำคัญ 
    ความรักและความผูกพันระหว่างมนุษย์และสัตว์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เช่น ความผูกพันระหว่างมอม
    กับนายของมันเมื่อจะต้องพลัดพรากจากกันก็โศกเศร้าและเสียใจ ดังนี้
    "
    มอม ไอ้มอม" เสียงนายกระซิบที่หู "ข้าจะต้องจากไปนาน จะได้กลับมาเมื่อไรก็ยังไม่รู้ เอ็งอยู่ทาง
    หลังช่วยเฝ้าบ้าน ช่วยดูนายผู้หญิง ช่วยดูหนู เอ็งรักข้ามากข้ารู้ เอ็งต้องทำตามที่ข้าสั่งแล้วคอยข้าอยู่ที่นี่


    ไม่ตายข้าจะกลับ" มอมเอาหน้าไปแนบที่หน้านาย ตามใบหน้าของนายนั้นอาบไปด้วยน้ำตาเป็นครั้งแรกที่มันได้เห็น
    มอมส่งนายเพียงประตูบ้านแล้วมันก็เดินกลับเรือน หางตกหัวตก มันเดินช้าๆ ไปที่หัวกระไดที่มันเคยนอน
    ล้มตัวลงเหยียดยาวตาจับอยู่ที่ประตูบ้าน มอมครางออกมาเบาๆ เหมือนกับจะอุทานความในใจของมันให้คนรู้ว่า
    ชีวิตของมอมสิ้นสุดลงตั้งแต่วาระที่นายออกไป และจะเป็นเช่นนั้นจนกว่านายจะกลับมาอีก แสดงให้เห็นความรัก
    และความผูกพันระหว่างนายกับมอม "ชีวิตของมอมนั้นสิ้นสุดลงนับตั้งแต่วาระที่นายออกจากบ้านไป
    จะเป็นเช่นนั้นจนกว่านายจะกลับมาอีก" แสดงให้เห็นความผูกพันกันอย่างลึกซึ้งคือเหมือนชีวิตจะสิ้นสุดลง

    หลังจากการจากกันครั้งนั้น

     

    นายผู้หญิงและหนูได้เสียชีวิตไปเพราะการทิ้งระเบิดและบ้านที่มอมเคยอยู่ถูกไฟไหม้นายทรุดตัวลงนั่งลูบหัวมอมแล้วกระซิบที่หูมันว่า

    "มอม ข้าไม่นึกเลยว่าข้าจะได้พบเอ็ง ข้านึกว่าข้าไม่เหลืออะไร
    แล้วในโลกนี้" นายหยุดพูดไปครู่หนึ่ง "เขาส่งข้าไปไกลข้าไม่รู่ข่าวจากใครเลย พอกลับมาบ้านจึงรู้ว่า ลูกเมียถูกระเบิดตาย


    งานการที่ข้าเคยทำคนอื่นเขาก็เอาตำแหน่งไปหมดแล้ว แต่เอ็งอย่านึกว่าข้าลักขโมย ครั้งนี้เป็นครั้งแรกและที่ข้าทำไปเพราะ
    ข้าไม่มีหนทางจริงๆ แต่โชคดีที่ข้าพบเอ็ง เอ็งทำให้ข้าอาย ข้าทำไม่ลงจริงๆ"

     

    จุดเด่นที่สุด   อยู่ที่การใช้ภาษา
    การใช้ภาษาในเรื่อมอมนั้นเป็นการใช้าภาษาที่สามารถบรรยายให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน และสามารถทำให้ผู้อ่าน
    เกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับเนื้อเรื่องในตอนนั้นๆ เช่น การเคลื่อนไหวที่แสดงความทุกข์ทนทั้งทางกายและทางใจใน
    ตัวละครเช่นมอม มันเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความเดือดร้อน หายนะของผลพวงแห่งสงคราม

    อ่านเรื่องนี้แล้ว เสียน้ำตาไปหลายค่ะ เพราะพี่เป็นคนรักหมามากๆด้วย

     

    สวัสดีค่ะคุณกาญจนาภรณ์

    P

    ดีใจจังที่เข้ามาเยี่ยมเป็นครั้งแรกนะคะ

    เป็นชาวลำปางด้วย ที่ท่านคึกฤทธิ์ฯเคยไปทำงานที่นั่นตั้ง หลายปีค่ะ

    วันหลังคงต้องขึ้นไปเที่ยวชมทุ่งบัวตองบ้างแล้วค่ะ%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%87

    ขอต่อเรื่องหนังสือพิมพ์ Liberty  ที่ตอบคุณนพ -77อีกหน่อยค่ะ

    หนังสือพิมพ์นี้  มีบรรณาธิการชื่อ นายสอ เศรษฐบุตร ซึ่งต่อมา ร่วมกับท่านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯ ก่อตั้งพรรคก้าวหน้าขึ้นมาค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณขจิต

    P

    ดีใจที่มาเยี่ยมนะคะ

    แล้วจะติดต่อ นักเรียนพักนอนชาวเขาโรงเรียนบ้านเมืองแปง ไปค่ะ

    "มอม ข้าไม่นึกเลยว่าข้าจะได้พบเอ็ง ข้านึกว่าข้าไม่เหลืออะไร
    แล้วในโลกนี้"

    งานการที่ข้าเคยทำคนอื่นเขาก็เอาตำแหน่งไปหมดแล้ว แต่เอ็งอย่านึกว่าข้าลักขโมย ครั้งนี้เป็นครั้งแรกและที่ข้าทำไปเพราะ
    ข้าไม่มีหนทางจริงๆ แต่โชคดีที่ข้าพบเอ็ง เอ็งทำให้ข้าอาย ข้าทำไม่ลงจริงๆ"

    ก่อนจะคิดถึงมอม..เป็นเรื่องที่สองเวลาคิดถึงท่านคึกฤทธิ์

    ดิฉันมักคิดถึง"สี่แผ่นดิน"  โดยเฉพาะตอนที่

    คุณเปรมถามแม่พลอยว่า " แม่พลอย  แม่พลอยเคยไปไหว้พระบาทแล้วหรือยัง"

    คิดถึงท่านคึกฤทธิเรื่องงานเขียน  แล้วก็อดคิดถึงด้านการเป็นนักหนังสือพิมพ์  นักการเมือง  จนนายกรัฐมนตรี

    แล้วก็อดคิดถึงการที่ท่าน  หัน-ขอโทษ-เท้าให้สื่อมวลชน

    แต่ทำไมดูไม่ผิดไม่ร้ายแรงยังไงไม่ทราบ

    ใคร ๆ กลับต้องไปตีความเอาเองว่า  ทำไมท่านทำอย่างนั้น  (ฮา)

    แถมอีกนิดค่ะ  คำพูดท่านที่ว่า " อันตัวเราเปรียบได้ดั่งภูเขาทอง  หมาจ้องฉี่รดบ้างก็ย่อมได้ "   เก๋   ค่ะ

    ขอบคุณที่นำเรื่องนี้มาเล่าสู่  ค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณหมอจริยาคะ

    P

    ดีใจมากที่คุณหมอมาเยี่ยมค่ะ%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%a7

    มีดอกไม้มาต้อนรับเลยค่ะ

    เรื่องความสามารถในด้านการประพันธ์และวรรณศิลป์นี่ ท่านเด่นมากๆค่ะ  หนังสือของท่านอ่านได้ทุกยุคทุกสมัย ไม่มีตกรุ่นค่ะ

    ส่วนที่ท่านอาจจะแสดงกิริยาที่แปลกๆไปบ้าง อย่างเช่นที่เล่ามา ดิฉันก็จำได้นะคะ คนทั่วไป ก็ไม่คิดอะไรกันมากนัก อาจจะคิดกันว่า ท่านก็เป็นปุถุชนคนหนึ่ง และถูกหนังสือพิมพ์ ถูกนักเขียนการ์ตูน ล้อเลียนอยู่เรื่อยๆ มักเขียนเป็นรูปทศกัณฑ์  แรกๆท่านไม่ว่าอะไร บ่อยๆเข้าก็คงมีอารมณ์บ้างค่ะ

    ท่านเคยให้สัมภาษณ์ว่า.....

    ใครจะเขียนการ์ตูนผมเป็นหมูเป็นหมายังไง ผมไม่เคยถือ ทำไม จะต้องเขียนเป็นทศกัณฑ์ ผมก็ไม่เข้าใจ ดูมันใหญ๋โตดีน่ะ......

    ทีนี้ พอหนังสือพิมพ์ไปล้อเลียนท่านบ่อยๆ ก็คงเบรกแตกบ้างค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณอักษร 69 ผู้ผ่านมา

    เป็นรุ่นน้องไม่เห็นฝุ่นนะคะ ดีใจมากๆๆๆที่ผ่านมาและมาอ่าน เป็นกำลังใจจริงๆค่ะ

    บังเอิญเสริซมาเจอบลอกนี้ครับ ผมเป็นรุ่นน้องคณะอักษร (รหัส 44) ดีใจที่รุ่นพี่ๆ ช่วยกันระดมทุนจัดหาเงินมาซื้อวัสดุคุรุภัณฑ์สำหรับอาคารใหม่ของเรา

     ที่เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ ก็เพื่อประโยชน์หลายอย่าง เป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้  และความคิดเห็นให้กว้างขวางยิ่งๆขึ้นค่ะ ไม่ยอมตกยุคค่ะ

    บล็อกเป็นกระแสที่มาแรงเกี่ยวกับผู้บริโภคในยุคปัจจุบันคือ ยุคเนื้อหา Content   และตอนนี้ ก็มีความรู้สึกว่า มีความรู้มากขึ้น  ฉลาดขึ้นค่ะ 

    แล้วอย่าลืมเข้ามาคุยกันอีกนะคะ

    • สวัสดีค่ะ  พี่ศศินันท์
    • เห็นแล้วต้องบอกอีกคนว่า
    • ที่สุดแห่งความเป็นไทยจริง ๆ ค่ะ
    • แถวบ้านจะมีสระน้ำชื่อว่า   สระคึกฤทธิ์  ด้วยนะคะมีเกือบทุกชุมชน
    • ท่านคงได้ไปพัฒนาตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี
    • ขอบคุณค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ..RAK-NA

    P

    89. RAK-NA

    ค่ะ ท่านเคยมีนโยบายผันเงินมาก่อน ตอนที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี

    หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ประมาณปี 2518 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคมเป็นนายกรัฐมนตรี และนายบุญชู โรจนเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ทุ่มเงินงบประมาณแผ่นดินลงไปในชนบทระดับหมู่บ้าน ตำบลทั่วทั้งประเทศ เพื่อใช้จ้างชาวบ้านให้มาลงแรงในการสร้างสาธารณประโยชน์ เช่น สร้างถนน ขุดลอกคูคลอง ทำสะพาน ฯลฯ

    นโยบายนี้เรียกว่า นโยบายเงินผันของรัฐบาล "คึกฤทธิ์"

    และไปๆ มาๆ เงินก้อนนี้ก็กลายเป็น "เงินผันคึกฤทธิ์"

    โดยให้เหตุผลว่า..... เงินงบประมาณเก็บมาจากภาษีของประชาชนก็ควรจะส่งคืนกลับไปให้ประชาชน, ประชาชนมีฐานะยากจน ไม่มีงานทำ ก็เอาเงินผันนี่แหละไปจ้างชาวบ้านให้ทำงานเพื่อให้มีรายได้ ฯลฯ

  • แถวบ้านจะมีสระน้ำชื่อว่า   สระคึกฤทธิ์  ด้วยนะคะมีเกือบทุกชุมชน ก็คงเป็นเพราะเหตุนี้ค่ะ
  • ท่านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯเป็นผู้มีปัญญาสูง ดิฉันว่าที่ท่านมาถึงตำแหน่งนายกฯได้ ก้เพราะปัญญาของท่านนะคะ

    สวัสดีครับคุณพี่ศศินันท์

    • มาเก็บความรู้ พร้อมภาพสวยๆที่เปี่ยมค่าไปเก็บไว้ฝากเด็กๆครับ
    • ขอบพระคุณมากสำหรับข้อมูลความรู้ที่หลากหลายและครอบคลุม  ทั้งที่ได้จากบันทึกหลัก บันทึกเพิ่มเติมของคุณพี่  รวมทั้งที่ได้จากการคอมเมนต์ของพี่น้องชาว G2K
    • ถือได้ว่า Good living  เป็นชุมทางของความรู้ ที่เพิ่มเสน่ห์ให้กับ G2K อีกหนึ่งชุมทางครับ
    • สวัสดีครับ

    สวัสดีครับ

    เพือนแนะนำมาให้อ่านบล็อกนี้ บอกว่า เรื่องเยอะดี

    ผมเคยอ่านมาว่า ท่าน พยายามอย่างมากที่จะเน้นว่า ศาสนาพุทธของเราคือสาวนหนึ่งของอารยะรรมของเราครับและก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องอย่างยิ่ง และท่านก็แอนตี้คอมมิวนิสต์อย่างมาก

    ดีครับได้อ่านเรื่องคนสำคัญที่มีคุณูปการแก่ชาติมากๆ ทำให้เกิดอารมณ์รักชาติอีกมากๆครับ

    สวัสดีครับ

    บันทึกนี้สะท้อนอัจฉริยภาพของท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ทำให้ผมรู้จักท่านมากขึ้น

    วัฒนธรรมไทย ส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวและสังคมสิ่งแวดล้อม  มากกว่าจะได้รับจากโรงเรียนเสียอีก

    ประเด็นนี้ เหมือนเป็นการนำพาให้เรารู้จักต้นตอของวัฒนธรรมไทยว่าอยู่ที่ไหน และต้องให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวและสังคมสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถ้าเรียกว่า รากเหง้าทางวัฒนธรรม คงจะได้นะครับ

    • สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์
    • เมื่อก่อนเคยเดินเท้าขึ้นไปพักที่บ้านพักมิชชันนารีดอยขุนตาน
    • ระหว่างทาง ถ้าจำไม่ผิด มีบ้านพักของท่านคึกฤทธิ์อยู่ด้วยนะคะ  ประมาณ ย.2 หรือ ย.3 นี่แหละค่ะ 
    • เส้นทางเดินขึ้นขุนตานจะเรียกเป็น ย. น่าจะมาจากยอดดอย  ที่ ย.1 จะเป็นบ้านพักของการรถไฟ  บ้านพักของมิชชันนารีจะอยู่ที่ ย.4 ค่ะ
    • เคยขึ้นไปนานมาแล้ว  ตอนนี้ไม่ทราบว่าจะเปลี่ยนไปหรือยังนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณนารี

    คุณนารี บอกว่า.....

    ท่านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯเป็นผู้มีปัญญาสูง ดิฉันว่าที่ท่านมาถึงตำแหน่งนายกฯได้ ก็เพราะปัญญาของท่านนะคะ

    ดิฉันก็คิดเหมือนคุณค่ะ

    ท่านเป็นผู้มีความรู้ และเลือกการใช้ความรู้ ให้เป็นผู้นำทางปัญญค่ะ ท่านสามารถให้คำอธิบายแก่คนไทยในยุคนั้น ให้เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรมได้

     และยังสร้างหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน รายสัปดาห์ และนิตยสารชาวกรุงขึ้นมาพร้อมกับทำการสอนในมหาวิทยาลัยชั้นนำ เพื่อเผยแพร่ความคิดของตัวเองออกสู่สังคมด้วยค่ะ

    สวัสดีค่ะครูวุฒิ

    P

    และขอบคุณในข้อความที่ให้กำลังใจเป็นอย่างมากค่ะ

    ที่เขียนบันทึกนี้ เพราะไปเยี่ยมบ้านท่านมา และทั้งเห็น ได้ฟัง ได้อ่าน สิ่งดีๆที่ท่านทำไว้ให้แก่บ้านเมืองอย่างมากมาย จึงนำมาเล่าให้พวกเราฟังกัน เกรงว่า เมื่อเวลาผ่านไป บางที เราอาจจะเลือนๆ นึกไม่ค่อยออกว่า ท่านเคยมีคุณูปการอันสำคัญๆสิ่งใดให้ไว้แก่แผ่นดินบ้างค่ะ

    ท่านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯ เป็นผู้ที่เข้าใจ อำนาจทางปัญญา หรือCharismatic Power ได้เป็นอย่างดี ซึ่งอำนาจนี้ ได้จากการเคารพนับถือศรัทธาของประชาชน เป็นอำนาจที่จะสามารถกำหนด หรือตัดสิน ได้ว่าสิ่งใดผิดหรือถุก ชั่ว ดีได้

    ท่านสรุปว่า ใครอยากให้คนไทยเคารพเชื่อฟัง ต้องแสดงความสามารถให้ปรากฏ คนก็จะเคารพเลื่อมใสได้ นานเท่านานค่ะ 

     สวัสดีค่ะคุณธารี

    ขอบคุณที่เล่าว่า....

    ท่าน พยายามอย่างมากที่จะเน้นว่า ศาสนาพุทธของเราคือสาวนหนึ่งของอารยะรรมของเราครับ

    ค่ะ ดิฉันว่า  ท่านเน้นแน่นอนว่า  ศาสนาพุทธเป็นหัวใจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของความเป็นไทยค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณกบ

    P

    ดีใจที่มาเยี่ยมค่ะ คุรกบเห็นด้วยที่พี่บอกว่า....

    เราต้องให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวและสังคมสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถ้าเรียกว่า รากเหง้าทางวัฒนธรรม คงจะได้นะครับ เพราะ  วัฒนธรรมไทย ส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวและสังคมสิ่งแวดล้อม

    นานมาแล้วที่เรารับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก การครองชีพที่ทันสมัย ทำให้ความเป็นอยู่ของเราเป็นตะวันตกเข้าทุกที

    และสภาพเศรษฐกิจที่ต้องการความรวดเร็ว ทำให้เราไม่มีเวลามาพิจารณาด้านวัฒนธรรมอะไรกันนัก เวลาที่ครอบครัวจะใกล้ชิด ใช้เวาลา อยู่ด้วยกันนานๆ ก็น้อยลง ไม่มีเวลามาถ่ายทอด สิ่งดีๆ เช่น ประเพณี ศิลปะ  ที่มีมาเก่าแก่ให้แก่เด็กๆสักเท่าไรค่ะ
     

     สวัสดีค่ะ

    P

    95. dd_

    พี่เคยไปดอยนี้ ตอนที่เด็กมากๆ  เมื่อคุณพ่อไปรับราชการอยู่ที่ลำปาง และไม่เคยไปอีกเลย จำไม่ได้แล้วค่ะ

    แต่ที่ท่านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯ ไปพักอยู่ที่นี่ ก็น่าจากที่ท่านเคยทำงานธนาคารไทยพาณิชย์ฯที่ลำปางมาหลายปีค่ะ

    อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล

     มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอห้างฉัตร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นทีเป็นป่า อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธ์ไม้นานาชนิด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นบรรยากาศ ที่เงียบสงบ และอุโมงค์ขุนตาลซึ่งเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทยสร้าง โดยชาวเยอรมัน อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีเนื้อที่ประมาณ 255.29 ตารางกิโลเมตร หรือ 159,556.25 ไร่

     ว่ากันว่าในช่วงเวลาของหนุ่มสาว หากใครที่ยังไม่เคยแบกเป้เข้าป่า ขึ้นไปเที่ยวดอยขุนตานแล้วละก็ยังนับว่าไม่อาจผ่านวันเวลาแห่งการเป็นวัยรุ่นนั้นมาได้


    กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ทำพิธีเปิด อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2519 โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร. เฉลิง ธำรงนาวา-สวัสดิ์) เป็นประธานในพิธีเปิด
    จุดเด่นที่น่าสนใจ

    อุโมงค์ขุนตาล เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศ ไทยคือ ยาว 1,352 ฟุต มีสวนไม้ดอกตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ศาลเจ้าพ่อขุนตาล และอนุสาวรีย์ ซึ่งสร้างเป็นอนุสรณ์แก่ชาวเยอรมันผู้ดำเนินการควบคุมการสร้าง

    บริเวณจุดยุทธศาสตร์ 1 (ย.1) สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 900 เมตร ในอดีตที่แห่งนี้เคยเป็นที่ประทับพักแรมของกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งเสด็จมาเป็นแม่งานคุมงานก่อสร้างอุโมงค์รถไฟขุนตาน ปัจจุบันบริเวณ ย.1 เป็นกลุ่มบ้านพักของการรถไฟแห่งประเทศไทยไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว บริเวณนี้เราจะเห็นกลุ่มต้นสนแทรกตัวปะปนกับพันธุ์ไม้อื่นทั่วไปที่ระดับความสูง 850 - 1,000 เมตร ซึ่งเป็นระดับความสูงปานกลางของดอยขุนตานที่เชื่อมต่อเนื่องระหว่างป่าผลัดใบกับป่าดิบสน

              จากย.1ขึ้นไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตรถึงบริเวณ ย.2 ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณนี้เป็นที่พักของบริษัทตัดไม้

     หลังสงครามสงบ

    หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีได้ซื้อพื้นที่ดังกล่าวแล้วสร้างบ้านพักส่วนตัวและทำไร่ลิ้นจี่ ไร่ดอกไม้จีนและสวนดอกไม้

     ปัจจุบันบริเวณย.2 ยังมีสถานที่บรรจุอัฐิของหม่อมราชวงศ์คึกฤกธิ์ ปราโมช ตรงข้ามบ้านพัก บนย.2 มีเนินเขาปกคลุมด้วยต้นสนสองใบ เรียกว่า "ลานสน" เหมาะสำหรับเป็นที่กางเต็นท์พักแรม

    วัฒนธรรมไทย บางอย่างก็ล้าสมัย ไม่น่าอนุรักษ์ไว้สักเท่าใด

    คงต้องเลือกกระมังคะ

    ผมเคยไปที่บ้านท่าน ไปดูพิธีไหว้ครูโขนธรรมศาสตร์ บ้านท่านมีความเป็นไทยมาก แต่ก็แฝงความเป็นสากลด้วย ยังจำได้ที่ท่านใส่เสื้อคอกลมทำจากผ้าป่าน ดูสบายๆและเท่ๆด้วย

    พอได้อยู่ใกล้ๆ แล้วท่านเป็นพหูสูตรตัวจริงเลยครับ

    อักษร 69 (ตั้งใจผ่านมาอีกสักคราว)

    สวัสดีครับ

    ผมชื่นชมที่ทายาทของคุณชายคึกฤทธิ์เปิดบ้านเป็นพิพิธภัณฑ์ เพราะนอกจากจะเป็นสถานที่ๆ สวยงามแล้วทั้งสถาปัตยกรรมและศิลปวัตถุของท่านเจ้าของบ้าน ส่วนตัวนั้นชอบดูของเก่าหายากอยู่แล้ว

    โขนและบัลเล่ต์เดี๋ยวนี้ กลายเป็นศิลปของคนเฉพาะกลุ่มไปแล้วเนอะครับ ยิ่งคนรุ่นใหม่นี่แทบจะหาคนสนใจได้น้อยมาก มีแต่จะไปนิยมวัฒนธรรมป๊อปของตะวันตกเสียส่วนใหญ่ (ผมก้ชอบนะครับ)

    มีคนบอกว่าโขนและบัลเล่ต์น่าเบื่อ ดูไม่รู้เรื่อง ผมคิดว่าเขาคงไม่เข้าใจว่าการชมโขนกับบัลเลต์เท่าที่ควร ตอนแรกผมก็รู้สึกแบบนี้ แต่พอครูบาอาจารย์ท่านแนะว่าการชมการแสดงประเภทนี้ เขาชมเพียงความงามของท่วงท่าการร่ายรำของตัวละคร ส่วนเรื่องราวนั้น ต้องไปอ่านมาเองจึงจะเข้าใจ เมื่ออ่านจนรู้เรื่องราวแล้ว มาดูก็จะซาบซึ้งไปเอง ตอนนี้ก็รู้สึกเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์เหล่านี้ขึ้นมามากกว่าเก่า ถ้ามีโอกาสก็จะไปดู8iy[ (แต่โอกาสก้น้อยมากครับ)

    ปล. ตอนนี้ set บลอกนี้ไว้เป็น Favorite แล้วครับ จะเข้ามาชมเรื่อยๆ ที่งานว่างนะครับ

    จบรุ่นหลังหลายปีมากค่ะ แต่มีเพื่อนแนะนำให้เข้ามาอ่านที่บล็อกนี้ค่ะ

    ชอบมากค่ะ อ่านทุกเรื่องแล้ว จะป็นแฟนประจำค่ะ

    สว้สดีค่ะคุณดาวP

    คุณดาวบอกว่า.......วัฒนธรรมไทย บางอย่างก็ล้าสมัย ไม่น่าอนุรักษ์ไว้สักเท่าใด

    คงต้องเลือกกระมังคะ

    ค่ะ

    ดิฉันก็เห็นด้วยค่ะ วัฒนธรรมบางอย่างของเรา อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตหรือการพัฒนาปัจจุบัน

    เช่นการแต่งกายนุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อราชปะแตน หรือ บ้านไทยเดิมในบางแง่มุม เช่นในหน้าฝน ออกจากห้องนอนมา ห้องต่างๆอาจต้องกางร่ม เพราะบ้านไทยเดิม แยกเป้นส่วนๆ ไม่ได้เป็นห้องชุดอย่างปัจจุบัน

    จึงต้องมีการดัดแปลงให้เข้ากับสภาพชีวิตปัจจุบันค่ะ

    แต่ในด้านวรรณคดีและสิลปะต่างๆ ถ้าเรามีการสอนที่ทำให้เด็ก รู้สึกซาบซึ้งและเห็นว่ามีคุณค่า ก็พอมีทางที่จะสืบทอดวัฒนธรรมในด้านนี้ได้ค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณปีใหม่

    คุณปีใหม่เล่าว่า....  ผมเคยไปที่บ้านท่าน ไปดูพิธีไหว้ครูโขนธรรมศาสตร์

    เท่าที่ทราบในวันที่ไปบ้านท่าน คนที่พาชม  เล่าว่า ท่านใช้บ้านท่านเป็นที่ไหว้ครูโขนธรรมศาสตร์ด้วย

    บ้านที่ท่านอยู่เป็นบ้านทรงไทย ใต้ถุนสูง แต่ท่านก็ติดแอร์ที่ห้องนอนกับห้องบางห้อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    ที่ใต้ถุนสูงๆนั้น ท่านกั้นห้องเล็กๆ ดัดแปลงส่วนหนึ่งของใต้ถุน ให้เป็นห้องนั่งเล่นและออฟฟิศ ท่านเอาความสะดวกสบายเข้ามาใช้ ในขณะที่ความเป็นไทย ยังมีอยู่เต็มที่ค่ะ เวลาอยู่บ้าน ท่านใส่เสื้อผ้าป่านสีขาวคอกลม เวลาไปต่างจังหวัดก็ทำตัวกลมกลืนกับประเพณีท้องถิ่น เช่น ใส่เสื้อม่อห้อม กางกางขาก๊วย

    แต่ถ้าไปต่างประเทศ ท่านก็จะเข้าสังคมแบบตะวันตกและแต่งกาย  ให้สมฐานะของผู้นำประเทศ

    สวัสดีค่ะ

    คุณ103. อักษร 69 (ตั้งใจผ่านมาอีกสักคราว)  และได้ให้ความเห็นว่า.....

    มีคนบอกว่าโขนและบัลเล่ต์น่าเบื่อ ดูไม่รู้เรื่อง ผมคิดว่าเขาคงไม่เข้าใจว่าการชมโขนกับบัลเลต์เท่าที่ควร ตอนแรกผมก็รู้สึกแบบนี้ แต่พอครูบาอาจารย์ท่านแนะว่าการชมการแสดงประเภทนี้ เขาชมเพียงความงามของท่วงท่าการร่ายรำของตัวละคร ส่วนเรื่องราวนั้น ต้องไปอ่านมาเองจึงจะเข้าใจ เมื่ออ่านจนรู้เรื่องราวแล้ว มาดูก็จะซาบซึ้งไปเอง ตอนนี้ก็รู้สึกเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์เหล่านี้ขึ้นมามากกว่าเก่า......

    ค่ะ  เห็นด้วยค่ะ

    ทุกประเทศ ทุกกลุ่มชน มีวัฒนธรรมที่งดงาม มีรากเหง้าของตนเอง มนุษย์ทุกกลุ่มมีความเก่าแก่พอๆ กัน ดังนั้นวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นของคนกลุ่มใดก็ล้วนเก่าแก่ทั้งนั้น 

     เราคงได้เคยดูบัลเล่ต์กันมาบ้างแล้ว

    ดิฉันว่า สวยและอลังการดีค่ะ

      ที่เป็นเบอร์หนึ่งของโลกอย่าง SWAN LAKE มาเล่นให้คนไทยดูหลายรอบแล้ว แต่มีผู้รู้ เล่าว่า  บัลเล่ต์จะการเตรียมการยุ่งยาก  เพราะนอกจากนักแสดงและวงออเคสตราแล้ว ยังต้องมีนักร้องนำ นักร้องประสานเสียง เพิ่มเข้ามาอีก  และยังมีเด็กๆ มาเล่นเป็นภูตพรายอีก ค่อนข้างจะเป็นการแสดงระดับวงใหญ่ทีเดียว

    แค่เราได้ชมความงามในท่วงท่าร่ายรำ ทั้งโขน ทั้งบัลเล่ต์ ก็อิ่มใจแล้วค่ะ จะให้ได้อรรถรส ยิ่งขึ้น ต้องอ่านเรื่องราวมาก่อนนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณดาราอักษร

    ดีใจที่มีรุ่นน้อง เข้ามาอ่านค่ะ แล้วต้องมาบ่อยๆนะคะ

    ดิฉัน เขียนบันทึกเรื่องนี้ คนจบอักษรคงจะรู้สึกคุ้นเคยนะคะ

    ผู้นำชมที่บ้านท่าน เล่าถึงชีวิตประจำวันในช่วงหลังๆของท่านว่า ....

    กิจวัตร ของท่านทุกเกือบเช้าคือ ท่านลงบันไดมานั่งที่โต๊ะชุดที่มีเก้าอี้ 6 ตัว มีในรูปแล้วค่ะ

    อ่านหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ พร้อมดื่มกาแฟ น้ำส้ม ตรวจดูคอลัมน์ซอยสวนพลู ว่ามีผิดที่ใดบ้าง แล้วก็ไปเดินชมสวน พอสายๆก็จะมีแขกมาขอพบมากมาย โดยขณะที่คุย ท่านก็จะเขียนคอลัมน์ไปด้วย

    ช่วงบ่าย ท่านก็จะเดินเล่น มีหมา2-3 ตัวมาวิ่งอยู่ด้วย ชมสวน อ่านหนังสือ

    ช่วงเย็น ท่านอาจจะทำกับข้าวเอง ไว้เลี้ยงแขก

    นี่คือตัวอย่าง การดำเนินชีวิตส่วนใหญ่ เรียบๆ ง่ายๆ ที่มัคคุเทศก์เล่าให้ฟังค่ะ

    • ตามมาขอบคุณ
    • ตอนเย็นวันที่ 30 พย.
    • อยากเชิญไปประชุมเรื่อง gotoknow จังเลยครับ
    • ที่กรุงเทพ
    • ได้ที่ไหนแล้วจะแจ้งให้ทราบนะครับ
    • เผื่อพี่สนใจครับผม

    ค่ะ ขอบคุณที่นึกถึง แต่อยากทราบว่า จะพูดกันเรื่องอะไรน่ะค่ะ และมีใครไปบ้าง แล้วส่งข่าวมานะคะ

    สวัสดีค่ะ...

         การพัฒนาชาติของเราตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มุ่งเน้นที่ชุมชน รากหญ้า ซึ่งถือว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดแล้ว  แต่เนื่องจากเป็นแนวพัฒนาที่ข้าราชการต้องนำมาต่อยอดและวิเคราะห์ให้ได้งานตามแผนฯ ในทัศนคติส่วนตัวของนกนะคะ...ความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือเรียกอย่างโก้หรูว่าวัฒนธรรมองค์กรนั้น เรารู้ดีรู้จริงแค่ไหน อย่างนักวิชาการบอกให้ชาวเขาเปลี่ยนการมุงหลังคาด้วยแฝกด้วยใบลานมาเป็นมุงด้วยสังกะสี  ปรากฏว่า ชาวเขาเป็นโรคระบบทางเดินหายใจกันไปซะหมด นั่นเพราะว่า หลังคาที่มุงด้วยแฝกหรือใบลานสามารถระบายควันได้ดีซึ่งจะไม่สามารถทำด้วยด้วยหลังคาสังกะสี  ... 
          พูดจาวิชาการซะใหญ่โตทีเดียว...อิอิต้องขอโทษนะคะพอดีอ่านเรื่องของพี่ก็เลยอินน่ะคะ
          ไม่ทราบว่า km แห่งชาติ 30 นี้พี่ไปหรือเปล่าคะ วาระน่าสนใจทุกเรื่องเลย...แล้วเจอกันนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์ (ขออนุญาตเรียกพี่นะคะ)

    •  เพราะวัฒนธรรมไทย ส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวและสังคมสิ่งแวดล้อม  มากกว่าจะได้รับจากโรงเรียนเสียอีก      หนูเห็นด้วยนะคะกับประโยคนี้  หนูเห็นพี่สาวเค้าให้ลูกไปเรียนดนตรีไทยตั้งแต่เล็กๆ จนเดี๋ยวนี้อยู่ ม.5 แล้วก็ยังเรียนอยู่ค่ะ ซึ่งเด็กก็เต็มใจนะคะ  ซึมซับมาตั้งแต่เด็ก  เข้าประกวดเป็นประจำชนะบ้าง แพ้บ้าง  แต่ก็ดูเค้าภูมิใจค่ะ                                                               

     

     

     

     

     สวัสดีค่ะ เพ็ญศรี(นก)

    P

    ค่ะ เรื่องที่คุณนกกล่าวถึง ก็เกี่ยวข้องด้วยวัฒนธรรมการอยู่อาศัย ค่ะ...คุณนกบอกว่า...


    นักวิชาการบอกให้ชาวเขาเปลี่ยนการมุงหลังคาด้วยแฝกด้วยใบลานมาเป็นมุงด้วยสังกะสี  ปรากฏว่า ชาวเขาเป็นโรคระบบทางเดินหายใจกันไปซะหมด นั่นเพราะว่า หลังคาที่มุงด้วยแฝกหรือใบลานสามารถระบายควันได้ดีซึ่งจะไม่สามารถทำด้วยด้วยหลังคาสังกะสี  ...

     ดิฉันก็เคยอ่านค่ะ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549)มุ่งเน้นที่ชุมชน รากหญ้า

     ดัชนีชี้วัดของ "ความอยู่ดีมีสุข" จะมีตัวชี้วัด 7 ตัวคือ 1. ความรู้ 2.ชีวิตการทำงาน 3.รายได้และความยากจน 4.สภาพแวดล้อม 5.ชีวิตครอบครัว 6.การบริหารจัดการที่ดี 7.สุขภาพอนามัย

    กรณี ที่คุณนก ยกตัวอย่างมา

    ดิฉันรู้สึกว่า เขาจะใช้เป็นดัชนี ชี้วัดด้วยว่า ถ้าเห็น บ้านช่องดูดีขึ้น หลังคามุง สังกะสี กระเบื้อง ก็คงเข้าใจว่า เจ้าของบ้านมีฐานะและคุณภาพชีวิตดีขึ้นค่ะ แต่ไม่ได้ลงลึกไปถึง ว่า ผู้อยู่อาศัย จะมีผลกระทบอะไรตามมาอีกบ้างค่ะ


    ช่วงkm แห่งชาติ 30 นี้ ไม่อยู่ค่ะ ไปพักผ่อนกับครอบครัวค่ะ แต่ก็จะติดตามข่าวค่ะ

     สวัสดีค่ะ

    P

    คุณทะเลดาว บอกว่า.....

     หนูเห็นพี่สาวเค้าให้ลูกไปเรียนดนตรีไทยตั้งแต่เล็กๆ จนเดี๋ยวนี้อยู่ ม.5 แล้วก็ยังเรียนอยู่ค่ะ ซึ่งเด็กก็เต็มใจนะคะ  ซึมซับมาตั้งแต่เด็ก  เข้าประกวดเป็นประจำชนะบ้าง แพ้บ้าง  แต่ก็ดูเค้าภูมิใจค่ะ                                                   

    เพราะวัฒนธรรมไทย ส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวและสังคมสิ่งแวดล้อม  มากกว่าจะได้รับจากโรงเรียนเสียอีก

    เคยอ่านที่ท่านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ฯ เคยเขียนไว้ค่ะ......

    การเรียกเพลงไทย ว่าเพลงไทยเดิมนั้น ไม่ถูกค่ะเพราะการเรียกเพลงไทย ว่าเพลงไทยเดิมนั้น เป็นการเอาเพลงไทยทั้งหมด ไปขึ้นบัญชีไว้ ว่า เป็นของ ล้าสมัย เลิกนิยมไปแล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะเพลงไทย ยังมีผู้นิยมฟังกันเป็นจำนวนมากและยังมีผู้เรียนดนตรีไทย ได้ด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ตลอดจน มีผู้แต่งเพลงไทยใหม่ๆ  ทุกวันดังนั้น การไปเรียกว่า เพลงไทยเดิม ทำให้คนที่ไม่รู้ความจริง คิดว่า เพลงไทยแท้ๆ ตายแล้ว

    เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปสนใจอะไร ถ้าคิดอย่างนี้ เพลงไทยเราอาจจะสูญไปจริงๆ ในที่สุดเราก็จะเหลือแต่เพลงฝรั่งก็ได้

    สรุปว่า ท่านให้เรียกแต่คำว่า เพลงไทย ไม่ใช่เพลงไทยเดิมค่ะ

    สวัสดีค่ะ
              ดิฉันเป็นผู้ปกครองเด็ก ดูเรื่องวิชาประวัติศาสตร์ของลูกแล้ว เห็นว่าสอนหนักทาง ประวัติศาสตร์สังคมและการเมือง มีทางด้านวัฒนธรรมไม่เท่าไร เกรงว่าเด็กๆต่อไป จะรู้เรื่องวัฒนธรรมไทยน้อยไปนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณภาณี

    คุณภาณี เล่าว่า......

    ดูเรื่องวิชาประวัติศาสตร์ของลูกแล้ว เห็นว่าสอนหนักทาง ประวัติศาสตร์สังคมและการเมือง มีทางด้านวัฒนธรรมไม่เท่าไร เกรงว่าเด็กๆต่อไป จะรู้เรื่องวัฒนธรรมไทยน้อยไปนะคะ

    ค่ะ เท่าที่ทราบตอนนี้ ก็เป็นอย่างที่ คุณภาณีเล่าค่ะ

    จริงๆแล้ว ประวัติศาสตร์ทางสังคมและการเมือง ก็จะมี วัฒนธรรมในด้านต่างๆสอดแทรกอยู่แล้วค่ะ แต่ว่า จะเน้นบ้างหรือเปล่าค่ะ ครูต้องคอย ชี้ให้ลูกศิษย์ เห็นสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ ควบคู่ไปด้วยค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    • บันทึกที่บล็อกนี้ อ่านแล้วได้ความรู้มากมายค่ะ 
    • วัฒนธรรมไทย  เราต้องช่วยกันปลูกฝังให้เยาวชนตั้งแต่เด็กๆ   เริ่มตั้งแต่ครอบครัว ตลอดจนที่โรงเรียน  คงจะต้องร่วด้วยช่วยกันค่ะ..... เพราะจริงๆแล้วในหลักสูตรฯ  กลุ่มสาระสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม  ก็กำหนดไว้ให้ค่ะ 
    • ขอบคุณค่ะ

    มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมของเรา ที่น่าสนใจดังนี้ค่ะ

    นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร  กล่าวภายหลังการประชุมแก้ปัญหาภายในโบราณสถานและอุทยานประวัติศาสตร์ทั่วประเทศ เพื่อตรวจสอบการบุกรุกและวิธีการเสนอแนวทางแก้ไข กับผู้อำนวยอุทยานประวัติศาสตร์  ทั้ง  9 แห่งทั่วประเทศ ว่า

    จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายชื่อของโบราณสถานในเขต จ.พระนครศรีอยุธยา  ถูกเสนอเข้าสู่คณะกรรมการองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ให้มีการถอดถอนความเป็นเมืองมรดกโลกตามที่มีกระแสข่าวเกิดขึ้นแต่อย่างใด  และมั่นใจว่า ในอนาคตจะไม่มีการถอดถอนความเป็นมรดกโลกแน่นอน 

    ทั้งนี้ อธิบดีกรมศิลปากรเชื่อว่า กระแสข่าวการถอดโบราณสถานของ จ. พระนครศรีอยุธยาออกจากมรดกโลกดังกล่าว

    น่าจะเป็นการปล่อยข่าวของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

    แต่หากมองในมุมบวกก็อาจต้องการ เพื่อให้มีการตื่นตัวของประชาชนในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมมากขึ้นกว่าเดิม

    อย่างไรก็ตาม นายเกรียงศักดิ์กล่าวว่า ถึงแม้จะไม่มีการถอดถอนโบราณสถานในเขต จ.พระนครศรีอยุธยาออกจากเมืองมรดกโลก  แต่กรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องมีการประเมินผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาแม่บทเมืองมรดกโลกต่อไปตามข้อกำหนดของยูเนสโก

    ซึ่งปัจจุบันกรมศิลปากร หน่วยงานท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถดำเนินการได้ตามแผนพัฒนาแม่บท ซึ่งพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ทั่วประเทศ เกือบทั้งหมดพบปัญหามากมายในลักษณะคล้าย ๆ กัน โดยเฉพาะการบุกรุกขายสินค้าของพ่อค้าแม่ค้าทั่วไป 

    นอกจากนี้  ปัญหาที่สำคัญอีกสำคัญหนึ่งคือ 

     การที่เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรจำหน่วยตั๋วเข้าชมโบราณสถานแก่นักท่องเที่ยว  แต่พบว่ากลับกลับไม่ให้ตั๋วหรือใบเสร็จรับเงิน    ซึ่งเรื่องดังกล่าวสร้างความเสียหายด้านการท่องเที่ยวมาก

     แต่กรมศิลปากรไม่ได้นิ่งนอนใจ และแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการทำกล่องร้องเรียนพฤติกรรมของเจ้าหน้ากรมศิลปากรที่สถานที่ท่องเที่ยวไปแล้ว  ซึ่งประชาชนสามารถร้องเรียนได้โดยตรงที่กรมศิลปากร  หรือที่ทำการอุทยานประวัติสาสตร์ฯ  แต่ละพื้นที่ได้  นายเกรียงศักดิ์กล่าว

    เรื่องนี้ ต้องช่วยกันสอดส่อง อย่าให้มีพฤติกรรมที่น่าละอายแบบนี้นะคะ

    สวัสดีค่ะคุณหญ้าบัว

    P

    คุณหญ้าบัวบอกว่า.....ในหลักสูตรฯ  กลุ่มสาระสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม  ก็กำหนดไว้ให้ค่ะ (สอนเรื่องวัฒนธรรม)

    ค่ะ ดีใจที่มีการสอนอยู่ แต่ครอบครัว สิ่งแวดล้อมประจำวัน จะมีอิทธิพลแก่ตัวเด็กมากกว่ามาก เพราะเป็นสิ่งที่จะซึมซับไปที่ตัวเด็กมากที่สุดค่ะ

    อ้อ พอดี ตอนนี้ใกล้เลือกตั้ง เลยมีข้อมูล เกี่ยวกับการเมืองมาฝากหน่อยค่ะ

    หากย้อนหลังกลับดู 174 ปี ในหน้าประวัติศาสตร์

    ของกระทรวงมหาดไทย จะพบว่ามีผู้ที่ดำรงตำแหน่ง 'นายกรัฐมนตรี' นั่งควบเก้าอี้ 'รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย' นั้น มีทั้งหมด 7 คน


    ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ในวันที่ 14 มีนาคม 2518 ถึง 12 มีนาคม 2519 และควบตำแหน่งเป็นรมว.มหาดไทยคนที่ 30 ระหว่างวันที่ 8 มกราคม 2519 ถึง 20 เมษายน ปีเดียวกัน

    ข้อมูลจากหนังสือมติชน....วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10766พระเทพฯทรงแนะเสนอ"คึกฤทธิ์"บุคคลโลก

    ยกย่องด้านศิลปวัฒนธรรมปี"54 วธ.เร่งรวบรวมผลงานชงยูเนสโก

    คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้ากรณีที่ วธ.เตรียมจะเสนอชื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และศิลปินแห่งชาติ  ............. สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2528 
     ต่อคณะกรรมการดูแลมรดกทางวัฒนธรรมของไทย ในองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประจำประเทศไทย เพื่อเสนอยูเนสโกสำนักงานใหญ่ให้ยกเป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี 2554 ซึ่งจะครบ 100 ปี  เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านศิลปวัฒนธรรมมากกว่าด้านการเมือง เนื่องจากม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีผลงานด้านวรรณกรรม และการแสดงที่โดดเด่นมากมาย  ซึ่งตนได้มอบหมายให้นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัด วธ. เป็นประธานคณะกรรมการรวบรวมเอกสารสำคัญด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อจะนำเสนอต่อ ยูเนสโกต่อไป
    พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (The Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 80th Birthday Anniversary) เป็นพระราชพิธี และการจัดงานเฉลิมฉลอง เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุ ครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในส่วนของงาน รัฐพิธี
    รัฐพิธี
    รัฐบาลไทย ได้เตรียมการจัดรัฐพิธี เนื่องในวโรกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้*  วันที่ ๒ ธันวาคม พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ลานพระราชวังดุสิต ในเวลา ๑๖.๐๐ น. ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับเชิญเสด็จไปในพิธี โดยจะมีการแสดงก่อนเวลา ได้แก่ การแสดงคีตะมวยไทย และ การแสดงดนตรีมหาดุริยางค์ทัพบกไทยเทิดไท้องค์ราชัน *   *  วันที่ ๓ ธันวาคม พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดี และพลังของแผ่นดิน เวลา ๐๘.๐๐ น. พร้อมกันทั่วประเทศ โดยส่วนกลางจัดที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล (โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และในส่วนภูมิภาคจัดที่หน้าศาลากลางของทุกจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแกนกลางในการจัดพิธี และหน่วยงานอื่นๆ จัดที่สถานที่ตั้งของหน่วยงานตามความเหมาะสม) *   *  วันที่ ๕ ธันวาคม พิธีถวายเครื่องราชสักการะ และจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล และพิธีถวายพระพรชัยมงคล ของเหล่าข้าราชการ และพสกนิกรชาวไทย ซึ่งกำหนดจัดที่ มณฑลพิธี ท้องสนามหลวง และ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด ดังเช่นที่ได้จัดมาเป็นประจำทุกปี โดย มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช และ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย *   *  วันที่ ๗ ธันวาคม งานสโมสรสันนิษบาตเฉลิมพระเกียรติ ณ ทำเนียบรัฐบาล เวลา ๑๙.๐๐ น. (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ สำหรับการจัดงานมีการแสดงชุดพิเศษ*   คือ การแสดงดนตรีของวงเฉลิมราชย์ในเพลง พ่อแห่งแผ่นดิน การแสดงโขนชุด "พระจักราวตาร" และการแสดงพลุกับดอกไม้ไฟเฉลิมพระเกียรติ  

    คุณพี่ศศินันท์ครับ

    เป็นเรื่องที่มีข้อมูลที่ดีมากครับ

    ภูมิใจจริงๆ ที่ไทยเรานำเรื่องรามเกียรติ์มาแล้วทำได้ดีมาก

    ขอบคุณครับ

    สวัสดีค่ะ คุณพลเดช วรฉัตร

    ขอบคุณที่มาเยี่ยม เผอิญวันที่มีประชุมรุ่นฯกันแล้ว มีเวลาว่าง จึงพากันมาเที่ยวที่นี่ และขอบอกว่า ได้ความรู้เยอะมากค่ะ
    ได้ไปหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมอีกด้วยค่ะ ที่เกี่ยวกับเรื่องโขน เพราะเป็นเรื่องที่ชาวไทยทุกคน ควรภูมิใจค่ะ

    วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551
    เสนอยูเนสโก "คึกฤทธิ์"เป็นบุคคลสำคัญของโลก

    เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)
     เปิดเผยภายหลังเปิดเสวนาการเสนอชื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในวาระครบรอบ 100 ปี ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ว่า
     ขณะนี้ วธ.ได้รวบรวมข้อมูลเกียรติประวัติและผลงานของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เสร็จเรียบร้อย พร้อมเสนอกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อนำเสนอที่ประชุมองค์การยูเนสโกในวันที่ 15 มกราคม 2552 เพื่อยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญดีเด่นของโลก ในด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน
     ในวาระครบรอบ 100 ปี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในวันที่ 20 เมษายน 2554
    สำหรับผลงานของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ที่มีชื่อเสียง
    อาทิ บทประพันธ์ สามก๊กฉบับนายทุน   สี่แผ่นดิน   ไผ่แดง ซึ่งผลงานเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นบุคคลสำคัญทั้งทางด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม
    นอกจากนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ถือว่าเป็นเสาหลักประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ มีความเป็นผู้นำ เป็นนายกรัฐมนตรีที่เข้าใจสถานการณ์โลก มองการณ์ไกล รู้เขารู้เรา และเป็นตัวอย่างนักการเมืองที่ดี

    8-12 สิงหาคม 2552
    จะมีการจัดมหกรรมวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 8-12 ส.ค. 2552 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยนั้น ในวันเปิดงานวันที่ 8 ส.ค.เป็นที่น่ายินดีว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะมาเป็นประธานเปิดและเดินนำขบวนแห่ทางวัฒนธรรมไทย 4 ภาคและขบวนแห่นานาชาติที่มีประเทศต่างๆส่งศิลปการแสดงเข้าร่วมกว่า 10 ประเทศ ด้วยตัวเอง พร้อมกับเข้าชมภาพยนตร์ 4 มิติ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม และตีกลองเปิดงานอย่างเป็นทางการ

    "โขนเป็นนาฏศิลป์การแสดงชั้นสูงมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบทอดโดยมาตลอด เป็นศิลปะการแสดงที่รวมหลายๆอย่าง การเต้น การร้อง การแต่งกาย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชีนีนาถ ทรงเป็นห่วงโขนและน่าเสียดายในช่วงหลังเด็กสมัยใหม่ค่อนข้างรู้จักโขนน้อยลง จึงได้มีพระราชเสาวนีย์จัดทำชุดโขนละครชึ้น
    เนื่องจากชุดโขนมีสภาพเสื่อมถอย โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ มีนายจักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติสาขาจิตรกรรม เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ในการวางแนวทางและตรวจแก้ไขในการออกแบบลวดลายพัสตราพรณ์ การจัดสร้างศิราภรณ์ และถนิมพิมพาภรณ์ทุกขั้นตอน
    โดยใช้วิธีการปักเครื่องของไทยแบบโบราณ อาทิ ชุดมังกรกัณฐ์ ชุดพระราม ชุดพระลักษณ์ ชุดพระอินทร์ ชุดทศกัณฐ์ ชุดสิบแปดมงกุฎ ชุดฤษี ชฎา มงกุฎ รัดเกล้า กะบังหน้า ทับทรวง จี้นาง สังวาล คันศร พระขรรค์ บังสูรย์ สัปทน เป็นต้น
    ใช้งบประมาณตั้งแต่ปี 2549-2552 รวมกว่า 30 ล้านบาท และยังมีโครงการพัฒนาไปถึงปี 2556 "ปลัดวธ. กล่าว

    นายกมล สุวุฒโฑ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบศ.)กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใส่พระทัยกับวงการศิลปะโขน สำหรับเครื่องแต่งกายโขนที่จัดสร้างเสร็จแล้ว จะนำรูปแบบและการพัฒนาไปเป็นต้นแบบในการจัดแสดงโขนเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมไปถึงปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาวิชาศิลปะไทย สาขาวิชาช่างสิบหมู่ของ สบศ. ด้วย

     

    มีข่าวที่น่าชื่นชม
    นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) เปิดเผยว่า จากการที่วธเสนอชื่อบุคคลสำคัญ 2 ท่านของไทยคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และนายเอื้อ สุนทรสนาน ต่อองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา
    เพื่อประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นบุคคลสำคัญ หรือผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เนื่องในวาระครบรอบปี 100 ปี
    โดยของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ได้เสนอ 4 สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน
    สำหรับครูเอื้อเสนอ 2 สาขาด้านการศึกษาและวัฒนธรรม
    ทั้ง 2 ท่านได้ผ่านการพิจารณาจากกรรมการยูเนสโกฝ่ายพิจารณาบุคคลสำคัญเรียบร้อยแล้ว

    นายธีระ กล่าวอีกว่า ล่าสุดยูเนสโกกำหนดประชุมสมัยสามัญ ระหว่างวันที่ 6 - 23 ตุลาคม 2552 โดยจะมีวาระพิจารณารับรองการประกาศรายชื่อบุคคลสำคัญและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของยูเนสโก ระหว่างปี 2553 - 2554
    ซึ่งรวมบุคคลสำคัญของไทย 2 ท่านไว้ด้วย โดยที่ประชุมจะมีการรับรองระหว่างวันที่ 22 - 23 ตุลาคมนี้ อย่างไรก็ตามหากชื่อ 2 ท่านได้รับการรับรองเป็นทางการแล้ว ทาง วธ.จะมีการเฉลิมฉลองยกย่องเชิดชูเกียรติตามยูเนสโกกำหนดตลอดทั้งปี
    โดยเรียงตามลำดับ ครูเอื้อ สุนทรสนาน จะครบรอบ 100 ปีชาตกาลในวันที่ 21 มกราคม 2553 จะเป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยลำดับที่ 18
    และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จะครบรอบ 100 ปีชาตกาลในวันที่ 20 เมษายน 2554 จะเป็นบุคคลสำคัญของไทยลำดับที่ 19

    ขณะนี้ บ้านม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ ให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ดำเนินการรวบรวมจัดเก็บภาพเรือนไทยของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายก รัฐ มนตรี และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำเป็นภาพ 3 มิติและภาพพาโนรามา 360 องศา ลงในเว็บไซต์ www.kukritshousefund.com เพื่อ เผยแพร่ประวัติและผลงานของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เนื่องจากในปัจจุบันผลงานดังกล่าวหาดูได้ยาก ดังนั้นจึงจะต้องมีการอนุรักษ์และเผยแพร่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาของประชาชนทั่วไป

    เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ที่บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี (ซอยสวนพลู) มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดงานพิธีบำเพ็ญกุศล
    เนื่องในวันครบรอบการจากไป 14 ปีของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ อดีตรมว.วัฒนธรรม นายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม และ ม.ล.รองฤทธิ์ ปราโมช ประธานกรรมการบริษัทบ้าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ จำกัด เข้าร่วมงาน
    ครบรอบ 14 ปีแห่งการจากไปของ "คึกฤทธิ์ ปราโมช" อดีตนายกฯ เร่งจัดสร้างสถาบันคึกฤทธิ์ รวบรวมผลงาน-ประวัติตามแนวพระราชดำริ "สมเด็จพระเทพฯ" ให้ทันฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาล
    ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์...

    ในวันนี้ การแสดงโขน มีที่เฉลิมกรุง
    เฉลิมกรุง มีภารกิจใหม่ คือการนำเสนอศิลปะประจำชาติไทย ที่หาดูได้ยากยิ่ง นั่นคือการแสดงโขน ใช้ภาษาอังกฤษให้ฝรั่งได้เข้าใจว่า Thai Masked Dance ลองอ่านดูที่นี่ได้ค่ะ

    ศิษย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สายสื่อมวลชนนัดรวมตัวสมทบทุนสร้างสถาบันคึกฤทธิ์
     หม่อมอุ๋ยเผยสร้างเสร็จมี.ค.2554 เตรียมใช้เป็นสถานที่จัดงานฉลองครบรอบวันเกิด 100 ปี ชาตกาล

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท