มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ดูงาน: ชุมชนที่เสื่อมโทรมที่สุดของเมืองแวนคูเวอร์ (4)


บันทึกนี้คือตอนจบของบันทึกรวม 4 ตอนค่ะ

เขียนมาบันทึกที่ 4 เพิ่งจะมาเข้าเรื่องวันดูงาน : )

ที่ได้มีโอกาสไปดูงานเพราะมีทันตแพทย์คนนึงติดต่อหาอ.ที่ปรึกษามาว่าต้องการหาหมอฟันไปช่วย volunteer ที่คลินิก ที่เพิ่งเปิดใน DTES เป็นคลินิกที่บริการให้ฟรีสำหรับคนในชุมชน เน้นการลดความเจ็บปวดและการรักษาเบื้องต้น (เช่นการ drain หนอง, ถอนฟัน, กรอปรับการสบฟันกระแทก, อุดฟัน)

คลีนิกนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Native Health Society

ในตึกแถวชุดนี้ประกอบไปด้วย 

กลุ่มเป้าหมายตอนแรกคือ ชนเผ่าอินเดียนแดงที่อยู่แถวนี้เท่านั้น แต่ทำไปทำมาก็รับหมด ใครต้องการความช่วยเหลือเค้าก็รับไว้ในโครงการ

ดูคนที่ทำงานขยันขันแข็งกันมาก อาสาสมัครก็เป็นคนในชุมชนที่เคยได้รับการช่วยเหลือมาก่อน แล้วกลับมาช่วยคนอื่นต่อ

แต่งบประมาณจากรัฐบาลน้อยมากค่ะ ต้องขอบริจาคจากส่วนอื่นซะมาก เรื่องนี้เป็นปัญหาของการแบ่งจัดสรรองค์กรจริงๆ

ทางกระทรวงสาธาฯที่นี่ได้เงินมาจากรัฐบาลกลางปีละก้อน แล้วก็มาจัดแบ่งให้หน่วยงานที่เทียบเท่ากับสสจ. (Regional Health Authorities) ทีนี้ภายในสสจ.นี่ก็มีหน่วยงานย่อยลงไป ซึ่งหนึ่งในหน่วยงานนั้นนี่คือ aboriginal health service division

-----------------------------------------------------

สสจ. แบ่งเป็นหน่วยงานย่อย 7 หน่วยงานดังนี้ค่ะ

----------------------------------------------------- 

ทีนี้เมื่อดูจากงานของคลินิกและโปรแกรมที่ผู้เขียนไปดูมานี่มันก็น่าจะเข้าค่ายของ division อื่นด้วย แต่เนื่องจาก โครงการและคลินิกนี้ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อชนเผ่าอินเดียนแดง เงินทุนเลยถูกล๊อคว่าต้องมาจาก division สุขภาพชนเผ่าเท่านั้น

ทีนี้ปัญหาคือ ชนเผ่านี่ก็มีในหลายชุมชน อยู่ไกลๆทางเหนือของประเทศก็มี อยู่บนเกาะก็มี เงินที่ต้องไปช่วยทางนั้นก็มากอยู่ทางนี้กลายเป็นตัวสำรอง เพราะ  ทาง division เห็นว่าช่วยไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย! ได้คุยกับพยาบาลคนที่ทำงานวน กลุ่ม positive outlook บอกว่าเค้าจะไปปฏิเสธคนอื่นได้ไง ใครเข้ามาเค้าก็อยากช่วย

ตอนนี้ทางโครงการนี้เลยต้องอาศัย random act of kindness ไปค่ะ

ลองเขียน proposal ไปทาง สสจ. ทางนั้นก็บอกว่า ยูมี division ของยูแล้ว ไปติดต่อผ่านทางนั้น 

เรื่องแบบนี้ไม่เกี่ยวกับนโยบายมากเท่ากับนิสัยและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารค่ะ เพราะไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกยุค แล้วแต่คน ก็ต้องรอจังหวะกันไป เข้าให้ถูกเวลา ส่ง proposal ให้ถูกคน ถึงจะได้ทุนมา 

จบเรื่องของทางแพทย์และพยาบาลนะคะ มาเรื่องห้องฟันบ้างนะคะ 

----------------------------------------------------------------------------- 

คลินิกนี้เปิดแค่วันจันทร์กับศุกร์ค่ะ เพราะหาหมออาสาสมัครมาได้แค่นี้ โครงการนี้เริ่มมาจาก ทพ. Alex ซึ่งเป็นทพ. ที่เกษียณแล้ว เป็นคนเคร่งศาสนาคริสต์คนหนึ่ง ต้องการทำประโยชน์ให้กับสังคม เลยพยายามรวบรวมหาทุน หาพรรคพวกมาช่วยกันทำ

เมื่อปีที่แล้วเค้ารู้สึกว่าพร้อมแล้ว มีเงินบริจาคอยู่ก้อนโต มีเครื่องมือ มีเก้าอี้ที่ได้รับบริจาคมา มีหมออาสาสมัคร และ พนักงานสนับสนุนประมาณสิบกว่าคน ขาดก็แต่สถานที่ 

เค้าต้องการสถานที่ที่ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ก็หาผู้สนับสนุนไปทั่ว สสจ.ไม่มี ก็ไปองค์กรเช่น salvation army ที่มีห้องว่าง ทางนั้นก็ไม่สะดวกใจให้ห้องใช้ เพราะเค้ากลัวว่าจะมีปัญหาเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ HIV/AIDS  -_-' (หมอ Alex ผิดหวังมากกับทัศนคติของ Salvation Army)

หมอ Alex เลยลองโทรหา Native Health Society ปรากฎว่าทางนี้อ้าแขนรับอย่างอบอุ่น ก็เลยมีคลินิกบริการทางสุขภาพช่องปากมาเป็นพี่น้องรวมสมาคม Vancouver  Native Health Society ห้องฟันเพิ่งเริ่มทำการไปเมื่อเดือน พย. ที่ผ่านมานี้เองค่ะ

มีรูปมาให้ดูกันนิดหน่อยค่ะ 

 

ประตูทางเข้าห้องฟัน 

ป้ายด้านหน้าห้องฟัน

คลีนิกทั่วไปรับผู้ป่วยนอก มีหมอ 4 คน พยาบาล 2 คน

คูหาถัดไปในตึกเดียวกันคือ ห้องจ่ายยา และ   ห้องกิจกรรม Positive Outlook


เก้าอี้และอุปกรณ์ทั้งหมด ได้รับบริจาคมาจากทันตแพทย์ในเมือง และ บริษัทขายอุปกรณ์

ห้องเครื่องมือ (คงตก 5ส. ค่ะ)

 

คีมถอนฟัน

อ.ทพ. ไมเคิล, ทพ. อะเล๊กซ์ ผู้ก่อตั้งคลินิก แล้วก็ ทพ. แลรี่ ผู้จัดการจำเป็น 

คลินิกนี้จะต่างจากคลินิกปกติตรงที่

  • ไม่มีการจ่ายยาแก้ปวดก่อนการรักษา เพราะคนไข้อาจมาเอายา เพราะติดยาแก้ปวดมากกว่าจะมารับการรักษา
  • ใบสั่งยาต้องเก็บไว้ในที่ที่มีกุญแจล๊อค เพราะจะโดนขโมยได้ง่ายๆ
  • ไม่มีห้องน้ำให้คนไข้ เพราะ คนไข้จะเข้าไปฉีดยาได้
  • เน้นเรื่องการลดความเจ็บปวดเท่านั้น

นอกนั้นก็เหมือนคลินิกทั่วไปค่ะ ระบบฆ่าเชื้อ คุณภาพอุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ เหมือนคลินิกทั่วไป เพียงแต่ต้องรอรับบริจาคเท่านั้น<p>---------------------------------------------------------------------------- </p><p>ขอจบด้วยความประทับใจในความสัมพันธ์ระหว่างพยาบาล Doreen และ สมาชิกโครงการ Positive Outlook คนนึ่ง เป็นผู้หญิง อายุราวๆ 30 กว่าๆ ผอมมากๆ ดูตาลอยๆ  </p><p>ขณะที่ผู้เขียนและ อ. ไมเคิลคุยกับ พยาบาล Doreen อยู่ ผู้หญิงคนนี้เดินไปเดินมาหลายรอบ เหมือนจะหาของ แต่หาไม่เจอ Doreen ก็หยุดคุยกับเราสองคน เหมือนจะรู้ว่าผู้หญิงคนนี้รอจะคุยกับ Doreen เธอหันไปถามผู้หญิงคนนี้แค่ว่า เป็นอย่างไรบ้าง “How are you doing today?” แล้วก็ตามด้วยชื่อของผู้หญิงคนนี้ (นี่ก็เป็นอีกความประทับใจในตัว Doreenค่ะ สมาชิกกลุ่ม positive outlook นี้ มีวันละ 200 คน Doreen จำชื่อทุกคนได้หมดเลย) </p><p>ผู้หญิงคนนี้ก็ยิ้มกว้างให้ Doreen บอกว่า “ ขอบคุณมากๆ  มีบ้านนอนแล้ว“  แล้ว Doreen กับผู้หญิงคนนี้ก็กอดกันใหญ่ จากที่ตาลอยๆ เหมือนไม่ค่อยมีสติ อยู่ดีๆผู้หญิงคนนี้ก็เหมือนตื่นจากผวัง ตามีแววขึ้นมา แล้วก็ขอบคุณ Doreen ไม่หยุด Doreen พูดว่า “It’s nice to have a home on Christmas right?” ตอนนั้นผู้เขียนฉุกคิดขึ้นมาเลยค่ะ ว่าพวกเราหน่ะโชคดีแค่ไหนที่มีบ้านนอนมาตลอด!</p><p>ผู้เขียนต้องกลับไปที่คลินิกนี้อีก เพื่อเขียนเป็น กรณีศึกษา แล้วถ้ามีอะไรน่าสนใจจะมาบันทึกอีกค่ะ</p><p>----------------------------------------------------------------------------- </p><p> คลิกเพื่ออ่านบันทึกที่ 1 ได้ที่นี่ค่ะ </p><p> คลิกเพื่ออ่านบันทึกที่ 2 ได้ที่นี่ค่ะ</p><p>คลิกเพื่ออ่านบันทึกที่ 3 ได้ที่นี่ค่ะ
 </p>

หมายเลขบันทึก: 69110เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2006 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

  • ขออนุโมทนาสาธุกับท่านที่มีส่วนในโครงการอาสาสมัคร และท่านผู้บริจาคทุกท่าน...
  • สาธุ สาธุ สาธุ

อ.ทพ.ไมเคิล, ทพ.อะเล๊กซ์ ผู้ก่อตั้งคลินิก แล้วก็ ทพ.แลรี่ ผู้จัดการจำเป็น ... ดูจะเป็นคนอารมณ์ดีมากๆ เลยนะคะ แล้วเขาให้บริการครอบคลุมเรื่องทันตกรรมป้องกันด้วยหรือเปล่าคะ

หรือว่า เรื่องทันตกรรมป้องกัน นั้น มีหน่วยให้บริการอยู่แล้ว

  • ขอบคุณอ.หมอวัลลภที่เป็นผู้อ่านขาประจำนะคะ ทำให้มีกำลังใจในการเขียนบันทึกค่ะ
  • พี่หมอนนท์ค่ะ เท่าที่เห็นเนี่ยะมีทันตกรรมป้องกันค่ะแต่เป็นเชิงรับ ไม่ใช่เชิงรุก ... นอกจากทันตกรรมป้องกันโดยทั่วไปแล้ว ในเอกสารทางการของโครงการมีเขียนไว้ว่า
"We are anxious to work with the next door medical clinic in establishing a preventive programme into their Methadone program on an appointment basis - as opposed to our current walk -in basis"

แต่มัทก็ยังไม่เห็นว่าเค้าเริ่มทำไปถึงไหน ส่วนมากก็จะทำได้แค่แจกแปรงสีฟัน ยาสีฟันฟรี แล้วก็มีนัดให้มา recall ส่วนเรื่องอาหารการกินนี่ ก็ลำบากหน่อยเพราะคนไข้ไม่ค่อยมีกินกัน แถมยังติดเหล้าเมายา

อย่างไรก็ตามโครงการนี้โชคดีที่มีโครงการเพื่อนบ้านดูแลเรื่องโรคเบาหวาน  (ADAPT) แล้วก็อีกโครงการดูแลเรื่องการปลูกผักสวนครัว สอนทำกับข้าว (Community Kitchen Project) ถ้าทางทันตะขยันๆก็น่าจะมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นอีกค่ะ

แต่พูดกันตรงๆนะคะ คุณหมออาสาสมัครที่มานี้ เป็นหมอที่ประมาณว่า เป็นเจ้าของร้านในเมือง รวยแล้ว หรือ อายุมากจะเกษียณแล้ว อยากทำความดีให้สังคม (ซึ่งก็ดีค่ะ) แต่backgroundเค้าไม่ใช่หมอที่เน้นทันตกรรมป้องกัน ไม่ใช่หมอที่ทำกิจกรรมเชิงรุกหน่ะค่ะ 

ก็ต้องคอยดูกันไปค่ะ : )

เคยอ่านงานของ ส.ศ.ษ. เขาเขียนไว้ว่า เราจะไม่เข้าใจประเทศนั้นๆ ถ้าเราไม่เข้าใจคนที่ลำบากที่สุดในประเทศนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร

อ่านงานของมัทแล้วก็มองย้อนมาที่ระบบการจัดการเรียนการสอนของชุมชน มธ

พี่ว่าเราเดินทางมาถูกแล้วนะ

อย่างน้อยที่สุดนักเรียน (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหลานคนชั้นกลาง) ก็ได้เห็นความเป็นอยู่ที่คนส่วนใหญ่ในประเทศเขาอยู่กัน

ส่วนเรื่องทำโครงกงโครงการได้ประสบความสำเร็จหรือเปล่าก็เป็นอีกเรื่องนึง

อย่างน้อยก็ได้เห็นล่ะ เวลาทำงานเป็นทันตแพทย์จะมากจะน้อยก็น่าจะมีภาพเหล่านี้ flash back เข้ามาในสมองบ้าง ภาพเหล่านี้ก็น่าจะทำให้พวกเขาพยายามทำความเข้าใจคนไข้ในมิติอื่นๆ เพิ่มขึ้น

เขียนมาแบบมีความหวัง

แถมหน่อย ขอโฆษณาเรื่องที่เพิ่งเขียนใน siam_ohp ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอยู่ เพิ่งเขียนเสร็จเมื่อกี๊นี้เอง ลองแวะไปดูนะจ๊ะ

มาอนุโมทนาและสวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท