ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“การทรมานข้อมูล”


“การทรมานข้อมูล” (Torture Data) ไม่ใช่การรอคอยเหมือนคนที่กำลัง In love เขาพูดกัน หากแต่ว่าเป็นการกระทำที่ให้คนอื่นเขามีความเจ็บปวด

“การทรมานข้อมูล”

<div align="right" style="text-align: center"></div>  “ การทรมานข้อมูล” (Torture Data)  เป็นคำพูดของ ผศ.ดร. กนกวรรณ   มโนรมย์ ในการบรรยายเรื่อง การเขียนบทความทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ เมื่อตอนสายของวันที่ 18 สิงหาคม 2549  ณ ห้องประชุมสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นคำพูดที่ผมประทับใจมาก เนื่องจากเราสามารถที่จะจินตนาการตามแล้วเห็นภาพ และความเจ็บปวดได้เป็นอย่างดี  จึงใคร่อยากที่จะมาเล่าสู่พี่น้องชาว KM ฟังเพื่อจักได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการความรู้ต่อไป ซึ่งผมมองว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการพัฒนาสังคมต่อไป
                “การทรมานข้อมูล” (Torture Data) การทรมานไม่ใช่การรอคอยเหมือนคนที่กำลัง In love  เขาพูดกัน หากแต่ว่าเป็นการกระทำที่ให้คนอื่นเขามีความเจ็บปวด หรือได้รับผลกระทบจากการกระทำนั้นๆ  ดังนั้น “การทรมานข้อมูล”  น่าจะหมายถึง การกระทำกับข้อมูลที่นักวิจัยได้มาจากชุมชน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นคำพูด ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ข้อมูลที่ได้จากการเขียนของคน หรือตัวแทนในชุมชน จากนั้นนักวิจัยได้นำมาเขียนหรือแต่งใหม่โดยอาจใส่ความรู้สึกของนักวิจัยเข้าไปซึ่งอาจจะทั้งตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตามแล้วทำให้ความหมาย หรือความตั้งในการที่จะสื่อความหมายตรงนั้นผิดเพี้ยนไป <div style="text-align: center"></div>
                “การไม่ทรมานแล้วมีความสุข”  ที่ผ่านมักจะได้ยินคำว่าการทรมานข้อมูลอยู่เรื่อยๆ ในรายงานการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) หรือคุณภาพ (Qualitative Research) ก็ตาม ซึ่งทำให้ไม่สบายใจทั้งนักวิจัย และชุมชนซึ่งถือว่าเป็นผู้ถูกกระทำ รวมถึงผู้อ่านผลงานวิจัย หรือที่เรียกว่าผู้บริโภคข้อมูล ดังนั้นเพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย และได้ข้อมูลที่ถูกต้อง อีกทั้งตรงกับความรู้สึกที่ชุมชนต้องการจะสื่อออกไป นักวิจัยควรที่จะนำข้อมูลที่ได้นำเสนอให้ชุมชนได้ตรวจสอบ โดยอาจจะจัดประชุม (Focus Group) ในชุมชนเพื่อให้ชุมชนได้ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนมีการเผยแพร่ หรือในบางช่วงของเอกสารที่ต้องการสื่อถึงความรู้สึกจริงๆ ของคนในชุมชนอาจจะเอาคำพูด หรือบทสัมภาษณ์ Post  ลงไปในหนังสือเลย เพื่อคนอ่านจะได้มี Feeling ตาม จะเป็นความรู้สึกที่ดีๆ ทั้งสมาชิกชุมชน นักวิจัย และผู้บริโภคข้อมูลอย่างเราๆ ใช่ไหมครับ <p>
ขอบคุณครับ
อุทัย   อันพิมพ์
18 สิงหาคม 2549</p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 45234เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2006 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
     ผมไม่แน่ใจนักนะครับว่าจะหมายถึงบันทึกที่ผมเคยเขียนไหมครับที่ (รัก) สามเส้า และวิธีการจัดการ
เรียน คุณชายขอบ เรื่องที่ผมนำเสนอนั้น ไม่ได้หมายถึงของ คุณชายขอบหรอกครับ เพราะผมยังไม่ได้อ่านเรื่อง (รัก) สามเส้าและวิธีการจัดการ ของคุณชายขอบครับ แต่ผมจะติดตามอ่านต่อไปครับ ขอบคุณครับ อุทัย

     กราบขอโทษเป็นอย่างยิ่งหากทำให้เข้าใจผิดไปขนาดนั้นนะครับ ผมหมายถึง "การทรมาณข้อมูล" ที่ว่า คล้าย ๆ กับการตรวจสอบสามเส้า ใช่ไหมครับ
     และการตรวนสอบสามเส้า ก็ไม่ใช่ของผมแต่อย่างใดครับ เป็นองค์ความรู้ที่ผมได้รับการถ่ายทอดมาอีกทีตามที่อ้างถึงไว้ในบันทึกนะครับ
     หากการสื่อสารของผมที่ให้ คห.ไว้ เป็นการสื่อสารที่ไม่ดีจนทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีได้ตามการตอบ คห.ก่อนหน้า ผมกราบขอโทษเป็นอย่างสูงจริง ๆ ครับ ผมรู้สึกเสียใจครับ

อ่านแล้วเจ้าของบันทึกนี้เหมือนไม่ค่อยแฟร์นะคุณ

แฟร์เสมอครับ และทุกเวลา และขอบอบคุณทุกท่านที่ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อผมจะได้ปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นต่อไป เกรงแต่ว่าผมจะไปทำให้คนอื่นไม่สบายใจเท่านั้น ซึ่งผมไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น และอยากให้ความรู้สึกที่ดีๆ กับทุกท่าน

ขอบคุณครับ

อุทัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท