มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ดูงาน: ชุมชนที่เสื่อมโทรมที่สุดของเมืองแวนคูเวอร์ (3)


สังเกตอะไรไม๊ค่ะ โครงการเยอะ แต่มันแยกๆกันทำมากกว่าช่วยๆกันทำ บริการซ้ำๆก็มี แยกกลุ่ม target กันมากไปหน่อย ไว้พรุ่งนี้จะมาคุยลงลึกถึงการเมืองเบื้องหลังโครงการพวกนี้ค่ะ
มีโครงการทั้งภาครัฐและเอกชนมากมายมาลงที่ DTES ยกตัวอย่างดังนี้ค่ะ

          insite

         [ภาพห้องฉีดยาจาก http://www.vch.ca/sis]

  • 2 โครงกาีรแรกมีมานานสิบกว่าปีแล้วค่ะ แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันอาจจะระงับโครงการในไม่ช้า เพราะเป็นโครงการที่มีการวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด
  • ส่วนตัวคิดว่าถ้าทำควบคู่ไปกับโครงการอื่นก็ไม่น่าเป็นไร ทำให้ลดการใช้เข็มร่วมกัน ป้องกันการติดเชื้อ HIV/AIDS ได้  นอกจากให้เข็มและให้สถานที่ฉีดที่สะอาดและมีคนดูแลไม่ให้ใช้เข็มร่วมกันแล้ว เค้ายังมีการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ เรื่องการเลิกยา ให้ bleach ให้ ถุงยาง ใหข้อมูลเพิ่มเติมด้านการรักษาสุขภาพ
  • ท่านผู้อ่านคิดอย่างไรก็แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ อาจไม่ต่างอะไรมากกับกรณีการขายถุงยางตาม แหล่งสถานที่ศึกษาในบ้านเรา
  • โครงการ tradeworks training society
    ช่วยหางานและพัฒนาสมรรถภาพในการทำงาน
  • DTES Women's Centre ช่วยทุกอย่างถ้าคุณคือผู้หญิง
  • DTES comminuty kitchen project โครงการนี้ผู้เขียนชอบเป็นพิเศษ เป็นโครงการปลูกผักสวนครัว สอนทำกับข้าว ให้คนรายได้น้อย หรือ ไม่มีรายได้ มีอาหารที่มีประโยชน์กินอย่างมีศักดิ์ศรีและมีส่วนร่วม ไม่ต้องไปต่อคิวรอรับอาหารบริจาคอยู่เรื่อยไป


 ภาพจาก DECK

  • The Door is Open เป็น drop in centre ที่ให้อาหาร ผ้าห่ม เสื้อผ้า ข้อมูล และ มิตรภาพ 24 ชม. ตลอด 365 วัน
  • Pathway Information Centre เป็น "one-stop shop for people looking for help" รวมบริการช่วยเหลือแบบรวมในที่เดียว
  • Triage เน้นแก้ัีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย

ส่วนโครงการสุดท้ายที่จะแนะนำคือ

  • Vancouver Native Health Society เป็นที่ที่ผู้เขียนไปดูงานมาเมื่อวานค่ะ ในตึกแถว 4 คูหาที่มีคลินิกหมอ หมอยา หมอฟัน แล้วก็ศูนย์เฉพาะคนไข้ติดเชื้อ HIV/AIDS ซึ่งจะเขียนแยกเป็นอีกบันทึกนึงนะคะ
----------------------------------------------------------------------------

 คลิกเพื่ออ่านบันทึกที่ 1 ได้ที่นี่ค่ะ

 คลิกเพื่ออ่านบันทึกที่ 2 ได้ที่นี่ค่ะ

 คลิกเพื่ออ่านบันทึกที่ 4 ได้ที่นี่ค่ะ
 

หมายเลขบันทึก: 69108เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2006 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

  • บันทึกนี้โดดเด่นมากๆ... มีทั้งการนำเสนอปัญหา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และชี้ตัวอย่างทางออกของปัญหา พร้อมมีลิงค์เชื่อมโยงให้ศึกษาเพิ่มเติมได้

ชอบโครงงานสอนปลูกผักสวนครัว ทำกับข้าว สอนงานมากๆ ครับ... ดูจะคล้ายกับแนวเศรษฐกิจพอเพียงเลย

  • โครงงานของผู้หญิงก็ดูโดดเด่นมาก... คล้ายๆ ธนาคารกรามีนของท่านอาจารย์ยูนุสเลย... ช่วยผู้หญิงเท่านั้น 
  • ขอแสดงความชื่นชมบันทึกยอดเยี่ยมแห่งปี 2549 (ตัดสินโดยผู้อ่าน)... สาธุ สาธุ สาธุ
อูยยยยย ขอบคุณมากๆค่ะ อ. หมอวัลลภ ยิ่งคนที่ชมคืออ.หมอวัลลภยิ่งน่าชื่นใจเข้าไปใหญ่
ของขวัญวันคริสต์มาสที่ดีที่สุดเลยค่ะ : ) 
ดีจังเลยค่ะ ..โครงการปลูกผักสวนครัวและทำกับข้าว ขอให้โครงการสำเร็จด้วยความงดงามนะค่ะ

หมอมัทครับ แวะมาอ่านเพราะติดใจคนเขียน ที่หยิบเรื่องไม่น่าดูผ่านเลยไป กลับต้องมามองพิศ ความคิดของผู้คน(โดยเฉพาะคนไทย) มองสิ่งต่างๆ รอบตัว แบ่ง ดี-ไม่ดี ขาว-ดำ ตัดินพิพากษาให้เสร็จ

แต่ผู้เกี่ยวข้องในมุมมืดเช่นนี้เป็นมนูษ์ื มีชีวิต  จิตใจ ความคิด ลองมองจากมุมที่บุคคลเหล่านี้ยืน ย่อมเห็นภาพความจริงที่แตกต่าง ศาสตร์ทางมานุษยวิทยา เรียกว่า มองจากมุมมองคนใน emic view น่ะครับ

ขอบคุณค่ะ คุณรุจิตรา และ คุณหมอชาตรี

ขอโทษมากๆที่เข้ามาตอบช้านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท