Wit : Dialogue


กระบวนการเรียนรู้ที่ทดลองแล้วทดลองอีก...จนกว่าจะได้ผลจริง

ผมเปิดประเด็นเรื่อง Wit : dialogue ไว้ให้สำหรับพันธมิตรที่อยากช่วยผมคิดและความเห็นในการทดลองกระบวนการเรียนรู้แบบนี้นะครับ...

 

และจะยินดีมากถ้ามีคนที่เคยทำมาแล้วหรือจะนำไปทดลองใช้...แล้วเอาองค์ความรู้ต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน

 

เพราะผมจะใช้ Wit : Dialogue เป็นกระบวนการเรียนรู้สำหรับทดลองแล้วทดลองอีก...จนกว่าจะได้ผลจริง...

ซึ่งจะรวมถึงการปรับตามคำชี้แนะของผู้รู้หลายท่านที่ให้ความเกื้อกูลกระผมด้วยใจจริงครับ...

หมายเลขบันทึก: 74479เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
หลักสูตรกระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่ปัญญาWit : Dialogue....................................................................................................ที่มาของหลักสูตร                     จากการติดตามผลการเรียนในระบบการศึกษาปัจจุบัน พบว่า ระบบการเรียนการสอนในปัจจุบัน ยังคงมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และใช้ในการประกอบอาชีพของผู้เรียน แม้ว่านักการศึกษาจะมีความพยายามในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความถนัด/ความต้องการ ของผู้เรียนแล้วก็ตาม ระบบการศึกษาในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถตอบสนองต่อแนวคิดนี้  ทำให้ผลผลิตของบุคลากรที่ผ่านระบบการศึกษาในปัจจุบัน ยังคงเป็นระบบปิด ไม่เอื้อต่อการค้นหาความสามารถ ความถนัดอย่างแท้จริงของผู้เรียนในปัจจุบันได้                      โดยที่ระบบการศึกษาในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ใช้ตำรา ทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน องค์กร ที่จัดระบบการศึกษา ให้เป็นบทเรียนในสถานศึกษา เพื่อเป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินว่า ผ่านการเรียนรู้ตามคำถามและคำตอบที่กำหนดไว้ในแต่ละวิชา(ภาคบังคับ) ส่วนวิชาที่ถูกกำหนดให้เป็นวิชาเลือกโดยเน้นให้ผู้เรียนเลือกได้อย่างอิสระว่าต้องการเรียนรู้วิชาใด ในขั้นตอนการประเมินผลยังคงบังคับให้เลือกตอบให้ตรงตามที่ผู้สอนกำหนดไว้                    ลักษณะการเรียนรู้ในระบบเช่นนี้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีระบบวิธีคิดอยู่ในวงจำกัด  โดยระบบความคิดที่ก่อให้เกิดปัญญาถูกกระตุ้นให้ใช้ไม่เต็มศักยภาพ ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการเรียนรู้ตามธรรมชาติของคน ซึ่งมีสัญชาตญาณในการเรียนรู้อย่างไร้ขอบเขตจำกัด                    สถาบันพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จึงจัดทำหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่ปัญญา Wit : Dialogue  เป็นวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบหนึ่ง ที่มุ่งเน้นการ สร้าง ส่งเสริม พัฒนา วิธีคิดเชิงปัญญา ให้เกิดแก่ผู้เรียนมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

เจริญพร อาจารย์ขำ (5 5 5)

เข้ามาอ่านแล้วตามคำขอ อ่านแล้ว เห็นด้วยกับแนวคิดเลย....

ตัวอย่างในวัด สามเณรบางกลุ่มในวัดขี้เกียจเรียนหนังสือ สายสามัญก็ไม่เรียน สายบาลีก็ไม่เรียน ซึ่งสามเณรกลุ่มนี้ ใช่ว่าจะสมองทึบหรือโง่หนา เพราะสวดมนต์ได้ตั้งหลายๆ บท สามเณรบางรูปจำสวดมนต์ได้กว่าพระบางรูปก็มี แต่พวกเธอไม่ชอบเรียนหนังสือ....

ตอนนี้ อาตมากำลังรื้อกุฏิอยู่ สามเณรกลุ่มนี้แหละ ช่วยรื้อ พวกเธอขยัน ชอบทำงาน ...ปัญหาด้านนี้ ในสังคมวัด อาตมาเห็นมานานแล้ว ...

สรุปว่า การศึกษาไม่สามารถตอบสนองความสนใจของพวกเธอ ใช่มั้ย ? ดังนั้น ต้องใช้ Wit : Dialogue .....

เปิดประเด็นไว้ก่อน จ้า

เจริญพร 

(๑) นับเป็นความพยายามและความคิดสร้างสรรค์ที่น่าสนใจควรแก่การยกย่อง  แต่ก่อนที่จะคุยกันลึกกว่านี้  ควร "นิยาม"คำบางคำให้เข้าใจตรงกันก่อนครับคือ คำ "กระบวนการเรียนรู้"  "ปัญญา"  "กระบวนการ"  "การเรียนรู้"  คำเหล่านี้"ผู้สร้างโครงการนี้ต้องเป็นผู้ให้คำนิยาม"ครับ

(๒) คำถามอื่นๆ ที่รออยู่ข้างหน้าหลังจากชัดเจนในข้อ(๑)แล้ว นอกเหนือจากคำถามของพระคุณเจ้าแล้ว   ก็คือ  "ปัญญามีอยู่ก่อนแล้ว  เรามีหน้าที่เดินไปให้ถึงปัญญานั้น"  หรือว่า  "เรายังปัญญาเบาอยู่ เมื่อได้สนทนาอย่างปัญญาสะสมไปเรื่อยๆแล้ว  ปัญญาจะเกิด  และมีเพิ่มขึ้นๆ" ? ครับ

(๓) เราคิดวิธีสอนคนไทย  แต่  เหตุใดจึงชื่อเป็นภาษาอังกฤษครับ ?

พระอาจารย์กรุณาติติงแล้วหาข้อมูลสนับสนุนด้วยครับ...การชมอย่างเดียวอาจทำให้กระผมหลงทางได้ครับ...อิอิ 

 

ครับ...อาจารย์ไสว

1. ผมกำลังรวบรวมคำนิยามอยู่อ่ะครับ....

ได้จากพระอาจารย์ชัยวุธส่วนหนึ่ง...และหวังว่าจะได้จากอาจารย์ด้วยครับ...

2. ที่จริงแนวคิดหลักของผมเดิมคือ เชื่อว่าปัญญามีอยู่ก่อนแล้ว...หลังจากสนทนากับพระอาจารย์ชัยวุธ... ผมกลายเป็นผู้ไม่ปักใจ... เลยเชื่อว่า ปัญญามีอยู่ก่อนแล้วก็มิใช่...เกิดขึ้นภายหลังก็มิใช่.. แต่สามารถเพิ่มได้..

3. ผมหาคำไทยสั้น ๆ มิได้ครับ...

กราบนมัสการพระคุณเจ้า  กราบเรียน ดร.ไสว  และนายขำครับ

ผมเขียนบันทึกไว้ช่วงหนึ่งอาจจะมีลักษณะคล้ายกับบันทึกนี้ครับ  ตอนที่เขียนนั้นด้วยหวังว่าจะใช้เป็นเครื่องมือหาตัว "ปัญญา" กะเขาบ้าง  เหมือนกับว่า  ยิ่งแสวงหา "ปัญญา" ผมรู้สึกราวกับว่ายิ่งเดินห่างออกจากปัญญาไปเสียทุกที  ผมเลยปิดบันทึกไว้ชั่วคราว  พอดีมีโอกาสได้อ่านบันทึกของ "นายขำ" ก็เลยลองกลับมาเปิดบันทึกเดิมนี้อีกครั้ง  เพื่อให้ท่านทั้งหลายจะได้ลิ้มลองอรรถรสตามใจชอบครับ  หากไม่ถามอะไรผมเกี่ยวกับบันทึกที่ผมเขียนไว้  จักเป็นพระคุณอย่างสูงครับ  เพราะผมเพิ่งมารู้เมื่อไม่นานมานี้ว่า  "จริง ๆ แล้ว  ผมไม่รู้อะไรเลยแม้แต่นิดเดียวกับเรื่องที่ผมพยายามบอกว่าผมรู้" เป็นความสัจจริงครับ  และผมดีใจที่ผมรู้ความเป็นจริงข้อนี้  ไม่เช่นนั้น  ผมคง "มืด" ไปอีกนาน

เรียนเชิญทุกท่านอ่านและแสดงทรรศนะได้ตามสบายเลยครับ  ผมขอแค่เป็นผู้ดูอยู่ข้างเวทีก็พอแล้วครับ

ด้วยความเคารพ
สวัสดิ์  พุ้มพวง

     ความมุ่งหมายของหลักสูตร

 

                                        1.  หลักสูตรสำหรับครูผู้ใช้กระบวนการ(วิทยากรกระบวนการ)

 

                        ครูผู้ใช้กระบวนการที่ผ่านหลักสูตร Wit : Dialogue ทุกคน  จะมี ความสามารถดังต่อไปนี้

     1.1  มีทักษะพื้นฐานดังต่อไปนี้

               - ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening)

 

               - ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงลึก   (Deep Thinking)

 

               - ทักษะการถามจับใจ (Creative Question)  

 

               - ทักษะการเขียน(Mind map) และ นำเสนอ (Presentation)

 

    1.2  มีความสามารถในการจัดระดับวิธีคิด จากการนำเสนอของผู้เรียนดังนี้

                - วิธีคิดเชิงประจักษ์ (ตามเหตุ-ผล)

               - วิธีคิดเชิงบูรณาการ (ความคิดรวบยอด-Concept)

               - วิธีคิดเชิงปัญญา (ความจริงเชิงสัจจธรรม)

    1.3  มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่ปัญญา “Wit : Dialogue หรือ  สุนทรียสนทนาเพื่อปัญญา ให้แก่ผู้เรียน

 

                                        2.  หลักสูตรสำหรับนักเรียน/ผู้เรียน/ผู้ร่วมกระบวนการ (เด็กอายุ 8 - 12 ปี)

 

       ผู้เรียนที่ผ่านหลักสูตร Wit : Dialogue ทุกคน  จะมีความสามารถดังนี้  

 

    2.1  ยกระดับวิธีคิดของตนเป็นวิธีคิดเชิงปัญญา

 

    2.2  ยกระดับการแสดงความคิดเห็นของตน

 

2.3  ยกระดับการนำเสนออย่างสร้างสรรค์

 

2.4  มีพื้นฐานแห่งการ รักในความรู้/รักความฉลาด/รักการมีปัญญาสร้างสรรค์

       กลุ่มเป้าหมาย

                                        1.  ครูผู้ใช้กระบวนการ(วิทยากรกระบวนการ)   Class ละ ไม่เกิน 40 คน

 

                              1.1 ครูผู้สอนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

 

                 1.2 ครูผู้สอน/วิทยากรที่สนใจ ประสงค์ที่จะใช้กระบวนการฯ

 

                         2.  นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  (เด็กอายุ 8-12 ปี)

 

                               2.1 นักเรียนกลุ่มที่ใช้สอนสาธิต ( 6-8 คน)

                                2.2 นักเรียนที่เข้ากระบวนการกับวิทยากรผู้ผ่านการอบรม (กลุ่มละ 6-8 คน)

โยมขำ.......

รับทราบ

เจริญพร

 

คำจำกัดความ

 

* ปัญญา แปลว่า รู้ทั่ว สันสกฤต คือ ปรัชญา..ปญฺญา โลกสฺมึ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องโลก นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

...คำว่า ปัญญา เราใช้กันทั่วไป และใครๆ ก็ทราบว่า ปัญญาแปลว่าความรู้ ...

 ปัญญากับความรู้แตกต่างกันอย่างไร ...

 ปัญญา เป็น ภาษาบาลี ส่วนปรัชญาเป็นสันสกฤต ความหมายพื้นฐานก็เหมือนกัน แต่พอแปลงสัญชาติเป็นคำไทยก็มีแนวทางการใช้แตกต่างกัน...โดย ปัญญา บ่งชี้ถึงความรู้ของคน ส่วนปรัชญาบ่งชี้ถึงแนวคิดของคน ทำนองนี้ (wisdom ถูกแปลเป็นภาษาไทยว่า ปัญญา ขณะที่ ปรัชญา เป็นศัพท์ที่บัญญัติใช้แทนคำว่า philosophy )...

 

คำว่า ความรู้ ในภาษาบาลีมีเป็นสิบคำ และหลายๆ คำก็มีใช้อยู่ในภาษาไทย เช่น ปัญญา วิชชา ญาณ สัญญา วิญญาณ โกวิท พุทธิ ...หรือในธัมมจักกัปวัตตนสูตร ก็มีข้อความหนึ่งตอนหนึ่งที่มีคำซึ่งใช้ในความหมายว่า ความรู้ พ่วงติดต่อกันหลายศัพท์ ดังต่อไปนี้....

 ธัมเมสุ จักขุง อุทปาทิ ญาณัง อุทปาทิ ปัญญา อุทปาทิ วิชชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดวงตา (จักขุง) เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความสว่างไสว (อาโลโก) เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมทั้งหลาย....คำว่า ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา และความสว่างไสว เป็นศัพท์ที่ใช้ในความหมายของ ความรู้...

ปัญญา มาจากรากศัพท์คือ ญา โดยมี .ปลา เป็นอุปสัคนำหน้า (ป+ญา = ปัญญา) ...ป. อุปสัค บ่งชี้ความหมายว่า ทั่ว ข้างหน้า ก่อน ออก   ญา รากศัพท์มีความหมายว่า รู้

 

ถ้าจะแปลให้มีความหมายไพเราะและตรงประเด็นตามหลักธรรม ก็อาจแปลไปทีละความหมายของอุปสัคได้ดังต่อไปนี้...

ปัญญา คือ รู้ทั่ว หมายถึง รู้ครบถ้วนกระบวนความ มิใช่รู้เพียงบางส่วน

ปัญญา คือ รู้(ไป)ข้างหน้า หมายถึง รู้เพื่อการพัฒนาไปสู่ความเจริญก้าวหน้า

ปัญญา คือ รู้ก่อน หมายถึง รู้ก่อนที่จะต้องกระทำ ถ้าไม่รู้ก่อนไปกระทำลงไปก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้....

ปัญญา คือ รู้ออก หมายถึง รู้เพื่อสลัดออกไปจากทุกข์ ออกไปจากการเวียนว่ายตายเกิด ....

ปัญญา ตามความหมายของหลักสูตรนี้ หมายถึง  ความฉลาดรอบรู้มุ่งสู่สัจจธรรม
* พระมหาชัยวุธ  ฐานุตฺตโม  พธบ. เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง สาขาปรัชญา (๒๕๓๘)อาจารย์ประจำหน่วยวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา

โยมขำ...

เอามาอ้างอิง (รู้สึกเขิน)

อันที่จริง ใส่แต่เพียงชื่อก็ได้ วุฒิการศึกษาไม่ต้องใส่ แต่ถ้าใส่ก็ควรใส่ ป.ธ.๗ และ  ศศม. (ปรัชญา) ไปด้วย...

แต่ที่สำคัญก็คือ ป.ธ.๗ เพราะเป็นการยืนยันว่ามีพูมรู้ด้านภาษาบาลี ส่วนปรัชญาไม่จำเป็น...

เห็นด้วยมั้ย คุณโยม

เจริญพร

ในเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่จริงจะมีทั้งหมดครับพระอาจารย์....555

 

ระหว่างที่ผมกำลังเขียนหัวข้ออื่นอื่น...พระอาจารย์ยังเหลือการแปลความหมายอีกหลายคำครับ....อิอิ

กระบวนการ....

เรียนรู้....

รวม กระบวนการเรียนรู้....

สุนทรีย์......

สนทนา....

รวม สุนทรียสนทนา...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท