มิติของ e-Learning


มิติทั้ง 3 ของ e-Learning

http://www.itie.org/itcenews/e-Learning.php

มิติทั้ง 3 ของ e-Learning
ที่จำเป็นต้องรู้

ในการนำเอา e-Learning เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนผู้ใช้ควรที่จะทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับบริบทที่เกี่ยวข้องกับ e-Learning ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 3 มิติ (ดังในภาพที่ 1)
โดยมิติทั้ง 3 นั้นคือ 1. การนำเสนอเนื้อหา (Media Presentation) 2. การนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือการอบรม (Functionality) 3. เกี่ยวกับผู้เรียน (Learners)

1. มิติการนำเสนอเนื้อหาในการนำเสนอเนื้อหานี้สามารถแยกออกเป็น 3 ส่วนได้แก่
     1.1 ระดับเน้นข้อความออนไลน์ (Text-Online) หมายถึง การเรียนการสอนที่เน้นข้อความ (Text)เป็นหลัก สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้รวดเร็ว ผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาสามารถบริหารการจัดการรายวิชาได้ด้วยตนเอง
     1.2 ระดับรายวิชาออนไลน์เชิงโต้ตอบและประหยัด (Low cost Interactive Online Course) ในระดับนี้จะมีทั้งข้อความ ภาพ เสียง และวิดีทัศน์อย่างง่าย ซึ่งจะต้องมีระบบการบริหารการจัดการ (LMS) ที่ดีเพื่อช่วยผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา ในการสร้างและการปรับปรุงเนื้อหา
     1.3 ระดับรายวิชาออนไลน์คุณภาพสูง (High Quality Online Course) ในระดับนี้เป็นระดับมืออาชีพ การออกแบบเนื้อหาการออกแบบการสอนรวมไปถึงการออกแบบภาพกราฟิกจำเป็นต้องใช้ผู้มีความชำนาญ มีการทำงานเป็นทีมเพื่อ เป็นต้น

2. มิติการนำไปใช้ในการเรียนการสอน/การอบรม ในมิตินี้สามรถแยกย่อยออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ
     2.1 สื่อเสริม (Supplementary) คือการนำเอา e-Learning เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนโดยที่มีสื่ออื่นๆ เป็นทางเลือกอีกด้วย ผู้สอนต้องจัดหาหาทางเลือกอื่นไว้ลองรับเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์เพิ่มเติม
     2.2 สื่อเติม (Complementary) นำไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่นๆ เช่นนอกเหนือจากการบรรยายในห้องเรียน ผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมจาก e-Learning
     2.3 สื่อหลัก (Comprehensive Replacement) คือการใช้ e-Learning เข้ามาแทนการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบเต็มรูปแบบ ผู้เรียนต้องศึกษาเนื้อหาแบบออนไลน์ทั้งหมดโดยในต่างประเทศได้ทำการพัฒนา e-Learning เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะมาใช้แทนการเรียนการสอนแบบเดิมที่มีครูเป็นสื่อหลัก

3. มิติเกี่ยวกับผู้เรียน กลุ่มผู้เรียนแบบ e-Learning จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่
     3.1 ผู้เรียนแบบปกติ (Resident Student) หมายถึงกลุ่มผู้เรียนที่เดินทางมาเรียนในสถานที่เดียวกันในเวลาเดียวกันและมีที่พักอาศัยอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่ซึ่งตกลงกันไว้ว่าจะมาเรียนร่วมกัน การออกแบบเนื้อหาการสอนควรที่จะดึงดูดใจ เพราะถ้าการออกแบบเนื้อหาไม่ดีผู้เรียนแบบปกติสามารถที่จะเลือกศึกษาบทเรียนโดยใช้สื่ออื่นๆ
     3.2 ผู้เรียนทางไกล (Distant Learners) หมายถึงผู้เรียนที่สามารถเรียนจากสถานที่ที่ต่างกันในเวลาที่ต่างกัน (Anywhere, Anytime) จึงทำให้ผู้เรียนทางไกลนั้นมีความยืดหยุ่นในด้านสถานที่และเวลาในการเข้าสู่เนื้อหามากกว่าผู้เรียนแบบปกติ การออกแบบบทเรียนควรที่จะมีความสมบูรณ์ เนื่องจากผู้เรียนแบบทางไกลนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องของการติดต่อกับผู้สอน ถึงแม้จะมี Web-board, E-mail ก็ตาม ตัวสื่อจึงควรที่จะมีความสมบูรณ์
***(สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือDesign e-Learning หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน ผศ.ดร.ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง 2545)***

คำสำคัญ (Tags): #e-learning
หมายเลขบันทึก: 36434เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2006 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท