การจัดการกับความเครียด =(เท่ากับ) การจัดการความชรา


ชะลอความชรา....เป็นยาที่วิเศษ....ด้วยการจัดการความเครียด(coping)......นะคะ

วันนี้คุยกับเพื่อนชาวBlogเรื่องทฤษฏีของความเครียด(Stress)

       มีผู้อธิบายทฤษฏีความเครียด (Stress)ไว้หลายท่าน ซึ่งแตกต่างกันไปตามมุมมองของแต่ละบุคคลดังต่อไปนี้

  1. ทฤษฏีสิ่งเร้า โดยHolmesและRahe (1967) กล่าวว่า เหตุการณ์ชีวิตเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเครียด และมีผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย หรือการเป็นโรคสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการนอน การกิน การเข้าสังคม การสังสรรค์ เรื่องส่วนตัว นิสัย และการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น มีความแตกต่างกันในระดับการปรับตัว

  2. ทฤษฏีเชิงตอบสนอง โดย Selyc H.(1976) กล่าวว่าความเครียด ==> เป็นการตอบสนองที่ไม่จำเพาะเจาะจงของร่างกาย และเชื่อว่าการตอบสนอง ต่อความเครียดไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งเร้าที่มากระตุ้น แต่ขึ้นอยู่กับ การตอบสนองและระดับการตอบสนอง ซึ่งจะแตกต่างกันและขึ้นอยู่กับ ==> ปริมาณความต้องการในการปรับตัวของบุคคล โดยสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความเครียดอาจจะเป็น สิ่งเร้าที่ทำให้พึงพอใจหรือไม่พึงพอใจก็ได้ แตกต่างกัน ตามบริบทของบุคคลและระยะเวลา

  3. ทฤษฏีการกระทำระหว่างบุคคลกับสิ่งเร้า โดย Lazarus (1969) กล่าวว่า ความเครียดทางจิตใจ เป็นสิ่งที่เกิดจากการกระทำระหว่างกัน ระหว่างบุคคลกับสิ่งเร้า จากสิ่งแวดล้อม บุคคลจะประเมินว่าสิ่งเร้าดังกล่าว เกินความสามารถของตนในการจัดการ และเป็นอันตรายต่อตัวเขามากน้อยเพียงใด โดยบุคคลจะประเมินค่าการเรียนรู้ ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้อง 3 อย่างคือ

       1) บุคคล    

       2) สิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด

       3) การประเมินเชิงการรู้

เมื่อบุคคลเผชิญกับความเครียดรวมทั้งสาเหตุของความเครียดก็อาศัยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของตน  เพื่อประเมินค่า  นักทฤษฏีเชิงการรู้ มีทัศนะว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ว่องไว มีเหตุผล และกล้าตัดสินใจ โดยเชื่อว่าความเครียดและสุขภาพต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน

กล่าวคือ ความเครียดมีผลกระทบต่อสุขภาพ และในทางกลับกัน สุขภาพมีอิทธิพลต่อความต้านทานและความสามารถในการจัดการกับความเครียดได้

จุดสำคัญของทฤษฏีนี้มีหลักว่า

   -  ความเครียดไม่ใช่สิ่งที่เร้าจากสิ่งแวดล้อม

   - ไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของบุคคล

   - ไม่ใช่การตอบสนอง

  - แต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสามสิ่งนี้   

   จากการที่มีผู้รู้และนักวิชาการหลายๆ ท่านได้คิดทฤษฎีเกี่ยวกับความเครียด ได้แก่ ทฤษฎีสิ่งเร้า ทฤษฎีเชิงตอบสนอง ทฤษฎีการกระทำระหว่างบุคคลกับสิ่งเร้า

    - ทฤษฎีสิ่งเร้า กล่าวว่า ==>เหตุการณ์ในชีวิตเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเครียดและมีผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือเป็นโรค

  - ทฤษฎีเชิงตอบสนอง กล่าวว่า==>ความเครียดเป็นการตอบสนองที่ไม่จำเพาะเจาะจงของร่างกาย และไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตอบสนอง และระดับการตอบสนอง และปริมาณความต้องการในการปรับตัวของบุคคล และมองว่าสิ่งเร้าที่ มีทั้งสิ่งที่พึงพอใจและไม่พึงพอใจ

  - ทฤษฎีการกระทำระหว่างบุคคลกับสิ่งเร้า กล่าวว่า ==> ความเครียดทางจิตใจเป็นสิ่งที่เกิดระหว่าง บุคคลกับสิ่งเร้า และถ้าบุคคลประเมินว่าสิ่งเร้านั้นเกินความสามารถของตน ในการจัดการและเป็นอันตาย ทำให้บุคคลประเมินการเรียนรู้ (Leaning Evaluation) ซึ่งมี 3 อย่างที่เกี่ยวข้องกัน บุคคลสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด และการประเมินเชิงการเรียนรู้

   เมื่อบุคคลเผชิญกับ==> ความเครียด บุคคลจะนำความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของตนไปประเมินค่า

  ดังนั้นความเครียดของบุคคลจึง==>มีผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคล ในทางกลับกัน สุขภาพของบุคคลก็มีอิทธิพลต่อความสามารถในการจัดการกับความเครียด(Coping)

 สมาการจะมีลักษณะ ==> สิ่งเร้า==> สิ่งแวดล้อม ==>บุคคล  มีความสัมพันธ์กันทำให้เกิด==>ความเครียด==>นำไปสู่ความชรา (ดังนั้น....ไม่เครียด=ไม่ชรา) ==> เพื่อน ๆ OKไม่คะ

 

ขอบคุณคะที่อ่านบทความ

 สมศรี  นวรัตน์

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 447057เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2011 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

- ความเครียดทำให้เรา== > เมื่อยล้า อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ

- ไม่สดฃื่น กระเปรี้ย กระเป่า == >ไม่มีฃีวิต ฃีวา

- คนม่ความเครียดเล็กน้อย ==> กำลังดี

- เครียดมากเกินไป ===> ทำร้ายตนเอง

ฝากเพื่อนๆ เป็นข้อคิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท