อนุทินล่าสุด


กวิน
เขียนเมื่อ

ศิลปะแห่งความจริงใจ @  249856 โดย  a-little-sheep

เพลงอยากเจอคนจริงใจ โดยดวงตา คงทอง อยากเจอคนจริงใจ มีไหมแถวนี้ อยากเจอคนดีดี แถวนี้ มีไหมเอ่ย ถ้ามี ยกมือหน่อย ชูนิ้วก้อยกับนิ้วชี้ เป็นสัญลักษณ์ ว่ารักเดียวใจดี กระดิกนิ้วชี้ อีกด้วยนะเธอ เจอแต่คนใจดำ ชอบทำ ให้ช้ำทรวง เจอแต่คนลวง หลอกกันเสมอ คนจริงจัง จริงใจ ไม่เคยเจอ อยากเจอคนจริงใจ มีไหมแถวนี้ อยากเจอคนดีดี แถวนี้มีไหมเอ่ย ถ้ามี ยกมือขึ้น นั่ง และยืน อยู่ข้างหลัง ส่งยิ้มอีกนิด ถ้าจะคิดจริงจัง และขออีกอย่าง ต้อง โสด นะเธอ มีแฟนแล้วไม่เอา รักเขาแล้วไม่ดี มีไหมแถวนี้ โปรดจงเสนอ คนรักจริง จากใจ ฉันอยาก เจอ อยากเจอคนจริงใจ มีไหมแถวนี้ อยากเจอคนดีดี แถวนี้ มีไหมเอ่ย

คนจริงใจก็ไม่ควรมีอะไรที่ต้องปิดบังแม้นแต่ประวัติในเวปไซต์ แป่ว!! ขอบคุณที่ให้ อนุสติ ที่ว่า

ความจริงใจที่แล้งไร้ ศิลปะ ก็อาจทำร้ายมนุษย์ได้ไม่แพ้คำยกยอปลอมๆ ‘การทะนุถนอมหัวใจ’ กับ ‘ความจริงใจ’ จึงเหมือนสองด้านของเหรียญเดียวกัน มีทั้งสองด้านจึงจะมีค่าและเวลาที่มีคนแสดงความจริงใจกับเราด้วยโดยไม่ลืมทะนุถนอมจิตใจยิ่งทำให้เรา ‘รัก’ คนคนนั้นมากยิ่งขึ้น

เวลาโยนเหรียญอาจออกหัวและออกก้อย แต่ในทางทฤษฎี เหรียญสามารถ ไม่ออกหัวและออกก้อย ก็ได้ (เพราะเหรียญตั้งตรงอยู่ ซึ่งมีโอกาสน้อยมาก) ปฐมเหตุของการที่เหรียญจะไม่ออกหัวหรือออกก้อยเลย ก็เนื่องมาจาก ผู้ฟัง และผู้พูด มีธรรมะเสมอกัน (มี สีลสามัญญตา คือ มี ความประพฤติเสมอเหมือนกัน และมี ทิฏฐิสามัญญตา คือมี ทฤษฎี/ทิฏฐิ เสมอเหมือนกัน) เมื่อเหรียญตั้งตรง (ไม่ออกหัวหรือออกก้อย) นั่นคือไม่มีผลลัพธ์ว่า ฟังแล้วชอบ หรือฟังแล้วชัง (ในคำชม หรือคำบริภาษ นั้นๆ)  ฉะนั้น หัวใจ ของเรา จึงอุปมาเหมือนกับเหรียญ (อุ) บาท (ว์) ที่มักจะออกหัว หรือก้อยเสมอๆ มีน้อยมากที่หัวใจจะตั้งตรงเป็นอิสระ จาก อิฎฐารมณ์  (ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ) และ อนิฏฐารมณ์  (เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ นินทา)  หรือ โลกธรรม 8 นั่นเอง สรุป จงทำใจ ของเราให้ ตั้งตรง เหมือนดั่งเหรียญดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นเถิด ปล.อ่านแล้วไม่ต้อง รัก หรือไม่ต้อง ชัง กวินนะครับขอร้อง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

การให้อภัย

หากใครตบแก้มขวาของท่าน จงยื่นแก้มซ้ายให้เขาด้วย หากใครฟ้องร้องเพื่อเรียกเอาเสื้อของท่าน จงแถมเสื้อคลุมให้แก่เขา และหากใครบังคับท่านให้เดินหนึ่งไมล์ จงเดินไปกับเขาสองไมล์เถิด (คำกล่าวของพระเยซูจากคำบอกเล่าของนักบุญแมททิว บทที่ห้า ข้อ 38-41) (1) 

คนที่จะเข้าใจคำสอนนี้ได้ต้องเคยถูก ตบหน้า ถูกคดโกง และถูกบังคับ/กลั่นแกล้ง เท่านั้นจึงจะทราบซึ้ง ใครที่ทำกับเรา ตาม 3 ข้อที่กล่าวมา นั้นถือเป็นครูของเราว่าด้วยเรื่องของการให้อภัย ควรจะให้ความนอบน้อมเขาไว้ให้มากๆ

อ้างอิง
(1) วอลเตอร์ วิงค์. เยซูและอลินสกี
แปลโดย กล้วยกัทลี. เวปไซต์ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) [online] 2008 December 16 [cited 2009 mar 18]. Available from:  http://www.jpthai.org/content/view/124/7/



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

บทเรียนจาก "หัวโขน" (3-11) @ 243907 โดย คนไม่มีราก

พุทธองค์ ตรัสว่า อตฺตา หเวชิตํ เสยฺโย ขุ.ธ. ๒๕/๒๙ แปลว่า ชนะอัตตานั่นแหละดี. ซึ่งดูจะค้านกับที่พุทธองค์ตรัสว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ แปลว่า ให้เรารู้จักมีอัตตาเป็นที่พึ่ง/เรามี่ที่พึ่งคืออัตตา (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน) ขุ. ธ. ๒๕/๓๖, ๖๖. จริงๆ แล้ว อัตตา เป็น ของกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว เป็น อัพพยากตาธรรมา (ธรรมที่ไม่ขาว ไม่ดำ ไม่ดีไม่ชั่ว แต่ที่ดีที่ชั่วเพราะการคิด และนำไปใช้) อัตตา ที่ควรละก็คือ อกุศลาธรรมา (ธรรมคืออัตตา ที่ทำแล้วเป็นสิ่ง อกุศล) อัตตา ที่ควรยึดไว้เป็นที่พึ่งก็คือ กุศลาธรรมา (ธรรมคืออัตตา ที่ทำแล้วเป็นสิ่ง กุศล)

พุทธองค์ตรัสว่า สพฺพปาปสฺสะ อกรณํ ให้ละชั่ว (not to do evil) คือละอัตตา ฝ่าย อกุศลาธรรมา

กุสลสฺสูปสมฺปทา ให้ทำดียิ่งๆ ขึ้นอีก (to increase good) คือ ให้ยึดอัตตาฝ่ายกุศลเป็นที่พึ่ง และทำให้อัตตาฝ่ายกุศลเพิ่มยิ่งๆ ขึ้น

สจิตตะ ปริโยทปนํ ทำใจให้บริสุทธิ์ (to purify the mind) คือเมื่อทำอัตตาฝ่ายกุศล ให้เพิ่มยิ่งๆ ขึ้นจนถึงระดับหนึ่งแล้ว ก็ยังไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอัตตาฝ่ายกุศล และฝ่าย อกุศล นั้นๆ (สภาวะที่ไม่มีอัตตาคือ อนัตตา/สุญญตา/ไม่ยึดติดในความดี ความชั่ว) การยึดติดในความดีที่เป็นอัตตา ก็เช่น ทำบุญทำกุศล เพื่อหวังเป็นโน่น เป็นนี่ เกิดภพโน้นภพนี้ ทำบุญเพื่อหวังเอาหน้า การยึดติดอัตตาฝ่ายดี ลักษณะนี้ คือลักษณะของจิตที่ยังข้อง ด้วย อิฏฐารมณ์ ซึ่งเป็นของคู่กับ อนิฏฐารมณ์

อิฎฐารมณ์ 4 +อนิฏฐารมณ์ 4=โลกธรรม 8 (1)
 

การทำดีแล้วจิตใจยังขุ่นมัว(คือไม่บริสุทธิ์ใจ) ข้องอยู่ด้วย อิฏฐารมณ์  (ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ) แสดงว่ายังมีอัตตาอยู่ และไม่ใช่เป้าหมายของพุทธศาสนาที่สอนให้ละ ตัวกูของกู (ตัวมึงของมึง)


เชิงอรรถ

(1) คำศัพท์ อิฎฐารมณ์ 4  (ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ) + อนิฏฐารมณ์ 4 (เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ นินทา) = โลกธรรม 8 อ่านเจอใน หนังสือจรรยาแพทย์ ของ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว. เปีย มาลากุล) ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2450 ได้ทรงตั้ง โรงเรียนราชแพทยาลัย เป็นครั้งแรก ในครั้งนั้นทางโรงเรียนราชแพทยาลัย ได้เชิญให้ พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เป็นผู้ lecture วิชาจรรยาแก่นักเรียนแพทย์ในสมัยนั้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

การแบกของหนักเป็นทุกข์ @ 243119 โดย  BM.chaiwut

"อย่างไรก็ตาม แม้สอนคนอื่นให้เปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ แต่ทุกคราวที่มีปัญหาเกิดขึ้น สิ่งที่เคยเรียนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมะของพระพุทธเจ้า มักจะผุดขึ้นมาสู่คลองความคิดเสมอ ได้แค่นี้ ผู้เขียนก็ภูมิใจแล้ว."

อนุโมทนาสาธุครับพระคุณเจ้า กระผมก็คิดเช่นนั้นครับ (แต่กรณีของ กระผมๆ คิดว่ากระผมสามานย์ เอ้ยสามารถเปลี่ยน คนบางคนได้ โดยเปรียบเทียบจาก อดีต กับ ปรัตยุบัน โดยเมื่อใน อดีต ดูจะไม่ค่อยพอใจในสถานภาพตนเอง จึงพยายามไขว่คว้าความสุขจากภายนอก มาเติมเต็มความสุขภายในที่ตนเองขาดหาย แต่ทว่าใน ปรัตยุบัน ดูสนใจครอบครัวมากขึ้น เริ่มที่จะค้นหาความสุขจากภายใน มากกว่าที่จะไปเสียเวลาค้นหาความสุขจากภายนอก  ซึ่งเรียกได้ว่า กลับหน้ามือเป็นหลังมือ (มานึกๆ ดูกระผมได้ใช้ เมตตา กรุณา มากพอสมควร ความสำเร็จจึงบังเกิด ตอนนี้ก็กำลัง ใช้ มุทิตา (ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี) และ อุเบกขา ประกอบขึ้นเป็น (มหา)วิหาร แห่งพรหม เอาไว้ให้ใจได้พักอาศัย ครับ)

วกกลับมาเข้าเรื่องนะครับ ในฐานะที่กระผมเป็น พุทธมามกะ ผู้เข้าถึง ไตรสรณคมน์ เนื่องด้วยมีอาจารย์ท่านหนึ่ง กำลังทำวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวกับ คัมภีร์อนาคตวงศ์ เมยเตยยสูตต์  และเมตเตยยวงศ์ กระผมระลึกถึงพระคุณเจ้าผู้เป็น สรณะ จึงมานิมนต์พระคุณเจ้า ได้ช่วยอรรถาธิบาย/หรือให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหัวข้อวิจัยดังกล่าว เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้สนใจ และเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวเนื่องด้วย คัมภีร์อนาคตวงศ์ เมยเตยยสูตต์  และเมตเตยยวงศ์ ขอรับ (นิมนต์ ที่บันทึกนี้ ครับ http://gotoknow.org/blog/penpal/237661 ความคิดเห็นที่ 18 และ 20 ครับ)

กวิน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป? @  191336  

ไข่มุกราณี :

คนดีดีแต่สร้าง    กรรมศรี
สร้างสิ่งชั่วสักที   อาจพลั้ง
คนชั่วชั่วนานปี    กรรมแย่
สร้างสิ่งดีสักครั้ง  แน่แท้หลอกลวง

ตอบคุณไข่มุกราณี ;
ปลายดีแต่กกไม้-          โค้งคด
ท่านเปรียบคนชั่วปลด-  ชั่วทิ้ง
กกตรงแต่ปลายลด-       เลี้ยวกิ่ง
ท่านเปรียบคนดี พริ้ง-    เพริศแล้วเลวทราม


กกตรงปลายคด
กกคดปลายตรง
กกตรงปลายตรง
กกไม่ตรงปลายไม่ตรง

เราจะเป็นแบบไหนดีครับคุณ ไข่มุกราณี? ติดใจที่คุณ 'ราณี แต่งโคลงเอาไว้ว่า คนชั่วชั่วนานปีกรรมแย่ สร้างสิ่งดีสักครั้งแน่แท้หลอกลวง (นึกถึง องคุลีมาลย์ แน่นอนว่าเมื่อละชั่วได้แล้ว ย่อมไม่ใช่เรื่อง ของการสร้างภาพ/หลอกลวงเสมอไป) พุทธองค์ท่านว่า ถึงอดีตจะคด/เลว มาอย่างไร แต่ถ้าปลายตรง ก็ยังถือว่า ดี ผิดกับคนที่ทำดีมาเสมอๆ ในบั้นปลายชีวิต จะมาทำตัวคดๆ งอๆ อย่างนี้ใช้ไม่ได้ (ทางแก้ ไม่อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ถ้าจะดัดไม้แก่ต้องใช้ไฟลนให้ร้อนแล้วดัด) สุนทรภู่สอนเอาไว้ว่าการจะดูคนว่า ดีหรือไม่ดี(ตรง/คด) นั้นดูยากเพราะ "ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

จาก องคุลีมารกวิน ^^



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ในนิทาน กามนิตวาสิฏฐี ตอนที่ 6 วาสิฏฐี ได้พูดกับ กามนิต ถึงเรื่อง ความรักอันแท้จริงว่า "ความรักที่แท้จริง ไม่ใช่สีแดง ย่อมมีสีดำดังสีนิล เหมือนสีศอพระศิวะ เมื่อทรงดื่มพิษร้ายเพื่อรักษาโลกไว้ให้พ้นภัย ความรักที่แท้จริง ต้องสามารถต้านทานพิษแห่งชีวิต และต้องเต็มใจยอมลิ้มรสที่ขื่นขมที่สุด เพื่อเสียสละให้ผู้ที่เรารักคงชีพอยู่ และเพราะความขมขื่นที่สุดนี้ ความรักย่อมเต็มใจเลือกเอาสีนิล คือความขมขื่นไว้ ดีกว่าจะเลือกเอาสีอื่น คือ มุ่งแต่จะหาความบันเทิงสุขอย่างเดียว

ปล. ประโยคนี้อ้างจาก ตำนานเทพปกรณัม  (กูรมาวตาร=พระนารายณ์อวตารเป็นเต่า เพื่อเอากระดองรองรับเขาพระสุเมรุ ในคราวที่ ยักษ์และมาร(เทวดา)ใช้ เขาพระสุเมรุเป็นไม้กวน เกษียรสมุทร=ทะเลนม เพื่อปรุงน้ำอมฤทธิ์ ผลจากการกวนเกษียรสมุทร บังเกิดสิ่งวิเศษ ต่างๆ หนึ่งในนั้น ก็บัง เกิด พิษ ด้วยไม่มีใครต้องการ พิษ พระศิวะ จึง ทรงดิ่มพิษนั้นเพื่อปกป้องโลก พิษไม่สามารถทำอันตรายพระศิวะได้ แต่ก็ทำให้พระองค์มี พระศอ(คอ)  สีดำ/นิล)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ขอความกรุณาช่วยตั้งชื่อที่ไม่มีสระและแปลว่าน้ำ ถ้ามีอักษร ด ต ถ ท ธ น ด้วยก็จะดี @ 239852

ภาษา บาลีสันสกฤต นั้นมี อรรถ และพยัญชนะ(ที่ลุ่มลึก) ศาสตราจารย์ สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์ ได้อรรถาธิบาย ไว้ในหนังสือ บาลีสันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย ความว่า

อักษร หรือ อกฺษร/อกฺขร(ะ) ประกอบขึ้นจากศัพท์ อ+ขร สังโยคเป็น อกฺขร(ะ) แปลว่า "ไม่หมดไม่สิ้น" อธิบายว่าจะใช้คำประสมเท่าไรก็ไม่รู้จักหมดไม่รู้จักสิ้น (นกฺขรนฺติ นกฺขียนฺตีติ อกฺขรานิ) หรือจะเห็นได้ว่าคำบาลีบางคำนั้นมีอรรถลึกซึ้งมากกว่าอักษรที่ปรากฏยิ่งนักเช่นคำว่า รัตนะ ซึ่งเราใช้เป็นสัญลักขณ์ของพุทธศาสนา ว่า รัตนตรัย นั้น ถ้าใครแปลว่า แก้่ว 3 ประการก็เรียกได้ว่าแปลแบบดาดๆ ใครแปลว่าประเสิรฐก็สูงขึ้นมาหน่อย แม้นตีความไปถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ก็ยังอยู่เพียงผิว หาได้เจาะลึกถึงอรรถ ที่สมบูรณ์ไม่ เพราะมีอรรถาธิบาย ที่มาของคำว่า รัตนะไว้ว่า รตนะ ทั้ง 3 แต่ละอักษรย่อมมีความหมายอันกว้างดังที่ท่าน โมคคัลลายนเถระ วัดเชตวันวิหาร กรุงโปโลนนรุวะ แห่งเกาะลังกา ได้อธิบายไว้ใน คัมภีร์ปาลินิฆัณฑุ ว่าดังนี้คือ

มาจาก รมุ ธาตุ (Prefix) เหตุที่นำตัวอักษรนี้มาเป็นคำสำคัญของพุทธศาสนานั้นท่านอธิบายเป็นคาถา ว่า รมิตพฺพํ รมนฺติ เอตฺถาติ รํ แปลว่า เพราะชนทั้งหลายย่อมยินดีซึ่งวัตถุอันอริยบัณฑิตพึงยินดีในหมวด 3 แห่งปูชนียวัตถุนี้ เหตุนั้น รตนตรัย จึงได้นามว่า ระ

  มาจาก ตร ธาตุ (Prefix) ในความว่า ข้าม  เหตุที่นำตัวอักษรนี้มาเป็นคำสำคัญของพุทธศาสนานั้นท่านอธิบายเป็นคาถา ว่า อตฺตานํ ภชนเต อุปเสวนฺเต สํสารมหณฺณวโต วา ตาเรตีติ ตํ แปลว่า หมวด 3 แห่งปูชนียวัตถุใดย่อม ยังชนผู้คบให้ข้ามพ้นทุคติและห้วงมหรรณพ คือ สังสารวัฏ เหตุนั้น หมวด 3 แห่งปูชนียวัตถุนั้นได้นามว่า ตะ

มาจาก นิ ธาตุ (Prefix) ในความว่า ให้ถึง เหตุที่นำตัวอักษรนี้มาเป็นคำสำคัญของพุทธศาสนานั้นท่านอธิบายเป็นคาถา ว่า อตฺตานํ อนุสฺสรฺเต สุคตินิพฺพานานิ เนตีติ นํ แปลว่าหมวด 3 แห่งปูชนียวัตถุใดย่อม นำชนผู้ระลึกถึงตนไปสู่สุคติและพระนิพพาน เหตุุนั้นหมวด 3 แห่งปูชนียวัตถุนั้นจึ่งได้นามว่า ตะ

เมื่อนำเอา อักษร ทั้ง 3 ตัวมาประกอบกันแล้วได้เป็น "รตน" คำนี้จึ่งมีอรรถลึกซึ้งยิ่งนักนี่เป็นตัวอย่างที่สนับสนุนว่า คำ ปาลี สํสกฤตฺ มี อรรถที่ลึกซึ้ง

ต่อไปถึงคำว่า คัมภีร์

คัมภีร์ มาจาก คม+ภีร {=ไป +ภี=กลัว+อีร ปัจจัย (Suffix)} ดังนั้น คัมภีร์ แปลว่า "ไป(อย่าง)น่ากลัว" คำนี้ภาษาเดิมหมายถึง น้ำลึก แผ่นดินลึก และอุปมาได้ดั่ง  "พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอันมีอรรถละเอียดสุขุมลุ่มลึก (ไหล)ไป(อย่าง)น่ากลัว (สำหรับคนปัญญาน้อย)"  นี่คือทีื่มาของคำว่า คัมภีร์ และความหมายหลังเป็นเหตุให้เลือนมาหมายถึงตำราในภาษาไทย คำบาลีหมายถึงสุมด /ตำรับตำรา (ใช้ คนฺโถ โปตฺถก/ปุตฺถก) (1)

อ้างอิง
(1) สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์. บาลีสันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช , 2523.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

วารสารทางอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร โดย ผศ.ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ วิเคราะห์ สมุทรโฆษคำฉันท์ เปรียบเทียบกัน 2 บทเอาไว้ว่า

บทแรก
พระแลคณานก และตระดกมนมรรษ์
ใจจงพธูสรร-    คและท้าววังเวงใจ

บทที่สอง
คิดควรบ่ปรุลุ    แก่อำนาจจำนงยง
บีฑารันทด อง-  ค มม่อย มมรรใจ

มฤษฺ
= ทนทรมาน (คำโบราณ) ในปัจจุบันเขียน มรรษ (ส.ก) แปลว่า อดทน เป็นคำเดียวกับ มรฺษ (กริยา) ซึ่งหากแผลง รอเรผะ เป็น รอหัน แล้วแผลง มรรษ์ เป็น มมรร(ษ์) แล้วจึงแผลงเป็น มม่อยมมรร(ษ์) จบบทวิเคราะห์ของ อาจารย์ มณีปิ่น


แปลบทแรก
พระสมุทรโฆษแลเห็นนกบิน (พุ่งมาจากต้นไม้ในป่า) พระองค์ทรงตกใจ (ทรมานใจ/อดทนที่จะไม่ตกใจ) พระองค์มีความ จง(รัก) ในนางอันเป็นที่รัก และรู้สึกวังเวงใจ ณ กลางป่า (ภาพที่นกบินออกมา แล้วทำให้คน ตกใจมีให้เห็นบ่อยๆ ในฉากหนังสยองขวัญ กวีโบราณ ก็บรรยายภาพให้เราเห็นได้เช่นนั้น) จะเห็นได้ว่า คำว่า ตระดก=ตระหนก (เสียง ห เพี้ยน เป็น ด หรือกลับกัน)

แปลบทที่สอง
คิดว่าควร ที่จะไม่ควร บรรลุ/ปรุ  ถึง ความทุกข์ (อำนาจจำนงยง) เมื่อถูกความทุกข์ บีฑา ก็ควร อดทน  



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ขอบคุณ ครูปู ที่ส่ง สคส. มาให้ได้รับแล้วครับ
ขอบคุณ  ธัญญาภรณ์ (เพื่อนรัก) ที่ไปเที่ยวมาเก๊าแล้ว ส่ง สคส. มาให้ ที่แกบอกว่า จะให้พรสมหวังต้องตัด สคส. ตามรอยปรุ เพื่อประกอบเป็น รูปพระราชวังจีน (ฉันเสียดาย สคส.) จึงไม่ตัด
ขอบคุณ คนไม่มีราก ที่ส่ง หนังสือ ดวงตาแห่งสัจธรรม ของ โคเง็น คิเง็น ปรมาจารย์เซ็น นิกายโซโต (พระนิกายเซ็น ส่วนมากถูกมองว่าเป็นคนบ้า อ่านหนังสือเซ็นมากๆ อาจกลายเป็นคนบ้าในหมู่คนดี/คนดีในหมู่คนบ้า ได้)+CD เพลงไทยเดิม+CD ภาพยนต์ The Legend of Bagger Vance  



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

เพิ่มคำไขอธิบายกลอน ใน บันทึก กลอน วนแขว-แววขน @  173015

สังคมไทยมีความเชื่อในเรื่อง ความอ่อนน้อมถ่อมตน สุภาษิตและสำนวนโบราณจึงสอนเอาไว้ว่าให้เป็นคน คมในฝัก (ไม่ให้อวดตนในที่สาธารณะ) เช่น

อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ
ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก
จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย
(จากเพลงยาวถวายโอวาท ของสุนทรภู่) 


หรือสอนเป็นโคลง (โคลงโลกนิติ) โดยเปรียบเทียบว่าให้ทำตัวเยี่ยงพญานาคผู้มีฤทธิ์เดชมาก แต่ก็เลื้อยไปอย่างแช่มช้าไม่อวดอ้างอิทธิฤทธิ์ ผิดกับแมลงป่องผู้มีพิษน้อยแต่ชอบชูหางอวดพิษอันนิดน้อยนั้น ดังเช่นในโคลงโลกนิติบทที่ว่า

นาคีมีพิษเพี้ยง       สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช       แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งโยโส   แมลงป่อง
ชูแต่หางเอง อ้า     อวดอ้างฤทธี



นอกจากนี้ยังมีสำนวนที่ว่า (ลูก)นอกคอก (ใช้ด่าว่า เด็กที่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ โดยเปรียบเทียบเด็กกับ วัว กับ ควาย ที่จะต้องอยู่ในคอก หรือโอวาทของบิดามารดา)  

ทว่าในข้อดี ย่อมมีข้อเสีย เมื่อเด็กไทยถูก กล่อมเกลาทางสังคม (socialization) เช่นนี้ เมื่อโตขึ้นก็จะกลายเป็นคนที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ ไม่กล้าแสดงออก ส่งผลให้ภูมิปัญญาต่างๆ ต้องสูญหาย อันเกิดจากการ อมภูมิ หรือคมในฝัก รวมทั้งการหวง(แหน) ในภูมิปัญญา(ประจำตระกูล) นั้นๆ ท้ายที่สุด ภูมิปัญญาไทย ก็ตายอยู่ในปาก (เพราะโดนอมเอาไว้)   

ผู้ใหญ่สมัยโบราณ มองว่าเด็กๆ เหมือน เรือ ที่จะต้องคอย ถือหางเสือ เพื่อควบคุมทิศทาง

แต่กวินอยากจะสอนเสียใหม่ว่าให้เด็กๆ มีความคิดเป็นของตัวเองด้วย นั่นคือให้เด็ก ทำตัวเปรียบเสมือน เสือ (ที่มีหาง) ใครก็ไม่กล้ามาถือหาง เพราะจะโดนเสือขบ หรือ กัดเอา นั่นคือเสือนั้น ยกหาง ตัวเองได้ โดยไม่ต้องการ ผู้ที่จะมาคอย ถือหาง เจ๋งมั้ยความคิดนี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ผมขอบิณฑบาต รูปที่รุ่นพี่แฟนเก่า ถ่ายให้พี่ในสวนยาง ที่พี่ใช้เป็น รูป profile ของพี่อยู่ตอนนี้  และผมขอบิณฑบาตรูป พระบิณฑบาต ที่รุ่นพี่แฟนเก่าของพี่เคยถ่ายเอาไว้และส่งให้พี่ ที่ขอบิณฑบาต ก็เพราะ พี่จะได้ลืมๆ สักที ถ้าพี่ยังใช้ รูป profile เดิมนั่นหมายถึงพี่ยังไม่ลืมที่จะคิดถึงรุ่นพี่แฟนเก่าของพี่ และนั่นหมายถึงพี่ย่อมอาจจะทำเรื่องเพี้ยนๆ ได้อีกในอนาคต (และที่พี่เขียนว่า รักลูก อย่างโน้นอย่างนี้ มันจะไม่เป็น สัจจพจน์ เลย เพราะมันค้านกับการกระทำของพี่) ถ้าพี่ไม่ทำตามก็เป็นสิทธิของพี่ คราวหน้า ผมก็จะ คว่ำบาต (การ คว่ำบาต นั่นหมายถึงตัดหนทางไปสู่สุคติ/สวรรค์ของคนเลยนะ การคว่ำบาตก็คือ เลิกแนะนำตักเตือน กันต่อไป) เห็นในก๊วนใครๆ เขาก็เปลี่ยน รูป profile ใหม่กันหมดแล้วนะเออ อามิตาพุทธ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

จดหมายจาก(แนว)หลัง(ไมค์) (penpal) @ 237661



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

บางขุนเทียน @  173513

การที่สันนิษฐานว่า คำว่า บางขุนเทียน นั้น เพี้ยนมาจากคำว่า "บางขุนเกวียน" โดยเชื่อว่า บริเวณนี้เคยที่ชุมชนเกวียน ซึ่งแต่ละกองเกวียนจะมีผู้นำคอยอารักขาที่เรียกว่าขุนนั้น แม้นว่า เมื่อดูผิวเผิน การเพี้ยนเสียงอาจจะเป็นไปตามกฎของกริมม์ (ตามข้อสันนิษฐานที่ว่าเกิดจาการเพี้ยนเสียงจากคำว่า เกวียน เป็น เทียน) ทว่า การเพี้ยนเสียงตามกฎของกริมม์นี้หากสังเกต จะเพี้ยนอย่างมีนัยสำคัญ อยู่ในกลุ่มที่มีแหล่งกำเนิดเสียงเดียวกัน ตามตารางสรุปความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงของบาลีและสันสกฤต

ตัวอย่างเช่นการเพี้ยนเสียงของ กลุ่มเสียง T เพี้ยนเป็น A 

- เพี้ยนเป็น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดบริเวณ โอฏฐชะ(ริมฝีปาก) ได้แก่

ปฺราสาท เพี้ยนเป็น าสาท (ภาษาอีสาน)
ปฺรชฺญา  เพี้ยนเป็น ญา

- เพี้ยนเป็น ซ (ส,ษ,ศ) หรือกลับกัน  ซ (ส,ษ,ศ) เพี้ยนเป็น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดบริเวณ ทันตชะ(ฟัน) ได้แก่
กุล เพี้ยนเป็น ตระกูล
ภิกษุ เพี้ยนเป็น ตุ๊ (ภาษาเหนือ)

- เพี้ยนเป็น หรือกลับกัน เพี้ยนเป็น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดบริเวณ ตาลุชะ (เพดาน) ได้แก่
ฎฺฐา เพี้ยนเป็น เษฎา
ายา เพี้ยนเป็น าญา (มโนหรานิบาต ฉบับสงขลา)
าติ เพี้ยนเป็น จ้าด (ภาษาเหนือ)

- เพี้ยนเป็น  หรือกลับกัน เพี้ยนเป็น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดบริเวณ กัณฐชะ (ลำคอ)
กุณฺโฑ เพี้ยนเป็น นโท
กุณฺฑี  เพี้ยนเป็น นที
กฺษีร (เกษียร) เพี้ยน เป็น เษียร 


ฉะนั้น คำว่า เกวียน จะเพี้ยนเป็น คำว่า เทียน {เสียง ท ซึ่งมีแหล่งกำเนิดเสียงบริเวณทันตชะ (ฟัน)}  นั้นเป็นไปได้ยากมาก อนึ่งในปีที่ นายนรินทรธิเบศร์ แต่ง นิราศนรินทร์ (ประมาณปี พ.ศ.2336) ได้เดินทางผ่านบริเวณเขต บางขุนเทียน และได้เอ่ยนาม บางขุนเทียน ไว้ในโคลงนิราศ ทว่านายนรินทร์กลับมิได้บรรยายถึง กองคาราวานเกวียน ที่น่าจะมีอยู่คับคั่งบริเวณนั้น จากโคลงนิราศนรินทร์เราจึงพอที่จะอนุมานได้ว่า ในปี พ.ศ.2336 ลงมา คนไทยในสมัยนั้นใช้คำว่า บางขุนเทียน เป็นที่แพร่หลายแล้ว

คำว่า ขุนเกวียน นี้ มีความหมายพ้องกับ คำว่า นายฮ้อย ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน คำว่า นายฮ้อย ใช้เรียกกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการค้าขาย และมักเรียกตามชื่อประเภทสินค้า ดังนั้นกลุ่มคนที่ค้าขาย วัว-ควาย จะถูกเรียกขานว่า นายฮ้อยวัว-ควาย 
'ตลาดวัว-ควาย' ในขณะนั้นอยู่ในถิ่นภาคกลาง ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางยาวนานรอนแรมหลายเดือน ดังนั้นการจะนำวัว-ควาย ไปขายจึงต้องอาศัยการรวมตัวเดินทางกันเป็นหมู่คณะเพื่อความปลอดภัย (7)

บริเวณที่มีขบวนเกวียนมาพักอาศัยบ่อยๆ จนเกิดความคุ้นเคยกับชาวบ้านในละแวกนั้น ชาวบ้านละแวกนั้นก็น่าที่จะเรียก สถานที่นั้น ว่า บางนายฮ้อย ตามภาษาอีสาน มากกว่าที่จะเรียกว่า บางขุนเกวียน ซึ่งเป็นภาษาถิ่นภาคกลาง
 และที่สำคัญที่สุด คำว่า เกวียน และ เทียน นั้น ไม่น่าที่จะเพี้ยนได้ในระยะเวลาแค่ 200 กว่าปี เพราะเป็นคำที่คนไทย รู้จักดี ทั้งคำว่า เกวียน และเทียน ฉะนั้นตาม ทรรศนะของผู้เขียนคำว่าบางขุนเทียนนี้ มิได้เกิดจากการเพี้ยนเสียง และมิได้เรียกชื่อตามกองคาราวานเกวียน หากแต่คำว่า เทียน นี้น่าจะเป็นคำที่ใช้เรียก ชื่อเต่า ซึ่งมีอยู่มากมายบริเวณเขตชายทะเล  ซึ่งเนื้อหาจะอธิบายในย่อหน้าถัดๆ ไป ในลำดับนี้จะขอวิเคราะห์ศัพท์ ที่ปรากฎในคำว่า บางขุนเทียน ดังต่อไปนี้
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (ออนไลน์) ให้คำจำกัดความ คำว่า บาง ไว้ความว่า



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

รักสนุกไม่ผูกพัน (จิตว่างปลง) @ 236343

คําว่า  อุจเฉททิฏฐิ ประกอบมาจากคําสองคําคือ อุจเฉทะ (ขาดสูญ, ขาดสิ้น, ตัวขาด)และ ทิฏฐิ  (ความเห็น, การเห็น, ลัทธิ , ทฤษฎี , ทัศนะ) อุจเฉททิฏฐิ หมายความวา ทัศนะที่ เชื่อว่าอัตตาและโลกขาดสูญ ในความเห็นว่าขาดสูญ หมายความวา เห็นว่าหลังจากตาย อัตตาและโลกจะพินาศสูญหมด กล่าวคือ หลังจากตายแลว อัตตาทุกประเภทไม่มีการเกิดอีก ในคัมภีร์ธรรมสังคณี อภิธรรมปิฎก นิยามความหมายของอุจเฉททิฏฐิ ไวว่าอุจเฉททิฏฐิ คือแนวคิดที่ถือว่า อัตตาและโลกขาดสูญ อีกนัยหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิ หมายถึง การปฏิเสธความไมมีแห่งผลของการกระทําทุกอย่าง คือ ไม่ยอมรับว่ามี ผลย้อนกลับมาถึงตัวผู้ทําทุกอย่างจบสิ้นเพียงแคเชิงตะกอน

วนิดา เศาภายน . การศึกษาเชิงวิเคราะห์อุจเฉททิฏฐิในพระพุทธสาสนาเถรวาท ศึกษาเฉพาะกรณีที่ปรากฏในวรรณคดีไทย. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2547



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ยามจนไม่ควรคิดถึงยามมี แต่ยามมีควรคิดถึงยามจน @  236788



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

รักสนุกไม่ผูกพัน (จิตว่างปลง) @ 236343



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

กวิน @30946 + @31066 + @31248 + @31384">@31384

200 

แต่เดิมเชื่อว่า ชนชาติลาวกับชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาตั้งแต่โบราณกาล กล่าวคือชนชาติลาวก็เริ่มอธิบายความเป็นมาเริ่มต้นบรรพบุรุษอยู่แถบเทือกเขาอันไต (ประเทศมองโกเลีย) เหมือนกัน (1)

ทว่าจาก รายงานเสวนา : คนไทยเป็นใคร มาจากไหน ในแผนที่ประวัติศาสตร์ (สยาม) ประเทศไทย รศ.สุรพล นาถะพินธุ คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กล่าวว่า ‘คน (ไทย) อาจจะอยู่ที่นี่ เริ่มต้นที่นี่ไม่ได้มาจากเขาอัลไต’ เพราะ พบส่วนกระโหลก ของออสตราโลพิเธคัส ที่เกาะคา จ.ลำปาง อายุนับแสนปี หรือ พบโฮโมซาเปียนที่ถ้ำลอด จ.แม่ฮ่องสอนอายุ 12,000 ปี และพบอารยธรรมอื่นๆ กระจายไปทั่วในหลายพื้นที่ (2)

ไม่ว่า ไทยจะมาหรือไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต ก็ตาม แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ  ไทยและจีนนั้นมีความสัมพันธ์ กันมาอย่างยาวนาน ฉะนั้น ไทยจึงได้รับ อิทธิพลทางภาษาจีน เข้ามาใช้ในหน่วยคำไทย หลายคำต่อหลายคำ อนึ่งคำว่า งัว/วัว/โค นี้ ไทยก็อาจจะ รับมาจากจีนอีกทอดหนึ่ง ฉะนั้น สมมุติฐานข้อที่สอง (ที่คิดไว้ในใจ) ผู้เขียนเชื่อว่า คำว่า 牛(niú) เสียง น เป็นเสียงในกลุ่มเสียง นาสิก อันได้แก่ ง ญ ณ น ม และคำว่า  牯 ()  ซึ่งแปลว่า วัว  ทั้งจีน และไทย อาจจะรับมาจาก ภาษาบาลี ว่า โค อีกทอดหนึ่ง แล้วต่างคนก็ต่างออกเสียงเพี้ยนไปตามๆ กัน 

อ้างอิง

(1) รายงานเสวนา : ‘คนไทยเป็นใคร มาจากไหน ในแผนที่ประวัติศาสตร์ (สยาม) ประเทศไทย’ [cited 2009 january 19]. Available from: http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2_print.php?mod=mod_ptcms&ContentID=9670&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

(2) ต้นกำเนิดอาณาจักรล้านช้าง [cited 2009 january 19]. Available from: http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=buddha_story&topic=200



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

กวิน @30946 + @31066 + @31248

Oxthaisamkokos2 
รูปโคยนต์ ที่ประดิษฐ์โดย จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ตามจินตนาการของชาวเกาหลี (1)

ประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823 เริ่มจากยุคโจรโพกผ้าเหลืองในปี พ.ศ. 726 ที่ออกอาละวาด จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสามคือเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย ได้ร่วมสาบานตนเป็นพี่น้องและร่วมปราบกบฏโจรโพกผ้าเหลือง (2) ในยุคต่อมา จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) สร้าง โคยนต์ม้ากล ขึ้นใช้ลำเลียงเสบียงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการบุกกิสานในการบุกกิสานครั้งที่ 5 (3) จากประวัติศาสตร์สามก๊ก ทำให้เราทราบว่า คนจีนรู้จัก วัว/โค มาอย่างน้อยๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823 และคำว่า วัว (Cow/Ox) ในภาษาจีน ออกเสียงดังนี้ (4) 

Trad. Simp. Pinyin English
  bullock; cow
母牛   niú cow
  niú ox; cow; bull

 

Trad. Simp. Pinyin English
  niú ox; cow; bull
  rún ox

 


อ้างอิง

(1) โคยนต์ของขงเบ้ง [cited 2009 january 19]. Available from: http://www.thaisamkok.com/forum/index.php?showtopic=7558

(2) สามก๊ก [cited 2009 january 19]. Available from: http://th.wikipedia.org/wiki/สามก๊ก

(3) จูกัดเหลียง [cited 2009 january 19]. Available from:  http://th.wikipedia.org/wiki/จูกัดเหลียง

(4)  Chinese-English Dictionary. Query Result for "ox" & "cow" [cited 2009 january 21]. Available from: http://www.mandarintools.com/worddict.html



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ข้อควรระวังของกิจกรรมอาสา @ 236041 โดย นาง พรรณา ผิวเผือก

ข้อควรระวังของกิจกรรมอาสา :
๑. ต้องซื่อสัตย์ต่อกัน...อย่าเล็งผลประโยชน์ส่วนตน
๒. ความปลอดภัยระหว่างทำกิจกรรม
๓. ความปลอดภัยของนักเรียนหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น...การมีสัมพันธ์ไมตรีต่อกันในระยะแรกจนกระทั่งอาจเลยเถิด...เลยเถิดแล้วมักเศร้าเป็นตราบาป

ถ้าเป็นกีฬา สนุกเกอร์ เรียกว่า มองข้าม ชอร์ต คุณพี่อาจารย์พรรณาสามารถ  มองข้าม ชอร์ต คือมองเห็นอนาคตได้ทะลุประโปร่ง (อนาคตังสญาณ)  กวิน เคยเขียนแนวนี้มาบ้าง   คนจะนึกในใจกันว่า กวินนี่หมกมุ่น คิดลบ สบประมาท ประสาทแดก (รู้ได้ โดย เจโตฯ ว่าไปนั่น 555) ชอบที่คุณพี่อาจารย์บอกว่า อย่าทำเพื่อกระแส (กวินว่าควรทำ พอเป็นกษัย มัวเมาน้อยๆ เพื่อให้เลือดลมสูบฉีด (สุรา กินพอ สำราญ อย่าให้ถึงขั้น สำรอก) ไม่ควร มัวเมาจนหัวราน้ำ) กวินขอเสริม อีกนิด มีแต่ปลาตายเท่านั้นที่ว่ายตามกระแส (บางทีเราก็ต้องว่ายทวนกระแสกิเลสกันบ้าง) กิจกรรมจิตอาสา นี้ดี แต่ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ เหลาลงไปไม่ควรเป็นบ้องกัญชา (เพราะจะเมากัญชา จนไม่เป็นอันทำอะไร หัวเราะเอิ๊กอ๊ากกระดี๊กระด๊ามีฟามสุข/ไม่เคยสูบ ฟังเขาเล่ามา) หัวเราะเอิ๊กอ๊ากกระดี๊กระด๊ามีฟามสุขจนลืมว่า จิตอาสา นั้นทำเพื่ออะไร ก็ในเมื่ออาจารย์คุณพี่พรรณา มองข้าม ชอร์ต แบบนี้ เกียรติคุณ และชื่อเสียงจึง มีมาสู่คุณพี่พรรณา และโรงเรียนนะครับ :)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

 @31324  » 236100


ชื่อภาพ ติดคุกแห่งความสุข(ทางจักขุวิญญาณ์) เบื้องหลังลูกกรง (ถ่ายภาพ) โดย อาจารย์ พรรณา ผิวเผือก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

กวิน @30946 + @31066

รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ สายแสง ผู้เชี่ยวชาญด้านคติชนวิทยา (folklore studies) แห่ง มหาวิทยาลัยนเรศวร ไอ้อรรถธิบายเกี่ยวกับเรื่องคติชนวิทยาไว้ความว่า เฒ่าหัวงู แยกได้เป็น เฒ่า และหัวงู คำว่าเฒ่า ไม่จำเป็นต้องหาความหมาย ส่วนคำว่า หัวงู เป็นคำที่ชวนสงสัย หัวงู เป็นคำผวนมาจาก หูงัว ถึงตอนนี้จำจะต้องย้อนกลับไปถึงปริศนาของศรีธนญชัยที่ว่า อะไรเอ่ย รีรีเหมือนใบพลูมีรูตรงกลางข้าง ๆ มีขน
คำตอบ
ของปริศนานี้ คือ หูงัว แต่ความหมายเทียบเคียงของ หูงัว คืออะไรก็พอจะทราบกันอยู่ ถ้าไม่ทราบก็คงไม่ใช่ผู้มีธุรกิจทางคติชนวิทยา เฒ่าหูงัว ผวนแล้วเป็น  เฒ่าหัวงู   ถูกใช้ในเชิงความหมายเทียบเคียง (ดอกทอง@168214 )

*******
ไอ้หนุ่ม รุ่นน้อง โทรมาชวนให้เขียนบทความลงเวปลุงเวทย์ เวปลุงเวทย์ได้หมอหนุ่ย (รศ.นพ.ธีรวรรธน์ ขันทอง) ช่วยเขียนเวปให้ แต่แล้วต่างคนก็ต่างกระจายกันไปแต่ละเวป ถามไอ้เจ ว่าไอ้หนุ่มมาชวนหรือเปล่า ไอ้เจบอกว่า ไอ้หนุ่มมาชวนแล้ว ตอบตกลงไปแล้ว ถามไอ้หนุ่มว่า นึกงัยมาชวนรวมตัวอีกครั้ง บอกว่า กำลังเรียนต่อโทฯ การตลาดที่จุฬา (ตรีการตลาด ที่เดียวกัน) ร้อนวิชา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

กวิน @30946 

ถ้าคำว่า โค(ว) »  โง(ว) » งัว » วัว (เมื่อสระ โอ =อู+อา ฉะนั้น โงว/งูว»งัว)

ก็แล้ว งู(ว) ก็ต้องมาจาก โค(ว) ด้วย???

คนโบราณเรียกงูว่าอะไร? เรียกว่า เงี้ยว/เงือก ในลิลิต โองการแช่งน้ำ (สมัยอุยธยา) @ 169894 ใช้คำว่าเงือกในความหมายของงู ความว่า
 
" โอมพระ บรเมศวราย :โอมพระอิศวร
ผาย ผาหลวง อะคร้าว : ผู้ผึ่งผายอยู่ ณ เขา ไกรลาศ (ผาหลวง) อันงดงาม
ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก :ขี่วัวเผือกเป็นพาหนะ วัวเผือกนี้ชื่อ อศุภราช
เอาเงือกเกี้ยวข้าง :เอางู ทำเป็นสร้อยสังวาล เกี่ยวกระหวัดที่สีข้าง

ง (เสียงนาสิก) เช่นคำว่า เงิน โบราณ ออกเสียง ว่า เงือน เง็น ฯลฯ

เงือก  เงี้ยว  งู? (กลุ่มคำ)
เงิน เง็น เงือน? (จารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1)

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 » เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัว ไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า (วัว เขียน ตามอักขรวิธี สมัยนั้นว่า ววว) คำว่า วัว นี้มีใช้มาตั้งแต่สมัย สุโขไทย

ต้องนำมาวิเคราะห์ด้วย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ
  • ศัพท์สันนิษฐานว่าด้วยคำว่า วัว/งัว/โค 

    ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ  : สวัสดีครับ กวิน แวะมาอ่านกลอนวัวครับ เคยอ่านเจอในหนังสือของคุณจิตร ภูมิศักดิ์ว่า โค = cow รากศัพท์เดียวกัน (Proto-Indo-European) ส่วน วัว = .... (ภาษาอะไร?)


    สมมุติฐาน : คร่าวๆ

    คำว่า วัว มาจาก   โค(ว) »  โง(ว) » งัว » วัว เทียบกับ
  • โค้ง » โง้ง (1)
  • ไค้ »  ไง้
  • เคอะ »เงอะ
  • คว่ำ/ขว้ำ » ง้ำ
  • ค้อม » ง้อม
  • แคะ » แงะ
        
    โค(ว)  » โง(ว)
    *แต่น่าจะเป็นไปตามหลัก การเปลี่ยนเสียงสระภายในคำ (Internal change) ซึ่งรวมถึงเสียงพยัญชนะด้วย

    -โง(ว) (ออกเสียงเร็วๆ) จะกลายเป็น » งัว และ งัว เพี้ยน ไปอีกเป็น วัว ในที่สุด
    *น่าจะเป็นไปตาม กฎการกลายเสียงของกริมส์ (Grimm Law) หรือไม่ก็กฎของ กลัดมัน กราสส์มันน์ (Grassmann's Law)

    เชิงอรรถ
    (1) เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม 2552 ดูรายการ คนชอบกล ทางช่อง 3 เวลาประมาณ 00.15 แม่ของ คริส แองเจิล (criss angel) พูดว่า "ฉันทนดูไม่ได้ที่จะ เห็น วัวเขาโง้ง ขวิดลูกชาย" ก็จึงมาคิดว่า โง้ง แปลว่าอะไร ถ้า โง้ง แปลว่า โค้ง เป็นไปได้หรือไม่ที่ ค จะเพี้ยนเป็น ง (เสียงนาสิก) ได้ ฉะนั้นถ้า โค ก็ต้อง เพี้ยนเป็น โง เนื่องจาก เสียง โอ เสมือนมี ว สะกด (โอว) โค จึง ต้องเขียนว่า  โค(ว) »  โง(ว) » งัว » วัว (เมื่อสระ โอ =อู+อา ฉะนั้น โงว/งูว»งัว)

หนังสือ/เอกสาร ที่น่าจะอธิบายได้ :
1. ศาสตราจารย์ สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์ » บาลี สันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย
2. ศาสตราจารย์ ดร.อุดม วโรตสิกขดิต » ภาษาศาสตร์เหมาะสมัยเบื้องต้น
3. พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) » บาลีสยามอภิธาน
4. มานิต มานิตเจริญ » พจนานุกรมไทย ฉบับมานิต มานิตเจริญ
5.ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 » เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัว ไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า (วัว เขียน ตามอักขรวิธี สมัยนั้นว่า ววว) คำว่า วัว นี้มีใช้มาตั้งแต่สมัย สุโขไทย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ครับ 'จาน (ภาษาวัยรุ่น) wwibul @30941  นายเมฆ มณีวาจา ผู้ประดิษฐ์คำว่า อุษาคเนย์ ตายเสียแล้ว ขอแสดงความเสียใจแด่ญาติสนิทมิตรสหายของท่านด้วย นามสกุล มณีวาจา นี้ดีนะครับ

มณี แปลว่า แก้ว/ขวด ก็คงได้ ขวดพอแตก(เป็นปากฉลาม) วัยรุ่น(ช่างกล)ชอบนำมาจิ้มพุงกันเล่น มณีวาจา จึงแปล อรรถ ให้ลุ่มลึกได้ว่า มีวาจาประเสริฐดังแก้วมณี (นั่นคือพูดจามีสาระ ความรู้/ไม่ก็มีวาจาที่เหมือนแก้วที่แตกเป็นรูปปากฉลาม เอาไว้ทิ่มแทงคนอื่น/เศษแก้วมันบาดคน แต่คำพูดของเศษคนมันบาดใจ) เพล้ง แก้วแตกบอกถึง ไตรลักษณ์ นึกๆ ดู ก็คงจะมีคนบางคนแอบตั้งฉายาให้กวินบ้างล่ะนะครับว่า ด.ช.กวิน วาจามณี หนูช้อปชอบ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท