สัมภาษณ์อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร


จุดแข็งของกรมส่งเสริมการเกษตร คือ มีเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล และเคหกิจเกษตร อยู่ในระดับพื้นที่

               เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2550 เวลาประมาณ 17.00 น.  คณะทำงาน HR Scorecard ของกรมส่งเสริมการเกษตร  ประกอบด้วย ผอ.อัปษร ศรีผดุง  ผอ.กองการเจ้าหน้าที่  คุณประสงค์ ประไพตระกูล คุณมัลลิกา เขียวหวาน คุณนันทยา กัลยาศิริ และดิฉัน รวม 5 คน  ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ท่านอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (ทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์) ถึงแนวความคิด นโยบาย ความคาดหวังในการบริหารงานกรมเสริมการเกษตรของท่านอธิบดีฯ  เพื่อจะได้นำไปเป็นข้อมูลประกอบในการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล ตามแนวทาง HR Scorecard ของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 18-19 เมษายน 2550  นี้ ที่ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร ชั้น 5

              โดยมีประเด็นคำถามในการสัมภาษณ์   4  ประเด็น คือ

               1. ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในองค์กร ใน 1-3 ปี ข้างหน้า คืออะไร

               2. จุดแข็ง หรือสิ่งที่องค์กรมีอยู่ หรืออยากรักษาไว้ หรือมุ่งเน้นให้ดียิ่งๆขึ้น คืออะไร

               3. จุดอ่อน หรือสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้การบริหารงานขององค์กรประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายสูงสุดที่คาดหวัง คืออะไร

               4. ความคาดหวังต่อหน่วยงาน HR หรืองานการเจ้าหน้าที่ที่ควรทำ หรือสนับสนุน คืออะไร

               ซึ่งท่านอธิบดีฯ ก็ได้กรุณาให้สัมภาษณ์ตามประเด็นคำถามดังกล่าว เป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง   

                   

                                   

                ภาพบรรยากาศการให้สัมภาษณ์ของท่านอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร     

              

                สำหรับสาระสำคัญที่ท่านอธิบดีฯได้ให้สัมภาษณ์ไว้ใน 4 ประเด็น  มีดังนี้ค่ะ              

ประเด็นที่ 1       ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในองค์กร ใน 1-3 ปี ข้างหน้า

  • อยากเห็นเกษตรกรแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง     กลุ่มเกษตรกร แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม     กลุ่มที่ 1  กลุ่มที่มีหนี้สิน ยังพึ่งตนเองไม่ได้   กลุ่มที่ 2  กลุ่มที่พึ่งพาตนเองได้ในระดับหนึ่ง และกลุมที่ 3  กลุ่มที่พึ่งพาตนเองได้
  • เกษตรตำบล และ เคหกิจเกษตร  มีหน้าที่ให้ความรู้เกษตรกรเกษตรกรจะได้รับความช่วยเหลือให้พึ่งพาตนเองได้  เกษตรตำบล ช่วยด้านการผลิต ปลูกอะไรให้ถูกวิธี ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง  เมื่อผลิตเกินจะต้องทำอย่างไร เคหกิจเกษตรต้องเข้าไปช่วยในการแปรรูปต่างๆ ไว้กินเอง หรือจำหน่าย  ทำให้ครอบครัวพึ่งตนเองได้ มีแนวโน้มหลุดพ้นจากความยากจน  นอกจากนี้ เกษตรตำบล ยังมีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์จากเกษตรกร กระบวนการแก้ปัญหา คือ ถ้าเกษตรตำบลแก้ปัญหาไม่ได้ ก็ต้องส่งมาที่ เกษตรอำเภอ  ถ้าอำเภอแก้ไม่ได้ ก็ส่งมาที่เกษตรจังหวัด ถ้าจังหวัดแก้ไม่ได้ ก็ส่งมาที่กรมฯ ตามลำดับ       อยากเห็นแบบนี้  ทุกวันนี้ในท้องที่ทำอยู่แล้ว  มีคนให้ข้อมูล ทางอำเภอ จังหวัด ก็รวบรวมข้อมูลเสนอขึ้นไป มีการประกาศภัยพิบัติ มีการเสนองบฯทดลอง ไปช่วยเหลือเกษตรกร  ปีนี้ผลผลิตมาก ราคาตกต่ำ ปีนี้รับแทรกแซงข้าว ไปรับรองเกษตรกร ทำมาจริง แก้ทุกเรื่อง เรื่องหนี้สิน เป็นกาวใจ พาเกษตรกรไปพบกรมบังคับคดี  ปัญหาในครัวเรือน เคหกิจเกษตร ก็เข้าไปช่วย ถ้ามี 2 คนนี้อยู่ในพื้นที่ ก็จะแก้ปัญหาเรื่องรวร้องทุกข์จาก้กษตรกร หาทางช่วยเหลือ เป็นหน่วยรับปัญหา และส่งขึ้นมา  ถ้าเป็นปัญหาทางประมง ก็ประสานทางประมงไปช่วย ปัญหาเลี้ยงไก่ ไก่เป็นโรค ก็ประสานทางปศุสัตว์ไปช่วย  ผมคาดหวังอนาคตกรมฯ เราต้องทำงานเชิงรุกอย่างนี้   ทุกวันนี้ เราขาดแคลน เกษตรตำบล เกษตรตำบลหายไป 1,700 กว่าคน เคหกิจเกษตรตอนนี้ก็มีน้อย   เราก็เหมือนหมอ ถ้าเรามีโรงพยาบาล ผ่าตัดโรคหัวใจเก่งๆ ในพื้นที่แล้ว ก็ไม่มีใครมาศิริราช  อยากเห็นเราไปช่วยแก้ปัญหาเกษตรกรให้ได้  

ประเด็นที่ 2      อะไรเป็นจุดแข็ง หรือสิ่งที่องค์กรมีอยู่ หรืออยากรักษาไว้ หรือมุ่งเน้นให้ดียิ่งๆขึ้น

  • การที่กรมส่งเสริมการเกษตรมีเจ้าหน้าที่เกษตรตำล  และเคหกิจเกษตร  คือจุดแข็ง   เป็นการสร้างงาน และงบประมาณให้กรมฯ    
  • มี พรบ.วิสาหกิจชุมชน   ทำให้สามารถแข่งขันได้  ดูการตลาดด้วย ทำให้งานครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ในรอบปีที่ผ่านมาเราทุ่มไปตรงจุดที่มีการจดทะเบียน เตรียมพร้อมพัฒนาการแปรรูป เริ่มเดินเครื่อง สอนภาคเกษตรให้รู้จักทำการค้า  ต้องมีโรงเรียนเตรียมเกษตรกร ให้ตัวเกษตรกร มีคน 2 คน อยู่ในตัวคนเดียว ที่เป็นส่วนสำคัญ คือ 1. แรงงาน และ 2. ผู้ประกอบการ บ่อยครั้งที่ 2 คนนี้อยู่ในตัวคนเดียวกัน  และมีเยอะที่แยกกัน   หลัก 4 ข้อของการผลิต ได้แก่  1. ที่ดิน 2. แรงงาน 3. ทุน 4. ผู้ประกอบการ    เกษตรกรที่มีอยู่ตอนนี้ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานอย่างเดียว  เวลาเราเข้าไปช่วยเกษตรกร ต้องครบทั้ง 4 ข้อ  ที่ดินที่มีอยู่จะทำอย่างไรให้ผลิตได้  มีการอบรมเกษตรกร ให้ขายได้ทั้งแรงงาน และขายสมอง
  •  นักส่งเสริมการเกษตร เป็นวิชาชีพ  เหมือนอาชีพหมอ  ต้องทำให้เป็นมืออาชีพ  ต้องรีบสร้างให้เข้มแข็ง

           สรุปจุดแข็ง คือ

           1.  มีตัวบุคลากร  เกษตรตำบล เคหกิจเกษตร ในพื้นที่

           2.  มีพรบ.วิสาหกิจชุม ชน

           3.  นักส่งเสริมการเกษตร เป็นวิชาชีพ      

ประเด็นที่ 3      จุดอ่อน หรือสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้การบริหารงานขององค์กรประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายสูงสุดที่คาดหวัง คืออะไร

  • จุดอ่อน คือ การที่เราไม่รู้ว่า จุดแข็งของเราคืออะไร ทุกวันนี้วิชาการเกษตรอ่อนมาก ต้องอบรมให้มากกว่านี้ ต้องอบรมเรื่องการบริหารจัดการ      อาชีพการส่งเสริมการเกษตร เทียบเท่ากับอาชีพหมอ เป็นอาชีพพิเศษ ต้องผ่านการ Trainning  อย่างต่อเนื่อง  และควรเป็นนักสื่อสารที่ดี
  • การสื่อสารกับเกษตรตำบล ยังมีปัญหา   IT  ยังมีไม่ครบทุกตำบล  ถ้ามีครบต้องใช้งบประมาณเป็นพันล้าน แต่ถ้าไม่มีระบบนี้ การสื่อสารจะขาดเป็นช่วงๆ   IT ยังเป็นจุดอ่อน ถ้า IT เข้มแข็งจะพัฒนาไปได้เยอะ     ในปี 51 ตั้งเป้าไว้ว่า                 

           1. มีเกษตรตำบล ให้ครบทุกตำบล

           2. มีระบบ IT ที่เข้มแข็ง

           3. เข้าไปมีส่วนร่วมกับ อบต.  ในการทำงานในพื้นที่ ในการสนับสนุนงบประมาณในการทำงาน

ประเด็นที่ 4         ความคาดหวังต่อหน่วยงาน HR หรืองานการเจ้าหน้าที่ที่ควรทำ หรือสนับสนุน คืออะไร

  • การพัฒนาบุคลากร เป็นหัวใจของการทำงานทั้งหมด เป็นการเปลี่ยนอุดมการณ์ ทัศนคติ ความรู้ที่เหมาะสม เป็นฐานการทำงาน  เกษตรตำบล มีหน้าที่ 15 ข้อ ตั้งแต่ ข้อที่ 1 ถ่ายทอดความรู้ ไปจนถึงข้อ 15  คือ ปรับเปลี่ยนอุดมการณ์ ทัศนคติเกษตรกรเกษตรตำบลต้องได้รับการอบรมในทุกเรื่อง  ที่เชื่อมโยงไปถึงเกษตรกร 
  • การทำงาน HR ต้องดูภาพหลักของงาน งานมีองค์ประกอบครบถ้วนเหมือนเดิม ทำอย่างไร เหมือนทางทหาร ไม่ว่าจะมีสงคราม หรือไม่มี ต้องมีกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ  กรมส่งเสริมการเกษตร ก็ต้องมีเรื่องดิน น้ำ พิช  ทุกหน่วยงานมีองค์ประกอบ 3 อาชีพ  การมองภาพรวมบุคลากร  Funtioning  ยังไม่มี  ยังไม่มีการวางยุทธศาสตร์ มีแต่ยุทธการ  
  • ต้องมีบุคลากรในวิชาชีพ HR ที่แข็งแกร่ง ตรงกับสายงาน เช่น นักบัญชี นักกฎหมาย นักเศรษฐศาสตร์
  • ต้องมีทีมจับตาทั้งหมด และ Balance ตลอดเวลา  ต้องเข้มแข็งและพร้อมรบมากที่สุด แต่อย่าสูญเสียความเป็นธรรม   HR ต้อง Maintain Structure ทั้งหมด ให้มีความเข้มแข็ง ตรงกับเป้าหมายที่เราอยากได้

           ความคิดเห็น และความคาดหวังของท่านอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรในครั้งนี้ นับว่ามีคุณค่าและมีประโยชน์อย่างยิ่ง ที่คณะทำงานฯ จะได้นำไปเป็นแนวทางทางในการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลตามแนวทาง HR Scorecard  ของกรมฯ ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรมฯ ต่อไป............. 

           

นันทา  ติงสมบัติยุทธ์

17  เมย. 2550

หมายเลขบันทึก: 90730เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2007 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมา ลปรร. 
  • ขอเป็นกำลังใจให้คณะทำงาน HR Scorecard  และทีมงานส่วนกลางด้วยนะครับ

 

เรียนพี่นันทา

  • ผมยังค้าง Book Tag

เรียนพี่นันทา

  • แหะ แหะ ผมยังค้าง Book Tag พี่อยู่...อีกนิดส์นึงนะครับ
  • ดีใจมากมาก เลยครับที่ได้รู้ว่า กรมฯ กำลังดำเนินการเรื่อง HR Scorecard (น่าจะทำตั้งนานแล้ว)
  • ขอเป็นอีก 1 กำลังใจให้พี่และทีมงานทุกท่านนะครับ
  • ขอบคุณคุณสิงห์ป่าสัก และน้องวิศรุต ที่เข้ามาเยี่ยมเยียน และเป็นกำลังใจ 
  • น้องวิศรุต ติดค้าง Book Tag มานานมากแล้วนะ  จะคิดดอกเบี้ยทบต้นดีไหมเอ่ย? (ล้อเล่น... ฮ่า  ) 

 

 

>>>เข้ามาเยี่ยมครับ >>>ได้ความรู้วิสัยทัศน์ท่าน อธส.มากขึ้นครับ

เก็บไว้ในความทรงจำ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

นายทรงศักดิ์  วงศ์ภูมิวัฒน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร          เกิดวันที่ 3 สิงหาคม  2491 ประวัติการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสาขาโยธา มหาวิทยาลัยขอนแก่น(2510-2515)  Post Graduate Diploma in Agricultural Engineering  จาก Cranfield  Institute of Technology  ประเทศอังกฤษ

นายทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์  เมื่อเดือน พฤษภาคม 2515 เริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งนายช่างตรี ทำหน้าที่เป็นภาคีวิศวกรสนับสนุนการ ออกแบบงานวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมเกษตร สาขาอนุรักษ์อินและน้ำทั่วประเทศ สิงหาคม 2540-2543 เป็นผู้จัดการโครงการพัฒนาที่ดินทุ่งกุลาร้องไห้ตุลาคม 2542-2543       เป็นหัวหน้าฝ่ายโยธา กองช่าง กรมพัฒนาที่ดินตุลาคม 2543-2545      เป็นผู้อำนวยการกองช่าง กรมพัฒนาที่ดิน   กุมภาพันธ์ 2545-2547   เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กุมภาพันธ์ 2545-2547   เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่เป็นผู้นำผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำร่างแผนแม่บทโครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549

การก้าวเดินอย่างสวยงามของวิศวกรหนุ่ม “ทรงศักดิ์  วงศ์ภูมิวัฒน์”  เดือน ธันวาคม 2545           เป็นรองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน  1 พฤศจิกายน 2548-2549 เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ปี 2549-ปัจจุบัน เป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร  เรียกว่า “ชาวทุ่งกุลาร้องไห้ รูกจักกันทุกตารางนิ้ว

ประสบการที่ยาวนาน นายทรงศักดิ์  วงศ์ภูมิวัฒน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ผ่านการอบรมหลักสูตรการวางแผนพัฒนาชนบท ณ สถาบัน International Training Institute ประเทศออสเตรเลีย (2528) อบรมหลักสูตรการอนุรักษ์ดิน ณ สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา (2536) อบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับสูง รุ่นที่ 35 (2544)อบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง หลักสูตรที่ 1 (นบส) รุ่นที่ 38 (2546) การพัฒนาแหล่งน้ำและการชลประทาน ณ ประเทศออสเตรเลีย (2532) การพัฒนาที่ดินและแหล่งน้ำ ณ ประเทศญี่ปุ่น (2540) ด้านกนอนุรักษ์ดินและน้ำ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน (2546)โครงการเกษตรอินทรีย์ ณ ประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย     

เป็นวิศวกรผู้เชียวชาญเมื่อวันที่ 18-23 พฤศจิกายน 2547 เป็นผู้บรรยายพิเศษเรื่อง “Land Remodeling in  Tung Kula Ronghai Region of Northeast Thailand” ในที่ประชุมสัมมนาทางวิชาการเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 25 ปี ของการจัดตั้งหลักสูตรวิชา การระบายน้ำ ของสถาบัน International Institute for Land Reclamation and Improvement ณ ห้องประชุม International Agricultural Center เมือง Wageningen ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2529  เป็นอาจารย์พิเศษบรรยายเรื่อง “Design and Construction of Farm Pond” และ เรื่องอื่น ๆ ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

นายทรงศักดิ์  วงศ์ภูมิวัฒน์ ในปี พ.ศ. 2531-2533 เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเรื่องงานปรับปรุงพื้นที่นา แก่คณะนักเรียนนายร้อย จปร. ในวิชาพิเศษภาคสนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2533  เป็นผู้บรรยายพิเศษเรื่อง “Problem of Soil Conservation Implementation in Thailand and Strategies to Counteract Them” ในที่ประชุมของสมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำระหว่างประเทศ ณ โรงแรมเวสติน มลรัฐอินเดียนาโปลิส สหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2536)

คลังมันสมอง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ในนาม “ทรงศักดิ์  วงศ์ภูมิวัฒน์”  ต้องได้รับการจารึกในความในทรงจำ “คนดีดูที่การกระทำ ผู้นำดูที่การเสียสละ กินให้น้อย ทำงานให้มาก ที่เหลือ จุลเจือสังคม”

 

 

วัชรินทร์  เขจรวงศ์

208 ม.2 บ้านสามแยกโพธิ์ชัย ต.เหนือเมือง

อ.เมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด 45000

E-mail:[email protected]

โทร.086-8502416หรือ 085-7567108

 

 

พันธิวา พรมเพียงช้าง

นึกว่าใครพี่วัชรินทร์นั่นเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท