อนุทิน 36479


กวิน
เขียนเมื่อ

มีผู้รู้ สันนิษฐานว่า มะม่วง ซึ่งสมัยสุโขทัยเรียก หมากม่วง มาจากภาษาทมิฬว่า mangaai  คำว่า gaai แปลว่า ผลไม้ mangaai แปลได้ว่า ผลมาง หรือ ลูกมาง 

ข้อสันนิษฐานของกวิน

ภาษาบาลีเรียกมะม่วงว่า อมฺพ ส่วนภาษาสันสกฤตเรียก มะม่วง ว่า อามรฺ ซึ่งใกล้เคียงกับ (a) mang ในภาษาทมิฬ mang ในภาษาทมิฬแปลว่าอะไร ?

 ในภาษาสันสกฤต รกฏ(ะ) (สำเนียงไทย) แปลว่า ลิง ไทยใช้ มรรกฎ(ะ) ก็มี (มานิต มานิตย์เจริญ-พจนานุกรมไทย ในภาษาบาลีออกเสียงว่า มกฺกฏ(ะ)  (หน้า 707) ไทยเขียนว่า มักฏะ (หน้า 722)

พอเขียนมาถึงตรงนี้ นึกถึงคำว่า monkey ในภาษาอังกฤษที่แปลว่าลิง

คำว่า มกฺกฏ ในภาษา บาลี(ชนเผ่าอารยันผิวสีขาว) อาจมีรากศัพท์มาจาก คำว่า mang ในภาษาทมิฬ (ชนเผ่าพื้นเมืองผิวสีดำ) (ภาษาอังกฤษว่า monkey ซึ่ง บาลี/สันสกฤต-(ละติน)-อังกฤษ เป็นภาษาในตระกูลเดียวกัน)

ชนเผ่าทมิฬ เรียกผลไม้ชนิดนี้ (มะม่วง) ว่า mang (mang น่าจะมีรากศัพท์ที่ใกล้กับศัพท์ มกฺกฏ ซึ่งแปลว่า ลิง?) เพราะมีลิงอาศัยเก็บกินผลไม้ชนิดนี้ก็เป็นได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท