สนทนาประสานักพัฒนา : ทำอย่างไร ถึงจะได้ใจชุมชน


เข้าใจ คือ เข้าใจสังคม ภูมิประเทศ เข้าใจคน เข้าใจปัญญา มันเกิดขึ้นได้อย่างไร นอกจากพยายามเข้าใจ “เขา” แล้วต้องมีกระบวนการอย่างไร ให้เขาเข้าใจเราด้วย จะชนะต้อง “เขา” เข้าใจ “เรา” ด้วยและ “เรา” เข้าใจ “เขา” ด้วย

ผมเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางไกล กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ หลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจเวทีประเทศว่าด้วย "การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน"แล้ว

กลับมาถึงที่พัก เปิด Internet เพื่อเช็คเมลล์ และเปิดดูความเคลื่อนไหวของโลกเสมือน Gotoknow แล้วกำลังจะปิดเครื่องเพื่อพักผ่อน พอดีกับนักพัฒนานิรนามคนหนึ่งเข้ามาทักทายและพูดคุยด้วย โดยขอตั้งคำถามเพื่อแลกเปลี่ยน

เด็กๆลีซู หนองตอง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

คุยกันนานพอสมควรครับ  ผมเห็นว่าประเด็นเล็กๆแบบนี้น่าสนใจ การสนทนาระหว่างบุคคลสองคน คิดว่าอาจทำให้ท่านได้ร่วมต่อยอดทางความคิดบ้าง

ลองอ่านและทำความเข้าใจครับ

<hr>

A says:สวัสดีค่ะ พอจะมีเวลาตอบคำถามสั้นๆ เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ไหมคะ

</span><p>A says:เราไม่รู้จักกันค่ะ แต่เคยเข้าไปดูเวปการท่องเที่ยวชุมชน และพบข้อมูลของคุณ</p><p>A says:ขอความเห็นสักนิดนะค่ะ</p><p>B says:ได้ครับ ยินดีครับ</p><p>A says:หากมีโครงการเล็กๆที่มุ่งให้ชุมชนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มากที่สุด คุณคิดว่าคนนอกพื้นที่จะสามารถเข้าถึงชุมชนและเป็นที่ยอมรับได้มากน้อยแค่ไหน หากพยายามนำความรู้ใหม่ๆเข้าไปเพื่อต่อยอดให้กับความรู้เดิม </p><p>B says: ต้องดูหลายปัจจัยครับ</p><p>B says: โดยเฉพาะนักพัฒนาที่เป็นคนนอก  (Outsider) ว่ามีวิธีคิดอย่างไรและ เข้าใจ เข้าถึง ชุมชนขนาดไหน</p><p>B says: นี่เป็นประเด็นหลักเลย</p><p>B says: ประเด็นที่สอง คือ "เวลา"การทำงานกับชุมชน อาศัยเวลา ในการพิสูจน์ ในการได้ใจของคนท้องถิ่น</p><p>B says:และผมเชื่อว่าความตั้งใจที่ดี บวกกับพลังของจิตกุศลที่เป็นบวก ทำให้งานราบรื่น และสนุกได้งาน</p><p>B says:งานแบบนี้เป็นนามธรรม ค่อนข้างมาก นักพัฒนาต้องอาศัยความอดทนในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วม พร้อมกับสร้างความเข้าใจ เรียนรู้+เข้าใจจิตวิทยาชุมชน</p><p> B says:ร่วมมองในมุมของชุมชน ไม่อคติ (Bias)</p><p>A says:ไม่อคติ หมายถึง</p><p>B says:ไม่อคติก็รวมหลายๆเรื่องเกี่ยวกับมุมมองของเรา การมองชุมชน ว่าล้าหลัง ด้อยการศึกษา</p><p>B says:มองความรู้ชุมชนไม่ทันสมัย ไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของปัจจุบันและไม่เชื่อในศักยภาพจองคนไม่เคารพในศักดิ์ศรีของคน</p><p>B says:ประเด็นเหล่านี้ละเอียดอ่อนครับ</p><p>A says:ใช่ค่ะ</p><p>A says:ก็คงจะไม่ง่ายนัก</p><p>B says:ไม่ง่ายและก็ไม่ยากนะครับมันมีจุดคลิ้ก</p><p>B says:ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถเดินเข้าสู่โลกของชาวบ้านได้แค่ไหน</p><p>A says:หากเราสามารถหาความพอดี ตรงนั้นได้ก็น่าจะดี</p><p>B says:ครับใช่ครับ นักพัฒนา หากมองแบบ Bird eye view  ก็จะดีครับ ทำใจให้ใหญ่ให้ใจกว้าง</p><p>B says:ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ให้ถ่องแท้ครับ ก่อนตัดสินสรุปตัดสินใจ</p><p>B says:การด่วนสรุปทำให้เกิดอคติในใจ นำไปสู่ความขัดแย้งในตัวคนทำงานด้วย นำไปสู่ความขัดเเย้งระดับบุคคล และชุมชนในที่สุด</p><p>A says:แต่บางที ปรากฏการณ์ ต่างๆก็ขึ้นอยุ่กับมุมมองชองแต่ละคน ซึ่งหากแตกต่างกันตั้งแต่แรก ก็คงจะหาจุดคลิกนั้นไม่ได้หรือเปล่าค่ะ</p><p>B says:ไม่แปลกครับเรื่อง มุมมองที่ต่าง  แต่เราต้องทำความเข้าใจร่วมกันกับชุมชน แลกเปลี่ยนกันเพื่อจุดเป้าหมายว่าเราทำเพื่ออะไร</p><p>B says:สำหรับมุมมองต่างอยู่แล้ว ผมถึงบอกต้องใช้เวลาครับ ยากก็ช่วงแรกในการทำงาน ต่อไปหากคลิ๊กลงตัวก็ง่ายครับ</p><p>A says:อยากจะคุยต่อ แต่ไม่อยากรบกวนเวลาคุณมากไปกว่านี้ ขอบคุณมากนะคะ</p><p>B says:ยินดีครับ หากมีประเด็นก็สามารถเขียนผ่านอีเมลล์ผมได้ ผมตอบในฐานะที่ทำงานชุมชนมาครับ ประสบการณ์ของผมครับ</p><p>B says:แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เลย หรือตั้งประเด็นในบันทึกผมที่ Gotoknow ได้ครับ ผมก็เข้าไปตอบได้ ตรงนั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับท่านอื่นๆด้วย</p><p>A says:ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ</p><p>B says: ขอบคุณครับ</p><p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"><hr></p> <h3 style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal">ผมกับนักพัฒนานิรนามคนนั้นได้สิ้นสุดการพูดคุยผ่าน MSN ในตอนดึก และผมคิดว่าประเด็นการพูดคุย แม้เป็นประเด็นเล็กๆ แต่คิดว่าหากนำมาแลกเปลี่ยนใน Gotoknow น่าจะเกิดประโยชน์ และได้ต่อยอดทางความคิดผ่านนักพัฒนาที่หลากหลายในโลกเสมือนแห่งนี้ได้</h3> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"> </p> <h3 style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal">ก่อนปิดบันทึกผมได้อ่านเอกสารที่พี่ชายส่งมาให้ เป็นการสรุปบรรยายของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ท่านได้มาบรรยายที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผมขอหยิบบางส่วนที่เกี่ยวกับ "เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา"มาประกอบบันทึกดังนี้ครับ</h3> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา</p>   <ul>

  • เข้าใจ คือ เข้าใจสังคม ภูมิประเทศ เข้าใจคน เข้าใจปัญญา มันเกิดขึ้นได้อย่างไร นอกจากพยายามเข้าใจ เขา แล้วต้องมีกระบวนการอย่างไร ให้เขาเข้าใจเราด้วย จะชนะต้อง เขา เข้าใจ เรา ด้วยและ เรา เข้าใจ เขา ด้วย
  • เข้าถึง คือ แล้ว เขา เคยเดินเข้ามาหา เรา บ้างหรือไม่หรือหนีไปเรื่อยๆ ต้องทำให้ เขา อยากเข้าถึง เรา ด้วย
  • พัฒนา  การแก้ปัญหาต้องใช้อาวุธทางปัญญา ดังนั้น  พัฒนา คือการตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่ายไม่ใช่การยัดเยียด
  • </ul> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal" align="right">จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร</p> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal" align="right">เชียงใหม่</p> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal" align="right">๘ ก.ย.๕๐</p> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0pt 0.9pt 0pt 13.85pt; tab-stops: 36.0pt" class="MsoNormal"> </p></span>

    หมายเลขบันทึก: 126617เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (17)
    • สวัสดีครับ 
    • ตรง เข้าใจ นี่ครับ
    • ในภาษาไทยคำคำนี้เป็นภาษาภาพพจน์  ช่างดีเสียนี่กระไร 
    • ดีกว่า understand เป็นไหนๆ
    • ในงานพัฒนาชุมชน  เริ่มตรงที่ เข้าใจแล้วประตูบานอื่นๆจะเปิดต่อไปอีกมากมาย
    • มีอีกคำที่ใกล้กันคือ เข้าใจผิดต้องระวัง  คุณก็จะอยู่วังวนแห่งปัญหาอีกมากมายเช่นกัน
    • ขอให้พ้นจากความเป็นอื่นนะครับ

    สวัสดีครับ พี่ 

    P
     TAFS

    ดีใจมากครับที่พี่มาทักทายผมเป็นคนแรก ...

    งานพัฒนาชุมชนเป็นศาสตร์และศิลปะที่ต้องทำความเข้าใจ และใช้เวลา เป็นการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง ด้วยทุกอย่างเป็นพลวัต เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นความรู้เดิม บวกประสบการณ์จึงจำเป็นต้องพัฒนาไปพร้อมๆกันด้วย

    ท่าน ดร.สุเมธ ได้บรรยายไว้ตอนหนึ่งถึง อุบาย ในการพัฒนาเป็นกรณีศึกษาอย่างน่าสนใจว่า

    "พระครูรูปหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่เคยถามผมว่า จะทำอย่างไรให้เด็กเข้าวัด ผมถามว่าเด็กชอบอะไร พระครูตอบว่าชอบเล่นเกมส์ ผมเลยเสนอว่า ถ้าอย่างนั้นผมกับเพื่อนๆจะช่วยกันขอบริจาค Computer ให้วัดสัก 10 เครื่องตั้งไว้ที่ใต้กุฏิของท่านพระครู แล้วใส่โปรแกรมเกมส์ที่สนุกและสามารถเป็นคติสอนใจได้อีกด้วย ปรากฏว่าในแต่ละวันมีเด็กๆมารอคิวเล่นเกมส์กันเป็นจำนวนมาก  ขณะที่เด็กมาคิวเล่นเกมส์ท่านพระครูก็ชวนให้เด็กที่รอมาทำกิจกรรมอื่นๆที่สร้างสรรค์หรือไม่ท่านก็เทศน์สอนเรื่องต่างๆให้เด็กฟังไปพรางๆก่อนไปก่อน    เห็นหรือไม่ครับ การสอนในปัจจุบันเราต้องมีอุบาย ผิดหรือถูกอย่าไปติดกับมัน เราดูว่าดีหรือไม่ดีก็พอ ถ้าทำแล้วดีขึ้นกว่าเดิมก็แสดงว่าเดินมาถูกทางแล้วครับ"

     

    ดังนั้น "การรู้รอบ" และ "อุบาย" ที่แยบยลเป็นคุณสมบัติอีกอย่างที่สำคัญ ของนักพัฒนา

    ขอบคุณครับ

    สวัสดีค่ะ

     ทำงานชุมชนเหมือนกัน ด้านสุขภาพ ขอเพิ่มเติมอีกนิด และย้ำว่าสำคัญ ว่า ทำอะไร อย่างให้ฝืนวิถีชีวิตเขา จึงจะได้ผลอันดับแรกเลยค่ะ  ขอบคุณค่ะ

    สวัสดีครับ คุณ

    P

    ยินดีครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็นที่เสนอแนะมา ก็ตรงกับที่ ดร.สุเมธ ท่านได้บรรยายเอาไว้ตอนหนึ่งเช่นกันครับ

    "ยึดถือสภาพจริงของ ภูมิประเทศ ในด้านภูมิศาสตร์ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และด้าน สังคมวิทยาที่เกี่ยวกับนิสัยใจคอ ภูมิปัญญา ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณีของคนในพื้นที่พัฒนาเป็นหลักในการพัฒนา   เราต้องให้ความเคารพกับ ภูมิ” อย่าฝืน “ภูมิ ความสำเร็จในอเมริกานำกลับมาใช้ในประเทศเราได้เฉพาะบางเรื่องเท่านั้นเพราะ ภูมิ ต่างกัน          ความล้มเหลว ก็เพราะคิดอะไรได้ก็เอามาใช้เหมือนกันหมดทั้งประเทศ บางแห่งถ้าภูมิเอื้อก็สำเร็จ บางแห่งภูมิไม่เอื้อก็ไม่สำเร็จ เช่น การปลูกปล์าม ซึ่งเป็นพืชน้ำมัน เป็นพืช ฝนแปด แดดสี่ ถ้าภูมิเป็นแบบนี้ก็เข้าล๊อคปล์ามเลย ปลูกไปก็ได้ผลผลิตดี          ถ้าอยู่แบบฝืน “ภูมิ” ไม่รอดเช่น ปลูกบ้านสไตล์ทรงสเปนในภาคกลางซึ่งเป็นลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นพื้นที่อู่ข้าว อู่น้ำ น้ำจึงมาก ชาวบ้านพอหน้าน้ำมาเขาก็จะรู้กันว่าต้องขนของหนีน้ำ จึงปลูกบ้านเรือนสูง ฉนั้นอย่าได้สู้กับธรรมชาติเป็นอันขาด ต้องเคารพและปรับตัว

              นอกจากการเคารพภูมิประเทศแล้ว ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆก็คือ “คน” จึงทรงให้เคารพ คน ด้วย เพราะมนุษย์ คือ ผู้สร้างและผู้ทำลายไปพร้อมๆกัน คนเหนือไม่เหมือนคนใต้ คนเมืองไม่เหมืนคนดอย การตัดสินใจไม่เหมือนกัน"

    ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

     

     

    สวัสดีครับ

    ทำอย่างไร ถึงจะได้ใจชุมชน ชวนคิดมากครับ

    ผมเคยได้รับคำแนะนำจากนักพัฒนาท่านหนึ่งว่า คุณจะพัฒนาชุมชนโซ่คุณต้องเป็นเจ้าจ้ำของโซ่ให้ได้ก่อน

    ด้วยการเรียนรู้ ประเพณี ความเชื่อ ภาษา และทุกบริบทที่มีในชุมชน

    ทุกวันนี้พี่น้องยกให้ผมเป็นหัวหน้าเผ่าโซ่ดงหลวงแล้วครับ

    ไว้มีโอกาสช่วยมาวิเคราะห์ สังเคราะห์กันที่เฮฮาศาสตร์ 3 นะครับ

    มาเยี่ยม และมาร่วมเรียนรู้ค่ะ

    ทำงานชุมชนให้สำเร็จนั้น อยู่ที่การเปิดใจของนักพัฒนา และถามตัวเองว่า  "เราต้องการให้พวกเขาดีขั้นหรือไม่??"

    สวัสดีครับ น้อง เอกและ น้อง กรรณิการ์ วิศิษฏ์โชติอังกูร

    • สงสัยเป็นพี่น้องกัน นะ ยินดีรู้จักครับ
    • การพัฒนาชนบทเราต้องเอาหลักการ ทฤษฎีเป็นเครื่องนำทาง แล้วใช้ทักษะ ประสบการณ์ ความจริงใจ และ ฯลฯ สร้างผลสะเทือนทางอารมณ์ จิตใจ สำนึกของเขา โดยผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่ากิจกรรม สารพัดกิจกรรม หรือแม้เพียงคำพูด บางคนก็ปิ๊งแล้ว
    • ด้วยวิธีเดียวกัน คนเป้าหมายสิบคนก็ได้รับความสะเทือนที่ต่างกัน นี่แหละศาสตร์และศิลป์ที่เอกกล่าว
    • นักพัฒนาต้องมองสื่อที่ใช้และผลที่เกิดตลอดเวลาเพื่อปรับปรุงสื่อและกระบวนการ วิธีการ ฯลฯ ให้สาระเข้าถึงเขาแล้วสร้างผลสะเทือนให้ได้  แน่นอนต้องฟังเขา ให้เวลากับเขา ยอมรับเขา แม้จะพูดผิดๆ แสดงทัศนผิดๆก็ตาม
    • เอาเวลามาช่วย
    • นี่ไงเอก ที่ระบบราชการทำงานพัฒนาในแนวทางนี้ไม่ได้ เพราะระเบียบราชการไม่เอื้อ แม้ว่าเจ้าหน้าที่ราชการท่านนั้นจะเจ๋งที่สุด แต่เงื่อนไข กรอบของระบบราชการไม่เอื้อต่องานพัฒนาที่ลงลึกอย่างนี้
    • ระบบราชการทำได้ระดับหนึ่งเท่านั้น
    • แต่จะให้ครบตามแนวทาง "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ตามที่พระองค์ท่านพระราชทานมานั้น ดูจะยาก เพราะ การเข้าใจ เข้าถึง พัฒนานั้น ต้องคลุกคลีมากกว่า 8.30-16.30 จันทร์ถึงศุกร์ เข้าพื้นที่ต้องมีเบี้ยเลี้ยง หากไม่มีงบประมาณน้ำมันรถก็ไม่ได้เข้า แค่นี้ก็เป็นอุปสรรคแล้ว มิใยจะกล่าวถึงระบบคิด
    • พูดมากไป แต่พี่ไม่ได้ปฏิเสธระบบนะครับ เพียงเห็นว่าระบบเป็นอย่างไรต่องานพัฒนาชนบท
    • นี่คือประเด็นใหญ่ของการพัฒนาชนบทโดยระบบราชการ แล้วจะทำไง ..ถกกัน..
    • เอ้าพักผ่อนซะเอก ขอชมน้องสาวน่ารักนะครับ
    • สวัสดีครับ
    • แม้ผมจะทำงานชุมชนเพียงนิดเดียว แต่ก็พอที่จะแลกเปลี่ยนได้ดังนี้ครับ
    • คนเหมือนกัน อย่าเข้าใจว่า เขารู้ไม่ทัน ดังนั้น นักพัฒนาที่เข้าไปเพื่อฉกฉวยโอกาส จะไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากชาวบ้าน หากได้รับการตอบรับก็เป็นแบบ "ยินดีครับ" แต่ไม่ยืด
    • ชุมชนมีความรู้ความสามารถมากเกินจะประมาณ การเข้าไปโดยเราไม่รู้นั้นเป็นการดี ให้เหมือนกับชาวบ้านเป็นครูของเรา ให้เกียรติเขา (อันที่จริงเราก็เป็นชาวบ้าน ไม่ใช่เทวดา อย่าเข้าใจว่าทฤษฏีที่เราเรียนนั้นถูกต้องที่สุด ไม่มีอะไรที่จะโต้แย้งได้)
    • จงเข้าไปหมู่บ้านเพื่อให้ ไม่ใช่เพื่อให้ได้อะไรกลับคืน
    • ผมเห็นด้วย เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความน่าไว้วางใจ
    • กรณีที่เจอชาวบ้าน (บางคน ในบางบริบท) ที่เจ้าถ้อยหมอความ พึงควบคุมอารมณ์ให้เห็นคุณค่าในความดีงามที่ซ่อนอยู่ในตัวเขา
    • เข้าไปในหมู่บ้านที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน คงต้องอาศัยตัวแทนชุมชน ปราชญ์ชุมชน หัวหน้าหมู่บ้านนั้นเอง (อันนี้ อาจารย์ที่ทำงานชุมชนให้ความคิดมา)
    • เหลาจื้อบอกว่า "ความอ่อนน้อมถ่อมตน จะกลายเป็นผู้นำโลก"
    • เมื่อเข้าไปสู่ชุมชนแล้ว เราจะรู้ว่า ชาวบ้านมีเสน่ห์เพียงใด ..... นั้นคือความประทับใจมิรู้ลืม
    • ขอบคุณครับสำหรับเช้านี้
    • สบายดีนะครับ อ.เอก
    • อีกนิดครับ "ติดใจ" :-)
    • ขออนุญาตแลกเปลี่ยนกับ อาจารย์กรรณิการ์ ครับ :-) น่าจะประมาณนี้มากกว่าไหมครับ "ชาวบ้านต้องการจะพัฒนาตัวเองให้ดีกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่" หรือ "พวกเขาต้องการจะให้พวกเขาดีขึ้นหรือไม่"
    • แต่ก็นั่นแหละครับ "ดีอย่างไร" ดีอย่างที่เราคิดหรือดีอย่างที่ชาวบ้านคิด
    • หรือว่า ดีอย่างที่ไม่มีเราไม่มีเขาคิด
    • ขอบคุณครับ :-)

    เคยโชคร้ายได้เจอ...

    นักพัฒนาฉบับ KPI

    ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเพื่อใคร ไม่แน่ชัด

    ขอให้ทำแล้วได้ตามกำหนด...

    โถ...ประเทศไทย

    ---^.^---

    หวังว่านักพัฒนาประเภทนี้คงสูญพันธุ์ไปแล้วนะคะ

    สวัสดีครับคุณหัวหน้าเผ่า 

    P

    "เจ้าจ้ำ" คืออะไรครับ เจ้าหัวใจ หรือเปล่าครับ

    การที่เราเข้าใจโลกของชุมชนเป็นเรื่องสำคัญครับ ผมมองว่าหากเราเป็นคนนอกขั้นตอนนี้ยากและใช้เวลา หากเป็นคนในอยู่แล้วก็ได้เปรียบ

    ยินดีที่ได้รู้จักครับ ....

    ที่เฮฮาศาสตร์ ๓ คงได้คุยกันมันส์แน่ๆเลยครับ

     

     

    สวัสดีครับ น้องกรรณิการ์

    P

    ขอบคุณที่มาร่วมเติมเต็ม...เรียนรู้ร่วมกันต่อไปครับ และเห็นด้วยว่า สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ "การเปิดใจ" ของนักพัฒนาครับ

    สวัสดีครับพี่บางทราย

    P
    • ผมกับน้องกรรณกรรณิการ์ วิศิษฏ์โชติอังกูร เป็นพี่น้องกันครับ
    • เรื่องการพัฒนาชุมชนผมต้องขอ tacit K. จากพี่บางทรายครับ เฮฮาศาสตร์ ๓ น่าจะได้พูดคุยกันเจาะลึกครับ
    • ผมเคยอยู่ในระบบราชการมาแล้ว ช่วงหลังระบบราชการเองให้ความสำคัญกับชุมชนมากขึ้น แต่การทำงานที่ไม่ต่อเนื่องเป็นจุดอ่อนครับ
    • ผมทำงานวิจัยประเด็น "ยาเสพติด" ได้บทเรียนมากมาย เห็นปรากฏการณ์ยังไม่พอ ต้องเข้าใจปรากฏการณ์นั้นด้วย การทำงานจึงสำเร็จ
    • บทเรียนเรื่องการทำงานเกี่ยวกับยาเสพติด ผมได้เขียนเป็นหนังสือขนาดพ๊อกเกตบุ๊ค "กระบวนการเรียนรู้ สู่ชุมชนสีขาว" และจะออกจากโรงพิมพ์ในปลายกันยายนนี้ครับ โดยมี สกว.เป็นผู้ให้การสนับสนุน
    • ขอบคุณพี่บางทรายมากครับ ที่มาเสิรมต่อประเด็นให้สวยงาม

    สวัสดีครับ อ.เอก

    P
    • ผมสบายดีครับ การงานอาจชุก เมื่อไม่กี่วันก่อนขับรถผ่านมหาวิทยาลัยวไลยลงกรณ์ แล้วก็คิดถึงครับ
    • ประสบการณ์การทำงานชุมชนผมมีส่วนหนึ่งครับ ที่นานที่สุดคือฝังตัวในหมู่บ้านเดียวเกือย ๑๐ ปี ตกนั้นเองเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญมากของผมครับ
    • การอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของนักพัฒนาครับ และทุกคนครับ
    • และทุกอย่างต้องอาศัย"เวลา" อย่าใจร้อน

    ประเด็นที่แลกเปลี่ยนกับน้อง กรรณิการ์นั้น

    ผมมองว่า ชาวบ้านล้วนแต่ต้องการให้ชุมชนตนเองดีขึ้น แต่ที่ผมเห็นคือนักวิชาการไปเอาผลประโยชน์กับชุมชน โดยไม่สนใจความรู้สึกของชุมชน กรณีนี้เจอเยอะเลยครับผม

    • อาจารย์เอกสบายดีเช่นกันนะครับ

     

    สวัสดีครับ น้องพิมพ์

    P

    ประสบการณ์ที่น้องพิมพ์ไปพบเจอนั้น(นักพัฒนาฉบับ KPI) ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีครับ หากผสานกับงานพัฒนาที่สนใจจิตวิทยาชุมชนที่ลงตัว

    หากเรามองในมุมของชุมชนนักพัฒนาที่เข้าใจ จริงใจจะได้รับการยอมรับ นอกจากงานจะสำเร็จแล้ว ยังยั่งยืนอีก

    .....

    สบายดีนะครับ

    สวัสดีค่ะ...สมาชิกแวะมาทักทายและขอแสดงความคิดเห็นสักหน่อยค่ะ

    ทำอย่างไรถึงจะได้ใจชุมชน   กระบวนทำงานกับชาวบ้านในพื้นที่เป้าหมายก็เปรียบเหมือนกับกระบวนการต้มไก่(หัวเราะ) ขอถามว่าถ้าคุณจะต้มไก่คุณต้องเริ่มทำอะไรก่อน...??? (เดี๋ยวจะบอกให้ทีหลังค่ะ)และถ้าคุณทำต้มไก่ได้คุณก็ได้ใจชาวบ้านแน่นอน

    ตามประสบการณ์                                         "ปรับทุกข์  ผูกมิตร  เกาะติด  จัดตั้ง"

    * ปรับทุกข์ คือ การพูดคุยถึงสภาพพื้นที่การทำงาน ประเด็นงาน

    *ผูกมิตร คือ สร้างความสัมพันธ์

    *เกาะติดคือการเข้าถึง/เข้าใจสภาพชาวบ้านทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

    *จัดตั้ง คือ การสร้างกระบวนการคิด สร้างแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม/องค์กร

     

    สวัสดีครับ คุณ 

    P

    ชอบใจมากครับกับ โมเดลต้มไก่ 

    และ  "ปรับทุกข์  ผูกมิตร  เกาะติด  จัดตั้ง"

    และยินดีต้อนรับมิตรที่จะแลกเปลี่ยนกันในโอกาสต่อๆไปครับ

    ถือโอกาสขอนำข้อเติมเต็มไปปรับใช้และถ่ายทอดครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท