กระเป๋ามหัศจรรย์


กระเป๋ามหัศจรรย์

โครงการกระเป๋ามหัศจรรย์ 

ชื่อโครงการ       กระเป๋ามหัศจรรย์

ผู้รับผิดชอบ      เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยพิเศษ 8A, 8B, 9B

หลักการและเหตุผล      

         งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษมีหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยทั้ง Pre-Post CAGและ Pre-Post OP ซึ่งในผู้ป่วยบางรายที่หลังจากผ่าตัดแล้วมีการเต้นของหัวใจที่ช้าผิดปกติ จำเป็นต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดชั่วคราว(Temporary Pacemaker) โดยต่อกับสาย Pacing wire  ซึ่งต่อออกมาจากตัวผู้ป่วย ตัวเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดชั่วคราวนั้นมีขนาดใหญ่ และต้องแขวนในที่ที่สามารถมองเห็นการทำงานของเครื่องและในการที่จะให้ผู้ป่วยได้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย(Ambulate) นั้น การพกพาเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดชั่วคราวที่มีขนาดใหญ่ อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีความกังวลและกลัวว่าเครื่องจะตกหล่นเสียหายจึงไม่อยากเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ผู้ป่วยต้องไม่อยู่ในช่วงของการปรับยา ปรับmode เครื่องกระตุ้นหัวใจ และไม่มีข้อจำกัดอื่นที่แพทย์ระบุ             

           ทางเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วย 9B จึงได้จัดทำกระเป๋าคล้องคอในการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดชั่วคราว เพื่อเพิ่มความสะดวกและความคล่องตัวของผู้ป่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย

วัตถุประสงค์  

เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีการเคลื่อนไหวร่างกายและเครื่องไม่หล่นกระแทกพื้นเสียหาย

ขั้นตอนการดำเนินงานและระยะเวลาในการดำเนินโครงการ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

ระยะเวลาในการดำเนินงาน พ.ศ. 2553-2554 

ต.ค. 

พ.ย. 

ธ.ค. 

ม.ค. 

ก.พ. 

มี.ค. 

เม.ย. 

พ.ค. 

มิ.ย. 

ก.ค. 

ส.ค. 

ก.ย. 

1.ประชุมวางแผนโครงการ

2.เขียนโครงการเพื่อเสนอ

    อนุมัติโครงการ 

3. มอบหมายผู้รับผิดชอบในการ

    เตรียมข้อมูล

4. จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดทำโครงการ

5. ดำเนินการจัดทำโครงการ

6. สรุป และประเมินผล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สถานที่                            หอผู้ป่วยพิเศษ8A, 8B, 9B งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ

งบประมาณ                       100  บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                ผู้ป่วยสามารถ เคลื่อนไหวร่างกายได้ โดยไม่มีความกังวล และเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดชั่วคราวแขวนอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นการทำงานของเครื่องได้ชัดเจน

การประเมินผล

                จากแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์กระเป๋ามหัศจรรย์

 

           ผู้เขียนโครงการ

.........................................................

(นายสุภัทร์ชัย  พันธุ์ชัย,นางศิรินุช   นาแก้ว)

ผู้เห็นชอบโครงการ

........................................................

(นางสาวศุภการย์  คนฉลาด)

รักษาการหัวหน้าหอผู้ป่วยพิเศษ9B

ผู้อนุมัติโครงการ

.......................................................

(นางภาวิณี    จิตรนอก)

รักษาการหัวหน้างานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ

 

 

หัวข้อแบบประเมินความพึงพอใจโครงการกระเป๋ามหัศจรรย์

 

 

หัวข้อ

คะแนนความพึงพอใจ

มาก

ปานกลาง

น้อย

1. รูปแบบของโครงการ

 

 

 

2. ความสะดวกต่อการใช้งาน

 

 

 

3.ประโยชน์การใช้งาน

 

 

 

 

 

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………....

 

  กระเป๋าสีฟ้านะครับ เอามาให้ดู

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 447063เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2011 03:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พึงใช้ด้วยความระมัดระวัง อาจจะโดนกล่าวอ้างว่า ตามหลักการพยาบาลแล้วนั้นผู้ป่วยที่on TPMนั้นต้องจำกัดกิจกรรมบนเตียง ไม่ให้มีการเคลื่อนไหว จริงครับ ท.บ.ว่าอย่างนั้น แต่ที่หอผู้ป่วยผมนั้นผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในช่วงการปรับยา ปรับMode ผู้ป่วยก็สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ เพราะเราก็monitor EKG อยู่ แล้วก็มี นักกายภาพเค้าดูแลเราก็ดู monitor อยู่ในระหว่างผู้ป่วย ambulate

หมายเหตุ

ขอบคุณท่านห.น.ที่ท่านชี้แนะครับ แต่ผมก็อยากขายไอเดียอยู่ดีครับ หวังว่าคงมีคนเห็นประโยชน์ของขี้สมองของผมกับทีมงานบ้างครับ ใครเอาไปประยุกต์ใช้ได้ก็เอาไปครับ เพราะที่นี่เค้าไม่เห็น"คุณค่ามัน"

ขอบคุณมากครับที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมครับ คุณพี่ลำดวนครับ

ทุกวันนี้ก็ยังมีคนนำมาใช้งานอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท