วัฒนธรรมการเรียนรู้ : กรรมชั่ว


การตั้งใจกระทำกิจกรรมของคนนั้นมีรากฐานมาจากความโลภ ความโกรธ หรือความหลงงมงาย
กรรมชั่วเมื่อคิดตามแนวทางหลักพุทธธรรมแล้วหันมามอง...

การกระทำของคนเราในทุกวันนี้ 

 ถ้าบันทึกถึงการกระทำก็หมายถึงเป็นการกระทำกลาง ๆ  แต่ถ้าคนเรานั้นมีเจตนาหรือมีความจงใจ  และตั้งใจที่จะกระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เป็นผลสำเร็จแล้ว 

 อำนาจแห่งการกระทำก็จะบังเกิดผลขึ้นมาทันทีที่คนนั้นได้มีความจงใจหรือตั้งใจกระทำกิจการนั้น 

 ถ้าคนเรากระทำกิจกรรมนั้นในทางที่ไม่ดี  ไม่ฉลาด  ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เกิดมาจากปัญญา 

 ก็จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียคุณภาพชีวิต 

 เพราะเหตุผลว่า 

 การตั้งใจกระทำกิจกรรมของคนนั้นมีรากฐานมาจากความโลภ  ความโกรธ  หรือความหลงงมงาย  ซึ่งถือว่า 

 เป็นกรรมชั่วเป็นการกระทำที่ไม่ดี
หมายเลขบันทึก: 82978เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • มาเยี่ยมนะคะ  คนที่ทำความชั่วต้องได้รับผลกรรมที่เขาทำมา  ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว  ก็ต้องได้รับผลกรรมเช่นนั้น
  • http://gotoknow.org/blog/judy1/82980 เข้ามาดูสิคะ  เป็นแผนชีวิต ที่ใช้ในการดำเนินชีวติคะ

อาจารย์คะ...เจตนา ก็คือ...ความคิดใช่ไหมคะ...

หากหมายถึงเช่นนั้น ก็ย่อมจะมาจากฐานที่ว่า คิดดี พูดดี และเราก็ทำดีด้วย...

การกระทำทุกอย่าง...หากเราไม่คิด อยู่ข้างในแล้วก็ยากที่จะแสดงออกมาได้ เช่น ... มีชายคนหนึ่งกล่าวหาภรรยาของตนเองว่า มีชู้ ทั้งๆ ที่ภรรยาตนเองประพฤติตนอยู่ในการครองเรือนที่ดี แต่ที่ชายคนนั้นกล่าวอาจมาจากความใจผิด ซึ่งความเข้าใจผิดนี้แสดงถึงจิตใจที่ดีไม่ดีของเขา จิตใจที่คิดชั่ว จึงทำให้เขาพูดสิ่งไม่ดีต่อภรรยาตนเองออกมา และล่วงส่งผลไปถึงการกระทำที่ไม่ดีตามมาด้วย...

ดังนั้น...ความสัมพันธ์...แห่งการแสดงออกทางกระทำย่อมมากทั้ง การคิด การพูด และการกระทำ...

(^______^)

แวะมา ลปรร. ค่ะ...เพราะกำลังสนใจเรื่องกฏแห่งกรรมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

กะปุ๋ม

สวัสดีครับ  คุณ

P

 คนที่ทำความชั่วต้องได้รับผลกรรมที่เขาทำมา  ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว  ก็ต้องได้รับผลกรรมเช่นนั้น

เห็นด้วย...เป็นเช่นนั้นจริง ๆ

เวรกรรมมีตาทิพย์มองเราอยู่ทุกขณะจิตเลยนะครับ

ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับ  คุณ

P

เจตนา ก็คือ...ความคิดใช่ไหมคะ...

ขอชื่นชมในมุมคิดที่ลึกมากของคุณ

P

ตามตัวคำศัพท์ ว่า เจตนา คือ ความจงใจ  ความตั้งใจ  ความจำนง  และความแสวงหาอารมณ์

ถ้าคุณว่าคำแปลคือ ความคิดก็ใช่  แต่ถ้าอักษรในการอธิบายคำยังไม่ครอบคลุมเพราะมีความจำกัดก็ต้องศึกษาให้ละเอียดยิ่งขึ้นครับผม...

ขอบคุณครับ

 

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์..

เจตนา...ก่อนที่จะมาได้ หรือแสดงออกมาเป็น...ความจงใจ ฯลฯ ในกระบวนการทางปัญญาน่าจะเกิดเป็นกระบวนการคิดที่อยู่ภายในของบุคคลนั้น...จากนั้นภายในกระบวนการทางปัญญา ก็เกิดการประมวลผลออกมาเป็นความคิด แต่ก่อนที่จะประมวลผลออกมาได้ น่าจะมีการสั่งสมข้อมูลผ่านผัสสะ และรอยกรรมเก่า.. ก่อให้เกิดเป็นทัศนะต่อบางเรื่อง จากนั้น...ก็ชักนำให้ "จิต"... แสดงความชัดเจนต่อบางสิ่ง บางเรื่อง บางอย่าง ...เป็นเจตนาออกมา...

(^____^) เพียงเท่านี้ก่อนนะคะอาจารย์...ขอชะแว้ปไปหาความรู้ และสั่งสมเพิ่มเติมก่อนคะ...สิ่งที่แสดงทัศนะนี้อาจจะไม่ใช่ เมื่อได้รอยความรู้มาใหม่ค่ะ...อิอิ

(^_______^)

กะปุ๋ม

สวัสดีครับ...อาจารย์

ขออนุญาตเรียนถามว่าอาจารย์เคยอ่านไตรภูมิพระร่วง หรือเปล่า

ผมชอบอ่านมาก...อ่านแล้วเห็นภาพความดี ความชั่วได้ชัดเจนและสะเทือนใจมากเลย  ครับ

สวัสดีครับ  คุณ

P

ขอชะแว้ปไปหาความรู้ และสั่งสมเพิ่มเติมก่อนคะ...สิ่งที่แสดงทัศนะนี้อาจจะไม่ใช่ เมื่อได้รอยความรู้มาใหม่ค่ะ...อิอิ

(^_______^)

น่าชื่นชมกับคำอธิบายขยายความเพิ่มเติมยิ่ง...

เป็นขั้นเป็นตอนได้ดีที่เดียวครับ

ใช่...ความรู้เราต้องหาจึงจะได้มา  เพราะวิชาความรู้อันมีค่าอยู่เมืองใกล  ต้องยากลำบากไปจึงจะได้สินค้ามา...ฮา ๆ เอิก ๆ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ  คุณ

P

ขออนุญาตเรียนถามว่าอาจารย์เคยอ่านไตรภูมิพระร่วง หรือเปล่า

เป็นหนังสือพุทธปรัชญาเล่มแรกของสยามครับ...

ผมได้อ่านและใช้สอนนักศึกษาด้วยครับ

ขอบคุณครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท