เหนือ...กว่า...แอ๊ด คาราบาว


 

มนัส  โอภากุล บุคคลผู้มีผลงานดีเด่น..ของจังหวัดสุพรรณบุรี ”

           ถ้าเอ่ยชื่อ แอ๊ด คาราบาว ทุกท่านต้องรู้จักกันดี เพราะเป็นศิลปินเพลงที่มีชื่อเสียง มีความรู้ ความสามารถ และมีความคิดเป็นตัวของตัวเอง แต่จะรู้ไหมว่าคุณสมบัติอันน่านิยมของแอ๊ด คาราบาว นั้นกำเนิดจากบิดาของเขา ผู้เป็นนักปราชญ์ที่ชาวสุพรรณบุรียกย่อง ท่านคือ อาจารย์มนัส โอภากุล


           อาจารย์มนัส โอภากุล เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2457 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี สมรสกับนางจงจินโอภากุล มีบุตรชายฝาแฝดที่คนไทยรู้จักดีคือ นายยิ่งยง โอภากุล และนายยืนยง โอภากุล
 ที่อยู่ปัจจุบัน(ข้อมูลปี 2540) คือร้านมนัสพาณิชย์ 770 ตลาดทรัพย์สินซอย 4 อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี
 

          อาจารย์มนัส โอภากุล จบการศึกษาจากโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย เมื่อ ปี 2469 เริ่มเข้ารับราชการครูที่โรงเรียนวัดสุวรรณภูมิ ระหว่างปี พ.ศ.2478-2483 หลังจากนั้นท่านได้มาเป็นเลขานุการและผู้ช่วย
ผู้จัดการบริษัทสุพรรณบุรี จังหวัดพาณิชย์ จำกัด ระหว่างปี พ.ศ.2484-2487 ปัจจุบันเปิดร้านค้าเป็นของตนเอง ชื่อร้านมนัสพาณิชย์ ขายเครื่องดนตรีและเครื่องกีฬา

 

           อาจารย์มนัส โอภากุล มีความสนใจและรักในการศึกษาค้นคว้าทางด้านโบราณคดี โดยท่านได้ศึกษาเกี่ยวกับโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆในจังหวัดสุพรรณบุรี จนมีความรู้อย่างละเอียดและแตกฉาน ท่านได้รวบรวมหลักฐานต่างๆทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมทั้งนำไปเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษา จนเป็นที่ยอมรับไปทั่วและได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัตถุโบราณในจังหวัดสุพรรณ โดยเฉพาะความรู้ความสามารถทางด้านพระพุทธรูป ที่มีในจังหวัดสุพรรณบุรี ท่านได้ใช้ประสบการณ์ตรงของท่านเขียนหนังสือชื่อ “พระผงสุพรรณ”และ”ประวัติพระเมืองสุพรรณ” นับเป็นหนังสือที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง นอกจากนี้ท่านยังได้เขียนเรื่องราวทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์เผยแพร่ในวารสารและเอกสารต่างๆอีกมากมาย ในด้านสื่อมวลชนปัจจุบันท่านเป็นผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อ “หนังสือพิมพ์คนสุพรรณ”
 นอกจากนั้นท่านยังมีความสามารถทางด้านดนตรี เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ วงดนตรีสากลวงแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี โดยในปี พ.ศ.2480 ได้ตั้งวงดนตรีขึ้นในนามของวงดนตรีโรงเรียนเทศบาลวัดปราสาททอง แล้วเปลี่ยนเป็นชื่อวง “มนัสและสหาย” ต่อมาในปี พ.ศ.2503 วงดนตรีนี้ได้เข้าสังกัดสมาคมชาวสุพรรณ จึงได้ชื่อว่าวง “ช.พ.ส.” และได้รับเกียรติอันยิ่งใหญ่ให้แสดงหน้าพระที่นั่งในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาจังหวัดสุพรรณบุรี

 

         ในด้านการทำงานเพื่อสังคม นอกจากด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี สื่อมวลชนและดนตรีแล้ว ท่านยังได้ร่วมเป็นคณะกรรมการอำนวยการและให้ความช่วยเหลือสมาคมชาวสุพรรณมาโดยตลอด นับแต่ปี พ.ศ.2493 เป็นต้นมา นอกจากนี้ชื่อของท่านมักจะปรากฏอยู่ในคณะกรรมการหรือองค์กรเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมของจังหวัดสุพรรณบุรีอยู่เสมอด้วยความรู้ ความสามารถ ความคิดริเริ่ม ความเสียสละเพื่อส่วนรวมอีกทั้งความเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม อาจารย์มนัส โอภากุล จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นของจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ ปี พ.ศ.2539

คำสำคัญ (Tags): #ภูมิปัญญา
หมายเลขบันทึก: 108214เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

มาเยี่ยม...

ขอชื่นชมคนดีศรีสุพรรณด้วยนะครับ

  • ขอบคุณ ดร.อุทัยมากครับ มาเยี่ยมตั้งแต่เช้าทีเดียว
  • วันนี้จะมีกลอนเพราะๆไหมครับ
อาศัยแผ่นดิน ข้าว น้ำ ฯลฯ สุพรรณมากว่า 30 ปี แต่ยังไม่รู้ประวัติของ อ.มนัส ขอบคุณ อ.พิสูจน์ ที่รวบรวมข้อมูลมา หวังว่าคงจะมีประวัติบุคคลสำคัญท่านอื่นอีกนะครับ

สวัสดีค่ะ อ.พิสูจน์

อันนี้ยอมรับจริงๆว่า อาจารย์มนัส เหนือกว่า แอ๊ด คาราบาว จริงๆ ^ ^

ขอแสดงความชื่นชมด้วยค่ะ

อ่านแล้วชื่นชมด้วยค่ะ

อยากทราบว่าท่านมีส่วนร่วมในการเขียนเพลงให้คุณแอ๊ดด้วยหรือเปล่าคะ..

หนูก็พึ่งรู้นะเนี่ย   ว่าคุณพ่อของคุณแอ๊ด คาราบาว  จะสุดยอดขนาดนี้   
  • ขอขอบคุณท่าน นิวัฒน์ แวะมาเยี่ยมเยียนผม แล้วผมจะพยายามนำเรื่องราวบุคคลที่น่าสนใจ
  • มาเล่าสู่กันฟังต่อๆไปครับ
  • ขอบคุณ ดร.กมลวัลย์ครับ หลายๆท่านไม่ค่อยทราบว่า คุณพ่อของคุณแอ๊ด เก่งมาก คุณแอ๊ดได้สายเลือดทางดนตรีมาจากคุณพ่อแน่ๆ
  • นี่แหละเขาเรียกลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
  • น้องจิล่ะ เป็นลูกไม้แบบไหน
  • ขอบคุณคุณจันทรรัตน์ ครับผมว่าโดยสายเลือดแห่งศิลปิน ย่อมถ่ายทอดถึงกันแน่ๆครับ
หยุดก่อน......ท่านทั้งหลาย

ท่านกำลังเดินทางไปสู่กับดักของคู่ตรงข้ามนะครับ...ไอ้กับดักตัวนี้...นอกจากไม่เสริมส่ง "ปัญญา" แล้ว ยังพอกพูน "อัตตา" ให้โตขึ้นด้วยนะครับ...

มนุษย์ส่วนใหญ่  รับรูปสรรพสิ่งได้ดี  ด้วยการนำไปเปรียบเทียบครับ...ความรู้จึงจำกัดอยู่แค่การแยกแยะว่า "เหมือนก้น" หรือ "ต่างกัน"  นี่แหละครับ  คำอธิบายของ "กับดักของคู่ตรงข้าม" หากติดอยู่ตรงนี้ "การเดินทางของมนุษย์" จะไม่ก้าวหน้าครับท่าน  จนกว่าจะก้าวออกมา

แล้วอย่างไรหละ?...การก้าวพ้นความเป็นคู่ตรงข้าม...คือการเปิดการรับรู้ให้กว้างออกไป...เห็นความเป็นหนึ่งของสรรพสิ่ง...สรรพสิ่งมีความงาม...สมบูรณ์ในตัวเอง...เมื่อรับรู้เช่นนี้ได้...ท่านจะอยู่กับปัจจุบันครับ...การอยู่กับปัจจุบันคือ "การพัฒนาที่แท้จริง" ครับท่าน

คุณแอ๊ด...ท่านก็มีความงาม...ความสมบูรณ์ในตัวเองแบบคุณแอ๊ด...บิดาคุณแอ๊ด...ท่านก็มีความงาม...ความสมบูรณ์ในตัวของท่านเอง...การนำไปเปรียบเทียบ...ขอให้เป็นเพียงภาวะการรับรู้ชั่วคราวเท่านั้นเถิด...ความเป็นคุณแอ๊ด...ความเป็นบิดาคุณแอ๊ด...ไม่ได้เป็นอิสระจากการรับรู้ของ "คุณครูพิสูจน์" เลย...แม้กระทั่งของสรรพสิ่งทั้งหลาย

...ผมเคารพในครู อาจารย์ เสมอ...แต่ผมจะไม่รอช้าที่จะเตือนสติ...แม้กระทั่งปลุกท่านเหล่านั้นให้ "ตื่น" ขึ้น ถ้าเห็นว่าท่านเหล่านั้น "กำลังติดอยู่ในความฝันลวง" อยู่ครับ
  • ขอบคุณ สำหรับแนวคิด ของคุณสวัสดิ์
  • แหมชื่อเหมือนพ่อผมเลย พ่อผมชื่อสวัสดิ์เป็นอาจารย์ใหญ่ ท่านก็เป็นคนมีความคิด กว้างไกล ลึกซึ้ง เหมือนคุณสวัสดิ์นี่แหละ
  • ท่านสอนอะไรผมไว้หลายอย่าง
  • ตอนท่านมีชีวิตอยู่ บางครั้งผมรู้สึกรำคาญว่าพ่อขี้บ่น จู้จี้
  • แต่เดี๋ยวนี้ผมซึ้งแล้วว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่พ่อสอน
  • มันมีค่าต่อผมเหลือเกิน..
  • อย่างไรก็ตามผมจะเตือนตนเสมอว่าเราเป็นปุถุชน เราต้องเรียนรู้และแก้ไขต่อไป
  • ครูอ้อยท่านย้ำบ่อยๆว่าเราต้องเป็นแก้วเปล่าหรือมีน้ำบ้างแต่ไม่เต็ม
  • ขอบคุณครับวันนี้คุณสวัสดิ์มาเติมน้ำให้ผมอีกแล้ว
  • ว่าแต่อย่าเผลอเติมเหล้าให้ผมนะครับเดี๋ยวเมาตายเลย ผมไม่ดื่มครับ
  • ขอบคุณอีกครั้งครับ
  • จริงๆแล้วผมโปรยหัวเรื่องนี้ ไม่ได้มีเจตนาจะเปรียบเทียบว่าใครเก่งกว่าใครหรอก
  • ผมสร้างจุดสนใจให้ผู้อ่านหันมาดู
  • คำว่าเหนือกว่า...หมายถึงท่านอ.มนัสเป็นพ่อ เป็นผู้อยู่เบื้องสูงควรแก่การเคารพบูชา
  • ไม่ได้บอกว่าพ่อเก่งกว่าลูกหรือลูกเก่งกว่าพ่อ
  • ถ้าท่านอ่านจบก็คงทราบว่า ชื่นชมคุณแอ๊ดด้วยซ้ำที่มีพ่อเก่ง
  • คุณแอ๊ดอาจเป็น อนุชาตบุตร หรือ อภิชาตบุตรก็ได้

สวัสดีค่ะ

อย่างนี้เรียกว่า ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้นค่ะ

 

  • ยังมีน้ำใจไมตรี เปี่ยมล้นเหมือนเดิมนะครับคุณศศินันท์ แวะมาเยี่ยมบ่อยๆ
  • ขอขอบคุณมากครับ

ต้องขอบคุณ อ.พิสูจน์  ที่ช่วยทำให้ผมได้รู้จักท่านอาจารย์มนัส  โอภากุล  มากยิ่งขึ้นเพราะสมัยที่กล้วยไม้เป็นที่นิยม  ท่านเป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทเกี่ยวกับนักนิยมกล้วยไม้ของคนสุพรรณบุรีด้วย ผมเองก็ได้รับคำแนะนำและได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมที่บ้านท่านด้วย   พวกเราชาวสุพรรณยกย่องยอมรับว่าท่านเป็นบุคคลดีเด่นของชาวสุพรรณตลอดกาลครับ

  • ขอบคุณครับ ผอ.
  • แสดงว่าผอ.มีข้อมูลเด็ดๆเกี่ยวกับ อ.มนัสที่ผมเองก็ไม่ทราบ
  • ข้อมูลที่ผมได้มาได้จากการอ่านเอกสารต่างๆไม่ได้สัมผัสโดยตรง
  • คนที่รู้จริงรู้ลึกยังมีอีกมากครับ

ชอบพี่แอ๊ดมาก ไม่คิดว่าคุณพ่อเป็นต้นแบบ เพราะพี่แอ๊ดมั่นใจในตัวเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท