beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

บันทึกนี้เพื่อเธอ : กรวีร์ ณ สคส.


คุณค่า กับ มูลค่า เปรียบเทียบกันไม่ได้

      ผมได้มีโอกาสพบกับคุณกรวีร์ โภคะศฤงคาร ในแบบตัวตนคนเป็นๆ 2 ครั้ง ครั้งแรกในงานฉลองครบรอบ 1 ปี GotoKnow และครั้งที่ ๒ ในคราวเสวนา UKM 7 (3/2548) รู้สึกด้วย sense ว่าเธอเป็นคนเก่งคนหนึ่ง เธอได้มีโอกาสมาพบปะกับทีมงานของมน.ดังภาพข้างล่างนี้

ภาพคุณกรวีร์ (ขวาสุด) กับทีมงานมน.

   เธอนับเป็น KM internship คนแรกของสคส. มีบล็อกชื่อ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสคส. ใช้นามแฝงว่า "ลิขิต" ใช้ชื่อลิงค์ว่า fastlearning

   เธอทำงานในสคส. โดยที่ไม่ได้รับเงินเดือน (แต่ได้รับความรู้ KM ภาคปฏิบัติ) น่าสนใจว่าเธอจบมาทางด้านวิทยาศาสตร์ (ที่สคส.มักรับคนที่จบมาทางด้านวิทยาศาสตร์ คงเป็นด้วยว่า เป็นคนที่คิดแบบมีเหตุมีผล)

   มาดูความรู้สึกของเธอเกี่ยวกับการทำงานที่ไม่ได้รับเงินเดือน "คุณค่า กับ มูลค่า  เปรียบเทียบกันไม่ได้   การพัฒนาความนึกคิดเป็น คุณค่า ตีราคาเป็นมูลค่าเงินไม่ได้  เช่นเดียวกับ แผนการรบแบบทุบหม้อข้าว  มีตาย กับ ชนะ เท่านั้น เมื่อไม่มีข้าวกิน หรือ มีกินอย่างจำกัด  ถูกกดดันเกือบทุกทาง  เราจะมีพลังในการที่จะเรียนรู้มากมายกว่า ในขณะที่เรามีเงินเดือน ซึ่งจะขี้เกียจ และใช้จ่ายเงินอย่างไม่เต็มประโยชน์  ทั้งยังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้ยากกว่า” 

   ลองไปพบกับข้อเขียนของเธอในชื่อบันทึกว่า ผลึกปรัชญา ท่านจะพบคติปรัชญาอยู่ในบันทึกเพียบเลยครับ เป็นเรื่องราวที่เขียนออกมาจากส่วนลึกของจิตใจ ที่ผ่านการทำงานในสคส.มาค่อนทาง.. (ความจริงในบันทึกนี้มีอะไรซ่อนอยู่ครับ แต่ไม่ขอเฉลยในที่นี้ ปล่อยให้งงกันไปเองครับ...)

 

หมายเลขบันทึก: 39977เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ความรู้บางเรื่อง ได้เรียนรู้แล้วคุ้มค่ามากกว่า เงิน ครับ
ขอบคุณในคำชมนะคะ วันนี้ ทราบจาก อาจารย์หมอวิจารณ์ ว่ามีบันทึกเขียนถึงตนเอง จริงๆแล้วกรวีร์ เลิกเป็นคนเก่ง คนเรียนเก่งมานานหลายปีแล้วค่ะ อาจารย์ ขอเป็นคน ที่เป็นงาน ก็เพียงพอแล้ว บางสิ่งเราเลือกไม่ได้ ถ้าชะตาฟ้ากำหนด ดินกำหนด เพียงเราต้องทำภาระหน้าที่ให้ดีที่สุด จนกว่าเราจะหมดภาระบนโลกนี้เท่านั้น แต่เราก็สุขใจอย่างแท้จริง ในยุคนี้ เปรียบเหมือนเราเป็นคนส่งอาหารจานด่วนถึงบ้าน เพียงใครจะเรียกใช้บริการเท่านั้น หรือเจอใคร โดยบังเอิญที่สมควรได้...แต่ก็มีจุดสิ้นสุดของเวลาเสมอ และเป็นเรื่องจริงจังยิ่งนัก อาจารย์ก็ยังโชว์ Competency ทางการใช้ gotoknow ตามสไตล์ตนเองอย่างเหมาะสม ต่อแผนการทำงาน ของ มน.นะคะ ขอชื่นชม ทีมงานกลยุทธ์การรบจริงๆ หรือเพราะท่านอยู่ จังหวัดพิษณุโลก เมืองสองแคว ขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ มหาราชผู้ทรงคุณต่อแผ่นดินไทย ประวัติศาสตร์ จะทำให้คนเราดิ่งลึกในอุดมการณ์อย่างไม่น่าเชื่อ...
  • ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกก็ว่าได้นะครับ ที่ได้รับการ response จาก staff ของ semi-KMI เมื่อมีการเขียนเรื่องพาดพิง
  • ผมรอ comment จากคุณกรวีร์ ซึ่งก็ทำได้ดีนะครับ
  • อยากบอกว่า คนที่เรียนมาทางด้านวิทยาศาสตร์ การใช้ภาษาไทยใช้ได้ดีทีเดียว (ถ้าหมั่นฝึกฝน)
  • ใน sense ของผมคุณกรวีร์ เข้ามาเป็น KM-internship ครั้งนี้ ผมคิดว่าคุ้มค่า เพราะได้ฝึกตนจริงๆ และเมื่อผ่านพ้น 3 เดือนไป คงเป็นคนแกร่งคนหนึ่ง (เปลี่ยนจากเก่ง) ที่จะออกไปทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาตินะครับ (แม้ว่าจะทำงานเล็กๆ ก็ตาม)
ขอบคุณ Comment ค่ะ อาจารย์ ต้องขออภัยนะคะ ที่บ้านยังไม่ได้ปรับปรุง ตัวซอฟแวร์ ที่มีปัญหากับ Front & Fomat แต่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ ได้ทบทวนว่า ช่วงปลายเดือนที่ 2 และเข้าสู่เดือนที่ 3 กรวีร์ ได้ใช้ Gotoknow เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับ ชุมชนชาวบล็อก ที่มีคุณภาพทั้งสิ้น ซึ่งตนเองไม่ได้ใส่ไว้ในแผนการเรียนรู้ KM ปฏิบัติ ไม่มีใครบอกเรา ว่าต้องทำอย่างนี้ แต่ต้องสังเกตวัฒนธรรมและพัฒนาการของตนเอง ว่าควรไปในทิศทางใด บันทึกแรกของกรวีร์ มีอาจารย์ คุณสิงห์ป่าสัก และคุณหมอปารมี เข้ามา Commemntให้กำลังใจ แต่กรวีร์ไม่ได้ตอบกลับ เพราะยังไม่เข้าใจวัฒนธรรมชุมชน คิดว่าเข้าไปอ่าน แล้วดีใจแค่นั้นค่ะ... และขณะนั้นกำลังเรียนรู้วัฒนธรรม สคส.แบบเด็กใหม่ ต่อมาหลังจากที่ได้เจอ ดร.จันทวรรณ และ ดร.ธวัชชัย ได้เรียนรู้เรื่อง gotoknow และมีความสุขที่จะใช้อย่างเข้าใจ เดือนที่ 2 นี้ กรวีร์จะปรับตัวเอง เข้ากับความเหมาะสมของข้อมูลที่เก็บจาก เดือนแรก จึงพุ่งเป้าความสนใจมาที่การเขียน การอ่าน บันทึก การ comment และ การตอบComment ย่อมเป็น มารยาทที่สมาชิกชุมชน ควรทำ ที่ตนเองเกิดการเรียนรู้ขึ้น ถ้าไม่ Active ชุมชนเสมือนก็คงซบเซา ทุกครั้ง ที่กรวีร์เข้าไปเรียนรู้ในที่ใดที่หนึ่ง ตอนสุดท้าย ก็จะได้คำตอบ 2 ด้าน เสมอ จากการพิสูจน์ ด้วยธรรมชาติของตัวเราเองค่ะ กรวีร์สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง นางพญาผึ้ง ค่ะ อาจารย์พอจะเขียน อธิบาย ธรรมชาติ ความเป็นอยู่... อื่นๆ ที่เป็น ความรู้พื้นฐานได้ไหมคะ? กรวีร์จะมองในภาพปรัชญาเปรียบเทียบค่ะ อาจใช้ สัมผัสที่ 6 นะคะ ในการทำ KM รูปแบบใหม่นึ้ ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ ค่ะ

เรียนคุณกรวีร์

  1. นับเป็นวัฒนธรรมที่ดีใน GotoKnow นะครับ ที่ได้มีการลปรร.กันครับ
  2. ผมอ่านที่ ลปรร. กลับมาก็ OK นะครับ
  3. เราไม่ควรเอาเปรียบคนอื่นด้วยการอ่านของเขาอย่างเดียว ควรมีส่วนร่วมด้วยครับ ชอบก็บอกชอบ ไม่ชอบก็บอกไม่ชอบ (แต่ใช้คำที่นุ่มนวล)
  4. สำหรับเรื่องผึ้งนางพญา ตอนนี้ก็พอดีเลยครับ รู้สึกเหมือนผมจะมีสัมผัสที่ 6 ที่รับรู้ที่คุณกรวีร์ ขอมา คือผมกำลังสอนนิสิตเรื่องนี้ และก็พาไปดูผึ้งนางพญามา แต่เขายังไม่เข้าใจเรื่องทั้งหมดดี ผมกำลังคิดจะเขียนเรื่องนี้ระหว่างการเดินทาง คงจะต้องใช้เวลาพอสมควรครับ แต่สัปดาห์หน้ายุ่งทั้งสัปดาห์เลยครับ ต้องทยอยเขียนลง กว่าจะจบ คุณกรวีร์คงจบ KM-internship ไปแล้ว
  • ขอสนับสนุนคุณลิขิต ครับ
  • อยากทราบเรื่องผึ้งนางพญาครับ ทำไม ทำไม...
เป็นเรื่อง สัมผัสที่ 6 จริงๆค่ะ คุณขจิต จะอดทนรอคอย เพื่ออ่าน และเขียน ตามที่แจ้ง อาจารย์beeman ค่ะ เพื่อพิสูจน์สัมผัสตนเองด้วยนะคะ เมื่อผ่านพ้นเวลานั้นไปแล้ว จะสรุปเรียนคุณขจิตครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท