ผลึกปรัชญา


การสนทนาแบบไม่ค่อยรู้เรื่อง ในการเรียงประโยค แต่ผู้เขียนเข้าใจว่า คู่สนทนาจะได้แง่คิด มุมมองที่หลากหลาย และจำได้ตลอดไป ในแก่นเนื้อหาสาระ

             จากเวที UKM  ผู้เขียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ผู้ทรงคุณวุฒิชาวมหาวิทยาลัย หลายท่าน หนึ่งถึงสองท่านในจำนวนนั้น ทำให้ผู้เขียน ตกผลึกปรัชญาชีวิต ในอดีต จนถึง วันสุดท้ายของ  เวที UKM  คือผู้เขียนกลับถึงบ้าน...

  • ในวงสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วันสุดท้าย เพื่อนที่เพิ่งพัฒนาจาก B2B เป็น F2F  ยิงคำถามมาที่ผู้เขียนว่า   "คิดอย่างไร ? กับการเป็น KM Intern โดยไม่มีเงินเดือน "
    ผู้เขียนตอบว่า  "คุณค่า กับ มูลค่า  เปรียบเทียบกันไม่ได้  การพัฒนาความนึกคิด เป็น คุณค่า ตีราคา เป็นมูลค่าเงินไม่ได้  เช่นเดียวกับ การออกรบ แบบทุบหม้อข้าว  มีตาย กับชนะเท่านั้น เมื่อไม่มีข้าวกิน หรือ มีกินอย่างจำกัด  ถูกกดดันเกือบทุกทาง  เราจะมีพลังในการที่จะเรียนรู้มากมายกว่า ในขณะที่เรามีเงินเดือน ซึ่งจะขี้เกียจ และใช้จ่ายเงินอย่างไม่เต็มประโยชน์  ทั้งยังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้ยากกว่า”

ผู้เขียนได้รับคำชี้แนะ เมื่อ  วันที่ 14  กุมภาพันธ์  2543  เวลา  21.28 น. ทางโทรศัพท์
“จิตวิญญาณประเมินคุณค่าไม่ได้   ตอนเรามีจิตวิญญาณ  ก็ประเมินคุณค่าไม่ได้   เหมือนดั่งบุญ กุศล ความดี ความชั่ว  ความเดือดร้อน ฯลฯ”
“เงินตราประเมินคุณค่าได้  เพราะคนเราเอามาเป็นตัวเปรียบ ตัวเทียบ มาวัดค่าของเงินตรา  แล้วนำมาซื้อวัตถุ หรือ คนที่ขาดจิตวิญญาณ”

  • บนรถเมล์ ปรับอากาศ สาย 515  เดินทางจาก สภอ. พุทธมณฑล  สู่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  ผู้เขียน ก็ได้ทำสุนทรียสนทนา กับ  ชาว gotoknow อีกท่านหนึ่ง  เกี่ยวกับ เทคนิค และพัฒนาการ การเขียนบล็อกของท่าน
              การสนทนาแบบไม่ค่อยรู้เรื่อง ในการเรียงประโยค  แต่ผู้เขียนเข้าใจว่า  คู่สนทนาจะได้แง่คิด มุมมองที่หลากหลาย  และจำได้ตลอดไป ในแก่นเนื้อหาสาระ  เพราะ คุยด้วยใจ คุยด้วยจิต  ผลัดกันซัก ผลัดกันถาม  ผลัดกันตอบ  ผลัดกันชม  ผลัดกันชูประเด็นสนใจ  ผลัดกันเชื่อมโยงประเด็นทางความคิด  นับว่าคู่สนทนามีสติ และสมาธิอย่างเป็นธรรมชาติ ในระดับที่ดีทีเดียว
               สุดท้ายผู้เขียนก็ได้ข้อสรุปยืนยันประเด็น ก่อนแยกจากท่านที่ป้ายรถเมล์อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  ว่า  “คนไทยชอบโจทย์ที่ท้าทาย  ไม่แน่ว่าจะใช้เทคโนโลยีได้ดี  โดยไม่กังวลเรื่องวัย เพราะใช้จินตนาการในการทำงาน”
     
    “บางสิ่งยิ่งค้นหา เหมือนยิ่งไกล   ไม่ค้นหา กลับใกล้แค่เอื้อม    อยู่ใกล้ เหมือนอยู่ไกล   แต่อยู่ไกล คือ ใกล้แค่เอื้อม”

 

หมายเลขบันทึก: 39328เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 07:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สวัสดีตอนเช้าค่ะ “บางสิ่งยิ่งค้นหา เหมือนยิ่งไกล   ไม่ค้นหากลับใกล้แค่เอื้อม    อยู่ใกล้ เหมือนอยู่ไกล   แต่อยู่ไกล คือ ใกล้แค่เอื้อม”
ขอบคุณค่ะ  จริงๆเขียนตอนกลางคืนนะคะ  แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านยังมีปัญหาเรื่อง Format อยู่ค่ะ คงได้บางสิ่งบางอย่างสมปรารถนาแล้วนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท