จากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม.. สู๋..ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง


ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง หนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม ฟาร์มเห็ด

        วันนี้จะขอแนะนำศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์  จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นผลจากความสำเร็จที่เริ่มจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์มปี 2549 ต่อยอดความรู้ขยายผลตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ประสบผลสำเร็จ...  เป็นความสำเร็จจากผลงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผู้จัดการฟาร์ม คือ นายสมจิตร  คำสี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร    6 ว ที่ทุ่มเท  ก่อตั้งฟาร์มเห็ด  เพิ่มเติมกิจกรรมเกษตรผสมผสาน และถ่ายทอดความรู้ สร้างอาชีพรายได้ให้แก่คนในชุมชนตำบลบ้านดง  เป็นมือประสานสิบทิศ  ได้รับความร่วมมือเต็มที่จากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดงในทุกด้าน  จึงอยากจะเล่าความสำเร็จนี้ให้คนอื่นได้ทราบด้วย

       หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ อำเภออุบลรัตน์ มาก่อน  ส่วนใหญ่รู้ว่าเป็นที่ตั้งเขื่อนขนาดใหญ่ของภาคอิสาน คือเขื่อนอุบลรัตน์  บางคนทราบว่า บ้านคำปลาหลาย ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์โด่งดังมากในฐานะชุมชนเข้มแข็ง  เป็นตำบลหลัก ได้รับงบประมาณASPL จากกระทรวงเกษตรและJICA จำนวนมาก ดำเนินกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนสร้างโรงสีชุมชน และโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด   มีเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านที่นี คือผู้ใหญ่ถาวร  และ คุณมาติน วีนเลอร์ แต่ละวันมีคนมาศึกษาดูงานมากมาย

     แต่จะมีใครรู้บ้างว่าเกษตรตำบลบ้านดง ชื่อ นายสมจิตร คำสี ก็มีบทบาทช่วยชุมชนบ้านดงและตำบลใกล้เคียงได้โดดเด่นไม่แพ้ผู้นำชุมชนเหล่านั้นเลย

      ปี 2549 คุณสมจิตร สมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม (อยากจะบอกว่าเป็นโครงการที่เจ้าหน้าที่หลายคนไม่อยากทำ ) ความท้าทายอยู่ที่ งบน้อย เงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างมีมากมายที่เป็นอุปสรรค แต่ผลสัมฤทธิ์ต้องมีให้วัดได้...  เขาเลือกโครงการทำฟาร์มเห็ด   สร้างโรงเพาะขนาดใหญ่ 3 หลัง  สร้างศาลาเรียนรู้อย่างถาวร  ทำการผลิตก้อนเชื้อเห็ดเองส่วนใหญ่เป็นเห็ดขอนขาวและเห็ดนางฟ้า มีการผลิตรุ่นละ 15,000 ก้อน  จำหน่ายผลผลิตเห็ด  ภายในปีเดียวสามารถเกิดรายได้    ขณะนี้มีกองทุนประกอบอาชีพ 60,000บาท   ได้ทำการขยายสร้างโรงเพาะเห็ดเพิ่มเรื่อยๆ   บุกเบิกที่ว่างในบริเวณใกล้เคียงปลูกพืชไร่เช่น ถั่วลิสง  มันสำปะหลัง  เพื่อจำหน่ายเป็นถั่วต้มในหมู่บ้านใกล้เคียง  เศษเหลือวัสดุเพาะที่ไม่ใช้แล้วก็นำไปใส่ดิน ไถกลบปรับโครงสร้างดิน ปลูกพืชผักสวนครัว  มีตัวแทนเกษตรกรเข้ามาเรียนรู้การผลิตก้อนเชื้อเห็ด เป็นรุ่นๆ(ได้รับงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมจากอบต.)  เมื่อคนเหล่านี้นำความรู้กลับไปทำให้หมู่บ้านตนแล้วจึงเกิดเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกัน  มีการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการผลิตเห็ดแต่ละชนิด  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งการผลิตและการตลาด  

     จากวันนั้นถึงวันนี้.... ปีกว่าแล้ว ศูนย์แห่งนี้ก็ยังมีกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น  มีการถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่อง... นี่แหละผลสัมฤทธิ์หละ ..น่าภูมิใจนะ   เล่าอย่างไรก็ไม่เท่าตาเห็น ดูจากภาพนะคะ

คุณสมจิตร คำสีภาพนี้คือ คุณ สมจิตร  คำสี

 

ป้ายแสดงโครงการ

 

    ผลผลิตหลัก "เห็ดขอนขาว"

 

 โรงเพาะเห็ดตั้งเรียงราย

 

 หม้อต้มก้อนเชื้อเห็ด

 

 เห็ดเพาะโชว์ เรียกความสนใจ

 

ศาลาเรียนรู้ จุคนได้ 50 คน

 

 เก้าอี้ทำจากต้นไม้ที่มีในฟาร์ม

 

มีลานเรียนรู้ใต้ต้นมะม่วง

 

มีแปลงปลูกถั่วลิสงด้านข้าง

 

 แปลงปลูกผักสวนครัว

 

 

หมายเลขบันทึก: 139527เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2007 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ขอบคุณมากคะอ้อที่นำเรื่องดี ๆ มาแบ่งปัน คงมีโอกาสไปเยี่ยมอ้อและคุณสมจิตร

เรียน คุณทวี

    ขอบคุณคะ ที่แวะมาเยี่ยมเยียน  ขอแสดงความยินดีนะคะที่ผลงาน ซี8 ผ่านฉลุย ...

 

 

เรียนพี่หม่า

   ดีใจจังที่ผอ.มาแวะเยี่ยม  ขอนแก่นมีงานดีๆอยู่มากนะคะ จะค่อยๆทะยอยประชาสัมพันธ์คะ

เป็นคนอำเภอบ้านฝาง ค่ะ มีความต้องการ จะอบรมภาคปฏิบัติ ปลูกเห็ด ไม่ทราบว่าที่จังหวัดขอนแก่น สามารถเข้าไปขอคำปรึกษาได้ที่ไหน ได้บ้าง เนื่องจาก ทำงานอยู่กรุงเทพฯ (และไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง จึงสนใจการปลูกเห็ด 1 โรงเรือน ใช้เงินทุนเท่าไหร่)..ขอบคุณค่ะ

  • กิจกรรมดีมาก ๆ
  • เป็นแบบอย่างทางสังคม
  • ขอชื่นชมค่ะ

เรียน คุณรัตน์

ในขอนแก่นมีแหล่งเพาะเห็ดจำหน่ายอยู่หลายแห่งคะ ชนิดเห็ดที่เพาะแตกต่างกันไป ช่วงนี้เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เกษตรกรจะนำฟางข้าวมาเพาะเห็ดฟาง อย่างเช่นที่อำเภอชุมแพ เพาะเห็ดฟางกองเตี้ยจากฟางข้าว  ช่วงเวลาที่เพาะกันเป็นช่วงฤดูหนาวประมาณ 3-4เดือนคะ

หรือการผลิตเห็ดแบบสำหรับใช้บริโภคในครอบครัว สนใจลองเข้าดูที่นี่นะคะ สำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่นำเสนอไว้  เช่น

    การเพาะเห็ดในขอนไม้มะม่วง

    การเพาะเห็ดฟางในตระกร้า

    การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยจากกากมันสำปะหลัง

    ส่วนที่ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์  นี้ เป็นการเพาะในโรงเรือน เชิงการค้า  เห็ดที่นิยมคือ เห็ดขอนขาว เพาะได้ตลอดปี  และนิยมบริโภคทั่วไป  สนใจรายละเอียด  ลองโทรศัพท์ ติดต่อ ขอคำแนะนำจากคุณสมจิตร โดยตรงนะคะ  เบอร์ของสำนักงานเกษตรอำเภอุบลรัตน์  043 - 446130

ต้องการทราบข้อมูลการปลูกเห็ดฟางในตระกร้า

นักศึกษา มสธ ส่งเสริมการเกษตร 089-9624042

อยากทราบ แหล่งจำหน่าย เห็ดขอน / นางฟ้าภูฐาน ตอนนี้กำลังอัดก้อน..รบกวน แจ้งกลับด้วย เนื่องจาก ที่หมู่บ้าน ยังไม่มีใครลงทุนทำมาก่อน (บ้านค้อ ต.บ้านเหล่า อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น)

สนใจเพาะเห็ด เป็นอาชีพค่ะ อยากเข้ารับอบรมค่ะ ปัจจุบันทำงานที่กรุงเทพค่ะ ยังไม่มีดินเป็นของตัวเองค่ะ กำลังวางแผนซื้อที่ดินเพื่อการเกษตร (หรือมีที่ดินที่ไหนจัดสรรให้เปล่าไหมค่ะ) อยากได้รับคำแนะนำ หรือเข้าฝึกอบรม หรือฝึกงาน เพราะยังไม่มีความรู้เท่าที่ควรเลยค่ะ

รบกวนช่วยแนะนำด้วยค่ะ ขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ

เรียนคุณรัตน์

ไม่ทราบว่าคุณต้องการขายผลผลิตเห็ดหรือก้อนเชื้อเห็ดคะ ถ้าผลผลิตเห็ดขอนขาว ตลาดขายคือตลาดอยู่ตามชุมชนต่างๆ ตอนแรกอย่าพึ่งเพาะจำนวนมากนะคะ ทดลองตลาดก่อน ลองเอาไปขายที่ตลาดเช้าของอำเภอดูนะคะ ลองตื่นแต่เช้าๆไปสำรวจตลาดตำบล /อำเภอ ใกล้บ้านก่อน ลูกค้าหลักที่น่าสนใจคือ รถมอเตอร์ไซค์พุ่มพวงที่มาซื้อไปจำหน่ายต่อยังหมู่บ้านต่างๆ หาดูว่าตลาดที่รถมอเตอร์ไซค์เหล่านี้ไปซื้ออยู่ที่ไหน เราก็ตามไปดูตลาดนั้น นะคะ ว่าเขาเอาสินค้าไปวางจำหน่ายเวลาไหน เท่าที่ทราบจะเป็นช่วงเช้ามืด ถ้าเราไม่สะดวกจะเอาไปจำหน่ายเอง คงต้องไปถามพ่อค้า/แม่ค้า ขายส่งในตลาดนั้น เจรจาฝากขายสินค้าดูนะคะ เสนอราคาแล้วต่อรองกัน ถ้าจะเอาไปขายที่ตลาดในตัวจังหวัด เช่น ตลาดบางลำภู ตลาดรถไฟ หรือ ตลาดแก่นคำ จำนวนต้องมากพอ นิยมขายยกถุงขนาด 5-10โล คนซื้อจะยกถุง บางครั้งราคาต่ำ อาจไม่คุ้มค่าขนส่ง ดิฉันคิดว่าตลาดในท้องถิ่นจะดีกว่า เราเป็นผู้ผลิตรายใหม่ ต้องออกหาตลาดเองก่อน แต่เมื่อคนซื้อเขารู้จักเราแล้ว เขาจะเข้าไปซื้อกับเราในหมู่บ้านเลย

แต่ถ้าจะขายก้อนเชื้อเห็ด คงต้องติดต่อตลาดเอง นำเสนอตามร้านขายวัสดุเกษตร ในตลาด หรือ ใส่ท้ายรถเข้าไปขายยังหมู่บ้านต่างๆ เหมือนรถเร่ หรือถ้าใกล้ชิดกับข้าราชการท้องถิ่น ก็นำไปเสนอขายให้ อบต.ต่างๆเพื่อซื้อแจกชาวบ้าน

ขอให้โชคดีนะคะ

เรียน คุณปริษา

ที่ขอนแก่นวันนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่นร่วมกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน พึงจะเปิดการอบรมหลักสูตร การทำเชื้อเห็ด จำนวนคนอบรม 30 คน คะ

หลักสูตรนี้ได้รับงบสนับสนุนจากรัฐบาล ผ่านกระทรวงแรงงานฯช่วยเหลือประชาชนผู้ถูกเลิกจ้าง หากสนใจว่าจะจัดอบรมหลักสูตรนี้ ที่ไหนอีกบ้าง ติดต่อไปที่กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาเกษตรกร นะคะ ค้นเบอร์โทร จากเว็บฯwww.doae.go.th

ที่กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งที่อยู่บางเขน และที่กำแพงแสน สามารถถ่ายทอดเรื่องนี้ได้

ถ้าสนใจภูมิปัญญาชาวบ้าน เข้าไปศึกษาจากเว็บของสำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่นะคะ

สนใจปลูกเห็ดขายค่ะ บ้านอยู่อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่นค่ะ แต่ไม่เคยทำเลย อยากรู้วิธีเพาะฟาง,เห็ดขอนขาว อยากเพะเชื้อเห็ดเองแล้วก็ปลูกขายเองด้วยจะได้ไม่ต้องหาซื้อเชื้อเห็ดให้ลำบาก อยากเข้ารับอบรมได้ไหมค่ะ หาที่อบรมอยากมาก ตอนนี้ทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ อยากกลับไปอยู่บ้านแล้วก็ปลูกเห็ดขาย รบกวนช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

หาซื้อเชื้อเห็ดฟางได้ที่ไหนครับ ใครทราบบอกหน่อยครับ( [email protected])

สวัสดีค่ะ คุณอ้อ

ฉันเป็นคนเขื่อนอุบลรัตน์ค่ะ อยู่บ้านโคกน้ำเกลี้ยง ปัจจุบันได้มาอาศัยอยู่ที่ระยอง และได้ทดลองทำก้อนเห็ดดู ตอนนี้ได้เพาะเห็ดนางฟ้าภูฏาน และฮังการีค่ะ อยู่ในช่วงบ่มก้อนค่ะประมาณ 1000 ก้อน และสนใจที่จะกลับไปทำที่บ้านเกิด แต่กลัวว่า จะไม่มีตลาดรองรับและ วัตถุดิบในการผลิตอาจจะหายากกว่าที่ระยอง เช่นขี้เลื้อยไม้ยางพาราคะ ยังไงรบกวนคุณอ้อแนะนำด้วยค่ะ

เชื้อเห็ดฟางปกติจะหาซื้อยาก นอกจากจะอยู่ใกล้แหล่งเพาะ เช่น อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ แถวสี่แยกสมเด็จมีขายครับ แต่ถ้าอยากทดลองเพาะ ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร มีบริการส่งเชื้อเห็ดฟางทางไปรษณีย์ ลองเข้าไปที่ www.phetphichit.com หรือโทร.ติดต่อ 081-886-9920 ส่งให้ถึงบ้าน ภายใน 4 วัน *รายงานโดย ศูนย์ข้อมูลเห็ดเพชรพิจิตร 089-850-5103*

ขอทราบเบอร์ติดต่อ คุณมาร์ติน  วีเลอร์  จะเชิญเป็นวิทยากร

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท