อนุทินล่าสุด


กวิน
เขียนเมื่อ

ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

สุนทรภู่: สุภาษิตสอนหญิง

เกิดเป็นหญิง ให้เห็น ว่าเป็นหญิง   อย่าทอดทิ้งกิริยาอัชฌาสัย
เป็นหญิงครึ่ง ชายครึ่ง อย่าพึงใจ  ใครเขาไม่ สรรเสริญ เมินอารมณ์


ทำไมจึงให้คนที่เป็น ลูกครึ่ง (ครึ่งหญิง-ครึ่งชาย) มาเป็น commentator ในรายการทีวี ก็ขนาดเพศของตัวเองนั้นยังไม่แน่ใจ แล้วจะไป comment คนอื่นให้เกิดความมั่นใจได้อย่างไร? หา คนเต็มคน มาเป็น commentator ไม่ได้แล้วเหรอ ?



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

256510  ไอ้เจย์ : กระบวนกร แปลว่า อะไร?



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ประเทศไทยปฏิรูประบบการศึกษาพร้อมๆ ญี่ปุ่น (สมัย ร.5) แต่ก็พัฒนาไปไม่เท่าเทียมกับประเทศญี่ปุ่น หากมองในแง่ดีก็คือ ถึงเด็กไทยโดยเฉลี่ยจะ ฉลาดน้อย  ผลิตรถยนต์ คอมพิวเตอร์ ซีดีโป๊ ฯลฯ ส่งออกนอกเองไม่ได้ แต่ทว่า ปัญหาการทำ อัตวินิบาตกรรม หรือปัญหาการ ฆาตกรรมหมู่ ในสถานศึกษา ก็มีร้อยละเฉลี่ยน้อยกว่าประเทศที่ เจริญทางด้านวัตถุ อย่างเช่นในประเทศญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านโลก Digital แต่ทั้ง ประเทศญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกาเอง ก็กำลังประสบกับสภาพปัญหา Moral Divide เพราะเจ้า Digital นั้นเป็นเสมือนดาบสองคมที่ทำให้สังคม วุ่นวาย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

@36586  หวง นี่ ไม่เกี่ยวกับ หวงเฟยหง ใช่มั้ยครับ ก็คนที่เป็นหมอที่คอยช่วยเหลือชาวบ้านและยังเป็นอาจารย์สอนกังฟูที่คอยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องให้กับลูกศิษย์ของเขาอีกด้วย (โปรดอ่านเฉพาะคำที่เป็นตัวหนังสือสีแดง :)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

251832 อนึ่งในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ พระองค์มีสาวกองค์หนึ่งที่ชื่อว่า  สหกะ  ทำปฐมฌานให้เกิดแล้วฌานไม่เสื่อม เมื่อจบชีวิตลง ก็บังเกิดเป็น มหาพรหม มีอายุหนึ่งกัปในปฐมฌานภูมิ  ต่อมาในสมัยพระพุทธเจ้า พระองค์ปัจจุบัน ทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงดำริว่า ธรรมที่เราบรรลุนี้ ละเอียดละออสูงสุดมาก ยากที่บุคคลจะบรรลุตามได้ พระองค์ก็ทรงท้อพระราชหฤทัยไม่อยากที่จะสอนผู้อื่น  ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงเห็นว่า ความฉิบหายจะบังเกิดแก่หมู่มวลสัตว์ น้อย ใหญ่ ทั้งหลายจึง ประณมกร กราบทูลอาราธนา พระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์โลก สหก+ปติ (ผู้เป็นใหญ่)   ลง นิคคหิตอาคม ขยายคำออกไปเป็น  สหมฺปติ หรือ สหัมบดี ในภาคภาษาไทย  

แต่  ท้าวสหัมบดีพรหม ในที่นี้ก็อาจจะเป็นเพียงแค่ บุคคลาธิษฐาน (Personification) ที่ถูกสร้างขึ้นมาเปรียบเทียบสภาวะที่เกิดขึ้นภายใน หทัยประเทศ ก็ได้

ต่อมา เหตุการณ์เมื่อครั้งที่  ท้าวสหัมบดีพรหม ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้ทรงแสดงธรรม กลายเป็นคำสำหรับ อาราธนาพระสงฆ์ (ในเมืองไทย) ให้แสดงธรรม มาจนถึงทุกวันนี้ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

Alzheimer's disease ภัยมืด ของผู้สูงวัย (สว.) เสียงสะท้อนของ เด็กชายกวิน เอิ้กๆ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

มีผู้รู้ สันนิษฐานว่า มะม่วง ซึ่งสมัยสุโขทัยเรียก หมากม่วง มาจากภาษาทมิฬว่า mangaai  คำว่า gaai แปลว่า ผลไม้ mangaai แปลได้ว่า ผลมาง หรือ ลูกมาง 

ข้อสันนิษฐานของกวิน

ภาษาบาลีเรียกมะม่วงว่า อมฺพ ส่วนภาษาสันสกฤตเรียก มะม่วง ว่า อามรฺ ซึ่งใกล้เคียงกับ (a) mang ในภาษาทมิฬ mang ในภาษาทมิฬแปลว่าอะไร ?

 ในภาษาสันสกฤต รกฏ(ะ) (สำเนียงไทย) แปลว่า ลิง ไทยใช้ มรรกฎ(ะ) ก็มี (มานิต มานิตย์เจริญ-พจนานุกรมไทย ในภาษาบาลีออกเสียงว่า มกฺกฏ(ะ)  (หน้า 707) ไทยเขียนว่า มักฏะ (หน้า 722)

พอเขียนมาถึงตรงนี้ นึกถึงคำว่า monkey ในภาษาอังกฤษที่แปลว่าลิง

คำว่า มกฺกฏ ในภาษา บาลี(ชนเผ่าอารยันผิวสีขาว) อาจมีรากศัพท์มาจาก คำว่า mang ในภาษาทมิฬ (ชนเผ่าพื้นเมืองผิวสีดำ) (ภาษาอังกฤษว่า monkey ซึ่ง บาลี/สันสกฤต-(ละติน)-อังกฤษ เป็นภาษาในตระกูลเดียวกัน)

ชนเผ่าทมิฬ เรียกผลไม้ชนิดนี้ (มะม่วง) ว่า mang (mang น่าจะมีรากศัพท์ที่ใกล้กับศัพท์ มกฺกฏ ซึ่งแปลว่า ลิง?) เพราะมีลิงอาศัยเก็บกินผลไม้ชนิดนี้ก็เป็นได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

@36446

นมัสการพระคุณเจ้า ขอบพระคุณสำหรับความรู้เรื่อง การแจกแจงวิภั(ต)ติ ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ในเวปพันธ์ทิพย์ กระทู้เรื่อง มะม่วง แสนอักษร อรรถาธิบายว่า

ตำราแม่ครัวหัวป่าก์
ของ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ พิมพ์ครั้งแรก ๒๔๕๑ พิมพ์ครั้งที่ ๖ สมาคมกิจวัฒนธรรม ๒๕๔๕ เล่ม ๒ หน้่า ๑๑๐ เอ่ยถึงพันธ์มะม่วง เอาไว้ ว่า

อกร่องทุเรียนแก้ว หนังกลางวัน แมวเซา พิมเสน สัมปั้น พราหมณ์ขายเมีย ทศกรรฐ์ ai ฮวบ อินทรชิต เงาะ นกกระจิบ ไข่ hia แก้มแดง ทองปลายแขน หมอนทองพรวน กะล่อนทอง มะม่วงกะทิ น้ำตาลจีน น้ำตาลทราย เทพรศ แฟบ

เพ็ญชมพู อรรถาธิบายว่า พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ร้อยเรียงชื่อพันธุ์มะม่วงไทยไว้เป็นกาพย์ยานี ๑๑
ในหนังสือพรรณพฤกษา เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว ว่า

       หมอนทอง อกร่องรส        หวานปรากฎรสสวรรค์
       แมวเซา มีสองพันธุ์          แมวเชาขาว แมวเชาดำ
       พรวนขอ อีก พรวนควาย    แก้ว ฤๅ กลาย มีประจำ
       ควันเทียน และ ทองคำ      มลิอ่อง ทองปลายแขน
       น้ำตาล ปากกระบอก         ขานนามออกทุกดินแดน
       มะม่วงนายขุนแผน           ปลูกเมื่อทัพกลับคืนมา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

มะม่วง
 
ชื่อพื้นเมือง
ขุ (กาญจนบุรี), โคกแล้ะ(ละว้า-กาญจนบุรี), เจาะช๊อก,ช้อก(ชอง-จันทบุรี), หมักโม่ง (เงี้ยว-ภาคเหนือ), โตร๊ก(นครราชสีมา)
เปา (มาเลย์-ภาคใต้), แป (ละว้า-เชียงใหม่) ชื่อบาลี อมฺพ (อัม-พะ), อมฺโพ (อัม-โพ), เสตมฺโพ (เส-ตัม-โพ) http://www.rspg.thaigov.net/homklindokmai/budhabot/mango.htm

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
เสต– [–ตะ–] (แบบ) ว. เศวต, สีขาว. (ป.; ส. เศฺวต). 
เสตุ น. สะพาน, ทํานบ. (ป., ส.).

เสต+อัมพ+วิภัติ โอ=เสตัมโพ

ชื่อนี้คนแขกคง มองเห็น เนื้อ/ผล/ผิว มะม่วง (บางพันธุ์) มีสีขาวนวล



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ข้อสันนิษฐานของฉัน

มะม่วงยังมีฉายาอื่นๆ อีกในภาษา แขก เช่น

คัณฑาม
พฤกษ์=(ป่า)มะม่วง (พบเรียกในมหาชนกชาดก)

จริงๆ คัณฑาม ที่แปลว่ามะม่วงขมับช้าง/หัวช้าง นี้ ต้องเขียนว่า คัณฑามฺร เพราะมาจาก คัณฑ+อามฺร

คัณฑ แปลว่า แก้ม,ขมับช้าง,แผลเป็น,หนังพอง(ฝี)<นาคะประทีป-ปาลีสยามอภิธาน น.95> ผลมะม่วงคล้ายหัวช้าง?

อัมพ [อําพะ] น. ต้นมะม่วง, ใช้ว่า อัมพพฤกษ์ ก็มี. (ป.; ส. อามฺร). <พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน>

อัมพวา
/อัมพวัน/อัมพวนา=มะม่วง /ป่ามะม่วง/ป่ามะม่วง

คัณฑามฺร (มะม่วงหัวช้าง) มาจาก คัณฑ (ขมับช้าง)+อามฺร/อัมพ (มะม่วง) 


อัมพ/อามฺร=อาจจะเพี้ยนเป็น (หมาก/มะ)ม่วง ได้หรือไม่?  เพราะการตัดคำ นี้มีให้เห็นในภาษาไทย จิตร ภูมิศักดิ์ ยกตัวอย่างเอาไว้ ก็เช่น อักโขภิณี ตัดคำลงเหลือ อักโข และตัดคำลงเหลือเพียงว่า โข (มาก=โข) (สิ้น)ชีพิตตักษัย สุนทรภู่ ตัดคำลงเหลือเพียง ตักษัย  เช่น

ทั้งรำพันสรรเสริญเห็นเกินนัก
ถึงจะรักก็ไม่รักจนตักษัย
ที่ข้อนั้นครั้นจะเชื่อก็เหลือใจ
เขาว่าไว้หวานนักก็มักรา 


อามฺร คนไทยอาจจะฟังเพี้ยน ไป เป็น ม่วง ในที่สุด (แต่ทว่าในยุค สุโขทัย นิยมเรียกสี เขียว ว่าหมายถึงสี ม่วง และสี น้ำเงินด้วย) กรณีฟังเพี้ยนนี้ได้แก่กรณี ท้าวทองกีบม้า นายหันแตร นายทหารเดชฟ้า นายการฝัดรัสดิน ฯลฯ

อัมพุ แผลง อุ เป็น ว ได้ อัมพวะ/า =น้ำ (มะม่วงเกิดใกล้แหล่งน้ำ)?
อัมพิล=รสเปรี้ยว (มะม่วงมีรสเปรี้ยว)? <มานิต มานิตเจริญ-พจนานุกรมไทย>

  •  ถ้า  mangaai ในภาษาทมิฬ แปลว่ามะม่วง
  • และ gaai แปลว่า ผลไม้
  • mangaai แปลได้ว่า ผลมาง หรือลูกมาง

 ก็แล้ว Mang ในภาษาทมิฬ แปลว่า อะไร? แปลว่าสี ม่วง หรือไม่ หรือใช้เรียกคุณลักษณะ ใดของต้นมะม่วง

มีแก้ไข



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ


http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K7690684/K7690684-12.jpg

ข้อสันนิษฐานจากผู้รู้ ทางภาษาศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องคำว่า มะม่วง

มะม่วง แปลว่า หมาก(ผลไม้) ที่มีสีม่วงคือเรียกตามสี ผิว/แก่น/ใบ ที่พบเห็นได้ภายนอก คาดว่า พันธ์ดั่งเดิมมีสีม่วง

วิทยานิพนธ์ เรื่อง คำเรียกสีและมโนทัศน์เรื่องสีของคนไทยสมัยสุโขทัยและสมัยปัจจุบัน ของศุภมาส เอ่งฉ้วน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ ระดับมหาบัณฑิต ปี 2543 สรุปได้ว่า "เขียว" ในสมัยสุโขทัย มีความหมายกว้างกว่าในสมัยปัจจุบัน กล่าวคือ มีความหมายรวมถึงเนื้อสีที่เป็น ม่วงและน้ำเงินด้วย

มะม่วง=
Mangifera indica Linn. วงศ์ ANACARDIACEAE
(Mangi =  มะม่วง  fera = เกิด  Indica = อินเดีย)

มีผู้สันนิษฐานว่า คำว่า (หมาก/มะ)ม่วง มาจาก
ภาษา
มลายู ที่ว่า manga ---> ภาษาทมิฬ mangai <--- ภาษาโปรตุเกส manga <--- ภาษาอังกฤษ mango)

ภาษาเขมร สวาย แปลว่า มะม่วง

ในหนังสือ กาเลหม่านไต ของ บรรจบ พันธุเมธา
กล่าวว่า รัฐอัสสัม รัฐฉาน และบริเวณใกล้เคียงที่มีชนชาติไต-ไทอาศัยอยู่  มีอยู่ถิ่นหนึ่งเรียก มะม่วง (หมากม่วง) ว่า
"หมากบ่วง"   เพราะเป็นหมากที่มี ตัวบ่วง (แมลงชนิดหนึ่ง) มากัดกินเป็นประจำ จึงเรียกว่า หมากบ่วง

จีนกลาง หมางกว่อ โดยที่ กว่อ แปลว่าผลไม้ ตรงกับภาษามลายูว่า  mangga 

จีนตระกูลหมิ่นหนานเรียกว่า  เซอ  ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว ออกเสียงตามสำเนียงท้องถื่นว่า ส่วย ตรงกับ สวาย ในภาษาเขมร

***********************************



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

คำอ่านหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ด้านที่สอง ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตระพังโพยสี ใสกินดี ... ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูร ได้สามพันสี่ร้อยวา คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐิน เดือนณื่งจิ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัติกฐินเถืงอรัญญิกพู้น http://72.14.235.132/search?q=cache:uaiyOh8qyHMJ:www.sukhothai.go.th/history/hist_08.htm+%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87+%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%81&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

สำนวนมะม่วงหมาเลีย กลายเป็นคำด่าของนางพิม เมื่อขุนช้างมาเกี้ยวพาราสี นางพิมจึงแกล้งด่าว่าอ้ายผลหัวล้าน บ่าวไพร่ตีกระทบขุนช้างว่า

หมามันจะเกิดชิงหมาเกิด  มึงไปตายเสียเถิดอ้าย ห้าเบี้ย (คำผวน)
หน้าตาเช่นนี้จะมีเมีย        อ้ายมะม่วงหมาเลียไม่เจียมใจ

โดนด่าขนาดนี้ขุนช้างก็เลยต้องปล้ำนางพิม...เป็นฉากสุดสัปดน http://72.14.235.132/search?q=cache:qxFWCMSHTHAJ:www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php%3Fnewsid%3DTUROb1lYQXhNREl5TURNMU1nPT0%3D%26sectionid%3DTURNeE53PT0%3D%26day%3DTWpBd09TMHdNeTB5TWc9PQ%3D%3D+%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ภาพที่เห็นนั้น เป็นตอนพระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ใน วันเพ็ญกลางเดือนแปดก่อนวันเข้าพรรษาหนึ่งวัน ปาฏิหาริย์ คือ การแสดงให้คนเห็นเป็นที่อัศจรรย์ ซึ่งสามัญชนหรือคนที่ไม่เคยเรียนรู้มา ก่อนแสดงไม่ได้ มีตั้งแต่อย่างต่ำ เช่น เล่นกล หรือที่เรียกว่าแสดงปาหี่ ขึ้นไปจนถึงเดินบนน้ำ ดำดิน ลุย ไฟ กลืนกินตะปู ที่พวกฤาษีแสดง ตลอดถึงการเหาะเหินเดินอากาศที่ผู้มีฤทธิ์แสดง ปุถุชนแสดงได้ พระ อรหันต์ผู้ได้ฌาณได้ฤทธิ์ก็แสดงได้ ยมก แปลว่า คู่หรือสอง ยมกปาฏิหาริย์ คือ การแสดงคู่ น้ำคู่กับไฟ คือเวลาแสดง ท่อน้ำ ใหญ่พุ่งออกจากพระกายเบื้องบนของพระพุทธเจ้า เปลวไฟพุ่งเป็นลำออกจากพระกายเบื้องล่าง เป็นต้น ยมกปาฏิหาริย์แสดงได้แต่ผู้เดียว คือผู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ส่วนพระอรหันตสาวก และ เดียรถีย์ ฤาษีชีไพรแสดงได้แต่ปาฏิหาริย์ธรรมดา เช่น เดินบนน้ำ ดำดิน เป็นต้น สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ครั้งนี้ คือที่โคนต้นมะม่วงหรือ คัณฑาม พฤกษ์ ในเมืองสาวัตถี มูลเหตุที่ทรงแสดงคือ เพราะพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ท้าพระพุทธ เจ้าแข่งแสดงปาฏิหาริย์ว่าใครจะเก่งกว่ากัน พวกเดียรถีย์ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่ โคนต้นมะม่วง จึงให้สาวกและชาวบ้านที่นับถือพวกตน จัดการโค่นต้นมะม่วงเสียสิ้น ทราบว่าบ้านใคร สวนใครมีต้นมะม่วงก็ใช้อิทธิพลทางการเงินซื้อ แล้วโค่นทำลายหมด แม้หน่อมะม่วงที่เกิดในวันนั้นก็ทำ ลายไม่เหลือ แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วงจนได้ โดยมีผู้นำผลมะม่วงสุก มาถวาย ทรงฉันเสร็จแล้ว รับสั่งให้คนปลูกเมล็ดลงดิน แล้วพระองค์ทรงใช้น้ำที่ล้างพระหัตถ์รด ปรากฎ ว่าหน่อมะม่วงโตพรวดพราด แตกกิ่งก้านสูงขึ้นถึง ๕๐ ศอก ผลที่สุดพวกเดียรถีย์พ่ายแพ้ไป http://www.84000.org/tipitaka/picture/f62.html



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ต้นมะม่วงอันปรากฏในพระมหาชนกชาดก เป็นปริศนาธรรมซึ่งตีความได้หลายนัย ประกอบด้วยต้นมะม่วง หนึ่งมีผลอันโอชะ กับ อีกหนึ่งซึ่งไร้ผล ยังแต่ใบเขียวสดเต็มต้น “ วางรูปให้คู่กัน ” คุณธีระวัฒน์ คะนะมะ หนึ่งในศิลปินผู้วาดภาพประกอบพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก อธิบายนัยยะแห่งการวาดภาพต้นมะม่วง “ เพราะว่าถึงตอนนี้ เป็นตอนที่กำลังจะบอกคนว่า นี่แหละคือสิ่งที่เราต้องมาเปรียบเทียบกันแล้ว ระหว่างสิ่งที่มีคุณค่า กับ สิ่งที่ไม่มีคุณค่าตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป ” มะม่วงซึ่งออกผลอันโอชะ ภายหลังพระราชา คือพระมหาชนกเสวย บรรดามหาชนต่างยื้อแย่ง หวังจะเชยชิมบ้าง แต่ทว่า กระทำด้วยความละโมบและเขลาต่อผลอันจะบังเกิด จึงฉกฉวยกอบโกย จนมะม่วงนั้นแทบสิ้นไป รองศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต ได้ให้ทัศนะในเรื่องนี้ไว้ว่า “ มะม่วงมันให้ประโยชน์ ให้ผลไม้ให้กินแล้ว ก็น่าจะมีบุญคุณต่อคนที่กินผลมะม่วง แล้วทำไมต้องทำลาย เมื่อทำลายแล้ว แทนที่จะได้กินต่อไป ก็ไม่ได้กินเพราะหมดไปแล้ว เพราะฉะนั้นวิธีการที่ถูกต้องที่สุดคือ ต้องถนอมต้นมะม่วงนั้นไว้ ให้มันมีผลเหมือนเดิม หรือพัฒนาให้มันมีผลมากขึ้นไปกว่านั้น โดยวิธีใดก็ตามที่จะให้ผลิตผลได้มาก เพื่อจะได้แจกจ่ายให้ประชากรในเมืองได้กินมากๆ โดยทั่วถึงกัน.” ต้นมะม่วง ในบทพระราชนิพนธ์ หากจะเปรียบกับแผ่นดินไทยก็คงเป็นเช่นกัน ด้วยผู้คนสนใจแสวงประโยชน์ใส่ตน จนละเลยการรักษาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า นั่นคือการทำลายตนเอง ด้วยแม้นแผ่นดินสิ้นประโยชน์ให้แสวงหา คนไทยจะอยู่ได้อย่างไร http://72.14.235.132/search?q=cache:jET0oS4ewoEJ:www.moomkafae.com/index.php%3Flay%3Dshow%26ac%3Darticle%26Id%3D148241%26Ntype%3D1+%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%81+%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ในคราวหนึ่ง พระนางอุมาได้นำเอาผลมะม่วงมาถวายกับพระศิวะผลหนึ่ง ปรากฏว่าลูกทั้งสองคนคือ พระพิฆเนศวรและพระขันทกุมาร ต่างก็อยากจะเสวยมะม่วงผลนี้ด้วยกันทั้งคู่ ด้วยเหตุนี้พระศิวะจึงอยากรู้ว่า ลูกทั้งสองคนนี้ใครจะเก่งกว่ากันโดยออกอุบายว่า ใครก็ตามหากเดินทางรอบโลกถึงเจ็ดรอบและกลับสู่วิมานปาวตา(วิมานของพระศิวะและพระนางอุมา) ก่อนผู้นั้นจะได้ผลมะม่วงลูกนี้ ว่าแล้วฝ่ายพระขันทกุมารก็ไม่รอช้า รีบขี่นกยูงตระเวนท่องโลกทันที ฝ่ายพระพิฆเนศวรแทนที่จะเอาอย่าง กลับเดินประทักษิณรอบพระบิดาเจ็ดรอบ และกล่าวว่า “ข้าแต่พระบิดา พระองค์คือจักรวาล และจักรวาลคือพระองค์ พระองค์ผู้สร้างโลก และทรงเป็นบิดาแห่งข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ทำประทักษิณพระบิดาเจ็ดรอบ ถือว่าได้กุศลเท่ากับเดินทางรอบโลกเจ็ดรอบ” พระศิวะเทพยินดีในคำตอบและชื่นชมในสติปัญญาจึงมอบผลมะม่วงให้กับพระพิฆเนศวรทันที http://gotoknow.org/blog/twpeed/205169



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

Perinatal Conference ครั้งที่ 1/2552 โดย นพ.จิรชัย นิ่มไชยนันท์ และ นพ.วิพัฒน์ อุดมพงศ์ลักขณา วันที่ 23 เมษายน 2552 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมไพลิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ชั้น 2 ตึก 4 แจ้งรายชื่อผู้เข้าประชุมได้ที่กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ คณะกรรมการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

กวิน : มึงลองแปลประโยคนี้ "Le rêve est passé. Aujourd'hui, c'est la vérité réalité."

Jay: ฝันผ่านไปแล้ว วันนี้เป็นความจริง

กวิน : จริงๆ กูผูกมาจากประโยคภาษาไทยที่ว่า "อดีตคือความฝัน ปัจจุบันคือความจริง" กูจำมาจาก มหา'ลัยเหมืองแร่ ฉากที่ อาจินต์ ปัญจพรรค์ กินเหล้าเมามายแล้วเขียนตัวหนังสือที่ผนังว่า "อดีตคือความฝัน ปัจจุบันต้องอด อนาคตคือต้องตาย" แล้วก็หลับไป เมื่อตื่นขึ้นมาก็พบว่า ตาแดงได้แก้ข้อความเป็น "อดีตคือความ ปัจจุบันต้องอดทน"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

แนะนำหนังสือ

Depa 
ผู้หญิงในภาพคือ บอร์น นานี บาลา บารัว แต่ลูกศิษย์ของเธอเรียกเธอว่า แม่(ของ)ทีปะ

สู่ชีวิตอันประเสริฐ (Knee Deep in Grace) แต่งโดย เอมี ชมิดท์ แปลโดย แม่มิ่งขวัญ (ส.ศิวลักษ์ :บรรณาธิการ) พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2546 สำนักพิมพ์ สวนเงินมีมา 135 หน้า ISBN 9749160118

นานี บารัว เกิดในหมู่บ้านทางตะวันออกของเบงกอล ซึ่งติดกับเขตแดนประเทศพม่าในแคว้น จิตตะกอง เธอแต่งงานตั้งแต่อายุ 12 (เด็กอายุ 12 ต้องจากพ่อแม่พี่น้อง) ย้ายไปอยู่กับสามีซึ่งมีอาชีพ วิศวกร ประจำที่เมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า ต่อมาเมื่ออายุ 18 ปีแม่ของเธอก็เสียชีวิต เธอรับน้องชายคนเล็กของเธอมาเลี้ยงเหมือนลูกเมื่อเธออายุ 30 ปี (พ.ศ.2488) ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศพม่า เกิดสภาวะข้าวยากหมากแพง เมื่อเธออายุ 35 ปีเธอ มีลูกสาวคนแรกแต่คลอดได้สี่เดือนลูกสาวเธอก็เสียชีวิต  สี่ปีต่อมา เธอตั้งครรภ์อีกครั้ง เธอตั้งชื่อลูกของเธอว่า (ประ)ทีป(ะ) ที่แปลว่า แสงสว่าง ต่อมาเธอตั้งครรภ์อีกครั้งได้ลูกผู้ชายแต่เสียชีวิตตั้งแต่คลอดใหม่ๆ ต่อมาเธอป่วยด้วยโรค ความดันโลหิตสูง ทำให้ต้องล้มหมอนนอนเสื่อ ต่อมาสามีเธอเสียชีวิต ต่อมาเธอปฏิบัติกรรมฐานที่ ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานกามยุติ ในประเทศพม่า ต่อมาได้พบกับ ท่านอนาคาริกะ มุนินทรา ต่อมาท่านมุนินทรา ได้ชักชวนให้เธอปฏิบัติธรรมที่ ทัทนายิกา กับ พระคุณเจ้ามหาสีสยาดอ ปี พ.ศ.2510 รัฐบาลพม่าผลักดันให้ชาวต่างประเทศออกจากประเทศ ต่อมาเธอกลับมาอยู่ยัง (สลัม) ในเมือง กัลกัตตา ประเทศอินเดีย และสอนการปฏิบัติกรรมฐาน จากชุมชน สลัมที่วุ่นวาย ก็กลายเป็นชุมชนที่สงบสุข ต่อมาเธอได้ไปสอนวิปัสนากรรมฐานที่ สหรัฐอเมริกา โดยการเชื้อเชิญจากลูกศิษย์ของเธอ พ.ศ.2531 เสียชีวิตด้วยวัย 78 ปี (ย่อความจากหน้าที่ 1-27)

"ย่อความจากหน้าที่ 28 ; เมื่อทีปะ กลับจากที่ทำงานในเย็นวันนั้น แม่(ของ)ทีปะ รู้สึกไม่สบาย ทีปะถามว่า จะเรียกหมอดีมั้ย? แม่(ของ)ทีปะ ห็ยินยอมอย่างไม่ค่อยแน่ใจนัก และเพื่อนบ้านที่ชื่อ สันทิบ มัทสุดดี ได้ออกไปหาหมอแต่ไม่พบ เมื่อสันทิบกลับมา เขานั่งลงใกล้ๆ แม่(ของ)ทีปะ และเริ่มนวดแขนให้เธอ เขารำลึกให้ฟังว่า แม่ทีปะขอให้ผมจับศีรษะเธอ ดังนั้นผมจึงเอามือจับศีรษะเธอแล้วสวดมนต์ด้วยพระสูตรที่เธอเคยสอนผม เมื่อเธอได้ยินผมสวดมนต์ เธอก็พนมมือรับคำสวดมนต์ แล้วเธอก้มลงเคารพพระพุทธรูป แต่ไม่เงยหน้าขึ้นเลย ดังนั้นผมและทีปะจึงช่วยกันยกตัวเธอขึ้นมาจากพื้น และพบว่าเธอหยุดหายใจแล้ว"

ข้อคิดที่ได้
ลูกตาย สามีตาย จน เครียด เข้าวัด ฟัง/ปฏิบัติธรรม ชีวิตก็จะดีขึ้น


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

Q : เราเปลี่ยน "เรา" ความคิดแบบเรายังเปลี่ยนไม่ได้แล้วคิดว่าจะเปลี่ยน "เขา"ได้หรือ?

A : ได้สิ ขอตอบด้วย คาถานี้ ที่ว่า

"พรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ"

แปลว่า "ท้าวสหัมบดีพรหม ประณมกรกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐว่า สัตว์ในโลกนี้ ที่มีกิเลสบางเบาพอที่จะฟังธรรมเข้าใจนั้นมีอยู่ ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมช่วยเหลือชาวโลกเทอญ"

บัวสี่ เหล่า คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ และ ปทปรมะ สามประเภทแรกเรียกว่า เวไนยสัตว์ แปลว่า สัตว์ผู้ควรแก่การแนะนำสั่งสอน/สัตว์ที่พอฝึกได้  เราเปลี่ยน "เรา" ความคิดแบบเรายังเปลี่ยนไม่ได้แล้วคิดว่าจะเปลี่ยน "เขา"ได้หรือ? จึงขอตอบว่า ถ้าเขาในที่นี้คือ บัวสามเหล่าแรก แล้วล่ะ เราก็พอจะเปลี่ยนเขาได้ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

*จำมาจากหนังสือสวดมนต์ (จากแต่ก่อนสวดแบบนกแก้วนกขุนทอง ตอนนี้สวดแบบ
นกฮูก*/นกแสก) คุณล่ะเคยมั้ยที่เหมือนว่ามี เทวดา มาดลใจ ให้มีกำลังใจในการทำอะไรสักอย่างหนึ่ง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ในตอนท้ายของการบรรยายธรรมะในงานปัจฉิมนิเทศ พระอาจารย์สมพงษ์ รัตนวังโส ได้ฝากคติธรรมแก่บัณฑิตแพทย์ไว้เป็นข้อเตือนใจว่า "อย่าทำนมหก" (ท่านว่าฟังแล้ว อย่าเพิ่งเอา กิเลส ในใจมาตัดสินพระ) แล้วท่านก็พูดคติธรรม ที่ว่า
 
อย่า ท้อเมื่อพลาดพลั้ง
ทำ ความหวังขึ้นมาใหม่
นม นานสักเพียงใด
หก ล้มไปเพียงชั่วคราว



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

รักสนุกไม่ผูกพัน (จิตว่างปลง) @ 236343

ครูคิม : สวัสดีค่ะ ดีใจค่ะที่ได้พบกันอีกครั้ง การปลงแบบอนิจจัง ทุกอย่างไม่เที่ยง ไม่มีเราเขาก็ทำได้ แต่เราพอใจในที่เราเลือก แบบนี้เรียกว่าปลง แต่ขัดแย้งกับจิตว่างไหมคะ เพราะมีสาเหตุแห่งอนิจจังค่ะ

กวิน : ถ้าทำได้แบบนั้นจริง คงถึงแค่ขั้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือจิตปล่อยอารมณ์ทั้งหมดแล้ว อยู่ในความว่างจะว่ามีสัญญา (ความจำ) ก็ไม่ใช่ เพราะจิตในขณะนั้นไม่ได้รำลึกอดีตเลย จะว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เพราะจิตขณะนั้นรู้ตัวอยู่(1)

 กาต้มน้ำ คือใจ และ เตาไฟ คือ กิเลสต่างๆ ตราบใดที่ยังมีกา และยังมีเตา มันก็คือ ปลง(กาลงจากเตา) แล้วจึงว่างได้ชั่วครูชั่วขณะ

อ้างอิง

(1)  พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร ฉบับออนไลน์. เวปไซต์สนุกดอทคอม. เนวสัญญานาสัญญายตนะ [cited 2009 march 21].Available from: URL; http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?select=1&q=%E0%B9%C7%CA%D1%AD%AD%D2%B9%D2%CA%D1%AD%AD%D2%C2%B5%B9%D0



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท