มิติแห่งความขัดแย้ง(dimensions of conflict) : ข้อคำนึงบางประการเพื่อการศึกษาโดยครอบคลุม


มิติแห่งความขัดแย้ง(dimensions of conflict) : ข้อคำนึงบางประการเพื่อการศึกษาโดยครอบคลุม

          ข้อคำนึงถึง กม.เศรษฐกิจระหว่างประเทศนั้น ผู้เขียนได้แบ่งแยกการพิจารณาเป็น สามมิติ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออกหรือเป็นเนื้อเดียวกันของคำๆนี้ โดยแบ่งดังนี้

          มิติทางกม. ผู้เขียนนึกถึงสภาวะความขัดแย้งอันเป็นนิรันดร์ของมนุษย์(eternality of conflict )(ชัยวัฒน์ สถาอานันท์,อาวุธมีชีวิต?) ผู้เขียนมิได้หมายความว่ามนุษย์เกิดมาเพื่อทำสงครามตามแบบเป็นวิถีทางเดียวในแก้ไขความขัดแย้ง หรือมองความขัดแย้งไปในทางลบแต่อย่างใด ในทางกลับกัน ความขัดแย้งเป็นบ่อเกิดใหม่ๆของการพัฒนาในทุกๆทาง เช่นความขัดแย้งกับความมืด มนุษย์จึงประดิษฐ์หลอดไฟเป็นต้น
        
          เมื่อลักษณะธรรมชาตินั้นมีแนวโน้มในการสร้างความขัดแย้งกันขึ้น สิ่งที่ตามคือการหาวิธีการ(solution)คลี่คลายความขัดแย้งนั้น ซึ่งสุดท้ายจึงนำพามาสู่ปัจจัยพื้นฐานในการมองปัญหา คือการสร้างระเบียบ กฎเกณฑ์คิดมากำกับ นั่นคือกฎหมาย เพื่อคลี่คลายความขัดแย้งให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ที่สุด เพราะวิธีการคลี่คลายปัญหาในอดีตที่มนุษย์แก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันนั้น มักจะเป็นสงคราม แต่ด้วยแสนยานุภาพของตัวอาวุธทำลายล้างมหาชน(weapon of mass destruction) จากกรณีฮิโรชิมา และ นาราซากิ ในสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้กระบวนทัศน์ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งคลี่คลายไปสู่การเจรจา ภายใต้หลักการความร่วมมือ และการปรองดอง เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามมากขึ้น(UN Charter,Preamble)

          มิติการเมืองระหว่างประเทศหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระบวนทัศน์เรื่องความมั่นคงของรัฐต่างๆในโลกได้ข้ามพ้นจากยุคสงครามทางอุดมการณ์ทางการเมือง(cold war) มาสู่ยุคสงครามทางการค้า ทำให้นานารัฐต่างหันมาทุ่มเทความสนใจในทางการค้าเป็นอันมาก จากการแบ่งฝ่ายเป็นค่ายเสรีนิยมกับสังคมนิยม ปัจจุบันคือการต่อสู้กันในเรื่องการค้า เช่น การเข้าสู่ตลาด ความพยายามในการลดการกีดกันทางการค้า การต่อรองเรื่องลิขสิทธ์ยา เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันอำนาจในทางเศรษฐกิจถือเป็นอำนาจที่สำคัญในทางการเมืองระหว่างประเทศ เพราะหลังจากการล่มสลายของโซเวียต ทำให้ประชาคมโลกนำพาตัวเองไปสู่ระบบเศรษฐกิจตลาดอย่างเต็มตัว ไม่เว้นแม้กระทั่ง ประเทศสังคมนิยมเอง เป็นผลให้เกิดลัทธิบริโภคนิยมหรือวัฒนธรรมมหาชน(pop culture) ซึ่งในบางคราวถึงขนาดเรียกว่าทุนนิยมสามานย์(ที่เด่นชัดคือกรณี jihad vs Mc's world ของเบนจามินแอนเดอร์สัน) ได้แทรกซึมไปทั่วโลก เพราะฉะนั้นเมื่อยุคของโลกเปลี่ยนแนวรบการต่อสู้ช่วงชิงทางอำนาจในทางการเมืองระหว่างประเทศจึงเปลี่ยนแนวรบไปด้วย

           มิติทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์เป็นมุมมองที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดบนโลก ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งบนเวทีโลกนั้น นานารัฐต่างอย่ภายใต้เศรษฐกิจระบบตลาด ซึ่งแต่ละรัฐก็มองการจัดสรรทรัพยากรเพื่อประโยชน์ส่วนตนสูงสุด เป็นมุมมองเพื่อตนเอง(subjective)ดังที่อาจารย์พันธ์ทิพย์ได้กล่าวไว้ว่าสังคมระหว่างประเทศคือanalogy of privatelaw เพราะฉะนั้น การช่วงชิงทรัพยากรเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับชาติตน จึงเป็นการต่อสู้ที่เด่นชัด และประกอบด้วยปัจจัยเร่งเร้าที่ชี้ให้เห็นว่ากำลังจะเกิดวิกฤตทางทรัพยากร เช่นวิกฤตน้ำมัน ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจจึงดำเนินการเพื่อให้ตนได้ประโยชน์สูงสุด ด้วยผ่านคำว่าทุนนิยมหรือตลาดเสรี เพื่อเป็นข้อต่อรองกับประเทศที่ด้อยกำลังกว่า ในที่นี้ จึงมีการต่อรองกันทางการค้าที่เด่นชัดระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาที่มักจะเสียเปรียบในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

            เมื่อพิจารณาจากข้อพิจารณาสามมิติแล้วจึงเห็นได้ว่า การที่กม.เศรษฐกิจระหว่างประเทศอุบัติขึ้น นั้นก็เพื่อหาทางออกให้ความขัดแย้งรูปแบบใหม่ของโลก ซึ่งเป็นการต่อรองกันระหว่างประเทศเพื่อให้ได้ความเป็นธรรมสูงสุด ในการพัฒนานานารัฐไปพร้อมกัน ให้ทุกรัฐได้ประโยชน์สูงสุด ถึงแม้ความเป็นไปได้ในทางทฤษฎีมีอยู่แต่ในสภาพความเป็นจริงนั้นเป็นไปได้ยากยิ่ง
หมายเลขบันทึก: 36439เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2006 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สมกับที่สกัดจากองค์ความคิดจริงๆ ...เข้าใจง่ายดี

ขอเสริมอีกนิดว่า กฎหมายก็หมือนตัวช่วยสังคมในการเสริมฐานรากและคานเหล็กในมั่นคงขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน กฎหมายก็เหมือนอาวุธอนุภาพอันร้ายแรงของรัฐที่จะนำมาทำลายล้างกันให้พินาศไปข้างนึงเช่นกัน

ประเด็นต่อมาที่ผมกำลังมองอยู่คือ ที่มาของกม.เรื่องนี้ กระแสธารของประวัติศาสตร์ ซึ่งพิจารณาพร้อมไปกับระนาบสามมิติดังบทความ มีผลทำให้กม.เรื่องนี้ที่บังคับใช้กันนั้น กลายเป็นกม.หรือไม่ กล่าวคือตามหลัก equity before law และ หลักยุติธรรม เพราะ ผมค่อนข้างมีอคติส่วนตัวเป็นอย่างยิ่ง ถึง"ปัจจัย"ที่ทำให้กม.ปัจจุบัน เบี่ยงเบนออกจากความยุติธรรมไปสู่ความไม่ยุติธรรม หากมีใครทราบหนังสือจำพวกนี้ จะช่วยกรุณาแนะนจักเป็นพระคุณอย่างสูงยิ่งครับผมที่ผมทราบและเจ็บปวดทุกครั้งที่ได้อ่านคือconfession of economic hitman ของจอห์น เพอร์กินส์ ลองอ่านดูครับแล้วจะทราบถึงมหันตภับของมนุษย์แขนงบริโภคสุดโต่ง เช่นอินทรีย์สยายปีก (กล่าวหานโยบายรัฐนะครับมิใช่ตัวปัจเจก)

 

 

เห็นด้วยยิ่งจ้ะ กับผลของการกระทำของพวกที่คิดว่าเงินเป็นพระเจ้าแล้วไปสู่ความชั่วร้ายทางความคิดเพราะตนต้องการกอบโกยทุกอย่างเท่าที่พวกเขาจะทำได้ แต่ก็น่าเเปลกเหมือนกันว่าพวกที่บริโภคนิยมอย่างแทนว่านั้นก็เป็นคนที่สังคมต่างมองว่าพวกเขามีมากเกินกว่าที่จะกินในชาตินี้ได้หมดแล้ว...ก็น่าคิดอยู่ว่าถ้ามีบุคคลจำพวกนี้มากๆขึ้นนี่บ้านเมืองเราจะเป็นอย่างไร ถ้าถามว่านักกฎหมายอย่างเราจะช่วยอะไรสังคมได้ไหม...ต้องถามว่าเรามีเสียงดังแค่ไหนแหละค่ะ...แค่เสียงนักกฎหมายตัวจ้อยกับความหนาของเงินนี่มันคงเทียบกันไม่ได้แน่นอน...เห็นด้วยไหมคะ?
เคยสังเกตุมั้ยว่านกมักจะร้องเพลงส่งเสียงเจื้อยแจ้วอยู่เสมอ ไม่ว่า เช้าหรือเย็น... ไม่ว่าเย็นหรือร้อน... และมันไม่เคยสนใจว่าจะมีเสียงใดดังกว่ามันหรือไม่ เช่นเดียวกัน... ไม่ต่างอะไรกับ อึ่งอ่างยามฝนตกมันต้องเปล่งเสียง และสัตว์อีกหลายพันธุ์หลายชนิด เสียงที่ดังกว่าก็เป็นแต่เสียงที่ดังกว่า เสียงที่ "แตกต่าง" เสียงที่ "ไพเราะ" เท่านั้นที่จะตรึงอยู่ในความทรงจำแสนสวยของเรา เพราะฉะนั้น เปล่งไปเถิด หากยังมีเสียง อย่าเงียบงัน สิ่งนี้เป็นประโยคที่ผมพร่ำบอกตัวเองอยู่เสมอ แล้วเราค่อยๆมองดูว่าสายธารเชี่ยวกรากและดังสนั่นของบริโภคนิยมสุดโต่งนี้ เราจะล้อคลื่นพลิ้วโปรยไปกับมันเช่นไร
ถ้ายังไงคุณแทน ลองอ่านหนังสือ " นิติปรัชญา "ของศ.ดร.ปรีดีเกษมทรัพย์ ก่อนดีกว่าคะ เพราะท่านกล่าวถึงปรัชญาของนิติศาสตร์ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง

ชอบบทความที่พี่แทนเขียนจังอ่านแล้วรู้สึกจี๊ดๆยังไงไม่รู้

อ่านงานของอาจารย์ ปรีดี แล้วครับ และ วิวาทะ ของยุคสมัย ณ ตอนนั้น ในทฤษฎี กม.สามชั้น

 He's completely and manifestly the man who is the living legend. And having the crystalised knowledges of the main civilisation of the world, the west and east. Therefore, He simply analyse both sources of knowledge what is the real philosophy of law

In contrary to my point of view, in case of khun Rutt (If i spell it right) read this book,among tons of book that he wrote, what is the essentially thoughts of legal philosophy. Can you crystalise it to me-young man who steadfastly want and answer. I'll be waiting for it.  

    I agree with you. I would like to say that you are also conclude in the english really well.I like professeur Pridi Kasemsap's works too  because he can present about his aspects on the sources of law by  unique means, not only from  particularly aspect,but also from both sides of the world's philosophies .

     So at least  we have been proud to study  with  the original Thai professeur who crystalised the knowledges by his own concept on the sources of law and I always keep in mind when I write any report on the legal issues ,I have to be back to his books,both sources of law and legal philosophy , to write base on the nature of things due to review and rearrange my idea with basic questions.It also called the philosophy method or philosophy learning(by Archanwell Lecture in the international economic law class at Thammasat University).At first the question is "What is  being?" The Second is "How can you get being? that implies two questions : where and when. " And the last one is "What is the ethic of being?(why?) : Good or Bad Being". Thus I am able to figure out how to finish my works systematically and reasonably.That's why i like professeur Pridi's works.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท