โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ผู้ชายตัวใหญ่ หัวใจ panic ตอนที่ 2


"เป้าหมายของผมไม่ใช่การห้ามคุณไปห้องฉุกเฉิน"

หลังจากที่พบผู้ป่วยได้ 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยรายนี้ยังมาที่ห้องฉุกเฉิน 2 ครั้ง แต่อาการเริ่มน้อยลงจากผลของยา

ผม :"ช่วง 2 สัปดาห์นี้เป็นไงบ้าง"

ผู้ป่วย :"ดีขึ้นบ้างหลังจากได้ยาแต่พอมันมา(หมายถึงใจสั่น)ผมแทบทนไม่ไหว หมอมั่นใจไหมครับว่าเป็นโรคนี้แล้วไม่ตาย (ผู้ป่วยดูจะกังวล)"

ผม: "จากที่เราตรวจโดยละเอียดผมคิดว่า ไม่ใช่โรคหัวใจ ผมคิดว่าผลของยาจะทำให้อาการบรรเทาลงจนหายไปได้ แต่คงจะต้องรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี " ผมจะนัดติดตามอาการต่อเนื่องไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่

        "ผมสังเกตว่าคุณยังกังวลกับอาการนี้จะเป็นโรคร้ายแรง"

ผู้ป่วย: "ตอนที่มันมาผม ผมคิดว่าตายแน่ ถึงยังไงได้มาตายที่ รพ. ก็ยังดี ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมไม่กลัวหรอก ตายก็ให้มันตาย"

ผม: "คราวที่แล้วบอกผมว่าเป็นห่วงลูกมาก"

ผู้ป่วย: "ใช่หมอ ลูกผมน่ารักมากทั้ง 2 คน ผมกลัวว่าถ้าผมตายไปจะไม่มีใครดูลูก"

ผม "แล้วภรรยาละครับ"

ผู้ป่วย "ภรรยาผมไม่ได้ทำงาน ผมดูแลทุกอย่าง เรื่องเงิน เรื่องทอง สั่งสอนลูก"

ผม " ภรรยามีบทบาทอะไรบ้าง"

ผู้ป่วย " ภรรยาผมเรียนไม่สูง สอนลูกไม่ได้ดีเท่าผม" (ดู attitude กับภรรยาเป็นในเชิงลบ)

ผม" ที่บ้านอยู่กันกี่คนครับ"

ผู้ป่วย ทำหน้าแปลกใจที่หมอสนใจเรื่องครอบครัวของเขา "มี 4 คนครับ ผม ภรรยา ลูก 2 คน แต่ตอนนี้เราเพิ่งย้ายบ้านไปอยู่ใกล้บ้านแม่ยายเมื่อ 2 สัปดาห์ ก็เลยมีคนเข้าออกบ้านผมเยอะ"

ผม "แล้วดีไหมครับ ที่ไปอยู่อย่างนั้น"

ผู้ป่วย "ผมไม่ค่อยชอบครับ วุ่นวาย ผมไม่ค่อยชอบแม่ยายเพราะชอบมาวุ่นวายในบ้าน"

ถึงตอนนี้ผมจับปัญหาได้ 3 อย่าง(stressor)

1.เรื่องลูกที่เกิดใหม่ อายุ 3 เดือน(เป็นความเครียดอย่างมาก)+เลี้ยงลูก 3 ขวบ(กำลังซน)

2.เรื่องความสัมพันธ์สามีภรรยา (couple relatonship)

2.เรื่องย้ายบ้านไปใกล้ครอบครัวภรรยา

ผมให้กำลังใจผู้ป่วย/ให้ความมั่นใจผู้ป่วยว่าโรคนี้ไม่มีอันตราย ผมปรับยาจนอาการดีขึ้นมาก ครั้งหลังๆ ผู้ป่วยกับผมมีความสัมพันธ์ที่ดีและไว้วางใจ ผมบอกผู้ป่วยว่า "เป้าหมายของผมไม่ใช่การห้ามคุณไปห้องฉุกเฉิน แต่เป็นการทำให้คุณมั่นใจว่าจะไม่เป็นอะไร "

เมื่อยาเริ่มได้ผลดี 2-3 เดือน ผมพบผู้ป่วยทุก 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมั่นใจมากขึ้น ผมแนะนำเขา 3 ข้อ

1.เวลามีอาการให้รับรู้ว่ามีอาการ (มีสติ)

2.ไม่ขยายผลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง (กำหนดสติ ไม่วอกแวก)

3.กำหนดลมหายใจเข้าออก (ทำสมาธิ)

อาการจะผ่านพ้นไป

เวลาไม่มีอาการผมแนะนำเขาว่า

ทำชีวิตให้เป็นปกติมากที่สุด ไม่ระแวงว่าอาการจะมาเมื่อไหร่

ผู้ป่วยรายนี้อาการดีขึ้นมากจนเกือบหาย ผมค่อยๆแนะนำให้ผู้ป่วยพบนักจิตวิทยา ในตอนแรกผู้ป่วยไม่อยากไป แต่หลังๆก็ยอมไปและดีขึ้นเป็นลำดับ

ปัจจุบันผู้ป่วยรายนี้ยังแวะเวียนมาหาผมตลอดถึงแม้ไม่มีอาการ

สรุป

1. ความสัมพันธ์ที่ดีและต่อเนื่อง แก่ปัญหาที่ยากๆ ได้( long standing theurapeutic relationship+continuous care)

2.สนใจความเป็นมนุษย์ของเขา รู้จักเขาแบบที่เขาเป็น ถึงแม้จะช่วยแก้ปัญหาครอบครัวเขาไม่ได้ แต่อย่างน้อยเขาก็รู้ว่าเราเข้าใจจริง (sense of care / humanized health care)

ผมขอจบบทความนี้แค่นี้ครับ คราวหน้าจะหาเรื่องมาเล่าให้ฟังใหม่ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 96488เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2007 08:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
จะคอยติดตามเรื่องต่อๆไปค่ะ

มีอยู่ 2-3 จุดที่ สนใจจะนำไปใช้กับคนไข้ครับ

 "เป้าหมายของผมไม่ใช่การห้ามคุณไปห้องฉุกเฉิน แต่เป็นการทำให้คุณมั่นใจว่าจะไม่เป็นอะไร "

"1.เวลามีอาการให้รับรู้ว่ามีอาการ (มีสติ)

2.ไม่ขยายผลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง (กำหนดสติ ไม่วอกแวก)

3.กำหนดลมหายใจเข้าออก (ทำสมาธิ)  "

แม้จะช่วยแก้ปัญหาครอบครัวเขาไม่ได้ แต่อย่างน้อยเขาก็รู้ว่าเราเข้าใจจริง (sense of care / humanized health care)

P ทีมเยี่ยมบ้าน ตสม.
ว่างๆก็คงได้แวะมาเยี่ยมเยียนกันนะครับ(บ้านใกล้เรือนเคียง)
อาจารย์หมอจิ้น
ผมก็รออ่านเรื่องของอาจารย์อยู่ครับ

เป็นเรื่องที่ดีมากเลยนะคะ

ความใส่ใจผู้ป่วยอย่างแท้จริงเป็นสิ่งที่ดีมากๆเลยค่ะช่วยทำให้ชีวิตของผู้ชายคนนึงได้พบความสุขใจอีกครั้งค่ะ

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วประทับใจค่ะ เอาใจใส่ผู้ป่วยดีมากค่ะ

การให้ผู้ป่วยฝึกหายใจก็จะช่วยได้มากครับ หลายท่านคงงงว่า เราก็หายใจกันเป็นอยู่แล้วจะฝึกไปทำไม ผมคิดว่าเราๆท่านๆก็มักจะหายใจกันเป็นอยู่แล้ว แต่มีน้อยคนที่จะรู้ว่าเรา หายใจด้วยกล้ามเนื้อสองชุด กล้ามเนื้อผนังทรวงอก กับ กล้ามเนื้อกระบังลม ที่มากกว่านั้นเรามักไม่รู้ว่าการหายใจด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม นั้นดีกว่ามาก การฝึก ก็จะทำง่ายๆ เอามือวางที่หน้าอก อีกมือวางที่ลิ้นปี่ บอกให้ผู้ป่วยหายใจ เข้าโดยที่มือที่หน้าอกไม่ขยับ แต่มือที่ลิ้นปี่ยกขึ้น ความจริงแล้วเป็นวิธีทำสมาธิ แบบยุบหนอ พองหนอ แต่ ไม่ทำให้ผู้ฝึกรู้สึกว่ายากมาก นอกจากนี้ผมยังมักจะบอกให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ หายใจเร็วๆเข้าออก ต่อ หน้าเรา เวลาที่นัดมาพบที่ โอพีดี ครั้งแรก พอหายใจแบบนั้นได้ไม่นาน ผู้ป่วยจะบอกได้ทันทีว่าเริ่มมีอาการคล้ายๆตอนที่จะต้องไปห้องฉุกเฉิน ถึงตอนนี้ก็บอกให้เขาหายใจช้าลง และอธิบายให้เขาฟังได้ว่าอาการที่แย่ลงมากจนดูน่ากลัวนั้นเป็นเพราะเขาหายใจเร็ว โดยใช้กล้ามเนื่้อทรวงอก ซึ่งนอกจากจะไม่ได้อากาศแล้วยังทำให้เหนื่อยง่าย ถึงตอนนี้การอธิบายเรื่องฝึกหายใจก้จะทำได้ง่ายขึ้นครับ ลองดูนะครับ
P

ขอบคุณ ซัน ซัน ที่แวะมาเยี่ยม และผมรออ่านเรื่องของ ซัน ซัน เหมือนกัน

P
ขอบคุณ อาจารย์ sasinanda ที่แวะมาเยี่ยม

และ

ขอบคุณสำหรับข้อแนะนำดีๆของอาจารย์ อรรถพล ครั้งหน้าคงมีโอกาสพบอาจารย์อีกในเครือข่ายพุทธิกาครับ

เพิ่งแวะเวียนมาเจอ บล๊อกนี้

ดีใจที่มีที่จะได้แชร์ประสบการณ์กันนะครับ

ขออนุญาตนำกรณีนี้เป็นกรณีศึกษาสอนนศพ.นะครับ

ขอบคุณที่ช่วยให้การบ้านเสร็จทันเวลาพอดี

และขออนุญาต forward mail เชิญชวนเพื่อน FM เข้ามาช่วยกันเพิ่มความคึกคักในบล๊อกนี้นะครับ :)

ขอบคุณที่แวะมาครับ ผมว่าว่างๆสตางค์ลองเขียน blog ก็ดีนะครับ ขอนแก่นคงมีเรื่องดีๆให้เล่าขานอีกมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท