เวิร์คช็อปเครือข่ายครูนครสวรรค์พัฒนาการเรียนรู้อิงถิ่นฐานอย่างบูรณาการ


ผมได้ยกร่างกำหนดการเวิร์คช็อปสำหรับเครือข่ายครูพัฒนาการเรียนรู้อิงถิ่นฐานและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้สร้างสุขภาวะชุมชน ของเครือข่ายครูโรงเรียนในฝัน จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งโรงเรียนหนองบัว ในนามของ ศูนย์วัฒนธรรมภูมิปัญญาเพื่อการเรียนรู้อิงถิ่นฐาน  นครสวรรค์ จะจัดขึ้น สำหรับเวทีคนหนองบัวและท่านที่เกี่ยวข้อง คลิ๊กเข้าไปดูรายละเอียดและเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขได้เลยครับ

กระยาสารท สารทเดือน ๑๐ : ความเป็มชุมชนบนอาหาร
สุขภาวะจิตวิญญาณ และอีกพื้นฐานความสามัคคีคนหนองบัว

สื่อภาพและเรื่องราววิถีชีวิตชุมชน
จากเวทีเรียนรู้ชุมชนออนไลน์ 'เวทีคนหนองบัว'

................................................................................................................................................................

 

เวทีปฏิบัติการเครือข่ายครูพัฒนาการเรียนรู้อิงถิ่นฐาน

 (อยู่ในระหว่างรวบรวมความคิดและข้อเสนอแนะ จะมีการปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไปอีก)

การเรียนรู้ชุมชนและพัฒนาเครือข่ายสื่อออนไลน์
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อิงถิ่นฐานและสร้างสุขภาวะสังคม

ณ โรงเรียนหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
วันจันทร์ ที่ ๒๕– พฤหัสบดี ที่ ๒๖  กรกฎาคม  ๒๕๕๔

โดย  
ศูนย์วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้อิงถิ่นฐาน
เครือข่ายโรงเรียนในฝัน จังหวัดนครสวรรค์

....................................................................................................................................................................

โดยความร่วมมือ 
สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์, โรงเรียนหนองบัว, ชาวบ้านหนองบัว, กลุ่มนักวิจัยชุมชน มหาวิทยาลัยมหิดล, 
ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์  
เว็บบล๊อกเวทีคนหนองบัว, เครือข่ายบล๊อกเกอร์จิตอาสา, และ gotoknow.org

ฉบับร่างครั้งที่ ๑ กำหนดการเพื่อระดมความคิด คลิ๊กที่นี่ http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/735/592/original_Nong_Bua_Work_Shop.pdf?1309637874

     ฉบับปรับปรุงแก้ไขแล้วพร้อมข้อแนะนำเพื่อเตรียมตัว     คลิ๊กที่นี่ http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/735/592/original_Nong_Bua_Work_Shop.pdf?1309637874

 

............................................................................................................................................................................

  ข้อมูลสำหรับศึกษาเพิ่มเติมตามความสนใจ ที่เกี่ยวข้องกับเวทีทำงานในครั้งนี้ 

(๑) ตัวอย่างการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยพัฒนานวัตกรรมจัดหน่วยการเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถนำเอาองค์ความรู้และทรัพยากรการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เข้าถึงและระดมพลังสร้างขึ้นแบบสะสมไไปทีละนิด มาบริหารจัดการให้เกิดการเรียนรู้แบบอิงถิ่นฐาน พัฒนาการศึกษาของผู้เรียนพร้อมไปกับสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

บันทึก UKM-18 มีทั้งหมด ๑๐ ตอน

ตอนที่ ๑  คุณภาพการศึกษาสู่การเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน
ตอนที่ ๒  มิติจัดการความรู้ที่ให้ประสบการณ์ชีวิตและประสบการณ์ทางสังคมแก่เด็กๆ
ตอนที่ ๓  จัดการความรู้สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อเสริมพลังภูมิปัญญาปฏิบัติ
ตอนที่ ๔  โอกาสพัฒนาการเรียนรู้ของพลเมือง : Life-Long Learning Space ในที่พักผู้ร่วมเวที
ตอนที่ ๕  เพิ่มโอกาสเข้าถึงและบ่มสร้างการมองโลกด้วยศิลปะ
ตอนที่ ๖  จัดการความรู้สร้างแหล่งเรียนรู้ปูมเมืองและมุมสร้างประสบการณ์ภายใน
ตอนที่ ๗  ถ่ายรูป Documentation ยุค Digital/Computer-Based ต้องพัฒนาแนวคิด ปฏิรูปความรู้และวิถีปฏิบัติ
ตอนที่ ๘  เครือข่ายจัดการความรู้กับทางรอดและโอกาสพัฒนาของสถานศึกษาขนาดเล็กในชุมชน
ตอนที่ ๙  ทำหน่วยประสบการณ์ชุมชนให้เป็นฐานการเรียนรู้บูรณาการอย่างเบ็ดเสร็จ
ตอนที่ ๑๐ สรุปบทเรียนและการสะท้อนความคิด พลังเครือข่ายจัดการความรู้มหาวิทยาลัยไทย

(๒) การถอดบทเรียน : วิธีใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลและสร้างความรู้ขึ้นจากประสบการณ์ชีวิตผู้คนและข้อมูลเชิงประจักในวิถีชุมชนที่พอเหมาะสำหรับคนทำงานมุ่งให้น้ำหนักการปฏิบัติ http://www.gotoknow.org/blog/edtech-research/317669

(๓) สื่อ ศิลปะ การถ่ายภาพ เครื่องมือและวิธีการช่วยบันทึก ถ่ายทอด จัดแสดง นำเสนอ และเผยแพร่ออนไลน์ http://www.gotoknow.org/blog/wiratkmsr-art

(๔) การถอดบทเรียนและสร้างความรู้จากข้อมูลประสบการณ์ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน กรณีเครือข่าย อสม.และโรงเรียน อสม. เป็นกระบวนการที่สามารถนำมาออกแบบการจัดการเรียนรู้ในชุมชน เชื่อมโยงเรียนกับชุมชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ 

 คลิ๊กลงไปบนชื่อเรื่อง  เพื่ออ่านเนื้อหา มีทั้งหมด ๑๒ ตอน 

ตอนที่ ๑    ขับเคลื่อนเครือข่ายโรงเรียน อสม.               ตอนที่ ๒   จิตวิญญาณความเป็นครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๓    ความเป็นครูโรงเรียน อสม.                        ตอนที่ ๔   ร่วมกันสร้างกรอบตัวแบบค้นหาครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๕    มิติทักษะความเป็นครูของอสม                   ตอนที่ ๖   วิธีค้นหาครูขับเคลื่อนโรงเรียนอสม.ของชุมชน
ตอนที่ ๗    ฐานชีวิตของครูโรงเรียนอสม.                     ตอนที่ ๘   เงื่อนไขสังคมของครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๙    การพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ครูโรงเรียนอสม.   ตอนที่ ๑๐ เครื่องมือ สื่อ เทคโนโลยี สิ่งสนับสนุนครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๑๑  การนำเสนอแผนการสอนและสาธิตกระบวนการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอสม. 
ตอนที่ ๑๒  เพิ่มลูกเล่นและใส่ศิลปะเพื่อเรียนรู้การนำเสนอให้สร้างสรรค์

หมายเลขบันทึก: 447064เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2011 03:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

เรียน ท่านอาจารย์

รอติดตามนะคะ

ขอบคุณคุณหมอมากครับ
เชื่อว่าจะมีเรื่องราวมากมายมาถ่ายทอดให้ได้ติดตามไปด้วยครับ

  • หากใครสามารถโหลดและพิมพ์ออกไปนำเรียนให้ท่านผู้อำนวยการ ทีมบริหารของโรงเรียนและท่านอาจารย์สมัคร รอดเขียน เพื่อจะได้พิจารณาปรับแต่งต่อไปได้ก็ช่วยสงเคราะห์หน่อยนะครับ
  • รวมทั้งคุณครูท่านอื่นๆในนครสวรรค์ ที่พอจะช่วยปรับแต่งกระบวนการได้ก็เชิญเลยนะครับ
  • อยากให้เป็นเวทีทำงานของแต่ละท่านหรือแต่ละโรงเรียนที่เข้าร่วมไปเลยน่ะครับ หลายชุมชนและหลายโรงเรียนมีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีมากมาย แต่ผมไม่รู้ว่าจะมีคุณครูไปร่วมเวทีด้วยหรือเปล่านะครับ
  • นึกถึงโรงเรียนที่บ้านจันเสน แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญ  นึกถึงชุมแสงและปากน้ำโพ ชุมชนวัฒนธรรมชาวไทยจีนที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศและเป็นชาติภูมิสถานท่านอาจารย์กรุณา กุศลาศัย ปราชญ์เรื่องราวอินเดียของประเทศ นึกถึงกลุ่มไทยทรงดำและลาวโซ่ง บ้านของคุณสมบัติ และอีกหลายแห่งครับ รวมไปจนถึงลาดยาว แม่วงศ์ ชุมชนรอบบึงบรเพ็ดฯลฯ
  • หากมีคุณครูและทีมที่มาจากแหล่งต่างๆเหล่านี้ไปร่วมเวทีด้วย กรุณาบอกท่านอาจารย์สมัครหรือบอกผมด้วยนะครับ อยากจัดให้นั่งเสวนาเรียนรู้ให้หลากหลายทั่วจังหวัดไปด้วยเลยนะครับ

อยากชวนคุณเองที่ดูแลเรื่อง Community-Based Ederly Care ของมหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ เข้าร่วมด้วยจัง เวทีนี้อยากให้เริ่มต้นที่คนเฒ่าคนแก่และผู้สูงอายุด้วยครับ อยากให้มีเครื่องมือทำงานความรู้และวิธีมองผู้สูงอายุและคนเก่าแก่ เป็นประวัติศาสตร์ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีชีวิต จะเป็นแง่มุมที่บูรณาการงานต่างๆในพื้นที่และทำให้สามารถใช้สุขภาวะของพื้นที่เป็นตัวตั้ได้เป็นอย่างดีเรื่องหนึ่งเลยน่ะครับ ทั้งได้กลับไปเยี่มบ้านหนองบัวด้วย ที่สำคัญคือ นครสวรรค์นั้น เป็นแหล่งที่ทำการศึกษาสภาวการณ์ผู้สูงอายุอย่างรอบด้านที่สุดเป็นครั้งแรกของประเทศเมื่อกว่า ๒๐ ปีก่อนน่ะครับ มีปูมให้เล่นกับความต่อเนื่องอยู่น่ะครับ

เจริญพรอาจารย์วิรัตน์
เห็นโรงเรียนหนองบัวได้จัดงานเวิร์คช็อปเครือข่ายครูนครสรรค์พัฒนาการเรียนรู้อิงถิ่นฐานครั้งนี้แล้ว ถือว่าเป็นโอกาสดีของโรงเรียหนองบัวชุมชนอำเภอหนองบัว

ยิ่งเห็นอาจารย์วิรัตน์จะได้นำข้อมูลชุมชนจากเวทีคนหนองบัวไปนำเสนอด้วยแล้ว ยิ่งรู้สึกภูมิใจและอดตื่นเต้นไปด้วยไม่ได้(ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่เวทีคนหนองบัวได้มีโอกาสการนำเสนอสื่อชุมชนหนองบัวเต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการ)

อยากให้มีพื้นที่สำหรับเวทีชุมชนเวทีชาวบ้านสักมุมหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้พูดคุยสื่อสารบอกเล่าเรื่องราวข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบชาวบ้านๆ

 

กราบนมัสการท่านพระอาจารย์มหาแลครับ

  • เป็นโอกาสดีของโรงเรียนหนองบัวและชาวหนองบัวที่ได้เป็นแกนเรื่องนี้ให้แก่โรงเรียนอื่นๆของจังหวัด แล้วก็เป็นโอกาสดีของผมกับเวทีคนหนองบัวไปด้วยที่จะได้ร่วมทำงานนี้ให้กับโรงเรียนและคณะคุณครู
  • คงจะเป็นกำลังใจให้กันนะครับ เพราะหากเราเรียนรู้เอาจากเวทีคนหนองบัวแล้วละก็ กว่าจะค่อยๆเดินกันมาถึงอย่างที่เห็นในวันนี้นั้น ต้องอาศัยการค่อยคิดค่อยทำกันไปมากเหมือนกัน
  • ที่สำคัญคือ ต้องเป็นแรงที่ก่อเกิดจากชุมชนและภายนอกโรงเรียนกับเด็กๆและคุณครูในโรงเรียนบางส่วนที่เข้ามาร่วมกันทำตามสะดวกด้วยจิตอาสาและพึ่งการปฏิบัติของตนเอง ในนามตนเอง จากนั้น เมื่อมีเครือข่ายดำเนินการสิ่งต่างๆได้แล้ว จึงจะค่อยๆเกิดบรรยากาศที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการลงมือปฏิบัติของครูและโรงเรียน
  • ปัจจัยที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง จึงได้แก่ความริเริ่มและการแสดงออกของศิษย์เก่า รวมทั้งชาวบ้านและลูกหลานของชุมชนในถิ่นฐานบ้านเกิดต่อโรงเรียนและกิจกรรมต่างๆเพื่อบ้านเกิด โรงเรียน และคุณครูของตนเอง
  • เวทีนี้จึงพยายามให้คณะคุณครูและโรงเรียนต่างๆ หาจุดที่จะเริ่มต้นในสิ่งที่เป็นเรื่องใกล้ๆตัวเล็กๆน้อยๆ แล้วก็ค่อยๆทำตามความสนใจของตนเองได้และพึ่งการลงมือในนามของตนเองไปก่อน เพื่อเป็นตัวอย่างให้ตัวงานช่วยสื่อสารกับสังคมและเกิดแรงที่จะเข้ามาเสริมกำลังให้กับคุณครูและโรงเรียนในภายหลัง

ในครึ่งเช้าของวันแรก ผมได้จัดเวลาสำหรับให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้มีโอกาสเดินดูนิทรรศการ เรียนรู้กับชาวบ้านตามบอร์ดนิทรรศการเรื่องต่างๆ เกือบ ๑ ชั่วโมง ตรงช่วงนี้แหละครับที่อยากให้ได้มีการนำเอาสิ่งต่างๆมาจัดบอร์ดนิทรรศการและตั้งโต๊ะแสดงสิ่งของให้ดูและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการคุยกัน

หากเป็นไปได้นี่อยากให้โรงเรียนต่างๆมาจัดบอร์ดและตั้งโต๊ะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเองอย่างเต็มที่ เพราะในแต่ละชุมชนอำเภอของนครสวรรค์นั้นย่อมมีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองมากมายอย่างแน่นอน อีกทั้งแต่ละโรงเรียนก็เป็นโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์ประเมินโรงเรียนในฝันอีกด้วย จึงย่อมมีบทเรียนและกรณีความสำเร็จต่างๆอยู่ในมือ เลยอยากให้นำมาแบ่งปันประสบการณ์กันเพื่อเป็นข้อมูลและเห็นจุดเชื่อมโยงเพื่อผสมผสานและบูรณาการกันเต็มทั้งพื้นที่ของจังหวัด ผ่านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และสื่อออนไลน์ที่เติมบางปัจจัยเข้าไป ที่ผมและทีมมหิดลกับทีมบล๊อกเกอร์ gotoknow จะเข้าไปถ่ายทอดให้ เพื่อเป็นเครือข่ายเคลื่อนไหวสังคมปวงชนเพื่อการศึกษา และทำให้พลังของกระบวนการทางการศึกษาเรียนรู้ที่ออกมาปฏสัมพันธ์กับชุมชนอย่างนี้ เป็นพลังทางวิชาการและพลังทางปัญญา ที่จะเสริมสร้างสุขภาวะในเชิงพื้นที่ไปกับชุมชนได้ 

เลยเกริ่นเพื่อบอกกล่าวและชวนเชิญทุกท่านเพื่อได้ไปร่วมกันจัดกิจกรรมดีๆช่วยกันตามอัธยาศัยนะครับ หลังจากทางโรงเรียนและทีมผู้บริหารที่เกี่ยวข้องไๆด้พิจารณาแล้ว ก็คงจะได้เห็นแนวประสานงานกันต่อไปได้ดีและลงตัวยิ่งๆขึ้นครับ

สิ่งที่คาดว่าจะเกิดและคาดว่าจะได้จากเวทีนี้

  • การเชื่อมโยงเครือข่ายโรงเรียนในฝันของจังหวัดนครสวรรค์ โดยการเชื่อมประสานของศูนย์วัฒธรรมภูมิปัญญาเพื่อการเรียนรู้อิงถิ่นฐาน เป็นเครือข่ายสร้างสุขภาวะสังคมและเคลื่อนไหวสังคมให้เกิดพลังการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการได้มากยิ่งๆขึ้น ผ่านปฏิบัติการต่างๆของเครือข่าย
  • เครือข่ายของโรงเรียนทั้งหมดทั้งจังหวัด เริ่มมีแนวทางขึ้นรูปและมีพื้นฐานเป็น Community-Based Research and Learning for Development Institue เพื่อเป็นเครือข่ายนำปฏิรูปการเรียนรู้และสร้างสุขภาวะชุมชนในกระบวนทัศน์ใหม่ๆของการพัฒนาที่อิงถิ่นฐาน รวมทั้งเป็นเครือข่ายนำการเคลื่อนไหวสังคมแห่งการเรียนรู้ครอบคลุมเชิงพื้นที่ของจังหวัด พัฒนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนและระหว่างอำเภอ พัฒนากระบวนการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิตของจังหวัด
  • พัฒนาเครือข่าย ทำประสบการณ์ของชุมชนและเครือข่ายโรงเรียบนในฝัน ให้เป็นทรัพากรความรู้ ทรัพยากรวิชาการชุมชน พิพิธภัณฑ์เรียนรู้ชุมชนออนไลน์ แบบสะสม สามารถพึ่งตนเองในการพัฒนาต่างๆที่ต่อเนื่องได้มากยิ่งๆขึ้น
  • ในเวที เริ่มทำบทเรียนออนไลน์ให้เป็นคลังความรู้เพื่อการเรียนรู้อิงถิ่นฐานได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๕ อำเภอใน ๑๗ อำเภอของนครสวรรค์

ข้อเสนอแนะคุณลักษณะของผู้เข้าร่วมเวทีสำหรับโครงการนี้

  • เป็นครูที่มีประสบการณ์ทำโครงการของโรงเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหาของเวที
  • รักการทำงานเชื่อมโยงโรงเรียนกับชุมชน
  • รักการอ่าน การศึกษาค้นคว้าในวิถีชาวบ้าน มีทักษะการเข้าใจชุมชน มีความซาบซึ้งและเห็นคุณค่าภูมิปัญญาชุมชนและสิ่งที่อยู่ในผู้คน
  • มีทักษะหรือชอบการทำงานบันทึก จดจำ ถ่ายภาพ วาดภาพ ฟัง สังเกต เรื่องราวต่างๆของท้องถิ่นและชุมชน
  • มีทักษะการเรียนรู้และปฏิบัติ มีความสนใจรอบด้านและเกาะติดในบางเรื่องที่สนใจ ซึ่งสามารถสะท้อนและเรียนรู้เชื่อมโยงไปสู่เรื่องราวต่างๆโดยรอบได้อยู่เสมอ
  • มีความเป็นสหวิทยาการและบูรณาการอยู่ในตนเอง ปฏิบัติและใช้ทักษะต่อเรื่องต่างๆและกับกลุ่มคนต่างๆได้มากกว่า ๓ ด้านขึ้นไป หรือเป็นผู้ที่พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ได้อยู่เสมอ พร้อมกับรักษาความต่อเนื่องสิ่งที่ตนเองสนใจไปด้วยได้
  • มีทักษะในการสื่อสารที่สะท้อนความเป็นธรรมชาติ ความเป็นตัวของตัวเอง จริงใจ อ่อนน้อม เปิดรับความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวบ้าน ชุมชน และผู้อื่นออกมาจากความจริงใจ
  • มีคอมพิวเตอร์ กล้อง และใช้เป็น หรือพร้อมที่จะเรียนรู้เพื่อใช้ทำงานได้ด้วยการพึ่งการปฏิบัติของตนเองเป็นหลัก 
  • หากมีความสามารถทางด้านศิลปะ สื่อ โสตทัศนศึกษา เทคโนโลยีทางการศึกษา การเขียนและทำศิลปะหนังสือ ควรเป็นแนวบูรณาการและสหวิทยาการอยู่ในตนเอง

การเตรียมตัวของแต่ละโรงเรียน

  • ชุดนิทรรศการ ผลงาน สื่อ สิ่งจัดแสดง ที่เป็นผลงานของโรงเรียน ด้านการเรียนรู้แบบอิงถิ่นฐาน เพื่อร่วมจัดมุมเรียนรู้หรือบอร์ดนิทรรศการและใช้ทำกิจกรรมตลอดกระบวนการเวที
  • ในทีมสามารถมีทีมผู้บริหาร เด็กนักเรียน และชาวบ้าน มาร่วมเป็นทีมเรียนรู้ด้วยกันได้ โรงเรียนละ ๓-๔ คน

เจริญพร โยมอาจารย์ อาตมาติดตาม ผลงานเวทีคนหนองบัวมาตลอด เป็นงานที่น่าติดตาม เรียนรู้ กระบวนการทำงานพัฒนาตนเองพร้อมกับพัฒนาสิ่งที่รอบ ๆตัวเพื่อการเจริญความก้าวหน้า โดยเฉพาะ จิตวิญญาณ ร่วมติดตามผลงานด้วยคน

เจริญพรโยมอาจารย์ดร.วิรัตน์

เห็นด้วยกับมุมชุมชนคนหนองบัว "ครูต้นแบบ" คือ ผู้เฒ่าผู้แก่..ครับ

  • ตามมาเชียร์ต้นแบบสำหรับเครือข่ายครูนครสวรรค์
  • ดีใจที่เห็นการทำงานของอาจารย์กับชุมชนอย่างเป็นระบบ
  • มีอะไรที่ผมพอช่วยได้ยินดีครับ

กราบนมัสการท่านพระเขมวีโรครับ

ต้องแสดงความยินดีต่อท่านอาคันตุกะที่มาเยือนเวทีคนหนองบัวของเรานะครับ
นิมนต์ตามอัธยาศัยครับ

กราบนมัสการท่านพระอธิการโชคชัยครับ

ท่านจับประเด็นได้แม่นดีครับ เวทีนี้ออกแบบกระบวนการที่มีนัยต่อการทำให้หลายเรื่องจะได้มีความหมายและให้วิธีคิด-วิธีมีส่วนร่วมะดมสรรพกำลังมาส่งเสริมกันในแนวทางที่แตกต่างจากทั่วๆไป

แรกเลยก็เวทีนี้ ครูและทุกท่านที่เข้ามาร่วมกิจกรรมทั้งหมด จะได้มีโอกาสใช้เวทีกับทีมที่ช่วยกำกับกระบวนการ ให้เป็นเวทีทำงานที่ทุกคนนั่นเองจะต้องนำเอาประสบการณ์ชีวิตของตนเองในห้วงที่ผ่านมามาสอนตนเอง พร้อมกับแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่นด้วย

ขณะเดียวกัน ก็จะเป็นเวทีที่ชาวบ้านได้เข้ามาสัมพันธ์กับครูและโรงเรียนอีกแบบหนึ่ง มาร่วมมือกับครู เป็นภาพสะท้อนภูมิปัญญาและนำเอาสิ่งต่างๆที่สื่อแสดงความเป็นจริงของสังคมให้เข้ามาเชื่อมโยงใกล้ชิดกับคุณครูที่ทำหน้าที่กล่อมเกลาลูกหลานของตนเอง ขณะเดียวกันก็ได้เดินเข้ามามีประสบการณ์ลงมือทำความเป็นส่วนรวมด้านพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองเอง ก็น่าจะทำให้เกิดสิ่งดีๆในมิติใหม่ๆขึ้นมาได้นะครับ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิตครับ

อาจารย์กับครูอ้อยเล็กนี่ผมนึกถึงเป็นท่านแรกๆเลยละครับ อยากให้ไปจังเลย แต่จะไม่เอาไปทำงานมากหรอก แต่อยากให้ไปเห็นสภาพของชนบทอีกแบบหนึ่งและอยากให้ไปนั่งดูและเพื่อให้อาจารย์ได้มี Case ตุนไว้ในชีวิตเยอะๆ

แต่ดูก่อนนะครับ  อาจารย์มีรายการตะรอนๆทัวร์เยอะ ผมต้องช่วยสังคม save อาจารย์ออกจากการถูกบริโภคเยอะเกินความจำเป็น แต่ก็ยังอยากจะจัดเวทีของหนองบัวอีก ๒ เรื่องที่เป็นเวิร์คช็อปทางการศึกษา แล้วก็อยากมีอาจารย์ไปร่วมในเวทีอย่างนั้นด้วยน่ะครับ

สวัสดีค่ะ

วันนี้ได้ทบทวนธรรมเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกค่ะ ได้บันทึกไว้ในบันทึกนี้

http://gotoknow.oeg/blog/nadrda/448316

ขอบคุณทีมงานมากเลยค่ะ ที่จัดงานดีๆอย่างนี้เพื่อสังคม

  • สะท้อนบทเรียนออกมาได้ดีจังเลยครับ
  • ดีใจที่ได้พบและได้มาร่วมกิจกรรมอย่างนี้ด้วยกันครับ

ประชาสัมพันธ์ร่วมสร้างคนดี

- ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม เป็นวิทยากรอบรมธรรมะ โครงการอิ่มบุญ วุฒิสภา ๙๙๙ วัด เยาวชนปฏิบัติธรรม ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน

๑. ค่ายวัยใส ใฝ่คุณธรรม นำพ้นภัย ยาเสพติด

๒. ค่ายพุทธบุตร

อบรมบุคลากรในหน่วยงาน

๑. การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

๒. พัฒนาจิต พิชิตงาน เบิกบานใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อีเมล [email protected] โทรศัพท์ ๐๘๙๔๘๔๑๙๗๓

  • เดือนนี้หรือครับ
  • ณ โรงเรียนหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
    วันจันทร์ ที่ ๒๕– พฤหัสบดี ที่ ๒๖  กรกฎาคม  ๒๕๕๔
  • งง งง
  • 26 กค  เป็นวันอังคารครับ
  • งง งง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท