โปรแกรมฝึกความแข็งแรงของมือสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์


ใช้ของที่มีอยู่รอบตัวในการฝึกความแข็งแรงของมือ

ช่วงที่พ่อเป็นอัมพฤกษ์จากโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อออกมาจากโรงพยาบาลแล้วดิฉันจะพาพ่อไปทำกายภาพบำบัดเกือบทุกวัน ทำอยู่ได้สองอาทิตย์ ก็ต้องหยุด เพราะพ่อป่วยเนื่องจากออกกำลังกายหนักไป เมื่อพ่อหายป่วยดิฉันพาพ่อกลับไปทำกายภาพบำบัดอีกครั้ง ก็พบว่า ผู้ป่วยเยอะมาก คนดูแลไม่เพียงพอ

ดิฉันบอกพ่อว่าเลิกมาฝึกเถอะ เราฝึกกันเองดีกว่า ดิฉันจึงใช้เวลาค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอยู่เป็นอาทิตย์เพื่อหาโปรแกรมกายภาพบำบัดที่ทำได้เองที่บ้าน และก็มาทราบว่า ต้องบำบัดทั้ง physical therapy และ occupational therapy

ในด้าน physical therapy ไม่ค่อยจะลำบากนัก เราประยุกต์อุปกรณ์กันมาหลายอย่างจากห้องกายภาพบำบัด เช่น ฝึกกำลังขา ฝึกเดินขึ้นลงบันได เป็นต้น

ส่วนเรื่อง occupational therapy หรือ การฝึกให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น ใส่เสื้อผ้า หยิบของ อะไรทำนองนี้ ดูจะเป็นปัญหาสำหรับพ่อ คงเพราะเป็นแขนซ้ายด้วยมั่งทำให้การพัฒนาดูจะช้ามาก สังเกตุได้ว่าดูพ่อจะหงุดหงิด เวลาหยิบจับอะไรไม่ได้

ดิฉันพยายามหาซื้ออุปกรณ์ในการฝึกมือมาให้พ่อ แต่ก็หาไม่ได้เลย ก็เลยใช้การหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตแทนแล้วเก็บสะสมเทคนิคไว้จากหลายๆ ที่ และอุปกรณ์ก็คือสิ่งที่มีอยู่แล้วในบ้าน

และสำหรับบันทึกนี้ ดิฉันเขียนเทคนิคให้พ่อฝึกความแข็งแรงของมือค่ะ  

โปรแกรมฝึกความแข็งแรงของมือ

1. ตัดกระดาษ
2. ฉีกกระดาษหนังสือ-ขยำ-คลี่
3. ยกของด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วอื่นๆทีละนิ้ว
4. ติดกระดุมเสื้อ
5. สับไพ่แล้วแจก
6. หมุนดินสอด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วอื่นๆทีละนิ้ว
7. เปิดฝาขวดยาเม็ด เทยาออก หยิบยาใส่ขวด
8. หยิบเม็ดถั่ว กระดุม ตะปู ใส่ลงในขวด
9. หมุนน๊อตเข้าออก
10. หยิบเหรียญใส่กระปุกออมสิน
11. เล่นดินน้ำมัน
12. ผูกเชือก คลายเชือก
13. ฝึกเขียน
14. โยน-จับลูกบอล ปล่อย-จับลูกบอล ตบลูกบอลขึ้นลง
15. เล่นเกมส์ เช่น หมากรุก ไพ่ โดมิโน

จากวันนั้นที่พ่อใช้มือซ้ายไม่ได้เลย ดิฉันคอยเฝ้าติดตามและให้กำลังใจ นั่งพูด นั่งคุย ฝึกเขียนมือซ้ายกับพ่อ พยายามให้พ่อทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เอง ตอนนี้มือซ้ายของพ่อใช้ได้เกือบ 90% แล้วค่ะ และขับรถเองจากนครศรีธรรมราชมาหาลูกสาวคนนี้ที่หาดใหญ่เกือบทุกครั้งที่หมอนัดมาเอายาเบาหวาน

อืม... น่าปลื้มจริงๆ พ่อเรา หอมซักฟอดนะ :)

หมายเลขบันทึก: 41026เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอขอบพระคุณอาจารย์จันทวรรณ...

  • ก่อนอื่น... ขอกล่าวสาธุการในกตัญญูกตเวทิตาของท่านอาจารย์ สาธุ สาธุ สาธุ
  • เรื่องการฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายสำหรับคนไข้น่าจะเหนื่อยคล้ายกับการออกกำลังต้านแรง (resistive training) หรือยกน้ำหนัก (iron pumping / weight training) ในคนทั่วไปทีเดียว

ขอเรียนเสนอหลักการง่ายๆ ของการ "ฝึกหนัก" มีอย่างนี้ครับ...

  • (1). ควรมีวันหนัก-วันเบาสลับกัน... ถ้าฝึกหนักทุกวันจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะบาดเจ็บ (training injury)
    (2). สัปดาห์หนึ่งควรมีวันพัก 1 วัน เหตุผลคล้ายข้อ (1)
    (3). ถ้าจัดโปรแกรมการฝึกเป็น 2 ชุด เช่น ชุด(ก)+ชุด(ข) ทำสลับกันวันเว้นวัน (alternate day) น่าจะทำให้สนุกขึ้น และบาดเจ็บ / ชอกช้ำน้อยลง
    (4). ถ้าจัดโปรแกรมให้เริ่มจากง่ายไปยาก... ให้คนไข้ได้ลิ้มรสของความสำเร็จ+รางวัลบ่อยๆ น่าจะสนุกขึ้น
    (5). นักวิทยาศาสตร์การกีฬารัสเซียพบว่า อะไรที่ฝึกข้างหนึ่งยังไม่ได้ ให้ฝึกข้างตรงข้ามไปพลางก่อน เช่น มือซ้ายใช้การไม่ได้ ให้ฝึกมือขวาไปพลางๆ และฝึก 2 มือสลับกัน เพื่อให้ระบบประสาทพัฒนาการประสานงาน (co-ordination) ได้ไวขึ้น

คนที่แข็งแรงดี(ไม่ป่วย)น่าจะลองฝึกใช้มือข้างที่ไม่ถนัดทำงานบ้าง เช่น ถนัดขวา > หัดใช้มือซ้ายล้างรถ ฯลฯ จะได้พัฒนาสมอง + ป้องกันสมองเสื่อมไปในตัว

  • ขอขอบพระคุณอาจารย์ครับ...

ขอบพระคุณอาจารย์หมอวัลลภมากค่ะ เทคนิคการฝึกใช้มือซ้ายสำหรับคนทั่วไปน่าสนใจมากค่ะ จะพยายามฝึกใช้ตามที่อาจารย์แนะนำค่ะ

ขอฝากสำหรับท่านที่ต้องดูแลผู้ป่วยอัมพฤต อย่าลืมดูแลตนเองด้วย และกำลังใจที่ให้กับตนเองและให้กับผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์จันทวรรณ...                              

  • ขออนุญาต(ขอโอกาสเพื่อชี้แนะ)ครับ
  • ดูเหมือนคำว่า "อ่อนแรง (paresis)" จะเขียนแบบสันสกฤตว่า "อัมพฤกษ์"
  • ส่วนคำว่า "ไม่มีแรง (plegia)" จะเขียนว่า "อัมพาต"
ขอบพระคุณค่ะอาจารย์หมอวัลลภ นี่ละค่ะ ข้อดีของการเขียนในบล็อก มีผู้ช่วยเหลือในการแก้คำผิดด้วยค่ะ :)

เรียน ท่านอาจารย์จันทวรรณ...                               

  • Go2Know มีระบบตรวจคำผิด (spell check) แบบ p2p (peer-to-peer) ครับ

อาจารย์หมอวัลลภค่ะ

Spelling check สำหรับ GotoKnow น่าทำมากค่ะ แต่เป็นภาษาไทยนี่ซิค่ะ เป็นโจทย์ที่ยากหน่อยค่ะ

Thank you for your comment krab.

I am writing from Perth with an impressive understanding how you have searched a way of exercising your dad's hand.

In fact, I would recommend that performing physical activities as leisure tasks or activities of daily living make an effective way to improve your dad's hand functions.

A part of hand exercise is good, but please let your dad thinks more how controlling the affected brain area and both hands into usual living skills. This is such one technique in various neurological rehabilitation programs.

However, I am pleased to consult any problem on your dad's living skills right now to my staffs at Mahidol Uni. Alternatively, you may visit two websites at http://www.pt.mahidol.ac.th/ot/ or http://www.otat.org/

Kind regards,

 

The above webpage you may like to read some Thai articles related to your dad's improving of hand functions krab.

Kind regards,

หนูได้มีโอกาสเข้าในgotoknowแล้วได้อ่านข้อความของอาจารย์ ลุงของหนูเป็นโรคเส้นเลือดในสมองอุดตันเวลา 2 ปีแล้วค่ะ ตอนนี้ทำกายภาพทุกวันขาข้างซ้ายเริ่มมีแรงแต่ไม่มากแขนข้างซ้ายยังใช้ไม่ได้เลยค่ะ ตอนนี้เริ่มมีอาการคล้ายซึมเศร้า เริ่มท้อแท้ แล้วสภาพแวดล้อมรอบตัวทำให้ลุงไม่อยากพูดกับใคร เพราะคำพูดบางคำไปกระทบใจค่ะ หนูเลยอยากขอความกรุณาอาจารย์ช่วยแนะนำวิธีการดูแลคนป่วยด้วยโรคนี้ได้ไหมค้า เราจะต้องใช้วฺการพูด หรือพูดอย่างไรให้คนไข้รู้สึกว่าตัวเค้ามีคุณค่า ลุงหนูอายุ54ปี ไม่มีโรคประจำตัวค่ะ สาเหตุที่เป็นเพราะเครียดและสูบบุหรี่ รับราชการเป็นครูค่ะ รบกวนด้วยนะค้า หนูอยากให้ลุงของหนูกลับมาช่วยเหลือตัวเองได้อีกครั้งเหมือนคุณพ่อของอ.

ว่านน้ำ

[email protected]

13/7/54 ข้าพเจ้าเคยมีประสบการณ์กับบุคคลซึ่งเป็นที่รักป่วยเป็นอัมพฤกษ์ สาเหตุจากมีเบาหวาน ความดัน และเป็นเส้นเลือดตีบ

จากคนที่เคยแข็งแรง อยู่ ๆ แขนขาอ่อนแรงปากเอียง และเคลื่อนไหวตัวไม่ได้จึงรีบพาไปพบแพทย์ สุดท้ายแพทย์ระบุว่าป่วยเป็น "อัมพฤกษ์" ยอมรับว่าตกใจมาก ๆ แต่ด้วยมีสติที่ดีพยายามศึกษาความรู้ และปรนนิบัติกับผู้ป่วยอย่างดี ดังนี้.-

1.ให้ความรัก ความเข้าใจ พูดจาด้วยคำพูดไพเราะ และให้กำลังใจอยู่เสมอ

2.ให้ทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทานง่าย ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ควรทานโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมัน

3.จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือที่ฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อมือ แขน ขา ให้ผู้ป่วยได้ฝึกเสมอ

4.นวดตัวแขนขาร่างกายสมำเสมอเพื่อเลือดลมจะได้สูบฉีดดีขึ้น ไม่อุดตัน และดูแลทำความสะอาดการขับถ่ายผู้ป่วยโดยไม่รังเกียจ

5 พาผู้ป่วยไปพักผ่อน ท่องเที่ยว ในบรรยากาศธรรมชาติ หรือสถานที่ ๆ คิดว่าผู้ป่วยชอบ จิตใจจะได้สดชื่นเบิกบาน

6.ทำบุญร่วมกันกับผู้ป่วย เช่น ตักบาตร ถวายสังฆทาน ไปวัด บริจาคทาน ฟังธรรม

7.ก่อนนอนสวดมนต์ร่วมกับผู้ป่วย แม้ว่าผู้ป่วยจะยังพูดไม่ค่อยชัด และเปิดเทปธรรมมะให้ฟังในเวลานอน

ข้าพเจ้าได้ปฏิบ้ติด้วยความรัก ความห่วงใย อย่างใกล้ชิด สุดท้าย มือท่านขยับได้ ตักอาหารได้ ลุกขึ้นเดินเองได้ พูดสวดมนต์ได้

"ความรัก ความห่วงใย ความผูกพัน การปฎิบัติต่อผู้ป่วยผู้เป็นที่รักอย่างดี สุดท้าย อัมพฤกษ์ ก็หายได้" ด้วยความปรารถนาดี..

แวะมาอ่านอีกครั้ง ที่ผมเคยติดต่ออาจารย์จันสมัยอยู่ออสเตรเลีย ซึ่งไม่มี Keyboard ภาษาไทย นับถือครับที่อาจาีรย์ค้นคว้าจนพบวิธีการฝึกกิจกรรมบำบัดและกายภาพบำบัดให้คุณพ่อได้อย่างดีมากๆ

สวัสดีคะอาจารย์ คุณพ่อหนูเป็นโรคหลอดเลือดในสมองอุดตันสมองฝั่งขวา เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา (30/12/16) ส่งผลให้แขนขาด้านซ้ายอ่อนแรง หนูได้เริ่มค้นหาข้อมูลเพื่อช่วยเหลือทำกายภาพให้พ่อ มาเจอเวปเพจของอาจารย์ พบว่าเป็นประโยชน์มากๆเลยคะ หนูนำวิธี จากทางเวปของคุณอามาประยุกต์ใช้ ตอนนี้พ่อพอจะเดินได้ด้วยไม้เท้า แต่ถึงตอนนี้20/02/17เดือนกว่าแล้วมือยังไม่มีแรงเลยคะ อยากรบกวนปรึกษาทางอาจารย์ว่า ตอนแรกเลยเราจะพอมีวิธีสร้างแรงให้มือกลับมาไหมคะเพื่อที่จะได้ทำกิจกรรมทางตามข้างต้นที่อาจารย์แนะนำ หรือเราทกิจกรรมทั้งๆที่ไม่มีแรงเลยดีคะ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าคะ

อรอนงค์

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท