ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... Shopping KM สไตล์ สบาย สบาย (6)


KM ก็คือ กู กับ มึง จะไม่พูดอย่างนี้ว่าเป็นเรื่องของคนอื่นนะครับ อันนั้นไม่ใช่ KM ... KM ทุกคนต้องทำ ทุกคนต้องมีหน้าที่

 

ช่วงนี้เป็นรอบของคุณสิงห์ป่าสัก ... คุณวีรยุทธ สมป่าสัก เจ้าของรางวัลสุดคะนึง เดือนมกราคม 2549 และรางวัลคุณลิขิต ในรางวัลจตุรพลัง เดือนกุมภาพันธ์ ของ สคส.ค่ะ ...

มาดูเทคนิคคุณอำนวย ในการจัดการความรู้ สกัดความรู้ และกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรฯ มีความเป็นมาและเป็นไปอย่างไรกันค่ะ

"สวัสดีครับผู้รู้ทุกท่าน เราคงเป็นเพื่อนร่วมทางกัน เพราะในการทำงานนั้น  เป้าหมายของเราก็คือ บ้าน ทำงานที่ไหน ลูกค้าของเราก็อยู่ตรงนั้น ถ้าเรามีความเข้าใจ และมีการเป็นเครือข่ายการทำงาน ก็จะทำงานซ้ำซ้อนน้อยลง และทำงานได้อย่างมีความสุข อันนี้คือ ที่อยากเห็น

ในส่วนของผมเคยแต่ไปให้คนอื่นเล่า และจับความรู้คนอื่น วันนี้ก็ถูกให้เล่า ก็ขอให้คนอื่นลองช่วยดูว่าจะเป็นอย่างไรด้วยนะครับ

ในการสกัดความรู้ ถ้าไม่ทำก็ไม่รู้ ต้องทำไปเรียนไป ผมขอแลกเปลี่ยนในฐานะของผู้ปฏิบัตินะครับ ไม่ใช่ผู้รู้ ก่อนอื่นก็ต้องขอแสดงความยินดีกับพี่น้องชาวกรมอนามัยครับ  เพราะจากที่ผมได้ฟังท่านรองฯ เมื่อเช้านี้ นี่ละครับคือ หัวใจของการจัดการความรู้ ถ้าเข้าใจตรงนั้น ก็จะบอกว่า KM ก็คือ กู กับ มึง จะไม่พูดอย่างนี้ว่าเป็นเรื่องของคนอื่นนะครับ อันนั้นไม่ใช่ KM ... KM ทุกคนต้องทำ ทุกคนต้องมีหน้าที่ เพื่อที่จะให้เป็น LO หรือว่า องค์กร หน่วยงานจะอยู่รอดได้อย่างไร เป็นเรื่องที่ทำยังไงก็ได้ ที่ทำให้เราประสบผลสำเร็จ และทำงานอย่างมีความสุขนะครับ

ผมมาในฐานะหนึ่งในชุมชนคุณอำนวยจัดการความรู้ ของ สคส. ซึ่ง อ.หมอวิจารณ์ได้มอบภารกิจซึ่งใหญ่มากว่า ขอให้ไปช่วยขับเคลื่อนความรู้ของประเทศไทย ... ทุกท่านก็เป็นคุณอำนวยจัดการความรู้ จะเป็นคุณอำนวย เป็นคุณเอื้อ หรืออย่างไรก็แล้วแต่ คงไม่มีใครได้ทำบทบาทตรงๆ ก็อาจมีเหลื่อมล้ำกันไปบ้าง ก็ Overlap กันไป ก็จะร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

 กล้องถ่ายภาพของคุณสิงห์ป่าสัก Notepad ของคุณสิงห์ป่าสักค่ะ

กล้องจับภาพ และ Notepad ค่ะ 

ผมก็นำเครื่องมือที่ผมใช้บ่อยที่สุดมาแสดงให้ทุกท่านได้รับทราบกันก่อนนะครับ คือ

  1. กล้องถ่ายรูป ตัวนี้สำคัญมาก ใส่วันที่ เวลาได้ด้วย สมองเราจำได้ไม่นาน แต่ว่าข้อมูลยังอยู่ และบรรยากาศสามารถเก็บได้ บางทีการจับประเด็นก็ไม่สามารถจับแล้วก็เขียนได้ เพราะว่าเราไม่ได้นั่งทำเสียทีเดียว ต้องไปโน่นไปนี่ รูปจะช่วยได้
  2. โน๊ตบุ๊คส์ ... จริงๆ ครับ ไปไหนก็ต้องพกโน๊ตบุ๊คไปด้วยกัน เพราะว่าบางที่ไม่มีละครับไฟฟ้า บางทีพกไปก็ใช้ไม่ได้ โน๊ตบุ๊คแบบนี้ใช้ได้ทุกสถานการณ์
  3. หรือบางทีก็ต้องใช้ Notepad ในสถานที่คับขันก็ต้องมี บางทีนอนอยู่ ก็ปี๊ง ก็ลุกขึ้นมาเขียนแล้ว ปิ๊งแว๊บ ก็ต้องลุกขึ้นมาเขียน ลุกขึ้นมาจด เพราะบางทีพอผ่านไปแล้วมันก็จะลอยไปเลย เราก็พกติดกระเป๋าไว้ นัดหมายอะไรก็ได้ จดเบอร์โทรศัพท์ก็ได้ หรือบางทีอยู่ในสถานการณ์ คุณอำนวยพูดยาวไปแล้ว จะสกัดดาวรุ่งก็ส่งโน้ตไป อาจจะมีคำถาม แต่ไม่ใช่หรอก เหลือเวลาอีก 5 นาที เท่านั้น หยุดได้ นี่คือเทคนิค พอทำแล้วก็จะมีอะไรที่สนุกๆ

 Notebook ของคุณสิงห์ป่าสักค่ะ

นี่ก็ Notebook นะคะ ดูเถอะ เล่นเอาอมยิ้มกันทั้งวง 

อีกอันหนึ่ง เป็นเครื่องมือจับประเด็นในการทำงาน วิธีที่ดีที่สุด คืออะไรครับ ... คือ ตัวเราครับ ถ้าเราฝึก เราก็จะใช้เครื่องมืออื่นได้ ถ้าเราฝึก อย่างอื่นทำได้ทุกอย่าง คิดได้ ต่อยอดได้ อันนี้สำคัญมากครับ คือ ตัวเรา คือ คนเก็บนี่ละครับ จำได้มั๊ย โน้ตเป็นมั๊ย ใช้เครื่องมืออื่นได้มั๊ย เครื่องมืออื่นเป็นเพียงแค่เก็บรายละเอียดเท่านั้นเอง แต่ว่าสิ่งที่เราจะเขียน และมีพลัง ตั้งใจที่จะจับประเด็นไหนนั้น อยู่ที่ตัวเราครับ

ส่วนของการจัดการความรู้ในองค์กร ผมมีมาแลกเปลี่ยนครับ ผมมีเรื่องเล่าความเป็นมาของการจัดการความรู้ ของสำนักเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร อยู่ในจดหมายข่าว ถักทอสายใยแห่งความรู้ ของ สคส. ฉบับที่ 18 พค.-มิย.49 ... ภาพหน้าแรกประมาณ ปี 2544 ไปคุยกันนอกสำนักงาน คุยกันในสำนักงานไม่ได้ครับ เพราะว่าบรรยากาศมันซ้ำซากจำเจ เดี๋ยวก็ไปโน่นไปนี่ อยู่ตรงนี้ไปไหนไม่ได้ครับ และอีกช่วงหนึ่งเป็นช่วงของ GotoKnow กับสังคมแห่งการเรียนรู้ ผมเขียนให้คุณธวัช สคส. (ตาม link อ่านที่นี่ค่ะ) ก็เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ เวลาของการทำงานทั้งหมดนี้ประมาณ 5-6 ปี จะอยู่ใน 4-5 หน้านี้ พอพูดถึงการจัดการความรู้ จะมีในหน้าที่ 3 เป็นโมเดลของสำนักงานเกษตรจังหวัดฯ ที่ทำกัน อาจจะแตกต่างกับกรมอนามัย จะเห็นว่า คุณอำนวย คุณลิขิตก็จะอยู่ในนี้นะฮะ (เก็บคำว่า “ฮะ” ไว้สัก 1 คำ เพื่อ keep คำเดิมของคุณสิงห์ป่าสักนะคะ จะได้สื่อถึงคำพูดของตัวเป็นๆ ค่ะ) ผมจะมาเล่าว่าเราจะพัฒนาอย่างไร คือ สิ่งที่เราทำก็คล้ายๆ กับ ของ กศน. ของนครศรีธรรมราชครับ ทุนเดิมนั้นมีอยู่แล้วครับ กรมอนามัยนั้น ทุนเดิมก็มีเยอะแยะ ผมนั่งรถมายังเห็นเลย สูงๆ อยู่ตรง อบต. ว่า กรมอนามัย ที่แท้งก์น้ำไงครับ ... คือ ทุนเดิมเราเยอะ เป็นองค์ความรู้ซึ่งอยู่ภายใน ก็เป็นเรื่องของการทำงาน

แต่ว่าส่วนของผม ข้าราชการ หรือว่าคนไทยก็แล้วกัน ถ้าเกิดไม่มีการบันทึกอะไรประจำ หรือคิดว่ารู้ ว่าจำ ก็คงจำไม่หมดหรอกครับ ลองให้เขียน เขียนไม่ได้ สำหรับผม คล้ายๆ กับของครูนง เพราะว่าผมก็ทำงานไป แต่ก็ไม่รู้ว่าทำ KM พอถึงประมาณปี 2547 – 2548 กรมฯ ก็ต้องไปทำสัญญากับ กพร. ทั้งๆ ที่เราทำอยู่แล้ว กพร. กำหนดให้เราต้องทำการจัดการความรู้ ก็จะมีต้นแบบ และเราก็ไปเรียนรู้ พอเริ่มแรกที่ทำ คือ แบบนั้นเขามีให้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นเอง ถ้าเราไม่เข้าใจการจัดการความรู้ เพื่อที่จะทำงานก้าวสู่ LO นี่ เราก็จะ copy เขามา หลายๆ จุดก็จะ copy ก็จะพากันหลงทางไป ทั้งๆ ที่เราสามารถคิดของเราเองได้ โมเดลสามเหลี่ยมนี้พวกผมคิดกันเองครับ เพราะว่า competency ของเรา ถ้าเราจะทำงานส่งเสริมการเกษตร เราต้องมีความรู้เรื่องอะไร ท่านจะทำงานของท่าน ท่านจะต้องมีความรู้เรื่องอะไรที่จะทำให้งานของท่าน นำไปสู่เป้าหมายได้ ตัว KV (Knowledge Vision) มีหลายตัวก็ได้ แต่มันน่าจะมีตัวใหญ่ คือ ตัวนี้ ต้องแฝงกันไป มี KV อยู่ข้างหน้า และก็มีรายทาง ไม่ใช่ไปข้างหน้าอย่างเดียวนะครับ มันไม่ใช่เป้าฯ นะครับ KM ไม่ใช่เป้าหมาย แต่ KM เป็นเครื่องมือสนับสนุนงานของพวกเราให้ทำงานได้ดีเท่านั้นเอง ถ้าหลงเอา KM เป็นเป้าฯ ทำแล้วต้องมีแผนเอย ทำแล้วต้องมีการ ลปรร. มีการ KA (Knowledge Assets) / KS (Knowledge Sharing) อะไร ก็จบกัน มันก็จะไม่ยั่งยืน ก็จะสูญหายไปกับกาลเวลา เหมือนเครื่องมือที่เขาให้เราทำกันสมัยก่อน ทำโน่นทำนี่ก็จะหายไป ถ้าเราเข้าใจดีดี มันก็จะอยู่กับองค์กรโดยตลอดเลย เมื่อองค์กรนี้ยุบหรือไม่ทำนั่นแหล่ะ ไม่ต้องทำ KM แล้ว

 แนวคิดการจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเพษตร

 แนวคิดการจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร
ของ สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร

พอองค์กรรับว่า ต้องทำภารกิจที่ต้องผูกมัดกับ กพร. แล้ว ก็ต้องถูกสั่งให้ทำ แต่ในขณะที่ถูกสั่งให้ทำ เราก็คิดกันไปด้วยว่า มันใช่หรือเปล่า ตัวนั้นมันน่าจะเป็นการเรียนรู้เท่านั้นเอง แต่ว่าบริบทของเรามันไม่เหมือนกันนี่ แต่ละจังหวัดก็ต่างกัน แต่ละหน่วยงานก็ต่างกัน จะทำเหมือนกันหมดอาจจะไม่ถูกทั้งหมด มันน่าจะปรับ เราก็เลยมาคิดเป็นโมเดลดูว่า ถ้าจะทำงานสำนักส่งเสริม (การเกษตรฯ) นี่นะครับ มันน่าจะเริ่มจากฐานรากเลย ก็คือ บรรจุใหม่ๆ เลยครับ คือจะต้องตั้งเป้าฯ ให้เป็นอาชีพ พอทำไปก็ต้องมีทักษะ

และพอมาถึงยุดปัจจุบัน ก็น่าจะให้ทุกคน ในฐานะของนักส่งเสริมการเกษตร ก็คือ น่าจะเป็น Facilitator คือ ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ คืออะไรมาก็ต้องใช้ได้หมด แล้วก็พอเราทำไประยะหนึ่ง พอถึงในระดับที่ 3 ก็จะมีปัญหาคือ การบันทึกว่าเราจะแก้อย่างไร วิธีแก้ของเราคือ ให้เขาลองทำวิจัยในงานประจำดูซิ เพราะว่าวิจัยมันต้องมีการเขียน เก็บข้อมูล กับการบันทึก ตอนนี้ก็ทำ PAR กันอยู่ 20 กว่ากลุ่ม ทั้งเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ ไม่มีใครสั่งให้เราทำนะครับ แต่เราเห็นว่า น่าจะทำใน Food Safety นี่ละครับ ... ธงก็คือว่า ถ้าหมู่บ้านนี้จะทำการผลิตพืชให้ปลอดภัย จะต้องทำยังไง ชาวบ้านเขาก็จะคิดวิธีการของเขาเอง ซึ่งมันอาจจะขัดกับวัฒนธรรมของเราก็คือ งานจะทำอะไรก็ต้องสั่งมาก่อน มีเป็นโครงการ อย่างนี้มันก็ต้องคิด ปัจจุบันนี้ละครับ มันทำตามระบบราชการอย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำอย่างที่ในหลวงท่านบอกไว้ ทำโง่เป็นมั๊ย ก็คือ ทำแบบ NGO คือ ทำแบบการประสานภายใน ... พอถึงตอนนี้จะต้องทำก็ต้องทำการประสานกับ 3 ศูนย์ฯ เพราะชาวบ้านบอกว่า ถ้าต้องทำ Food Safety ละก็ ต้องขู่ด้วยการตรวจเลือดก่อนนะ แล้วค่อยไปตรวจผลผลิต แต่ข้างในก็ต้องว่ากันอีกที ว่าต้องทำอะไร แล้วก็ต้องมาช่วยกัน คือ ถ้าเข้าใจจากตรงนี้แล้ว ในพื้นที่จะสบายมากครับ เงิน อบต. มีเยอะแยะ เขายินดีที่จะให้ คือ โครงการนั้น บางทีมันไม่ไปจากข้างบนครับ จะคิดกันจากข้างล่าง พอคิดสถานการณ์ปัจจุบันมันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ อันนี้ก็เปลี่ยนไป

ตามนั้น พอเรายกระดับแล้ว ถ้าเราทำวิจัยได้ ต่อไปก็สามารถเป็น Knowledge Facilitator ซึ่งในความหมายของ สคส. ก็คือ การจัดการความรู้ ซึ่งเราฝันว่า น่าจะไปอยู่ตรงนั้น คือ อะไรมาก็ได้ความรู้อะไร กลุ่มคนอย่างไร ลักษณะไหน เราจัดการได้หมด อันนั้นยังเป็นสิ่งที่ยังอยู่ไกล และเราก็พยายามทำกันต่อไปครับ

ในส่วนของกิจกรรมที่ทำกันอยู่ คือ พอกลับ KM แห่งชาติครั้งที่ 2 เมื่อเดือน ธค.48 เราก็เพิ่งเริ่มต้นไม่นาน เรากลับไปทำ เอาแผนที่เราคิดเข้าสู่ระบบการส่งเสริมการเกษตรฯ มีการประชุมทุกเดือน แบ่งครึ่งเจ้าหน้าที่จังหวัด ทำ 2 วัน โดยทำ coaching ก่อน คือเอาคนใหม่มาสอนก่อน ใช้เวลประมาณ 6 เดือน คือ ให้เขา (คนใหม่ๆ มีประมาณ 7-8 คน) มาเจอกันที่สำนักงานเกษตรจังหวัดฯ และเราก็คิดว่า จะทำยังไงให้เขารู้งาน ก็เอาคนที่ทำงานก่อนมาเล่าสิ่งที่ประสบความสำเร็จ เช่น เกษตรตำบลดีเด่นบ้าง คนที่ทำงานในพื้นที่แล้ว สามารถเชื่อมกับใครได้ ให้เขามาเล่า แล้วเราก็เติมในส่วนที่เป็นหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ให้เขาไป ฝึกให้เขาทำ Portfolio แต่ถ้าเขาจะทำได้หรือไม่ดี ก็จะอยู่ที่ตัวเขา เพราะว่าตอนนี้ที่เราทำก็ไม่มีอะไรมาบังคับเขา สิ่งที่สำคัญ ตัวคนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด พอถึงระยะหนึ่ง ก็เอางานวิจัยมาลงในพื้นที่ เป็นการบังคับให้เขียน และตอนนี้ก็กำลังทำกันอยู่โดยมีเครือข่ายของส่วนกลาง นักวิจัยอิสระ และวิทยาราชภัฎท้องถิ่น ก็ไปช่วยกันดู ผมก็พยายามจัดเวที เวลาที่เขามาเจอกันก็เล่า ใครที่ทำได้ดีก็มาบอกว่าทำกันอย่างไร บางทีก็เอาชาวบ้านมาทำด้วย อันนี้ก็คือส่วนหนึ่งที่ทำ แต่บอกให้ทราบก่อนนะครับว่า ที่ทำน่ะ ไม่ได้บอกเขานะครับว่า ทำ KM ถ้าใครมาดู KM ผมก็จะบอกว่าพวกนี้เขาไม่เห็นหรอกครับ มีหน่วยงานที่จะขอไปดูกระบวนการทั้งหมด ไม่ได้หรอกครับ เพราะเขาทำกันมา 5 ปี 10 ปี ก็มาก็แล้วกัน ผมจะจัดคิวของผมไปแลกกัน วันเดียวก็พอ แต่ขอให้เป็นการ ลปรร. นะครับ ไม่ใช่แลกเปลี่ยน แล้วไม่เรียนรู้ คือ ทำอย่างเดียวแล้วก็ผ่านไป ต้องยอมรับในสิ่งที่คนอื่นเขาก็รู้ เราก็รู้ แล้วมาแลกกัน

ในส่วนของการสกัดเรื่องราวให้มาเป็นความรู้ หรือเขียนขึ้นมา (สิ่งนี้มันไม่ได้เป็นทฤษฎี ผมขอแลกเปลี่ยนในลักษณะของการปฏิบัตินะครับ) เรื่องนี้ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องเล่านะครับ ... เราต้องดูก่อนว่า ในส่วนของบทบาทที่จะต้องไปทำตรงนั้น เช่น กรณีวันนี้ ต้องมีการเตรียมการก่อน ว่า วันนี้เขาจะทำอะไร สัมมนา Focus group / Group discussion / Group interview หรือเราจะไปจัดเวทีชาวบ้าน ถ่ายทอดอะไรก็แล้วแต่ บรรยากาศมันต่างกัน อย่างที่ผมบอกไป บางอย่างถ้าเอาไปไม่มีไฟฟ้าก็จบ เอากล้องวิดีโอไป ไม่มีไฟฟ้าก็ถ่ายทำไม่ได้ อันนี้เราต้องรู้ก่อนว่า สิ่งที่เราจะไปทำตรงนั้นในเบื้องต้น สถานการณ์มันคืออะไร และสิ่งที่เราจะไปทำ ใครไปกับเราด้วย ถ้าไปคนเดียวก็ไม่ต้องเตรียมอะไร แค่ไหนก็แค่นั้น แต่ทีนี้โดย ธรรมชาติจะไม่ค่อยไปคนเดียว ต้องมีทีม

ทีมของพวกผมนะครับ ... ส่วนใหญ่บทเรียนที่เราทำกันจะเป็นลักษณะของการถอดบทเรียน การถอดบทเรียน และการสรุปบทเรียนจะต่างกัน ก็คือว่า พอเราจะทำให้เกิด Facilitator ขึ้นมาสักคน มันมีขั้นตอนนะครับ ไม่ใช่อยู่ๆ ก็ไปฝึก Fa เรามีขั้นตอนอยู่ประมาณ 2-3 ขั้นตอน

  1. Step แรกคือ ต้องให้สังเกตไปก่อน ให้เป็นคุณสังเกต ไปนั่งดูเขาก่อน เขาทำยังไง ไม่ต้องบันทึกก็ได้ นั่งดูเขา นั่งฟัง ถ้าไม่ฟังเขียนยังไงคงเขียนไม่ได้ เพราะไม่ได้นั่งฟัง ต้องฟังก่อนแล้วค่อยฝึก แล้วค่อยยกระดับบันทึก ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต ดูกระบวนการให้รู้ก่อน มันจะมี 2 อย่างครับ ถ้าเราทำไปตามธรรมชาติ คือ 1) ตัวกระบวนการ Facilitator 2) คือ ตัวเนื้อหา คือวิชาการที่จะออก มันจะมี 2 อย่าง กระบวนการก็ดูบรรยากาศ อารมณ์ เป็นยังไง แสงเป็นยังไง ตอนนี้เขารู้สึกยังไง ดูนาฬิกาหรือเปล่า อากาศร้อนหรือเปล่า อันนี้ก็คือกระบวนการ ... แต่ตัวเนื้อหาก็ดูที่ว่า อะไรที่มันเป็นสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้จกาเขา หรือต้องความรู้ ต้องการข้อมูลจากเขา มีข้อห้ามข้อปฏิบัติ ซึ่งอาจเรียกว่า Do & Don’t ซึ่งเราต้องจับมาให้ได้ ว่าเขาขมวดเรื่องอะไรบ้าง เหมือนที่ท่านรองฯ พูดเมื่อกี้ เห็นพี่ศรีวิภาจดได้ 1 หน้ากระดาษ แล้วเครื่องมือที่จะจับ ของใครก็ สไตล์ไคร สไตล์มัน ไม่ต้องไปเลียนแบบใคร ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเก่งเท่ากันได้ครับ
  2. พอพวกเราสังเกตแล้ว ก็ลองให้เขาเป็น Note taker ก่อน สมมติเราจัดกระบวนการ เขียนเลยครับ กระดาษ Flip Chart 2 มุม คนนี้เก่งหน่อย เอาคนเดียว ว่ากันให้หมด อะไรก็จดไป ฟังอะไรได้ก็จดไปเลย อีกมุมหนึ่งคนใหม่เลย ให้ 2 คน ช่วยกัน เป็นอย่างนี้ละครับ ในส่วนของสำนักงานส่งเสริมฯ เราฝึกกันอย่างนี้ พอเขาเล่าเสร็จ ดูงานเสร็จเขามาเล่า และก็ให้เขานำสรุป เขาก็จะเรียนรู้ตรงนั้นด้วย เพราะว่ามันเกิดการเปรียบเทียบ นี่เขาจดได้เยอะกว่า คราวต่อไปเราก็ต้องเอารูปแบบนี้นะ อะไรทำนองเดียว “โอ้โห ดูเหมือนปลวกเลย” เขาพูดกันนะครับ
    เราก็แกล้งไปถ่ายรูป และก็ลองฟังไป สังเกตดูพฤติกรรมของเขา เพราะว่าเราต้องพัฒนาตรงนี้ นี่คือสิ่งที่เราฝึก พอเขียน หรือ note ได้ บางทีสถานการณ์เดียวกันก็ดันขึ้นเวทีเลย เขาก็จะเป็น Facilitator หรือคุณอำนวยได้ เกิดการเรียนรู้ได้ ถามว่า ระยะเวลาเท่าไร ใช้หลักสูตรอะไร ไม่มีคำตอบครับ ทางปฏิบัติก็อยู่ที่ตัวเขาเอง ถ้าเขาสนใจก็ใช้เวลาไม่นาน แต่ถ้าไม่สนใจ เขียนไปเถอะครับ 5 ปีก็ยังไม่ได้ อันนี้เป็นเรื่องจริง ก็มีอยู่ 5 ปี 10 ปี ก็ยังไม่ได้ สิ่นี้การไปดูงานก็ไม่สามารถที่จะเห็นกระบวนงานได้ทั้งหมด
    ในส่วนของการจะจด มันก็แล้วแต่ความถนัด บางคนก็ถนัดในส่วนของเครื่องมือ เช่น อาจเป็น Mind mapping (ก็อาจเขียนได้หลากหลาย) / บัตรคำ (ก็อาจโยกย้ายได้) ซึ่งก็จะมีข้อดีต่างๆ กันไป ตามที่เราถนัด บางคนก็เขียนแบบ Flow chart เรียงตามลำดับ อย่างผมจดเรียงลำดับ เอาลำดับเนื้อหา + ลำดับเวลา ใครพูดอะไรก็ต้องจดเวลาไว้ด้วย
    พวกนี้จะสะท้อนถึงตัวข้อมูล เวลาเขาเติมทีหลังเราจะได้ใส่ช่องได้ถูก ถ้าเราฝึกให้เก่งขึ้น เราก็ต้องมีประเด็นอยู่ในสมองว่าเราจะจับอะไรบ้าง สมมติเรามาพูดกันเรื่องแผนฯ อย่างน้อยแผนฯ ก็ต้องมีอยู่ในหัวแล้วว่า ถ้าพูดเรื่องนี้ก็จับเข้ากล่องนี้ กล่องนี้ อันนี้คือ ต้องฝึก ต้องทำบ่อย และอาจใช้เวลาไม่นาน ถ้าเราเข้าใจ และต้องตัดสินใจที่จะเขียน ที่

ผมเขียนแบบนี้ ผมฝึกตัวเองเมื่อประมาณปี 2548 ฝึกเขียนบันทึกการปฏิบัติงาน ประมาณ 5-10 บันทึก บางทีครึ่งวันก็เพิ่งเริ่ม ทั้งกระบวนการ เนื้อหา ปนกันไปหมด ใส่รูปเข้าไปด้วย พอทำเสร็จก็นำเสนอผู้บังคับบัญชาก็จบ เพราะนั่นก็คืองานละครับ เราไม่ทำ KM นะครับ ทำงานของเรา ถ้ารู้อย่างนี้แล้วก็จะไม่เหนื่อย พอทำแล้วก็จะมีความสุข งานเราก็เสร็จ และการบันทึกที่ผมนำเรียนมานี้ ถ้าเป็นในส่วนของภาพ เราก็ถ่ายภาพไว้ และมาติด เพราะบางทีเราต้องดำเนินกระบวนการด้วย เราจะไม่มีเวลา แต่ถ้าหน้าที่โดยตรงก็ OK

คุณวีรยุทธ สมป่าสัก กับ นพ.สมศักดิ์ ชุณรัศมิ์เสร็จแล้ว ก็สะท้อนข้อมูลกลับในกลุ่ม ให้เขาได้ตรวจสอบ อันนี้สำคัญนะครับ ถ้าเราจดไปเรื่อย เขาพูดอย่างจดอย่าง ที่ให้เขียนก้เพราะ เราจะได้ดูด้วย ดูตัวอย่างด้วย และเจ้าของคนพูดจะได้ดูด้วยว่า เกินไปแล้วไม่ได้พูดนะ หรือว่าประเด็นนี้หลุด อันนี้สำคัญนะครับ เพราะมันเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ มันก็ต้องเรียนรู้กันไป และบางข้อมูลหลุด บางคนฟังทัน บางคนฟังไม่ทัน ก็ช่วยกันได้ และสุดท้ายผมก็จะไปเอาของทั้งหมด และของตัวเองด้วยเขียน เราก็จะเก็บได้ทั้งหมด นี่คือ สิ่งที่ปฏิบัติจริง ถ้าเราจะเขียน ยุ่งยาก เอ๊ ทำยังไง ไม่กล้าเขียน เขียนบันทึกใน GotoKnow แรกๆ ไม่กล้าเขียน ถูกบันทึกให้เขียน พวกผมก็ช่วยกันแหย่ ให้กำลัง ก็เริ่มการพัฒนา ต่อให้อ่านวิธีอย่างไรก็ช่าง ถ้าไม่มีการพัฒนาก็จะอยู่เช่นนั้น ถ้าเราไม่เริ่มต้นเขียน

ตอนนี้ถ้าในส่วนของกรมอนามัย ก็จะมีแฟ้มภูมิปัญญา ซึ่งเป็นการเก็บคลังความรู้ และถ้าเราจะไปใช้ประโยชน์จาก GotoKnow.org เราก็ไม่ต้องลงทุน เพราะว่าของมีอยู่แล้ว นั่นคือ สนามจริง และสังคมเรียนรู้ที่สามารถจับต้องได้ทางหนึ่ง ก็คือ GotoKnow ครับ ลองเข้าไปดู จะเข้าใจ สนุกมากครับ ได้แลกเปลี่ยนกันจริง และทำแล้วก็มีความสุข ผมก็ไม่ได้เขียนในเวลานะครับ เขียนนอกเวลา เพราะในเวลาเราไม่มีเวลา และเวลาใช้รูปหรืออะไร ก็อาจจะ load มาจากสำนักงานฯ เรียบร้อยแล้ว กลางคืนเราก็ไปแก้บท หรืออะไร และอีกอย่างถ้าเราจับประเด็นต่างๆ กลับไปต้องเขียนทันทีนะครับ อย่าเอากองไว้ เพราะว่าถ้ากองไว้ ก็ไม่ได้เขียนหรอกครับ ต้องพิมพ์ใส่เผยแพร่เลยครับ และก็ต้องพยายามใส่เนื้อหาในส่วนที่เกิดขึ้น สิ่งที่เราได้เรียนรู้ อาจจะเป็น Do & Don’t ที่เกิดมาจากคนเล่า หรือเนื้อหา อันนี้สำคัญ เหมือนที่ท่านรองฯ บอกไว้ว่า สำเร็จหรือไม่ ต้องเขียนนะครับ เพราะการทำสำเร็จหรือไม่นั้น เป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น"

เป็นไงคะ สไตล์สิงห์ป่าสัก ย้ำนะคะ ว่า สไตล์ใคร สไตล์มัน ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่อนุญาตค่ะ ถ้าจะเอาสไตล์ดีๆ ที่คิดว่า ตัวเองชอบ และทำได้ นำไปต่อยอดทำจริง และอย่าลืมนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยนะคะ ... อันนี้ตอบแทนคุณสิงห์ป่าสักค่ะ เพราะเชื่อมั่นค่ะ ว่าท่านไม่หวงความรู้นี้เลยละ

 

หมายเลขบันทึก: 40606เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2006 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เยียมเลยครับ

 ได้ Tacit Knowledge แท้ๆเลยของท่านสิงห์ป่าสัก และ ท่านอาจารย์หมอนนทลี

อาจารย์ JJ ไวมากค่ะ ยัง load ไม่หมดเลย ... รบกวนอาจารย์เข้ามาอีกรอบนะคะ เพราะว่าจะเพิ่ม link อีกสักหน่อย ยังขาดอีกนิดเดียวค่ะ

  • ชอบมากตรงที่ว่า มีการสะท้อนข้อมูลให้กลุ่มได้ตรวจสอบด้วย มากๆค่ะ เพราะจะช่วยให้ปัญหาประเภท...."พูดอย่างเขียนอย่าง"... "ตีความตามคนเขียน".... "ตกหล่นประเด็นปิ๊งแว๊บไป" ก็น่าจะลดน้อยลงไปเยอะนะคะ ต้องขอนำเทคนิคนี้ไปใช้บ้างล่ะ
  • ตอนคุณยุทธ์เล่าเรื่องอยู่ ได้รับ Note สกัดดาวรุ่งบ้างหรือเปล่าคะ? เห็นเล่าได้ยาวจัง....

พีเม่ยค่ะ พอดีกับคุณหมอนันทา เป็นคุณเอื้อแบบว่า ชอบส่งเสริมดาวรุ่งค่ะ เลยไม่มีความคิดสกัดคุณยุทธ์เลย ... และถ้าได้เห็นบรรยากาศนะคะ มีหนุ่มๆ มาพูดให้ฟังยังนี้นะ ชาวกรมอนามัยฟังกันอย่างนัยน์ตาเป็นประกายเชียวค่ะ ... ขอบอก

เขาเรียกว่า อ่อยเหยื่อไว้ก่อน เอาไว้ถ้ามีโอกาสเชิญพี่เม่ยมา อาจพูดอีกแบบหนึ่งค่ะ

  • ขอขอบพระคุณคุณหมอนนท์มากครับที่อดทนมากในการบันทึกเรื่องเล่านี้
  • เพิ่งเคยถูกสกัดความรู้(ไม่ใช่สกัดดาวรุ่งนะครับ..พี่เม่ยโปรดทราบ)เป็นครั้งแรกครับ
  • เคยแต่ไปสกัดความรู้จากคนอื่น
  • ผมว่าวันนั้นผมเล่าไปเพียงนิดเดียวเองนะครับ  เยอะจนขนาดพี่เม่ยแซว..
  • ผมว่าคุณหมอนนท์คือคุณลิขิตตัวจริงนะครับ

เรียนท่านอาจารย์หมอนนทลี

 เข้ามาที่ใดครับ ฝากคารวะไปยังท่านเอื้อพี่นันทา และ พี่ชายท่านอาจารย์หมออ่วม ด้วยครับ โอกาสหน้าคงได้ "ลปรร" กับทีมงานกรมอนามัยนะครับ

คุณสิงห์ป่าสักคะ ... อดทน แบบสนุกค่ะ แต่ที่อดทนมากกว่า คือ ระบบ upload ค่ะ แบบ load แล้ว fail ประมาณนี้ ทำให้ต้องทำหลายๆ ครั้ง ต่อ 1 ตอนค่ะ

อ.JJ คะ ... รับฝากแล้ว ว่างๆ อ.แวะมาเที่ยวกรมอนามัยด้วยสิคะ จะได้พาทัวร์ค่ะ

เพื่อนร่วมทางคนหนึ่ง

บรรยายได้ดีมาก เข้าใจง่าย  อยากเก่งแบบนี้บ้างค่ะ

 

สำหรับคุณเพื่อนร่วมทางคนหนึ่ง

... ต้องยกประโยชน์ให้คุณสิงห์ป่าสักสิคะ เธอเล่ามาแล้วฟังง่ายจริงๆ ค่ะ เหมาะกับเชิญไปให้การแลกเปลี่ยนเรื่อง ความรู้ และเทคนิคในการทำงานค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท