ผู้ที่ “ไม่กระทำได้” จะต้องเป็นผู้ที่มีสติว่องไวอย่างที่สุด


เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราขาดสติหรือขาดการตื่นรู้ เมื่อนั้นเราก็มีโอกาส “หลุด” หรือ “หลง” ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และนั่นก็คือการที่เราทำไป (คิดไป) โดยที่ไม่รู้ตัวนั่นเอง!

        เมื่อวานนี้ตอนที่ผมไปแจกลายเซ็นในงานมหกรรมหนังสือพร้อมกับแนะนำงานแปล osho เล่มใหม่ที่ใช้ชื่อว่า เต๋า : มรรควิถีที่ไร้เส้นทาง นั้นพบว่าผู้ที่แวะเวียนมาหลายท่านยังไม่เข้าใจว่า เต๋าคืออะไร?” บางท่านคิดไปว่าเป็นลัทธิที่มีพิธีกรรมเพื่อความเป็นอมตะของชีวิต บางท่านก็คิดว่าเป็นศาสตร์ด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม อะไรในทำนองนั้น

         ผมจึงต้องว่ากันตั้งแต่เรื่องพื้นฐานเลยครับว่า คำว่า เต๋า นั้นหมายถึงวิถีทาง  แต่เป็นวิถีทางที่ไม่มีเส้นทางชัดเจน เหมือนกับที่เราเห็นนกบินไปในท้องฟ้านั่นแหละครับ นกบินไปโดยไม่ได้ทิ้งร่องรอยอะไรไว้ เราสามารถตามไปได้ แต่ต้องไปในวิถีทางของเราเอง เต๋าให้ความสำคัญกับเรื่องหยินและหยาง พูดถึงเรื่องพลังด้านการรุก และพลังด้านการตั้งรับ เต๋าไม่มีทฤษฎีที่สำเร็จรูปและตายตัว หากแต่อาศัยการใช้เรื่องเล่าเป็นสื่อกลางสำหรับสร้างความเข้าใจ แต่เป็นความเข้าใจที่ต้องก้าวข้ามภาษาที่สมมติขึ้นมาไปให้ได้ ต้องอาศัยประสบการณ์ตรงเหมือนกับการปฏิบัติธรรม

         Osho เป็นผู้หนึ่งที่สามารถนำเรื่องเล่าเหล่านี้มา ขยายความ และ ตีความ ได้อย่างน่าติดตามยิ่ง สิ่งที่ผมถูกถามมากที่สุดก็คือจุดที่เต๋ากล่าวว่า จงทำโดยไม่กระทำ บางท่านเรียกหลักนี้ว่าหลัก อกรรม คือปล่อยให้มันเป็นไป โดยไม่ต้องไปบังคับกะเกณฑ์ ดังคำกล่าวที่ว่า ...ชีวิตเราไม่ต่างอะไรกับสายน้ำ แค่ปล่อยให้มันไหลไป ถึงอย่างไรมันก็ไปถึงมหาสมุทรอยู่ดี สิ่งนี้หลายคนที่ไม่เข้าใจไปสรุปเอาเองว่าคนที่ใช้หลักปรัชญาเต๋าคือพวกที่ปล่อยให้ชีวิตให้ไหลไปอย่างไร้จุดหมาย เป็นการปล่อยไปตามยถากรรม

         ผมต้องอธิบาย (ตามความเข้าใจของผม) ว่า หากมองดูจากภายนอกผู้ที่ใช้หลักปรัชญาเต๋าอาจดูคล้ายกับว่า ไม่กระตือรือร้น หรือไม่ทำอะไร (ขี้เกียจ) แท้จริงที่ว่า ไม่กระทำ นั้นน่าจะหมายถึงการไม่ทำอะไรที่ไปฝืนธรรมชาติน่าจะตรงกว่า ท่านเชื่อหรือไม่ว่า . . . หลายสิ่งหลายอย่างที่เราทำกันอยู่นี้ บางทีก็เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นเลย เราอาจจะรู้สึก Happy กับการ Being Busy จนเคยชิน . . . เราอาจแก้ปัญหาได้อย่างมากมายโดยที่ไม่ไหวตัวเลยว่าเรากำลังสร้างปัญหาใหม่ และหลายๆ ครั้งก็เป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าปัญหาเดิมด้วยซ้ำไป

         ตามความเข้าใจของผม . . . ผู้ที่เข้าใจเต๋าคือผู้ที่เข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง ถึงจะมองจากภายนอกแล้วเห็นว่าไม่กระตือรือร้น หากแต่ทว่าภายในนั้นคือผู้ที่ ตื่นรู้ อย่างยิ่ง . . . อะไรทำให้ผมพูดไปเช่นนั้น? คงเป็นเพราะผมเชื่อมั่นว่าผู้ที่สามารถ ไม่กระทำได้ จะต้องเป็นผู้ที่มี สติว่องไว อย่างที่สุด เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราขาดสติหรือขาดการตื่นรู้ เมื่อนั้นเราก็มีโอกาส หลุด หรือ หลง ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และนั่นก็คือการที่เราทำไป (คิดไป) โดยที่ไม่รู้ตัวนั่นเอง! 

หมายเลขบันทึก: 142708เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2007 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • ตามมาเรียนรู้กับอาจารย์ครับ อิอิ

มายกมือเห็นด้วยที่สุดค่ะ

ผู้ที่สามารถ ไม่กระทำได้ จะต้องเป็นผู้ที่มี สติว่องไว อย่างที่สุด เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราขาดสติหรือขาดการตื่นรู้ เมื่อนั้นเราก็มีโอกาส หลุด หรือ หลง ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และนั่นก็คือการที่เราทำไป (คิดไป) โดยที่ไม่รู้ตัวนั่นเอง! 

การปฏิบัติธรรม การเจริญสติ ก็อยู่บนทิศทางเดียวกันนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

 การขาดตัวรู้ สติ นี้ทำให้ความคิดเราไปไกลมาก ปรุงแต่งกันสุดฤทธิ์ทั้งๆที่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เห็นด้วยกับการฝึดสติให้ว่องไวเสมอ

 ดีครับ  ขอบคุณครับ

ถ้า วงกลม วงหนึ่ง  (จาน) หมุนติ๋วเลย    จุดกึ่งกลาง เป็น จุด นิ่งที่สุด

จะออก จาก จาน (วัฏฏะ)  ต้อง มานิ่ง มารู้  ที่ กึ่งกลางนี้เอง

 

เกิดปัญญาจริงๆ ดังที่ท่านพระพุทธทาสว่าไว้  ต้องทำชีวิตให้เป็นธรรมชาติไม่ฝืนลม  หรือทวนกระแสมีแต่เหนื่อย

แวะเข้ามาเรียนรู้เรื่องเต๋า  ดีมากเลยค่ะ การแก้ปัญหาคือการสร้างปัญหาใหม่  ใช่เลยค่ะ   ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณทุกๆ ท่าน ทั้งท่านที่เข้ามาช่วย "ต่อยอด" ความรู้ และที่เข้ามา "ตามดู" ครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ ผมเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ หลักสูตรดุษฎีบัณฑิตย์ สาขา ผู้นำธุรกิจ สังคมและการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ครับ

ผม ติดตาม อาจรย์ เข้ามาที่นี่ ตามที่อาจารย์ให้เวปมาครับ มาอ่านงานเขียนของอาจารย์ ครับ

 ผม มีความคิดเห็นว่า เต๋า เป็นคำสอนที่เป็นพุทธมหาญาณ คือ เอาผลสำเร็จมาสอน ไม่ได้สอนตามการสืยทอดตามตำราที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า แบบหินญาณ หรือพุทธเถรวาสแบบประเทศไทย ที่เรียนพุทธศาสนาโดยอาศัยคัมภีร์ที่บันทึกพระธรรมคำสอน ได้แก่ พระไตรปิฎก

 เมื่อ เต๋า เป็นคำสอนจากประสบการณ์ของอาจารย์ผู้ปฏิบัติจนเป็นผลสำเร็จ แต่เมื่ออาจารย์ ไม่ได้ศึกษาคำสอนที่เป็นระบบคำสอนตามที่ได้บันทึกไว้จากพระไตรปิฎก ผู้ที่สืบทอดความจริงที่ตนได้รู้เห็นแจ้งธรรมชาติเช่นนั้น จึงสอนไปตามธรรมชาติ โดยไม่มีภาษาที่รับรองความหมายเป็นแบบฉบับ ทำให้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจความจริงแท้ของธรรมชาติ อาจฟังเท่าไหร่ ก็ไม่มีทางรู้เรื่องเต๋าได้ ผู้ที่เข้าใจ เต๋า ก็คือผู้ที่เข้าใจธรรมแล้ว หรือ ผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว หรือผู้ที่รู้ความจริงแท้ของธรรมชาติแล้ว ผู้ที่พอจะเข้าใจ เต๋า ได้บ้างก็อาจมีได้  เช่น พวกที่พอมีความรู้ในระดับเทียบเคียงความจริงแท้ได้อยู่บ้าง

 ความจริงแท้  เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามปกติของมันอยู่เช่นนั้น โดยที่เราไม่ต้องไปทำอะไรกับมันเลย เราเพียงแต่ทำหน้าที่ในส่วนของเรา คือ การกำหนดตามความจริงนั้น รู้ว่าสิ่งนั้นๆทำหน้าที่ของมันอยู่เช่นนั้น นั่นคือ การทำที่ดีที่สุดแล้ว และนั่นก็คือ การทำหน้าที่รู้ความจริงทั้งหมด เมื่อเรารู้ความจริงเช่นนั้นอยู่เสมอๆ ในที่สุดความรู้ของเราก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นๆ จนรู้รอบ รู้แจ้ง รู้จนเป็นปกติ เมื่อนั้น เราจึงจะไม่เข้าไปทำอะไรกับสิ่งใดได้ นั่นคือ การไม่เข้าไปทำอะไรกับความจริงแท้ เราก็เป็นอิสระอย่างแท้จริง อันเป็นสิ่งเดียวกับความจริงแท้ อยู่ร่วมกับความจริงแท้ ไม่ว่าจะทำหรือไม่ทำอะไรก็ตาม ก็มีผลเป็นอย่างเดียวกัน คือ การรู้ นั่นเอง

ผมจะติดตามงานเขียนของอาจารย์ ในกระทู้อื่นๆต่อไปครับ  กราบสวัสดีอาจารย์ด้วยความเคารพอยางสูง

ธงรบ ด่านอำไพD

 

 

 

นางสมฤทัย คงแดงดี นางสาวจินดานุช ธีระวงศ์ภิญ่โญ
การกระทำใด ๆ ต้องมีสติ เพราะถ้าขาดสติอาจทำให้งานนั้นไม่สำเร็จตามที่คาดหมายไว้

การศึกษาธรรมะ จะต้องมากับการปฏิบัติเสมอ

นั่งอ่านแล้วตีความ ระวังจะเป็น "เถรใบลานเปล่า" มันจะพาใกล้นรกเกินไป

เต๋า เป็นของจริงแท้ อ้างอิงได้หากท่านปฏิบัติและรู้จักความสงบ สบายในใจท่านอย่างมีสติทุกๆเวลา เข้าใจอย่างมีจิตใจกว้างขวาง มีเมตตาต่อตน ต่อทุกสิ่งทุกตน นั่นแหละ

น่าเป็นห่วง เถรนี่ ยิ่งนัก

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • เข้ามาทักทาย และบอกว่า แหววฝากน้องเภสัชกรที่ รพ.ไปซื้อหนังสือ ของอาจารย์ด้วย แต่น้องไปถึงช่วงบ่าย โทรมาบอกว่าอาจารย์กลับไปแล้ว คราวนี้เลยไม่ได้ลายเซ็น... อ่านใกล้จบแล้วค่ะ...ได้รายละเอียดและความชัดเจนบางแง่มุมขึ้นอย่างมากๆ ต้องขอบพระคุณอาจารย์อีกเช่นเคย ที่ทำให้มีโอกาสได้อ่านหนังสือดีๆ แบบนี้ค่ะ
  • และก็ แหววขออนุญาต Tag บันทึกของอาจารย์ เป็นบันทึกแห่งความประทับใจและความทรงจำนะคะ   ที่นี่ค่ะ
  • มาสวัสดีโดยมิได้สวัสดีครับ (สวัสดีทางตัวหนังสือ)
  • มาอ่านและลงชื่อไว้ (แต่มิได้ลงชื่อเองวานให้คนอื่นพิมพ์ให้) ค้าบ...(แซวเล่นนะค้าบ กระทำโดยมิได้กระทำ)

ในแง่หนึ่งผมคิดว่า "เต๋า" เปรียบได้กับหลัก "อิทัปปจยตา" ที่มีความหมายทับซ้อนกับอยู่หลายเรื่องหลายมิติและมุมมอง

เต๋าไม่มีที่เกิดและที่สิ้นสุด แต่เป็นกระแสที่ไหลวนเชื่อมโยงและซับซ้อนมาก เป็นทั้งสิ่งจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เป็นบ่อเกิดของทุกๆ สิ่ง ตั้งแต่อะตอม (หรือเล็กกว่านั้น) จนถึงจักรวาล (หรือใหญ่กว่านั้น?)

หลักเช่นนี้เป็นอิทัปปจยตาที่ใหญ่มาก ซึ่งมันก็เป็นของมันเช่นนั้นเอง ตามอย่างที่ท่านพุทธทาสกล่าว อันนี้เป็นปรัชญาที่ลึกซึ้งของมนุษย์โบราณหลายเผ่าพันธ์ ไม่ว่าจะเป็น ไทย แขก ฝรั่ง เจ็ก อินเดียแดง ฯลฯ

หากลองไปศึกษาปรัชญาของมนุษย์ที่เป็นชาวคัมภีร์ ในหลายๆ บท หรือ ซูเราะห์ ที่ปรากฏคัมภีร์ ก็ได้สะท้อนถึงเรื่องนี้ไว้อย่างแจ่มชัดครับ

สวัสดีค่ะ

  • แวะมารับความรู้เพิ่มเติมค่ะ
  • อ่านเรื่อง เต๋า แรก ๆ ก็งุนงง พูดอะไรที่ไม่เหมือนสิ่งที่สังคมเขาว่ากัน..
  • ขณะนี้ก็ยังไม่เข้าใจนัก.. อ่านกี่ครั้งกี่หน ก็ได้ความคิดใหม่ ๆ ทุกครั้งไป...นี่คงเป็นความพิเศษของหนังสือดีนั่นเองนะคะ
  • จากบทนำในหนังสือ เต๋าเต็กเก็ง แปลโดย พจนา จันทรสันติ ...

เต๋าที่อธิบายได้มิใช่เต๋าอันอมตะ

ชื่อที่ตั้งให้กันได้ก็มิใช่ชื่ออันสูงส่ง

เต๋านั้นมิอาจอธิบายและมิอาจตั้งชื่อ

เมื่อไร้ชื่อทำฉันใดจัดให้ผู้อื่นรู้

ข้าพเจ้าขอเรียกสิ่งนั้นว่า "เต๋า" ไปพลาง ๆ . 

สวัสดีค่ะ

***หลายชีวิต...ตื่นแต่ไม่รู้

***หลายชีวิต...หลุดไปตามกระแส

***หลายชีวิต...Being Busy จนประสาทไปเลยก็มีค่ะ

  • มาคารวะอาจารย์ค่ะ
  • และมายกมือว่าเห็นด้วยกับบันทึกนี้
  • บางครั้งการอยู่นิ่ง ไม่กระทำ เป็นประโยชน์อันมหาศาล
  • และบางครั้งการไม่กระทำก็เป็นการแก้ปัญหาที่ยอดเยี่ยม
  • ปล่อยวาง แต่ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย..
  • ขอบพระคุณค่ะที่เขียนบันทึกนี้ให้ได้อ่าน ^_^

สวัสดีค่ะเป็นสมาชิกใหม่ที่อ่านแล้วชอบรู้สึกดีมากค่ะ และเชื่อว่า หลายสิ่งหลายอย่างที่เราทำกันอยู่นี้ บางทีก็เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นเลย เราอาจจะรู้สึก มีความสุขและทุกข์ตามมาก็ได้ การอยู่เฉื่อย ๆ ซึ่งเราอาจแก้ปัญหาได้อย่างมากมาย ขณะเดียวกันเราคิดว่าเรากำลังแก้ปัญหา แต่มันกลับเป็นการสร้างปัญหาก็ได้ และหลายๆ ครั้งก็เป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าปัญหาเดิมด้วยซะอีก ขอบคุณคะสำหรับความรู้ดี ๆ ที่นำมาเตือนสติเหมาะมากกับสภาพสังคมปัจจุบันนี้

  • สวัสดีค่ะ ขอมาเรียนรู้ด้วยค่ะ
  • เคยอ่าน "เต๋า" มาบ้างนิดหน่อยค่ะ  
  • การสงบนิ่งเป็นก้าวหนึ่งของความมีสติ  สู่ความรู้ตื่นภายใน
  • ขอบคุณค่ะ

ได้รับ forward email มาหลายครั้งเรื่องเต๋าและการรักษาโรค ไปแปลว่าเต๋าคือพลังจักรวาลซะแค่นั้น มัทคิดว่าคนเข้าใจผิดคิดว่าเต๋าคือศาสตร์ด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เพราะเมลนี้คงจะเยอะมากค่ะ

 

โอ้โห้! ได้อะไรมากมายเลยครับ แค่กลับมาตามอ่าน Comment ของหลายๆ ท่าน . . .

ขอบคุณทุกๆ ท่านครับ . . . ผมชอบมากข้อความที่ว่า "ปล่อยวาง" ไม่ได้หมายความว่า "ปล่อยปละละเลย" เหมือนกับที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า อุเบกขา ที่แปลกันว่า "วางเฉย" นั้นกลายไปเป็น "เฉยเมย" ไปซะนิ!

สวัสดีคะ ได้เรียนรู้ เข้าใจลึกซึ่งกับคำว่า กระทำ โดย ไม่กระทำ ได้มากขึ้นคะ ." นิ่ง เพื่อ สยบ" แต่เราจะ ไม่กระทำได้ สติเราต้องเร็ว ส่วนนี้จำเป็นต้องฝึกกันมากทีเดียวคะ ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท