เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) : “อนาคตใหม่” ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจไทย


“มาบตาพุด” อาจทำให้เราสูญเสียรายได้นับแสนล้านบาท แต่ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส ยังไม่สายเกินไปที่จะแปรเปลี่ยนพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ตลอด 76 จังหวัดในประเทศไทย ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว (Green Travel) ที่มีการออกแบบธรรมชาติให้ละมุนละไมสอดคล้องกับรสนิยมของลูกค้าชาวต่างชาติ ปรุงรสด้วยการบริการสีเขียว (Green Service) ที่ผสานน้ำใจอันงดงามแบบไทย การแต่งกายที่สอดคล้องกับธรรมชาติ รวมถึง สปา การนวดเส้น และการฝึกนั่งสมาธิแบบไทย เพื่อหลอมรวมจิตวิญญาณอันเหนื่อยล้าของชาวตะวันตกให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติที่อ่อนช้อยในผืนแผ่นดินไทย

โดย เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์ (www.siamintelligence.com)

 

 

 

 

 

Green Economy ใครไม่รู้จักคำนี้คงเป็นเรื่องเชยสะบัด
เพราะเป็นคำฮิตที่กำลังมาแรง
แต่หากต้องการ นิยามความหมายของคำนี้
คงเป็นที่ถกเถียงไม่รู้จบ
เพราะคนแต่ละกลุ่มก็มีแว่นตาและมุมมองที่แตกต่างกันไป
ดังนั้น คงต้องรอคอยกาลเวลาที่จะสรุปตัดสิน

 

ที่น่าเศร้าก็คือ Green Economy ที่กำลังเป็น
“ความโรแมนติคใหม่” ของนักวิชาการ
เอ็นจีโอ และคนหนุ่มสาวจำนวนมาก
ก็อาจทำให้อกหักผิดหวังในเวลาไม่นานนัก
เมื่อความจริงอันโหดร้ายของโลกทุนนิยมได้ทำลายความฝันที่บรรเจิดงดงามนี้


ที่โหดร้ายยิ่งกว่าคือ
ท่ามกลางความอ่อนล้าของ
“ทุนนิยมราคาถูก” ในประเทศไทย
ที่กำลังถูกผู้มาใหม่ไฟแรงอย่างจีนและเวียดนามเบียดแย่งส่วนแบ่งความมั่งคั่ง
ยังมิวายต้องถูกอัดซ้ำด้วยคลื่นใหญ่ของ
Green Economy
โดยเฉพาะในวิกฤตมาบตาพุดที่อาจทำให้ไทยต้องสูญเสียเงินลงทุนจากต่างชาติไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ

 

 

แทนที่จะปล่อยให้ Green Economy เป็นเพียงความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริงของนักอุดมคติ
หรือเป็นเพียงเสียงรบกวนของเครื่องจักรเศรษฐกิจไทยที่กำลังอ่อนล้า
เราน่าจะมีทางออกที่สวยงาม
ที่จะทำให้คนทั้งชาติกลับมาสามัคคีกันแล้วร่วมกันเดินฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไป
เหมือนกับที่บรรพบุรุษของเราเคยร่วมแรงร่วมใจกันมา

 

Green Economy ย่อมเป็นแนวโน้มใหม่ (Trend) ที่กำหนดโดยชาติตะวันตก
ที่การเสพสุขทางวัตถุได้เดินมาถึงจุดอิ่มตัวแล้วทั้งรถยนต์
โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ
และแม้แต่อินเทอร์เน็ต
ก็ยังไม่สามารถเติมเติมความสุขได้อีกต่อไป
จึงต้องแสวงหา “ความสุขทางใจ”
เพื่อมาหล่อเลี้ยงชีวิตให้มีคุณค่าความหมาย
และที่ใดมีความต้องการ
ที่นั่นก็ย่อมมีผลิตสินค้าเพื่อตอบสนอง
ดังนั้น ระบบทุนนิยมในศตวรรษที่
21
จึงมุ่งเน้นสินค้าที่ตอบสนองคุณค่าทางจิตใจมากยิ่งกว่าเดิม
ดังนั้น เราจึงเห็นกระแส
Creative Economy และ Social Enterprise เติบโตโดดเด่นขึ้นมา
เพื่อเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการประดิษฐ์สินค้าเพื่อตอบสนองทางจิตใจท่ามกลางความอิ่มล้นทางวัตถุของโลกตะวันตก


ในเชิงยุทธศาสตร์นั้น
ประเทศไทยยังจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
ที่ความสามารถทางเทคโนโลยีในการผลิตวัตถุยังไม่อาจเทียบตะวันตกได้เลย
ดังนั้น การใฝ่ฝันถึง
Green Economy จึงย่อมเป็นเรื่องเพ้อฝัน
แต่โชคดีที่เมืองไทยนั้นอยู่ในภูมิศาสตร์เขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์
จึงมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในการสร้างสรรค์
Green Economy ทั้งหมดจึงขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ความได้เปรียบนี้
เพื่อเอาชนะขีดจำกัดด้านเทคโนโลยีทางวัตถุที่ยังเป็นรองชาติตะวันตก


โชคดีที่ Green Economy ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดกันที่เทคโนโลยี
เพราะหากเป็นเช่นนั้น กระแสเรียกร้องด้านสิ่งแวดล้อมที่มีมา
40 ปี คงสำเร็จไปนานแล้ว โดยในยามนั้น
มนุษย์เกียจคร้านเกินไปที่จะยอมสละความสุขสบายทางวัตถุเพื่อมาทุ่มเทให้กับความดีในการรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ในยามนี้ มนุษย์ที่ได้เต็มอิ่มกับความสุขทางวัตถุจนเอือมระอาแล้ว
จึงกลับมาเอื้อมคว้า
Green Economy ด้วยความเต็มอกเต็มใจ
ดังนั้น ปัจจัยชี้ขาดจึงอยู่ที่
“การตอบสนองทางใจ”
ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

 

Green Economy ในประเทศไทย
จึงไม่อาจเริ่มต้นที่ลูกค้าชาวไทย
ที่ยังไม่อิ่มเต็มกับการเสพสุขทางวัตถุ
แต่ต้องมุ่งเน้นไปที่ชาวต่างชาติที่มีรสนิยม
แต่หากเป็นการตอบสนองด้านเทคโนโลยีสีเขียว
คนไทยคงไม่ถนัดและอาจไม่ใช่สิ่งที่ชาวต่างชาติต้องการ
ดังนั้น จึงควรทำในสิ่งที่คนไทยชำนาญการ
นั่นคือ
Green Service

Green Service คือ
การส่งมอบประสบการณ์ทางใจในด้านสิ่งแวดล้อมให้กับผู้บริโภค
โดยเน้นไปที่การท่องเที่ยวและอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ
แต่ยังรักษาความสะดวกสบายในชีวิตไว้อย่างครบครัน
โดยดัดแปลงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทั้งหลายให้มีรูปลักษณ์ที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ
และใช้วัสดุที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติเท่าที่จะมากได้
ในขณะเดียวกัน
การแต่งตัวของพนักงานบริการก็ต้องมีการออกแบบให้เป็นแบบไทยเดิมที่เน้นความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
แต่ก็มีการดัดปรุงให้มีความเป็นสากลเพื่อให้ถูกจริตของชาวต่างชาติควบคู่ไปด้วย


ความสำเร็จของ
Green Service จึงอยู่ที่การสร้างประสบการณ์ทั้งรูป
รส กลิ่น เสียง
และการโฆษณาที่จะทำให้ลูกค้าชาวต่างชาติได้รับความสุขทางใจที่ปรารถนา
ซึ่งต้องมีการลงทุนวิจัยความต้องการนี้อย่างจริงจัง
เพราะเชื่อได้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการ
“สัมผัส” ธรรมชาติอย่างที่มันเป็น
แต่ต้องเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่งให้สอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคนั่นเอง

 

มาบตาพุด”
อาจทำให้เราสูญเสียรายได้นับแสนล้านบาท
แต่ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส
ยังไม่สายเกินไปที่จะแปรเปลี่ยนพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ตลอด
76
จังหวัดในประเทศไทย
ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว
(Green Travel)
ที่มีการออกแบบธรรมชาติให้ละมุนละไมสอดคล้องกับรสนิยมของลูกค้าชาวต่างชาติ
ปรุงรสด้วยการบริการสีเขียว
(Green Service) ที่ผสานน้ำใจอันงดงามแบบไทย
การแต่งกายที่สอดคล้องกับธรรมชาติ
รวมถึง สปา การนวดเส้น
และการฝึกนั่งสมาธิแบบไทย
เพื่อหลอมรวมจิตวิญญาณอันเหนื่อยล้าของชาวตะวันตกให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติที่อ่อนช้อยในผืนแผ่นดินไทย

 

การท่องเที่ยวโดยอิงอาศัยธรรมชาติแบบบริสุทธิ์เป็นเรื่องที่ดี
แต่นั่นย่อมไม่ต่างจาก
“เกษตรกรรม”
ที่ให้มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่มากนัก
และทำให้พี่น้องชาวไทยในชนบทต้องจมปลักกับความยากจนมานานแสนนาน
ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวแบบเลิศหรูฟุ้งเฟ้อ
ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าทำลายสิ่งแวดล้อมและความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดินไทยไปมากมายเพียงใด
ดังนั้น ทางเลือกที่
3
ซึ่งน่าจะเป็นความหวังและอนาคตของเศรษฐกิจไทยก็คือ
Green Travel และ
Green Service ที่อาศัยความงามตามธรรมชาติ
ผสานกับเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับธรรมชาติ
มาคลุกเคล้าอย่างละเมียดละไม
เพื่อตอบสนองรสนิยมการเสพสุขใหม่ของพลเมืองโลก

 

หมายเลขบันทึก: 447062เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2011 03:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท