อนุทิน 36402


กวิน
เขียนเมื่อ


http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K7690684/K7690684-12.jpg

ข้อสันนิษฐานจากผู้รู้ ทางภาษาศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องคำว่า มะม่วง

มะม่วง แปลว่า หมาก(ผลไม้) ที่มีสีม่วงคือเรียกตามสี ผิว/แก่น/ใบ ที่พบเห็นได้ภายนอก คาดว่า พันธ์ดั่งเดิมมีสีม่วง

วิทยานิพนธ์ เรื่อง คำเรียกสีและมโนทัศน์เรื่องสีของคนไทยสมัยสุโขทัยและสมัยปัจจุบัน ของศุภมาส เอ่งฉ้วน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ ระดับมหาบัณฑิต ปี 2543 สรุปได้ว่า "เขียว" ในสมัยสุโขทัย มีความหมายกว้างกว่าในสมัยปัจจุบัน กล่าวคือ มีความหมายรวมถึงเนื้อสีที่เป็น ม่วงและน้ำเงินด้วย

มะม่วง=
Mangifera indica Linn. วงศ์ ANACARDIACEAE
(Mangi =  มะม่วง  fera = เกิด  Indica = อินเดีย)

มีผู้สันนิษฐานว่า คำว่า (หมาก/มะ)ม่วง มาจาก
ภาษา
มลายู ที่ว่า manga ---> ภาษาทมิฬ mangai <--- ภาษาโปรตุเกส manga <--- ภาษาอังกฤษ mango)

ภาษาเขมร สวาย แปลว่า มะม่วง

ในหนังสือ กาเลหม่านไต ของ บรรจบ พันธุเมธา
กล่าวว่า รัฐอัสสัม รัฐฉาน และบริเวณใกล้เคียงที่มีชนชาติไต-ไทอาศัยอยู่  มีอยู่ถิ่นหนึ่งเรียก มะม่วง (หมากม่วง) ว่า
"หมากบ่วง"   เพราะเป็นหมากที่มี ตัวบ่วง (แมลงชนิดหนึ่ง) มากัดกินเป็นประจำ จึงเรียกว่า หมากบ่วง

จีนกลาง หมางกว่อ โดยที่ กว่อ แปลว่าผลไม้ ตรงกับภาษามลายูว่า  mangga 

จีนตระกูลหมิ่นหนานเรียกว่า  เซอ  ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว ออกเสียงตามสำเนียงท้องถื่นว่า ส่วย ตรงกับ สวาย ในภาษาเขมร

***********************************



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท