ข้อคิดเห็นการกำหนด “ตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ” เพื่อวัดคุณภาพหน่วยงาน


หลายสถาบันอุดมศึกษาคงเคยรู้จักตัวบ่งชี้ ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งวัดออกมาในรูปเชิงปริมาณ ร้อยละ เทียบกับจำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด

ความหมายของตำแหน่งทางวิชาการ คือ ผู้ที่ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์

สำหรับผมแล้วตัวบ่งชี้นี้ที่วัดออกมาเป็นค่าร้อยละนั้น ยังไม่สามารถเปรียบเทียบคุณภาพได้อย่างแท้จริง เช่น กรณี

  • มหาวิทยาลัย ก มีอาจารย์ประจำทั้งหมด 100 คน มีอาจารย์ที่เป็น ผศ. 50 คน
  • มหาวิทยาลัย ข มีอาจารย์ประจำทั้งหมด 100  คน เช่นกัน มีอาจารย์ที่เป็น ศ. 50 คน

ซึ่งถ้าวัดตามตัวบ่งชี้นี้แล้ว ทั้งมหาวิทยาลัย ก และ ข มีอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการร้อย 50 เท่ากัน และถ้าเทียบคะแนนกับเกณฑ์การประเมินแล้ว ก็ตกอยู่ที่ช่วงคะแนนเท่ากัน

แต่ถ้ามองลึกลงไปแล้ว มหาวิทยาลัยใดมีคุณภาพมากกว่ากันเมื่อมองจากตัวบ่งชี้นี้ สำหรับผมแล้วถ้าเป็นนักเรียนที่จะเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย คงต้องเลือกมหาวิทยาลัย ข แน่นอนครับ

แล้วท่านมีความคิดเป็นประการใด? สำหรับผมตัวบ่งชี้นี้ ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ควรวัดออกมาในรูปของ สัดส่วน ระหว่าง ผศ. : รศ. : ศ. ซึ่งจะเห็นความชัดเจนมากกว่า อย่างที่ทาง สกอ. ได้กำหนดไว้ในคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา ฉบับใหม่ เริ่มใช้ปีการศึกษา 50

ดังนั้นผมคิดว่าการเลือกที่จะกำหนดตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ นั้นต้องพิจารณาในหลายมิติ และความสัมพันธ์จากข้อมูลหลายด้าน เช่น วัดออกมาเป็น ร้อยละ สัดส่วน หรือจำนวนนับ เพื่อที่จะทำให้ระบบการประกันคุณภาพภายในของหน่วยงานนั้นสามารถสะท้อนข้อมูลจริง เช่น ถ้ากำหนดตัวบ่งชี้ว่าเป็นแบบจำนวนนับ จำนวนโครงการกิจการนิสิต กรณี

  • มหาวิทยาลัย ก มีจำนวนโครงการนิสิต 200 โครงการ มีจำนวนนิสิต 5,000 คน
  • มหาวิทยาลัย ข ก็มีจำนวนโครงการนิสิต 200 โครงการ เช่นกัน มีจำนวนนิสิต 20,000 คน

ซึ่งถ้ามองจากตัวบ่งชี้ที่วัดนี้ จะได้คะแนนเท่ากันแน่นอน เพราะวัดเป็นจำนวนนับ แต่ถ้ามองลึกลงไปอีก ดูจำนวนนิสิต แล้วท่านคิดว่า มหาวิทยาลัยใดมีการดำเนินงานดีกว่ากัน ผมก็ต้องเลือกให้ มหาวิทยาลัย ก แน่นอนครับ

ดังนั้นการที่หน่วยงานจำเป็นต้องสร้างมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ ของตนเอง เพื่อวัดคุณภาพของหน่วยงาน ต้องคำนึงถึงลักษณะของการวัดให้ดีๆ นะครับ

นี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวที่เคยพอมีประสบการณ์ทำงานด้านการประกันคุณภาพภายใน ระดับมหาวิทยาลัย

KPN
หมายเลขบันทึก: 96493เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2007 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การกำหนดตัวชี้วัด ที่เป็นจำนวนนับ หรือเป็นก้อน หรือเป็นชิ้น หรือเป็นเรื่อง ไม่เหมาะสำหรับการนำมาเทียบเคียงกันกับหน่วยงานอื่นที่มีภารกิจเหมือนกัน เพราะทุนเดิมของแต่ละหน่วยงานนั้นแตกต่างกัน แต่เหมาะสำหรับการประเมินภายในของตัวเอง ดูความก้าวหน้าในแต่ละปีๆ

เช่น ตัวบ่งชี้ "จำนวนนักศึกษาที่ได้รับรางวัล" ซึ่งแน่นอนว่ามหาวิทยาลัยใดมีนิสิตเยอะ นั้นก็ได้เปรียบในยกแรกแล้ว เพราะมีตัวเลือกเยอะ

ดังนั้นเกณฑ์ที่เป็นร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลต่อนักศึกษาทั้งหมด น่าจะยุติธรรมกับทุกสถาบัน

สวัสดีแจ๊ค

เรากลับมองอีกด้านนะ บางทีการที่มี ศ.เยอะ ๆ อาจจะดีก็ได้ เพราะมีแต่คนเก่ง ๆ ทั้งนั้น แต่อีกแง่ถ้ากำหนดอย่างนั้น อ.อาจจะมุ่งแต่จะทำตำแหน่งกันจนไม่มีเวลาจะทำงานก็ได้

 

อย่างที่เราเห็นมากเลยในปัจจุบัน มี ผศ.เยอะแยะที่ทำงานไม่สนใจเรื่องขอ รศ. ขอ ศ. เพราะทำงานที่หวังผลแต่เรื่องงาน ทุ่มเวลาเพื่องานส่วนรวม แต่ก็มีหลายคนที่เป็น รศ. เป็น ศ. แต่ไม่มีงานเป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมเท่าไรเลย

 

อย่างที่เราเคยไปจัดเวิร์กช้อปที่ ม.หอการค้า มี อ.ท่านนึงไม่สนใจจะขอตำแหน่งเลย เพราะมุ่งจะสอนเด็กอย่างเดียว ทำยังไงจะให้เด็กได้เรียนอย่างมีคุณภาพมากที่สุด ปรับหลักสูตรทุกปี แก้ทุกเดือน แต่ยังเป็นแค่ อ.ธรรมดา แต่สังคมกลับให้การยอมรับกับ ผศ. รศ. ศ. มาก อ.คนนั้นจึงต้องลองเปลี่ยนความคิด จะขอบ้างเพื่อสังคม อันนี้น่าเห็นใจอยู่นา

 

สำหรับตัวบ่งชี้ที่นำมาวัด น่าจะมีกรอบอะไรให้ชัดเจน ถึงผลงานไปเลยดีกว่า หรือแจ๊คว่าไงอ้ะ

 

ขอบคุณครับ

ไม่มีรูป
ประกันคณะฯ มมส

ผมเห็นด้วยนะครับ แต่ตัวบ่งชี้ ทุกอย่าง ต้องมีการทบทวน พัฒนาแก้ไข อยู่เสมอครับ

แต่ไม่ได้มาจากความคิดของคนๆเดียว แต่ต้องมาจากการร่วมกันคิด

ขอบคุณครับคุณรัตน์ทวี

P

มุมมองนี้อาจจะเป็นไปได้ครับ แต่อย่างไรก็ตามทางกองการเจ้าหน้าที่ฯของแต่ละแห่งคงมี ข้อบังคับ หรือ ระเบียบเกี่ยวกับภาระงานขึ้นต่ำ TOR ของอาจารย์

เคยได้ยินว่าต่อไปถ้าอาจารย์ท่านใดได้ ผศ. แล้วต้องมีผลงานอย่างต่อเนื่อง มีข้อบังคับชัดเจน เช่น ต้องมีผลการวิจัยที่ตีพิมพ์กี่เรื่อง ผลงานวิชาการกี่เรื่อง ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อาจจะไม่ได้เป็น ผศ. อีก

สรุปก็คือจะมีกระบวนการที่สามารถถอดถอน ตำแหน่งทางวิชาการได้

ประกอบกับตอนนี้มีเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ปี 48 เป็นกรอบ ทำให้มหาวิทยาลัย อาจารย์ต้องเร่งปรับตัวให้เท่าทันครับ

ขอบคุณที่ มา ลปรร. ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท